คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สนิท สุมาวงศ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 679 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 196/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์พ้นระยะเวลา 3 ปี สัญญาใหม่ไม่มีกำหนดเวลา ผู้ให้เช่ามีสิทธิขายได้
ทำสัญญาเช่าสวนมีกำหนดเวลาเช่า 10 ปี โดยไม่ได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ได้ตกลงกันไว้ในสัญญาเช่าว่า ถ้าผู้ให้เช่า(จำเลย)โอนกรรมสิทธิ์ที่เช่าไปก่อนหมดกำหนดเวลาเช่า ผู้ให้เช่าจะต้องชดใช้ค่าเสียหายแก่ผู้เช่า (โจทก์) เช่าสวนมาได้ 8 ปีเศษ ผู้ให้เช่าจึงโอนขายที่สวนแปลงนี้ไปนั้น เมื่อปรากฏว่า สิ้นกำหนดเวลาสามปีแล้ว โจทก์ยังคงเช่าอยู่ต่อไป จึงต้องถือว่าเป็นอันทำสัญญาเช่ากันใหม่โดยไม่มีกำหนดเวลาตามมาตรา 570 จริงอยู่ คู่กรณีอาจต้องผูกพันตามข้อสัญญาเดิมต่อไป แต่ก็จำต้องพิจารณาข้อสัญญานั้นเป็นเรื่อง ๆ ไป ข้อสัญญาใดมีสภาพที่จะผูกพันกันได้ ก็ย่อมผูกพันกัน แต่ถ้าข้อสัญญาใดโดยสภาพไม่อาจผูกพันกันต่อไปได้ ก็ย่อมไม่ผูกพัน เมื่อสัญญาเช่ารายนี้เปลี่ยนเป็นสัญญาเช่าที่ไม่มีกำหนดเวลาไปเสียแล้ว จึงไม่มีกำหนดเวลาที่จะอาศัยเป็นหลักแห่งความรับผิดที่จะต้องชดใช้ค่าเสียหายแก่กัน ฉะนั้น การที่จำเลย(ผู้ให้เช่า) โอนขายกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ที่ให้เช่าให้ผู้อื่นไปเมื่อการเช่าล่วงเลยกว่าสามปีไปแล้ว จึงไม่อยู่ในบังคับของสัญญา จำเลยมีสิทธิโอนขายได้ โจทก์ไม่มีสิทธิจะเรียกเอาค่าเสียหายแก่จำเลย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 196/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์หลัง 3 ปี: สิทธิโอน-ชดใช้ค่าเสียหาย
ทำสัญญาเช่าสวนมีกำหนดเวลาเช่า 10 ปีโดยไม่จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ตกลงกันไว้ในสัญญาเช่าว่า ถ้าผู้ให้เช่า (จำเลย) โอนกรรมสิทธิ์ที่เช่าไปก่อนหมดกำหนดเวลาเช่า ผู้ให้เช่าจะต้องชดใช้ค่าเสียหายแก่ผู้เช่า(โจทก์) เช่าสวนมาได้ 8 ปีเศษผู้ให้เช่าจึงโอนขายที่สวนแปลงนี้ไปนั้น เมื่อปรากฏว่า สิ้นกำหนดเวลาสามปีแล้ว โจทก์ยังคงเช่าอยู่ต่อไปจึงต้องถือว่าเป็นอันทำสัญญาเช่ากันใหม่โดยไม่มีกำหนดเวลาตามมาตรา 570 จริงอยู่คู่กรณีอาจต้องผูกพันตามข้อสัญญาเดิมต่อไปแต่ก็จำต้องพิจารณาข้อสัญญานั้นเป็นเรื่องๆ ไปข้อสัญญาใดมีสภาพที่จะผูกพันกันได้ ก็ย่อมผูกพันกัน แต่ถ้าข้อสัญญาใดโดยสภาพไม่อาจผูกพันกันต่อไปได้ ก็ย่อมไม่ผูกพัน เมื่อสัญญาเช่ารายนี้เปลี่ยนเป็นสัญญาเช่าที่ไม่มีกำหนดเวลาไปเสียแล้วจึงไม่มีกำหนดเวลาที่จะอาศัยเป็นหลักแห่งความรับผิดที่จะต้องชดใช้ค่าเสียหายแก่กันฉะนั้น การที่จำเลย (ผู้ให้เช่า) โอนขายกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ที่ให้เช่าให้ผู้อื่นไปเมื่อการเช่าล่วงเลยกว่าสามปีไปแล้ว จึงไม่อยู่ในบังคับของสัญญา จำเลยมีสิทธิโอนขายได้ โจทก์ไม่มีสิทธิจะเรียกเอาค่าเสียหายแก่จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1525/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้อง, ใบมอบอำนาจ, การรับข้อเท็จจริง, ประเด็นยุติ, การยกข้อกล่าวหาไม่ทันเวลา
กรมมอบอำนาจให้ฟ้องคดี ใบมอบอำนาจไม่ต้องปิดอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 121
ใบมอบอำนาจท้ายฟ้อง ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของฟ้อง
จำเลยอ้างว่าโจทก์ไม่มีสำเนาใบมอบอำนาจติดท้ายฟ้องส่งให้แก่จำเลย ปรากฏว่า เมื่อจำเลยรับสำเนาฟ้องแล้วได้ดำเนินคดีเรื่อยมา เพิ่งยกขึ้นกล่าวอ้างก่อนศาลชั้นต้นพิพากษาคดี 2 วัน เกินกำหนดเวลากฎหมายกำหนดไว้ จึงไม่มีผลประการใด
เมื่อจำเลยให้การรับว่า จำเลยได้ขับรถยนต์แฉลบลงข้างทางตามฟ้องโจทก์ ข้อเท็จจริงก็รับฟังเป็นยุติจากคำฟ้องโจทก์คำให้การจำเลย แม้โจทก์จะนำสืบว่าจำเลยขับรถยนต์ชนต้นไม้เมื่อวันที่ 5 มกราคม 2504 (ฟ้องว่า จำเลยขับรถยนต์ชนต้นไม้ วันที่ 6 มกราคม 2504) ก็ไม่เป็นเหตุถึงกับทำให้ศาลยกฟ้องโจทก์
ข้อเท็จจริงที่ว่า กรมอนามัยได้ใช้ราคารถยนต์ให้แก่องค์การยูนิเซฟแล้วหรือไม่ จำเลยไม่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ จะยกขึ้นว่ากล่าวในชั้นฎีกาไม่ได้ ต้องห้ามตามมาตรา 249 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1525/2508

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้อง, ใบมอบอำนาจ, การรับข้อเท็จจริง, ประเด็นยุติ, ข้อกล่าวอ้างใหม่ในชั้นฎีกา
กรมมอบอำนาจให้ฟ้องคดี ใบมอบอำนาจไม่ต้องปิดอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 121
ใบมอบอำนาจท้ายฟ้อง ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของฟ้อง
จำเลยอ้างว่าโจทก์ไม่มีสำเนาใบมอบอำนาจติดท้ายฟ้องส่งให้แก่จำเลย ปรากฏว่าเมื่อจำเลยรับสำเนาฟ้องแล้วได้ดำเนินคดีเรื่อยมา เพิ่งยกขึ้นกล่าวอ้างก่อนศาลชั้นต้นพิพากษาคดี 2 วัน เกินกำหนดเวลากฎหมายกำหนดไว้ จึงไม่มีผลประการใด
เมื่อจำเลยให้การรับว่า จำเลยได้ขับรถยนต์แฉลบลงข้างทางตามฟ้องโจทก์ ข้อเท็จจริงก็รับฟังเป็นยุติจากคำฟ้องโจทก์คำให้การจำเลย แม้โจทก์จะนำสืบว่าจำเลยขับรถยนต์ชนต้นไม้เมื่อวันที่ 5 มกราคม 2504 (ฟ้องว่าจำเลยขับรถยนต์ชนต้นไม้ วันที่ 6 มกราคม 2504) ก็ไม่เป็นเหตุถึงกับทำให้ศาลยกฟ้องโจทก์
ข้อเท็จจริงที่ว่า กรมอนามัยได้ใช้ราคารถยนต์ให้แก่องค์การยูนิเซฟแล้วหรือไม่ จำเลยไม่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ จะยกขึ้นว่ากล่าวในชั้นฎีกาไม่ได้ ต้องห้ามตามมาตรา 249 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1415/2508

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชี้สองสถานต้องมีการกำหนดประเด็นและหน้าที่การนำสืบ หากยังไม่ได้ทำ ถือไม่ได้ว่าเป็นการชี้สองสถาน
การที่ศาลชั้นต้นตรวจคำฟ้อง คำให้การ แล้วสั่งให้โจทก์นำสืบก่อน โดยไม่ได้กะประเด็นและกะหน้าที่นำสืบลงไป กระบวนพิจารณาที่ศาลทำไปเช่นนี้ ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการชี้สองสถาน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1415/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชี้สองสถานต้องมีการกะประเด็นและหน้าที่นำสืบ การสั่งให้นำสืบก่อนยังไม่ถือว่าเป็นการชี้สองสถาน
การที่ศาลชั้นต้นตรวจคำฟ้อง คำให้การ แล้วสั่งให้โจทก์นำสืบก่อน โดยไม่ได้กะประเด็นและกะหน้าที่นำสืบลงไป กระบวนพิจารณาที่ศาลทำไปเช่นนี้ ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการชี้สองสถาน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1291/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ประเด็นการสืบพยานนอกฟ้องและคำให้การกำกวมในคดีปลอมแปลงเอกสาร การนำสืบต้องอยู่ในประเด็นที่ฟ้อง
โจทก์ฟ้องว่า นาวาอากาศโทไสวสมคบกับบุคคลอื่นปลอมลายพิมพ์นิ้วมือของโจทก์ คดีจึงมีประเด็นว่า ลายพิมพ์นิ้วมือในใบมอบอำนาจเป็นลายพิมพ์นิ้วมือของโจทก์ปลอมหรือไม่ โจทก์นำสืบว่า ลายพิมพ์นิ้วมือไม่ได้รับรองในขณะที่ลงลายพิมพ์นิ้วมือ จึงเป็นการสืบนอกฟ้องนอกประเด็น
จำเลยต่อสู้ว่า ใบมอบอำนาจไม่ปลอม ลายพิมพ์นิ้วมือในใบมอบอำนาจเป็นลายพิมพ์นิ้วมือของโจทก์ แล้วกลับให้การว่า ถ้าลายพิมพ์นิ้วมือและข้อความในใบมอบอำนาจ ไม่ใช่ลายพิมพ์นิ้วมือของโจทก์ โจทก์ก็สมคบกันปลอมขึ้น จำเลยมีสิทธิที่จะให้การเช่นนั้น และชอบที่จะนำสืบตามคำให้การได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1291/2508

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสืบพยานนอกประเด็นฟ้อง และสิทธิของจำเลยในการต่อสู้คดี
โจทก์ฟ้องว่า นาวาอากาศโทไสวสมคบกับบุคคลอื่นปลอมลายพิมพ์นิ้วมือของโจทก์ คดีจึงมีประเด็นว่าลายพิมพ์นิ้วมือในใบมอบอำนาจเป็นลายพิมพ์นิ้วมือของโจทก์ปลอมหรือไม่ โจทก์นำสืบว่า ลายพิมพ์นิ้วมือไม่ได้รับรองในขณะที่ลงลายพิมพ์นิ้วมือ จึงเป็นการสืบนอกฟ้องนอกประเด็น
จำเลยต่อสู้ว่า ใบมอบอำนาจไม่ปลอม ลายพิมพ์นิ้วมือในใบมอบอำนาจเป็นลายพิมพ์นิ้วมือของโจทก์ แล้วกลับให้การว่าถ้าลายพิมพ์นิ้วมือและข้อความในใบมอบอำนาจไม่ใช่ลายพิมพ์นิ้วมือของโจทก์ โจทก์ก็สมคบกันปลอมขึ้น จำเลยมีสิทธิที่จะให้การเช่นนั้นและชอบที่จะนำสืบตามคำให้การได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1237/2508

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเช่าตึกเพื่อประกอบธุรกิจไม่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายควบคุมค่าเช่า แม้ใช้เป็นที่อยู่อาศัยด้วย
จำเลยเช่าตึกพิพาทเพื่อประกอบการค้า ฉะนั้น ถึงแม้จำเลยจะใช้ตึกพิพาทอยู่อาศัยด้วย ตึกพิพาทก็มิใช่เคหะอันจะได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติควบคุมค่าเช่าในภาวะคับขันฯ
คดีนี้ พิพาทกันก่อนประกาศใช้พระราชบัญญัติควบคุมการเช่าเคหะและที่ดิน พ.ศ.2504 ออกใช้ จึงต้องบังคับคดีตามพระราชบัญญัติควบคุมค่าเช่าในภาวะคับขัน พ.ศ.2489 แต่อย่างไรก็ดี เมื่อฟังว่าจำเลยใช้ตึกพิพาทเพื่อประกอบธุรกิจการค้า จำเลยก็ไม่ได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติควบคุมการเช่าเคหะและที่ดิน พ.ศ.2504 เช่นเดียวกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1234/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยื่นบัญชีระบุพยานเกินกำหนด แต่มีเหตุผลอันสมควร ศาลมีอำนาจรับฟังพยานหลักฐานได้เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม
วันสุดท้ายที่โจทก์มีสิทธิยื่นบัญชีระบุพยานเป็นวันพืชมงคลอันเป็นวันหยุดราชการ วันถัดมาเป็นวันเสาร์และอาทิตย์ซึ่งเป็นวันหยุดราชการเช่นเดียวกัน โจทก์ยื่นบัญชีระบุพยานในวันจันทร์ ศาลชั้นต้นสั่งรวมโจทก์นำพยานที่ระบุไว้มาสืบในวันอังคาร ดังนี้ ยังไม่พอฟังว่าโจทก์มีเจตนาฝ่าฝืน และเมื่อพิจารณาพฤติการณ์ดังกล่าวประกอบกับมาตรา 87(2) แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งแล้ว ศาลฎีกาเห็นว่ากรณีสมควรจะรับฟังพยานหลักฐานของโจทก์
of 68