พบผลลัพธ์ทั้งหมด 286 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 443/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจับกุมโดยไม่มีหมายและการต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงาน: การพิพากษาขึ้นอยู่กับความชอบด้วยกฎหมายของการจับกุม
มีผู้แจ้งต่อนายร้อยตำรวจผู้บังคับกองฯ ว่า จำเลยกับพวกลักโคไป ผู้บังคับกองฯ สั่งให้นายสิบตำรวจไปเชิญตัวจำเลยบนบ้านโดยไม่มีหมายจำเลยไม่ยอมไป จึงเข้าจับกุม จำเลยใช้ขวานมีด ต่อสู้ขัดขวาง แม้ผู้บังคับกองฯ จะอยู่ไปห่าง 10 วา แต่ก็อยู่ที่บ้านผู้อื่น ไม่ได้ไปจับกุมด้วย การจับนี้ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 78, 81 จำเลยต่อสู้ขัดขวางจึงไม่มีความผิด แต่เมื่อผู้บังคับกองฯ นั้นไปทำการจับกุมด้วย ก็ชอบด้วยมาตรา 78, 92 วรรคท้าย
โจทก์กล่าวในฟ้องว่า นายสิบตำรวจ ฯลฯ ผู้เสียหายกับพวกซึ่งเป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่สืบสวนจับกุมผู้กระทำผิดตามกฎหมาย แม้จะไม่ระบุชื่อผู้บังคับกองฯ ซึ่งไปร่วมการจับกุมด้วย เมื่อผู้บังคับกองฯ เป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่จับกุมตามกฎหมายได้ ถือว่าฟ้องซึ่งได้ระบุว่ากับพวกเจ้าพนักงานฯ มีความหมายถึงผู้บังคับกองฯ ด้วย
โจทก์กล่าวในฟ้องว่า นายสิบตำรวจ ฯลฯ ผู้เสียหายกับพวกซึ่งเป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่สืบสวนจับกุมผู้กระทำผิดตามกฎหมาย แม้จะไม่ระบุชื่อผู้บังคับกองฯ ซึ่งไปร่วมการจับกุมด้วย เมื่อผู้บังคับกองฯ เป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่จับกุมตามกฎหมายได้ ถือว่าฟ้องซึ่งได้ระบุว่ากับพวกเจ้าพนักงานฯ มีความหมายถึงผู้บังคับกองฯ ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 443/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจับกุมและการต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงาน: ความชอบด้วยกฎหมายของการจับกุมและขอบเขตความรับผิด
มีผู้แจ้งต่อนายร้อยตำรวจผู้บังคับกองฯว่า จำเลยกับพวกลักโคไปผู้บังคับกองฯสั่งให้นายสิบตำรวจไปเชิญตัวจำเลยบนบ้านโดยไม่มีหมาย จำเลยไม่ยอมไป จึงเข้าจับกุมจำเลยใช้ขวาน มีด ต่อสู้ขัดขวางแม้ผู้บังคับกองฯจะอยู่ห่างไป 10 วา แต่ก็อยู่ที่บ้านผู้อื่น ไม่ได้ไปจับกุมด้วย การจับนี้ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 78,81 จำเลยต่อสู้ขัดขวางจึงไม่มีความผิด แต่เมื่อผู้บังคับกองฯ นั้นไปทำการจับกุมด้วย ก็ชอบด้วยมาตรา 78,92 วรรคท้าย
โจทก์กล่าวในฟ้องว่า นายสิบตำรวจ ฯลฯผู้เสียหายกับพวกซึ่งเป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่สืบสวนจับกุมผู้กระทำผิดตามกฎหมาย แม้จะไม่ระบุชื่อผู้บังคับกองฯซึ่งไปร่วมการจับกุมด้วย เมื่อผู้บังคับกองฯเป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่จับกุมตามกฎหมายได้ถือว่าฟ้องซึ่งได้ระบุว่ากับพวกเจ้าพนักงานฯมีความหมายถึงผู้บังคับกองฯ ด้วย
โจทก์กล่าวในฟ้องว่า นายสิบตำรวจ ฯลฯผู้เสียหายกับพวกซึ่งเป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่สืบสวนจับกุมผู้กระทำผิดตามกฎหมาย แม้จะไม่ระบุชื่อผู้บังคับกองฯซึ่งไปร่วมการจับกุมด้วย เมื่อผู้บังคับกองฯเป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่จับกุมตามกฎหมายได้ถือว่าฟ้องซึ่งได้ระบุว่ากับพวกเจ้าพนักงานฯมีความหมายถึงผู้บังคับกองฯ ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 405-410/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงประโยชน์ที่ดินสาธารณประโยชน์: อำนาจรัฐในการหวงห้ามที่ดินใหม่ย่อมลบล้างการหวงห้ามเดิม
เดิมอำเภอได้ประกาศหวงห้ามที่ดินรกร้างว่างเปล่าไว้สำหรับราษฎรใช้เลี้ยงสัตว์ร่วมกัน ต่อมาได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตหวงห้ามที่รกร้างว่างเปล่าบริเวณเดียวกันนั้นเพื่อประโยชน์ราชการทหาร ที่รกร้างว่างเปล่านั้นก็ยังคงเป็นที่ดินรกร้างว่างเปล่าอยู่ในสภาพเดิมเป็นแต่เปลี่ยนประโยชน์ที่ใช้เสียใหม่จากการใช้สำหรับราษฎรเลี้ยงสัตว์มาเป็นใช้ประโยชน์ในราชการทหารการหวงห้ามเดิมย่อมหมดสภาพไปทั้งตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตหวงห้ามนั้นก็กำหนดให้เจ้ากรมแผนที่เป็นเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจในการหวงห้ามที่ดินตามพระราชกฤษฎีกานั้นด้วยดังนี้ อำเภอย่อมไม่มีหน้าที่ดูแลตรวจตราที่ดินนั้นต่อไปนายอำเภอจึงไม่มีอำนาจสั่งให้จำเลยออกจากที่ดินในเขตหวงห้ามตามพระราชกฤษฎีกานั้นเมื่อจำเลยฝ่าฝืนหามีความผิดฐานขัดคำสั่งของนายอำเภอไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 405-410/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงประโยชน์ที่ดินสาธารณประโยชน์: อำนาจรัฐบาลในการกำหนดเขตหวงห้ามใหม่ ย่อมลบล้างการหวงห้ามเดิม
เดิมอำเภอได้ประกาศหวงห้ามที่ดินรกร้างว่างเปล่าไว้สำหรับราษฎรใช้เลี้ยงสัตว์ร่วมกัน ต่อมาได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตหวงห้ามที่รกร้างว่างเปล่าบริเวณเดียวกันนั้นเพื่อประโยชน์ราชการทหาร ที่รกร้างว่างเปล่าน้นก็ยังคงเป็นที่ดินรกร้างว่างเปล่าอยู่ในสภาพเดิม เป็นแต่เปลี่ยนประโยชน์ที่ใช้เสียใหม่จากการใช้สำหรับราษฎรเลี้ยงสัตว์มาเป็นใช้ประโยชน์ในราชการทหาร การหวงห้ามเดิมย่อมหมดสภาพไป ทั้งตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตหวงห้ามนั้นก็กำหนดให้เจ้ากรมแผนที่เป็นเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจในการหวงห้ามที่ดินตามพระราชกฤษฎีกานั้นด้วย ดังนี้อำเภอย่อมไม่มีหน้าที่ดูแลตรวจตราที่ดินนั้นต่อไป นายอำเภอจึงไม่มีอำนาจสั่งให้จำเลยออกจากที่ดินในเขตหวงห้ามตามพระราชกฤษฎีกานั้น เมื่อจำเลยฝ่าฝืนหามีความผิดฐานขัดคำสั่งนายอำเภอไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 308/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิ่มโทษนักโทษที่กระทำความผิดซ้ำระหว่างต้องโทษคดีเดิม ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 93
ผู้ที่ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษจำคุก 12 ปี ฐานฆ่าคนตายโดยเจตนา ระหว่างต้องโทษได้กระทำผิดฐานฆ่าคนตายซ้ำอีก นั้น ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 93 ย่อมเข้าเกณฑ์ที่จะต้องเพิ่มโทษอีกกึ่งหนึ่งตามโทษที่ศาลกำหนด สำหรับความผิดครั้งหลังด้วย
โทษจำคุกตลอดชีวิตนั้น เมื่อมีกรณีเพิ่มโทษและลดโทษเสมอกันแล้ว ก็ย่อมหักกลบลบกันได้
โทษจำคุกตลอดชีวิตนั้น เมื่อมีกรณีเพิ่มโทษและลดโทษเสมอกันแล้ว ก็ย่อมหักกลบลบกันได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 308/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิ่มโทษนักโทษที่กระทำความผิดซ้ำระหว่างต้องโทษจำคุก ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 93
ผู้ที่ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษจำคุก 12 ปีฐานฆ่าคนตายโดยเจตนาระหว่างต้องโทษได้กระทำผิดฐานฆ่าคนตายซ้ำอีก นั้น ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 93 ย่อมเข้าเกณฑ์ที่จะต้องเพิ่มโทษอีกกึ่งหนึ่งของโทษที่ศาลกำหนดสำหรับความผิดครั้งหลังนี้ด้วย
โทษจำคุกตลอดชีวิตนั้น เมื่อมีกรณีเพิ่มโทษและลดโทษเสมอกันแล้วก็ย่อมหักกลบลบกันได้
โทษจำคุกตลอดชีวิตนั้น เมื่อมีกรณีเพิ่มโทษและลดโทษเสมอกันแล้วก็ย่อมหักกลบลบกันได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 283/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความ: การชดใช้ค่าเสียหายจากการละเมิดสิทธิ และผลผูกพันของสัญญา
น้องชายจำเลยฉุดคร่าพาบุตรสาวที่อยู่ในความปกครองของโจทก์ไป อันเป็นการละเมิดเมื่อจำเลยมาขอขมาผูกพันทำสัญญาให้เงินแก่โจทก์เป็นการตอบแทนที่โจทก์ยอมให้บุตรได้อยู่กินกับน้องจำเลยนั้น สัญญาเช่นนี้ เป็นสัญญาตกลงกันระงับข้อพิพาทอันปรับได้ว่าเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งบังคับกันได้ตามกฎหมาย หาใช่เป็นการให้ตามหน้าที่ในทางศีลธรรมไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 283/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความ: การตกลงชดใช้ค่าเสียหายจากการละเมิดเพื่อระงับข้อพิพาท
น้องชายจำเลยฉุดคร่าพาบุตรสาวที่อยู่ในความปกครองของโจทก์ไป อันเป็นการละเมิด เมื่อจำเลยมาขอขมาผูกพันทำสัญญาให้เงินแก่โจทก์เป็นการตอบแทนที่โจทก์ยอมให้บุตรได้อยู่กินกับน้องจำเลยนั้น สัญญาเช่นนี้ เป็นสัญญาตกลงกันระงับข้อพิพาทอันปรับได้ว่าเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งบังคับกันได้ตามกฎหมาย หาใช่เป็นการให้ตามหน้าที่ในทางศีลธรรมไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 259/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ร่วมและครอบครองปรปักษ์: การครอบครองทรัพย์มรดกโดยเจ้าของร่วมและการคำนวณอายุความ
โจทก์อยู่กับมารดาที่เรือนมารดาในที่พิพาทก่อนมารดาตายมารดาตายที่พิพาทตกเป็นมรดกของมารดา โจทก์ก็ยังคงอยู่ที่เรือนมารดาอีกหลายเดือนนับแต่มารดาตาย แล้วเรือนมารดาก็ถูกรื้อถวายวัด โจทก์จึงมาอยู่ที่เรือนจำเลยในที่พิพาทอีกหลายเดือน รวมเวลาที่โจทก์อยู่ในที่พิพาทหลังจากมารดาตายได้ราวปีเศษ โจทก์จึงไปอยู่ที่จังหวัดอื่น นับว่าโจทก์ได้ครอบครองที่พิพาทอันเป็นทรัพย์มรดกมากับจำเลยด้วยกันในตอนแรก โจทก์กับจำเลยจึงมีฐานะเป็นเจ้าของทรัพย์มรดกร่วมกันมา การที่จำเลยครอบครองที่พิพาทต่อมาถือได้ว่าครอบครองที่พิพาทไว้แทนในฐานะเป็นเจ้าของร่วม แม้โจทก์มาฟ้องขอให้แบ่งมรดกที่พิพาทภายหลังมารดาตายแล้ว 18 ปี คดีก็ไม่ขาดอายุความ
โจทก์ที่ 1 ที่ 2 ฟ้องจำเลยคนเดียว ขอให้แบ่งที่ดินมรดกให้แก่โจทก์ทั้งสองคนละ 1 ใน 3 ส่วน แต่ปรากฏว่าคดีสำหรับโจทก์ที่ 1 ขาดอายุความมรดกแล้ว โจทก์ที่ 2 คงมีสิทธิรับมรดกร่วมกับจำเลยเพียง 2 คนดังนี้ ศาลจะพิพากษาให้โจทก์ได้รับส่วนแบ่งมรดก 1 ใน 2 ส่วน ไม่ได้เพราะเกินคำขอ คงพิพากษาให้โจทก์ได้รับส่วนแบ่งมรดก 1 ใน 3 ส่วนตามคำขอ (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 12/2505)
โจทก์ที่ 1 ที่ 2 ฟ้องจำเลยคนเดียว ขอให้แบ่งที่ดินมรดกให้แก่โจทก์ทั้งสองคนละ 1 ใน 3 ส่วน แต่ปรากฏว่าคดีสำหรับโจทก์ที่ 1 ขาดอายุความมรดกแล้ว โจทก์ที่ 2 คงมีสิทธิรับมรดกร่วมกับจำเลยเพียง 2 คนดังนี้ ศาลจะพิพากษาให้โจทก์ได้รับส่วนแบ่งมรดก 1 ใน 2 ส่วน ไม่ได้เพราะเกินคำขอ คงพิพากษาให้โจทก์ได้รับส่วนแบ่งมรดก 1 ใน 3 ส่วนตามคำขอ (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 12/2505)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 259/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ร่วมในมรดก การครอบครองแทนกัน และอายุความมรดก
โจทก์อยู่กับมารดาที่เรือนมารดาในที่พิพาท ก่อนมารดาตาย มารดาตายที่พิพาทตกเป็นมรดกของมารดา โจทก์ก็ยังคงอยู่ที่เรือนมารดาอีกหลายเดือนนับแต่มารดาตาย แล้วเรือนมารดาก็ถูกรื้อถวายวัด โจทก์จึงมาอยู่ที่เรือนจำเลยในที่พิพาทอีกหลายเดือน รวมเวลาที่โจทก์อยู่ในที่พิพาทหลังจากมารดาตายได้ราวปีเศษ โจทก์จึงไปอยู่ที่จังหวัดอื่น นับว่าโจทก์ได้ครอบครองที่พิพาทอันเป็นทรัพย์มรดกมากับจำเลยด้วยกันในตอนแรก โจทก์กับจำเลยจึงมีฐานะเป็นเจ้าของทรัพย์มรดกร่วมกันมา การที่จำเลยครอบครองที่พิพาทต่อมาถือได้ว่าครอบครองที่พิพาทไว้แทนในฐานะเจ้าของร่วม แม้โจทก์มาฟ้องขอให้แบ่งมรดกที่พิพาทภายหลังมารดาตายแล้ว 18 ปี คดีก็ไม่ขาดอายุความ
โจทก์ที่ 1 ที่ 2 ฟ้องจำเลยคนเดียว ขอให้แบ่งที่ดินมรดกให้แก่โจทก์ทั้งสองคนคนละ 1 ใน 3 ส่วน แต่ปรากฏว่าคดีสำหรับโจทก์ที่ 1 ขาดอายุความมรดกแล้ว โจทก์ที่ 2 คงมีสิทธิรับมรดกร่วมกับจำเลยเพียง 2 คน ดังนี้ ศาลจะพิพากษาให้โจทก์ได้รับส่วนแบ่งมรดก 1 ใน 2 ส่วนไม่ได้ เพราะเกินคำขอ คงพิพากษาให้โจทก์ได้รับส่วนแบ่งมรดก 1 ใน 3 ส่วน ตามคำขอ
ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 12/2505
โจทก์ที่ 1 ที่ 2 ฟ้องจำเลยคนเดียว ขอให้แบ่งที่ดินมรดกให้แก่โจทก์ทั้งสองคนคนละ 1 ใน 3 ส่วน แต่ปรากฏว่าคดีสำหรับโจทก์ที่ 1 ขาดอายุความมรดกแล้ว โจทก์ที่ 2 คงมีสิทธิรับมรดกร่วมกับจำเลยเพียง 2 คน ดังนี้ ศาลจะพิพากษาให้โจทก์ได้รับส่วนแบ่งมรดก 1 ใน 2 ส่วนไม่ได้ เพราะเกินคำขอ คงพิพากษาให้โจทก์ได้รับส่วนแบ่งมรดก 1 ใน 3 ส่วน ตามคำขอ
ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 12/2505