คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สารกิจปรีชา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 286 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1130-1131/2505 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฉ้อฉลของเจ้าหนี้ การเพิกถอนชำระหนี้ และสิทธิในการยึดทรัพย์เพื่อชำระหนี้
(1) คดีสองสำนวน แม้ศาลจะพิจารณาพิพากษารวมกัน แต่ปรากฎว่า สำนวนหนึ่งมีทุนทรัพย์ 5,000 บาท อีกสำนวนหนึ่งทุนทรัพย์ 15,000 บาท แม้ในชั้นฎีกาได้ฎีการวมกันมา ศาลฎีกาพิจารณาเฉพาะคดีที่มีทุนทรัพย์ เกิน 5,000 บาท ซึ่งไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 248 เท่านั้น
(2) ในกรณีที่จำเลยมีเจ้าหนี้คำพิพากษาสองราย แต่ทรัพย์ของจำเลยมีเพียงอย่างเดียว เช่น เรือน 1 หลัง ซึ่งไม่สามารถใช้หนี้ทั้งสองรายได้นั้น การที่จำเลยเลือกใช้หนี้เพียงรายใดรายหนึ่ง อันเป็นผลทำให้เจ้าหนี้อีกคนหนึ่งเสียเปรียบ เพราะไม่มีทรัพย์เหลือพอจะชำระหนี้ได้ และเจ้าหนี้ที่ได้รับชำระหนี้ไปแล้วก็เป็นผู้นำยึดทรัพย์นั้นเอง ทั้งรู้อยู่ด้วยว่า เจ้าหนี้อีกคนหนึ่งมีสิทธิขอเฉลี่ยจากทรัพย์ที่ยึด แต่กลับไปถอนการยึดเสียแล้ว ตกลงรับชำระหนี้กันโดยลำพัง ซึ่งทำให้เจ้าหนี้อีกคนหนึ่งเฉลี่ยไม่ได้ เช่นนี้ เป็นการฉ้อฉล เจ้าหนี้ผู้ที่เสียเปรียบนี้ มีสิทธิขอให้ศาลเพิกถอนการชำระหนี้นั้นได้
(3) เมื่อเพิกถอนแล้ว ทรัพย์นั้นก็กลับสู่สภาพเดิม คือ กลับเป็นของจำเลย เจ้าหนี้มีสิทธิยึดชำระหนี้ได้
(4) การที่เจ้าหนี้คนหนึ่งเอาสัมภาระที่ลูกหนี้ตีชำระหนี้ไปปลูกเป็นเรือนขึ้นในที่ดินของตนนั้น สัมภาระได้กลายเป็นส่วนควบของที่ดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1315 เจ้าหนี้คนนั้นย่อมเป็นเจ้าของสัมภาระนี้ด้วยอำนาจของกฎหมาย เจ้าหนี้อีกคนหนึ่งที่เสียเปรียบดังกล่าว ย่อมขอให้เพิกถอนได้เฉพาะแต่นิติกรรมดังกล่าว แต่เจ้าหนี้ผู้ที่ได้สัมภาระไปต้องใช้ค่าสัมภาระให้แก่ลูกหนี้ และเจ้าหนี้ที่เสียเปรียบชอบที่จะใช้สิทธิของลูกหนี้ เรียกเอาค่าสัมภาระนี้เพื่อชำระหนี้ เป็นคดีใหม่แต่ไม่อาจยึดเรือนหลังนี้เพื่อขายทอดตลาด
(5) เมื่อฟังอย่างนี้แล้ว ใครสืบก่อนหลังก็ไม่สำคัญ
(ข้อ (2) (4) ประชุมใหญ่ครั้งที่ 34/2505)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1130-1131/2505

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้โดยเจตนาฉ้อฉลและการเปลี่ยนสภาพทรัพย์สินเป็นส่วนควบของที่ดิน
ในกรณีที่จำเลยมีเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาสองราย แต่ทรัพย์ของจำเลยมีเพียงอย่างเดียว มีราคาไม่พอใช้หนี้ทั้งสองราย การที่จำเลยเลือกใช้หนี้เพียงรายใดรายหนึ่ง อันเป็นผลทำให้เจ้าหนี้อีกคนหนึ่งเสียเปรียบและเจ้าหนี้ผู้รับชำระหนี้ก็ทราบดีอยู่แล้ว เช่นนี้ ย่อมเป็นการฉ้อฉล เจ้าหนี้ผู้เสียเปรียบขอให้เพิกถอนการชำระหนี้ได้
แต่เมื่อปรากฏว่า หนี้ที่ลูกหนี้ชำระแก่เจ้าหนี้ไปก่อนนั้นเป็นไม้ที่รื้อมาจากโรงเรือนของลูกหนี้ และเจ้าหนี้นั้นได้เอาไม้ไปปลูกเป็นโรงเรือนในที่ดินของเจ้าหนี้เสร็จเรียบร้อยแล้ว ดังนี้ ก็เท่ากับว่าเจ้าหนี้เอาสัมภาระของผู้อื่นไปปลูกสร้างโรงเรือนในที่ดิน ย่อมเป็นส่วนควบของที่ดินตาม มาตรา 1315 ไปแล้ว เจ้าหนี้ที่เสียเปรียบจะตามไปยึดเรือนดังกล่าวขายทอดตลาดไม่ได้ ได้แต่จะใช้สิทธิของลูกหนี้เรียกเอาค่าสัมภาระมาเพื่อชำระหนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1108/2505 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การวิดน้ำจับปลาทำให้เกิดน้ำขุ่น ไม่ถือเป็นปฏิกูลตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 380
จำเลยวิดน้ำเพื่อจับปลาในหนองเป็นเหตุให้น้ำในหนองขุ่น ไม่ถือว่าทำให้เกิดปฏิกูลแก่น้ำในหนอง เพราะน้ำขุ่นเป็นสภาพที่เกิดขึ้นจากโคลนในหนองนั้นเองชั่วคราว หาใช่ทำให้เกิดปฏิกูลไม่ จำเลยจึงไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 380

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1108/2505

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การวิดน้ำจับปลาทำให้น้ำขุ่น ไม่ถือเป็น 'ปฏิกูล' ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 380
จำเลยวิดน้ำเพื่อจับปลาในหนองเป็นเหตุให้น้ำในหนองขุ่นไม่ถือว่าทำให้เกิดปฏิกูลแก่น้ำในหนอง เพราะน้ำขุ่นเป็นสภาพที่เกิดขึ้นจากโคลนในหนองนั้นเองชั่วคราว หาใช่ทำให้เกิดปฏิกูลไม่ จำเลยจึงไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 380

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1088/2505

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษฐานทำร้ายร่างกาย แม้ข้อกล่าวหาในฟ้องระบุบาดเจ็บสาหัส แต่พิจารณาพบไม่ถึงสาหัส ศาลลงโทษตามมาตราที่อัตราโทษเบากว่าได้
คดีที่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทำร้ายร่างกาย ผู้เสียหายบาดเจ็บสาหัสตามมาตรา 256 แม้ทางพิจารณาได้ความว่าจำเลยทำร้ายไม่ถึงสาหัสก็ตาม ก็ไม่ถือว่าข้อเท็จจริงตามทางพิจารณาต่างกับที่กล่าวในฟ้อง ลงโทษจำเลยฐานทำร้ายร่างกายตามมาตรา 254 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1085/2505 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำแนกความผิดทางภาษี: ลงบัญชีไม่ครบถ้วน (มาตรา 190) กับไม่ทำบัญชีเลย (มาตรา 197) และอำนาจฟ้อง
เจ้าหน้าที่สรรพากรได้มีคำสั่งบังคับให้โจทก์เสียภาษีโภคภัณฑ์และเงินเพิ่มจนถึงกับจะยึดทรัพย์ของโจทก์เพื่อเอาชำระค่าภาษีนั้น นับว่ามีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ของโจทก์แล้ว โจทก์มีอำนาจฟ้องศาลได้
ประมวลรัษฎากรมาตรา 190 เป็นบทความผิดสำหรับผู้ค้าโภคภัณฑ์ที่มีโภคภัณฑ์หรือเกินบัญชี ภ.ภ. 11 คือ ลงบัญชีไว้ไม่ครบถ้วน ส่วนมาตรา 197 เป็นบทความผิดผู้ที่ไม่ทำบัญชี ภ.ภ. 11 หรือทำแล้วไม่เก็บบัญชีไว้ 5 ปี ซึ่งมีโทษทั้งปรับทั้งจำ เป็นการแยกความผิดฐานลงบัญชีไม่ครบถ้วน กับการไม่ทำบัญชีเสียเลยให้มีโทษหนักเบาต่างกัน
โจทก์ได้สั่งโภคภัณฑ์เข้ามาเป็นคราว ๆ และได้ลงบัญชี ภ.ภ. 11 แล้ว แต่คราวสุดท้ายไม่ลงบัญชีเลยดังนี้ ไม่ใช่เรื่องลงบัญชีไม่ครบอันเป็นเหตุให้มีโภคภัณฑ์ขาดหรือเกินจากบัญชีตามประมวลรัษฎากรมาตรา 190 ต้องถือว่าไม่ได้ทำบัญชีตามมาตรา 197 เจ้าพนักงานจึงเรียกเก็บภาษีและเงินเพิ่มจากโจทก์ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1085/2505

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานภาษีโภคภัณฑ์: การลงบัญชีไม่ครบถ้วนกับไม่ทำบัญชี มีความแตกต่างกันทางโทษ
เจ้าหน้าที่สรรพากรได้มีคำสั่งบังคับให้โจทก์เสียภาษีโภคภัณฑ์และเงินเพิ่มจนถึงกับจะยึดทรัพย์โจทก์เพื่อเอาชำระค่าภาษีนั้น นับว่ามีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ของโจทก์แล้ว โจทก์มีอำนาจฟ้องศาลได้
ประมวลรัษฎากร มาตรา 190 เป็นบทความผิดสำหรับผู้ค้าโภคภัณฑ์ที่มีโภคภัณฑ์ขาดหรือเกินบัญชี ภ.ภ.11 คือลงบัญชีไว้ไม่ครบถ้วนส่วน มาตรา 197 เป็นบทความผิดผู้ที่ไม่ทำบัญชี ภ.ภ.11 หรือทำแล้วไม่เก็บบัญชีไว้ 5 ปี เป็นการแยกความผิดฐานลงบัญชีไม่ครบถ้วน กับการไม่ทำบัญชีเสียเลยให้มีโทษหนักเบาต่างกัน
โจทก์ได้สั่งโภคภัณฑ์เข้ามาเป็นคราวๆ และได้ลงบัญชีภ.ภ.11 แล้ว แต่คราวสุดท้ายไม่ลงบัญชีเลย ดังนี้ ไม่ใช่เรื่องลงบัญชีไม่ครบถ้วนอันเป็นเหตุให้มีโภคภัณฑ์ขาดหรือเกินจากบัญชี ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 190 แต่ต้องถือว่าไม่ได้ทำบัญชีตาม มาตรา 197 เจ้าพนักงานจึงเรียกเก็บภาษีและเงินเพิ่มจากโจทก์ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1084/2505 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาความเหมือนของเครื่องหมายการค้าเพื่อการจดทะเบียนตาม พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า มาตรา 17 และการไม่นำอายุความมาใช้
กรณีที่นายทะเบียนสั่งการตามมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 จะนำอายุความตามมาตรา 29 วรรคต้นมาใช้ไม่ได้ เพราะกรณีต่างกัน
แม้จำเลยจะใช้เครื่องหมายเป็นรูปหอย (หอยแครง) ไม่ใช่รูปนกยูง (ยูงรำแพน) ดังเครื่องหมายการค้าของโจทก์ แต่ขนาดเท่ากันกับรูปนกยูงของโจทก็พอดี ลายขอบก็เป็นอย่างเดียวกัน เมื่อมองดูแล้วจะเห็นได้ว่าเครื่องหมายของจำเลยมีลักษณะเกือบเหมือนของโจทก์ตามมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า (วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 10/2405)
เครื่องหมายการค้าของโจทก์ ๆ ใช้มานานก่อนที่จำเลยใช้เครื่องหมายที่เกือบเหมือนของโจทก์ โจทก์ได้จดทะเบียนไว้แล้วสำหรับใช้ที่ฝากล่องและกลุ่มด้าย ที่โจทก์ขอจดเครื่องหมายรายพิพาทนี้ก็เพื่อใช้ที่ข้างกล่องซึ่งยังมิได้จดไว้เดิมเท่านั้น โจทก์จึงมีสิทธิที่จะขอจดดีกว่าจำเลย (แม้จำเลยจะขอจดทะเบียนเครื่องหมายของจำเลยสำหรับใช้กับข้างกล่องก่อนโจทก์ แต่นายทะเบียนยังไม่ยอมจดให้)
หลักเกณฑ์ที่ว่าถึงขนาดนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนนั้น ใช้เฉพาะในกรณีที่มีการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าให้เจ้าของเครื่องหมายรายหนึ่งไว้แล้ว เจ้าของอีกรายหนึ่งที่เครื่องหมายการค้าคล้ายกันได้มาขอจดบ้าง ถ้าเครื่องหมายรายหลังนี้คล้ายกันจนถึงขนาดนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนแล้ว พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 มาตรา 16 ก็ห้ามมิให้รับจดทะเบียนให้ กรณีจึงต่างกับกรณีตามมาตรา 17

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1084/2505

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความเหมือนของเครื่องหมายการค้าและการขอจดทะเบียนภายใต้ พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474
กรณีที่นายทะเบียนสั่งการตาม พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 มาตรา 17 จะนำอายุความตาม มาตรา 29 วรรคต้นมาใช้ไม่ได้
แม้จำเลยจะใช้เครื่องหมายเป็นรูปหอยแครง ไม่ใช่นกยูงดังเครื่องหมายการค้าของโจทก์ แต่ขนาดเท่ากันและสีอย่างเดียวกันพอดีลายขอบก็เป็นอย่างเดียวกัน เมื่อมองดูแล้ว จะเห็นได้ว่า เครื่องหมายของจำเลยมีลักษณะเกือบเหมือนกับของโจทก์ตาม มาตรา 17
เครื่องหมายการค้าของโจทก์ ๆ ใช้มานานก่อนที่จำเลยใช้เครื่องหมายของจำเลยที่เกือบเหมือนของโจทก์ โจทก์ได้จดทะเบียนไว้แล้วสำหรับใช้ที่ฝากล่องและกลุ่มด้าย ที่โจทก์ขอจดเครื่องหมายรายพิพาทนี้ก็เพื่อใช้ที่ข้างกล่องซึ่งยังมิได้จดทะเบียนไว้เท่านั้น โจทก์จึงมีสิทธิที่จะขอจดดีกว่าจำเลย (แม้จำเลยจะขอจดทะเบียนเครื่องหมายของจำเลยสำหรับใช้กับข้างกล่องก่อนโจทก์ แต่นายทะเบียนยังไม่ยอมจดให้)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1070/2505 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบุกรุกเคหสถาน: เจตนาสำคัญ การเข้าไปโดยเปิดเผยและเชื่อว่ามีสิทธิ ย่อมไม่ถือว่ามีความผิดฐานบุกรุก
จำเลยคนหนึ่งใช้จำเลยร่วมเข้าไปขนของในเคหสถานที่อยู่อาศัยของผู้เสียหาย โดยจำเลยที่เข้าไปเชื่อว่าทรัพย์เป็นของผู้ใช้ ๆ มีสิทธิจะให้เข้าไปเอามาได้ และได้เข้าไปอยางเปิดเผย เมื่อถูกห้ามก็มิได้ขัดขืน เช่นนี้ อมไม่มีความผิดฐานบุกรุกทางอาญา
of 29