คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 ม. 45

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 9 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 618/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินเพิ่มอากรขาเข้า มาตรา 112 ตรี ศุลกากร ต้องเชื่อมโยงกับการวางประกันค่าอากรตามมาตรา 112 และ 112 ทวิ เท่านั้น
การที่จะเรียกอากรขาเข้าเพิ่มอีกร้อยละยี่สิบตามพระราชบัญญัติศุลกากรพ.ศ. 2469 มาตรา 112 ตรี นั้น มีได้เฉพาะสองกรณีคือ กรณีมิได้ชำระเงินอากรครบถ้วนตามมาตรา 112 ทวิ ซึ่งสืบเนื่องจากการวางประกันค่าอากรตาม มาตรา 112ประการหนึ่ง กับกรณีมิได้ปฏิบัติตามระเบียบหรือเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนดตามมาตรา 40หรือ 45 อีกประการหนึ่ง ซึ่งข้อความในตอนแรกของมาตรา 112 ตรี มีลักษณะเชื่อมโยงกับมาตรา 112 ทวิ และมาตรา 112 จึงเห็นได้ชัดเจนว่ามาตรา 112 ตรี ตอนแรกใช้บังคับเฉพาะกรณีตามมาตรา 112 ทวิเท่านั้น ไม่อาจนำไปใช้ในกรณีทั่ว ๆ ไป หรือในกรณีของมาตรา 19 ตรี ซึ่งเป็นเรื่องการค้ำประกันการนำของเข้าที่เกี่ยวเนื่องกับมาตรา 19 ทวิ ที่ว่าด้วยสิทธิในการจะขอคืนอากรขาเข้า ส่วนความในตอนหลังของมาตรา 112 ตรี ที่เกี่ยวกับมาตรา 40 และมาตรา 45 นั้น มาตรา 45 เป็นเรื่องกำหนดเงื่อนไขในการที่ผู้นำของเข้าจะนำของออกไปจากอารักขาของศุลกากรว่าจะต้องยื่นใบขนสินค้าโดยถูกต้องและเสียภาษีอากรจนครบถ้วนหรือวางเงินไว้เป็นประกัน การขอวางเงินประกันให้เป็นไปตามระเบียบที่อธิบดีกำหนด แต่ตามฟ้องโจทก์ทั้งสองไม่ปรากฏข้ออ้างว่าจำเลยฝ่าฝืนมาตรา 40 หรือมิได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนดตามมาตรา 40 แต่อย่างใด คงกล่าวอ้างแต่เพียงว่าจำเลยไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขตามความในมาตรา 19 ทวิ กรณีของจำเลยจึงไม่อยู่ในข่ายที่โจทก์ทั้งสองจะเรียกเงินเพิ่มอากรขาเข้าตามมาตรา 112 ตรีได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8174/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเรียกเก็บเงินเพิ่มอากรขาเข้าเมื่อผิดเงื่อนไขการนำเข้าเพื่อผลิตส่งออก และการประเมินราคาต่ำกว่าราคาตลาด
การเรียกเก็บเงินเพิ่มอากรขาเข้าอีกร้อยละ 20 ตาม พ.ร.บ. ศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 112 ตรี มีได้เฉพาะ 2 กรณี คือ 1. กรณีไม่ได้ชำระเงินอากรครบถ้วนตามมาตรา 112 ทวิ และ 2. กรณีที่ไม่ได้ปฏิบัติตามระเบียบหรือเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนดตามมาตรา 40 หรือ 45
สินค้าพิพาทตามรายการที่ 1 จำเลยนำเข้าสินค้าโดยแสดงความจำนงว่าจะนำมาใช้ในการผลิตสินค้าเพื่อส่งออกภายใน 1 ปี นับแต่วันนำเข้า โดยวางหนังสือค้ำประกันของธนาคาร แล้วจำเลยไม่ได้นำสินค้าไปผลิตเพื่อส่งออกให้เสร็จสิ้นภายใน 1 ปี จำเลยจึงไม่มีสิทธิในการขอคืนอากรตามมาตรา 19 ทวิ กรณีจึงไม่ใช่เรื่องที่จำเลยปฏิบัติผิดเงื่อนไขตามมาตรา 40 โจทก์ที่ 1 ไม่มีสิทธิเรียกเก็บเงินเพิ่มอากรขาเข้าตาม พ.ร.บ. ศุลกากร ฯ มาตรา 112 ตรี และการที่จำเลยนำสินค้าออกไปจากอารักขาของศุลกากรโดยได้วางประกันไว้เป็นหนังสือของธนาคารถือว่าเป็นกรณีที่ยังไม่ได้ชำระอากรไว้ตามที่โจทก์อุทธรณ์นั้น เมื่อเกิดกรณีที่จำเลยปฏิบัติผิดเงื่อนไขแล้ว โจทก์ที่ 1 ก็มีสิทธิเรียกให้ธนาคารที่เป็นประกันชำระเงินได้ทันทีอยู่แล้ว จะถือว่าการที่จำเลยไม่ชำระค่าอากรเป็นการผิดบทบัญญัติตาม พ.ร.บ. ศุลกากร ฯ มาตรา 112 ตรี แล้วไม่ได้
ส่วนสินค้าพิพาทตามรายการที่ 2 แม้จำเลยนำสินค้าเข้าโดยแสดงความจำนงว่าจะนำมาใช้ในการผลิตสินค้าเพื่อส่งออกภายใน 1 ปี นับแต่วันนำเข้า โดยวางหนังสือค้ำประกันของธนาคารและมิได้นำสินค้าไปผลิตเพื่อส่งออกภายใน 1 ปี เช่นกัน แต่เนื่องจากพนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์ที่ 1 เห็นว่าจำเลยสำแดงราคาต่ำกว่าราคาอันแท้จริงในท้องตลาด จึงทำการประเมินราคาสินค้าเพิ่มขึ้น การประเมินดังกล่าวเกิดจากการที่จำเลยสำแดงราคาสินค้าไม่ถูกต้อง กรณีจึงเป็นเรื่องที่จำเลยปฏิบัติผิดเงื่อนไขในการที่ผู้นำเข้าจะนำของออกจากอารักขาของศุลกากรตามมาตรา 40 โจทก์ที่ 1 จึงมีสิทธิเรียกเก็บเงินเพิ่มอากรขาเข้าตามมาตรา 112 ตรี ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2473/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งออกสินค้าที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมายศุลกากร ทำให้ไม่มีสิทธิขอคืนเงินอากร
โจทก์นำสินค้าผ้าฝ้ายจากเมืองฮ่องกงเข้ามาในราชอาณาจักรไทยเพื่อผลิตเป็นสินค้าเสื้อผ้าส่งออกไปยังต่างประเทศซึ่งการส่งออกดังกล่าวต้องมีโควตาและรับอนุญาตจากกระทรวงพาณิชย์เป็นหนังสือ แต่โจทก์ไม่มีโควตา จึงมอบให้บริษัท ว. เป็นผู้ส่งออกในนามของบริษัทดังกล่าว แม้ว่าตามมาตรา 19 ทวิ แห่ง พ.ร.บ. ศุลกากร (ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2482 จะเพียงแต่บัญญัติให้ผู้นำเข้าต้องส่งสินค้าที่ผลิตด้วยของที่นำเข้าดังกล่าวออกไปยังเมืองต่างประเทศภายในกำหนด 1 ปี นับแต่วันนำเข้า จึงจะได้รับคืนเงินอากรขาเข้าก็ตาม แต่การส่งออกดังกล่าวต้องเป็นการส่งออกโดยชอบตามมาตรา 45 แห่ง พ.ร.บ. ศุลกากร พ.ศ. 2469 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยข้อ 19 และข้อ 9 แห่งประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 329 ลงวันที่ 13 ธันวาคม 2515 ซึ่งบัญญัติให้ผู้ส่งออกต้องปฏิบัติให้ครบถ้วนตาม พ.ร.บ. ศุลกากรและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องกับการศุลกากรและยื่นใบขนสินค้าโดยถูกต้องด้วย การที่บริษัท ว. ส่งสินค้าของโจทก์ไปยังประเทศสหรัฐอเมริกาโดยไม่ได้รับอนุญาตจากกระทรวงพาณิชย์ ทั้งยังระบุในใบกำกับสินค้าว่าส่งออกไปยังเมืองฮ่องกงนั้น ถือเป็นการส่งออกที่ไม่ชอบด้วยมาตรา 45 ดังกล่าวซึ่งผูกพันโจทก์ด้วย โจทก์จะอ้างว่าโจทก์ไม่ทราบถึงการกระทำของบริษัทดังกล่าวหาได้ไม่ โจทก์จึงไม่มีสิทธิขอให้จำเลยคืนเงินอากรขาเข้าตามมาตรา 19 ทวิ ดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1805/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระค่าอากรขาออกสำเร็จแล้ว ไม่อต้องชำระเพิ่มเติมแม้มีการเปลี่ยนแปลงราคาหรือพิกัดอัตราศุลกากร
พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 10 ตรี วรรคแรก มีความหมายว่า ผู้ส่งของออกจะต้องเสียค่าภาษีสำหรับของที่ส่งออกก็ต่อเมื่อได้ส่งของออกสำเร็จ หากส่งของออกไม่สำเร็จก็ไม่ต้องเสียค่าภาษี ดังนั้น ในกรณีผู้ส่งของออกเสียค่าภาษีไว้ก่อนส่งของออกสำเร็จ แต่ภายหลังกลับปรากฏว่า ไม่สามารถส่งของออกได้สำเร็จผู้ส่งของออกย่อมมีสิทธิขอคืนค่าภาษีที่ชำระไปแล้วได้ตามวรรคสามของมาตราเดียวกันนี้ ส่วนการชำระภาษีนั้นผู้ส่งของออกมักจะต้องชำระก่อนที่จะส่งของออกสำเร็จ วรรคสองของมาตรา 10 ตรี จึงบัญญัติให้คำนวณค่าภาษีตามสภาพของราคาของและพิกัดอัตราศุลกากรที่เป็นอยู่ในเวลาที่ออกใบขนสินค้าให้ เมื่อผู้ส่งของออกชำระค่าภาษีครบถ้วนในเวลาที่ออกใบขนสินค้าให้แล้ว ก็ไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีเพิ่มเติมหากมีการขึ้นค่าภาษีในขณะส่งของออกสำเร็จ ทั้งไม่มีสิทธิที่จะได้รับค่าภาษีคืนในกรณีที่มีการลดหรือยกเว้นค่าภาษีในขณะที่ส่งของออกสำเร็จ จำเลยชำระค่าอากรขาออกสินค้ายางพาราแผ่นรมควันครบถ้วนถูกต้อง ในขณะที่เจ้าหน้าที่ของโจทก์ออกใบขนสินค้าให้จำเลย จำเลยจึงไม่มีหน้าที่ต้องชำระค่าอากรขาออกเพิ่มเติมเมื่อมีการขึ้นค่าภาษีในขณะส่งของออกสำเร็จ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1805/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระค่าอากรขาออกสำเร็จแล้ว ไม่อต้องชำระเพิ่มเติม แม้มีการเปลี่ยนแปลงอัตราภาษี
พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 10 ตรี วรรคแรก มีความหมายว่า ผู้ส่งของออกจะต้องเสียค่าภาษีสำหรับของที่ส่งออกก็ต่อเมื่อได้ส่งออกก็ต่อเมื่อได้ส่งของออกสำเร็จ หากส่งของออกไม่สำเร็จก็ไม่ต้องเสียค่าภาษี ดังนั้น ในกรณีผู้ส่งของออกเสียค่าภาษีไว้ก่อนส่งของออกสำเร็จ แต่ภายหลังกลับปรากฏว่า ไม่สามารถส่งของออกได้สำเร็จ ผู้ส่งของออกย่อมมีสิทธิขอคืนค่าภาษีที่ชำระไปแล้วได้ตามวรรคสามของมาตราเดียวกันนี้ ส่วนการชำระภาษีนั้นผู้ส่งของออกมักจะต้องชำระก่อนที่จะส่งของออกสำเร็จวรรคสองของมาตรา 10 ตรี จึงบัญญัติให้คำนวณค่าภาษีตามสภาพของราคาของและพิกัดอัตราศุลกากรที่เป็นอยู่ในเวลาที่ออกใบขนสินค้าให้ เมื่อผู้ส่งของออกชำระค่าภาษีครบถ้วนในเวลาที่ออกใบขนสินค้าให้แล้ว ก็ไม่มีหน้าที่ต้องเสียค่าภาษีเพิ่มเติมหากมีการขึ้นค่าภาษีในขณะส่งของออกสำเร็จ ทั้งไม่มีสิทธิที่จะได้รับค่าภาษีคืนในกรณีที่มีการลดหรือยกเว้นค่าภาษีในขณะที่ส่งของออกสำเร็จ
จำเลยชำระค่าอากรขาออกสินค้ายางพาราแผ่นรมควันครบถ้วนถูกต้องในขณะที่เจ้าหน้าที่ของโจทก์ออกใบขนสินค้าให้จำเลย จำเลยจึงไม่มีหน้าที่ต้องชำระค่าอากรขาออกเพิ่มเติมเมื่อมีการขึ้นค่าภาษีในขณะส่งของออกสำเร็จ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1764/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคิดภาษีศุลกากรต้องเป็นไปตามอัตราที่ใช้ ณ เวลาเสียภาษี แม้มีการเปลี่ยนแปลงอัตราในภายหลัง และสิทธิเรียกร้องเงินประกันค่าภาษี
การคิดค่าภาษีศุลกากรต้องคิดตามอัตราในกฎหมายที่ใช้อยู่ในเวลาเสียภาษี ซึ่งเจ้าพนักงานออกใบขน แม้ต่อมาประกาศใช้พิกัดอัตราใหม่โดยยังไม่ส่งของออก ก็คิดภาษีตามพิกัดใหม่ไม่ได้.
เจ้าพนักงานศุลกากรเรียกเงินประกันค่าภาษีจากผู้ขนส่งที่จะเรียกภาษีเพิ่มจากผู้ส่งของ ความจริงจะเรียกภาษีเพิ่มไม่ได้ เมื่อผู้สั่งของรับโอนสิทธิเรียกร้องในเงินนั้นและแจ้งให้กรมศุลกากรทราบแล้ว ผู้ส่งของย่อมฟ้องเรียกเงินนั้นได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1764/2492

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาษีศุลกากรต้องคิดตามอัตรากฎหมายที่ใช้ ณ เวลาเสียภาษี แม้มีกฎหมายใหม่ใช้บังคับภายหลัง และสิทธิเรียกร้องเงินประกัน
การคิดค่าภาษีศุลกากรต้องคิดตามอัตราในกฎหมายที่ใช้อยู่ในเวลาเสียภาษีซึ่งเจ้าพนักงานออกใบขน แม้ต่อมาประกาศใช้พิกัดอัตราใหม่โดยยังไม่ส่งของออกก็คิดภาษีตามพิกัดใหม่ไม่ได้
เจ้าพนักงานศุลกากรเรียกเงินประกันค่าภาษีจากผู้ขนส่งที่จะเรียกภาษีเพิ่มจากผู้ส่งของ ความจริงจะเรียกภาษีเพิ่มไม่ได้ เมื่อผู้สั่งของรับโอนสิทธิเรียกร้องในเงินนั้นและแจ้งให้กรมศุลกากรทราบแล้ว ผู้ส่งของย่อมฟ้องเรียกเงินนั้นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 476/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเสียภาษีศุลกากรตามพิกัดอัตรา ณ เวลาออกใบขนสินค้า และผลของการเปลี่ยนแปลงพิกัดอัตราในภายหลัง
เมื่อผู้ส่งของออกนอกราชอาณาจักรได้ยื่นใบส่งสินค้าโดยถูกต้อง และได้เสียค่าภาษีศุลกากรตามพิกัดอัตราในเวลาออกใบขนสินค้านั้นเสร็จแล้ว หากเรือบันทุกของยังไม่ได้ออกเดินทางได้มีการประกาศใช้พิกัดอัตราศุลกากรใหม่ พนักงานเจ้าหน้าที่หามีอำนาจที่จะเพิกถอนใบขนสินค้าที่ออกไปโดยครบถ้วนถูกต้องแล้วนั้นไม่ เมื่อใบขนสินค้ายังคงใช้ได้อยู่ พนักงานเจ้าหน้าที่ก็ไม่มีทางเรียกเก็บค่าภาษีใหม่ได้แต่ประการใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 476/2492

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเสียภาษีศุลกากร: พิกัดอัตราใหม่ไม่มีผลย้อนหลัง ใบขนสินค้าถูกต้องแล้วเรียกเก็บเพิ่มไม่ได้
เมื่อผู้ส่งของออกนอกราชอาณาจักรได้ยื่นใบส่งสินค้าโดยถูกต้องและได้เสียค่าภาษีศุลกากรตามพิกัดอัตราในเวลาออกใบขนสินค้านั้นเสร็จแล้วหากเรือบรรทุกของยังไม่ได้ออกเดินทางได้มีการประกาศใช้พิกัดอัตราศุลกากรใหม่ พนักงานเจ้าหน้าที่หามีอำนาจที่จะเพิกถอนใบขนสินค้าที่ออกไปโดยครบถ้วนถูกต้องแล้วนั้นไม่ เมื่อใบขนสินค้ายังคงใช้ได้อยู่ พนักงานเจ้าหน้าที่ก็ไม่มีทางเรียกเก็บค่าภาษีใหม่ได้แต่ประการใด