พบผลลัพธ์ทั้งหมด 423 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1688-1689/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำฟ้องละเมิดลิขสิทธิ์ที่ไม่สมบูรณ์ ขาดรายละเอียดวันเวลาสร้างสรรค์และโฆษณาผลงาน
เมื่อโจทก์ฟ้องจำเลยทั้งแปดฐานละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่น โดยทำซ้ำงานศิลปกรรมอันมีลิขสิทธิ์กับขายและเผยแพร่ต่อสาธารณชนซึ่งงานที่ได้ทำขึ้น โดยละเมิดลิขสิทธิ์ตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 69 วรรคสอง ประกอบมาตรา 27 (1) และมาตรา 70 วรรคสอง ประกอบมาตรา 31 (1) (2) โจทก์ต้องบรรยายฟ้องให้ครบองค์ประกอบของความผิดในส่วนของการกระทำที่เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์งานที่กฎหมายรับรองว่าเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ และการได้มาซึ่งลิขสิทธิ์เป็นไปตามวิธีการและเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด ทั้งต้องบรรยายให้ปรากฏด้วยว่างานนั้นได้สร้างสรรค์ขึ้นเมื่อใดและหรือมีการโฆษณางานนั้นครั้งแรกเมื่อใด เพื่อแสดงให้เห็นว่าขณะเกิดเหตุงานดังกล่าวยังอยู่ในอายุแห่งการคุ้มครองลิขสิทธิ์ตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 19 แต่ในส่วนนี้โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ข้อมูลแผนที่ดิจิทัลโดยได้รับโอนมาจากบริษัท จ. เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2554 และข้อมูลแผนที่ดิจิทัลเป็นงานสร้างสรรค์ประเภทงานศิลปกรรม โดยไม่ได้บรรยายฟ้องหรือได้ความจากเอกสารท้ายคำฟ้องซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้องว่า บริษัท จ. ซึ่งเป็นนิติบุคคลผู้สร้างสรรค์และโอนสิทธิ์ให้โจทก์ได้สร้างสรรค์งานนั้นขึ้นเมื่อใดและหรือได้โฆษณางานนั้นเป็นครั้งแรกเมื่อใด จึงเป็นคำฟ้องที่ขาดองค์ประกอบของความผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นดังกล่าว อันเป็นคำฟ้องที่ไม่ชอบ
การขอแก้หรือเพิ่มเติมฟ้องตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 163 วรรคหนึ่ง นั้น จะต้องปรากฏว่าฟ้องเดิมเป็นฟ้องที่สมบูรณ์ตามกฎหมายมาแต่แรก โจทก์จึงจะขอแก้หรือเพิ่มเติมฟ้องได้ เมื่อคำฟ้องของโจทก์ขาดองค์ประกอบของความผิดอันเป็นคำฟ้องที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายดังได้วินิจฉัยมาข้างต้น โจทก์จึงไม่อาจขอแก้หรือเพิ่มเติมฟ้องได้
การขอแก้หรือเพิ่มเติมฟ้องตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 163 วรรคหนึ่ง นั้น จะต้องปรากฏว่าฟ้องเดิมเป็นฟ้องที่สมบูรณ์ตามกฎหมายมาแต่แรก โจทก์จึงจะขอแก้หรือเพิ่มเติมฟ้องได้ เมื่อคำฟ้องของโจทก์ขาดองค์ประกอบของความผิดอันเป็นคำฟ้องที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายดังได้วินิจฉัยมาข้างต้น โจทก์จึงไม่อาจขอแก้หรือเพิ่มเติมฟ้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1243/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ขนส่งและบริษัทประกันภัย กรณีสินค้าสูญหาย/ส่งช้า การตีความความคุ้มครองตามกรมธรรม์
จำเลยที่ 1 รับสินค้าจากโจทก์เพื่อดำเนินการขนส่ง เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2550 ครั้นเมื่อมีการขนส่งสินค้าไปส่งมอบแก่ผู้ซื้อแล้ว ปรากฏในขณะนั้นว่าสินค้าสูญหายไป 1 กล่อง แต่ได้ความต่อมาว่าจำเลยที่ 2 พบสินค้าที่คิดว่าสูญหายดังกล่าวที่ท่าอากาศยานเบรเมน เมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2550 ดังนี้ย่อมไม่มีเหตุอันจะถือได้ว่าสินค้า 1 กล่องนี้สูญหายแต่อย่างใด อย่างไรก็ตาม แม้จะไม่ปรากฏว่าโจทก์ตกลงกำหนดเวลาในการขนส่งสินค้าให้จำเลยที่ 1 ต้องขนส่งไปมอบแก่ผู้ซื้อไว้ก็ตาม แต่ก็เป็นเรื่องที่ตามปกติในการขนส่งทางอากาศย่อมเป็นที่เข้าใจและคาดหมายกันได้ระหว่างโจทก์ผู้ส่งกับจำเลยที่ 1 ผู้ขนส่งว่าควรขนส่งไปส่งมอบแก่ผู้ซื้อโดยคู่สัญญามีเจตนาให้ขนส่งไปส่งมอบได้ภายในกำหนดเวลาเท่าที่พึงคาดหมายว่าการขนส่งทางอากาศในระยะทางเช่นนี้ควรส่งมอบแก่ผู้ซื้อได้ ประกอบกับผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์เบิกความทำนองว่า พยานได้รับแจ้งจากผู้ซื้อว่าได้รับสินค้าไม่ครบถ้วน ไม่เกินวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2550 จึงเชื่อได้ว่าการขนส่งครั้งนี้มีกำหนดเวลาอันคาดหมายได้ว่าควรส่งสินค้าถึงผู้ซื้อได้ไม่เกินวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2550 และมีการส่งสินค้าไปมอบแก่ผู้ซื้อแล้วเพียงแต่ส่งมอบได้ไม่ครบถ้วนเท่านั้น เมื่อสินค้าขาดหายไป 1 กล่อง และค้นพบวันที่ 27 มีนาคม 2550 ย่อมเป็นกรณีที่หากส่งมอบสินค้า 1 กล่องนี้ได้ก็เป็นการส่งมอบชักช้ากว่าเวลาอันควรส่งมอบได้ จำเลยที่ 1 ผู้ขนส่งและจำเลยที่ 2 ผู้ขนส่งคนอื่นที่ได้รับมอบหมายให้ขนส่งต้องร่วมกันรับผิดชอบในความเสียหายอันเกิดขึ้นจากการส่งมอบชักช้าดังกล่าว อันเกิดจากโจทก์ต้องผลิตสินค้าใหม่และส่งให้ผู้ซื้อทดแทน
ตามกรมธรรม์ประกันภัยมีข้อความแสดงถึงกรณีที่สัญญาประกันภัยไม่คุ้มครองไว้ในข้อ 2.6 ว่า การประกันภัยนี้ไม่คุ้มครองในกรณีการสูญหาย เสียหาย หรือค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากความล่าช้าโดยเฉพาะ เมื่อสินค้า 1 กล่อง หายไปโดยหาไม่พบแต่แรก แต่ต่อมาก็ค้นพบภายหลังในเวลาประมาณ 40 วัน ซึ่งถือว่าเป็นกรณีส่งได้ชักช้าเท่านั้น ไม่ถึงกับถือว่าเป็นการสูญหาย จึงไม่อยู่ในความคุ้มครองตามสัญญาประกันภัยระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 3 ดังนี้ จำเลยที่ 3 จึงไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์
ตามกรมธรรม์ประกันภัยมีข้อความแสดงถึงกรณีที่สัญญาประกันภัยไม่คุ้มครองไว้ในข้อ 2.6 ว่า การประกันภัยนี้ไม่คุ้มครองในกรณีการสูญหาย เสียหาย หรือค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากความล่าช้าโดยเฉพาะ เมื่อสินค้า 1 กล่อง หายไปโดยหาไม่พบแต่แรก แต่ต่อมาก็ค้นพบภายหลังในเวลาประมาณ 40 วัน ซึ่งถือว่าเป็นกรณีส่งได้ชักช้าเท่านั้น ไม่ถึงกับถือว่าเป็นการสูญหาย จึงไม่อยู่ในความคุ้มครองตามสัญญาประกันภัยระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 3 ดังนี้ จำเลยที่ 3 จึงไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 21196/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในที่ดินหลังเจ้ามรดกเสียชีวิต: สัญญาจะซื้อขายไม่ใช่ข้อสำคัญในคดีขับไล่ การเบิกความไม่ตรงกับพยานหลักฐานไม่ถือเป็นความผิด
คดีก่อนที่จำเลยทั้งสองฟ้องขับไล่โจทก์ออกจากที่ดินของเจ้ามรดก มีประเด็นว่าโจทก์มีสิทธิอยู่ในที่ดินของจำเลยทั้งสองหรือไม่ การที่โจทก์อยู่ในที่ดินโดยอาศัยสิทธิตามสัญญาจะซื้อขายที่ทำไว้กับเจ้ามรดกเป็นการอยู่โดยอาศัยสิทธิของเจ้ามรดก เมื่อจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นทายาทผู้รับโอนมรดกต่อมาไม่ประสงค์ให้โจทก์อยู่ต่อไป โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิอยู่ในที่ดินอีก สัญญาจะซื้อขายที่ดินนั้นจึงไม่ใช่ข้อสำคัญอันจะมีผลให้แพ้ชนะในคดี การที่จำเลยที่ 2 ไม่เบิกความถึงสัญญาจะซื้อขายดังกล่าวจึงไม่เป็นความผิดฐานเบิกความเท็จ
ในคดีฟ้องขับไล่ไม่มีกฎหมายบังคับให้ต้องบอกกล่าวก่อนฟ้อง การบอกกล่าวจึงไม่ใช่ข้อสำคัญในคดี การที่จำเลยที่ 2 เบิกความแตกต่างจากที่พนักงานสอบสวนบันทึกไว้ จึงไม่เป็นความผิดฐานนำสืบหรือแสดงพยานหลักฐานอันเป็นเท็จ
ในคดีฟ้องขับไล่ไม่มีกฎหมายบังคับให้ต้องบอกกล่าวก่อนฟ้อง การบอกกล่าวจึงไม่ใช่ข้อสำคัญในคดี การที่จำเลยที่ 2 เบิกความแตกต่างจากที่พนักงานสอบสวนบันทึกไว้ จึงไม่เป็นความผิดฐานนำสืบหรือแสดงพยานหลักฐานอันเป็นเท็จ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 20038/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องอาญาฐานแสดงบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นเท็จ ต้องมีองค์ประกอบการกระทำผิดตาม พ.ร.บ.บริษัทฯ มาตรา 42 ที่ชัดเจน
โจทก์บรรยายฟ้องเพียงว่า จำเลยได้แสดงบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นบริษัท ก. อันเป็นเท็จว่าโจทก์ทั้งสองไม่ได้ถือหุ้นในบริษัทดังกล่าวแล้ว ทำให้โจทก์ทั้งสองเสียหายขาดประโยชน์อันควรได้จากหุ้นเท่านั้น ทั้งที่ พ.ร.บ.กำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคม และมูลนิธิ พ.ศ.2499 มาตรา 42 (1) (2) มิได้บัญญัติว่าการแสดงเอกสารอันเป็นเท็จเช่นนี้เป็นความผิดแต่อย่างใด โดยโจทก์กลับไม่บรรยายฟ้องแสดงให้เห็นว่าจำเลยเป็นผู้ที่ลงข้อความอันเป็นเท็จในบัญชีผู้ถือหุ้นหรือยินยอมให้มีการลงข้อความอันเป็นเท็จในบัญชีผู้ถือหุ้นดังกล่าว โดยจำเลยมีเจตนาพิเศษเพื่อลวงให้โจทก์ทั้งสองในฐานะผู้ถือหุ้นขาดประโยชน์อันควรได้ อันเป็นองค์ประกอบเกี่ยวกับการกระทำที่จะเป็นความผิดตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ จึงเป็นการบรรยายฟ้องที่ขาดองค์ประกอบความผิด แม้จะฟังว่าจำเลยแสดงบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นเป็นเท็จตามฟ้อง การกระทำเช่นนั้นก็ไม่เป็นความผิดที่จะลงโทษจำเลยตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 18929/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำกัดความรับผิดขนส่งทางอากาศ: การแจ้งความเสียหายและประเด็นนอกประเด็นการวินิจฉัย
จำเลยอุทธรณ์ว่าโจทก์ใช้สิทธิโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายและไม่สุจริตโดยอ้างว่า โจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องถึงที่มาแห่งสิทธิในการฟ้องคดีนี้อันเป็นปัญหาเกี่ยวกับอำนาจฟ้องของโจทก์ ทั้งโจทก์ไม่ได้นำสืบพยานหลักฐานในข้อเท็จจริงที่ทำให้โจทก์มีสิทธินำคดีขึ้นสู่ศาลนั้น เป็นอุทธรณ์ในปัญหาอำนาจฟ้องและคำฟ้องของโจทก์ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งจำเลยได้ให้การโต้แย้งในเรื่องอำนาจฟ้องและคำฟ้องเคลือบคลุมไว้แล้ว แต่ระหว่างการพิจารณาของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง จำเลยแถลงสละประเด็นข้อต่อสู้ดังกล่าว โดยกลับมาอุทธรณ์บ่ายเบี่ยงว่าเป็นการที่โจทก์ใช้สิทธิโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายและไม่สุจริตเท่านั้น อุทธรณ์ของจำเลยย่อมถือได้ว่าเป็นอุทธรณ์ในปัญหาที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง และไม่ใช่ปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 38 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง
ส่วนที่จำเลยให้การว่าจำเลยไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบรับขนของทางอากาศของจำเลย โดยตัวแทนผู้ส่งสินค้าไม่แจ้งมูลค่าสินค้าเพื่อการขนส่ง อันแสดงว่าผู้ส่งยอมรับเงื่อนไขข้อจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่ง เป็นเหตุให้จำเลยไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ แต่จำเลยไม่ได้ให้การโดยชัดแจ้งว่าผู้ส่งตกลงโดยชัดแจ้งให้จำเลยจำกัดจำนวนเงินที่ต้องรับผิดไม่เกิน 17 ดอลลาร์สิงคโปร์ ต่อน้ำหนักสินค้า 1 กิโลกรัม ตามที่จำเลยอุทธรณ์แต่อย่างใด ทั้งการจำกัดจำนวนเงินความรับผิดของผู้ขนส่งทางอากาศเช่นนี้เป็นกรณีที่คู่สัญญาจะตกลงกัน ไม่ใช่กรณีที่มีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นการเฉพาะ จึงต้องพิจารณาตามข้อเท็จจริงว่ามีการตกลงกันโดยผู้ส่งตกลงยอมรับโดยชัดแจ้งหรือไม่ เมื่อจำเลยไม่ได้ให้การไว้จึงไม่มีประเด็นข้อพิพาทที่ต้องวินิจฉัย ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางวินิจฉัยประเด็นนี้มาเป็นการวินิจฉัยพยานหลักฐานนอกประเด็นโดยไม่ชอบ ไม่ถือเป็นข้อเท็จจริงที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง
เมื่อเครื่องบินของจำเลยมาถึงท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและมีการขนถ่ายสินค้าลงจากเครื่องบินเพื่อนำเข้าเก็บในคลังสินค้าของบริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) พนักงานคลังสินค้าได้ตรวจพบความเสียหายของสินค้าก่อนนำเข้าเก็บในคลังสินค้า และได้ออกรายงานความเสียหายของสินค้าให้แก่ผู้รับตราส่งพร้อมแจ้งเจ้าหน้าที่ของจำเลยทราบแล้วในวันที่ตรวจพบความเสียหาย อันแสดงว่าจำเลยได้ทราบถึงความเสียหายตั้งแต่วันดังกล่าวแล้ว จึงหาจำเป็นที่จะต้องให้ผู้รับตราส่งแจ้งแก่จำเลยซ้ำอีกไม่
ส่วนที่จำเลยให้การว่าจำเลยไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบรับขนของทางอากาศของจำเลย โดยตัวแทนผู้ส่งสินค้าไม่แจ้งมูลค่าสินค้าเพื่อการขนส่ง อันแสดงว่าผู้ส่งยอมรับเงื่อนไขข้อจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่ง เป็นเหตุให้จำเลยไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ แต่จำเลยไม่ได้ให้การโดยชัดแจ้งว่าผู้ส่งตกลงโดยชัดแจ้งให้จำเลยจำกัดจำนวนเงินที่ต้องรับผิดไม่เกิน 17 ดอลลาร์สิงคโปร์ ต่อน้ำหนักสินค้า 1 กิโลกรัม ตามที่จำเลยอุทธรณ์แต่อย่างใด ทั้งการจำกัดจำนวนเงินความรับผิดของผู้ขนส่งทางอากาศเช่นนี้เป็นกรณีที่คู่สัญญาจะตกลงกัน ไม่ใช่กรณีที่มีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นการเฉพาะ จึงต้องพิจารณาตามข้อเท็จจริงว่ามีการตกลงกันโดยผู้ส่งตกลงยอมรับโดยชัดแจ้งหรือไม่ เมื่อจำเลยไม่ได้ให้การไว้จึงไม่มีประเด็นข้อพิพาทที่ต้องวินิจฉัย ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางวินิจฉัยประเด็นนี้มาเป็นการวินิจฉัยพยานหลักฐานนอกประเด็นโดยไม่ชอบ ไม่ถือเป็นข้อเท็จจริงที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง
เมื่อเครื่องบินของจำเลยมาถึงท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและมีการขนถ่ายสินค้าลงจากเครื่องบินเพื่อนำเข้าเก็บในคลังสินค้าของบริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) พนักงานคลังสินค้าได้ตรวจพบความเสียหายของสินค้าก่อนนำเข้าเก็บในคลังสินค้า และได้ออกรายงานความเสียหายของสินค้าให้แก่ผู้รับตราส่งพร้อมแจ้งเจ้าหน้าที่ของจำเลยทราบแล้วในวันที่ตรวจพบความเสียหาย อันแสดงว่าจำเลยได้ทราบถึงความเสียหายตั้งแต่วันดังกล่าวแล้ว จึงหาจำเป็นที่จะต้องให้ผู้รับตราส่งแจ้งแก่จำเลยซ้ำอีกไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 18806/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบรรยายฟ้องความผิด พ.ร.บ.ภาพยนตร์ฯ ต้องระบุว่าจำเลยมีหน้าที่นำภาพยนตร์เข้าตรวจพิจารณา มิฉะนั้นฟ้องไม่ชอบ
การกระทำที่จะเป็นความผิดฐานนำภาพยนตร์ออกฉาย ให้เช่า แลกเปลี่ยน หรือจำหน่ายโดยไม่ผ่านการตรวจพิจารณาและได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์และวีดิทัศน์ตาม พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ.2551 มาตรา 78 และมาตรา 25 วรรคหนึ่ง ผู้กระทำความผิดต้องมีหน้าที่นำภาพยนตร์ที่จะนำออกฉาย ให้เช่า แลกเปลี่ยน หรือจำหน่ายในราชอาณาจักรไปผ่านการตรวจพิจารณาอนุญาตจากคณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์และวีดิทัศน์ก่อน แต่โจทก์มิได้บรรยายฟ้องให้เห็นว่าจำเลยเป็นผู้มีหน้าที่ดังกล่าว คงบรรยายฟ้องแต่เพียงว่า จำเลยมีแผ่นวีซีดีและดีวีดีภาพยนตร์และวีดีทัศน์ที่ไม่ผ่านการตรวจพิจารณาและได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์และวีดิทัศน์ไว้ในครอบครองเพื่อที่จะใช้ขาย เสนอขาย ให้เช่า เสนอให้เช่า และเผยแพร่แก่บุคคลทั่วไปเท่านั้น เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยเป็นผู้มีหน้าที่ต้องนำวีซีดีและดีวีดีภาพยนตร์และวีดิทัศน์ดังกล่าวไปผ่านการตรวจพิจารณาอนุญาต การกระทำของจำเลยตามที่โจทก์บรรยายฟ้องย่อมไม่อาจเป็นการฝ่าฝืน พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ.2551 มาตรา 25 วรรคหนึ่ง อันจะเป็นความผิดตามมาตรา 78 ได้ ฟ้องของโจทก์ในความผิดฐานนี้จึงเป็นฟ้องที่มิได้บรรยายข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบของความผิด อันเป็นฟ้องที่ไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) แม้จำเลยให้การรับสารภาพ ก็ไม่อาจพิพากษาลงโทษจำเลยในข้อหาความผิดฐานนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 18803-18804/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอ้างอิงถึงผลงานผู้อื่นเพื่อสร้างสรรค์งานใหม่ ไม่ถือเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ หากมีการศึกษาและนำแนวคิดมาสร้างสรรค์
เนื้อหาในภาพยนตร์เรื่อง "เปนชู้กับผี" ไม่ถึงกับแสดงว่ามีการดัดแปลงมาจากนิยายผีของ ห. การที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 เคยให้สัมภาษณ์ว่า ได้รับแรงบันดาลใจในการสร้างภาพยนตร์จากนิยายผีของ ห. นั้น การได้แรงบันดาลใจนั้นอาจเป็นเพียงความคิดเท่านั้น ซึ่งลำพังแนวความคิดไม่ได้รับความคุ้มครองตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 6 วรรคสอง งานอันมีลิขสิทธิ์ที่จะได้รับความคุ้มครองต้องมีการนำความคิดมาแสดงออกเป็นงานแล้ว เมื่อมีแต่บางส่วนที่มีแนวความคิดคล้ายกันหรือใช้แนวความคิดของ ห. ที่ได้เป็นแรงบันดาลใจ ก็ไม่อาจฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 และที่ 3 ร่วมกันละเมิดลิขสิทธิ์โดยการดัดแปลงงานวรรณกรรมนิยายผีที่ ห. เป็นผู้สร้างสรรค์มาสร้างเป็นภาพยนตร์เรื่อง "เปนชู้กับผี"
ภาพผีไต่ลงจากเสาห้อยหัวลงปรากฏว่าเคยมีคนใช้แนวคิดลักษณะเช่นนี้มาแล้ว จึงมีลักษณะเป็นแนวคิดจินตนาการลักษณะอาการของผีให้น่ากลัว หาใช่ว่าบุคคลใดใช้แนวความคิดวาดภาพเช่นนี้แล้วจะหวงกันให้ผู้อื่นไม่มีสิทธิใช้แนวคิดนี้ไปสร้างงานของตนได้
แม้การโฆษณาอาจทำให้เข้าใจว่าภาพยนตร์เรื่องนี้สร้างจากงานวรรณกรรมของ ห. แต่โฆษณามีรายละเอียดต่อมาอีกมาก เมื่ออ่านโดยรวมแล้วเข้าใจได้ว่าเป็นการยกย่องผลงานของ ห. และจำเลยที่ 1 ได้แรงบันดาลใจจากผลงานดังกล่าว นอกจากนี้ ในฉากจบยังมีข้อความว่า "ความดีของภาพยนตร์เรื่องนี้ขออุทิศแด่ ห. บรมครูศิลปินผู้เป็นแรงบันดาลใจ" ทั้งเมื่อจำเลยที่ 1 ทราบว่าโจทก์ร่วมและโจทก์ที่ 2 เกรงว่าคนจะเข้าใจผิด ก็ได้รีบเชิญสื่อมวลชนมารับทราบว่าภาพยนตร์ดังกล่าวไม่ได้สร้างจากนิยายผีของ ห. แสดงถึงพฤติการณ์ของจำเลยที่ 1 และที่ 3 ที่ต้องการยกย่องและแสดงถึงการสร้างภาพยนตร์โดยได้แรงบันดาลใจจากงานของ ห. จึงไม่มีเหตุที่จะทำให้โจทก์ร่วมและโจทก์ที่ 2 ต้องเสียหาย
ภาพผีไต่ลงจากเสาห้อยหัวลงปรากฏว่าเคยมีคนใช้แนวคิดลักษณะเช่นนี้มาแล้ว จึงมีลักษณะเป็นแนวคิดจินตนาการลักษณะอาการของผีให้น่ากลัว หาใช่ว่าบุคคลใดใช้แนวความคิดวาดภาพเช่นนี้แล้วจะหวงกันให้ผู้อื่นไม่มีสิทธิใช้แนวคิดนี้ไปสร้างงานของตนได้
แม้การโฆษณาอาจทำให้เข้าใจว่าภาพยนตร์เรื่องนี้สร้างจากงานวรรณกรรมของ ห. แต่โฆษณามีรายละเอียดต่อมาอีกมาก เมื่ออ่านโดยรวมแล้วเข้าใจได้ว่าเป็นการยกย่องผลงานของ ห. และจำเลยที่ 1 ได้แรงบันดาลใจจากผลงานดังกล่าว นอกจากนี้ ในฉากจบยังมีข้อความว่า "ความดีของภาพยนตร์เรื่องนี้ขออุทิศแด่ ห. บรมครูศิลปินผู้เป็นแรงบันดาลใจ" ทั้งเมื่อจำเลยที่ 1 ทราบว่าโจทก์ร่วมและโจทก์ที่ 2 เกรงว่าคนจะเข้าใจผิด ก็ได้รีบเชิญสื่อมวลชนมารับทราบว่าภาพยนตร์ดังกล่าวไม่ได้สร้างจากนิยายผีของ ห. แสดงถึงพฤติการณ์ของจำเลยที่ 1 และที่ 3 ที่ต้องการยกย่องและแสดงถึงการสร้างภาพยนตร์โดยได้แรงบันดาลใจจากงานของ ห. จึงไม่มีเหตุที่จะทำให้โจทก์ร่วมและโจทก์ที่ 2 ต้องเสียหาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 18431/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องตามสัญญาขนส่งทางทะเล: โจทก์ในฐานะตัวแทนไม่มีสิทธิเรียกร้องโดยตรงจากผู้ขนส่ง
โจทก์เป็นเพียงผู้รับจัดการขนส่งสินค้าให้แก่บริษัท ว. โดยโจทก์ได้ติดต่อว่าจ้างจำเลยให้เป็นผู้ขนส่งสินค้าให้บริษัท ว. จำเลยได้รับขนส่งสินค้าโดยออกใบตราส่งระบุว่าบริษัท ว. เป็นผู้ส่งของบริษัท ม. เป็นผู้รับตราส่ง แสดงว่าจำเลยในฐานะผู้ขนส่งทำสัญญารับขนของทางทะเลกับบริษัท ว. ผู้ส่งของ โดยโจทก์เป็นตัวแทนเข้าจัดการว่าจ้างจำเลยเป็นผู้ขนส่ง อันเป็นการทำสัญญาในฐานะตัวแทนของบริษัท ว. ผู้เป็นตัวการ บริษัท ว. ในฐานะผู้ส่งของย่อมเป็นคู่สัญญารับขนของทางทะเลกับจำเลยโดยตรง โจทก์ไม่ใช่คู่สัญญาและไม่ใช่ผู้มีสิทธิรับสินค้า ส่วนตาม พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 มาตรา 28 ที่บัญญัติให้ผู้รับตราส่งจะเรียกให้ส่งมอบของได้ต่อเมื่อเวนคืนใบตราส่งแก่ผู้ขนส่งนั้น หากผู้ขนส่งมอบสินค้าไปโดยไม่ได้รับเวนคืนใบตราส่ง แม้จะเป็นการปฏิบัติผิดหน้าที่ผู้ขนส่งก็เป็นกรณีที่ผู้ขนส่งต้องรับผิดตามสัญญาขนส่ง เมื่อโจทก์มิใช่ผู้ส่งของและมิใช่ผู้รับตราส่งหรือผู้มีสิทธิรับสินค้าจากผู้ขนส่ง โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยรับผิดตามสัญญาต่อโจทก์ ส่วนกรณีที่หากบริษัท ว. ผิดสัญญาไม่ชำระหนี้แก่โจทก์ก็เป็นเรื่องที่โจทก์มีสิทธิเรียกร้องตามสัญญาว่าจ้างให้โจทก์เป็นผู้รับจัดการขนส่งและเป็นตัวแทนตามหลักกฎหมายตัวแทนต่างหาก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 18407/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ขนส่งทางทะเลต่อความเสียหายสินค้าและค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้อง
ตาม พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 มาตรา 39 มาตรา 44 และมาตรา 45 นั้น ผู้ขนส่งและผู้ขนส่งอื่นต้องรับผิดเพื่อความเสียหายอันเป็นผลจากการที่ของซึ่งได้รับมอบจากผู้ส่งของเสียหายโดยเหตุแห่งความเสียหายเกิดขึ้นในระหว่างที่ของนั้นอยู่ในความดูแลของตน จึงไม่ใช่ต้องรับผิดเพียงเฉพาะมูลค่าสินค้าที่เสียหาย แต่ยังต้องรับผิดถึงค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่ผู้รับตราส่งได้รับจากผลแห่งความเสียหายของสินค้าด้วย ค่าภาษีศุลกากรและค่าใช้จ่ายในการขนส่ง เป็นค่าใช้จ่ายที่โจทก์จำเป็นต้องจ่ายในการนำเข้าสินค้า เมื่อสินค้าเสียหายทำให้โจทก์เสียหายไม่อาจใช้ประโยชน์ได้ โจทก์ไม่อาจนำค่าใช้จ่ายดังกล่าวมาคิดเป็นต้นทุนในการขายสินค้าเพื่อให้ได้ทุนคืน และโจทก์เสียโอกาสในการขายให้ได้กำไร ดังนั้น ค่าใช้จ่ายดังกล่าวรวมทั้งค่าขาดกำไรย่อมเป็นความเสียหายที่เป็นผลจากความเสียหายของสินค้าที่จำเลยทั้งสองต้องร่วมกันรับผิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 18292/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าเสียหายจากการผิดสัญญาซื้อขาย: การคำนวณค่าขาดกำไรที่คาดว่าจะได้รับ
แม้จำเลยจะทราบว่าโจทก์ประกอบกิจการซื้อสินค้าเพื่อนำไปขายแก่ลูกค้าของโจทก์ต่อไปก็ตาม แต่ก็ไม่แน่ว่าโจทก์จะตกลงขายสินค้าแก่ลูกค้าไว้ก่อน หรือมีข้อผูกพันที่จะต้องชำระค่าปรับแก่ลูกค้าของโจทก์แล้วหรือไม่ การที่จำเลยไม่ส่งสินค้าแก่โจทก์ตามสัญญาซื้อขาย จนเป็นเหตุให้โจทก์ต้องชำระค่าปรับแก่ลูกค้าของโจทก์ จึงมิใช่ค่าเสียหายที่คาดหมายไว้ว่าจะต้องเกิดขึ้นเสมอไปอันถือได้ว่าเป็นค่าเสียหายในพฤติการณ์พิเศษซึ่งจำเลยจะต้องรับผิดต่อเมื่อได้คาดหมายหรือควรคาดหมายถึงพฤติการณ์เช่นนั้นก่อนแล้ว ทั้งตามพยานหลักฐานของโจทก์ฟังไม่ได้ว่าจำเลยได้ทราบหรือคาดคิดหรือควรคาดคิดมาก่อนแล้วว่าหากจำเลยไม่ส่งสินค้าให้โจทก์แล้ว โจทก์ต้องเสียค่าปรับแก่ลูกค้า จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดในความเสียหายส่วนนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 222 วรรคสอง