คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สารกิจปรีชา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 286 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1398/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การดูหมิ่นเจ้าพนักงาน-บุคคลธรรมดา และการทำให้เดือดร้อนรำคาญ กรณีจำเลยด่าพนักงานสอบสวนเชื่อมโยงถึงอัยการ
พนักงานสอบสวนจับจำเลยมาโดยอัยการผู้ช่วยแจ้งความว่าถูกจำเลยด่าต่อมาจำเลยไปด่าพนักงานสอบสวนด้วยถ้อยคำหยาบคายและมีความหมายว่า พนักงานสอบสวนนั้นเป็นขี้ข้าหรือลูกน้องอัยการ ทำงานอยู่ใต้อาณัติของอัยการ ดังนี้เป็นความผิดฐานดูหมิ่นเจ้าพนักงานเพราะได้กระทำการตามหน้าที่ตามมาตรา 136 และเมื่อเป็นการดูหมิ่นเจ้าพนักงานอยู่เช่นนี้แล้วก็ไม่เข้าบทที่จะลงโทษจำเลยฐานดูหมิ่นบุคคลธรรมดาตามมาตรา 393 อีก
และการที่จำเลยด่าซ้ำไปซ้ำมาหลายครั้งที่หน้าประตูบ้านผู้เสียหาย ในเวลากลางดึกอันเป็นเวลาหลับนอนของผู้เสียหายซึ่งอยู่ในบ้าน ถือได้ว่าเป็นการทำให้ผู้เสียหายได้รับความเดือดร้อน รำคาญ การกระทำเช่นนี้จึงผิดมาตรา 397 ด้วย แต่นับว่าเป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ศาลย่อมลงโทษตามมาตรา 136 แต่บทเดียว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1398/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การดูหมิ่นเจ้าพนักงานและทำให้เสียชื่อเสียง การกระทำผิดหลายบทแต่ลงโทษตามบทหนักสุด
พนักงานสอบสวนจับจำเลยมาโดยอัยการผู้ช่วยแจ้งความว่าถูกจำเลยด่า ต่อมาจำเลยไปด่าพนักงานสอบสวนด้วยถ้อยคำหยาบคาย และมีความหมายว่า พนักงานสอบสวนนั้นเป็นขี้ข้าหรือลูกน้องอัยการ ทำงานอยู่ใต้อาณัติของอัยการ ดังนี้ เป็นความผิดฐานดูหมิ่น เจ้าพนักงานเพราะได้กระทำการตามหน้าที่ตามมาตรา 136 และเมื่อเป็นการดูหมิ่นเจ้าพนักงานอยู่เช่นนี้แล้ว ดังไม่เข้าบทที่จะลงโทษจำเลยฐานดูหมิ่นบุคคลธรรมดาตามมาตรา 393 อีก
และการที่จำเลยด่าซ้ำไปซ้ำมาหลายครั้งที่หน้าประตูบ้านผู้เสียหาย ในเวลากลางคืนอันเป็นเวลาหลับนอนของผู้เสียหายซึ่งอยู่ในบ้าน ถือได้ว่าเป็นการทำให้ผู้เสียหายได้รับความเดือดร้อน รำคาญ การกระทำเช่นนี้จึงผิดมาตรา 397 ด้วย แต่นับว่าเป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ศาลย่อมลงโทษตามมาตรา 136 แต่บทเดียว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1155/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาล: ศาลอาญาไม่มีอำนาจสั่งปล่อยตัวผู้ถูกขังโดยหมายศาลทหาร แม้เป็นคดีที่โต้แย้งถึงอำนาจศาล
ศาลยุติธรรมตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม และศาลทหารตามพระราชบัญญัติพระธรรมนูญศาลทหารต่างมีฐานะเป็นศาลที่ใช้อำนาจตุลาการตามรัฐธรรมนูญเช่นเดียวกัน จึงต่างไม่มีอำนาจเหมือนกัน ศาลต่อศาลจะมีอำนาจเหนือกันได้ก็แต่เฉพาะที่มีบัญญัติไว้ในกฎหมาย ฉะนั้น ศาลอาญาจึงไม่อยู่ในฐานะที่จะมีอำนาจสั่งให้ปล่อยตัวบุคคลที่ศาลทหารในเวลาไม่ปกติได้ออกหมายขังไว้ได้
บุคคลที่ลงชื่อในหมายขังของศาลหาใช่กระทำเป็นส่วนตัวไม่ แต่กระทำในนามของศาลและในพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์ตามกฎหมาย จึงต้องถือว่าศาลนั้นเป็นผู้ก่อให้เกิดการขังนั้นขึ้น
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 90 นั้น ให้ศาลหมายเรียกเจ้าพนักงานหรือบุคคลอื่นซึ่งก่อให้เกิดการควบคุม ขับ หรือจำคุก ฯ มาได้เท่านั้น จะขยายความออกไปให้ศาลหมายเรียกศาลด้วยกันมาหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1113/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลฎีกาพิพากษาถึงจำเลยอื่น แม้ไม่ได้ฎีกา กรณีเหตุในลักษณะคดี
คดีที่จำเลยคนหนึ่งฎีกาคัดค้านคำพิพากษาซึ่งให้ลงโทษจำเลยหลายคนในความผิดฐานเดียวกันนั้น เมื่อศาลฎีกาเห็นควรยกฟ้องเพราะพยานหลักฐานของโจทก์ไม่พอฟังลงโทษจำเลยคนใดได้ และเป็นเหตุในลักษณะคดี ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยอื่นที่มิได้ฎีกาให้มิต้องรับโทษได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1113/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลฎีกาในการพิพากษาถึงจำเลยอื่น แม้ไม่ได้ฎีกา เมื่อเหตุยกฟ้องเป็นเหตุในลักษณะคดี
คดีที่จำเลยคนหนึ่งฎีกาคัดค้านคำพิพากษาซึ่งให้ลงโทษจำเลยหลายคนในความผิดฐานเดียวกันนั้น เมื่อศาลฎีกาเห็นควรยกฟ้องเพราะพยานหลักฐานของโจทก์ ไม่พอฟังลงโทษจำเลยคนใดได้ และเป็นเหตุในลักษณะคดี ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยอื่นที่มิได้ฎีกาให้มิต้องรับโทษได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1102/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีหนี้ – การฟ้องจำเลยที่ 2 ที่ไม่ได้ทำสัญญากู้เงิน
ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ทำสัญญากู้เงินสามีโจทก์ ต่อมาสามีโจทก์ตาย โจทก์เป็นผู้รับมรดก ได้มอบให้ ส.เป็นผู้เก็บรักษาสัญญาไว้และจัดการทรัพย์สินตามเอกสารสัญญา ส.นำสัญญากู้คืนให้จำเลยที่ 1 แล้วทำสัญญากู้ใหม่โดยใส่ชื่อ ส.เป็นผู้ให้กู้และใส่ชื่อจำเลยที่ 2 เป็นผู้กู้แทนโจทก์กับ ส. จึงมีคดีพิพาทกันและทำสัญญายอมความกันไว้ โดย ส.รับว่าเงินรายนี้เป็นของสามีโจทก์จริงโจทก์จึงขอให้บังคับให้จำเลยทั้งสองใช้หนี้เงินกู้นั้น ดังนี้ เมื่อเป็นที่เห็นได้ตามคำฟ้องว่าส.กระทำไปโดยโจทก์มิได้รู้เห็นยินยอมในการกระทำระหว่าง ส.กับจำเลยทั้งสอง จะถือว่าโจทก์ฟ้องว่ากรณีเป็นการแปลงหนี้โดยชอบแล้วหาได้ไม่ โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องจำเลยที่ 1 ในฐานะที่จำเลยที่ 1 ทำสัญญากู้เงินสามีโจทก์ไปได้ ส่วนจำเลยที่ 2 ไม่ได้กู้เงินสามีโจทก์ไป ก็ไม่มีหนี้ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 โจทก์จะฟ้องจำเลยที่ 2 ให้รับผิดด้วยไม่ได้ (อนึ่ง ในปัญหาข้อนี้แม้จำเลยจะขอให้ศาลวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นว่า โจทก์ฟ้องโดยอาศัยสิทธิเรียกร้องของ ส.ตามสัญญาประนีประนอม แต่โจทก์หรือส.มิได้แจ้งการโอนสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 2 ทราบ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง แต่เมื่อศาลเห็นว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 เพราะไม่มีหนี้ต่อกัน ดังนี้ ศาลก็ย่อมพิพากษาให้ยกฟ้องคดีสำหรับจำเลยที่ 2 เสียได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1102/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิฟ้องคดีหนี้เงินกู้: การมีส่วนร่วมในการทำสัญญาและการไม่มีหนี้โดยตรง
ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ทำสัญญากู้เงินสามีโจทก์ไป ต่อมาสามีโจทก์ตาย โจทก์เป็นผู้รับมรดก ได้มอบให้ ส.เป็นผู้รักษาสัญญาไว้ และจัดการทรัพย์สินตามเอกสารสัญญา ส.นำสัญญากู้คืนให้จำเลยที่ 1 แล้วทำสัญญากู้ใหม่ โดยใส่ชื่อ ส.เป็นผู้ให้กู้และใส่ชื่อจำเลยที่ 2 เป็นผู้กู้แทน โจทก์กับ ส. จึงมีคดีพิพาทกันและทำสัญญายอมความกันไว้ โดยส.รับว่าเงินรายนี้เป็นของสามีโจทก์จริง โจทก์จึงขอให้บังคับให้จำเลยทั้งสองใช้หนี้ เงินกู้นั้น ดังนี้ เมื่อเป็นที่เห็นได้ตามคำฟ้องว่า ส.กระทำไปโดยโจทก์มิได้รู้เห็นยินยอมในการกระทำระหว่าง ส.กับจำเลยทั้งสอง จะถือว่าโจทก์ฟ้องว่ากรณีเป็นการแปลงหนี้ โดยชอบแล้วหาได้ไม่โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องจำเลยที่ 1 ในฐานะที่จำเลยที่ 1 ทำสัญญากู้เงินสามีโจทก์ไปได้ ส่วนจำเลยที่ 2 ไม่ได้กู้เงินสามีโจทก์ไป ก็ไม่มีหนี้ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 โจทก์จะฟ้องจำเลยที่ 2 ให้รับผิดด้วยไม่ได้ (อนึ่ง ในปัญหาข้อนี้ แม้จำเลยจะขอให้ ศาลวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นว่า โจทก์ฟ้องโดยอาศัยสิทธิเรียกร้องของ ส. ตามสัญญาประนีประนอม แต่โจทก์หรือ ส. มิได้แจ้งการโอนสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 2 ทราบ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง แต่เมื่อศาลเห็นว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 เพราะไม่มีหนี้ต่อกัน ดังนี้ ศาลก็ย่อมพิพากษาให้ยกฟ้องคดีสำหรับจำเลยที 2 เสียได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1085/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเชิดตัวแทนและหลักการรับผิดชอบของตัวการ จำเลยต้องหลงเชื่อว่าเป็นกิจการของตัวการ
การที่จะถือว่าเป็นตัวแทนเชิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มารตรา 821 นั้น บุคคลภายนอกจะต้องรับติดต่อโดยหลงเข้าใจว่าเป็นกิจการของตัวการถ้าไม่หลงเช่นนั้น กล่าวคือ เชื่อว่าเป็นกิจการของผู้มาติดต่อเอง ก็ไม่ใช่กรณีตามมาตรา 821

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1085/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ตัวแทนเชิด: ความเข้าใจผิดในกิจการ
การที่จะถือว่าเป็นตัวแทนเชิด ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 821 นั้น บุคคลภายนอกจะต้องรับติดต่อโดยหลงเข้าใจว่าเป็นกิจการของตัวการ ถ้าไม่หลงเช่นนั้น กล่าวคือ เชื่อว่าเป็นกิจการของผู้มาติดต่อเอง ก็ไม่ใช่กรณีตาม มาตรา 821

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1028/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสมรสที่ผิดกฎหมาย: ผลของการสมรสซ้อนและผลของการเพิกถอนการสมรส
จำเลยจะอ้างในคำให้การต่อสู้คดีว่าการสมรสระหว่างจำเลยกับบุคคลอื่นเป็นโมฆะหรือโมฆียะไม่ได้ นอกจากศาลพิพากษาว่าเป็นเช่นนั้น
การเพิกถอนการสมรสมีผลแต่เวลาที่+คำพิพากษาถึงที่สุด ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1496 โดยอนุโลมตามมาตรา +
of 29