พบผลลัพธ์ทั้งหมด 286 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 252/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นิติกรรมอำพรางต้องทำตามแบบกฎหมาย การตกลงกันเองไม่สมบูรณ์
นิติกรรมอำพรางที่ท่านให้บังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 118 วรรค 2 น้น จะต้องเป็นนิติกรรมที่กระทำขึ้นโดยชอบด้วยกฎหมาย เช่น ในกรณีที่จะต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก็ได้กระทำอย่างถูกต้องจึงจะบังคับได้ ตามนัยคำพิพากษาฎีกาที่ 1783/2492 ฉะนั้น การจำนองที่ดินที่เพียงแต่ว่าได้ตกลงกันและหาได้ทำตามแบบดังว่าไม่ จึงไม่อาจบังคับได้ตามกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 252/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นิติกรรมอำพรางต้องทำตามแบบกฎหมาย หากไม่ทำตามแบบก็ไม่สามารถบังคับใช้ได้
นิติกรรมอำพรางที่ท่านให้บังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 118 วรรคสอง นั้น จะต้องเป็นนิติกรรมที่กระทำขึ้นโดยชอบด้วยกฎหมายเช่น ในกรณีที่จะต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก็ได้กระทำอย่างถูกต้องจึงจะบังคับได้ ตามคำพิพากษาฎีกาที่ 1783/2492 ฉะนั้น การจำนองที่ดินที่เพียงแต่ว่าได้ตกลงกันและหาได้ทำตามแบบดังว่าไม่ จึงไม่อาจบังคับได้ตามกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 250/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกเลิกสัญญาเช่าโดยชอบ แม้ผู้เช่าอยู่ต่างประเทศ โดยผ่านตัวแทน และการแสดงเจตนาถึงผู้เช่า
ผู้เช่าไปต่างประเทศ ได้มอบอำนาจคนอื่นเป็นตัวแทนไว้และผู้ให้เช่ากับตัวแทนได้ติดต่อเรื่องส่งค่าเช่าและไม่ยอมรับเงินธนาณัติค่าเช่ากันได้ตลอดมา ครั้นโจทก์ส่งหนังสือบอกเลิกการเช่าไปยังสำนักงานเดิมของตัวแทนนั่นเอง แต่กลับหาตัวคนรับไม่ได้ แต่ในระยะเดียวกันตัวแทนกลับส่งธนาณัติค่าเช่ามาให้อีก โดยระบุตำบลที่อยู่เดิมอันแสดงว่าตัวแทนยังอยู่ที่เดิม และเมื่อส่งทางไปรษณีย์ไม่ได้ ผู้ให้เช่ายังเอาคำบอกเลิกไปปิดไว้ ณ ที่เช่าอีก ยังมีผู้ฉีกเอาไปให้พวกพ้องของโจทก์ได้ดูด้วย และเมื่อฝ่ายผู้ให้เช่าเข้าอยู่ในบ้านนั้น ตัวแทนก็ไปแจ้งความหาว่าบุกรุก พฤติการณ์ทั้งนี้เห็นได้ว่าผู้ให้เช่าได้บอกเลิกสัญญาแล้ว ศาลฎีกาเห็นว่าการแสดงเจตนาของฝ่ายผู้ให้เช่าถือว่าไปถึงฝ่ายผู้เช่าแล้ว (อ้างฎีกาที่ 97/2496) สัญญาเช่าย่อมระงับไป
ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 41/2505
ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 41/2505
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 250/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกเลิกสัญญาเช่า: การแสดงเจตนาถึงผู้เช่าผ่านตัวแทน แม้ผู้เช่าอยู่ต่างประเทศ และผลกระทบต่อสิทธิเรียกร้องค่าเสียหาย
ผู้เช่าไปต่างประเทศ ได้มอบอำนาจคนอื่นเป็นตัวแทนไว้และผู้ให้เช่ากับตัวแทนได้ติดต่อเรื่องส่งค่าเช่าและไม่ยอมรับเงินธนาณัติค่าเช่ากันได้ตลอดมา ครั้นผู้ให้เช่าส่งหนังสือบอกเลิกการเช่าไปยังสำนักงานเดิมของตัวแทนนั่นเองแต่กลับหาตัวคนรับไม่ได้ แต่ในระยะเดียวกันตัวแทนกลับส่งธนาณัติค่าเช่ามาให้อีก โดยระบุตำบลที่อยู่เดิมอันแสดงว่าตัวแทนยังอยู่ที่เดิม และเมื่อส่งทางไปรษณีย์ไม่ได้ ผู้ให้เช่ายังเอาคำบอกเลิกไปปิดไว้ ณ ที่เช่า ยังมีผู้ฉีกเอาไปให้พวกพ้องของผู้เช่าได้ดูด้วย และเมื่อฝ่ายผู้ให้เช่าเข้าอยู่ในบ้านเช่านั้นตัวแทนก็ไปแจ้งความหาว่าบุกรุก พฤติการณ์ทั้งนี้เห็นได้ว่า ผู้ให้เช่าได้บอกเลิกสัญญาแล้ว ศาลฎีกาเห็นว่าการแสดงเจตนาของฝ่ายผู้ให้เช่าถือว่าไปถึงฝ่ายผู้เช่าแล้ว(อ้างฎีกาที่ 97/2496) สัญญาเช่าย่อมระงับไป
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 41/2505)
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 41/2505)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 248/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการอนุญาตและสถานที่ซื้อขายวัตถุระเบิดตาม พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ
เจ้าพนักงานอำเภอเมืองชุมพรออกใบอนุญาตให้จำเลยมีและใช้วัตถุระเบิดในจังหวัดชุมพร โดยให้ซื้อจากจังหวัดพระนครจำเลยซื้อแล้วกลับนำไปจังหวัดสระบุรี แล้วจะนำจากจังหวัดสระบุรีไปจังหวัดชุมพรโดยผ่านจังหวัดพระนครอีก ก็ถูกจับเสียก่อน ในท้องที่จังหวัดสระบุรี ดังนี้จำเลยไม่มีความผิดตาม พระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ มาตรา 43
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 248/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อวัตถุระเบิดโดยมีใบอนุญาต และการไม่มีข้อจำกัดในการนำไปเก็บรักษา ทำให้ไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ
จำเลยได้รับใบอนุญาตแบบ ป.5 ให้มีและใช้วัตถุระเบิดในจังหวัดชุมพร โดยซื้อจากจังหวัดพระนคร จำเลยซื้อแล้วนำติดตัวไปจังหวัดสระบุรีก่อนแล้วนำไปจังหวัดชุมพร โดยผ่านจังหวัดพระนครอีก แต่จำเลยถูกจับเสียก่อนในเขตจังหวัดสระบุรี เช่นนี้ การกระทำของจำเลยไม่ใช่เป็นการย้ายวัตถุระเบิดตามมาตรา 43 แห่งพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ พ.ศ. 2490 ไม่ต้องได้รับอนุญาตให้ย้ายวัตถุระเบิดจากเจ้าพนักงานอีก เพราะเป็นการซื้อโดยได้รับอนุญาตแล้วจะนำไป และใบอนุญาตแบบ ป.5 ก็มิได้กำหนดเงื่อนไขในการนำไปไว้แต่อย่างไร ทั้งไม่มีกฎหมายบัญญัติเป็นความผิดและกำหนดโทษไว้ในเรื่องนี้ จำเลยจึงไม่มีความผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 229/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการใช้บทบัญญัติมาตรา 100 พ.ร.บ.ล้มละลาย: ข้อต่อสู้เฉพาะคดีล้มละลายเท่านั้น
พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 100 ซึ่งบัญญัติว่า ดอกเบี้ยหรือเงินค่าป่วยการอื่นแทนดอกเบี้ยภายหลังวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ ไม่ให้ถือว่าเป็นหนี้ที่จะขอชำระได้นั้น เป็นบทบังคับของกฎหมายพิเศษมิให้เจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้คดีล้มละลายได้เหมือนคดีแพ่งสามัญเท่านั้นหาใช่บทบังคับของกฎหมายทั่วไปว่า ในกรณีที่ลูกหนี้ถูกพิทักษ์ทรัพย์ในคดีล้มละลายแล้ว ห้ามมิให้เจ้าหนี้ใช้สิทธิใดๆ เรียกร้องเอาดอกเบี้ยภายหลังวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ไม่ กฎหมายมาตรานี้จึงเป็นข้อต่อสู้ที่ลูกหนี้จะยกขึ้นต่อสู้เจ้าหนี้ได้เฉพาะในคดีล้มละลายเท่านั้น
ฉะนั้น ผู้ค้ำประกันลูกหนี้ดังกล่าวซึ่งทำสัญญาผูกพันตนไว้โดยไม่จำกัดความรับผิด เมื่อตนถูกเจ้าหนี้ฟ้องเป็นคดีแพ่งธรรมดาให้รับผิดแทนลูกหนี้ในดอกเบี้ยภายหลังวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้ จึงไม่อาจยกกฎหมายมาตรานี้ขึ้นต่อสู้เพื่อให้ตนพ้นความรับผิดได้
ฉะนั้น ผู้ค้ำประกันลูกหนี้ดังกล่าวซึ่งทำสัญญาผูกพันตนไว้โดยไม่จำกัดความรับผิด เมื่อตนถูกเจ้าหนี้ฟ้องเป็นคดีแพ่งธรรมดาให้รับผิดแทนลูกหนี้ในดอกเบี้ยภายหลังวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้ จึงไม่อาจยกกฎหมายมาตรานี้ขึ้นต่อสู้เพื่อให้ตนพ้นความรับผิดได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 229/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยหลังพิทักษ์ทรัพย์: ยังคงเป็นหนี้ แม้ขอรับชำระในคดีล้มละลายไม่ได้ ผู้ค้ำประกันยังต้องรับผิด
พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 100 เป็นบทบังคับกฎหมายพิเศษมิให้เจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายได้เหมือนคดีแพ่งสามัญ มิใช่บทบังคับกฎหมายทั่วไปว่าในกรณีที่ลูกหนี้ถูกพิทักษ์ทรัพย์ในคดีล้มละลายแล้ว ห้ามมิให้เจ้าหนี้ใช้สิทธิใด ๆ เรียกร้องเอาดอกเบี้ยภายหลังวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ไม่ฉะนั้นดอกเบี้ยภายหลังวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ก็ยังคงมีสภาพเป็นหนี้อยู่ แต่จะเรียกร้องกันในคดีแพ่งสามัญได้เพียงไร ต้องพิจารณาตามบทบังคับของกฎหมายทั่วไป
ผู้ค้ำประกันซึ่งทำสัญญาผูกพันตนโดยไม่จำกัดความรับผิดนั้น ต้องรับผิดเสียดอกเบี้ยภายหลังวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์แล้วแทนลูกหนี้ด้วย
ผู้ค้ำประกันซึ่งทำสัญญาผูกพันตนโดยไม่จำกัดความรับผิดนั้น ต้องรับผิดเสียดอกเบี้ยภายหลังวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์แล้วแทนลูกหนี้ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 225/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบทรัพย์สินจากบุคคลที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระทำผิด ขัดต่อหลักรัฐธรรมนูญที่คุ้มครองกรรมสิทธิ์
ในขณะนี้ยังไม่มีรัฐธรรมนูญการปกครองประเทศเป็นการแน่นอน และไม่มีคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ การวินิจฉัยบทกฎหมายใด ตลอดทั้งการตีความตามรัฐธรรมนูญ อันมิใช่เป็นเรื่องในวงงานของสภา ศาลย่อมมีอำาจกระทำได้
พระราชบัญญัติควบคุมการส่งออกไปนอกฯ แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 3 พ.ศ. 2490 มาตรา 3 ที่ให้ริบทรัพย์ของบุคคลอื่นผู้มิได้มีส่วนรู้เห็นในการกระทำผิด ได้บัญญัติในสมัยใช้รัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2489 ต่อมาได้ใช้รัฐธรรมนูญฯ พ.ศ.2492 และรัฐธรรมนูญฯ ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2495 ข้อความที่ให้ริบทรัพย์ของบุคคลอื่นตามพระราชบัญญัติดังกล่าว ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ 2 ฉบับหลังนี้ จึงเป็นโมฆะใช้ไม่ได้ ตามรัฐธรรมนูญฯ แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2495 มาตรา 113 และคำวินิจฉัยของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญในคำพิพากษาฎีกาเรื่องความผิดตามพระราชบัญญัติสำรวจและห้ามกักกันข้าวย่อมนำมาเปรียบเทียบกับคดีนี้ได้ เพราะเป็นเรื่องในทำนองเดียวกัน
พระราชบัญญัติควบคุมการส่งออกไปนอกฯ แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 3 พ.ศ. 2490 มาตรา 3 ที่ให้ริบทรัพย์ของบุคคลอื่นผู้มิได้มีส่วนรู้เห็นในการกระทำผิด ได้บัญญัติในสมัยใช้รัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2489 ต่อมาได้ใช้รัฐธรรมนูญฯ พ.ศ.2492 และรัฐธรรมนูญฯ ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2495 ข้อความที่ให้ริบทรัพย์ของบุคคลอื่นตามพระราชบัญญัติดังกล่าว ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ 2 ฉบับหลังนี้ จึงเป็นโมฆะใช้ไม่ได้ ตามรัฐธรรมนูญฯ แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2495 มาตรา 113 และคำวินิจฉัยของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญในคำพิพากษาฎีกาเรื่องความผิดตามพระราชบัญญัติสำรวจและห้ามกักกันข้าวย่อมนำมาเปรียบเทียบกับคดีนี้ได้ เพราะเป็นเรื่องในทำนองเดียวกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 225/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการวินิจฉัยกฎหมายขัดรัฐธรรมนูญ และการริบทรัพย์ของบุคคลที่มิได้กระทำผิด
เมื่อยังไม่มีรัฐธรรมนูญการปกครองประเทศเป็นการแน่นอนและไม่มีคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ การวินิจฉัยบทกฎหมายใด ตลอดทั้งการตีความตามรัฐธรรมนูญ อันมิใช่เป็นเรื่องในวงงานของสภา ศาลย่อมมีอำนาจกระทำได้
พระราชบัญญัติควบคุมการส่งออกไปนอกและการนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งสินค้าบางอย่าง(ฉบับที่ 3) พ.ศ.2490 มาตรา 3 ที่ให้ริบทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำความผิด โดยไม่คำนึงว่าจะเป็นของบุคคลใดและเจ้าของจะได้รู้เห็นในการกระทำความผิดด้วยหรือไม่นั้นได้บัญญัติในสมัยใช้รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2489 ต่อมาได้ใช้รัฐธรรมนูญฯ พ.ศ.2492 และรัฐธรรมนูญฯ ฉบับแก้ไขเพิ่มเติมพ.ศ.2495 ข้อความที่ให้ริบทรัพย์ของบุคคลอื่นตามพระราชบัญญัติดังกล่าว ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ 2 ฉบับหลังนี้จึงเป็นโมฆะตามรัฐธรรมนูญฯฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2495มาตรา 113 เทียบได้กับคำวินิจฉัยของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญเรื่องการริบทรัพย์ของบุคคลผู้มิได้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติสำรวจและห้ามกักกันข้าวฯ
พระราชบัญญัติควบคุมการส่งออกไปนอกและการนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งสินค้าบางอย่าง(ฉบับที่ 3) พ.ศ.2490 มาตรา 3 ที่ให้ริบทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำความผิด โดยไม่คำนึงว่าจะเป็นของบุคคลใดและเจ้าของจะได้รู้เห็นในการกระทำความผิดด้วยหรือไม่นั้นได้บัญญัติในสมัยใช้รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2489 ต่อมาได้ใช้รัฐธรรมนูญฯ พ.ศ.2492 และรัฐธรรมนูญฯ ฉบับแก้ไขเพิ่มเติมพ.ศ.2495 ข้อความที่ให้ริบทรัพย์ของบุคคลอื่นตามพระราชบัญญัติดังกล่าว ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ 2 ฉบับหลังนี้จึงเป็นโมฆะตามรัฐธรรมนูญฯฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2495มาตรา 113 เทียบได้กับคำวินิจฉัยของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญเรื่องการริบทรัพย์ของบุคคลผู้มิได้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติสำรวจและห้ามกักกันข้าวฯ