พบผลลัพธ์ทั้งหมด 423 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5446/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานปลอมเครื่องหมายการค้าและจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงปลอมปน จำเลยมีความผิดตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้าและ พ.ร.บ.การค้าน้ำมันเชื้อเพลิง
น้ำมันหล่อลื่นของกลางเป็นสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมเครื่องหมายการค้าที่ได้จดทะเบียนแล้วในราชอาณาจักรซึ่งจำเลยที่ 1 และที่ 2 มีไว้เพื่อจำหน่ายอันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 110 (1) ประกอบมาตรา 108 จึงต้องริบตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 115
เครื่องจักรสำหรับบรรจุน้ำมันเชื้อเพลิงของกลางเป็นทรัพย์สินที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ใช้ในการกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.การค้าน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ.2543 ชอบที่จะริบได้ตาม ป.อ. มาตรา 33 (1)
ขวดพลาสติกเปล่าสำหรับบรรจุน้ำมันหล่อลื่น กล่องกระดาษเปล่า ฝาครอบขวดน้ำมัน กระดาษฟอยล์ปิดปากขวด ม้วนเศษกระดาษฟอยล์สำหรับปิดปากขวดบรรจุน้ำมันซึ่งบรรจุอยู่ในถุง กล่องกระดาษที่ใช้สำหรับบรรจุแกลลอนน้ำมัน สติกเกอร์ติดขวด และแกลลอนเปล่าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมเครื่องหมายการค้าที่ได้จดทะเบียนแล้วในราชอาณาจักรดังกล่าวนั้น แม้ไม่อาจถือว่าเป็นสินค้าน้ำมันหล่อลื่นที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมเครื่องหมายการค้าที่ได้จดทะเบียนแล้วในราชอาณาจักร เพราะจำเลยที่ 1 และที่ 2 ยังมิได้ใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวกับสินค่าน้ำมันหล่อลื่น โดยยังอยู่ในขั้นตระเตรียมการทำความผิด แต่ของกลางดังกล่าวถือได้ว่าเป็นทรัพย์สินที่มีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิด ชอบที่ศาลจะสั่งให้ริบได้ตาม ป.อ. มาตรา 33 (1)
เมื่อน้ำมันหล่อลื่นของกลางเป็นทรัพย์สินที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ทำเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.การค้าน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ.2543 มาตรา 49 วรรคสอง ประกอบมาตรา 50 และเครื่องจักรสำหรับบรรจุน้ำมันเชื้อเพลิงของกลางเป็นทรัพย์สินที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ใช้ในการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติดังกล่าว จึงเป็นน้ำมันเชื้อเพลิงและทรัพย์สินที่ต้องส่งมอบแก่กรมธุรกิจพลังงานเพื่อทำลายหรือจัดการตามที่เห็นสมควรต่อไปตาม พ.ร.บ.การค้าน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ.2543 มาตรา 61
เครื่องจักรสำหรับบรรจุน้ำมันเชื้อเพลิงของกลางเป็นทรัพย์สินที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ใช้ในการกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.การค้าน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ.2543 ชอบที่จะริบได้ตาม ป.อ. มาตรา 33 (1)
ขวดพลาสติกเปล่าสำหรับบรรจุน้ำมันหล่อลื่น กล่องกระดาษเปล่า ฝาครอบขวดน้ำมัน กระดาษฟอยล์ปิดปากขวด ม้วนเศษกระดาษฟอยล์สำหรับปิดปากขวดบรรจุน้ำมันซึ่งบรรจุอยู่ในถุง กล่องกระดาษที่ใช้สำหรับบรรจุแกลลอนน้ำมัน สติกเกอร์ติดขวด และแกลลอนเปล่าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมเครื่องหมายการค้าที่ได้จดทะเบียนแล้วในราชอาณาจักรดังกล่าวนั้น แม้ไม่อาจถือว่าเป็นสินค้าน้ำมันหล่อลื่นที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมเครื่องหมายการค้าที่ได้จดทะเบียนแล้วในราชอาณาจักร เพราะจำเลยที่ 1 และที่ 2 ยังมิได้ใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวกับสินค่าน้ำมันหล่อลื่น โดยยังอยู่ในขั้นตระเตรียมการทำความผิด แต่ของกลางดังกล่าวถือได้ว่าเป็นทรัพย์สินที่มีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิด ชอบที่ศาลจะสั่งให้ริบได้ตาม ป.อ. มาตรา 33 (1)
เมื่อน้ำมันหล่อลื่นของกลางเป็นทรัพย์สินที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ทำเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.การค้าน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ.2543 มาตรา 49 วรรคสอง ประกอบมาตรา 50 และเครื่องจักรสำหรับบรรจุน้ำมันเชื้อเพลิงของกลางเป็นทรัพย์สินที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ใช้ในการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติดังกล่าว จึงเป็นน้ำมันเชื้อเพลิงและทรัพย์สินที่ต้องส่งมอบแก่กรมธุรกิจพลังงานเพื่อทำลายหรือจัดการตามที่เห็นสมควรต่อไปตาม พ.ร.บ.การค้าน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ.2543 มาตรา 61
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5418/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนกระบวนพิจารณาคดีของบุคคลล้มละลาย: การให้สัตยาบันและการดำเนินการในชั้นบังคับคดี
ขณะโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 นั้น จำเลยที่ 2 ถูกศาลแพ่งมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดและมีคำพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลายแล้ว จึงฟังได้ว่าจำเลยที่ 2 ทราบดีถึงพฤติการณ์อันเป็นมูลแห่งข้ออ้างที่จำเลยที่ 2 นำมาร้องขอให้ศาลเพิกถอนกระบวนพิจารณาคดีนี้นับแต่เจ้าพนักงานได้ส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องคดีนี้ให้แก่จำเลยที่ 2 แต่จำเลยที่ 2 กลับไม่แถลงให้ศาลชั้นต้นทราบถึงพฤติการณ์อันเป็นมูลแห่งข้ออ้างตามคำร้องนี้ และไม่ไปศาลในวันนัดพิจารณาคดี จนศาลมีคำสั่งว่า จำเลยที่ 2 ขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณาและมีคำพิพากษาให้จำเลยที่ 2 ชำระหนี้แก่โจทก์ ทั้งหลังจากโจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์ของจำเลยที่ 2 แล้ว จำเลยที่ 2 กลับดำเนินกระบวนพิจารณาในชั้นบังคับคดีมาตลอด โดยยื่นคำร้องขอให้ศาลเพิกถอนการขายทอดตลาดหลายครั้ง อันเป็นการดำเนินการขึ้นใหม่อีกด้วย จึงถือได้ว่าจำเลยที่ 2 ได้ให้สัตยาบันแก่การดำเนินกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบดังกล่าวแล้ว ประกอบกับตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 22 ให้อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวที่มีอำนาจดำเนินการแทนบุคคลล้มละลายเกี่ยวด้วยเรื่องทรัพย์สินรวมตลอดถึงการฟ้องร้องหรือต่อสู้คดีเกี่ยวกับทรัพย์สินของบุคคลล้มละลาย แม้ศาลฎีกามีคำพิพากษายืนตามคำสั่งศาลแพ่งที่ให้เพิกถอนคำสั่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่ให้โจทก์ได้รับชำระหนี้จากการขายทอดตลาดในฐานะเจ้าหนี้มีประกันตามคำร้องของจำเลยที่ 2 ก็ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับหนี้ของจำเลยที่ 2 ในคดีนี้แต่อย่างใด เนื่องจากเป็นการดำเนินการในชั้นบังคับคดีของคดีล้มละลาย กรณีจึงไม่มีเหตุอันสมควรที่จะเพิกถอนกระบวนพิจารณาคดีนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5329/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้ชื่อทางการค้าและเครื่องหมายบริการที่คล้ายคลึงกัน ละเมิดสิทธิทรัพย์สินทางปัญญา
บริษัทในเครือโจทก์ประกอบกิจการขายอาหารประเภทโดนัทมาเป็นเวลานานหลายสิบปี เป็นที่นิยมของผู้บริโภคจนมีการขยายกิจการไปหลายแห่งทั้งในประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศอื่น ๆ อีกหลายประเทศ แสดงถึงการเป็นกิจการขนาดใหญ่มีสาขาเครือข่ายมาก ถือได้ว่าเป็นกิจการที่มีชื่อเสียง และมีการประชาสัมพันธ์โดยเปิดเว็บไซต์ให้บุคคลเข้าดูรายละเอียดทางอินเทอร์เน็ตได้ ทั้งคำว่า "KRISPY KREME" ซึ่งมีลักษณะเลียนจากคำว่า "CRISPY CREAM" โดยมีเสียงอ่านเป็นทำนองเดียวกันนั้น มีลักษณะให้เห็นได้ว่าเป็นคำประดิษฐ์ที่ใช้ความคิดสร้างคำโดยนำคำ 2 คำ มาใช้ประกอบกัน ทั้งที่คำทั้งสองไม่น่าจะใช้ประกอบกันได้เนื่องจากคำว่า CRISPY ซึ่งย่อมเข้าใจได้ตามปกติว่ามีความหมายว่ากรอบ ขณะที่คำว่า CREAM เป็นคำที่หมายถึงครีมที่มีลักษณะเหลวเป็นปกติ เมื่อนำมาใช้ประกอบกันจึงทำให้เกิดความรู้สึกว่าเป็นสิ่งที่ขัดแย้งกัน จึงเป็นการใช้คำที่แปลกไปจากการใช้คำตามปกติธรรมดาโดยทั่วไป ย่อมดึงดูดและสร้างสรรค์ให้เกิดความสนใจรวมทั้งช่วยให้สังเกตจดจำได้ดีมีลักษณะเด่น มีลักษณะที่แสดงความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวมาก ดังนี้ที่จำเลยที่ 1 ใช้ชื่อบริษัทว่า "บริษัท ค." ซึ่งตรงกับคำว่า "CRISPY CREAM" ทั้งที่เป็นคำที่มีความแปลกเด่นเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวมากที่ไม่น่าจะมีผู้อื่นนำใช้พ้องกันโดยบังเอิญเช่นนี้ ย่อมมีเหตุผลให้เชื่อได้ว่าการใช้ชื่อบริษัทจำเลยที่ 1 เช่นนี้เป็นการลอกเลียนชื่อทางการค้าที่มีชื่อเสียงของโจทก์แม้เครื่องหมายบริการที่จำเลยที่ 1 ยื่นคำขอจดทะเบียนเป็นเครื่องหมาย โดยใช้คำว่า "CRISPY CREAM" ประกอบกับภาพประดิษฐ์ก็ตาม แต่ก็ย่อมเห็นได้ชัดว่าคำว่า "CRISPY CREAM" ที่ใช้นี้ย่อมเป็นคำเรียกขานถึงเครื่องหมายบริการและกิจการบริการของจำเลยที่ 1 นั่นเอง ซึ่งเมื่อเป็นการนำมาใช้โดยไม่สุจริตแล้ว การใช้ชื่อบริษัทของจำเลยที่ 1 ก็ดี การยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายบริการดังกล่าวก็ดี ย่อมล้วนเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต อันเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายตาม ป.พ.พ. มาตรา 5 และเป็นการกระทำที่เป็นเหตุให้สาธารณชนผู้พบเห็นการให้บริการด้านจัดหาอาหารและเครื่องดื่มสำหรับการประชุมและสัมมนาภายใต้ชื่อนิติบุคคลของจำเลยที่ 1 และเครื่องหมายบริการที่จำเลยที่ 1 ยื่นคำขอจดทะเบียนที่คล้ายกับโจทก์ย่อมมีโอกาสเข้าใจไปได้ว่า การให้บริการของโจทก์และจำเลยที่ 1 มีภาพลักษณ์และชื่อเสียงในทางธุรกิจในมาตรฐานเดียวกัน การใช้ชื่อทางการค้าของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวย่อมทำให้โจทก์เสื่อมเสียประโยชน์แล้ว จึงชอบที่โจทก์จะมีสิทธิห้ามจำเลยที่ 1 กระทำการดังกล่าวได้
คดีนี้ในส่วนที่เกี่ยวกับเครื่องหมายบริการที่จำเลยที่ 1 ยื่นคำขอจดทะเบียนซึ่งโจทก์ยื่นคำคัดค้านอ้างว่าโจทก์มีสิทธิดีกว่า แต่นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าและคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าวินิจฉัยยกคำคัดค้านของโจทก์ โจทก์จึงฟ้องคดีนี้อันเป็นการอุทธรณ์คำวินิจฉัยของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 38 วรรคสอง ซึ่งศาลต้องวินิจฉัยในประเด็นว่า โจทก์มีสิทธิดีกว่าจำเลยที่ 1 ผู้ขอจดทะเบียนเครื่องหมายบริการหรือไม่ โดยหากฟังได้ว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิดีกว่าจำเลยที่ 1 ก็แสดงว่าจำเลยที่ 1 ผู้ขอจดทะเบียนเป็นผู้ซึ่งไม่มีสิทธิจดทะเบียน แล้วพิพากษาไปตามที่ฟังได้ดังกล่าว และมีผลให้นายทะเบียนไม่อาจมีคำสั่งรับจดทะเบียนเครื่องหมายบริการให้จำเลยที่ 1 ตามคำขอจดทะเบียนได้ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 40 วรรคหนึ่ง ทั้งนี้โดยไม่จำต้องพิพากษาให้เพิกถอนคำขอจดทะเบียนแต่อย่างใด
นอกจากนี้โจทก์ในฐานะเจ้าของเครื่องหมายการค้าและเครื่องหมายบริการ ย่อมมีสิทธิแต่ผู้เดียวในอันที่จะใช้เครื่องหมายการค้าและเครื่องหมายบริการเฉพาะกับสินค้าหรือบริการที่ได้จดทะเบียนไว้ และอาจห้ามจำเลยที่ 1 ขายสินค้าหรือให้บริการในลักษณะลวงขายหรือลวงการให้บริการให้ผู้อื่นเข้าใจว่าเป็นสินค้าของโจทก์หรือบริการของโจทก์เท่านั้น หากจำเลยที่ 1 ใช้ชื่อจำเลยที่ 1 ประกอบการอย่างอื่นโดยไม่ได้ขายสินค้าหรือให้บริการในรายการเดียวกับที่โจทก์ได้จดทะเบียนไว้หรือไม่ได้ลวงขายสินค้าหรือลวงให้บริการ จำเลยที่ 1 ก็ยังกระทำได้ โจทก์ยังไม่มีสิทธิห้ามจำเลยที่ 1 ใช้ชื่อบริษัทว่า บริษัท ค. โดยเด็ดขาดทุกกรณี
คดีนี้ในส่วนที่เกี่ยวกับเครื่องหมายบริการที่จำเลยที่ 1 ยื่นคำขอจดทะเบียนซึ่งโจทก์ยื่นคำคัดค้านอ้างว่าโจทก์มีสิทธิดีกว่า แต่นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าและคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าวินิจฉัยยกคำคัดค้านของโจทก์ โจทก์จึงฟ้องคดีนี้อันเป็นการอุทธรณ์คำวินิจฉัยของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 38 วรรคสอง ซึ่งศาลต้องวินิจฉัยในประเด็นว่า โจทก์มีสิทธิดีกว่าจำเลยที่ 1 ผู้ขอจดทะเบียนเครื่องหมายบริการหรือไม่ โดยหากฟังได้ว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิดีกว่าจำเลยที่ 1 ก็แสดงว่าจำเลยที่ 1 ผู้ขอจดทะเบียนเป็นผู้ซึ่งไม่มีสิทธิจดทะเบียน แล้วพิพากษาไปตามที่ฟังได้ดังกล่าว และมีผลให้นายทะเบียนไม่อาจมีคำสั่งรับจดทะเบียนเครื่องหมายบริการให้จำเลยที่ 1 ตามคำขอจดทะเบียนได้ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 40 วรรคหนึ่ง ทั้งนี้โดยไม่จำต้องพิพากษาให้เพิกถอนคำขอจดทะเบียนแต่อย่างใด
นอกจากนี้โจทก์ในฐานะเจ้าของเครื่องหมายการค้าและเครื่องหมายบริการ ย่อมมีสิทธิแต่ผู้เดียวในอันที่จะใช้เครื่องหมายการค้าและเครื่องหมายบริการเฉพาะกับสินค้าหรือบริการที่ได้จดทะเบียนไว้ และอาจห้ามจำเลยที่ 1 ขายสินค้าหรือให้บริการในลักษณะลวงขายหรือลวงการให้บริการให้ผู้อื่นเข้าใจว่าเป็นสินค้าของโจทก์หรือบริการของโจทก์เท่านั้น หากจำเลยที่ 1 ใช้ชื่อจำเลยที่ 1 ประกอบการอย่างอื่นโดยไม่ได้ขายสินค้าหรือให้บริการในรายการเดียวกับที่โจทก์ได้จดทะเบียนไว้หรือไม่ได้ลวงขายสินค้าหรือลวงให้บริการ จำเลยที่ 1 ก็ยังกระทำได้ โจทก์ยังไม่มีสิทธิห้ามจำเลยที่ 1 ใช้ชื่อบริษัทว่า บริษัท ค. โดยเด็ดขาดทุกกรณี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4564/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพากษาลงโทษปรับเกินอำนาจของผู้พิพากษาคนเดียว ทำให้คำพิพากษาไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ศาลชั้นต้นพิจารณาลงโทษปรับจำเลยที่ 1 กระทงละ 13,500 บาท รวม 4 กระทง คงปรับ 54,000 บาท โดยมีผู้พิพากษาลงลายมือชื่อในคำพิพากษาเพียงคนเดียว เป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 17 ประกอบมาตรา 25 (5) ทั้งนี้ เพราะผู้พิพากษาคนเดียวจะพิพากษาลงโทษปรับเกินหนึ่งหมื่นบาทไม่ได้ คำพิพากษาศาลชั้นต้นจึงไม่ชอบด้วยกฎหมายข้างต้น ซึ่งมีผลทำให้ศาลอุทธรณ์ภาค 3 ยังไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนี้ได้ต้องให้ศาลชั้นต้นดำเนินการให้ถูกต้องก่อน ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4 และ พ.ร.บ.ให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด พ.ศ.2520 มาตรา 3
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4392/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลดหนี้สูญและผลกระทบทางภาษีมูลค่าเพิ่ม: การลดหนี้ไม่ใช่ส่วนลดแต่เป็นการชำระหนี้ ทำให้เกิดหน้าที่เสียภาษี
โจทก์ทำบันทึกข้อตกลงลดหนี้ค่าเช่ารถประจำเดือนธันวาคม 2546 ให้แก่บริษัท บ. 35 ล้านบาท แล้วนำเป็นรายจ่ายหนี้สูญในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลโดยไม่ปฏิบัติตาม ป.รัษฎากร มาตรา 65 ตรี (9) เจ้าพนักงานประเมินจึงให้โจทก์ปฏิบัติให้ถูกต้อง โดยนำยอดหนี้จำนวนดังกล่าวบวกกลับเป็นยอดลูกหนี้ค้างชำระดังเดิม ซึ่งเป็นเรื่องภาษีเงินได้นิติบุคคลเท่านั้น การกระทำของโจทก์ดังกล่าวไม่ทำให้บันทึกข้อตกลงลดหนี้และรับชำระหนี้ ซึ่งมีผลเป็นการปลดหนี้บางส่วนให้แก่บริษัท บ. ยกเลิกหรือสิ้นสุดลง สิทธิเรียกร้องของโจทก์ในหนี้จำนวนดังกล่าวจึงระงับลงเสมือนโจทก์ได้รับชำระหนี้ดังกล่าวครบถ้วนแล้วอันเนื่องมาจากการทำบันทึกข้อตกลงดังกล่าว โดยถือวันที่ทำบันทึกลดหนี้คือวันที่ 30 ธันวาคม 2546 เป็นวันที่ได้รับชำระหนี้ค่าบริการ ซึ่งเป็นวันที่ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นตามมาตรา 78/1 (1) นอกจากนี้การลดหนี้ของโจทก์มิใช่ส่วนลดหรือค่าลดหย่อนตามมาตรา 79 วรรคสาม (1) ที่ลดให้ในขณะขายสินค้าหรือให้บริการ แต่เป็นการลดหนี้ในกรณีที่ลูกหนี้ไม่สามารถชำระหนี้ได้ โจทก์จึงมีหน้าที่เรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากบริษัท บ. ในวันที่มีการลดหนี้ตามมาตรา 82/4
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4288/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาอนุญาโตตุลาการ: ศาลจำหน่ายคดีให้ไปดำเนินการตามสัญญา แม้ฟ้องว่าเป็นการละเมิด
สัญญากู้ยืมเงินกับสัญญาซื้อขายทองคำ มีข้อสัญญาที่คู่สัญญาตกลงให้ระงับข้อพิพาททั้งหมดหรือบางส่วนที่เกิดขึ้นแล้วหรือเกิดขึ้นในอนาคต ไม่ว่าจะเกิดจากนิติสัมพันธ์ทางสัญญาหรือไม่โดยวิธีอนุญาโตตุลาการ จึงเป็นสัญญาอนุญาโตตุลาการ ตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 มาตรา 11 วรรคหนึ่ง
เมื่อจำเลยยื่นข้อเรียกร้องให้ระงับข้อพิพาทโดยวิธีอนุญาโตตุลาการต่อสถาบันอนุญาโตตุลาการลอนดอน และต่อมาจำเลยได้ยื่นคำเสนอข้อพิพาทต่อสถาบันอนุญาโตตุลาการลอนดอน จึงเป็นกรณีที่จำเลยใช้สิทธิเลือกที่จะเสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการแล้ว ทำให้การระงับข้อพิพาทต้องใช้กระบวนการของอนุญาโตตุลาการตามที่โจทก์และจำเลยตกลงกันไว้ในสัญญากู้ยืมเงินและสัญญาซื้อขายทองคำ การที่โจทก์ซึ่งเป็นคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งฟ้องคดีต่อศาลโดยไม่เสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการ จึงเป็นการกระทำที่ขัดต่อสัญญาอนุญาโตตุลาการ
เหตุบกพร่องของสัญญาที่โจทก์อ้างไม่ว่าจะเป็นนิติกรรมอำพรางหรือกลฉ้อฉล หรือข้อตกลงที่จำเลยให้โจทก์ชำระหนี้เงินกู้ด้วยทองคำโดยกำหนดราคาทองคำที่แน่นอนไว้ล่วงหน้าซึ่งต่ำกว่าราคาตลาดขัดต่อ ป.พ.พ. มาตรา 656 วรรคสองและวรรคสาม หรือการกระทำของจำเลยที่ใช้อำนาจต่อรองสูงกว่า จัดทำสัญญาเอาเปรียบโจทก์ขัดต่อ พ.ร.บ.ว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ.2540 นั้น เป็นเรื่องที่ต้องพิจารณาเนื้อหา และความสมบูรณ์ของสัญญากู้ยืมเงินและสัญญาซื้อขายทองคำ จึงเป็นข้อพิพาทที่เกิดขึ้นหรือเกี่ยวเนื่องกับสัญญาโดยตรง อีกทั้งการยกเหตุดังกล่าวถือเป็นการโต้เถียงในเรื่องความมีอยู่ของสัญญาและการมีผลใช้บังคับของสัญญาซึ่งอยู่ในอำนาจวินิจฉัยของอนุญาโตตุลาการ การฟ้องคดีนี้จึงเป็นเรื่องสัญญาหาใช่มูลละเมิด
ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางไม่จำต้องวินิจฉัยในประเด็นที่โจทก์กล่าวอ้างในคำฟ้องอันเป็นเนื้อหาข้อพิพาทซึ่งต้องระงับโดยวิธีการทางอนุญาโตตุลาการ และเมื่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางทำการไต่สวนแล้วเห็นว่า ไม่มีเหตุที่จะทำให้สัญญาอนุญาโตตุลาการเป็นโมฆะ หรือใช้บังคับไม่ได้ หรือมีเหตุที่ทำให้ไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญาได้ และมีคำสั่งให้จำหน่ายคดี คำสั่งจำหน่ายคดีของศาลดังกล่าวจึงชอบด้วย พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 มาตรา 14 วรรคหนึ่ง
เมื่อจำเลยยื่นข้อเรียกร้องให้ระงับข้อพิพาทโดยวิธีอนุญาโตตุลาการต่อสถาบันอนุญาโตตุลาการลอนดอน และต่อมาจำเลยได้ยื่นคำเสนอข้อพิพาทต่อสถาบันอนุญาโตตุลาการลอนดอน จึงเป็นกรณีที่จำเลยใช้สิทธิเลือกที่จะเสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการแล้ว ทำให้การระงับข้อพิพาทต้องใช้กระบวนการของอนุญาโตตุลาการตามที่โจทก์และจำเลยตกลงกันไว้ในสัญญากู้ยืมเงินและสัญญาซื้อขายทองคำ การที่โจทก์ซึ่งเป็นคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งฟ้องคดีต่อศาลโดยไม่เสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการ จึงเป็นการกระทำที่ขัดต่อสัญญาอนุญาโตตุลาการ
เหตุบกพร่องของสัญญาที่โจทก์อ้างไม่ว่าจะเป็นนิติกรรมอำพรางหรือกลฉ้อฉล หรือข้อตกลงที่จำเลยให้โจทก์ชำระหนี้เงินกู้ด้วยทองคำโดยกำหนดราคาทองคำที่แน่นอนไว้ล่วงหน้าซึ่งต่ำกว่าราคาตลาดขัดต่อ ป.พ.พ. มาตรา 656 วรรคสองและวรรคสาม หรือการกระทำของจำเลยที่ใช้อำนาจต่อรองสูงกว่า จัดทำสัญญาเอาเปรียบโจทก์ขัดต่อ พ.ร.บ.ว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ.2540 นั้น เป็นเรื่องที่ต้องพิจารณาเนื้อหา และความสมบูรณ์ของสัญญากู้ยืมเงินและสัญญาซื้อขายทองคำ จึงเป็นข้อพิพาทที่เกิดขึ้นหรือเกี่ยวเนื่องกับสัญญาโดยตรง อีกทั้งการยกเหตุดังกล่าวถือเป็นการโต้เถียงในเรื่องความมีอยู่ของสัญญาและการมีผลใช้บังคับของสัญญาซึ่งอยู่ในอำนาจวินิจฉัยของอนุญาโตตุลาการ การฟ้องคดีนี้จึงเป็นเรื่องสัญญาหาใช่มูลละเมิด
ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางไม่จำต้องวินิจฉัยในประเด็นที่โจทก์กล่าวอ้างในคำฟ้องอันเป็นเนื้อหาข้อพิพาทซึ่งต้องระงับโดยวิธีการทางอนุญาโตตุลาการ และเมื่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางทำการไต่สวนแล้วเห็นว่า ไม่มีเหตุที่จะทำให้สัญญาอนุญาโตตุลาการเป็นโมฆะ หรือใช้บังคับไม่ได้ หรือมีเหตุที่ทำให้ไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญาได้ และมีคำสั่งให้จำหน่ายคดี คำสั่งจำหน่ายคดีของศาลดังกล่าวจึงชอบด้วย พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 มาตรา 14 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3344/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลิขสิทธิ์งานศิลปะ vs. เครื่องหมายการค้า: การใช้ภาพโดยไม่ได้รับอนุญาตไม่ถือเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์หากมีการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าแล้ว
เมื่อโจทก์เป็นผู้สร้างสรรค์ภาพเขียนลายเส้นรูปสุนัขกระโดด ภาพเขียนลายเส้นรูปสุนัขกระโดดกับอักษรโรมันคำว่า "DALMATINER" และภาพเขียนลายเส้นรูปสุนัขกระโดดและอักษรโรมันคำว่า "dalmatiner" จำนวน 3 ภาพ ขึ้นมาด้วยตนเอง ภาพเขียนรูปสุนัขกระโดดดังกล่าวจึงเป็นงานศิลปกรรมประเภทจิตรกรรมอันมีลิขสิทธิ์ของโจทก์ และโจทก์มีขอบเขตแห่งลิขสิทธิ์ตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 15 ที่จะทำซ้ำ ดัดแปลง เผยแพร่ต่อสาธารณชนซึ่งภาพเขียนรูปสุนัขกระโดดดังกล่าวให้ประโยชน์อันเกิดจากลิขสิทธิ์ในภาพเขียนนั้นแก่ผู้อื่น กับอนุญาตให้ผู้อื่นใช้สิทธิทำซ้ำ ดัดแปลง และเผยแพร่ต่อสาธารณชนซึ่งภาพเขียนดังกล่าว เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ใช้ภาพเขียนนี้เป็นเครื่องหมายการค้ากับสินค้าเสื้อ กางเกง เสื้อกีฬา กางเกง กีฬา รองเท้ากีฬา และจดทะเบียนภาพเขียนนี้เป็นเครื่องหมายการค้า โจทก์จึงไม่มีสิทธิแต่เพียงผู้เดียวในอันที่จะใช้เครื่องหมายการค้าภาพเขียนรูปสุนัขกระโดดนี้สำหรับสินค้าดังกล่าวได้ และไม่อาจหวงกันผู้อื่นมิให้ใช้เครื่องหมายการค้านั้นกับสินค้าดังกล่าวได้ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 44 ภาพเขียนรูปสุนัขกระโดดนี้จึงไม่ได้รับความคุ้มครองตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 การที่โจทก์อนุญาตให้บริษัท ส. นำภาพเขียนรูปสุนัขกระโดดอันมีลิขสิทธิ์ของโจทก์ไปจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าเพื่อใช้กับสินค้าเสื้อและกางเกง แล้วบริษัท ส. โอนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวให้แก่จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 1 นำไปจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าไว้กับสินค้าในจำพวก 25 รายการสินค้า เสื้อ กางเกง ต่อมาจำเลยที่ 1 โอนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวให้แก่จำเลยที่ 5 การที่จำเลยทั้งแปดได้ใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวกับสินค้าเสื้อและกางเกงจึงเป็นการใช้สิทธิแต่เพียงผู้เดียวตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 44 ในการใช้เครื่องหมายการค้านี้อย่างเครื่องหมายการค้าโดยชอบ การกระทำของจำเลยทั้งแปดหาใช่การกระทำต่อภาพเขียนรูปสุนัขกระโดดซึ่งเป็นรูปแบบของการแสดงออกซึ่งความคิดที่ได้รับความคุ้มครองตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 6 วรรคหนึ่ง แต่อย่างใดไม่ จึงไม่เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ในภาพเขียนรูปสุนัขกระโดดของโจทก์ และไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายเพื่อการละเมิดลิขสิทธิ์แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3061/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดินพิพาท: บุคคลภายนอกซื้อโดยสุจริตและจดทะเบียนได้อ้างสิทธิเหนือผู้ครอบครองไม่ได้
ที่ดินพิพาทเป็นส่วนหนึ่งของที่ดิน น.ส. 3 ก. ของจำเลยทั้งสอง ดังนั้น แม้ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าโจทก์ได้สิทธิครอบครองที่ดินพิพาทโดยการยกให้จาก อ. ก็เป็นการได้มาซึ่งทรัพยสิทธิอันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์โดยทางอื่นนอกจากนิติกรรม แต่ยังมิได้จดทะเบียน และจำเลยทั้งสองซื้อที่ดินพิพาทจากกองทุนรวมแกมม่าแคปปิตอล โดยไม่ทราบว่าโจทก์เข้าไปครอบครองทำกินในที่ดินพิพาทมาก่อน โจทก์จึงไม่อาจยกสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทขึ้นเป็นข้อต่อสู้จำเลยทั้งสองซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผู้ได้สิทธิมาโดยเสียค่าตอบแทนและโดยสุจริต และได้จดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตแล้ว ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1299 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2857/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนที่ดินมรดกโดยไม่ชอบ ผู้มีส่วนได้เสียมีสิทธิเพิกถอนนิติกรรมได้
ที่ดินพิพาทเป็นสินสมรสระหว่างจำเลยที่ 1 กับ อ. เมื่อ อ.ถึงแก่ความตาย การสมรสระหว่างจำเลยที่ 1 กับ อ. ย่อมสิ้นสุดลง ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1501 มีผลให้ต้องคิดส่วนแบ่งทรัพย์สินระหว่างจำเลยที่ 1 กับ อ. ตั้งแต่วันที่การสมรสสิ้นไปด้วยเหตุความตายนั้น ในบังคับของบทบัญญัติว่าด้วยการหย่าโดยความยินยอมของทั้งสองฝ่าย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1625 ที่ดินพิพาทจึงต้องแบ่งให้จำเลยที่ 1 และ อ. ได้คนละส่วนเท่ากัน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1533 ที่ดินพิพาทกึ่งหนึ่งส่วนของ อ. ย่อมเป็นมรดกตกทอดแก่ทายาทโดยธรรมคือ โจทก์กับบุตรอีก 4 คน ของ อ. ซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมลำดับที่ 1 และจำเลยที่ 1 คู่สมรสซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมมีสิทธิได้รับส่วนแบ่งเสมือนเป็นทายาทชั้นบุตร ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1599, 1629 (1) และ 1635 (1) ดังนี้ ที่ดินพิพาทส่วนที่เป็นมรดกของ อ. จึงต้องแบ่งให้แก่ บุตรทุกคนรวมทั้งโจทก์ โจทก์และจำเลยที่ 1 คนละ 1 ใน 6 จำเลยที่ 1 จึงมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท 7 ใน 12 ส่วน และมีสิทธิจดทะเบียนยกที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 ได้เฉพาะส่วนของตนเท่านั้น การที่จำเลยที่ 1 จดทะเบียนยกที่ดินพิพาทรวมทั้งส่วนของโจทก์ให้แก่จำเลยที่ 2 ซึ่งมิใช่ทายาทโดยธรรม ของ อ. โดยไม่มีค่าตอบแทน เป็นทางเสียเปรียบแก่โจทก์ผู้อยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อน โจทก์ในฐานะทายาทโดยธรรมของ อ. คนหนึ่งย่อมมีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเฉพาะส่วนของตนและเรียกทรัพย์มรดกของ อ. ในส่วนของตนได้ ตาม ป.พ.พ มาตรา 1300 ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้เพิกถอนนิติกรรมจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับที่ 2 กึ่งหนึ่งของที่ดินพิพาท นั้น จึงไม่ชอบ ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้คู่ความมิได้ฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2638/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้สิทธิติดตามและเอาคืนทรัพย์สิน (ป.พ.พ. ม.1336) ไม่ขาดอายุความ แม้มีนิติกรรมสัญญา
โจทก์ขอให้บังคับจำเลยแบ่งแยกที่ดินพิพาทเนื้อที่ 113 ตารางวา เนื่องจากโจทก์ไม่ได้ขายที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่ตั้งของบ้านที่โจทก์อยู่อาศัยให้แก่จำเลย และจำเลยก็ทราบเงื่อนไขเกี่ยวกับที่ดินพิพาทในสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินดังกล่าวเป็นอย่างดี จำเลยจึงทำหนังสือรับรองว่าจะแบ่งแยกที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ เท่ากับจำเลยยอมรับว่าโจทก์มีกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพิพาทด้วย จำเลยจึงไม่อาจถือเอากรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทได้ โจทก์ฟ้องคดีนี้ในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่แท้จริงใช้สิทธิติดตามและเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของตนจากจำเลยผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 ซึ่งไม่มีกำหนดอายุความ มิใช่เป็นการฟ้องบังคับตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินและหนังสือรับรองที่จำเลยทำไว้แก่โจทก์ จึงนำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 1 ลักษณะ 6 หมวด 2 ว่าด้วยอายุความ มาใช้บังคับในกรณีนี้ไม่ได้ ฟ้องโจทก์ไม่ขาดอายุความ
สภาพแห่งข้อหาตามคำฟ้องเป็นเรื่องที่โจทก์กล่าวอ้างว่า โจทก์ไม่ได้ขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลย และมีคำขอบังคับให้จำเลยแบ่งแยกที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ อันเป็นการใช้สิทธิในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทที่แท้จริงติดตามและเอาคืนจากจำเลยและผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ หาใช่บังคับตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินและหนังสือรับรองที่จำเลยทำไว้แก่โจทก์ไม่ ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าโจทก์ฟ้องในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์เพื่อใช้สิทธิติดตามเอาคืนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 จึงชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 142 แล้ว ไม่นอกฟ้องนอกประเด็นแต่ประการใด
สภาพแห่งข้อหาตามคำฟ้องเป็นเรื่องที่โจทก์กล่าวอ้างว่า โจทก์ไม่ได้ขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลย และมีคำขอบังคับให้จำเลยแบ่งแยกที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ อันเป็นการใช้สิทธิในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทที่แท้จริงติดตามและเอาคืนจากจำเลยและผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ หาใช่บังคับตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินและหนังสือรับรองที่จำเลยทำไว้แก่โจทก์ไม่ ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าโจทก์ฟ้องในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์เพื่อใช้สิทธิติดตามเอาคืนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 จึงชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 142 แล้ว ไม่นอกฟ้องนอกประเด็นแต่ประการใด