คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สนิท สุมาวงศ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 679 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 942/2507 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องทำร้ายร่างกายในการชุลมุนต่อสู้ หากไม่มีผู้เสียชีวิตหรือสาหัส แม้จำเลยรับสารภาพก็ลงโทษไม่ได้
บรรยายฟ้องว่าจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ฝ่ายหนึ่ง และจำเลยที่ 5 ถึงที่ 7 กับพวกอีกฝ่ายหนี่ง บังอาจสมัครใจเข้าใช้กำลังชกต่อยเตะถีบทำร้ายร่างกายซึ่งกันและกัน จนจำเลยที่ 3 กับที่ 5 บาดเจ็บ ดังนี้เห็นได้ว่าโจทก์ไม่ได้บรรยายว่าจำเลยคนใดทำร้ายใคร และถือไม่ได้ว่าโจทก์ฟ้องว่าจำเลยแต่ละฝ่ายต่างร่วมกันมากระทำความผิด ฟ้องโจทก์จึงเป็นฟ้องฐานทำร้ายร่างกายในการชุลมุนต่อสู้ระหว่างบุคคลตั้งแต่สามคนขึ้นไป ซึ่งเมื่อไม่ปรากฎว่ามีบุคคลถึงตายหรือได้รับอันตรายสาหัส โดยการกระทำในการชุลมุนต่อสู้กันตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 294 หรือ 299 แล้วแม้จำเลยให้การรับสารภาพก็ลงโทษจำเลยไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 940/2507

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สถานที่เกิดเหตุในฟ้องคดีอาญาไม่ตรงกับข้อเท็จจริงที่พิจารณาได้ ศาลยังลงโทษได้หากไม่ใช่ข้อสาระสำคัญ
การที่โจทก์ฟ้องว่า เหตุเกิดในท้องที่อำเภอหนึ่ง แม้ศาลจะฟังข้อเท็จจริงดังที่จำเลยนำสืบว่าเหตุเกิดในท้องที่อีกอำเภอหนึ่งก็ตาม แต่เขตของสองอำเภอนั้นอยู่ใกล้ชิดติดต่อกัน และจำเลยก็รู้ดีอยู่แล้วว่าสถานที่เกิดเหตุนั้นอยู่ที่ใด เช่นนี้ ถือได้ว่าในข้อสถานที่เกิดเหตุนั้นทางพิจารณาไม่แตกต่างกับฟ้องในข้อสาระสำคัญ และจำเลยมิได้หลงข้อต่อสู้อย่างใด ศาลย่อมลงโทษจำเลยตามข้อเท็จจริงที่พิจารณาได้ความได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 937/2507

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าผิดนัด: ค่าเสียหายตามปกติ vs. พฤติการณ์พิเศษ
การที่จำเลยสัญญาจะให้โจทก์เช่าที่ดินซึ่งจำเลยกำลังฟ้องขับไล่ผู้เช่าเดิมออก และโจทก์ได้ให้มัดจำแก่จำเลยและเข้าครอบครองที่ดินนั้นแล้ว โดยจำเลยสัญญาว่าถ้าเสร็จคดีจะเรียกโจทก์มาทำสัญญาจดทะเบียนการเช่า ต่อมาเมื่อเสร็จคดีจำเลยกลับผิดสัญญานั้น ค่าเสียหายที่โจทก์ต้องถูกปรับเพราะไม่อาจโอนสิทธิการเช่าที่ดินเดิมที่โจทก์เช่าอยู่ รวมทั้งขายบ้านให้บุคคลอื่นได้ มิใช่เป็นความเสียหายที่ตามปกติย่อมเกิดขึ้น โจทก์จึงเรียกค่าเสียหายนี้จากจำเลยไม่ได้
ส่วนเงินที่โจทก์ต้องเสียไปเป็นค่าทำรั้วในที่ดินที่จำเลยสัญญาจะให้โจทก์เช่า โดยจำเลยยอมให้โจทก์ทำได้นั้น เมื่อจำเลยผิดสัญญาย่อมถือว่าเป็นความเสียหายในพฤติการณ์พิเศษ ซึ่งจำเลยคาดเห็นหรือควรจะได้คาดเห็นล่วงหน้าก่อนแล้ว โจทก์จึงเรียกค่าเสียหายนั้นจากจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 920-921/2507

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีอาญาของผู้เสียหาย: กรณีผู้ตายประมาทด้วยและภริยาฟ้องแทน
ภรรยาเข้าเป็นโจทก์แทนสามีซึ่งถึงแก่ความตายฟ้องว่า จำเลยขับรถยนต์โดยประมาททำให้สามีโจทก์และคนอื่นถึงแก่ความตาย เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า คนตายเพราะรถชนกันจากความประมาทของจำเลยและสามีโจทก์ด้วยกันแล้ว สามีโจทก์จึงเป็นผู้กระทำผิดฐานขับรถโดยประมาทจนเป็นเหตุให้คนตายอันจะต้องรับโทษทางอาญาด้วยผู้หนึ่ง จึงไม่เป็นผู้เสียหาย โจทก์ฟ้องจำเลยได้ก็โดยเข้าฟ้องแทนสามีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 5(2) เมื่อสามีไม่เป็นผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาตามมาตรา2(4) โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 897/2507

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ แจ้งความเท็จ: การเล่าเหตุการณ์ตามความเข้าใจ ไม่ถือเป็นความผิดฐานแจ้งความเท็จ หากไม่มีเจตนาใส่ร้าย
จำเลยไปแจ้งความต่อพนักงานสอบสวน.โดยเล่าเรื่องให้ฟังตามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นว่าบิดาโจทก์กับบิดาจำเลยเป็นความกันเรื่องทางเดิน จำเลยพาคนไปถ่ายภาพทางเดินนั้นเพื่อประกอบคดีในขณะที่โจทก์กับพวกกำลังเดินออกจากบ้าน ขณะที่ถ่ายภาพอยู่นั้นได้มีเสียงปืนดังขึ้น 1 นัด จำเลยไม่เห็นคนยิง แต่เชื่อหรือเข้าใจว่าโจทก์เป็นผู้ยิงพนักงานสอบสวนได้สรุปข้อความตามคำแจ้งความแล้วให้ตำรวจบันทึกคำแจ้งความไว้ มีความตอนหนึ่งว่า โจทก์ใช้ปืนพกยิงจำเลยเข้าใจว่าโจทก์มีเจตนาจะยิงจำเลยให้ถึงแก่ความตาย ดังนี้ เห็นได้ว่าจำเลยไปแจ้งความโดยเล่าเรื่องตามที่เกิดขึ้นซึ่งมีเหตุการณ์ทำให้จำเลยเข้าใจเช่นนั้นได้ ข้อความที่บันทึกไว้นั้นก็เป็นข้อความที่พนักงานสอบสวนบอกให้ตำรวจเขียน ไม่ใช่ถ้อยคำที่จำเลยแจ้งโดยแท้จริง ทั้งมีพฤติการณ์ต่อมาแสดงว่าจำเลยมิได้เจตนาแกล้งเอาความเท็จไปกล่าวหาโจทก์ การกระทำของจำเลยจึงยังไม่เป็นความผิดฐานแจ้งความเท็จเกี่ยวกับความผิดอาญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 888/2507

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานมีอาวุธปืนและลักทรัพย์/รับของโจร เป็นคนละกรรมต่างวาระ ฟ้องไม่ขัดกัน
มีคนร้ายลักอาวุธปืนของผู้เสียหายไปตั้งแต่วันที่ 12 ต่อมาวันที่ 16 เจ้าพนักงานจับจำเลยได้พร้อมอาวุธปืนพนักงานอัยการโจทก์จึงฟ้องจำเลยฐานมีปืนไว้ในความครอบครองไม่รับอนุญาตเป็นคดีหนึ่ง แล้วฟ้องฐานลักทรัพย์หรือรับของโจรอีกคดีหนึ่ง ดังนี้ เห็นได้ว่าการกระทำผิดฐานมีอาวุธปืนนั้นจำเลยย่อมจะได้กระทำผิดนับแต่วาระแรกที่ได้ปืนนั้นมาไว้ในครอบครอง และเป็นความผิดอยู่เรื่อยไปจนกระทั่งจำเลยถูกจับได้พร้อมอาวุธปืน ส่วนความผิดฐานลักทรัพย์หรือรับของโจรนั้นเป็นความผิดในขณะใดขณะหนึ่งตามที่โจทก์กล่าวหา ฉะนั้น การกระทำผิดของจำเลยที่โจทก์กล่าวหาทั้งสองคดีจึงอาจเป็นความผิดคนละกระทงต่างกรรมต่างวาระกันได้ ฟ้องของโจทก์ไม่ต้องห้ามตามกฎหมาย (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 19/2507)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 888/2507 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีอาญาซ้ำซ้อน ความผิดคนละกระทงต่างวาระกัน และขอบเขตการฟ้องคดีอาญา
มีคนร้ายลักอาวุธปืนของผู้เสียหายไปตั้งแต่วันที่12 ต่อมาวันที่ 16 เจ้าพนักงานจับจำเลยได้พร้อมอาวุธปืน พนักงานอัยการโจทก์จึงฟ้องจำเลยฐานมีปืนไว้ในความครอบครองไม่รับอนุญาตเป็นคดีหนึ่ง แล้วฟ้องฐานลักทรัพย์หรือรับของโจรอีกคดีหนึ่ง ดังนี้เห็นได้ว่าการกระทำผิดฐานมีอาวุธปืนนั้น จำเลยย่อมจะได้กระทำผิดนับแต่วาระแรกที่ได้ปืนนั้นมาไว้ในครอบครอง และเป็นความผิดอยู่เรื่อยไปจนกระทั่งจำเลยถูกจับได้พร้อมอาวุธปืน ส่วนความผิดฐานลักทรัพย์หรือรับของโจรนั้น เป็นความผิดในขณะใดขณะหนึ่งตามที่โจทก์กล่าวหา ฉะนั้น การกระทำผิดของจำเลยที่โจทก์กล่าวหาทั้งสองคดีจึงอาจเป็นความผิดคนละกระทงต่างกรรมต่างวาระกันได้ ฟ้องของโจทก์ไม่ต้องห้ามตามกฎหมาย
ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 19/2507

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 781/2507

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญากู้เป็นหลักประกันการชำระหนี้จากค่าจ้างเหมางาน การนำสืบข้อตกลงอันแท้จริงทำได้ ไม่ถือว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงข้อตกลงเดิม
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทำหนังสือสัญญากู้เงินโจทก์และรับเงินไปแล้ว โจทก์ไปทวงถามแล้วจำเลยเพิกเฉย จำเลยให้การว่าไม่ได้กู้และรับเงินโจทก์ โจทก์เชิด พ. เป็นตัวแทนรับจ้างเหมาทำงานของทางราชการ แล้วให้จำเลยกับพ.เป็นผู้ลงแรงและเพื่อเป็นหลักประกันว่าเมื่อจำเลยกับพ. รับเงินค่าจ้างจากทางราชการแล้วจะนำมามอบให้โจทก์ โจทก์จึงให้จำเลยและ พ. ทำหนังสือสัญญากู้ไว้ให้คนละฉบับ โดยมิได้มีการรับเงินตามสัญญานั้น จำเลยกับ พ. ได้มอบเงินให้โจทก์ทุกครั้งที่รับมา คงเหลืองวดสุดท้ายที่ถูกทางราชการหักไว้เป็นค่าปรับ จึงไม่สามารถนำเงินมาให้โจทก์เพื่อขอสัญญากู้คืน ขอให้ยกฟ้อง ดังนี้ จำเลยมีสิทธินำสืบตามข้อต่อสู้ได้ เพราะเป็นการนำสืบถึงข้อตกลงอันเป็นมูลเหตุและความประสงค์ที่ทำสัญญากู้ขึ้นประการหนึ่ง กับนำสืบว่ามูลหนี้อันจะทำให้จำเลยต้องรับผิดใช้เงินให้แก่โจทก์นั้นไม่มี อีกประการหนึ่ง (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 23/2507)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 749/2507

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้ดุลพินิจรอการลงโทษ: ฎีกาต้องห้ามเมื่อเป็นปัญหาข้อเท็จจริง
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลย 3 เดือน ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ให้รอการลงโทษไว้ ดังนี้ โจทก์จะฎีกาขอให้ลงโทษจำคุกโดยไม่ต้องรอไม่ได้ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 220 เพราะการใช้ดุลพินิจในการรอการลงโทษเป็นปัญหาข้อเท็จจริง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 747/2507

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าหนี้มีประกันตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย ต้องมีทรัพย์สิทธิเหนือทรัพย์สินลูกหนี้ การยึดโฉนดหรือระบุทรัพย์ในสัญญาไม่ถือเป็นประกัน
เจ้าหนี้มีประกันตามความหมายของมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 นั้น ต้องเป็นเจ้าหนี้ที่มีทรัพย์สิทธิเหนือทรัพย์สินของลูกหนี้ในทางจำนอง จำนำ หรือมีสิทธิยึดหน่วงหรือมีบุริมสิทธิที่บังคับได้ทำนองเดียวกับผู้รับจำนำ
การที่โจทก์เจ้าหนี้เพียงแต่ยึดโฉนดไว้ โดยไม่ได้ไปทำจำนองกันโดยถูกต้อง และเครื่องจักรที่ระบุไว้ในสัญญานั้นจำเลยลูกหนี้ก็ยังคงครอบครองใช้สอยอยู่โดยไม่ได้ส่งมอบให้โจทก์เจ้าหนี้ยึดไว้แต่ประการใด ดังนี้ โจทก์เจ้าหนี้ย่อมไม่ใช่เจ้าหนี้ผู้มีประกันตามความหมายในมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483
of 68