พบผลลัพธ์ทั้งหมด 46 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 163/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างผู้บริหาร: สิทธิในการพิจารณาจ่ายค่าตอบแทนพิเศษเป็นดุลยพินิจของนายจ้าง ไม่ถือเป็นการผูกมัด
สัญญาจ้างผู้บริหาร ระบุว่า ผู้ว่าจ้างอาจพิจารณาจ่ายค่าตอบแทนพิเศษประจำปีตามผลประกอบการของโรงพิมพ์ตำรวจและผลการประเมินผลการปฏิบัติงานของผู้รับจ้าง ตามหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินของคณะกรรมการโรงพิมพ์ตำรวจ ในอัตราไม่เกินกว่าร้อยละ 30 ของค่าตอบแทนรวมในแต่ละปี ข้อสัญญาดังกล่าวไม่ได้มีถ้อยคำที่เป็นการผูกมัดโรงพิมพ์ตำรวจว่าจะต้องจ่ายค่าตอบแทนพิเศษประจำปีแก่โจทก์ทุกปี แต่กลับเป็นการให้สิทธิแก่โรงพิมพ์ตำรวจเพียงฝ่ายเดียวในการพิจารณาว่าจะจ่ายค่าตอบแทนพิเศษประจำปีแก่โจทก์หรือไม่ แม้ข้อสัญญาดังกล่าวมีถ้อยคำต่อไปว่า.......จ่ายค่าตอบแทนพิเศษประจำปีตามผลประกอบการของโรงพิมพ์ตำรวจและผลการประเมินผลการปฏิบัติงานของผู้รับจ้าง ตามหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินของคณะกรรมการโรงพิมพ์ตำรวจ ในอัตราไม่เกินกว่าร้อยละ 30 ของค่าตอบแทนรวมในแต่ละปี ก็เป็นการกล่าวถึงหลักเกณฑ์ในการกำหนดจำนวนค่าตอบแทนพิเศษประจำปีหลังจากที่มีการพิจารณาว่าจะจ่ายค่าตอบแทนดังกล่าวแก่โจทก์แล้วเท่านั้น เมื่อคณะกรรมการโรงพิมพ์ตำรวจเห็นว่าโจทก์ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้โรงพิมพ์ตำรวจได้รับความเสียหาย และมีมติไม่จ่ายค่าตอบแทนพิเศษประจำปีสำหรับการปฏิบัติงานในปีที่ 2 แก่โจทก์ อันเป็นการใช้สิทธิโดยชอบตามสัญญาข้อ 3.2 ย่อมไม่เป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์จึงฟ้องเรียกค่าตอบแทนพิเศษประจำปีไม่ได้ ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้คู่ความไม่ได้ฎีกา ศาลฎีกาก็ยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246, 247 (เดิม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10850/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินที่จ่ายเกินสิทธิโดยผิดหลง แม้เป็นลาภมิควรได้ แต่เมื่อสุจริตและใช้จ่ายหมดแล้ว ไม่ต้องคืน
จำเลยไม่มีสิทธิได้รับเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญตามกฎหมาย แต่โจทก์จ่ายเงินดังกล่าวให้จำเลยไปโดยผิดหลง จึงเป็นเงินที่จำเลยได้รับไว้โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ และทำให้โจทก์เสียเปรียบอันเป็นลาภมิควรได้ หาใช่เป็นเงินที่โจทก์มีสิทธิติดตามเอาคืนได้อย่างเจ้าของทรัพย์สินไม่ และเมื่อได้ความว่าจำเลยได้รับเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญไว้โดยสุจริตและนำไปใช้จ่ายหมดแล้วก่อนที่โจทก์จะเรียกคืน จำเลยจึงไม่ต้องคืนเงินดังกล่าวแก่โจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 412
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9173/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งและการชดใช้ค่าเสียหายจากการเลือกตั้งใหม่ จำเลยไม่ต้องรับผิดหากพิสูจน์ไม่ได้ว่ากระทำผิด
โจทก์มีคำสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งจำเลยเป็นเวลาหนึ่งปี และให้มีการเลือกตั้งใหม่ตาม พ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ.2545 มาตรา 96 โดยให้จำเลยรับผิดชดใช้ค่าเสียหายตามจำนวนที่ไม่เกินค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้งสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบลปากช่อง เขตเลือกตั้งที่ 12 ใหม่ รวมทั้งให้ดำเนินคดีอาญาแก่จำเลยด้วย คำสั่งดังกล่าวย่อมมีผลบังคับเด็ดขาดเฉพาะกรณีคำสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งจำเลยเป็นเวลาหนึ่งปีและสั่งให้มีการเลือกตั้งใหม่ อันเกี่ยวกับในส่วนวิธีการและการจัดการเลือกตั้งตามอำนาจหน้าที่ของโจทก์เท่านั้น แต่การที่โจทก์ขอให้ศาลบังคับจำเลยให้รับผิดชดใช้ค่าเสียหายตาม พ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้บริการท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ.2545 มาตรา 99 วรรคหนึ่ง นั้น เป็นกรณีที่โจทก์ขอให้บังคับจำเลยรับผิดในทางแพ่งจึงเป็นอำนาจหน้าที่ของศาลยุติธรรมที่จะต้องฟังข้อเท็จจริงให้ได้ความเสียก่อนว่าจำเลยกระทำการตามที่โจทก์กล่าวอ้างหรือไม่ เมื่อคดีฟังไม่ได้ว่าจำเลยกระทำการจูงใจผู้มีสิทธิเลือกตั้งให้ลงคะแนนเสียงให้จำเลย โดยการเสนอให้หรือสัญญาว่าจะให้เงิน ทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดแก่ผู้ใด จัดรถรับส่งคนไปลงคะแนนที่หน่วยเลือกตั้ง ดังนั้น การที่โจทก์จัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบลปากช่องเขตเลือกตั้งที่ 12 ใหม่ มิได้เกิดจากจำเลยกระทำการอันเป็นการฝ่าฝืน พ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ.2545 มาตรา 57 จำเลยไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายที่เป็นค่าใช้จ่ายในการจัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบลปากช่อง เขตเลือกตั้งที่ 12 ใหม่ ให้แก่โจทก์ตามฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8902/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งและค่าเสียหายจากการเลือกตั้งใหม่: ศาลต้องพิสูจน์การกระทำผิดก่อน
การที่โจทก์ทำการสืบสวนสอบสวนแล้วเชื่อว่าจำเลยกระทำการฝ่าฝืน พ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ.2545 โจทก์จึงมีคำวินิจฉัยสั่งการให้เพิกถอนสิทธิการเลือกตั้งจำเลยเป็นเวลาหนึ่งปีและสั่งให้มีการเลือกตั้งใหม่ ตาม พ.ร.บ.ดังกล่าว มาตรา 96 นั้น โจทก์เป็นองค์กรตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ซึ่งใช้บังคับในขณะนั้น มีอำนาจหน้าที่ในการดำเนินการที่เกี่ยวกับกระบวนการเลือกตั้ง เมื่อโจทก์พิจารณารายงานการสืบสวนสอบสวนของคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัด โดยใช้ดุลพินิจชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานแล้วเห็นว่า มีหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่าจำเลยกระทำการเป็นการฝ่าฝืน ตาม พ.ร.บ.ดังกล่าว มาตรา 57 มีผลให้การเลือกตั้งในส่วนที่เกี่ยวข้องกับจำเลยมิได้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม และโจทก์ได้มีคำวินิจฉัยสั่งการ โดยให้จำเลยรับผิดชดใช้ค่าเสียหายตามจำนวนที่ไม่เกินค่าใช้จ่ายในการให้มีการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัวใหม่ รวมทั้งให้ดำเนินคดีอาญาแก่จำเลยด้วย คำสั่งดังกล่าวย่อมมีผลบังคับเด็ดขาดเฉพาะกรณีการสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งจำเลยเป็นเวลาหนึ่งปีและสั่งให้มีการเลือกตั้งใหม่ อันเกี่ยวกับในส่วนวิธีการและการจัดการเลือกตั้งตามอำนาจหน้าที่ของโจทก์เท่านั้น แต่การที่โจทก์ขอให้ศาลบังคับจำเลยต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายที่เป็นค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้งนั้น ตาม พ.ร.บ.ดังกล่าว มาตรา 99 วรรคหนึ่ง เป็นกรณีที่โจทก์ขอให้บังคับจำเลยรับผิดในทางแพ่ง เมื่อคดีฟังไม่ได้ว่าจำเลยได้มอบเงิน 20 บาท ให้แก่ ค. เพื่อจงใจให้ลงคะแนนเลือกตั้งจำเลยเป็นนายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัวใหม่ ดังนั้น การที่โจทก์จัดให้มีการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัวใหม่ จึงมิได้เกิดจากการกระทำอันเป็นการฝ่าฝืน พ.ร.บ.ดังกล่าว มาตรา 57 จำเลยไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายที่เป็นค่าใช้จ่ายในการจัดให้มีการเลือกตั้งนั้นให้แก่โจทก์ตามฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6612/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
บังคับจำนอง: การจำกัดความรับผิดของลูกหนี้เมื่อยึดทรัพย์จำนองได้เงินไม่พอชำระหนี้
แม้โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยที่ 1 ชำระหนี้กู้ยืมอันเป็นหนี้ประธานก่อนก็ตาม แต่โจทก์มีคำขอท้ายฟ้องด้วยว่า หากจำเลยทั้งสองไม่ชำระให้ยึดทรัพย์จำนองออกขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้แก่โจทก์ และบังคับเอาแก่ทรัพย์สินอื่นของจำเลยทั้งสองได้จนกว่าโจทก์จะได้รับชำระหนี้ครบถ้วน แสดงว่าโจทก์ประสงค์จะบังคับคดีเอาจากที่ดินและสิ่งปลูกสร้างอันเป็นทรัพย์จำนอง จึงเป็นการฟ้องบังคับจำนองด้วย เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่าสัญญาจำนองไม่มีข้อตกลงกันว่า หากโจทก์ผู้รับจำนองเอาทรัพย์ที่จำนองออกขายทอดตลาดใช้หนี้แก่ผู้รับจำนองได้เงินสุทธิน้อยกว่าจำนวนเงินที่ค้างชำระให้ยึดทรัพย์สินอื่นของผู้จำนองออกขายทอดตลาดนำเงินมาใช้หนี้แก่ผู้รับจำนองโดยครบถ้วนอันเป็นการตกลงยกเว้น ป.พ.พ. มาตรา 733 ไว้ ดังนั้น เมื่อโจทก์ยึดทรัพย์จำนองออกขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้ตามคำพิพากษาแก่โจทก์ หากได้เงินมาไม่พอชำระหนี้ โจทก์ไม่อาจขอให้ยึดทรัพย์สินอื่นของจำเลยทั้งสองมาชำระหนี้แก่โจทก์จนครบถ้วนได้ ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 7/2559)
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 7/2559)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3278/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีและการยึดทรัพย์สินหลังศาลอุทธรณ์กลับคำพิพากษา: ผลของฎีกาต่อการคุ้มครองประโยชน์ของเจ้าหนี้
โจทก์ที่ 1 และที่ 3 ขอให้บังคับคดีและนำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดและอายัดทรัพย์สินของจำเลยหลายรายการเพื่อบังคับชำระหนี้ตามคำพิพากษา แม้ต่อมาศาลอุทธรณ์พิพากษากลับให้ยกฟ้องโจทก์ทั้งสามอันมีผลให้จำเลยซึ่งเป็นฝ่ายอุทธรณ์ชนะในข้อสาระสำคัญ ซึ่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 251 (เดิม) ซึ่งบังคับใช้ในขณะยื่นฟ้อง จำเลยจะยื่นคำขอต่อศาลชั้นต้นให้ถอนการยึดหรืออายัดทรัพย์สินหรือคืนเงินจำนวนที่วางไว้ต่อศาลในข้อนั้น ๆ ก็ได้ แต่เมื่อปรากฏว่าโจทก์ทั้งสามยังฎีกา โดยโจทก์ที่ 1 และที่ 3 ยื่นคำร้องขอให้ศาลฎีกากำหนดวิธีการเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของโจทก์ที่ 1 และที่ 3 ด้วยการมีคำสั่งให้การบังคับคดียังคงมีผลต่อไป และศาลฎีกาได้มีคำสั่งคำร้องที่ 1315/2556 ลงวันที่ 19 ธันวาคม 2556 ว่า แม้ศาลอุทธรณ์จะพิพากษากลับให้ยกฟ้อง แต่ก็มิใช่คำพิพากษาถึงที่สุดที่เจ้าพนักงานบังคับคดีจะถอนการบังคับคดีได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 295 (3) เพราะโจทก์ที่ 1 และที่ 3 ยังฎีกาอยู่ การยึดและอายัดทรัพย์สินจึงยังคงมีผลอยู่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1231/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์ความผิดฐานพยายามฆ่าเมื่อมีคำรับสารภาพ: ศาลต้องรับฟังพยานหลักฐานประกอบคำรับสารภาพ
ในการสืบพยานโจทก์ประกอบกับคำรับสารภาพของจำเลย ศาลต้องรับฟังพยานโจทก์จนกว่าจะพอใจว่าจำเลยได้กระทำความผิดจริง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 176 วรรคหนึ่ง เมื่ออุทธรณ์ของจำเลยเป็นการโต้แย้งคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่า พยานโจทก์ที่นำสืบประกอบคำรับสารภาพของจำเลยไม่มีน้ำหนักรับฟังลงโทษจำเลยในความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่นดังที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัย จึงเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น หาใช่เป็นการยกข้อเท็จจริงขึ้นใหม่ในชั้นอุทธรณ์ ซึ่งต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 ไม่ จำเลยจึงอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นในความผิดดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14408/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการขายทอดตลาด: ราคาเหมาะสม, การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานบังคับคดี, และความเสียหาย
จำเลยที่ 5 ขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดเนื่องจากเห็นว่าราคาที่ได้จากการขายทอดตลาดทรัพย์สินมีจำนวนต่ำเกินสมควรซึ่งเกิดจากการคบคิดกันฉ้อฉลระหว่างผู้ที่เกี่ยวข้องในการสู้ราคาหรือความไม่สุจริตหรือความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของเจ้าพนักงานบังคับคดีในการปฏิบัติหน้าที่ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 309 ทวิ วรรคสอง ซึ่งศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยในเรื่องราคาที่ได้จากการขายทอดตลาดแล้วว่าราคาที่เจ้าพนักงานบังคับคดีขายที่ดินไปมีราคาเหมาะสมแล้วและไม่มีเหตุที่จะเพิกถอนการขายทอดตลาด ให้ยกคำร้องของจำเลยที่ 5 ซึ่งคำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวให้เป็นที่สุดตามมาตรา 309 ทวิ วรรคสี่ ฎีกาของจำเลยที่ 5 ที่อ้างว่ายังมีเหตุจากการที่เจ้าพนักงานบังคับคดีปฏิบัติหน้าที่ไม่ชอบอีกจึงไม่เป็นสาระที่จะต้องวินิจฉัย
ระเบียบกระทรวงยุติธรรมว่าด้วยการบังคับคดี พ.ศ.2522 ข้อที่ 68 วรรคแรก กำหนดว่า ในการขายทอดตลาดทรัพย์อันเป็นที่ดิน ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีทำการปิดประกาศกำหนดวันขายทอดตลาดไว้ ณ ที่ตั้งของที่ดินที่จะทำการขายทอดตลาดนั้น และ ป.วิ.พ. มาตรา 306 บัญญัติให้เจ้าพนักงานบังคับคดีแจ้งแก่บรรดาผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีแก่ทรัพย์สินที่จะขายทอดตลาดทราบซึ่งคำสั่งของศาลให้ขายทอดตลาดและวันขายทอดตลาดนั้น ระเบียบของกระทรวงยุติธรรมดังกล่าวข้างต้นหาได้เป็นข้อกฎหมายไม่ แต่เป็นระเบียบที่มีวัตถุประสงค์เพื่อจะให้บุคคลภายนอกที่สนใจมาประมูลซื้อทรัพย์ในการขายทอดตลาดเท่านั้น การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ดำเนินการปิดประกาศขายทอดตลาดไว้ ณ ที่ดินที่ขายทอดตลาดจึงยังถือไม่ได้ว่าเป็นการบังคับคดีที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ส่วนกรณีที่เจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ส่งประกาศขายทอดตลาดให้แก่โจทก์แม้จะเป็นการไม่ชอบตามมาตรา 306 อันเป็นการบังคับคดีฝ่าฝืนต่อกฎหมาย แต่ตามคำร้องของจำเลยที่ 5 ที่อ้างเหตุดังกล่าวก็คงกล่าวอ้างแต่เพียงลอย ๆ ไม่ได้ระบุว่าจำเลยที่ 5 ต้องเสียหายเพราะเหตุดังกล่าวอย่างไร จำเลยที่ 5 จึงไม่อาจร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดซึ่งเป็นวิธีการบังคับคดีตามมาตรา 296 วรรคสอง ประกอบกับได้ความจากผู้รับมอบอำนาจโจทก์และผู้ดูแลการขายทอดตลาดของโจทก์คดีนี้ซึ่งมาเบิกความเป็นพยานจำเลยที่ 5 ว่า แม้ฝ่ายโจทก์จะเข้าดูแลการขายทอดตลาดในครั้งนี้ก็จะไม่คัดค้านราคาเนื่องจากขายได้ราคาสูงกว่าราคาที่ฝ่ายโจทก์ได้คัดค้านราคาไว้ในการขายทอดตลาดครั้งแรกจึงเป็นที่พอใจแก่ฝ่ายโจทก์แล้ว จำเลยที่ 5 จึงไม่ได้รับความเสียหายจากการที่เจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ส่งประกาศขายทอดตลาดให้แก่โจทก์แต่อย่างใด กรณีจึงไม่มีเหตุที่จะให้เพิกถอนการขายทอดตลาด
ระเบียบกระทรวงยุติธรรมว่าด้วยการบังคับคดี พ.ศ.2522 ข้อที่ 68 วรรคแรก กำหนดว่า ในการขายทอดตลาดทรัพย์อันเป็นที่ดิน ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีทำการปิดประกาศกำหนดวันขายทอดตลาดไว้ ณ ที่ตั้งของที่ดินที่จะทำการขายทอดตลาดนั้น และ ป.วิ.พ. มาตรา 306 บัญญัติให้เจ้าพนักงานบังคับคดีแจ้งแก่บรรดาผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีแก่ทรัพย์สินที่จะขายทอดตลาดทราบซึ่งคำสั่งของศาลให้ขายทอดตลาดและวันขายทอดตลาดนั้น ระเบียบของกระทรวงยุติธรรมดังกล่าวข้างต้นหาได้เป็นข้อกฎหมายไม่ แต่เป็นระเบียบที่มีวัตถุประสงค์เพื่อจะให้บุคคลภายนอกที่สนใจมาประมูลซื้อทรัพย์ในการขายทอดตลาดเท่านั้น การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ดำเนินการปิดประกาศขายทอดตลาดไว้ ณ ที่ดินที่ขายทอดตลาดจึงยังถือไม่ได้ว่าเป็นการบังคับคดีที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ส่วนกรณีที่เจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ส่งประกาศขายทอดตลาดให้แก่โจทก์แม้จะเป็นการไม่ชอบตามมาตรา 306 อันเป็นการบังคับคดีฝ่าฝืนต่อกฎหมาย แต่ตามคำร้องของจำเลยที่ 5 ที่อ้างเหตุดังกล่าวก็คงกล่าวอ้างแต่เพียงลอย ๆ ไม่ได้ระบุว่าจำเลยที่ 5 ต้องเสียหายเพราะเหตุดังกล่าวอย่างไร จำเลยที่ 5 จึงไม่อาจร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดซึ่งเป็นวิธีการบังคับคดีตามมาตรา 296 วรรคสอง ประกอบกับได้ความจากผู้รับมอบอำนาจโจทก์และผู้ดูแลการขายทอดตลาดของโจทก์คดีนี้ซึ่งมาเบิกความเป็นพยานจำเลยที่ 5 ว่า แม้ฝ่ายโจทก์จะเข้าดูแลการขายทอดตลาดในครั้งนี้ก็จะไม่คัดค้านราคาเนื่องจากขายได้ราคาสูงกว่าราคาที่ฝ่ายโจทก์ได้คัดค้านราคาไว้ในการขายทอดตลาดครั้งแรกจึงเป็นที่พอใจแก่ฝ่ายโจทก์แล้ว จำเลยที่ 5 จึงไม่ได้รับความเสียหายจากการที่เจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ส่งประกาศขายทอดตลาดให้แก่โจทก์แต่อย่างใด กรณีจึงไม่มีเหตุที่จะให้เพิกถอนการขายทอดตลาด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14006/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิบุริมสิทธิของกองทุนเงินทดแทนและประกันสังคม ครอบคลุมหนี้ค้างชำระทุกปี ไม่จำกัดเฉพาะปีปัจจุบัน
ตาม พ.ร.บ.เงินทดแทน พ.ศ.2537 มาตรา 9 และ พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 มาตรา 51 ซึ่งบทบัญญัติทั้งสองมาตราดังกล่าวนั้นเป็นเพียงกำหนดลำดับหนี้เงินทดแทน เงินสมทบและเงินเพิ่มที่นายจ้างค้างชำระกองทุนเงินทดแทนและกองทุนประกันสังคมให้เป็นหนี้บุริมสิทธิเหนือทรัพย์สินของนายจ้างซึ่งเป็นลูกหนี้และให้อยู่ในลำดับเดียวกับบุริมสิทธิในค่าภาษีอากรตาม ป.พ.พ. โดยมิได้มีบทบัญญัติใดที่กำหนดว่าหนี้นั้นจะต้องเป็นหนี้ที่นายจ้างซึ่งเป็นลูกหนี้ค้างชำระอยู่ในปีใดอย่างบุริมสิทธิในมูลค่าภาษีอากรที่ ป.พ.พ. มาตรา 256 บัญญัติให้ใช้สำหรับเอาบรรดาค่าภาษีอากรในที่ดิน ทรัพย์สิน หรือค่าภาษีอากรอย่างอื่นที่ลูกหนี้ยังค้างชำระอยู่ในปีปัจจุบันและก่อนนั้นขึ้นไปอีกปีหนึ่ง
คดีนี้ผู้ร้องได้ใช้อำนาจออกคำสั่งเป็นหนังสือให้อายัดเงินในบัญชีเงินฝากธนาคาร ก. สาขาบ้านฉาง ของจำเลยที่ 1 ตาม พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 มาตรา 50 และ พ.ร.บ.เงินทดแทน พ.ศ.2537 มาตรา 47 โดยชอบตั้งแต่ปี 2554 อันถือได้ว่าเป็นวันที่ผู้ร้องใช้อำนาจตามบทบัญญัติของกฎหมายเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกหนี้ที่ค้างชำระเงินทดแทน เงินสมทบและเงินเพิ่มชำระหนี้แล้ว ผู้ร้องจึงมีสิทธิได้รับชำระหนี้ดังกล่าวจากเงินที่อายัดในฐานะเจ้าหนี้บุริมสิทธิตามคำร้อง
คดีนี้ผู้ร้องได้ใช้อำนาจออกคำสั่งเป็นหนังสือให้อายัดเงินในบัญชีเงินฝากธนาคาร ก. สาขาบ้านฉาง ของจำเลยที่ 1 ตาม พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 มาตรา 50 และ พ.ร.บ.เงินทดแทน พ.ศ.2537 มาตรา 47 โดยชอบตั้งแต่ปี 2554 อันถือได้ว่าเป็นวันที่ผู้ร้องใช้อำนาจตามบทบัญญัติของกฎหมายเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกหนี้ที่ค้างชำระเงินทดแทน เงินสมทบและเงินเพิ่มชำระหนี้แล้ว ผู้ร้องจึงมีสิทธิได้รับชำระหนี้ดังกล่าวจากเงินที่อายัดในฐานะเจ้าหนี้บุริมสิทธิตามคำร้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13262/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย, วางเพลิงเผาทรัพย์, และซ่อนเร้นศพ ผู้กระทำต้องรับผิดชอบตามกฎหมาย
เมื่อจำเลยที่ 1 ใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายแล้ว จำเลยที่ 2 และที่ 3 ไปส่ง บ. ที่บ้านแล้วย้อนกลับไปยังกระท่อมที่เกิดเหตุอีกครั้งหนึ่ง และร่วมกับจำเลยที่ 1 ยกร่างของผู้ตายขึ้นรถกระบะคันเกิดเหตุ ทั้งขณะที่จำเลยที่ 1 นำฟางมาคลุมร่างของผู้ตาย และนำยางในรถยนต์มาวางทับ แล้วตระเตรียมน้ำมันเชื้อเพลิงขึ้นรถกระบะนั้น จำเลยที่ 2 และที่ 3 ก็อยู่ในเหตุการณ์ด้วย จำเลยที่ 2 และที่ 3 ย่อมคาดหมายได้ว่าจำเลยที่ 1 จะต้องจุดไฟเผารถกระบะคันเกิดเหตุและร่างของผู้ตายเพื่ออำพรางคดี จากนั้นจำเลยที่ 3 ก็นั่งไปด้วยในรถกระบะที่จำเลยที่ 1 ขับ โดยมีจำเลยที่ 2 ขับรถอีกคันหนึ่งแล่นติดตามไป แล้วจำเลยทั้งสามร่วมกันจุดไฟเผารถกระบะคันเกิดเหตุพร้อมร่างของผู้ตายซึ่งอยู่ในรถดังกล่าว การที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ร่วมกันจุดไฟเผารถกระบะคันเกิดเหตุโดยเข้าใจว่าผู้ตายถึงแก่ความตายแล้ว เป็นการกระทำโดยมิได้รู้ข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบของความผิด จึงไม่มีเจตนาฆ่าผู้ตาย แต่การกระทำของจำเลยที่ 2 และที่ 3 หาได้ใช้ความระมัดระวังตรวจดูให้ดีก่อนว่าผู้ตายถึงแก่ความตายแล้วหรือไม่ ซึ่งบุคคลในภาวะเช่นจำเลยที่ 2 และที่ 3 จักต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์ แต่หาได้ใช้ให้เพียงพอไม่ จำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงมีความผิดฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย และฐานร่วมกันวางเพลิงเผาทรัพย์ของผู้อื่น
ความผิดฐานร่วมกันซ่อนเร้น ย้าย หรือทำลายศพเพื่อปิดบังเหตุแห่งการตาย ตาม ป.อ. มาตรา 199 นั้น การกระทำที่จะเป็นความผิดฐานนี้ ผู้กระทำจะต้องซ่อนเร้น ย้าย หรือทำลายศพซึ่งหมายความถึงร่างกายของคนที่ตายแล้ว แต่เมื่อขณะที่ผู้ตายถูกเผา ผู้ตายยังไม่ถึงแก่ความตาย ร่างกายของผู้ตายในขณะนั้นจึงไม่ใช่ศพ ย่อมไม่อาจถือได้ว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 ร่วมกันซ่อนเร้น ย้าย หรือทำลายศพ อันเป็นองค์ประกอบความผิด การกระทำของจำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงไม่เป็นความผิดฐานดังกล่าว ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 และกรณีเป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดี ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่ 1 ที่มิได้อุทธรณ์ฎีกาด้วยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 213 ประกอบมาตรา 225
ความผิดฐานร่วมกันซ่อนเร้น ย้าย หรือทำลายศพเพื่อปิดบังเหตุแห่งการตาย ตาม ป.อ. มาตรา 199 นั้น การกระทำที่จะเป็นความผิดฐานนี้ ผู้กระทำจะต้องซ่อนเร้น ย้าย หรือทำลายศพซึ่งหมายความถึงร่างกายของคนที่ตายแล้ว แต่เมื่อขณะที่ผู้ตายถูกเผา ผู้ตายยังไม่ถึงแก่ความตาย ร่างกายของผู้ตายในขณะนั้นจึงไม่ใช่ศพ ย่อมไม่อาจถือได้ว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 ร่วมกันซ่อนเร้น ย้าย หรือทำลายศพ อันเป็นองค์ประกอบความผิด การกระทำของจำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงไม่เป็นความผิดฐานดังกล่าว ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 และกรณีเป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดี ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่ 1 ที่มิได้อุทธรณ์ฎีกาด้วยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 213 ประกอบมาตรา 225