พบผลลัพธ์ทั้งหมด 11 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1509/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
มติลด/เพิ่มทุนผิดระเบียบ: การออกเสียงของผู้ถือหุ้นที่มีส่วนได้เสีย, การล้างผลขาดทุน, และผลกระทบต่อสิทธิผู้ถือหุ้นรายย่อย
การลดทุนจดทะเบียนด้วยวิธีการลดจำนวนหุ้นเพื่อนําทุนที่ชําระไว้แล้วไปตัดผลขาดทุนสะสมนั้น สามารถกระทำได้ แต่เนื่องจากหุ้นของผู้คัดค้านในขณะนั้นมีการชําระค่าหุ้นไม่เท่ากัน ซึ่งส่วนที่ขาดทุนสะสมได้เกิดขึ้นก่อนการลงมติพิเศษให้ลดทุนแล้ว ผู้ถือหุ้นที่ยังมิได้ส่งเงินใช้เต็มจำนวนค่าหุ้นจะต้องรับผิดในจำนวนเงินที่ยังมิได้ส่งใช้ให้ครบถ้วนต่อการขาดทุนที่เกิดขึ้นแล้ว ดังนั้น วิธีการที่ถูกต้องตามกฎหมายและเป็นธรรมต่อผู้ถือหุ้นทุกฝ่าย ก่อนที่จะลดทุนโดยการลดจำนวนหุ้นลง ผู้คัดค้านจะต้องให้ผู้ถือหุ้นที่ยังชําระค่าหุ้นไม่เต็มจำนวนค่าหุ้นชําระค่าหุ้นให้เต็มตามมูลค่าหุ้นเสียก่อน เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ผู้ถือหุ้นทุกรายที่ถูกลดจำนวนหุ้นลงต้องสูญเสียเงินลงทุนในจำนวนที่เท่ากันในแต่ละหุ้น แต่กรณีนี้ขณะที่มีมติพิเศษให้ลดทุน หุ้นที่ถูกลดลงไปนั้นมีการชําระค่าหุ้นไม่เท่ากัน คือ หุ้นที่ชําระเต็มตามมูลค่าหุ้นแล้ว 25 บาท เมื่อถูกลดจำนวนหุ้นลง ผู้ถือหุ้นในส่วนนี้ก็ต้องสูญเสียเงินลงทุนไปหุ้นละ 25 บาท แต่ในส่วนหุ้นที่ชําระไม่เต็มตามมูลค่าหุ้นหรือชําระเพียง 6.25 บาท เมื่อถูกลดจำนวนหุ้นลงผู้ถือหุ้นในส่วนนี้ก็จะสูญเสียเงินลงทุนเพียง 6.25 บาท ซึ่งหุ้นที่มีการชําระค่าหุ้นเพียง 6.25 บาท ถือโดยบริษัท ท. เพียงรายเดียว เมื่อลดทุนโดยการลดจำนวนหุ้นลงจะทำให้บริษัท ท. ได้รับประโยชน์โดยไม่ต้องชําระค่าหุ้นในส่วนที่ถูกลดจำนวนลงเพราะเมื่อจำนวนหุ้นถูกลดลงไปแล้วก็ไม่มีผลผูกพันที่จะต้องชําระค่าหุ้นอีกต่อไป คงต้องชําระค่าหุ้นเฉพาะหุ้นที่ยังเหลืออยู่เพื่อให้เต็มตามมูลค่าหุ้นเท่านั้น ดังนั้น บริษัท ท. จึงเป็นผู้ถือหุ้นเพียงรายเดียวที่ได้รับประโยชน์จากมติการลดทุนโดยลดจำนวนหุ้นครั้งนี้ บริษัท ท. จึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียเป็นพิเศษในการลงมติพิเศษเพื่อลดทุนและแก้ไขหนังสือบริคณห์สนธิ อันต้องห้ามมิให้ออกเสียงลงคะแนนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1185 เมื่อไม่นับคะแนนเสียงของบริษัท ท. เข้าด้วยแล้ว คะแนนเสียงที่ได้รับก็ไม่ถึงจำนวนสามในสี่ของจำนวนเสียงทั้งหมดของผู้ถือหุ้นที่มาประชุมและมีสิทธิออกเสียงลงคะแนนตามมาตรา 1194 ถือไม่ได้ว่าเป็นมติพิเศษให้ลดทุนและแก้ไขหนังสือบริคณห์สนธิตามมาตรา 1145 และมาตรา 1224 ประกอบมาตรา 1194 แต่เป็นมติพิเศษอันผิดระเบียบ กรณีมีเหตุที่จะต้องเพิกถอนมติที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นของผู้คัดค้านในวาระที่ 3 และที่ 4 เรื่องพิจารณาลดทุนจดทะเบียนและแก้ไขหนังสือบริคณห์สนธิเพื่อให้สอดคล้องกับการลดทุน และเมื่อเป็นดังนี้แล้ว การลงมติในวาระที่ 5 และที่ 6 อันเป็นการลงมติให้เพิ่มทุนจดทะเบียนของผู้คัดค้านและแก้ไขหนังสือบริคณห์สนธิของผู้คัดค้านให้สอดคล้องกับการเพิ่มทุน ซึ่งต้องอาศัยมติให้ลดทุนจดทะเบียนของผู้คัดค้านและแก้ไขหนังสือบริคณห์สนธิของผู้คัดค้านให้สอดคล้องกับการลดทุนในวาระที่ 3 และที่ 4 เสียก่อน ย่อมมีผลเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมายไปด้วย กรณีจึงมีเหตุที่จะต้องเพิกถอนมติที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นของผู้คัดค้านในวาระที่ 5 และที่ 6 เช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1507/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลดทุนต้องเป็นธรรมต่อผู้ถือหุ้นทุกราย ห้ามผู้ถือหุ้นที่มีส่วนได้เสียออกเสียง และมติพิเศษต้องเป็นไปตามกฎหมาย
การลดทุนจดทะเบียนเพื่อล้างผลขาดทุนสะสมของบริษัทสามารถกระทำได้ แต่การลงมติในการประชุมใหญ่ต้องกระทำให้ถูกต้องตาม ป.พ.พ. ว่าด้วยการประชุมใหญ่ ในการลดทุนโดยการลดมูลค่าหุ้นที่ตราไว้จากหุ้นละ 100 บาท เป็นหุ้นละ 25 บาท ผู้ถือหุ้นทุกรายจะต้องถูกลดมูลค่าหุ้นที่ได้ชำระแล้วในจำนวนที่เท่ากัน แต่ในส่วนของหุ้นที่ยังชำระไม่เต็มมูลค่าหุ้นโดยชำระเพียง 25 บาท การลดทุนจดทะเบียนโดยการลดมูลค่าหุ้นในหุ้นที่มีการชำระค่าหุ้นที่ไม่เท่ากันนี้ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ถือหุ้นไม่เท่ากัน โดยผู้ถือหุ้นที่ชำระค่าหุ้นเต็มมูลค่าแล้วจะสูญเสียเงินลงทุนไปหุ้นละ 75 บาท ในขณะที่ผู้ถือหุ้นที่ชำระค่าหุ้นไปเพียงหุ้นละ 25 บาท ก่อนลดทุน จะลดมูลค่าหุ้นที่ชำระแล้วจาก 25 บาท เป็นชำระค่าหุ้นแล้วหุ้นละ 6.25 บาท และผู้คัดค้านเรียกให้ชำระค่าหุ้นให้เต็มจำนวนอีกเพียงหุ้นละ 18.75 บาท เท่ากับผู้ถือหุ้นที่ชำระค่าหุ้นเพียงหุ้นละ 25 บาท ก่อนลดทุน สูญเสียเงินลงทุนไปเพียงหุ้นละ 18.75 บาท อันเป็นจำนวนที่ต่างกันมาก ไม่เป็นธรรมต่อผู้ถือหุ้นที่ชำระค่าหุ้นเต็มมูลค่าหุ้นก่อนลดทุน และการขาดทุนสะสมได้เกิดขึ้นแล้วก่อนการลงมติพิเศษให้ลดทุนผู้ถือหุ้นที่ยังมิได้ส่งเงินใช้เต็มจำนวนค่าหุ้นจะต้องรับผิดในจำนวนเงินที่ยังมิได้ส่งใช้ให้ครบถ้วนนั้นต่อการขาดทุนที่เกิดขึ้นแล้ว วิธีการที่ถูกต้องตามกฎหมายและเป็นธรรมแก่ผู้ถือหุ้นทุกคน ผู้คัดค้านจะต้องดำเนินการให้ผู้ถือหุ้นทุกรายชำระค่าหุ้นให้เต็มจำนวนค่าหุ้นเสียก่อนเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ผู้ถือหุ้นทุกรายที่จะต้องสูญเสียเงินลงทุนในจำนวนที่เท่ากันในแต่ละหุ้น กรณีเป็นที่แน่ชัดว่าบริษัท ท. ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นที่ยังชำระค่าหุ้นไม่เต็มมูลค่าเพียงรายเดียวโดยชำระเพียงหุ้นละ 25 บาท ก่อนการลดทุน เป็นผู้ได้รับประโยชน์จากมติพิเศษในการประชุมนี้เพียงรายเดียว บริษัท ท. จึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียเป็นพิเศษในการลงมติพิเศษเพื่อลดทุนและแก้ไขหนังสือบริคณห์สนธิ จึงต้องห้ามมิให้ออกเสียงลงคะแนนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1185 เมื่อไม่นับคะแนนเสียงของบริษัท ท. เข้าด้วยแล้ว มติดังกล่าวก็ไม่ใช่คะแนนเสียงข้างมากไม่ต่ำกว่าสามในสี่ของจำนวนเสียงทั้งหมดของผู้ถือหุ้นที่มาประชุมและมีสิทธิออกเสียงลงคะแนนตามมาตรา 1194 มติดังกล่าวจึงไม่เป็นมติพิเศษให้ลดทุนและแก้ไขหนังสือบริคณห์สนธิตามมาตรา 1145 และมาตรา 1224 ประกอบมาตรา 1194 แต่เป็นมติพิเศษอันผิดระเบียบ กรณีมีเหตุเพิกถอนมติที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นของผู้คัดค้านในวาระพิจารณาลดทุนจดทะเบียนและพิจารณาแก้ไขหนังสือบริคณห์สนธิเพื่อให้สอดคล้องกับการลดทุน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 815/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพากษาคดีอาญาเกี่ยวกับความผิดตาม พ.ร.บ.บริษัทฯ และความผิดทางแพ่ง การฟ้องที่ไม่ชัดเจนและข้อเท็จจริงที่ไม่ครบถ้วน
จำเลยที่ 6 เป็นผู้ถือหุ้นของบริษัท น. จำเลยที่ 6 ย่อมมีสิทธิเข้าประชุมในที่ประชุมใหญ่ได้เสมอไม่ว่าจะเป็นประชุมชนิดใดคราวใด แต่หากจำเลยที่ 6 มีส่วนได้เสียเป็นพิเศษในข้ออันใดซึ่งที่ประชุมจะลงมติแล้ว จำเลยที่ 6 ย่อมไม่มีสิทธิออกเสียงลงคะแนนด้วยในข้อนั้น ทั้งนี้ ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1176 และ 1185 แห่ง ป.พ.พ. ดังนั้น การที่จำเลยที่ 6 ได้ออกเสียงลงคะแนนในกรณีดังกล่าว จึงมีผลเพียงทำให้มีข้อพิจารณาว่ามติพิเศษของที่ประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นดังกล่าวเป็นมติพิเศษชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ แต่หาได้เป็นการลวงว่าตนเป็นผู้ถือหุ้นแต่อย่างใด การกระทำของจำเลยที่ 6 จึงไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.กำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคม และมูลนิธิ พ.ศ.2499 มาตรา 47
การกระทำความผิดตามมาตรา 42 และมาตรา 46 แห่ง พ.ร.บ.กำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคม และมูลนิธิ พ.ศ.2499 ผู้กระทำความผิดจะต้องมีเจตนาพิเศษเพื่อลวงให้ผู้ถือหุ้นหรือผู้มีส่วนได้เสียในบริษัทขาดประโยชน์อันควรได้ แต่โจทก์ทั้งสิบเอ็ดมิได้บรรยายฟ้องว่าโจทก์ทั้งสิบเอ็ดซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นขาดประโยชน์อันควรได้อย่างไรบ้าง จึงเป็นฟ้องเคลือบคลุมไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5)
การทำให้เสียหาย เปลี่ยนแปลง หรือตัดทอนหลักประกันของบริษัทตาม พ.ร.บ.กำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคม และมูลนิธิ พ.ศ.2499 มาตรา 42 (1) นั้น หมายถึงหลักประกันที่บริษัทได้รับเข้ามา หาใช่ทรัพย์สินของบริษัทที่นำไปใช้เป็นหลักประกันแก่เจ้าหนี้แต่อย่างใด การกระทำของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 ตามฟ้องข้อนี้จึงไม่เป็นความผิด
การกระทำความผิดตามมาตรา 42 และมาตรา 46 แห่ง พ.ร.บ.กำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคม และมูลนิธิ พ.ศ.2499 ผู้กระทำความผิดจะต้องมีเจตนาพิเศษเพื่อลวงให้ผู้ถือหุ้นหรือผู้มีส่วนได้เสียในบริษัทขาดประโยชน์อันควรได้ แต่โจทก์ทั้งสิบเอ็ดมิได้บรรยายฟ้องว่าโจทก์ทั้งสิบเอ็ดซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นขาดประโยชน์อันควรได้อย่างไรบ้าง จึงเป็นฟ้องเคลือบคลุมไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5)
การทำให้เสียหาย เปลี่ยนแปลง หรือตัดทอนหลักประกันของบริษัทตาม พ.ร.บ.กำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคม และมูลนิธิ พ.ศ.2499 มาตรา 42 (1) นั้น หมายถึงหลักประกันที่บริษัทได้รับเข้ามา หาใช่ทรัพย์สินของบริษัทที่นำไปใช้เป็นหลักประกันแก่เจ้าหนี้แต่อย่างใด การกระทำของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 ตามฟ้องข้อนี้จึงไม่เป็นความผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4362/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงมติของผู้ถือหุ้นที่มีส่วนได้เสียในสัญญาประนีประนอมยอมความ ไม่ขัดต่อกฎหมาย
การที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัท บ. ลงมติให้สัตยาบันสัญญาประนีประนอมยอมความในหนี้ที่จำเลยที่ 1 นำมาฟ้องให้บริษัท บ. ใช้หนี้ดังกล่าวให้แก่ตน จำเลยที่ 1 ไม่ใช่ผู้มีส่วนได้เสียเป็นพิเศษในมติข้อดังกล่าว เพราะแม้ไม่มีมติดังกล่าว จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ก็ชอบที่จะได้รับชำระหนี้หรือเรียกร้องให้บริษัท บ. ชำระหนี้ได้โดยชอบด้วยกฎหมาย การออกเสียงลงมติของจำเลยที่ 1 ถือว่ากระทำได้โดยชอบ ไม่ขัดต่อบทบัญญัติ ป.พ.พ. มาตรา 1185
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 575/2539 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงมติของผู้ถือหุ้นที่มีส่วนได้เสีย และความชอบด้วยกฎหมายของการแจ้งนัดประชุม
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1185 ที่บัญญัติห้ามมิให้ผู้ถือหุ้นคนใดที่มีส่วนได้เสียเป็นพิเศษในข้ออันใด ซึ่งที่ประชุมจะลงมติออกเสียงลงคะแนนด้วยในมติข้อนั้น หมายความเฉพาะผู้ถือหุ้นที่มีส่วนได้เสียเป็นพิเศษเท่านั้น ผู้ถือหุ้นที่เป็นเจ้าหนี้บริษัทที่ร่วมประชุมและลงมติให้บริษัทชำระหนี้แก่ตน ไม่ใช่ผู้มีส่วนได้เสียเป็นพิเศษ เพราะแม้ไม่มีมติของบริษัทดังกล่าว ผู้ถือหุ้นที่เป็นเจ้าหนี้บริษัทก็ชอบที่จะได้รับชำระหนี้หรือเรียกร้องให้มีการชำระหนี้ได้อยู่แล้ว อีกทั้งที่ประชุมก็มีมติให้ชำระหนี้คืนแก่ผู้ถือหุ้นพร้อมด้วยดอกเบี้ยในอัตราเดียวกันหมด มิได้เลือกปฏิบัติแก่ผู้ถือหุ้นบางคนเป็นพิเศษแต่อย่างใด มติดังกล่าวจึงไม่ขัดต่อ ป.พ.พ.มาตรา 1185
การที่ ป.พ.พ. มาตรา 1175 กำหนดให้แจ้งนัดประชุมใหญ่บริษัทด้วยการลงพิมพ์โฆษณาในหนังสือพิมพ์แห่งท้องที่หรือส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนไปยังผู้ถือหุ้นทุกคน โดยกำหนดเวลาว่าต้องแจ้งก่อนวันประชุมไม่น้อยกว่า 7 วันนั้น ก็เพื่อมุ่งประสงค์ให้มีการแจ้งให้ผู้ถือหุ้นทราบล่วงหน้า เพื่อที่ผู้ถือหุ้นจะได้เตรียมตัวสอบถามหรือแสดงความคิดเห็นอันจะเป็นประโยชน์แก่บริษัทได้เต็มที่ ดังนั้นการที่ผู้ร้องที่ 1 ในฐานะประธานกรรมการบริษัทได้มีหนังสือลงวันที่ 25 พฤศจิกายน 2534เรียกประชุมผู้ถือหุ้นในวันที่ 3 ธันวาคม 2534 โดยส่งให้ผู้ถือหุ้นทั้งหมดซึ่งมีอยู่7 คน ทราบ และผู้ถือหุ้นรวมทั้งผู้ร้องต่างก็ทราบนัดแล้ว ครั้นถึงกำหนดนัดผู้คัดค้านทั้งห้าซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นได้ไปประชุมโดยพร้อมเพรียงกัน ส่วนผู้ร้องและบุตรผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นด้วยไม่ได้เข้าประชุม มีแต่ชาย 2 คนมาประชุมแทน แต่เข้าประชุมไม่ได้เพราะไม่มีหนังสือมอบอำนาจ จึงฟังได้ว่าการแจ้งกำหนดนัดประชุมผู้ถือหุ้นบริษัทชอบด้วยกฎหมายแล้ว
การที่ ป.พ.พ. มาตรา 1175 กำหนดให้แจ้งนัดประชุมใหญ่บริษัทด้วยการลงพิมพ์โฆษณาในหนังสือพิมพ์แห่งท้องที่หรือส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนไปยังผู้ถือหุ้นทุกคน โดยกำหนดเวลาว่าต้องแจ้งก่อนวันประชุมไม่น้อยกว่า 7 วันนั้น ก็เพื่อมุ่งประสงค์ให้มีการแจ้งให้ผู้ถือหุ้นทราบล่วงหน้า เพื่อที่ผู้ถือหุ้นจะได้เตรียมตัวสอบถามหรือแสดงความคิดเห็นอันจะเป็นประโยชน์แก่บริษัทได้เต็มที่ ดังนั้นการที่ผู้ร้องที่ 1 ในฐานะประธานกรรมการบริษัทได้มีหนังสือลงวันที่ 25 พฤศจิกายน 2534เรียกประชุมผู้ถือหุ้นในวันที่ 3 ธันวาคม 2534 โดยส่งให้ผู้ถือหุ้นทั้งหมดซึ่งมีอยู่7 คน ทราบ และผู้ถือหุ้นรวมทั้งผู้ร้องต่างก็ทราบนัดแล้ว ครั้นถึงกำหนดนัดผู้คัดค้านทั้งห้าซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นได้ไปประชุมโดยพร้อมเพรียงกัน ส่วนผู้ร้องและบุตรผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นด้วยไม่ได้เข้าประชุม มีแต่ชาย 2 คนมาประชุมแทน แต่เข้าประชุมไม่ได้เพราะไม่มีหนังสือมอบอำนาจ จึงฟังได้ว่าการแจ้งกำหนดนัดประชุมผู้ถือหุ้นบริษัทชอบด้วยกฎหมายแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 575/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประชุมผู้ถือหุ้นชอบด้วยกฎหมาย แม้มีผู้ถือหุ้นเป็นเจ้าหนี้ และไม่มีการเลือกปฏิบัติในการชำระหนี้
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1185ที่บัญญัติห้ามมิให้ผู้ถือหุ้นคนใดที่มีส่วนได้เสียเป็นพิเศษในข้ออันใดซึ่งที่ประชุมจะลงมติออกเสียงลงคะแนนด้วยในมติข้อนั้นหมายความเฉพาะผู้ถือหุ้นที่มีส่วนได้เสียเป็นพิเศษเท่านั้นผู้ถือหุ้นที่เป็นเจ้าหนี้บริษัทที่ร่วมประชุมและลงมติให้บริษัทชำระหนี้แก่ตนไม่ใช่ผู้มีส่วนได้เสียเป็นพิเศษเพราะแม้ไม่มีมติของบริษัทดังกล่าวผู้ถือหุ้นที่เป็นเจ้าหนี้บริษัทก็ชอบที่จะได้รับชำระหนี้หรือเรียกร้องให้มีการชำระหนี้ได้อยู่แล้วอีกทั้งที่ประชุมก็มีมติให้ชำระหนี้คืนแก่ผู้ถือหุ้นพร้อมด้วยดอกเบี้ยในอัตราเดียวกันหมดมิได้เลือกปฏิบัติแก่ผู้ถือหุ้นบางคนเป็นพิเศษแต่อย่างใดมติดังกล่าวจึงไม่ขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1185 การที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1175กำหนดให้แจ้งนัดประชุมใหญ่บริษัทด้วยการลงพิมพ์โฆษณาในหนังสือพิมพ์แห่งท้องที่หรือส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนไปยังผู้ถือหุ้นทุกคนโดยกำหนดเวลาว่าต้องแจ้งก่อนวันประชุมไม่น้อยกว่า7วันนั้นก็เพื่อมุ่งประสงค์ให้มีการแจ้งให้ผู้ถือหุ้นทราบล่วงหน้าเพื่อที่ผู้ถือหุ้นจะได้เตรียมตัวสอบถามหรือแสดงความคิดเห็นอันจะเป็นประโยชน์แก่บริษัทได้เต็มที่ดังนั้นการที่ผู้ร้องที่1ในฐานะประธานกรรมการบริษัทได้มีหนังสือลงวันที่25พฤศจิกายน2534เรียกประชุมผู้ถือหุ้นในวันที่3ธันวาคม2534โดยส่งให้ผู้ถือหุ้นทั้งหมดซึ่งมีอยู่7คนทราบและผู้ถือหุ้นรวมทั้งผู้ร้องต่างก็ทราบนัดแล้วครั้นถึงกำหนดนัดผู้คัดค้านทั้งห้าซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นได้ไปประชุมโดยพร้อมเพรียงกันส่วนผู้ร้องและบุตรผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นด้วยไม่ได้เข้าประชุมมีแต่ชาย2คนมาประชุมแทนแต่เข้าประชุมไม่ได้เพราะไม่มีหนังสือมอบอำนาจจึงฟังได้ว่าการแจ้งกำหนดนัดประชุมผู้ถือหุ้นบริษัทชอบด้วยกฎหมายแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 575/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประชุมผู้ถือหุ้น การชำระหนี้ และการแจ้งนัดประชุมชอบด้วยกฎหมาย
ผู้ถือหุ้นที่เป็นเจ้าหนี้บริษัทที่ร่วมประชุมและลงมติให้บริษัทชำระหนี้แก่ตนไม่ใช่ผู้มีส่วนได้เสียเป็นพิเศษเพราะชอบจะได้รับชำระหนี้หรือเรียกร้องให้มีการชำระหนี้ได้อยู่แล้วอีกทั้งที่ประชุมก็มีมติให้ชำระหนี้คืนแก่ผู้ถือหุ้นพร้อมดอกเบี้ยในอัตราเดียวกันหมดมิได้เลือกปฏิบัติแก่ผู้ถือหุ้นบางคนเป็นพิเศษจึงไม่ขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1185 บทบัญญัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1175ที่กำหนดให้แจ้งวันนัดประชุมใหญ่บริษัทโดยกำหนดเวลาว่าต้องแจ้งก่อนวันนัดประชุมไม่น้อยกว่า7วันก็เพื่อให้มีการแจ้งให้ผู้ถือหุ้นทราบล่วงหน้าเพื่อผู้ถือหุ้นจะได้เตรียมตัวสอบถามหรือแสดงความคิดเห็นอันจะเป็นประโยชน์แก่บริษัทได้เต็มที่เมื่อผู้คัดค้านที่1ในฐานะประธานกรรมการบริษัทมีหนังสือลงวันที่25พฤศจิกายน2534เรียกประชุมผู้ถือหุ้นในวันที่3ธันวาคม2534โดยส่งให้ผู้ถือหุ้นทั้งหมดซึ่งมีอยู่7คนทราบและผู้ถือหุ้นทั้งหมดต่างก็ทราบนัดแล้วครั้นถึงกำหนดนัดมีชาย2คนมาประชุมแทนผู้ร้องและบุตรซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นด้วยแต่เข้าประชุมไม่ได้เพราะไม่มีหนังสือมอบอำนาจจากผู้ร้องและบุตรจึงฟังได้ว่าการแจ้งกำหนดนัดประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทชอบแล้วโดยไม่จำต้องพิจารณาว่าการแจ้งให้ผู้ถือหุ้นทราบล่วงหน้านั้นเป็นเวลาไม่น้อยกว่า7วันหรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 575/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้ผู้ถือหุ้น: ผู้ถือหุ้นที่เป็นเจ้าหนี้บริษัทไม่ถือว่ามีส่วนได้เสียเป็นพิเศษ
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1185 บัญญัติห้ามมิให้ผู้ถือหุ้นคนใดที่มีส่วนได้เสียเป็นพิเศษในข้ออันใดซึ่งที่ประชุมจะลงมติออกเสียงลงคะแนนด้วยในมติข้อนั้นผู้ถือหุ้นที่เป็นเจ้าหนี้บริษัทที่ร่วมประชุมและลงมติให้บริษัทชำระหนี้แก่ตนไม่ใช่ผู้มีส่วนได้เสียเป็นพิเศษ เพราะไม่มีมติของบริษัทดังกล่าวผู้ถือหุ้นที่เป็นเจ้าหนี้บริษัทก็ชอบที่จะได้รับชำระหนี้หรือเรียกร้องให้มีการชำระหนี้ได้อยู่แล้ว อีกทั้งที่ประชุมก็มีมติให้ชำระหนี้คืนแก่ผู้ถือหุ้นพร้อมดอกเบี้ยในอัตราเดียวกันหมด มิได้เลือกปฎิบัติแก่ผู้ถือหุ้นบางคนเป็นพิเศษ มติดังกล่าวจึงไม่ขัดต่อกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2644/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
มติที่ปรึกษาผู้ถือหุ้นขัดต่อ กม.แพ่งฯ และการลงชื่อนัดประชุมที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
การประชุมใหญ่ที่ปรึกษาเรื่องนอกระเบียบวาระ มติซึ่งผู้ถือหุ้นลงมติให้จ่ายเงินใช้หนี้ซึ่งตนเป็นเจ้าหนี้มีส่วนได้เสียเป็นพิเศษ ฝ่าฝืนประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1175,1185 ผู้ชำระบัญชีลงชื่อนัดประชุมแต่คนเดียวอีกคนหนึ่งไม่รู้เห็นด้วย ขัดต่อ มาตรา 1261 ผู้ถือหุ้นยื่นคำร้องต่อศาลให้เพิกถอนได้ตาม มาตรา 1195
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1246/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การออกเสียงเลือกกรรมการบริษัทและการมอบอำนาจจดทะเบียน ไม่ถือเป็นส่วนได้เสียเป็นพิเศษ
การที่ผู้ถือหุ้นของบริษัทจำกัดออกเสียงลงคะแนนเลือกตนเองเป็นกรรมการบริษัทนั้น แม้จะเห็นว่ามีส่วนได้เสียในข้อตั้งกรรมการซึ่งทีประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นของบริษัทจะลงมติ ก็เป็นส่วนได้เสียตามธรรมดา หาใช่ส่วนได้เสียเป็นพิเศษ ตามความหมายแห่งมาตรา 1185 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ไม่ เพราะการตั้งกรรมการบริษัทเป็นวิธีการจัดการ บริษัทจำกัดดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1144, 1151 มิใช่เป็นเรื่องส่วนตัวของผู้ถือหุ้นโดยเฉพาะ ผู้ถือหุ้นนั้นย่อมมีสิทธิออกเสียงลงคะแนนเลือกตนเองได้ และเมื่อไม่ปรากฏว่าการออกเสียงลงคะแนนเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตแล้ว มติที่ประชุมใหญ่ถือหุ้นของบริษัท ฯ ที่ให้ผู้ถือหุ้นนั้นเป็นกรรมการบริษัท ฯ จึงชอบด้วยกฎหมาย
และการที่ผู้ถือหุ้นของบริษัทออกเสียงลงคะแนนมอบอำนาจให้ตนเองเป็นผู้ไปจดทะเบียนเพิ่มกรรมการตามมติของที่ประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นของบริษัท ก็เป็นเรื่องปฏิบัติการให้เป็นไปตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1157 หาใช่เพื่อประโยชน์ส่วนตัวของผู้ถือหุ้นนั้นไม่ มติที่ประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นของบริษัทที่มอบให้ผู้ถือหุ้นที่ออกเสียงให้แก่ตนเองไปจดทะเบียนเพิ่มกรรมการของบริษัท ฯ จึงชอบด้วยกฎหมายด้วย
และการที่ผู้ถือหุ้นของบริษัทออกเสียงลงคะแนนมอบอำนาจให้ตนเองเป็นผู้ไปจดทะเบียนเพิ่มกรรมการตามมติของที่ประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นของบริษัท ก็เป็นเรื่องปฏิบัติการให้เป็นไปตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1157 หาใช่เพื่อประโยชน์ส่วนตัวของผู้ถือหุ้นนั้นไม่ มติที่ประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นของบริษัทที่มอบให้ผู้ถือหุ้นที่ออกเสียงให้แก่ตนเองไปจดทะเบียนเพิ่มกรรมการของบริษัท ฯ จึงชอบด้วยกฎหมายด้วย