พบผลลัพธ์ทั้งหมด 65 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9661/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานเบียดบังทรัพย์โดยทุจริต: การร่วมวางแผนและบทบัญญัติผู้ช่วยเหลือ
พ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ.2535 มาตรา 308 กำหนดความผิดของกรรมการ ผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลตาม พ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ.2535 เบียดบังเอาทรัพย์ของนิติบุคคลเป็นของตนหรือบุคคลที่สามโดยทุจริต จำเลยที่ 3 เป็นนิติบุคคลอีกแห่งหนึ่ง ไม่ได้เป็นกรรมการ ผู้จัดการ หรือบุคคลซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของโจทก์ร่วม แม้การกระทำของจำเลยที่ 3 เป็นการสั่งจ่ายเช็คที่ไม่มีเงินและไม่มีวงเงินในบัญชีกระแสรายวัน แล้วจำเลยที่ 1 และที่ 2 อนุมัติสินเชื่อตั้งวงเงินชั่วคราวโดยมิชอบ เป็นเหตุให้จำเลยที่ 3 ได้เงินดังกล่าวไปจากโจทก์ร่วม ซึ่งลักษณะเป็นการร่วมวางแผนและร่วมลงมือมาแต่ต้น แต่ไม่อาจลงโทษจำเลยที่ 3 ฐานเป็นตัวการได้ อย่างไรก็ดี บทบัญญัติมาตรา 315 ได้กำหนดความผิดไว้โดยเฉพาะสำหรับผู้ช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกในการที่กรรมการ ผู้จัดการ หรือบุคคลซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลตาม พ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ.2535 กระทำความผิดตามมาตรา 308 ไม่ว่าก่อนหรือขณะกระทำความผิดแล้ว อาชญากรรมทางธุรกิจมีความซับซ้อนหลายขั้นตอน การกระทำของจำเลยที่ 3 เป็นส่วนหนึ่งในขั้นตอนดังกล่าว อันเป็นความผิดตามมาตรา 315 ประกอบมาตรา 308 จึงไม่ต้องปรับบทตาม ป.อ. มาตรา 86
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4484/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายห้องชุด, สัญญาเพื่อประโยชน์แก่บุคคลภายนอก, ค่าเสียหายจากการผิดสัญญา, ค่าขาดประโยชน์, การโอนกรรมสิทธิ์
เมื่อจำเลยที่ 1 ผู้จะขายได้ทำสัญญาจะซื้อจะขายห้องชุดและเฟอร์นิเจอร์เพื่อติดตั้งในห้องชุดกับโจทก์ทั้งสอง จำเลยที่ 1 ย่อมมีความผูกพันที่จะต้องปฏิบัติตามสัญญา ต่อมาจำเลยที่ 1 ทำสัญญาขายอาคารชุดทั้งหมดให้แก่ ว. ซึ่งเป็นกรรมการบริษัทผู้มีอำนาจกระทำการแทนบริษัทจำเลยที่ 2 เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2547 โดยสัญญาระบุว่า ว. ตกลงรับโอนสิทธิเรียกร้องสำหรับคู่สัญญาที่เป็นลูกค้าทุกรายของจำเลยที่ 1 ในโครงการ และรับผิดชอบภาระตามสัญญาจะซื้อจะขายห้องชุดกับลูกค้าทุกรายแทนจำเลยที่ 1 ให้เสร็จสิ้นภายในวันที่ 16 มิถุนายน 2547 ต่อมา ว. มีหนังสือถึงจำเลยที่ 1 ขอเปลี่ยนคู่สัญญาเป็นจำเลยที่ 2 โดยแจ้งแก่จำเลยที่ 1 ว่าข้อตกลงในการซื้อขายระหว่างจำเลยที่ 1 กับ ว. ยังมีสภาพบังคับและเงื่อนไขตามสัญญาซื้อขายเดิมที่ทำกันไว้ ต่อมาจำเลยที่ 1 ทำสัญญาขายและจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดทั้งหมดแก่จำเลยที่ 2 โดยยังคงมีข้อสัญญาเช่นเดียวกับสัญญาฉบับลงวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2547 เพียงเปลี่ยนคู่สัญญาจาก ว. เป็นจำเลยที่ 2 เท่านั้น การที่ ว. กับจำเลยที่ 2 ทำสัญญาดังกล่าวกับจำเลยที่ 1 โดยตกลงว่า ว. และจำเลยที่ 2 จะชำระหนี้แก่ลูกค้ารวมทั้งโจทก์ทั้งสองผู้เป็นเจ้าหนี้ของจำเลยที่ 1 อันเป็นสัญญาเพื่อประโยชน์แก่ลูกค้าผู้เป็นเจ้าหนี้ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกตาม ป.พ.พ. มาตรา 374 วรรคหนึ่ง ซึ่งหากโจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นบุคคลภายนอกได้แสดงเจตนาว่าจะถือเอาประโยชน์จากสัญญานั้นตามมาตรา 374 วรรคสอง โจทก์ทั้งสองมีสิทธิเรียกให้จำเลยที่ 2 ผู้เป็นลูกหนี้ชำระหนี้โดยตรงแก่โจทก์ทั้งสองได้ การที่จำเลยที่ 1 ตกลงขายอาคารชุดทั้งโครงการแก่ ว. และจำเลยที่ 2 นั้น แม้จะมีข้อสัญญาให้ ว. และจำเลยที่ 2 รับผิดชอบในการชำระหนี้แก่ลูกค้าผู้ทำสัญญาจะซื้อจะขายซึ่งเป็นเจ้าหนี้จำเลยที่ 1 ก็ตาม สัญญาระหว่างจำเลยที่ 1 กับ ว. และจำเลยที่ 2 ดังกล่าวก็เป็นเพียงสัญญาเพื่อประโยชน์แก่ลูกค้าซึ่งเป็นบุคคลภายนอกเท่านั้น ไม่ถึงกับเป็นเหตุให้จำเลยที่ 1 หลุดพ้นจากความผูกพันในฐานะลูกหนี้ต่อลูกค้าผู้เป็นเจ้าหนี้จำเลยที่ 1 เว้นแต่ลูกค้าผู้เป็นเจ้าหนี้นั้นจะตกลงให้เปลี่ยนตัวลูกหนี้โดยทำสัญญากับลูกหนี้คนใหม่อันเป็นการแปลงหนี้ใหม่ด้วยการเปลี่ยนตัวลูกหนี้ตามมาตรา 350
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14729/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องแย้งไม่ตกไปพร้อมคำฟ้องเดิม ศาลต้องพิจารณาต่อไปตามกฎหมาย
ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสามบัญญัติว่า "จำเลยจะฟ้องแย้งมาในคำให้การก็ได้ แต่ถ้าฟ้องแย้งนั้นเป็นเรื่องอื่นที่ไม่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิมแล้ว ให้ศาลสั่งให้จำเลยฟ้องเป็นคดีต่างหาก" บทบัญญัติดังกล่าวให้อำนาจจำเลยจะฟ้องโจทก์มาในคำให้การได้ ถ้าคำฟ้องแย้งเกี่ยวข้องกับคำฟ้องเดิมเท่านั้น เมื่อจำเลยที่ 1 และที่ 2 ฟ้องแย้งเข้ามาในคำให้การ โจทก์ก็คือจำเลยในฟ้องแย้งคดีตามฟ้องแย้งจึงมีคู่ความครบถ้วนที่จะดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปได้ การที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องเดิมคงมีผลเฉพาะคดีโจทก์ว่าไม่มีฟ้องเดิมที่จะดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปเท่านั้นหามีผลให้ฟ้องแย้งของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ตกไปด้วยไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14493/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำหรือไม่: การบังคับชำระหนี้จำนอง vs. ฟ้องลูกหนี้ตามสัญญา แม้มีการขอรับชำระหนี้จากทรัพย์จำนองก่อน
คำร้องของโจทก์ในคดีหมายเลขแดงที่ 2109/2549 ของศาลแพ่งกรุงเทพใต้ เป็นการร้องขอให้บังคับชำระหนี้จำนองโดยอาศัยอำนาจของเจ้าหนี้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 289 ซึ่งเป็นเพียงให้สิทธิโจทก์ในการได้รับชำระหนี้จำนองก่อนเจ้าหนี้สามัญอื่น หากมีการขายทอดตลาดทรัพย์ที่จำนองเท่านั้น ส่วนคำฟ้องคดีนี้เป็นการฟ้องจำเลยในฐานะลูกหนี้สามัญตามสัญญากู้ยืมเงิน หาได้ฟ้องขอบังคับจำนองแก่ที่ดินที่จำนอง และฟ้องเฉพาะมูลหนี้ส่วนที่โจทก์ยังไม่ได้รับจากการขอรับชำระหนี้ตามคดีหมายเลขแดงที่ 2109/2549 ของศาลแพ่งกรุงเทพใต้เท่านั้น ซึ่งเป็นฟ้องคนละประเด็นกัน ดังนั้น จึงไม่ได้เป็นการวินิจฉัยโดยอาศัยเหตุผลอย่างเดียวกันกับคำร้องของโจทก์ในคดีดังกล่าว ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำกับคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 2109/2549 ของศาลแพ่งกรุงเทพใต้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14122/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีต้องครบขั้นตอนภายใน 10 ปี หากไม่ครบถ้วนสิทธิในการยึดทรัพย์สินจะสิ้นสุดลง
การร้องขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษา ขั้นตอนแรกเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาต้องขอให้ออกหมายบังคับคดี ขั้นตอนต่อไปต้องให้เจ้าพนักงานบังคับคดีทราบว่าศาลได้ออกหมายบังคับคดีและขั้นตอนสุดท้ายเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาต้องแถลงต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีให้ยึดหรืออายัดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาไว้
โจทก์ร้องขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษา นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินของจำเลย แต่ผู้แทนโจทก์ส่งเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการยึดไม่ครบจึงยึดที่ดินไม่ได้ ผู้แทนโจทก์ไม่ไปพบและแถลงว่าจะดำเนินคดีต่อไปหรือไม่ และไม่ไปแถลงนำยึดทรัพย์ตามคำสั่งเจ้าพนักงานบังคับคดี แต่ภายหลังมอบอำนาจให้บุคคลอื่นไปรับเงินค่าใช้จ่ายส่วนที่เหลือคืน ปัจจุบันยังไม่มีการยึดทรัพย์ สำนวนบังคับคดีดังกล่าวอยู่ระหว่างรอปลดเผา หากโจทก์ประสงค์จะบังคับคดีจะต้องตั้งเรื่องบังคับคดีใหม่ เช่นนี้จึงยังฟังไม่ได้ว่าโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาได้ดำเนินการต่างๆ ตามขั้นตอนครบถ้วนภายในกำหนด 10 ปี นับแต่วันมีคำพิพากษา
โจทก์ร้องขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษา นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินของจำเลย แต่ผู้แทนโจทก์ส่งเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการยึดไม่ครบจึงยึดที่ดินไม่ได้ ผู้แทนโจทก์ไม่ไปพบและแถลงว่าจะดำเนินคดีต่อไปหรือไม่ และไม่ไปแถลงนำยึดทรัพย์ตามคำสั่งเจ้าพนักงานบังคับคดี แต่ภายหลังมอบอำนาจให้บุคคลอื่นไปรับเงินค่าใช้จ่ายส่วนที่เหลือคืน ปัจจุบันยังไม่มีการยึดทรัพย์ สำนวนบังคับคดีดังกล่าวอยู่ระหว่างรอปลดเผา หากโจทก์ประสงค์จะบังคับคดีจะต้องตั้งเรื่องบังคับคดีใหม่ เช่นนี้จึงยังฟังไม่ได้ว่าโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาได้ดำเนินการต่างๆ ตามขั้นตอนครบถ้วนภายในกำหนด 10 ปี นับแต่วันมีคำพิพากษา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13439/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อนุญาโตตุลาการวินิจฉัยความประมาทร่วมกันในคดีรถชน ศาลฎีกาไม่รับอุทธรณ์ เหตุไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อย
ข้อเท็จจริงรับฟังได้ในเบื้องต้นว่า ในวันเกิดเหตุ ก. ขับรถกระบะหมายเลขทะเบียน กล 1080 ชลบุรี ซึ่งประกันภัยไว้กับผู้คัดค้านทั้งสองแล่นไปตามถนนที่เกิดเหตุ ขณะเดียวกัน อ. ขับรถยนต์หมายเลขทะเบียน สย 3272 กรุงเทพมหานคร โดยมี ห. นั่งโดยสารมาด้วย เมื่อถึงที่เกิดเหตุ รถกระบะที่ ก. ขับเฉี่ยวชนกับรถยนต์ที่ อ. ขับ รถยนต์ทั้งสองคันเสียหลัก รถกระบะที่ ก. ขับพลิกคว่ำลงร่องกลางถนน และรถยนต์ที่ อ. ขับ แล่นข้ามร่องกลางถนนและข้ามถนนด้านตรงข้ามสำหรับรถแล่นสวนทางมาไปชนแท่งปูนขนาดใหญ่ ซึ่งตั้งอยู่ริมถนนอย่างแรง เป็นเหตุให้ อ. ถึงแก่ความตาย และ ห. ได้รับอันตรายสาหัส ต่อมาผู้ร้องในฐานะมารดาโดยชอบด้วยกฎหมายของ อ. เสนอข้อพิพาทในฐานะผู้เสนอข้อพิพาทที่ 2 ต่ออนุญาโตตุลาการของคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยขอให้อนุญาโตตุลาการมีคำชี้ขาดให้ผู้คัดค้านชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้ร้อง ผู้คัดค้านทั้งสองยื่นคำร้องคัดค้านว่า เหตุไม่ได้เกิดจากความประมาทของ ก. ฝ่ายเดียว แต่เกิดจากความประมาทของ อ. ด้วย อนุญาโตตุลาการสืบพยานแล้วมีคำชี้ขาดเป็นข้อพิพาทหมายเลขแดงที่ 78/2556 ว่า เหตุเกิดจากความประมาทของ ก. และ อ. ทั้งสองฝ่าย ผู้คัดค้านจึงไม่ต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้ผู้ร้อง ปัญหาต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของผู้ร้องว่า คำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน สมควรเพิกถอนหรือไม่ เห็นว่า ปรากฏข้อเท็จจริงจากคำพิพากษาศาลจังหวัดระยองที่พิพากษาลงโทษ ก. ข้อหาขับรถประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายว่า ศาลจังหวัดระยองพิเคราะห์รายงานการสืบเสาะและพินิจของ ก. และรายงานการสอบสวนของพนักงานสอบสวนแล้ว เห็นว่าเหตุเกิดจากความประมาทของ ก. และ อ. ร่วมกัน ดังนั้น คำวินิจฉัยของอนุญาโตตุลาการที่ว่าเหตุเกิดจากความประมาทของ ก. และ อ. ทั้งสองฝ่าย จึงเป็นการวินิจฉัยข้อเท็จจริงตามพยานหลักฐานในสำนวนที่ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน นอกจากนั้นคำวินิจฉัยของอนุญาโตตุลาการที่ว่า เมื่อใคร่ครวญโดยอาศัยพฤติการณ์เป็นประมาณแล้วเห็นควรให้ค่าสินไหมทดแทนเป็นพับ ก็เป็นการใช้ดุลพินิจพิจารณาพยานหลักฐานในสำนวนกำหนดค่าสินไหมทดแทนที่ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนเช่นกัน กรณีไม่เข้าข้อยกเว้นที่จะอุทธรณ์คำพิพากษาของศาลแพ่งต่อศาลฎีกาได้ตามพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 มาตรา 45 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาจึงไม่รับอุทธรณ์ของผู้ร้องไว้วินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13044/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนนิติกรรมโอนที่ดินพิพาทในฐานะผู้จัดการมรดก ไม่เป็นคดีอุทลุมและไม่ขาดอายุความ
โจทก์ยื่นฟ้องในคดีนี้ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ย. ขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินพิพาททั้งสองแปลงซึ่งเป็นทรัพย์มรดกของ ย. กลับคืนเข้าสู่กองมรดกจึงเป็นกรณีการฟ้องของโจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกซึ่งมีสิทธิและหน้าที่ที่จะทำการอันจำเป็นเพื่อจัดการมรดกโดยทั่วไป หาใช่โจทก์ฟ้องในฐานะส่วนตัวหรือในฐานะเป็นบุตรของจำเลยที่ 3 ไม่ ฟ้องโจทก์จึงไม่เป็นคดีอุทลุมอันจะต้องห้ามตาม ป.พ.พ. มาตรา 1562 เมื่อโจทก์ฟ้องคดีในฐานะเป็นผู้จัดการมรดกเพื่อติดตามเอาที่ดินพิพาททั้งสองแปลงกลับคืนเข้าสู่กองมรดกอันเป็นสิทธิและหน้าที่ของผู้จัดการมรดกเพื่อจัดการมรดกโดยทั่วไปจึงเป็นการใช้สิทธิโดยสุจริต
การฟ้องคดีของโจทก์เป็นการขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่จำเลยที่ 3 ไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาททั้งสองแปลงให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 โดยให้โอนกลับคืนมาเป็นชื่อของจำเลยที่ 3 และให้จำเลยทั้งสามส่งมอบโฉนดที่ดินพิพาททั้งสองแปลงดำเนินการโอนใส่ชื่อโจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ย. เพื่อแบ่งปันแก่ทายาทตามกฎหมาย มิใช่เป็นการฟ้องขอแบ่งมรดกของเจ้ามรดกจากจำเลยทั้งสาม กรณีดังกล่าวไม่มีบทบัญญัติเรื่องอายุความในการติดตามเอาคืนทรัพย์สิน จะนำอายุความมรดกมาใช้บังคับไม่ได้
การฟ้องคดีของโจทก์เป็นการขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่จำเลยที่ 3 ไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาททั้งสองแปลงให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 โดยให้โอนกลับคืนมาเป็นชื่อของจำเลยที่ 3 และให้จำเลยทั้งสามส่งมอบโฉนดที่ดินพิพาททั้งสองแปลงดำเนินการโอนใส่ชื่อโจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ย. เพื่อแบ่งปันแก่ทายาทตามกฎหมาย มิใช่เป็นการฟ้องขอแบ่งมรดกของเจ้ามรดกจากจำเลยทั้งสาม กรณีดังกล่าวไม่มีบทบัญญัติเรื่องอายุความในการติดตามเอาคืนทรัพย์สิน จะนำอายุความมรดกมาใช้บังคับไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12711/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้ค้ำประกันระงับเมื่อหนี้ประธานระงับจากสัญญาประนีประนอมยอมความ ผู้ค้ำประกันไม่ต้องรับผิด
หนี้ตามสัญญาค้ำประกันเป็นหนี้อุปกรณ์ ผู้ค้ำประกันจะต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกันก็ต่อเมื่อลูกหนี้ไม่ชำระหนี้เงินกู้ซึ่งเป็นหนี้ประธาน หรือยังมีหนี้ประธานที่ผู้ให้กู้ยังไม่ได้รับชำระหนี้ กล่าวคือยังคงมีหนี้ประธานอยู่ การที่โจทก์ได้ยื่นฟ้อง บ. ให้รับผิดชำระหนี้ตามสัญญากู้ยืมซึ่งเป็นหนี้ประธาน โจทก์กับ บ. ทำสัญญาประนีประนอมยอมความและศาลพิพากษาตามยอมแล้ว ย่อมทำให้หนี้ประธานคือหนี้กู้ยืมระงับ เกิดเป็นหนี้ใหม่ตามสัญญาประนีประนอมยอมความตาม ป.พ.พ. มาตรา 852 เมื่อหนี้กู้ยืมเงินซึ่งเป็นหนี้ประธานระงับ จึงไม่มีหนี้ที่จำเลยในฐานะผู้ค้ำประกันจะต้องรับผิดอีก จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกันที่จะต้องใช้เงินแก่โจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 698
(ประชุมครั้งที่ 9/2558)
(ประชุมครั้งที่ 9/2558)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12711/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้ค้ำประกันระงับเมื่อหนี้ประธานระงับจากการประนีประนอมยอมความ ผู้ค้ำประกันไม่ต้องรับผิด
หนี้ตามสัญญาค้ำประกันเป็นหนี้อุปกรณ์ ผู้ค้ำประกันจะต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกันก็ต่อเมื่อลูกหนี้ไม่ชำระหนี้เงินกู้ซึ่งเป็นหนี้ประธาน หรือยังมีหนี้ประธานที่ผู้ให้กู้ยังไม่ได้รับชำระหนี้ การที่โจทก์ฟ้อง บ. ให้รับผิดชำระหนี้ตามสัญญากู้ยืม แล้วทั้งสองฝ่ายทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันจนศาลพิพากษาตามยอมแล้ว ย่อมทำให้หนี้ประธานคือหนี้กู้ยืมระงับ เกิดเป็นหนี้ใหม่ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ เมื่อหนี้กู้ยืมระงับ จึงไม่มีหนี้ที่จำเลยในฐานะผู้ค้ำประกันจะต้องรับผิดอีก จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกันต่อโจทก์
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 9/2558)
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 9/2558)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10570/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แจ้งข้อมูลเท็จทางการเงิน – ซ่อนเร้นหนี้สิน – เจ้าหนี้เสียหาย – ความผิดอาญา
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันแจ้งให้นายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทจดข้อความอันเป็นเท็จโดยยื่นแบบนำส่งงบการเงินรอบปีบัญชีสิ้นสุดจำนวน 1 ฉบับ และสำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นฉบับใหม่จำนวน 1 ฉบับ โดยมีข้อความระบุไว้ว่าหุ้นที่ได้จดทะเบียนไว้ของจำเลยที่ 1 จำนวน 100,000,000 บาท จำเลยทั้งสองได้เรียกชำระเงินไปจากผู้ถือหุ้นทั้งเจ็ดคนครบถ้วนเต็มจำนวน ซึ่งเป็นความเท็จ ความจริงแล้วจำเลยทั้งสองยังมิได้เรียกชำระเงินค่าหุ้นที่ผู้ถือหุ้นทั้งเจ็ดคนค้างชำระอยู่อีก 49,500,000 บาท อาจทำให้โจทก์หรือประชาชนได้รับความเสียหาย โดยเฉพาะโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ต้องพบอุปสรรคในการที่จะใช้สิทธิบังคับชำระหนี้หรือบังคับคดีเอาแก่สิทธิเรียกร้องในเงินค่าหุ้นค้างชำระของจำเลยที่ 1 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1096 โจทก์จึงเป็นผู้ได้รับความเสียหายโดยตรง ย่อมเป็นผู้เสียหายในความผิดตาม ป.อ. มาตรา 137 และมาตรา 267
การที่จำเลยทั้งสองยื่นแบบนำส่งงบการเงินและบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นอันแสดงให้ปรากฏว่าผู้ถือหุ้นในบริษัทจำเลยที่ 1 ได้ชำระค่าหุ้นครบถ้วนแล้ว อันเป็นความเท็จ ส่งผลให้เห็นในทำนองว่าจำเลยที่ 1 ได้รับชำระค่าหุ้นจากผู้ถือหุ้นนั้นครบถ้วนแล้วและสิ้นสิทธิในการเรียกให้ผู้ถือหุ้นส่งใช้ค่าหุ้นซึ่งยังจะต้องส่งอีก ทั้งๆ ที่จำเลยที่ 1 จะต้องได้รับเงินค่าหุ้นจากผู้ถือหุ้นทั้งเจ็ดคนในส่วนที่ยังมิได้ชำระค่าหุ้นครบถ้วน จึงเป็นการซ่อนเร้นสิทธิเรียกร้องในเงินค่าหุ้นที่ยังมิได้ชำระ เพื่อมิให้โจทก์เจ้าหนี้ของตนซึ่งได้ใช้หรือจะใช้สิทธิเรียกร้องทางศาลให้ชำระหนี้ได้รับชำระหนี้ทั้งหมดหรือแต่บางส่วน การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 350 และจำเลยที่ 2 มีความผิดตาม พ.ร.บ.กำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคมและมูลนิธิ พ.ศ.2499 มาตรา 40 (1) ด้วย
การที่จำเลยทั้งสองยื่นแบบนำส่งงบการเงินและบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นอันแสดงให้ปรากฏว่าผู้ถือหุ้นในบริษัทจำเลยที่ 1 ได้ชำระค่าหุ้นครบถ้วนแล้ว อันเป็นความเท็จ ส่งผลให้เห็นในทำนองว่าจำเลยที่ 1 ได้รับชำระค่าหุ้นจากผู้ถือหุ้นนั้นครบถ้วนแล้วและสิ้นสิทธิในการเรียกให้ผู้ถือหุ้นส่งใช้ค่าหุ้นซึ่งยังจะต้องส่งอีก ทั้งๆ ที่จำเลยที่ 1 จะต้องได้รับเงินค่าหุ้นจากผู้ถือหุ้นทั้งเจ็ดคนในส่วนที่ยังมิได้ชำระค่าหุ้นครบถ้วน จึงเป็นการซ่อนเร้นสิทธิเรียกร้องในเงินค่าหุ้นที่ยังมิได้ชำระ เพื่อมิให้โจทก์เจ้าหนี้ของตนซึ่งได้ใช้หรือจะใช้สิทธิเรียกร้องทางศาลให้ชำระหนี้ได้รับชำระหนี้ทั้งหมดหรือแต่บางส่วน การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 350 และจำเลยที่ 2 มีความผิดตาม พ.ร.บ.กำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคมและมูลนิธิ พ.ศ.2499 มาตรา 40 (1) ด้วย