คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สารกิจปรีชา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 286 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 672-675/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ที่ดินมีตราจอง: การได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์โดยชอบด้วยกฎหมาย, การครอบครองปรปักษ์ และผลของตราจอง
ที่ดินมีตราจองออกโดยชอบเมื่อ พ.ศ.2465 และเมื่อพ.ศ.2468 ได้บันทึกไว้ว่าได้ทำประโยชน์แล้วต่อมาได้ถูกโอนกันมาหลายทอดจนกระทั่ง พ.ศ.2495 จึงตกมาเป็นของโจทก์โดยโจทก์รับซื้อฝากไว้โดยสุจริตจากจ. เจ้าของเดิม และการซื้อขายฝากนี้กระทำกันโดยจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่สำนักงานทะเบียนที่ดินจำเลยทั้งสามเป็นฝ่ายครอบครองที่ดินรายเดียวกันนี้โดยจำเลยซื้อจากผู้อื่นเมื่อ พ.ศ.2484,2485 และ 2496 แต่สัญญาของจำเลยกระทำกันที่อำเภอจึงไม่ใช่เป็นการได้สิทธิโดยชอบทางทะเบียน เพราะที่ดินรายนี้มีตราจองแล้วการจดทะเบียนที่ถูกต้องชอบด้วยกฎหมายเป็นอำนาจหน้าที่ของสำนักงานทะเบียนที่ดินจำเลยจึงยกสิทธิในการที่ได้ซื้อที่ดินนี้ขึ้นเป็นข้อต่อสู้โจทก์ไม่ได้
การที่มีหมายเหตุแจ้งไว้ในตราจองว่า เมื่อไม่ทำประโยชน์ ทอดทิ้งไว้เกิน 3 ปี ต้องเป็นที่ว่างเปล่านั้นเป็นเพียงระยะเวลาให้ทำประโยชน์เสียภายในกำหนด 3 ปีตราจองที่บันทึกว่าทำประโยชน์แล้วกฎหมายให้ถือว่าเจ้าของมีกรรมสิทธิ์ ซึ่งหมายความว่ามีผลเท่ากับโฉนด ดังนั้นโจทก์จะเสียกรรมสิทธิก็ต่อเมื่อจำเลยได้กรรมสิทธิ์ไปโดยการครอบครองปรปักษ์อันมีอายุความ 10 ปี ไม่ใช่กำหนดเวลา 3 ปีดังกล่าวนั้น โจทก์รับซื้อฝากไว้ได้เพียงประมาณ7 ปี แม้จำเลยจะครอบครองมาก่อนเกิน 10 ปีก็ไม่อาจใช้ยันโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 658/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำแนก 'สิ่งปลูกสร้าง' ตาม พ.ร.บ.ป่าไม้: เจตนาสร้างเพื่อหลอกลวงถือเป็นไม้แปรรูป
เรือนที่สร้างขึ้นในลักษณะที่มิได้มีสภาพเป็นที่อยู่อาศัยอย่างธรรมดา และมีเหตุแสดงว่าเป็นเรือนที่บุคคลธรรมดาไม่ทำขึ้นสำหรับใช้เป็นที่อยู่อาศัยถาวร หากแต่ทำขึ้นโดยมีเจตนาลวงให้เห็นว่าเป็นเรือนสำหรับอยู่อาศัย ย่อมไม่นับว่าเป็นสิ่งปลูกสร้างตามความหมายในพระราชบัญญัติป่าไม้ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2503 มาตรา 4

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 652/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการบังคับตามยอม: การตรวจสอบบัญชีและการกล่าวอ้างเรื่องการบริหารงานที่ไม่ชอบธรรมเป็นประเด็นใหม่นอกเหนือจากสัญญายอม
โจทก์จำเลยทำยอมในศาลโดยจำเลยให้สิทธิโจทก์ที่จะตรวจตราดูการที่จำเลยดำเนินงานประจำปีฉลองรูปปั้นเซียนและจำเลยจะทำบัญชีรับจ่ายสำหรับงานดังกล่าว พร้อมหลักฐานกับเงินสุทธิมายื่นต่อศาลเพื่อให้โจทก์ตรวจดูได้ ซึ่งศาลพิพากษาตามยอม และจำเลยก็ได้ปฏิบัติตามข้อความในสัญญายอมแล้วนั้น ต่อมาโจทก์จะอ้างว่าได้ตรวจตราแล้วจำเลยบริหารงานไม่ชอบ และบัญชีก็ผิดพลาด ขอให้ศาลไต่สวนนั้น ศาลย่อมไม่ไต่สวนให้ เพราะเป็นประเด็นใหม่ มิได้ระบุหรือขยายความไว้ในสัญญายอม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 652/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการบังคับตามยอม ความเป็นประเด็นใหม่นอกสัญญา และการสิ้นสิทธิเรียกร้อง
โจทก์จำเลยทำยอมในศาลโดยจำเลยให้สิทธิโจทก์ที่จะตรวจตราดูการที่จำเลยดำเนินงานประจำปีฉลองรูปปั้นเขียนและจำเลยจะทำบัญชีรับจ่ายสำหรับงานดังกล่าว พร้อมหลักฐานกับเงินสุทธิมายื่นต่อศาลเพื่อให้โจทก์ตรวจดูได้ ซึ่งศาลพิพากษาตามยอม และจำเลยก็ได้ปฏิบัติตามข้อความในสัญญายอมแล้วนั้น ต่อมาโจทก์จะอ้างว่าได้ตรวจตราแล้วจำเลยบริหารงานไม่ชอบ และบัญชีก็ผิดพลาด ขอให้ศาลไต่สวนนั้น ศาลย่อมไม่ไต่สวนให้ เพราะเป็นประเด็นใหม่ มิได้ระบุหรือขยายความไว้ในสัญญายอม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 637/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการวินิจฉัยกระบวนพิจารณาที่ผิดพลาด และผลผูกพันของคำพิพากษาตามยอม แม้ทนายไม่มีอำนาจ
การดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นเป็นการผิดถูกชอบหรือไม่นั้น เป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลอุทธรณ์มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้เองโดยคู่ความมิต้องอุทธรณ์
แม้ทนายจำเลยจะทำยอมความในศาลโดยบกพร่องในอำนาจก็ตามหากศาลพิพากษาตามยอมแล้ว คำพิพากษานั้นก็มีผลผูกพันคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145
จำเลยร้องว่าทนายจำเลยทำยอมในศาลโดยไม่มีอำนาจขอให้ดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่ศาลชั้นต้นสั่งยกคำร้องจำเลยก็มิได้ใช้สิทธิอุทธรณ์แต่อย่างไร ดังนี้ศาลชั้นต้นนั้นเองจะกลับมีคำสั่งให้ดำเนินกระบวนพิจารณาแล้วพิพากษาใหม่อีกหาได้ไม่เพราะไม่ใช่เป็นการเปลี่ยนแปลงข้อผิดพลาดเล็กน้อยตามที่ยกเว้นไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 144

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 637/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลผูกพันคำพิพากษาตามยอม แม้ทนายไม่มีอำนาจ และการดำเนินการพิจารณาใหม่ที่ไม่ชอบ
การดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นเป็นการผิดถูกชอบหรือไม่นั้น เป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลอุทธรณ์มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้เองโดยคู่ความมิต้องอุทธรณ์
แม้ทนายจำเลยจะทำยอมความในศาลโดยบกพร่องในอำนาจก็ตาม หากศาลพิพากษาตามยอมแล้ว คำพิพากษานั้นก็มีผลผูกพันคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145
จำเลยร้องว่าทนายจำเลยทำยอมในศาลโดยไม่มีอำนาจ ขอให้ดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่ ศาลชั้นต้นสั่งยกคำร้อง จำเลยก็มิได้ใช้สิทธิอุทธรณ์แต่อย่างไร ดังนี้ ศาลชั้นต้นเองจะกลับมีคำสั่งให้ดำเนินกระบวนพิจารณาแล้วพิพากษาใหม่อีกหาได้ไม่ เพราะไม่ใช่เป็นการเปลี่ยนแปลงข้อผิดพลาดเล็กน้อยตามที่ยกเว้นไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 144

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 611-612/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาขายฝาก การชำระหนี้ และอายุความฟ้องร้อง
1. เมื่อพิจารณาตามฟ้องและคำให้การไม่มีฝ่ายใดอ้างถึงเรื่องยืดเวลาสัญญาขายฝากซึ่งเห็นได้ว่าไม่มีเจตนาให้ไถ่ถอนการขายฝากคดีเช่นนี้ย่อมไม่มีประเด็นเรื่องยืดเวลาสัญญาขายฝาก
2. ตามหลักฐาน คนหนึ่งเป็นผู้ให้กู้ แต่มิได้เข้ามาเป็นคู่ความนั้นศาลจะวินิจฉัยชี้ขาดคดีนั้นให้กระทบกระเทือนคนนั้นหาชอบไม่
3. เมื่อข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าจำเลยได้ตกลงให้โจทก์ชำระเงินค่าที่ดินภายใน 6 เดือนนับแต่วันครบกำหนดไถ่ถอนการขายฝาก โจทก์จึงไม่ผิดสัญญา
4. เมื่อโจทก์ไม่ผิดสัญญาดังกล่าว และการที่โจทก์อยู่ในที่พิพาทเพราะจำเลยยอมให้อาศัยอยู่ จึงเรียกค่าเสียหายไม่ได้
5. อนึ่ง ไม่มีข้อตกลงเรื่องให้ริบเงินที่ผ่อนชำระกันไว้ จำเลยก็ต้องคืนให้ จะริบไม่ได้
6. ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 419 โจทก์ได้รับหนังสือของจำเลยเมื่อ 22 มีนาคม 2500 ให้ไถ่การขายฝากใน 1 เดือนนับแต่วันรับหนังสือ ก็คือ ให้ไถ่ถอนภายใน 22 เมษายน 2500 โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อ 22 เมษายน 2501 ก็เป็นเวลา 1 ปีพอดี ไม่ขาดอายุความ
(ข้อ 1 ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 45/2505)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 598/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนที่ดินโดยการมอบอำนาจให้ผู้เยาว์ และการพิสูจน์การยกที่ดินให้ผู้อื่น
ยายยกที่ดินให้หลาน โดยทำใบมอบอำนาจให้หลานไปทำนิติกรรมแทน แม้หลานนั้นจะยังไม่บรรลุนิติภาวะก็เป็นผู้รับมอบอำนาจได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 598/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนที่ดินโดยใบมอบอำนาจของผู้เยาว์ และสิทธิในที่ดินเมื่อยังมิได้โอนกรรมสิทธิ์
ยายยกที่ดินให้หลาน โดยทำใบมอบอำนาจให้หลานไปทำนิติกรรมแทนแม้หลานนั้นจะยังไม่บรรลุนิติภาวะก็เป็นผู้รับมอบอำนาจได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 595/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความยินยอมในการรับบุตรบุญธรรม แม้ไม่ได้ทำเป็นหนังสือ ก็มีผลผูกพันได้ หากมิได้คัดค้าน
ความยินยอมของบิดามารดาที่ให้บุตรของตนซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะเป็นบุตรบุญธรรมของบุคคลอื่นนั้น กฎหมายไม่ได้บังคับว่าจะต้องทำเป็นหนังสือ
บิดาลงชื่อแต่ผู้เดียวให้ความยินยอมในการจดทะเบียนบุตรของตนเป็นบุตรบุญธรรมของบุคคลอื่นนั้น หากปรากฏว่ามารดามิได้ว่ากล่าวคัดค้านอย่างไรตลอดมาเป็นเวลา 20 ปีเศษ และเมื่อเกิดมีคดีพิพาทเกี่ยวกับความสมบูรณ์ของการรับบุตรบุญธรรมนี้มาก่อนแล้วครั้งหนึ่ง มารดาก็ไม่ได้เกี่ยวข้องคัดค้านเลย ดังนี้ พฤติการณ์ดังกล่าวฟังได้ว่ามารดาได้ให้ความยินยอมด้วยแล้วในการรับบุตรบุญธรรม
of 29