คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
พจน์ ปุษปาคม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 759 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3396/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลตรวจเลือดกลุ่มเป็นหลักฐานยืนยันความผิดฐานข่มขืน กระบวนการรับฟังความเห็นผู้ชำนาญการ
การรับฟังความเห็นของผู้ชำนาญการพิเศษตามที่ทางโรงพยาบาลได้ทำการ เจาะเลือดผู้เสียหาย จำเลยและทารก เพื่อตรวจหากลุ่มเลือดแล้ว และระบุผลออกมา เมื่อผู้ตรวจคือผู้ชำนาญในการนี้และทำการตรวจถูกต้องตามหลักวิชาแพทย์แล้ว มีการทำความเห็นแจ้งผลการตรวจมาและมีพนักงานสอบสวนเบิกความรับรองเอกสารย่อมเป็นหลักฐานเพียงพอให้รับฟังได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 243 แล้ว ส่วน วรรคสองของมาตรา 243 ที่ว่าศาลจะให้ผู้ชำนาญการพิเศษทำความเห็น เป็นหนังสือก็ได้แต่ต้องให้มาเบิกความประกอบหนังสือด้วยนั้น บทบัญญัติดังกล่าวให้อำนาจศาลใช้ดุลพินิจที่จะทำหรือไม่ก็ได้ มิใช่เป็นบทบังคับเด็ดขาด เมื่อศาลมิได้สั่งให้ทำความเห็นเป็นหนังสือ ก็ย่อมไม่ต้องห้ามมิให้รับฟังความเห็นดังกล่าว
เมื่อจำเลยกับผู้เสียหายมีเลือดกลุ่ม บี. ผู้เสียหายคลอดทารก มีเลือดกลุ่ม เอ. ดังนี้ ทารกมิได้เกิดจากจำเลยกับผู้เสียหายจำเลยก็มิได้เป็นผู้ข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหาย แม้จำเลยจะให้การรับสารภาพชั้นจับกุมและให้การในชั้นสอบสวนว่าได้ใช้อวัยวะเพศถูไถอวัยวะเพศของผู้เสียหาย 2 ครั้งก็ตาม แต่เมื่อจำเลยให้การปฏิเสธชั้นศาล คำให้การดังกล่าว เป็นเพียงพยานบอกเล่า โดยลำพังหามีน้ำหนักให้รับฟังว่าจำเลยกระทำผิดไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3396/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้ผลตรวจเลือดกลุ่มเพื่อพิสูจน์ว่าจำเลยมิได้เป็นผู้กระทำผิดฐานข่มขืน การรับฟังพยานผู้เชี่ยวชาญ และคำให้การที่ขัดแย้งกัน
การรับฟังความเห็นของผู้ชำนาญการพิเศษตามที่ทางโรงพยาบาลได้ทำการ เจาะเลือดผู้เสียหายจำเลยและทารก เพื่อตรวจหา กลุ่มเลือดแล้ว และระบุผลออกมาเมื่อผู้ตรวจคือผู้ชำนาญในการนี้และทำการตรวจถูกต้อง ตามหลักวิชาแพทย์แล้วมีการทำความเห็นแจ้งผลการตรวจมาและมี พนักงานสอบสวนเบิกความรับรอง เอกสารย่อมเป็นหลักฐานเพียงพอ ให้รับฟังได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 243 แล้ว ส่วนวรรคสองของมาตรา 243 ที่ว่าศาลจะให้ผู้ชำนาญการพิเศษทำความเห็น เป็นหนังสือก็ได้แต่ต้องให้มาเบิกความประกอบหนังสือด้วยนั้น บทบัญญัติดังกล่าวให้อำนาจศาลใช้ดุลพินิจ ที่จะทำหรือไม่ก็ได้ มิใช่เป็น บทบังคับเด็ดขาด เมื่อ ศาลมิได้สั่งให้ทำความเห็นเป็นหนังสือ ก็ย่อมไม่ต้องห้าม มิให้รับฟังความเห็นดังกล่าว
เมื่อจำเลยกับผู้เสียหายมีเลือดกลุ่ม บี.ผู้เสียหายคลอดทารก มีเลือดกลุ่มเอ. ดังนี้ทารกมิได้เกิดจากจำเลยกับผู้เสียหายจำเลยก็มิได้ เป็นผู้ข่มขืนกระทำชำเรา ผู้เสียหาย แม้จำเลยจะให้การรับสารภาพชั้นจับกุม และให้การ ในชั้นสอบสวนว่าได้ใช้อวัยวะเพศถูไถอวัยวะเพศของผู้เสียหาย2 ครั้งก็ตาม แต่เมื่อจำเลยให้การปฏิเสธชั้นศาล คำให้การดังกล่าว เป็นเพียงพยานบอกเล่าโดยลำพังหามีน้ำหนักให้รับฟังว่าจำเลยกระทำผิดไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 293-294/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับสภาพหนี้และการสะดุดหยุดอายุความ รวมถึงการฟ้องคดีตามเช็ค
เอกสารมีว่า "ฯลฯ เพราะฉะนั้น เพื่อความสะดวกและถูกต้องในการชำระต้นเงินและดอกเบี้ยคืนคุณ ซึ่งบัดนี้ผมได้เตรียมไว้แล้วตามสมควร ผมขอเชิญคุณไปพบเพื่อคิดบัญชีเงินกู้ดังกล่าวให้ทราบจำนวนแน่นอน ในการนี้ขอคุณได้โปรดนำหลักฐานแห่งหนี้ต่าง ๆ คือเช็คที่ผมออกให้ไว้ไปแสดงด้วย เพื่อจะได้ตรวจสอบหลักฐานที่ผมได้ทำไว้ว่าจะตรงกันหรือไม่" และฉบับต่อมามีว่า "ขอให้คุณคิดอัตราดอกเบี้ยเสียใหม่เป็นร้อยละ 2 ตามข้อตกลงเดิมที่แล้วมา ฯลฯ ทั้งนี้เพื่อผมจะได้จัดการชำระหนี้ของคุณให้เสร็จสิ้นไปโดยเร็วที่สุด ฯลฯ " ข้อความดังกล่าวนี้แสดงรับความเป็นหนี้และจำเลยยินยอมที่จะชำระหนี้ เมื่อยอมรับถึงความเป็นหนี้อยู่ แม้จะมีข้อโต้เถียงกันในเรื่องจำนวนเงินที่คิดไม่ตรงกัน ก็เป็นการรับสภาพหนี้ เหตุว่าลูกหนี้ยอมรับแล้วว่าเป็นหนี้อยู่จริง ไม่จำต้องรับให้ตรงถึงจำนวนบาทสตางค์ด้วย
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 7/2510)
การรับสภาพหนี้มีผลเพียงให้อายุความสะดุดหยุดลง แล้วเริ่มนับใหม่ต่อไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 181 โดยถืออายุความตามสิทธิเรียกร้องเดิม
ฟ้องโจทก์มิได้ฟ้องในมูลหนี้กู้เงิน เป็นแต่กล่าว่าจำเลยสั่งจ่ายเช็คชำระหนี้โดยมิได้กล่าวว่าเป็นหนี้อะไร เมื่อจำเลยไม่ชำระหนี้ตามเช็คแล้ว ก็ไม่ได้ขอให้ชำระหนี้ตามมูลหนี้เงินกู้ คงขอให้ชำระหนี้ตามจำนวนในเช็ค จึงเป็นการฟ้องเรียกเงินตามเช็คอย่างเดียว และต้องนับอายุความตามสิทธิเรียกร้องที่ฟ้องคดี คือสิทธิเรียกร้องตามเช็คนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 244/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องแทนผู้เยาว์ และอายุความมรดก: การละเลยอายุความโดยปริยาย
พนักงานอัยการมีสิทธิยกคดีขึ้นกล่าวตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1534 ได้ โดยผู้เยาว์ไม่ต้องได้รับความยินยอมของผู้แทนโดยชอบธรรมก่อน
จำเลยไม่ได้ปฏิเสธว่าโจทก์ไม่มีสิทธิได้รับมรดกเสียเลย แต่ยอมให้โจทก์ได้รับส่วนแบ่งมรดกโดยเกี่ยวกันในเรื่องจำนวนเนื้อที่ที่จะแบ่งให้มากหรือน้อยเท่านั้น จนกระทั่งล่วงเลยกำหนดอายุความมรดก 1 ปี ก็ยังโต้เถียงกันแต่ในเรื่องจำนวนเนื้อที่ และขัดข้องในการที่ให้โจทก์บางคนซึ่งเป็นผู้เยาว์ต้องมีผู้แทนโดยชอบธรรมร้องขออนุญาตต่อศาลก่อนเท่านั้น ย่อมถือได้ว่าจำเลยได้ละเสียแล้วซึ่งประโยชน์แห่งอายุความโดยปริยายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 192 จำเลยจึงยกอายุความขึ้นต่อสู้โจทก์ไม่ได้
ตามที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 56 บัญญัติให้ผู้เยาว์จะเสนอข้อหาต่อศาลได้โดยได้รับความยินยอมของผู้แทนโดยชอบธรรมก่อน และการให้ความยินยอมเช่นนี้ต้องทำเป็นหนังสือยื่นต่อศาลนั้น เพื่อรวมไว้ในสำนวนความ ก็เป็นเรื่องที่ผู้เยาว์ใช้สิทธิฟ้องร้องนั่นเอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 244/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจพนักงานอัยการฟ้องแทนผู้เยาว์ & อายุความมรดกเมื่อจำเลยยังเจรจาแบ่งมรดกอยู่
พนักงานอัยการมีสิทธิยกคดีขึ้นกล่าวตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1534 ได้โดยผู้เยาว์ไม่ต้องได้รับความยินยอมของผู้แทนโดยชอบธรรมก่อน
จำเลยไม่ได้ปฏิเสธว่าโจทก์ไม่มีสิทธิได้รับมรดกเสียเลยแต่ยอมให้โจทก์ได้รับส่วนแบ่งมรดกโดยเกี่ยงกันในเรื่องจำนวนเนื้อที่ที่จะแบ่งให้มากหรือน้อยเท่านั้นจนกระทั่งล่วงเลยกำหนดอายุความมรดก 1 ปี ก็ยังโต้เถียงกันแต่ในเรื่องจำนวนเนื้อที่ และขัดข้องในการที่ให้โจทก์บางคนซึ่งเป็นผู้เยาว์ต้องมีผู้แทนโดยชอบธรรมร้องขออนุญาตต่อศาลก่อนเท่านั้น ย่อมถือได้ว่าจำเลยได้ละเสียแล้วซึ่งประโยชน์แห่งอายุความโดยปริยายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 192 จำเลยจึงยกอายุความขึ้นต่อสู้โจทก์ไม่ได้
ตามที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 56 บัญญัติให้ผู้เยาว์จะเสนอข้อหาต่อศาลได้โดยได้รับความยินยอมของผู้แทนโดยชอบธรรมก่อน และการให้ความยินยอมเช่นนี้ต้องทำเป็นหนังสือยื่นต่อศาลนั้นเพื่อรวมไว้ในสำนวนความ ก็เป็นเรื่องที่ผู้เยาว์ใช้สิทธิฟ้องร้องนั่นเอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 244/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีแทนผู้เยาว์โดยพนักงานอัยการ และการละเลยอายุความมรดกจากการเจรจาต่อรอง
พนักงานอัยการมีสิทธิยกคดีขึ้นกล่าวตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1534 ได้. โดยผู้เยาว์ไม่ต้องได้รับความยินยอมของผู้แทนโดยชอบธรรมก่อน.
จำเลยไม่ได้ปฏิเสธว่าโจทก์ไม่มีสิทธิได้รับมรดกเสียเลย. แต่ยอมให้โจทก์ได้รับส่วนแบ่งมรดกโดยเกี่ยงกันในเรื่องจำนวนเนื้อที่ที่จะแบ่งให้มากหรือน้อยเท่านั้น.จนกระทั่งล่วงเลยกำหนดอายุความมรดก 1 ปี. ก็ยังโต้เถียงกันแต่ในเรื่องจำนวนเนื้อที่ และขัดข้องในการที่ให้โจทก์บางคนซึ่งเป็นผู้เยาว์ต้องมีผู้แทนโดยชอบธรรมร้องขออนุญาตต่อศาลก่อนเท่านั้น. ย่อมถือได้ว่าจำเลยได้ละเสียแล้วซึ่งประโยชน์แห่งอายุความโดยปริยายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 192. จำเลยจึงยกอายุความขึ้นต่อสู้โจทก์ไม่ได้.
ตามที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 56 บัญญัติให้ผู้เยาว์จะเสนอข้อหาต่อศาลได้โดยได้รับความยินยอมของผู้แทนโดยชอบธรรมก่อน และการให้ความยินยอมเช่นนี้ต้องทำเป็นหนังสือยื่นต่อศาลนั้น. เพื่อรวมไว้ในสำนวนความ ก็เป็นเรื่องที่ผู้เยาว์ใช้สิทธิฟ้องร้องนั่นเอง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 219/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าที่ดินที่ผูกพันเจ้าของรวมและผู้รับโอนสิทธิ แม้มีการแบ่งแยกโฉนด
ผู้ร้องเช่าที่ดินซึ่งจำเลยมีกรรมสิทธิ์ร่วมกับ ส. ต่อมาได้แบ่งแยกที่ดิน ที่ดินส่วนที่ผู้ร้องเช่าตกได้แก่ ส.แล้ว ส. ได้โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินส่วนนี้ให้แก่โจทก์ โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินส่วนของโจทก์ จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา ศาลพิพากษาขับไล่จำเลย โจทก์จึงขอให้บังคับผู้ร้องออกจากที่ดินนั้นในฐานะบริวารของจำเลย ดังนี้ เมื่อสัญญาเช่าระหว่างผู้ร้องกับจำเลยยังใช้บังคับได้อยู่ สัญญานี้ต้องผูกพัน ส. ผู้เป็นเจ้าของรวม แม้ ส. โอนกรรมสิทธิ์ส่วนของตนให้โจทก์ โจทก์ย่อมต้องรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ของ ส. ผู้โอนซึ่งมีต่อผู้ร้องตามสัญญาเช่านั้นด้วย ผู้ร้องจึงไม่อยู่ในฐานะบริวารของจำเลย (อ้างฎีกาที่ 90/2507)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 219/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าที่ดิน เจ้าของรวมโอนสิทธิ-หน้าที่แก่ผู้รับโอน ผู้รับโอนต้องผูกพันตามสัญญา
ผู้ร้องเช่าที่ดินซึ่งจำเลยมีกรรมสิทธิ์ร่วมกับ ส..ต่อมาได้แบ่งแยกที่ดิน. ที่ดินส่วนที่ผู้ร้องเช่าตกได้แก่ ส.แล้ว.ส.ได้โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินส่วนนี้ให้แก่โจทก์. โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินส่วนของโจทก์. จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา. ศาล พิพากษาขับไล่จำเลย. โจทก์จึงขอให้บังคับผู้ร้องออกจากที่ดินนั้นในฐานะบริวารของจำเลย ดังนี้. เมื่อสัญญาเช่าระหว่างผู้ร้องกับจำเลยยังใช้บังคับได้อยู่. สัญญานี้ต้องผูกพัน ส.ผู้เป็นเจ้าของรวม. แม้ ส.โอนกรรมสิทธิ์ส่วนของตนให้โจทก์. โจทก์ย่อมต้องรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ของ ส.ผู้โอนซึ่งมีต่อผู้ร้องตามสัญญาเช่านั้นด้วย. ผู้ร้องจึงไม่อยู่ในฐานะบริวารของจำเลย(อ้างฎีกาที่ 90/2507).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 219/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าที่ดิน เจ้าของรวมโอนสิทธิ ผู้รับโอนต้องผูกพันตามสัญญา
ผู้ร้องเช่าที่ดินซึ่งจำเลยมีกรรมสิทธิ์ร่วมกับ ส. ต่อมาได้แบ่งแยกที่ดินที่ดินส่วนที่ผู้ร้องเช่าตกได้แก่ส. แล้ว ส. ได้โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินส่วนนี้ให้แก่โจทก์
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินส่วนของโจทก์จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา ศาล พิพากษาขับไล่จำเลย โจทก์จึงขอให้บังคับผู้ร้องออกจากที่ดินนั้นในฐานะบริวารของจำเลย ดังนี้เมื่อสัญญาเช่าระหว่างผู้ร้องกับจำเลยยังใช้บังคับได้อยู่ สัญญานี้ต้องผูกพัน ส. ผู้เป็นเจ้าของรวมแม้ ส. โอนกรรมสิทธิ์ส่วนของตนให้โจทก์โจทก์ย่อมต้องรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ของ ส. ผู้โอนซึ่งมีต่อผู้ร้องตามสัญญาเช่านั้นด้วย ผู้ร้องจึงไม่อยู่ในฐานะบริวารของจำเลย(อ้างฎีกาที่ 90/2507)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1368/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องแบ่งมรดกและการแบ่งค่าเช่าทรัพย์มรดกแก่ทายาท โดยมิพักรอการจัดการมรดกให้เสร็จสิ้น
โจทก์เป็นบุตรคนเดียวของ ซ. ซึ่งเป็นบุตรของ ย. เมื่อฮ. ซึ่งเป็นสามีของ ย. ตายมรดกของ ฮ. คงมีเฉพาะ 2 ใน 3 ของที่ดิน 3 โฉนดผู้จัดการมรดกของ ฮ. มีสิทธิจัดการได้เฉพาะมรดกของ ฮ. ตอนนี้ ซ. มารดาโจทก์มิได้เป็นทายาทของ ฮ. ไม่มีสิทธิในที่ดิน 3 แปลงนี้ เพราะ ย. มารดาของ ซ . ซึ่งเป็นมารดาโจทก์ยังมีชีวิตอยู่ ผู้จัดการมรดกจึงไม่ได้กระทำอะไรแทน ซ. ย. คงมีสิทธิเป็นเจ้าของที่ดิน 3 โฉนดทุกแปลง
เมื่อ ย. ตายในปี 2490 ที่ดิน 3 ใน 7 ส่วน ทั้ง 3 โฉนด เป็นมรดกของ ย. ตกได้แก่ทายาทของ ย. คือบุตรของ ย. ที่เกิดจากสามีเก่าและสามีใหม่ มรดกของ ย. ไม่มีผู้จัดการมรดก คงมีแต่ทายาททายาททุกคนไม่อยู่ในฐานะจัดการมรดกแทนทายาทอื่น ถ้า ซ. บุตรของย. ฟ้องขอให้แบ่งมรดกภายใน 1 ปี ซ. ก็มีสิทธิขอแบ่งมรดกย.3 ใน 7 ส่วนของที่ดินทั้ง 3 แปลง ถ้ามิได้ฟ้องภายใน 1 ปี ก็ต้องห้ามมิให้ฟ้องคดีมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 เว้นแต่ ซ. จะได้ครอบครองทรัพย์มรดกตามที่บัญญัติไว้
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1748 หมายความว่าเมื่อล่วงพ้นกำหนดอายุความหนึ่งปีแล้ว ทายาทที่ครอบครองมรดกเรียกให้แบ่งทรัพย์มรดกได้เฉพาะทรัพย์ที่ตนครอบครองเท่านั้น เว้นแต่ทรัพย์มรดกนั้นไม่มีทายาทคนใดครอบครองเลย ซึ่งในกรณีเช่นนี้ทรัพย์มรดกนั้นทายาทเป็นเจ้าของร่วมกันตามมาตรา 1754 เมื่อ ซ. มารดาโจทก์ได้ครอบครองที่ดินมรดกโฉนดที่ 446 แปลงเดียว ส่วนที่ดินโฉนดที่ 942 และ 943 จำเลยทั้งห้าเป็นผู้ครอบครอง ซ. ก็มีสิทธิที่จะเรียกร้องให้แบ่งเฉพาะที่ดินที่ตนครอบครอง โจทก์จะอ้างการจัดการมรดกของ ฮ. เป็นการกระทำแทน ซ. หาได้ไม่
จำเลยเป็นผู้จัดการมรดกของ ฮ.โจทก์ไม่ใช่ทายาทของ ฮ. ผู้จัดการมรดกไม่มีหน้าที่จะต้องแสดงบัญชีต่อผู้ที่ไม่ใช่ทายาท
การที่ ซ. เสียภาษีที่ดินในนามของ ย.ไม่เป็นการแสดงว่าซ. ครอบครองที่ดินแต่อย่างใด ฉะนั้น การที่โจทก์ขออ้างพยานหลักฐานเพิ่มเติมว่า ซ.เสียภาษีในนามของย. เมื่อสืบพยานโจทก์หมดแล้วจึงไม่ทำให้การวินิจฉัยคดีเปลี่ยนแปลงไป
โจทก์มิได้บรรยายฟ้องให้เป็นประเด็นว่า ทายาทอื่นหมดสิทธิหรือสละสิทธิรับมรดก และโจทก์ได้สิทธิอันใดเกินกว่าสิทธิของทายาทคนหนึ่งจะมาอ้างในชั้นอุทธรณ์ฎีกาหาได้ไม่
โจทก์บรรยายฟ้องว่า ที่ดิน 3 โฉนดเป็นมรดก ฯลฯ จำเลยเก็บรายได้มาแบ่งปันให้ทายาทเฉพาะที่ดินโฉนดที่ 446 ต่อมาเมื่อเดือนสิงหาคม 2505 จำเลยให้ ส. เช่า ได้ค่าเช่าเดือนละ 12,000 บาท ขอให้คิดบัญชีแบ่งดอกผลให้โจทก์ตามส่วนและแบ่งดอกผลตั้งแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจำเลยก็ไม่ปฏิเสธว่าไม่มีรายได้ กลับรับว่าเอารายได้มาแบ่งให้พวกของจำเลยซึ่งเป็นทายาทของ ฮ. ดังนี้จำเลยจะอ้างว่าเป็นฟ้องเคลือบคลุมหาได้ไม่
ตัวทรัพย์ที่จำเลยให้เช่าเป็นมรดกที่โจทก์มีสิทธิได้ส่วนแบ่ง จำเลยให้เช่าตั้งแต่สิงหาคม 2505 ก่อนวันฟ้อง โจทก์จึงมีสิทธิได้รับส่วนแบ่งดอกผลคือค่าเช่าตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2505 จนถึงวันฟ้องด้วย
คำสั่งศาลที่อนุญาตให้โจทก์ฟ้องความอย่างคนอนาถาย่อมเป็นที่สุดย่อมอุทธรณ์ฎีกาอีกไม่ได้ ไม่ว่าก่อนหรือหลังศาลพิพากษา
โจทก์มิได้ฟ้องให้เอาสินสมรสใช้สินเดิม เป็นแต่บรรยายถึงสิทธิในการขอแบ่งสินสมรส จึงไม่ต้องระบุว่ามีทรัพย์อะไรเป็นสินเดิมไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม (อ้างฎีกาที่ 886/2479,1080/2497)
มรดกที่มีผู้จัดการ เมื่อยังมิได้แบ่งให้ทายาททุกคนการจัดการมรดกยังไม่เสร็จ การแบ่งมรดกต้องแบ่งตัวทรัพย์หรือเงินราคาตามมาตรา 1750 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หากตกลงเป็นอย่างอื่นจะต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1750 ถ้ามีทายาทหลายคน ทายาทหาจำต้องแสดงเจตนาครอบครองต่อกันไม่ เมื่อนาง ซ. ซึ่งเป็นทายาทครอบครองทรัพย์มรดก ก็มีสิทธิเรียกร้องให้แบ่งทรัพย์มรดกได้จำเลยจะไปประกาศรับโอนมรดกอย่างใด หาอาจใช้ยัน ซ. ได้ไม่ และจำเลยจะอ้างอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 1382 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาใช้ยัน ซ. ก็ไม่ได้เพราะ ซ. กับจำเลยครอบครองร่วมกัน
จำเลยมิได้เป็นทายาทของ ซ. จึงยกอายุความ 1 ปีขึ้นต่อสู้โจทก์ซึ่งเป็นบุตรของ ซ. ไม่ได้
of 76