คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สนิท สุมาวงศ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 679 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 68/2507 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความมรดกและการครอบครองทรัพย์มรดกต่อเนื่อง หากฟ้องคดีแรกขาดอายุความแล้ว คดีหลังก็ขาดอายุความตามไปด้วย
คดีเรื่องก่อน โจทก์ซึ่งเป็นทายาทคนหนึ่งฟ้องนางสาวเสงี่ยมซึ่งเป็นทายาทด้วยกันขอส่วนแบ่งมรดก ทายาทคนอื่นมิได้เข้าเป็นคู่ความร่วมเพื่อขอส่วนแบ่งด้วย คดีถึงที่สุดโดยโจทก์กับนางสาวเสงี่ยมตกลงประนีประนอมยอมความกันให้ที่นามรดกโฉนดที่ 2154 และ 2155 ได้แก่โจทก์ ทรัพย์นอกนั้นได้แก่นางสาวเสงี่ยม ต่อมาโจทก์ไปจัดการขอรับมรดกที่ดินโฉนดนั้นต่อสำนักงานที่ดิน ทายาทอื่นได้โต้แย้งการรับมรดก โจทก์จึงฟ้องทายาทอื่นเป็นจำเลยขอให้ห้ามจำเลยเข้าเกี่ยวข้องและถอนคำโต้แย้งนั้น จำเลยให้การตัดฟ้องว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความมรดก ดังนี้ การฟ้องร้องคดีเรื่องก่อนต้องฟ้องภายในอายุความ คือภายใน 1 ปี อายุความจึงจะสะดุดหยุดอยู่ อันอาจเป็นเหตุทำให้โจทก์ฟ้องคดีเรื่องหลังเกินกว่า 1 ปีได้ แต่ปรากฎว่าเจ้ามรดกตายเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2501 แต่โจทก์ฟ้องคดีเรื่องก่อนเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2502 เป็นเวลาเกินกว่า 1 ปี ขาดอายุความแล้ว ดังนั้นการฟ้องคดีเรื่องก่อนของโจทก์จึงไม่เป็นเหตุทำให้โจทก์มีสิทธิฟ้องคดีเรื่องหลังได้เกินกว่า 1 ปี เมื่อคดีเรื่องหลังปรากฎว่าจำเลยเป็นฝ่ายครอบครองนาพิพาทรายนี้ตลอดมา และนับแต่เจ้ามรดกตาย โจทก์มิได้ครอบครองนาพิพาทรายนี้เลยเป็นเวลาเกือบ 2 ปี คดีเรื่องหลังของโจทก์ย่อมขาดอายุความมรดก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 65/2507

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หลักฐานการยืมเงินและการสันนิษฐานตามกฎหมายเกี่ยวกับเอกสารและการถือหุ้น
หนังสือ ไอ.โอ.ยู. เป็นหลักฐานการยืมเงิน ซึ่งลูกหนี้ทำให้เจ้าหนี้เก็บไว้ เมื่อไม่มีหลักฐานแสดงว่าลูกหนี้ได้ชำระหนี้นั้นแล้ว ต้องถือว่าลูกหนี้ยังเป็นหนี้อยู่ตามเอกสารนั้น
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1141 ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า สมุดทะเบียนผู้ถือหุ้นเป็นพยานหลักฐานอันถูกต้องแม้สมุดทะเบียนนี้สูญหายไป เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของบริษัทผู้ล้มละลายก็อ้างบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นที่กรรมการบริษัทคัดสำเนาส่งนายทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1139วรรค 2 เป็นพยานในคดีที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เรียกให้ผู้ถือหุ้นชำระค่าหุ้นที่ยังค้างชำระแก่บริษัทผู้ล้มละลายได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 54/2507 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิผู้ให้เช่าที่ไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์: สัญญาเช่าที่ทำกับผู้จัดการดูแลทรัพย์สินของวัด
การเช่านั้น ผู้ให้เช่าหาจำต้องเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ให้เช่านั้นไม่ เมื่อจำเลยยินยอมทำสัญญาเช่าที่พิพาทจากโจทก์ โจทก์ก็ย่อมมีสิทธิและหน้าที่ในฐานะที่เป็นผู้ให้เช่าตามสัญญาเช่านั้น เมื่อโจทก์เห็นว่าจำเลยทำผิดสัญญาเช่าโจทก์ ผู้ให้เช่าก็ย่อมมีอำนาจที่จะฟ้องจำเลยผู้เช่าได้ในฐานะที่เป็นคู่สัญญากับจำเลย จำเลยจะโด้แย้งอำนาจของผู้ให้เช่าที่ตนยินยอมทำสัญญาด้วยนั้นหาได้ไม่
ที่ธรณีสงฆ์วัดจันทรสโมสรได้มอบให้กรมการศาสนาโจทก์เป็นผู้จัดการดูแลหาผลประโยชน์ให้แก่วัดมานานแล้ว และกรมการศาสนาโจทก์ได้ให้จำเลยเช่าที่นั้นตลอดมา ดังนี้จำเลยซึ่งเป็นคู่สัญญาเช่ากับกรมการศาสนาโจทก์โดยตรง จะเถียงสิทธิของกรมการศาสนาโจทก์ในเรื่องอำนาจฟ้องหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 54/2507

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องสัญญาเช่า: ผู้จัดการทรัพย์สินมีอำนาจฟ้องได้แม้มิใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์ หากผู้เช่ายินยอมทำสัญญา
การเช่านั้น ผู้ให้เช่าหาจำต้องเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ให้เช่านั้นไม่เมื่อจำเลยยินยอมทำสัญญาเช่าที่พิพาทจากโจทก์โจทก์ก็ย่อมมีสิทธิและหน้าที่ในฐานะที่เป็นผู้ให้เช่าตามสัญญาเช่านั้นเมื่อโจทก์เห็นว่า จำเลยทำผิดสัญญาเช่า โจทก์ผู้ให้เช่าก็ย่อมมีอำนาจที่จะฟ้องจำเลยผู้เช่าได้ในฐานะที่เป็นคู่สัญญากับจำเลย จำเลยจะโต้แย้งอำนาจของผู้ให้เช่าที่ตนยินยอมทำสัญญาด้วยนั้นหาได้ไม่
ที่ธรณีสงฆ์วัดจันทรสโมสรได้มอบให้กรมการศาสนาโจทก์เป็นผู้จัดการดูแลหาผลประโยชน์ให้แก่วัดมานานแล้ว และกรมการศาสนาโจทก์ได้ให้จำเลยเช่าที่นั้นตลอดมาดังนี้จำเลยซึ่งเป็นคู่สัญญาเช่ากับกรมการศาสนาโจทก์โดยตรง จะเถียงสิทธิของกรมการศาสนาโจทก์ในเรื่องอำนาจฟ้องหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 45/2507

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาบุกรุกที่ดิน: ศาลอาญาต้องฟังตามข้อเท็จจริงที่ศาลล่างวินิจฉัย และประเด็นสิทธิที่ดินเป็นเรื่องแพ่ง
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยบุกรุกที่ดินของโจทก์ซึ่งมีราคา 6หมื่นกว่าบาท และทำลายทรัพย์สินในที่ดินนั้น ขอให้ลงโทษและขับไล่จำเลยจำเลยปฏิเสธว่ามิได้บุกรุกและทำให้เสียทรัพย์ กับต่อสู้ว่า ที่พิพาทเป็นของจำเลยศาลชั้นต้นฟังว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์ จำเลยกระทำผิดจริง พิพากษาลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 363 และ 358ปรับ 550 บาท และให้ขับไล่จำเลยกับให้ใช้ค่าเสียหายศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เฉพาะว่าให้ลงโทษจำเลยตามมาตรา 363 แต่บทเดียวปรับ 500 บาท นอกจากที่แก้นี้คงให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ดังนี้ ข้อที่จำเลยฎีกาต่อมาว่า จำเลยโต้แย้งสิทธิที่ดินที่พิพาทในทางแพ่งมาตั้งแต่ก่อนโจทก์ฟ้องไม่เป็นการบุกรุกตามประมวลกฎหมายอาญาเพราะขาดเจตนานั้น ย่อมเป็นฎีกาโต้เถียงในปัญหาข้อเท็จจริงซึ่งศาลล่างฟังมาแล้วว่าจำเลยมีเจตนาบุกรุกจึงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 220ส่วนข้อที่จำเลยฎีกาในทางแพ่งว่าที่พิพาทเป็นของจำเลย แม้จะเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงซึ่งไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งแต่ประเด็นนี้ ในคดีส่วนอาญา ศาลล่างก็ฟังเป็นยุติแล้วว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์ศาลฎีกาจึงต้องฟังข้อเท็จจริงว่าเป็นเช่นนั้นด้วย ไม่มีทางฟังเป็นอย่างอื่นไปได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 45/2507 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบุกรุกที่ดิน: ศาลฎีกาเน้นยึดข้อเท็จจริงที่ศาลล่างฟังเป็นยุติในคดีอาญา แม้จำเลยโต้แย้งสิทธิในที่ดิน
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยบุกรุกที่ดินของโจทก์ ซึ่งมีราคา 6 หมืนกว่าบาท และทำลายทรัพย์สินในที่ดินนั้น ขอให้ลงโทษและขับไล่จำเลย จำเลยปฏิเสธว่ามิได้บุกรุกและทำให้เสียทรัพย์กับต่อสู้ว่า ที่พิพาทเป็นของจำเลย ศาลชั้นต้นฟังว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์ จำเลยกระทำผิดจริง พิพากษาลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 363 และ358 ปรับ 550 บาท และให้ขับไล่จำเลยกับให้ใช้ค่าเสียหาย ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เฉพาะว่าให้ลงโทษจำเลยตามมาตรา 363 แต่บทเดียวปรับ 500 บาท นอกจากที่แก้นี้คงยืนตามคำพิพากษาศษลชั้นต้น ดังนี้ ่ข้อที่จำเลยฎีกาต่อมาว่า จำเลยโต้แย้งสิทธิที่ดินพิพาทในทางแพ่งมาตั้งแต่ก่อนโจทก์ฟ้อง ไม่เป็นการบุกรุกตามประมวลกฎหมายอาญาเพราะขาดเจตนานั้น ย่อมเป็นฎีกาโต้เถียงในปัญหาข้อเท็จจริง ซึ่งศาลล่างฟังมาแล้วว่าจำเลยมีเจตนาบุกรุก จึงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 220 ส่วนข้อที่จำเลยฎีกาในทางแพ่งว่าที่พิพาทเป็นของจำเลย แม้จะเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ซึ่งไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง แต่ประเด็นนี้ ในคดีส่วนอาญา ศาลล่างก็ฟังเป็นยุติแล้วว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์ ศาลฎีกาจึงต้องฟังข้อเท็จจริงว่าเป็นเช่นนั้นด้วย ไม่มีทางฟังเป็นอย่างอื่นไปได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2012/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์รวมในทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาที่ไม่จดทะเบียนสมรสและการแบ่งทรัพย์สินเมื่อมีภริยาหลายคน
จำเลยมีผู้ร้องสลดเป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายอยู่แล้ว ตั้งแต่ก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ภายหลังการใช้บรรพนี้แล้วจำเลยยังได้โจทก์เป็นภริยาอีก แต่มิได้จดทะเบียนสมรส ภริยาแต่ละคนของจำเลยมีถิ่นที่อยู่ต่างตำบลกันและมีทรัพย์สินอยู่ ณ ตำบลที่อยู่ของแต่ละคน แสดงว่าได้แบ่งแยกกันเป็นส่วนสัดแล้ว ทรัพย์สินที่โจทก์กับจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของร่วมกันหรือทำมาหาได้ร่วมกัน จำเลยที่ 1 ย่อมไม่มีอำนาจเอาไปขายทั้งหมดโดยมิได้รับความยินยอมจากโจทก์ โจทก์กับจำเลยที่ 1 ได้ครอบครองทรัพย์สินเหล่านี้มา โจทก์จึงมีส่วนได้กึ่งหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2012/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ร่วมในทรัพย์สินที่ได้มาในระหว่างการอยู่กินฉันสามีภริยา และการแบ่งทรัพย์สินเมื่อมีภริยาหลายคน
จำเลยมีผู้ร้องสอดเป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายอยู่แล้วตั้งแต่ก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ภายหลังการใช้บรรพนี้แล้วจำเลยยังได้โจทก์เป็นภริยาอีก แต่มิได้จดทะเบียนสมรส ภริยาแต่ละคนของจำเลยมีถิ่นที่อยู่ต่างตำบลกันและมีทรัพย์สินอยู่ ณ ตำบลที่อยู่ของแต่ละคน แสดงว่าได้แบ่งแยกกันเป็นส่วนสัดแล้ว ทรัพย์สินที่โจทก์กับจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของร่วมกันหรือทำมาหาได้ร่วมกัน จำเลยที่ 1 ย่อมไม่มีอำนาจเอาไปขายทั้งหมดโดยมิได้รับความยินยอมจากโจทก์ โจทก์กับจำเลยที่ 1 ได้ครอบครองทรัพย์สินเหล่านี้มา โจทก์จึงมีส่วนได้กึ่งหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1991/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ละเมิดจากเจ้าหน้าที่ใช้อำนาจเกินขอบเขต – อายุความ 1 ปี
ผู้ว่าราชการจังหวัดสั่งจ่ายเงินผิดประเภท โดยไม่มีอำนาจ เป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ทำให้จังหวัดได้รับความเสียหาย กรณีเช่นนี้เป็นละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 โจทก์ต้องฟ้องภายในอายุความ 1 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 448

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1991/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ละเมิดจากเจ้าหน้าที่ใช้เงินผิดประเภท อายุความ 1 ปี เริ่มนับจากรู้หรือควรรู้ถึงการละเมิด
ผู้ว่าราชการจังหวัดสั่งจ่ายเงินผิดประเภทโดยไม่มีอำนาจเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ทำให้จังหวัดได้รับความเสียหาย กรณีเช่นนี้เป็นละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 โจทก์ต้องฟ้องภายในอายุความ 1 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448
of 68