พบผลลัพธ์ทั้งหมด 423 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10547/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มจากปริมาณการใช้ไฟฟ้า และการคืนภาษีที่ถูกต้องตามกฎหมาย
โจทก์ไม่ส่งมอบเอกสารหลักฐานให้เจ้าพนักงานประเมินตรวจสอบหาผลผลิตตามขั้นตอนการผลิตตามความเป็นจริงได้ การที่เจ้าพนักงานประเมินใช้ปริมาณการใช้ไฟฟ้าของโจทก์ในแต่ละเดือนคำนวณผลผลิต ย่อมเป็นวิธีการที่เหมาะสมและยอมรับได้
หนังสือแจ้งคืนเงินภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นการใช้อำนาจตามกฎหมายของเจ้าพนักงานประเมินในการคืนภาษีให้โจทก์น้อยกว่าที่โจทก์ขอคืนไว้ เมื่อโจทก์ไม่มีภาระภาษีที่จะต้องชำระเพิ่มเติมอีก จึงไม่มีเหตุที่เจ้าพนักงานประเมินจะต้องออกหนังสือแจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่ม ดังที่โจทก์อ้าง
หนังสือแจ้งคืนเงินภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นการใช้อำนาจตามกฎหมายของเจ้าพนักงานประเมินในการคืนภาษีให้โจทก์น้อยกว่าที่โจทก์ขอคืนไว้ เมื่อโจทก์ไม่มีภาระภาษีที่จะต้องชำระเพิ่มเติมอีก จึงไม่มีเหตุที่เจ้าพนักงานประเมินจะต้องออกหนังสือแจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่ม ดังที่โจทก์อ้าง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10485/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนอนุสิทธิบัตร: ลักษณะการประดิษฐ์ไม่ใหม่ แม้มีการปรับเปลี่ยนตำแหน่งอุปกรณ์
การพิจารณาว่าการประดิษฐ์ที่โจทก์ขอรับอนุสิทธิบัตรเป็นการประดิษฐ์ขึ้นใหม่หรือไม่ต้องพิจารณาตาม พ.ร.บ.สิทธิบัตร พ.ศ.2522 มาตรา 65 ทศ ประกอบมาตรา 6 ที่บัญญัติว่า การประดิษฐ์ขึ้นใหม่ได้แก่การประดิษฐ์ที่ไม่เป็นงานที่ปรากฏอยู่แล้ว และงานที่ปรากฏอยู่แล้วตามมาตรา 6 วรรคสอง (2) ได้แก่ การประดิษฐ์ที่ได้มีการเปิดเผยสาระสำคัญหรือรายละเอียดในเอกสารหรือสิ่งพิมพ์ที่ได้เผยแพร่อยู่แล้วไม่ว่าในหรือนอกราชอาณาจักร
การประดิษฐ์และข้อถือสิทธิตามอนุสิทธิบัตรของโจทก์เมื่อเปรียบเทียบกับการประดิษฐ์ตามเอกสารประกาศแสดงสิทธิบัตรในประเทศญี่ปุ่น อันเป็นงานที่ปรากฏอยู่ก่อนโจทก์ยื่นคำขอรับอนุสิทธิบัตร เห็นว่า เป็นผลิตภัณฑ์เพื่อจำหน่ายของเหลวและลักษณะทั่วไปทางกายภาพและการใช้งานทำนองเดียวกันเป็นส่วนใหญ่ คงมีส่วนที่โจทก์กล่าวอ้างว่าเป็นการประดิษฐ์ขึ้นใหม่ในบางส่วน แต่โจทก์ก็ไม่ได้แสดงรายละเอียดตามข้ออ้างดังกล่าวไว้ในรายการแสดงรายละเอียดการประดิษฐ์ของโจทก์ในคำขอรับอนุสิทธิบัตร จึงฟังไม่ได้ว่าการประดิษฐ์ตามอนุสิทธิบัตรของโจทก์ไม่เป็นงานที่ปรากฏอยู่แล้ว การประดิษฐ์ตามอนุสิทธิบัตรของโจทก์ย่อมไม่ใช่การประดิษฐ์ขึ้นใหม่ที่จะขอรับอนุสิทธิบัตรได้
การประดิษฐ์และข้อถือสิทธิตามอนุสิทธิบัตรของโจทก์เมื่อเปรียบเทียบกับการประดิษฐ์ตามเอกสารประกาศแสดงสิทธิบัตรในประเทศญี่ปุ่น อันเป็นงานที่ปรากฏอยู่ก่อนโจทก์ยื่นคำขอรับอนุสิทธิบัตร เห็นว่า เป็นผลิตภัณฑ์เพื่อจำหน่ายของเหลวและลักษณะทั่วไปทางกายภาพและการใช้งานทำนองเดียวกันเป็นส่วนใหญ่ คงมีส่วนที่โจทก์กล่าวอ้างว่าเป็นการประดิษฐ์ขึ้นใหม่ในบางส่วน แต่โจทก์ก็ไม่ได้แสดงรายละเอียดตามข้ออ้างดังกล่าวไว้ในรายการแสดงรายละเอียดการประดิษฐ์ของโจทก์ในคำขอรับอนุสิทธิบัตร จึงฟังไม่ได้ว่าการประดิษฐ์ตามอนุสิทธิบัตรของโจทก์ไม่เป็นงานที่ปรากฏอยู่แล้ว การประดิษฐ์ตามอนุสิทธิบัตรของโจทก์ย่อมไม่ใช่การประดิษฐ์ขึ้นใหม่ที่จะขอรับอนุสิทธิบัตรได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9542/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคัดค้านคำสั่งไม่ขยายเวลาอุทธรณ์ภาษีอากรภายใน 90 วัน ตาม พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง
ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 30 บัญญัติว่า ในการอุทธรณ์การประเมินภาษีอากรให้อุทธรณ์ภายในกำหนดเวลาสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมิน กรณีตามคำฟ้องของโจทก์ไม่ใช่เรื่องอุทธรณ์การประเมินภาษีอากรที่เจ้าพนักงานประเมินของจำเลยได้ประเมินไว้ให้โจทก์เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามหนังสือแจ้งภาษีเงินได้นิติบุคคล แต่เป็นการอุทธรณ์คำสั่งไม่ขยายเวลาการยื่นอุทธรณ์ของจำเลยตาม มาตรา 3 อัฏฐ แห่ง ป.รัษฎากร ซึ่งตาม พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 มาตรา 40 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "คำสั่งทางปกครองที่อาจอุทธรณ์หรือโต้แย้งต่อไปได้ให้ระบุกรณีที่อาจอุทธรณ์หรือโต้แย้ง การยื่นคำอุทธรณ์หรือคำโต้แย้ง และระยะเวลาสำหรับการอุทธรณ์หรือการโต้แย้งดังกล่าวไว้ด้วย" เมื่อพิจารณาคำวินิจฉัยอุทธรณ์ตอนท้ายมีหมายเหตุระบุว่า หากท่านประสงค์จะฟ้องโต้แย้งคำวินิจฉัยนี้ให้ทำคำฟ้องเป็นหนังสือยื่นต่อศาลปกครอง... ภายใน 90 วัน นับแต่วันที่รับแจ้งหรือทราบคำวินิจฉัย ดังนั้น เมื่อโจทก์ได้รับคำวินิจฉัยของจำเลยที่ยืนตามคำสั่งที่ไม่อนุมัติให้โจทก์ขยายกำหนดเวลาการอุทธรณ์การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินฉบับลงวันที่ 18 พฤศจิกายน 2552 ซึ่งโจทก์ได้รับหนังสือดังกล่าวในวันที่ 2 ธันวาคม 2552 การที่โจทก์ฟ้องจำเลยในวันที่ 2 มีนาคม 2553 จึงเป็นการยื่นฟ้องภายในกำหนดเวลาตามคำวินิจฉัยอุทธรณ์ที่กล่าวมาข้างต้น ดังนั้น ที่ศาลภาษีอากรกลางมีคำสั่งไม่รับคำฟ้องโจทก์มานั้นจึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9328/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของบรรณาธิการในความผิดฐานหมิ่นประมาท ต้องมีเจตนาโดยตรงต่อโจทก์
จำเลยที่ 2 เป็นบรรณาธิการ ซึ่งหมายถึงผู้รับผิดชอบในการเผยแพร่ข้อความในหนังสือพิมพ์ การที่จำเลยที่ 2 จะต้องรับผิดฐานดูหมิ่นและหมิ่นประมาทตาม ป.อ. จะต้องได้ความว่าจำเลยที่ 2 มีเจตนาที่จะกระทำการดังกล่าวต่อโจทก์โดยตรง ซึ่งสอดคล้องกับหมายเหตุท้าย พ.ร.บ.จดแจ้งการพิมพ์ พ.ศ.2550 ที่บัญญัติว่า เหตุที่ให้มีกฎหมายว่าด้วยการจดแจ้งการพิมพ์เพื่อวางหลักเกณฑ์ในการรับจดแจ้งการพิมพ์เป็นหลักฐานให้ทราบว่าผู้ใดเป็นผู้พิมพ์ ผู้โฆษณา บรรณาธิการ หรือเจ้าของกิจการหนังสือพิมพ์เพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบของประชาชนที่ได้รับความเสียหายในการฟ้องร้องดำเนินคดี ดังนั้น เมื่อข้อเท็จจริงตามทางนำสืบของโจทก์ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบรรณาธิการมีเจตนาร่วมกับผู้เขียนหรือผู้ประพันธ์ในการกระทำความผิดดังกล่าวต่อโจทก์ จำเลยที่ 2 จึงไม่มีความผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9213/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อนุสิทธิบัตรไม่สมบูรณ์หากมีการประดิษฐ์ที่ใช้แพร่หลายก่อนวันขอรับสิทธิบัตร การนำเข้าสินค้าที่เหมือนกับอนุสิทธิบัตรไม่ถือเป็นการละเมิด
ถุงห่อผลไม้ตามวัตถุพยานหมาย ว.จ.2 ที่บริษัท ก. และบริษัท ซ. นำเข้ามาจำหน่ายในประเทศไทยก่อนที่จำเลยยื่นคำขอรับอนุสิทธิบัตรการประดิษฐ์ถุงห่อผลไม้ และ ว.จ.3 กับถุงห่อผลไม้ของจำเลยตามวัตถุพยานหมาย ว.ล.3 มีลักษณะเหมือนกัน กล่าวคือ เป็นถุง 2 ชั้น มีถุงห่อหุ้มชั้นนอกและถุงห่อหุ้มชั้นในถุงห่อหุ้มชั้นนอกมีการเคลือบสีดำอยู่ด้านในเพื่อกรองแสงไม่ให้แสงสว่างเข้าไปในถุงและถุงห่อหุ้มชั้นในเคลือบด้วยคาร์บอนอยู่อีกชั้นหนึ่ง ถุงห่อหุ้มชั้นนอกและชั้นในมีปลายเปิดด้านบนสำหรับรองรับการสอดเข้าของผลไม้ที่ต้องการห่อ ด้านล่างของถุงห่อหุ้มชั้นนอกมีรูเจาะทะลุถึงด้านล่างของถุงห่อหุ้มชั้นใน และด้านล่างของถุงห่อหุ้มชั้นนอกจะเป็นช่องเว้าออกด้านข้างมีรูเจาะทะลุถึงด้านในของถุงห่อหุ้มชั้นในบริเวณก้นถุงมีรูระบายน้ำและระบายอากาศมีปีกที่มีลวดเหล็กอยู่ข้างในยื่นออกมาเหมือนกัน แต่ต่างกันที่ปีกที่ลวดเหล็กอยู่คนละด้านกันซึ่งปีกที่ยื่นออกมาจะใช้ในการรัดกิ่งไม้หรือใช้มัดปากถุงไม่ให้ถุงห่อผลไม้หลุดออกจากผลไม้ถุงห่อผลไม้ตามวัตถุพยานหมาย ว.จ.2 และ ว.จ.3 มีลักษณะเหมือนกับถุงห่อผลไม้ตามวัตถุพยานหมาย ว.ล.3 ของจำเลย และการประดิษฐ์ถุงห่อผลไม้วัตถุพยานหมาย ว.จ.2 และ ว.จ.3 เหมือนกับข้อถือสิทธิสำหรับการประดิษฐ์ถุงห่อผลไม้ตามอนุสิทธิบัตรเลขที่ 4343 ของจำเลยซึ่งระบุข้อถือสิทธิไว้ว่า ถุงห่อผลไม้ประกอบด้วยถุงห่อหุ้มชั้นนอกที่เป็นถุงชั้นนอกที่มีปลายเปิดด้านบนชั้นนอกและพื้นผิวด้านนอกของถุงห่อหุ้มชั้นนอกจะมีชั้นสารเคลือบกันน้ำเคลือบอยู่อย่างน้อยหนึ่งชั้น สำหรับป้องกันน้ำจากภายนอกเข้าสู่ด้านในถุงห่อหุ้มชั้นนอกและพื้นผิวด้านในของถุงห่อหุ้มชั้นนอกจะเป็นสีทึบแสงอย่างน้อยหนึ่งชั้นสำหรับป้องกันแสงจากภายนอกเข้าสู่ด้านในถุงห่อหุ้มชั้นในซึ่งถุงห่อหุ้มชั้นในจะเป็นถุงชั้นในที่อยู่ด้านในถุงห้อหุ้มชั้นนอกและมีปลายเปิดด้านบนชั้นในสำหรับเป็นช่องทางสวมเข้าทางด้านบนของผลไม้ที่ต้องการห่อหุ้มชั้นใน และพื้นผิวด้านนอกของถุงห่อหุ้มชั้นในอย่างน้อยหนึ่งด้านจะเป็นสีทึบแสงอย่างน้อยหนึ่งชั้น สำหรับป้องกันแสงจากภายนอกเข้าสู่ด้านในถุงห่อหุ้มชั้นใน และพื้นผิวด้านนอกของสีทึบแสงอย่างน้อยหนึ่งด้านของถุงห้อหุ้มชั้นในจะมีชั้นสารเคลือบกันน้ำเคลือบอยู่อย่างน้อยหนึ่งชั้น สำหรับป้องกันน้ำจากภายนอกเข้าสู่ด้านในถุงห่อหุ้มชั้นในอีกชั้นหนึ่ง แม้การประดิษฐ์ถุงห่อผลไม้ตามวัตถุพยานหมาย ว.จ.2 และ ว.จ.3 จะมิใช่การประดิษฐ์ที่มีหรือใช้แพร่หลายอยู่แล้วในราชอาณาจักรก่อนวันที่จำเลยขอรับอนุสิทธิบัตรเลขที่ 4343 ก็ตาม แต่ถุงห่อผลไม้ตามวัตถุพยาน ว.จ.2 และ ว.จ.3 เป็นการประดิษฐ์ที่ปรากฏอยู่แล้วนอกและในราชอาณาจักรก่อนวันที่จำเลยขอรับอนุสิทธิบัตรเลขที่ 4343 เมื่อการประดิษฐ์ถุงห่อผลไม้วัตถุพยานหมาย ว.ล.3 ตามอนุสิทธิบัตรเลขที่ 4343 เหมือนกับการประดิษฐ์ถุงห่อผลไม้วัตถุพยานหมาย ว.จ.2 และ ว.จ.3 การประดิษฐ์ถุงห่อผลไม้วัตถุพยานหมาย ว.ล.3 จึงเป็นการประดิษฐ์ที่เป็นงานที่ปรากฏอยู่แล้วอันมิใช่การประดิษฐ์ขึ้นใหม่ ตาม พ.ร.บ.สิทธิบัตร พ.ศ.2522 มาตรา 65 ทศ ประกอบมาตรา 6 วรรคหนึ่ง การออกอนุสิทธิบัตรเลขที่ 4343 ย่อมไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.สิทธิบัตร พ.ศ.2522 มาตรา 65 ทวิ ต้องถือว่าอนุสิทธิบัตรเลขที่ 4343 ไม่สมบูรณ์ ตาม พ.ร.บ.ดังกล่าว มาตรา 65 นว วรรคหนึ่ง โจทก์ซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้เสียชอบที่จะขอให้เพิกถอนอนุสิทธิบัตรนั้นได้ ตาม พ.ร.บ.ดังกล่าว มาตรา 65 นว วรรคสอง แม้การประดิษฐ์ถุงห่อผลไม้ตามวัตถุพยานหมาย ว.จ.1 ที่โจทก์นำเข้ามาจำหน่ายในประเทศไทยเหมือนกับการประดิษฐ์ถุงห่อผลไม้ในข้อถือสิทธิตามอนุสิทธิบัตรเลขที่ 4343 ของจำเลยก็ตาม แต่เมื่ออนุสิทธิบัตรการประดิษฐ์ถุงห่อผลไม้เลขที่ 4343 ที่อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญาออกให้แก่จำเลยเมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2551 เป็นอนุสิทธิบัตรไม่สมบูรณ์ การประดิษฐ์ถุงห่อผลไม้ดังกล่าวจึงไม่ได้รับความคุ้มครองตาม พ.ร.บ.สิทธิบัตร พ.ศ.2522 มาตรา 65 สัตต การกระทำของโจทก์ดังกล่าวจึงไม่อาจเป็นการละเมิดอนุสิทธิบัตรเลขที่ 4343 ของจำเลยตาม พ.ร.บ.สิทธิบัตร พ.ศ.2522 มาตรา 65 ทศ ประกอบมาตรา 35 ทวิ และมาตรา 36 วรรคหนึ่ง (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8771/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการฟ้องคดีความผิด พ.ร.บ.เสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ สงวนไว้สำหรับรัฐเท่านั้น เอกชนผู้เสนอราคมิใช่ผู้เสียหาย
ความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2542 มาตรา 3, 7, 12 รัฐเท่านั้นที่จะเป็นผู้เสียหายในการฟ้องคดีต่อผู้กระทำความผิด โจทก์ซึ่งเป็นผู้เข้าร่วมเสนอราคาซึ่งเป็นเอกชนมิได้อยู่ในฐานะผู้เสียหายที่จะฟ้องร้องคดีเองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8516/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิลดหย่อนภาษีค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดา: บุตรบุญธรรมไม่มีสิทธิเท่าบุตรชอบด้วยกฎหมาย
ป.รัษฎากร มาตรา 47 (1) (ญ) กำหนดให้ลดหย่อนภาษีสำหรับค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดาของผู้มีเงินได้ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกำหนด ซึ่งเจตนารมณ์ของบทบัญญัติดังกล่าวปรากฏตามเหตุผลในการประกาศใช้ พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 36) พ.ศ.2548 คือ โดยที่มาตรา 17 แห่ง พ.ร.บ.ผู้สูงอายุ พ.ศ.2546 กำหนดให้ผู้อุปการะเลี้ยงดูบุพการีซึ่งเป็นผู้สูงอายุที่ไม่มีรายได้เพียงพอแก่การยังชีพ ดังนั้น เพื่อเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนการอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดาผู้ให้กำเนิดบุตร สมควรกำหนดให้ผู้มีเงินได้ซึ่งอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดาของตนหรือสามีภริยาของตน นำค่าอุปการะเลี้ยงดูดังกล่าวมาหักลดหย่อนในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ดังนี้ การหักลดหย่อนดังกล่าวย่อมไม่รวมถึงผู้มีเงินได้ซึ่งเป็นบุตรบุญธรรมที่ได้อุปการะเลี้ยงดูผู้รับบุตรบุญธรรมแต่อย่างใด ทั้งตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรก็กำหนดไว้ว่า ผู้มีเงินได้จะต้องเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของบิดามารดาของตนจึงจะใช้สิทธิหักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูได้ โจทก์จึงไม่มีสิทธิหักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตาม ป.รัษฎากร มาตรา 47 (1) (ญ) ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8457/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีภาษีโรงเรือนและที่ดิน: กรณีสัญญาเช่าทรัพย์สินและผลกระทบต่อการยกเว้นภาษี
กรณีที่การท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) ไม่พอใจคำชี้ขาดเนื่องจากเห็นว่าไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีโรงเรือนและที่ดิน ไม่ใช่กรณีที่ กทท. ไม่พอใจคำชี้ขาดเนื่องจากเห็นว่าจำนวนพื้นที่ประเมินไว้สูงเกินสมควร ซึ่งต้องนำเรื่องเสนอ ครม. เพื่อพิจารณาตาม พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 มาตรา 31 วรรคท้าย โจทก์เป็นผู้มีส่วนได้เสียในฐานะเป็นผู้ชำระค่าภาษีแทน กทท. ย่อมมีอำนาจฟ้องในประเด็นนี้ได้
สัญญาเช่านอกจากจะอนุญาตให้โจทก์เข้าบริหารประกอบการท่าเทียบเรือแล้ว ยังให้สิทธิโจทก์ใช้ทรัพย์สินของ กทท. โดย กทท. มีหน้าที่ต้องส่งมอบทรัพย์สินที่เกี่ยวข้องกับท่าเทียบเรือบี 1 ให้แก่โจทก์ใช้ประโยชน์และพัฒนาท่าเทียบเรือ โดยโจทก์ต้องจ่ายค่าตอบแทน ซึ่งมีวัตถุประสงค์เป็นการเช่าทรัพย์สินด้วย กทท. จึงไม่ได้รับการยกเว้นภาษีตามมาตรา 17 แห่ง พ.ร.บ.การท่าเรือแห่งประเทศไทย พ.ศ.2494 และมีหน้าที่ต้องเสียภาษีโรงเรือนและที่ดิน และหาก กทท. ไม่พอใจคำชี้ขาดของจำเลยที่ 2 เนื่องจากเห็นว่าจำนวนเงินซึ่งประเมินไว้สูงเกินสมควร กทท. จะต้องนำเรื่องเสนอ ครม. เพื่อพิจารณาภายในสามสิบวัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำชี้ขาดตาม พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 มาตรา 31 วรรคท้าย เมื่อ กทท. ได้นำคำชี้ขาดเสนอ ครม. ภายในสามสิบวันแล้ว แต่ ครม. ยังไม่มีมติ กทท. จึงไม่มีอำนาจฟ้อง โจทก์เป็นผู้มีส่วนได้เสียจึงต้องอยู่ภายใต้บทบัญญัติของ มาตรา 31 วรรคท้าย โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
สัญญาเช่านอกจากจะอนุญาตให้โจทก์เข้าบริหารประกอบการท่าเทียบเรือแล้ว ยังให้สิทธิโจทก์ใช้ทรัพย์สินของ กทท. โดย กทท. มีหน้าที่ต้องส่งมอบทรัพย์สินที่เกี่ยวข้องกับท่าเทียบเรือบี 1 ให้แก่โจทก์ใช้ประโยชน์และพัฒนาท่าเทียบเรือ โดยโจทก์ต้องจ่ายค่าตอบแทน ซึ่งมีวัตถุประสงค์เป็นการเช่าทรัพย์สินด้วย กทท. จึงไม่ได้รับการยกเว้นภาษีตามมาตรา 17 แห่ง พ.ร.บ.การท่าเรือแห่งประเทศไทย พ.ศ.2494 และมีหน้าที่ต้องเสียภาษีโรงเรือนและที่ดิน และหาก กทท. ไม่พอใจคำชี้ขาดของจำเลยที่ 2 เนื่องจากเห็นว่าจำนวนเงินซึ่งประเมินไว้สูงเกินสมควร กทท. จะต้องนำเรื่องเสนอ ครม. เพื่อพิจารณาภายในสามสิบวัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำชี้ขาดตาม พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 มาตรา 31 วรรคท้าย เมื่อ กทท. ได้นำคำชี้ขาดเสนอ ครม. ภายในสามสิบวันแล้ว แต่ ครม. ยังไม่มีมติ กทท. จึงไม่มีอำนาจฟ้อง โจทก์เป็นผู้มีส่วนได้เสียจึงต้องอยู่ภายใต้บทบัญญัติของ มาตรา 31 วรรคท้าย โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8305/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ใบสำคัญแสดงสิทธิฯ เป็นทรัพย์สินที่คำนวณเป็นเงินได้ การตีราคาโดยเทียบเคียงราคาหุ้นสามัญสมเหตุผล
ใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นเป็นทรัพย์สินซึ่งอาจคิดคำนวณเป็นเงินได้ ถือเป็นเงินได้พึงประเมินตามความหมายของ ป.รัษฎากร มาตรา 39 ส่วนการที่จะคิดคำนวณเป็นเงินได้จำนวนเท่าใดเป็นอีกปัญหาหนึ่ง มิใช่ว่าเมื่อไม่มีราคาซื้อขายใน ตลท. ที่จะนำมาใช้เทียบเคียงแล้ว จะต้องถือว่าใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นนั้นคิดคำนวณเป็นเงินไม่ได้
ประโยชน์ที่ผู้ใช้สิทธิซื้อหุ้นตามใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นดังกล่าวจะได้รับตามปกติย่อมขึ้นอยู่กับส่วนต่างของราคาหุ้นสามัญใน ตลท. หักลบด้วยจำนวนเงินที่จะต้องชำระในการใช้สิทธิซื้อหุ้น ดังนั้น การนำราคาหุ้นสามัญมาเทียบเคียงเพื่อหาราคาใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นจึงเป็นวิธีการประมาณราคาที่สมเหตุผล
เงินได้พึงประเมินที่โจทก์ได้รับจริง ทั้งนี้เงินได้พึงประเมินตามราคาใบสำคัญแสดงสิทธิซื้อหุ้นที่โจทก์ได้รับเป็นเงินได้ที่ได้รับไว้แล้วก่อนที่จะนำใบสำคัญแสดงสิทธิซื้อหุ้นดังกล่าวออกขายใน ตลท. ย่อมไม่ใช่เป็นเงินได้ที่เป็นผลประโยชน์จากการขายหลักทรัพย์ใน ตลท. ที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีตามมาตรา 42 (17) ประกอบกฎกระทรวงฉบับที่ 126 พ.ศ.2509 ข้อ 2 (23) แต่อย่างใด
ประโยชน์ที่ผู้ใช้สิทธิซื้อหุ้นตามใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นดังกล่าวจะได้รับตามปกติย่อมขึ้นอยู่กับส่วนต่างของราคาหุ้นสามัญใน ตลท. หักลบด้วยจำนวนเงินที่จะต้องชำระในการใช้สิทธิซื้อหุ้น ดังนั้น การนำราคาหุ้นสามัญมาเทียบเคียงเพื่อหาราคาใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นจึงเป็นวิธีการประมาณราคาที่สมเหตุผล
เงินได้พึงประเมินที่โจทก์ได้รับจริง ทั้งนี้เงินได้พึงประเมินตามราคาใบสำคัญแสดงสิทธิซื้อหุ้นที่โจทก์ได้รับเป็นเงินได้ที่ได้รับไว้แล้วก่อนที่จะนำใบสำคัญแสดงสิทธิซื้อหุ้นดังกล่าวออกขายใน ตลท. ย่อมไม่ใช่เป็นเงินได้ที่เป็นผลประโยชน์จากการขายหลักทรัพย์ใน ตลท. ที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีตามมาตรา 42 (17) ประกอบกฎกระทรวงฉบับที่ 126 พ.ศ.2509 ข้อ 2 (23) แต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8300/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดภาษีมูลค่าเพิ่มจากการนำเข้าสินค้าที่ไม่ได้รับการยกเว้นอากร ความรับผิดเกิดขึ้นเมื่อวางหลักประกัน
ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 78/2 ไม่ได้ให้สิทธิแก่ผู้ประกอบการที่ได้รับบัตรส่งเสริมคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนในกรณีนำเข้าสินค้าที่ไม่ได้รับยกเว้นอากรขาเข้าเป็นกรณีพิเศษ ความรับผิดของโจทก์สำหรับสินค้าเครื่องจักรที่ไม่ได้รับอนุมัติให้ยกเว้นภาษีอากรจึงมีฐานะเช่นเดียวกับผู้นำเข้าที่วางหลักประกันอากรขาเข้าอื่น กล่าวคือ ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในส่วนนี้เกิดขึ้นเมื่อโจทก์วางหลักประกันอากรขาเข้า แม้ขณะโจทก์นำเข้าสินค้า เครื่องจักรบางรายการยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน โดยโจทก์วางหนังสือค้ำประกันของธนาคารเป็นหลักประกันการชำระภาษีอากรเพื่อโจทก์จะได้นำสินค้าพิพาทออกจากอารักขาของกรมศุลกากรและต่อมาสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนได้อนุมัติยกเว้นอากรขาเข้าและภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับสินค้าบางส่วนและบางส่วนให้ชำระอากร หลังจากนั้นโจทก์นำเงินไปชำระค่าภาษีอากรภายในกำหนดเวลา 30 วัน นับแต่ได้รับแจ้งการประเมินก็ตาม แต่เมื่อโจทก์ยังไม่ได้ชำระค่าภาษีมูลค่าเพิ่มในเวลาที่โจทก์วางหลักประกันอากรขาเข้า จึงยังถือไม่ได้ว่าโจทก์ได้ชำระค่าภาษีอากรครบถ้วนในกำหนดเวลาตามมาตรา 78/2 อันจะเป็นเหตุทำให้ไม่ต้องเสียเบี้ยปรับและเงินเพิ่มสำหรับภาษีมูลค่าเพิ่ม โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องเสียเบี้ยปรับและเงินเพิ่มภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่จำเลย