พบผลลัพธ์ทั้งหมด 679 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1619/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ในทรัพย์มรดก อำนาจฟ้อง และการคุ้มครองค่าเช่าตาม พ.ร.บ.ควบคุมค่าเช่า
สถานที่เช่าเป็นเคหะสถานอันได้รับความคุ้มครองจากพระราชบัญญัติควบคุมค่าเช่าหรือไม่นั้น จำเลยต้องนำสืบก่อน
ข้อพิพาทด้วยกรรมสิทธิ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 224 นั้น เป็นเรื่องที่คู่ความโต้เถียงกันว่า ฝ่ายใดมีกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์เป็นประการสำคัญ การที่อ้างว่าผู้ใดไม่มีอำนาจฟ้องเพราะไม่มีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์พิพาท ไม่ใช่ข้อพิพาทด้วยกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์
จำเลยอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงศาลชั้นต้นสั่งว่า "รับเป็นอุทธรณ์ของจำเลยให้นำส่งสำเนาให้โจทก์ภายใน 15 วัน" ศาลฎีกาเห็นว่า ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์ตามธรรมดา ไม่ได้สั่งในรูปรับรองให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 2+ วรรคสองเมื่อศาลอุทธรณ์เห็นว่าประเด็นใดเป็นประเด็นข้อเท็จจริงต้องห้ามไม่ให้อุทธรณ์ ก็ไม่หยิบยกประเด็นนั้น ๆ ขึ้นวินิจฉัย เป็นการถูกต้องแล้ว
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1599 ทายาทย่อมได้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์มรดก ตั้งแต่เจ้ามรดกตาย แม้จะยังไม่ได้จดทะเบียนสิทธินั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 12+ก็ตาม
ข้อพิพาทด้วยกรรมสิทธิ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 224 นั้น เป็นเรื่องที่คู่ความโต้เถียงกันว่า ฝ่ายใดมีกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์เป็นประการสำคัญ การที่อ้างว่าผู้ใดไม่มีอำนาจฟ้องเพราะไม่มีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์พิพาท ไม่ใช่ข้อพิพาทด้วยกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์
จำเลยอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงศาลชั้นต้นสั่งว่า "รับเป็นอุทธรณ์ของจำเลยให้นำส่งสำเนาให้โจทก์ภายใน 15 วัน" ศาลฎีกาเห็นว่า ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์ตามธรรมดา ไม่ได้สั่งในรูปรับรองให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 2+ วรรคสองเมื่อศาลอุทธรณ์เห็นว่าประเด็นใดเป็นประเด็นข้อเท็จจริงต้องห้ามไม่ให้อุทธรณ์ ก็ไม่หยิบยกประเด็นนั้น ๆ ขึ้นวินิจฉัย เป็นการถูกต้องแล้ว
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1599 ทายาทย่อมได้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์มรดก ตั้งแต่เจ้ามรดกตาย แม้จะยังไม่ได้จดทะเบียนสิทธินั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 12+ก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1599/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าเฉพาะตัว: ผู้รับโอนสิทธิในบ้านไม่ได้รับความคุ้มครองหากไม่ได้ทำสัญญาเช่าที่ดินกับเจ้าของที่ดิน
แม้ผู้เช่าที่ดินของโจทก์เพื่อปลูกสร้างเคหะอยู่อาศัยจะได้รับความคุ้มครองจากพระราชบัญญัติควบคุมค่าเช่าฯ ก็ดี หากผู้เช่าที่ดินได้ขายฝากเฉพาะเคหะจนหลุดเป็นสิทธิแก่จำเลยเมื่อจำเลยยังไม่ได้ทำสัญญาเช่าที่ดินกับโจทก์ ก็ย่อมไม่ได้รับความคุ้มครองเพราะสัญญาเช่าที่ดินเป็นการเฉพาะตัว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1599/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าเฉพาะตัว: การโอนสิทธิในบ้านไม่ทำให้ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายเช่า หากไม่มีสัญญาเช่ากับเจ้าของที่ดิน
แม้ผู้เช่าที่ดินของโจทก์เพื่อปลูกสร้างเคหะอยู่อาศัยจะได้รับความคุ้มครองจากพระราชบัญญัติควบคุมค่าเช่า ฯ ก็ดี หากผู้เช่าที่ดินได้ขายฝากเฉพาะเคหะจนหลุดเป็นสิทธิแก่จำเลย เมื่อจำเลยยังไม่ได้ทำสัญญาเช่าที่ดินกับโจทก์ ก็ย่อมไม่ได้รับความคุ้มครอง เพราะสัญญาเช่าที่ดินเป็นการเฉพาะตัว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1574/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์: เริ่มนับระยะเวลาหลังแบ่งแยกโฉนด, อายุความสะดุดหยุดเมื่อมีการฟ้องร้อง
อ.และฉ.กับคนอื่นมีชื่อในโฉนดว่าเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดินแปลงหนึ่งซึ่งยังมิได้แบ่งแยกกันเป็นส่วนสัด การที่ อ.ครอบครองที่ส่วนใดส่วนหนึ่งของที่ดินแปลงนั้นย่อมต้องถือว่าครอบครองที่ส่วนนั้นในฐานะเจ้าของร่วมคนหนึ่งเท่านั้น ไม่ก่อให้เกิดสิทธิที่จะอ้างว่าตนครอบครองทรัพย์สินของผู้อื่นไว้ด้วยเจตนาเป็นเจ้าของเสียแต่คนเดียว ครั้นแบ่งแยกโฉนดเป็นที่ดิน 2 แปลงแล้วปรากฏว่าส่วนที่ อ.ครอบครองอยู่นั้นล้ำเข้าไปอยู่ในเขตโฉนดของฉ.8ตารางวา เมื่ออ.ยังคงครอบครองที่ส่วนนี้ต่อมา ก็อาจอ้างได้ว่าครอบครองในลักษณะปรปักษ์ตั้งแต่เวลาที่มีการแบ่งแยกโฉนดกันนั้น
อ.ครอบครองที่ดินพิพาทในลักษณะปรปักษ์อยู่ชั่วระยะเวลาหนึ่งแล้วโอนให้ จ. ดังนี้ ย่อมนับเวลาซึ่ง อ.ครอบครองกับที่ จ.ครอบครอง รวมกันเป็นอายุความครอบครองโดยปรปักษ์ได้
จ.มีรั้วล้ำเข้าไปอยู่ในเขตที่ดินของ ฉ.เป็นเนื้อที่8 ตารางวา ฉ.ฟ้องจ.ขอบังคับให้รื้อรั้ว จ.ให้การว่าอ.สามีตนทำรั้วเข้าไปในเขตที่ดินของ ฉ.ฉ.ไม่ทักท้วงจนเกิน10ปีแล้ว ฉ.จึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกค่าเสียหายในการที่ไม่ได้ใช้ที่ดิน ศาลพิพากษาให้จ.รื้อรั้ว ดังนี้ อายุความการครอบครองโดยปรปักษ์ในที่ดิน 8 ตารางวานั้น ย่อมสะดุดหยุดลงนับแต่วันที่ฉ.ยื่นฟ้อง (แม้ศาลจะมิได้วินิจฉัยไว้โดยตรงในปัญหาที่ว่าฝ่าย จ.ครอบครองที่ดิน 8 ตารางวานี้มาเกิน10 ปีหรือไม่ก็ตาม)
อ.เป็นเจ้าของที่ดินโฉนดที่ 5449 ได้ทำรั้วเขตรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของ ฉ.เป็นเนื้อที่8ตารางวา ต่อมาอ.โอนที่ดินโฉนดที่ 5449 นั้นให้แก่ จ.เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์คนเดียวและนับแต่นั้นเองก็ไม่ได้แสดงกิริยาอาการอย่างใดให้ถือว่าเป็นผู้ครอบครองที่ดิน 8 ตารางวานั้นอยู่โดยเฉพาะเจาะจงอีก ดังนี้ เมื่อ ฉ.จะฟ้องคดีเพื่อให้อายุความครอบครองโดยปรปักษ์สะดุดหยุดลงก็ชอบที่จะฟ้องแต่ จ.คนเดียวได้
อ.ครอบครองที่ดินพิพาทในลักษณะปรปักษ์อยู่ชั่วระยะเวลาหนึ่งแล้วโอนให้ จ. ดังนี้ ย่อมนับเวลาซึ่ง อ.ครอบครองกับที่ จ.ครอบครอง รวมกันเป็นอายุความครอบครองโดยปรปักษ์ได้
จ.มีรั้วล้ำเข้าไปอยู่ในเขตที่ดินของ ฉ.เป็นเนื้อที่8 ตารางวา ฉ.ฟ้องจ.ขอบังคับให้รื้อรั้ว จ.ให้การว่าอ.สามีตนทำรั้วเข้าไปในเขตที่ดินของ ฉ.ฉ.ไม่ทักท้วงจนเกิน10ปีแล้ว ฉ.จึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกค่าเสียหายในการที่ไม่ได้ใช้ที่ดิน ศาลพิพากษาให้จ.รื้อรั้ว ดังนี้ อายุความการครอบครองโดยปรปักษ์ในที่ดิน 8 ตารางวานั้น ย่อมสะดุดหยุดลงนับแต่วันที่ฉ.ยื่นฟ้อง (แม้ศาลจะมิได้วินิจฉัยไว้โดยตรงในปัญหาที่ว่าฝ่าย จ.ครอบครองที่ดิน 8 ตารางวานี้มาเกิน10 ปีหรือไม่ก็ตาม)
อ.เป็นเจ้าของที่ดินโฉนดที่ 5449 ได้ทำรั้วเขตรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของ ฉ.เป็นเนื้อที่8ตารางวา ต่อมาอ.โอนที่ดินโฉนดที่ 5449 นั้นให้แก่ จ.เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์คนเดียวและนับแต่นั้นเองก็ไม่ได้แสดงกิริยาอาการอย่างใดให้ถือว่าเป็นผู้ครอบครองที่ดิน 8 ตารางวานั้นอยู่โดยเฉพาะเจาะจงอีก ดังนี้ เมื่อ ฉ.จะฟ้องคดีเพื่อให้อายุความครอบครองโดยปรปักษ์สะดุดหยุดลงก็ชอบที่จะฟ้องแต่ จ.คนเดียวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1550/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษฐานครอบครองไม้หวงห้ามแปรรูป ต้องพิจารณาประเภทไม้ที่ครอบครองตามฟ้อง
ฟ้องว่าจำเลยมีใช้ในความครอบครองซึ่งไม้หวงห้ามแปรรูปเป็นเสาถาก 75 ท่อน ขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ.2484 มาตรา 69 และพระราชบัญญัติป่าไม้ (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2503 มาตรา 12 ซึ่งเป็นบทลงโทษผู้มีไม้หวงห้ามอันยังมิได้แปรรูป และโจทก์นำสืบฟังได้ว่าไม้ของกลางเป็นไม้แปรรูป คือ ถากเป็นเสาแล้ว ดังนี้จะลงโทษจำเลยฐานมีไม้หวงห้ามอันยังมิได้แปรรูปตามที่โจทก์ขอให้ลงโทษไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1550/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพากษาคดีไม้หวงห้าม ต้องพิจารณาประเภทไม้ที่ครอบครอง หากเป็นไม้แปรรูปแล้ว การลงโทษตามบทบัญญัติสำหรับไม้ยังไม่แปรรูปย่อมไม่ชอบ
ฟ้องว่าจำเลยมีไว้ในความครอบครองซึ่งไม้หวงห้ามแปรรูปเป็นเสาถาก 75 ท่อน ขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ.2484 มาตรา 69 และพระราชบัญญัติป่าไม้(ฉบับที่4) พ.ศ.2503มาตรา 12 ซึ่งเป็นบทลงโทษผู้มีไม้หวงห้ามอันยังมิได้แปรรูป และโจทก์นำสืบฟังได้ว่าไม้ของกลางเป็นไม้แปรรูป คือถากเป็นเสาแล้วดังนี้จะลงโทษจำเลยฐานมีไม้หวงห้ามอันยังมิได้แปรรูปตามที่โจทก์ขอให้ลงโทษไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1491/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิครอบครองที่ดินแทนสินสอด และสิทธิเรียกร้องสินสอดเมื่อไม่จดทะเบียนสมรส
บิดามารดาของฝ่ายชายยกที่นามือเปล่าให้แก่มารดาของฝ่ายหญิงแทนเงินค่าสินสอด โดยทำหนังสือสัญญากันเองและได้ชี้เขตแบ่งแยกออกจากที่นาผืนใหญ่ของตน ทั้งมารดาของฝ่ายหญิงก็เข้าครอบครองที่นานั้นแล้ว ดังนี้ ถือได้ว่าสิทธิครอบครองที่นาส่วนนั้นตกได้แก่มารดาของฝ่ายหญิงแล้ว โดยไม่จำต้องไปจดทะเบียน
สิทธิของชายที่จะเรียกคืนสินสอดในกรณีที่การสมรสไม่สมบูรณ์เพราะขาดการจดทะเบียนนั้น จะต้องปรากฏว่าหญิงเป็นฝ่ายผิด ไม่ยอมจดทะเบียนสมรส
สิทธิของชายที่จะเรียกคืนสินสอดในกรณีที่การสมรสไม่สมบูรณ์เพราะขาดการจดทะเบียนนั้น จะต้องปรากฏว่าหญิงเป็นฝ่ายผิด ไม่ยอมจดทะเบียนสมรส
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1491/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสละสิทธิครอบครองที่ดินแทนสินสอดและการเรียกคืนสินสอดเมื่อไม่จดทะเบียนสมรส
บิดามารดาของฝ่ายชายยกที่นามือเปล่าให้แก่มารดาของฝ่ายหญิง แทนเงินค่าสินสอด โดยทำหนังสือสัญญากันเอง และได้ชี้เขตแบ่งแยกออกจากที่นาผืนใหญ่ของตน ทั้งมารดาของฝ่ายหญิงก็เข้าครอบครองที่นานั้นแล้ว ดังนี้ ถือได้ว่าสิทธิครอบครองที่นาส่วนนั้นตกได้แก่มารดาของฝ่ายหญิงแล้ว โดยไม่จำต้องไปจดทะเบียน
สิทธิของชายที่จะเรียกคืนสินสอดในกรณีที่การสมรสไม่สมบูรณ์เพราะขาดการจดทะเบียนนั้น จะต้องปรากฎว่าหญิงป็นฝ่ายผิด ไม่ยอมจดทะเบียนสมรส
สิทธิของชายที่จะเรียกคืนสินสอดในกรณีที่การสมรสไม่สมบูรณ์เพราะขาดการจดทะเบียนนั้น จะต้องปรากฎว่าหญิงป็นฝ่ายผิด ไม่ยอมจดทะเบียนสมรส
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1483/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำนองที่ดินโดยโฉนดที่ออกให้บุคคลไม่มีตัวตน และการรับจำนองโดยไม่สุจริต
ผู้ร้องเป็นเจ้าของครอบครองที่ดินพิพาทอยู่โดยยังไม่ได้โฉนด มีผู้อื่นไปจัดการออกโฉนดทับที่พิพาท โดยใส่ชื่อ ด. เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ แต่บุคคลที่ชื่อ ด. นี้ไม่มีตัวตนจริงการออกโฉนดนี้จึงเป็นการไม่สุจริต ไม่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์รับจำนองที่พิพาทตามหน้าโฉนดที่มีชื่อ ด.ถือกรรมสิทธิ์นี้ไว้.โดยอ้างว่าย. ญาติของตนเป็นผู้ติดต่อขอจำนอง โจทก์ไม่รู้จักหรือเคยพบเห็นคนที่ชื่อ ด.นี้เลย ในวันทำสัญญาจำนองก็มีว. ซึ่งโจทก์ไม่รู้จักมาอ้างว่าเป็นหลานของ ด.ได้รับมอบอำนาจจากด. ให้มาทำสัญญาจำนองโจทก์ก็เชื่อจึงรับจำนองและมอบเงินให้ ว.ไป.แต่แล้วโจทก์ก็ไม่มีย. และ ว.มาสืบ และเมื่อโฉนดนี้ออกให้แก่ด. ผู้ไม่มีตัวตนดังกล่าวแล้ว ใบมอบอำนาจนั้นก็ย่อมไม่มีผู้มอบเป็นตัวตนด้วยเช่นกัน ดังนี้ จึงฟังไม่ได้ว่าโจทก์รับจำนองไว้โดยสุจริตและเสียค่าตอบแทน โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิยึดที่พิพาทเพื่อบังคับจำนอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1483/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
โฉนดที่ดินไม่ชอบด้วยกฎหมาย & การรับจำนองโดยไม่สุจริต ทำให้สิทธิยึดไร้ผล
ผู้ร้องเป็นเจ้าของครอบครองที่ดินพิพาทอยู่โดยยังไม่ได้โฉนด มีผู้อื่นไปจัดการออกโฉนดทับที่พิพาท โดยใส่ชื่อ ค. เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ แต่บุคคลที่ชื่อ ค.นี้ไม่มีตัวตนจริง การออกโฉนดนี้จึงเป็นการไม่สุจริต ไม่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์รับจำนองที่พิพาทตามหน้าโฉนดที่มีชื่อ ค.ถือกรรมสิทธิ์นี้ไว้ โดยอ้างว่า ย.ญาติของตนเป็นผู้ติดต่อขอจำนองโจทก์ไม่รู้จักหรือเคยพบเห็นคนที่ชื่อ ค.นี้เลย ในวันทำสัญญาจำนองก็มี ว.ซึ่งโจทก์ไม่รู้จักมาอ้างว่าเป็นหลานของ ค. ได้รับมอบอำนาจจาก ค.ให้มาทำสัญญาจำนอง โจทก์ก็้เชื่อจึงรับจำนองและมอบเงินให้ ว.ไป แต่แล้วโจทก์ไม่มี ย.และ ว.มาสืบ และเมื่อโฉนดนี้ออกให้แก่ ค. ผู้ไม่มีตัวตนดังกล่าวแล้ว ใบมอบอำนาจนั้นก็ย่อมไม่มีผู้มอบเป็นตัวตนด้วยเช่นกัน ดังนี้ จึงฟังไม่ได้ว่าโจทก์รับจำนองไว้โดยสุจริตและเสียค่าตอบแทน โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิยึดที่พิพาทเพื่อบังคับจำนอง