คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.ป้องกันการค้ากำไรเกินควร พ.ศ.2490 ม. 17

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 18 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2365/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเคลื่อนย้ายสุกรขัดต่อประกาศคณะกรรมการฯ ความผิดตาม พรบ.ป้องกันการค้ากำไรเกินควร การริบของกลาง
คณะกรรมการส่วนจังหวัดป้องกันการค้ากำไรเกินควรได้ประกาศระบุให้เนื้อสุกรเป็นสิ่งที่ควบคุมและประกาศห้ามมิให้จำหน่ายเนื้อสุกรเกินกว่าราคาที่กำหนดไว้ด้วย คณะกรรมการฯ จึงมีอำนาจประกาศห้ามมิให้ผู้ใดเคลื่อนย้ายสุกรมีชีวิตเข้าหรือออกนอกเขตอำเภอได้ ประกาศของคณะกรรมการฯ ดังกล่าวจึงเป็นประกาศที่ชอบด้วยกฎหมาย จำเลยฝ่าฝืนก็ต้องมีความผิด
สิ่งของที่จะพึงริบตามมาตรา 29 พระราชบัญญัติป้องกันการค้ากำไรเกินควรฯ จะต้องเป็นสิ่งของที่เกี่ยวกับการกระทำผิดในการค้ากำไรโดยตรงคือเป็นสิ่งของที่เกี่ยวกับการกระทำผิดตามมาตรา 18 เมื่อการกระทำผิดของจำเลยเป็นเพียงฝ่า ประกาศของคณะกรรมการฯ ตามมาตรา 17 สุกรของกลางจึงไม่ใช่เป็นของอันจะพึงริบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1076/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแสดงราคาขายสุกรชำแหละตามประกาศคณะกรรมการกลางฯ ไม่จำเป็นต้องเป็นราคาสูงสุดที่กำหนด หากขายตามป้ายที่แสดง
จำเลยทราบประกาศคณะกรรมการกลางป้องกันการค้ากำไรเกินควร ให้ผู้ขายปลีกสุกรชำแหละติดป้ายแสดงราคาไว้โดยเปิดเผย ณ สถานที่ขาย และกำหนดราคาขายปลีกห้ามมิให้ขายเกินกว่าราคาสูงสุดที่กำหนดไว้ คือ ห้ามขายเนื้อแดงเกินกิโลกรัมละ 24 บาท เนื้อสามชั้นกิโลกรัมละ 15 บาท มันแข็งและมันเปลวเกินกิโลกรัมละ 14 บาท จำเลยได้ปิดป้ายไว้โดยเปิดเผยในสถานที่ขายแสดงราคาขายเนื้อแดงกิโลกรัมละ 20 บาท เนื้อสามชั้นกิโลกรัมละ 13 บาท มันแข็งมันเปลวกิโลกรัมละ 12 บาท อันเป็นป้ายแสดงราคาเก่าซึ่งใช้มา 1 ปีเศษแล้ว ตั้งแต่ครั้งที่ทางราชการกำหนดราคาสูงสุดไว้ตามนั้น ไม่เปลี่ยนแปลงป้ายตามราคาสูงสุดที่ทางราชการกำหนดใหม่ ดังนี้ ป้ายแสดงราคาขายนี้ไม่จำเป็นต้องเป็นป้ายแสดงราคาสูงสุดที่ทางการกำหนดไว้ให้ขายได้ เพียงแต่เป็นป้ายแสดงราคาที่จะต้องขายตามราคาที่ปรากฏอยู่ในป้ายที่ปิดแสดงไว้เท่านั้น ก็ถือได้ว่าได้ปฏิบัติตามประกาศดังกล่าวแล้ว ไม่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติป้องกันการค้ากำไรเกินควร พ.ศ. 2490 มาตรา 8(2),17
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 5/2518)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1076/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแสดงราคาขายสุกรชำแหละตามประกาศคณะกรรมการกลางฯ ไม่จำเป็นต้องเป็นราคาสูงสุดที่กำหนด เพียงแต่แสดงราคาที่ขายจริงได้
จำเลยทราบประกาศคณะกรรมการกลางป้องกันการค้ากำไรเกินควร ให้ผู้ขายปลีกสุกรชำแหละติดป้ายแสดงราคาไว้โดยเปิดเผย ณ สถานที่ขาย และกำหนดราคาขายปลีกห้ามมิให้ขายเกินกว่าราคาสูงสุดที่กำหนดไว้ คือ ห้ามขายเนื้อแดงเกินกิโลกรัมละ 24 บาทเนื้อสามชั้นกิโลกรัมละ 15 บาท มันแข็งและมันเปลวเกินกิโลกรัมละ 14 บาท จำเลยได้ปิดป้ายไว้โดยเปิดเผยในสถานที่ขายแสดงราคาขายเนื้อแดงกิโลกรัมละ 20 บาท เนื้อสามชั้นกิโลกรัมละ 13 บาทมันแข็งมันเปลวกิโลกรัมละ 12 บาท อันเป็นป้ายแสดงราคาเก่าซึ่งใช้มา 1 ปีเศษแล้ว ตั้งแต่ครั้งที่ทางราชการกำหนดราคาสูงสุดไว้ตามนั้นไม่เปลี่ยนแปลงป้ายตามราคาสูงสุดที่ทางราชการกำหนดใหม่ ดังนี้ ป้ายแสดงราคาขายนี้ไม่จำเป็นต้องเป็นป้ายแสดงราคาสูงสุดที่ทางการกำหนดไว้ให้ขายได้ เพียงแต่เป็นป้ายแสดงราคาที่จะต้องขายตามราคาที่ปรากฏอยู่ในป้ายที่ปิดแสดงไว้เท่านั้น ก็ถือได้ว่าได้ปฏิบัติตามประกาศดังกล่าวแล้ว ไม่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติป้องกันการค้ากำไรเกินควร พ.ศ.2490 มาตรา 8(2),17

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2067/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำหน่ายน้ำแข็งข้ามเขตจังหวัดและการตีความข้อหาฝ่าฝืนประกาศคณะกรรมการส่วนจังหวัด
ฟ้องกล่าวหาว่าจำเลยฝ่าฝืนประกาศของคณะกรรมการส่วนจังหวัดป้องกันการค้ากำไรเกินควรจังหวัดพระนคร-ธนบุรี โดยนำน้ำแข็งจากจังหวัดสมุทรสาครเข้ามาจำหน่ายในเขตจังหวัดพระนคร โดยมิได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานตามกฎหมาย เมื่อตามฟ้องบรรยายว่าเจ้าพนักงานจับจำเลยได้พร้อมทั้งน้ำแข็งของกลางที่เชิงสะพานบางไผ่ตำบลปากคลอง อำเภอภาษีเจริญ จังหวัดธนบุรี ย่อมแสดงว่าจำเลยยังไม่ทันนำน้ำแข็งเข้ามาในเขตจังหวัดพระนคร อันเป็นความผิดตามที่โจทก์กล่าวหา แม้จำเลยจะให้การรับสารภาพ จำเลยก็ไม่มีความผิดตามฟ้อง และปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2067/2514

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจับกุมก่อนนำสินค้าเข้าเขต – ความผิดตามประกาศควบคุมการค้าเกินควร – อำนาจศาลฎีกาในการวินิจฉัยปัญหาความสงบเรียบร้อย
ฟ้องกล่าวหาว่าจำเลยฝ่าฝืนประกาศของคณะกรรมการส่วนจังหวัดป้องกันการค้ากำไรเกินควรจังหวัดพระนคร-ธนบุรี โดยนำน้ำแข็งจากจังหวัดสมุทรสาครเข้ามาจำหน่ายในเขตจังหวัดพระนครโดยมิได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานตามกฎหมาย เมื่อตามฟ้องบรรยายว่าเจ้าพนักงานจับจำเลยได้พร้อมทั้งน้ำแข็งของกลางที่เชิงสะพานบางไผ่ตำบลปากคลอง อำเภอภาษีเจริญ จังหวัดธนบุรี ย่อมแสดงว่าจำเลยยังไม่ทันนำน้ำแข็งเข้ามาในเขตจังหวัดพระนครอันเป็นความผิดตามที่โจทก์กล่าวหา แม้จำเลยจะให้การรับสารภาพ จำเลยก็ไม่มีความผิดตามฟ้อง และปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1295/2503

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การควบคุมราคาข้าวและการมีผลย้อนหลังของประกาศยกเลิกการควบคุมราคา ความผิดยังคงอยู่แม้มีประกาศยกเลิก
จำเลยขายข้าวเกินราคาที่ควบคุม ประกาศฉบับที่ 1 ซึ่งออกประกาศโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 8 แห่ง พระราชบัญญัติป้องกันการค้ากำไรเกินควร พ.ศ.2490 ภายหลังที่จำเลยถูกจับและคดีอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาล มีประกาศฉบับที่ 2ยกเลิกการควบคุมราคาข้าวดังกล่าว เช่นนี้ ความผิดของจำเลยตามประกาศฉบับที่ 1 ก็ยังคงเป็นความผิดอยู่ ประกาศฉบับที่ 2 ไม่ลบล้างความผิดที่จำเลยได้กระทำไปแล้ว เพราะประกาศฉบับที่ 2 ไม่ใช่เป็นกฎหมายที่ยกเลิกความผิดหรือยกเว้นโทษตามความในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(5)(7) ความผิดดังกล่าวของจำเลยจึงยังคงอยู่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1295/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การควบคุมราคาข้าวและการสิ้นสุดความผิดอาญา การยกเลิกประกาศควบคุมราคาไม่ลบล้างความผิดที่เกิดขึ้นก่อนหน้านี้
จำเลยขายข้าวเกินราคาที่ควบคุมประกาศฉบับที่ 1 ซึ่งออกประกาศโดยอาศัย อำนาจตามความในมาตรา 8 แห่งพ.ร.บ. ป้องกันการค้ากำไรเกินควร พ.ศ. 2490 ภายหลังจำเลยถูกจับและคดีอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาล มีประกาศฉบับที่ 2 ยกเลิกการควบคุมราคาข้าวดังกล่าว เช่นนี้ ความผิดของจำเลยตามประกาศฉบับที่ 1 ก็ยังคงเป็นความผิดอยู่ ประกาศฉบับที่ 2 ไม่ลบล้างความผิดที่จำเลยได้กระทำไปแล้ว เพราะประกาศฉบับที่ 2 ไม่ใช่เป็นกฎหมายที่ยกเลิกความผิดหรือยกเว้นโทษตามความในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39 (5) (7) ความผิดดังกล่าวของจำเลยจึงยังคงอยู่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 623/2493

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อยกเว้นการขนย้ายสิ่งของข้ามแม่น้ำต้องเป็นของสำหรับใช้กับยานพาหนะคันนั้น
แม้ตามประกาศมีข้อยกเว้นให้นำของสำหรับใช้กับยานพาหนะอันนั้นไปได้ก็ดี การที่จำเลยขนย้ายยางรถยนตร์ไปเพื่อใช้สำหรับรถยนตร์คันอื่น ซึ่งยางแตกอยู่ไม่ได้ใช้สำหรับรถยนตร์คันที่ขนไปนั้น ดังนี้ จำเลยมีความผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 623/2493 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขนย้ายยางรถยนต์ข้ามแม่น้ำกก แม้มีข้อยกเว้น แต่ต้องใช้กับยานพาหนะคันเดิม
แม้ตามประกาศมีข้อยกเว้นให้นำของสำหรับใช้กับพาหนะอันนั้นไปได้ก็ดี การที่จำเลยชนย้ายยางรถยนต์ไปเพื่อใช้สำหรับรถยนต์คันอื่น ซึ่งยางแตกอยู่ไม่ได้ใช้สำหรับรถยนต์คันที่ชนไปนั้น ดังนี้ จำเลยมีความผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 290/2493

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบของกลางในคดีค้ากำไรเกินควรและการจ่ายเงินรางวัลผู้จับ คดีนี้ศาลฎีกาแก้ไขคำพิพากษาให้คืนของกลางบางส่วนและจ่ายรางวัล
คดีที่หาว่า จำเลยกระทำผิดฐานไม่ปิดป้ายแสดงราคาฝ่าฝืนประกาศคณะกรรมการฯ และหาว่า จำเลยขายของเกินราคาควบคุม ซึ่งเจ้าพนักงานจับของกลางรวมกันมานั้น ศาลต้องแยกพิเคราะห์ดูว่า ของกลางสิ่งใดจำเลยได้ขายเกินราคาควบคุม และศาลคงริบได้เฉพาะสิ่งของที่หาว่า จำเลยขายเกินราคาควบคุมอันเป็นการค้ากำไรเกินควรโดยตรงเท่านั้นส่วนสิ่งของที่หาว่าจำเลยกระทำผิดฝ่าฝืนประกาศฯ ไม่เป็นของจะพึงริบให้คืนไป
of 2