พบผลลัพธ์ทั้งหมด 423 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 16078/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลผูกพันสัญญาโอนสิทธิและสัญญาเพื่อประโยชน์แก่บุคคลภายนอก สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากผู้รับโอน
โจทก์ทำสัญญาจะซื้อจะขายห้องชุดในโครงการอาคารชุดของจำเลยที่ 1 และสัญญาจะซื้อจะขายเฟอร์นิเจอร์กับจำเลยที่ 1 ซึ่งในการพิจารณาว่าจำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายผิดสัญญาจะซื้อจะขายโครงการก่อสร้างอาคารชุดไม่แล้วเสร็จภายในกำหนดเวลาตามสัญญาหรือไม่ ย่อมต้องพิจารณาสัญญาจะซื้อจะขายห้องชุดประกอบสัญญาจะซื้อจะขายเฟอร์นิเจอร์ร่วมด้วย ต่อมาเมื่อจำเลยที่ 1 ทำสัญญาโอนขายสัญญาดังกล่าวให้แก่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นกรรมการผู้มีอำนาจทำการแทนจำเลยที่ 3 โดยในสัญญาโอนขายมีข้อตกลงให้จำเลยที่ 3 ต้องร่วมรับผิดต่อลูกค้าเดิมของจำเลยที่ 1 รวมทั้งโจทก์ และจำเลยที่ 2 ตกลงกับจำเลยที่ 1 ให้มีการเปลี่ยนตัวผู้รับโอนกรรมสิทธิ์อาคารชุดจากจำเลยที่ 2 เป็นจำเลยที่ 3 เป็นผลให้มีการทำสัญญาจะซื้อจะขายโครงการดังกล่าวทั้งหมดกันใหม่ระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 3 กรณีถือว่าการที่จำเลยที่ 1 ทำสัญญาจะซื้อจะขายห้องชุดกับโจทก์ ต่อมาจำเลยที่ 1 โอนขายสิทธิตามสัญญาดังกล่าวให้จำเลยที่ 2 และมีการเปลี่ยนตัวผู้รับโอนกรรมสิทธิ์อาคารชุดจากจำเลยที่ 2 เป็นจำเลยที่ 3 โดยจำเลยที่ 1 ก็ตกลงยินยอมด้วย เมื่อข้อตกลงในสัญญาซื้อขายระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 มีข้อสัญญาให้จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดต่อลูกค้าทุกราย และสัญญาระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 3 ก็มีข้อตกลงที่จำเลยที่ 3 ต้องรับโอนสิทธิเรียกร้องของคู่สัญญาที่เป็นลูกค้าของจำเลยที่ 1 ผู้จะขายทุกรายมาด้วยและเมื่อพิจารณาประกอบกันทั้งสองสัญญาแล้วถือว่า สัญญาที่จำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 3 ทำสัญญาดังกล่าวกับจำเลยที่ 1 โดยมีข้อตกลงว่า จำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 3 จะชำระหนี้ให้แก่ลูกค้าทุกรายรวมทั้งโจทก์ จึงเป็นสัญญาเพื่อประโยชน์แก่โจทก์ ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกตาม ป.พ.พ. มาตรา 374 วรรคหนึ่ง เมื่อโจทก์มีหนังสือว่าจะถือประโยชน์จากสัญญาดังกล่าวแก่จำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 3 แล้ว โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 3 รวมทั้งจำเลยที่ 1 คู่สัญญาเดิมร่วมกันรับผิดชดใช้ค่าเสียหายต่าง ๆ แก่โจทก์ได้ตามมาตรา 374 วรรคสอง
ส่วนที่โจทก์มีคำขอให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ร่วมกันทำนิติกรรมจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดให้แก่โจทก์นั้น เมื่อฟังว่าจำเลยที่ 3 ผู้เดียวเป็นผู้รับโอนกรรมสิทธิ์อาคารชุดทั้งโครงการมาจากจำเลยที่ 1 แล้ว และเป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ในอาคารชุดพิพาทเพียงผู้เดียว สภาพแห่งหนี้จึงเปิดช่องให้เฉพาะจำเลยที่ 3 เท่านั้น ที่มีหน้าที่ต้องทำนิติกรรมการโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดให้โจทก์
ส่วนที่โจทก์มีคำขอให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ร่วมกันทำนิติกรรมจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดให้แก่โจทก์นั้น เมื่อฟังว่าจำเลยที่ 3 ผู้เดียวเป็นผู้รับโอนกรรมสิทธิ์อาคารชุดทั้งโครงการมาจากจำเลยที่ 1 แล้ว และเป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ในอาคารชุดพิพาทเพียงผู้เดียว สภาพแห่งหนี้จึงเปิดช่องให้เฉพาะจำเลยที่ 3 เท่านั้น ที่มีหน้าที่ต้องทำนิติกรรมการโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดให้โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15502/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขนส่งสินค้าทางทะเล: ข้อจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งตาม พ.ร.บ.การขนส่งทางทะเล
ผู้มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายเอาจากผู้ขนส่งตามสัญญารับขนของทางทะเลเนื่องจากสินค้าที่ขนส่งสูญหาย เสียหาย หรือมีการส่งมอบชักช้านั้น ไม่จำเป็นต้องเป็นคู่สัญญากับผู้ขนส่งเสมอไป ผู้ทรงใบตราส่งโดยชอบจึงย่อมเป็นผู้มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายเอาจากผู้ขนส่งได้ ดังนั้น แม้โจทก์จะได้ส่งมอบใบตราส่งซึ่งระบุชื่อผู้ซื้อเป็นผู้รับตราส่งให้แก่ผู้ซื้อแล้ว แต่ก็ปรากฏตามใบตราส่งว่ามีการลงลายมือชื่อและประทับตราของบริษัท ฮ. ผู้มีชื่อเป็นผู้รับตราส่งที่ด้านหลังใบตราส่งและไม่ได้เวนคืนใบตราส่งแก่จำเลย แต่ได้ส่งมอบใบตราส่งนั้นให้แก่โจทก์ ถือว่าผู้ซื้อได้มีการสลักหลังลอยลงในใบตราส่งโอนสิทธิตามใบตราส่งนั้นให้แก่โจทก์ โจทก์จึงอยู่ในฐานะผู้ทรงใบตราส่งโดยชอบแล้ว โจทก์ย่อมเป็นผู้มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายเอาจากจำเลยผู้ขนส่งได้ไม่ว่าโจทก์จะเป็นคู่สัญญาในสัญญารับขนของทางทะเลหรือไม่ก็ตาม โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
ตาม พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 มาตรา 36 เป็นเรื่องที่ผู้ส่งของสั่งผู้ขนส่งให้งดการส่งของ ส่งกลับคืนมา ระงับการส่งมอบแก่ผู้รับตราส่ง หรือจัดการของนั้นเป็นประการอื่นใดก่อนจะขนส่งออกไปถึงท่าปลายทางหรือก่อนจะส่งมอบของแก่ผู้รับตราส่ง ซึ่งผู้ส่งของต้องเวนคืนใบตราส่งทั้งหมดแก่ผู้ขนส่ง เนื่องจากเป็นการเปลี่ยนแปลงข้อตกลงในการขนส่งตามสัญญาที่ระบุในใบตราส่งอันถือเป็นหลักฐานแห่งสัญญารับขนของทางทะเล การใช้สิทธิของผู้ส่งของตามมาตรา 36 นี้ ผู้ส่งของต้องยังเป็นผู้ยึดถือครอบครองใบตราส่งอยู่ มิฉะนั้นก็ไม่อาจจะมีใบตราส่งเวนคืนแก่ผู้ขนส่งได้ มาตรา 36 ไม่ได้ใช้บังคับในกรณีที่โจทก์ในฐานะผู้ทรงใบตราส่งจะใช้สิทธิเรียกร้องเอาค่าเสียหายเนื่องจากการที่ของหรือสินค้าที่ขนส่งสูญหายซึ่งปรากฏเมื่อเรือที่ขนส่งสินค้าถึงปลายทางแล้วอย่างในคดีนี้ การใช้สิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงไม่อยู่ในบังคับบทบัญญัติมาตรา 36 ที่ต้องเวนคืนใบตราส่งทั้งหมดที่ออกให้แก่กันไว้แก่ผู้ขนส่ง
โจทก์ผู้ส่งของได้ส่งมอบสินค้าที่ขนส่งแก่จำเลยหรือตัวแทนของจำเลยครบถ้วนเรียบร้อยแล้ว แต่เมื่อเรือที่ขนส่งสินค้าถึงปลายทางปรากฏว่าสินค้าสูญหายไปทั้งหมด ถือว่าเหตุแห่งการเสียหายของสินค้าเกิดขึ้นในระหว่างที่สินค้าอยู่ในความดูแลของจำเลยผู้ขนส่งหรือตัวแทนหรือลูกจ้างของจำเลย และไม่ปรากฏเหตุตามมาตรา 51 ถึงมาตรา 57 แห่ง พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 ที่เป็นเหตุยกเว้นความรับผิดของจำเลยในฐานะผู้ขนส่ง จำเลยจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ผู้ทรงใบตราส่ง ตามมาตรา 39 และ 43 แห่ง พ.ร.บ. ดังกล่าว
การรับขนส่งสินค้าของจำเลยเป็นแบบ "CFS/CFS" ที่จำเลยมีหน้าที่นำสินค้าเข้าบรรจุในตู้สินค้า และสินค้าตามคำฟ้องมีจำนวนน้อย มีโอกาสที่จะมีการบรรจุสินค้าของบุคคลอื่นอีกจำนวนมากที่นำเข้ารวมไว้ในตู้สินค้านี้ ความผิดพลาดในการบรรจุสินค้าเข้าตู้สินค้าจึงอาจเกิดขึ้นได้ การไม่ได้นำสินค้าบรรจุเข้าตู้สินค้าจึงถือได้ว่าเป็นความประมาทเลินเล่อของจำเลยหรือตัวแทนซึ่งจำเลยในฐานะผู้ขนส่งต้องรับผิด แต่เมื่อตามพยานหลักฐานของโจทก์ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงอื่นใดที่แสดงว่าจำเลยหรือตัวแทนมีพฤติการณ์อื่นใดที่ถึงขนาดเป็นการประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงอันจะรับฟังได้ว่า เป็นการละเลยหรือไม่เอาใจใส่ในการดูแลรักษาสินค้าที่ขนส่ง จึงไม่อาจถือได้ว่าการสูญหายของสินค้าที่ขนส่งเป็นผลมาจากการละเลยหรือไม่เอาใจใส่ของจำเลยหรือตัวแทนทั้งที่รู้ว่าการสูญหายของสินค้าอาจเกิดขึ้นได้ ตาม พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 มาตรา 60 (1) ความรับผิดของจำเลยจึงอยู่ในบังคับของมาตรา 58 จำเลยจึงรับผิดต่อโจทก์เพียงจำนวนเงินตามข้อจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่ง กับดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่จำเลยผิดนัดคือนับแต่วันที่ล่วงเลยกำหนดเวลาที่จำเลยควรส่งมอบสินค้า
ตาม พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 มาตรา 36 เป็นเรื่องที่ผู้ส่งของสั่งผู้ขนส่งให้งดการส่งของ ส่งกลับคืนมา ระงับการส่งมอบแก่ผู้รับตราส่ง หรือจัดการของนั้นเป็นประการอื่นใดก่อนจะขนส่งออกไปถึงท่าปลายทางหรือก่อนจะส่งมอบของแก่ผู้รับตราส่ง ซึ่งผู้ส่งของต้องเวนคืนใบตราส่งทั้งหมดแก่ผู้ขนส่ง เนื่องจากเป็นการเปลี่ยนแปลงข้อตกลงในการขนส่งตามสัญญาที่ระบุในใบตราส่งอันถือเป็นหลักฐานแห่งสัญญารับขนของทางทะเล การใช้สิทธิของผู้ส่งของตามมาตรา 36 นี้ ผู้ส่งของต้องยังเป็นผู้ยึดถือครอบครองใบตราส่งอยู่ มิฉะนั้นก็ไม่อาจจะมีใบตราส่งเวนคืนแก่ผู้ขนส่งได้ มาตรา 36 ไม่ได้ใช้บังคับในกรณีที่โจทก์ในฐานะผู้ทรงใบตราส่งจะใช้สิทธิเรียกร้องเอาค่าเสียหายเนื่องจากการที่ของหรือสินค้าที่ขนส่งสูญหายซึ่งปรากฏเมื่อเรือที่ขนส่งสินค้าถึงปลายทางแล้วอย่างในคดีนี้ การใช้สิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงไม่อยู่ในบังคับบทบัญญัติมาตรา 36 ที่ต้องเวนคืนใบตราส่งทั้งหมดที่ออกให้แก่กันไว้แก่ผู้ขนส่ง
โจทก์ผู้ส่งของได้ส่งมอบสินค้าที่ขนส่งแก่จำเลยหรือตัวแทนของจำเลยครบถ้วนเรียบร้อยแล้ว แต่เมื่อเรือที่ขนส่งสินค้าถึงปลายทางปรากฏว่าสินค้าสูญหายไปทั้งหมด ถือว่าเหตุแห่งการเสียหายของสินค้าเกิดขึ้นในระหว่างที่สินค้าอยู่ในความดูแลของจำเลยผู้ขนส่งหรือตัวแทนหรือลูกจ้างของจำเลย และไม่ปรากฏเหตุตามมาตรา 51 ถึงมาตรา 57 แห่ง พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 ที่เป็นเหตุยกเว้นความรับผิดของจำเลยในฐานะผู้ขนส่ง จำเลยจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ผู้ทรงใบตราส่ง ตามมาตรา 39 และ 43 แห่ง พ.ร.บ. ดังกล่าว
การรับขนส่งสินค้าของจำเลยเป็นแบบ "CFS/CFS" ที่จำเลยมีหน้าที่นำสินค้าเข้าบรรจุในตู้สินค้า และสินค้าตามคำฟ้องมีจำนวนน้อย มีโอกาสที่จะมีการบรรจุสินค้าของบุคคลอื่นอีกจำนวนมากที่นำเข้ารวมไว้ในตู้สินค้านี้ ความผิดพลาดในการบรรจุสินค้าเข้าตู้สินค้าจึงอาจเกิดขึ้นได้ การไม่ได้นำสินค้าบรรจุเข้าตู้สินค้าจึงถือได้ว่าเป็นความประมาทเลินเล่อของจำเลยหรือตัวแทนซึ่งจำเลยในฐานะผู้ขนส่งต้องรับผิด แต่เมื่อตามพยานหลักฐานของโจทก์ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงอื่นใดที่แสดงว่าจำเลยหรือตัวแทนมีพฤติการณ์อื่นใดที่ถึงขนาดเป็นการประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงอันจะรับฟังได้ว่า เป็นการละเลยหรือไม่เอาใจใส่ในการดูแลรักษาสินค้าที่ขนส่ง จึงไม่อาจถือได้ว่าการสูญหายของสินค้าที่ขนส่งเป็นผลมาจากการละเลยหรือไม่เอาใจใส่ของจำเลยหรือตัวแทนทั้งที่รู้ว่าการสูญหายของสินค้าอาจเกิดขึ้นได้ ตาม พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 มาตรา 60 (1) ความรับผิดของจำเลยจึงอยู่ในบังคับของมาตรา 58 จำเลยจึงรับผิดต่อโจทก์เพียงจำนวนเงินตามข้อจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่ง กับดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่จำเลยผิดนัดคือนับแต่วันที่ล่วงเลยกำหนดเวลาที่จำเลยควรส่งมอบสินค้า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15436/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานสำแดงเท็จในการนำเข้าสินค้า แม้ไม่มีเจตนาหรือประมาทเลินเล่อ ก็ยังถือเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ศุลกากร
ความผิดฐานสำแดงเท็จในการยื่นตราสารอันเกี่ยวด้วย พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ในการนำเข้าสินค้าตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 99 มี พ.ร.บ.ศุลกากร (ฉบับที่ 9) พ.ศ.2482 มาตรา 16 บัญญัติว่า "การกระทำที่บัญญัติไว้ใน... มาตรา 99 แห่ง พ.ร.บ.ศุลกากร พุทธศักราช 2469 นั้น ให้ถือว่าเป็นความผิดโดยมิพักต้องคำนึงว่าผู้กระทำมีเจตนาหรือกระทำโดยประมาทเลินเล่อหรือหาไม่" แสดงให้เห็นว่า ความรับผิดของผู้กระทำความผิดตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 99 เป็นความรับผิดเด็ดขาด แม้ผู้กระทำมิได้มีเจตนาในการกระทำความผิดโดยผู้กระทำมิได้รู้ว่าตราสารที่ยื่นต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ในการนำเข้าสินค้านั้นได้สำแดงข้อความอันเป็นเท็จ หรือผู้กระทำได้กระทำโดยประมาทเลินเล่อในการยื่นตราสารซึ่งสำแดงข้อความอันเป็นเท็จนั้น ผู้กระทำก็ยังคงมีความผิดตามมาตรา 99 แห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าว
แม้จำเลยทั้งสามเป็นเพียงผู้รับจ้างทำพิธีการศุลกากร ไม่ใช่ผู้สั่งซื้อสินค้าหรือเจ้าของสินค้า และขณะยื่นใบขนสินค้าและการสำแดงใด ๆ เกี่ยวกับการนำเข้าและส่งออกซึ่งสินค้าบุหรี่ดังกล่าวนั้นบรรจุอยู่ในตู้คอนเทนเนอร์และอยู่ในอารักขาของกรมศุลกากร จำเลยทั้งสามจะไม่ทราบว่าสินค้าบุหรี่ดังกล่าวเป็นสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าปลอมก็ตาม แต่เมื่อความผิดตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 99 เป็นความผิดที่แม้ผู้กระทำไม่มีเจตนาหรือมิได้กระทำโดยประมาท ผู้กระทำการยื่นใบขนสินค้าขาเข้าที่สำแดงข้อความอันเป็นเท็จต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก็ยังคงมีความผิดตาบทบัญญัติดังกล่าว เป็นหน้าที่ของจำเลยทั้งสามต้องตรวจสอบข้อความในใบขนสินค้าขาเข้าที่สำแดงให้ตรงกับความเป็นจริงก่อนยื่นเอกสาร
แม้จำเลยทั้งสามเป็นเพียงผู้รับจ้างทำพิธีการศุลกากร ไม่ใช่ผู้สั่งซื้อสินค้าหรือเจ้าของสินค้า และขณะยื่นใบขนสินค้าและการสำแดงใด ๆ เกี่ยวกับการนำเข้าและส่งออกซึ่งสินค้าบุหรี่ดังกล่าวนั้นบรรจุอยู่ในตู้คอนเทนเนอร์และอยู่ในอารักขาของกรมศุลกากร จำเลยทั้งสามจะไม่ทราบว่าสินค้าบุหรี่ดังกล่าวเป็นสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าปลอมก็ตาม แต่เมื่อความผิดตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 99 เป็นความผิดที่แม้ผู้กระทำไม่มีเจตนาหรือมิได้กระทำโดยประมาท ผู้กระทำการยื่นใบขนสินค้าขาเข้าที่สำแดงข้อความอันเป็นเท็จต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก็ยังคงมีความผิดตาบทบัญญัติดังกล่าว เป็นหน้าที่ของจำเลยทั้งสามต้องตรวจสอบข้อความในใบขนสินค้าขาเข้าที่สำแดงให้ตรงกับความเป็นจริงก่อนยื่นเอกสาร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15080/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องค่าเสียหายจากการขนส่งทางทะเล: การส่งมอบสินค้าแก่ท่าเรือปลายทางเป็นจุดเริ่มต้นนับอายุความ
ตาม พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 มาตรา 46 บัญญัติถึงอายุความสิทธิเรียกร้องเอาค่าเสียหายเพื่อการเสียหายของสินค้าที่รับขนตามสัญญารับขนของทางทะเล ในกรณีที่มีการส่งมอบ ถ้าไม่ได้ฟ้องคดีต่อศาลหรือเสนอข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการชี้ขาดภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ผู้ขนส่งได้ส่งมอบของให้เป็นอันขาดอายุความ และมาตรา 40 บัญญัติว่า ในกรณีดังต่อไปนี้ให้ถือว่า ผู้ขนส่งได้ส่งมอบของซึ่งตนได้รับไว้แล้ว... (3) ผู้ขนส่งได้มอบของไว้กับเจ้าหน้าที่หรือบุคคลใด ๆ ซึ่งกฎหมายหรือกฎข้อบังคับที่ใช้อยู่ ณ ท่าปลายทางกำหนดให้ผู้ขนส่งต้องมอบของที่ขนถ่ายขึ้นจากเรือไว้กับเจ้าหน้าที่หรือบุคคลดังกล่าว จำเลยที่ 1 ให้การยกอายุความนี้ขึ้นต่อสู้ว่า จำเลยที่ 1 ผู้ขนส่งได้ส่งมอบสินค้าแก่ท่าเรือปลายทางแล้วเมื่อวันที่ 14 มกราคม 2550 ตาม พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล ฯ มาตรา 40 (3) และโจทก์ฟ้องคดีนี้เกินกว่า 1 ปี นับแต่วันส่งมอบดังกล่าว โดยปรากฏตามรายงานการสำรวจสินค้าของผู้ประกอบการท่าเรือปลายทางว่า เจ้าหน้าที่ท่าเรือได้ตรวจสินค้าตามฟ้องที่ขนถ่ายขึ้นจากเรือเมื่อวันที่ 13 มกราคม 2550 เมื่อท่าเรือปลายทางนี้มีกฎเกณฑ์ข้อบังคับที่ใช้ปฏิบัติว่า จำเลยที่ 1 ผู้ขนส่งต้องส่งมอบสินค้าตามฟ้องที่ขนส่งมากับเรือแก่เจ้าหน้าที่ท่าเรือปลายทางจึงจะถือเป็นการส่งมอบของตาม พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล ฯ มาตรา 40 (3) ดังนั้น ที่โจทก์มารับสินค้าภายหลังจากวันที่จำเลยที่ 1 ส่งมอบสินค้าแก่เจ้าหน้าที่ท่าเรือ ทำให้โจทก์ทราบถึงความเสียหายของสินค้าในภายหลัง โจทก์ยังคงต้องฟ้องคดีภายใน 1 ปี นับแต่วันที่จำเลยที่ 1 ส่งมอบสินค้าแก่เจ้าหน้าที่ท่าเรืออันถือเป็นการส่งมอบของตามมาตรานี้ ซึ่งเป็นวันเริ่มนับอายุความ 1 ปี ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 46 จำเลยที่ 1 ส่งมอบสินค้าแก่เจ้าหน้าที่ท่าเรือเสร็จสิ้นวันที่ 14 มกราคม 2550 แต่โจทก์ฟ้องคดีวันที่ 21 มกราคม 2551 อันเป็นเวลาเกินกว่า 1 ปี จึงขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14839/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นิติกรรมอำพรางการกู้ยืมเงิน โดยเรียกดอกเบี้ยเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด
เมื่อ บ. ทำสัญญาเช่าซื้อทองคำในราคา 16,500 บาท แล้ว ในวันเดียวกัน บ. นำสร้อยคอทองคำไปขายที่ร้าน ว. ได้เงิน 11,437 บาท ส่วน ส. ทำสัญญาเช่าซื้อทองคำในราคา 16,603 บาท แล้วนำไปขายที่ร้าน ว. ได้เงิน 10,000 บาท การที่ บ. และ ส. ขายทองคำที่ได้รับมาไปในทันที โดย บ. และ ส. ต้องผ่อนชำระวันละ 95 บาท เป็นเวลา 174 วัน และ 175 วัน ตามลำดับ เชื่อได้ว่า บ. และ ส. ต้องการเงินจากบริษัท จ. เท่านั้น ไม่มีเจตนาเช่าซื้อทองคำไว้เป็นของตน ดังนั้น นิติสัมพันธ์ที่แท้จริงจึงเป็นเรื่องการกู้ยืมเงินมิใช่การเช่าซื้อ แม้มีการทำสัญญาเช่าซื้อก็เป็นเพียงนิติกรรมอำพรางการกู้ยืมเงินที่แท้จริง โดยการกู้ยืมเงินดังกล่าวคิดผลประโยชน์เป็นดอกเบี้ยไม่น้อยกว่าอัตราร้อยละ 80 ต่อปี เกินอัตราร้อยละ 15 ต่อปี จำเลยทั้งสองจึงมีความผิดฐานร่วมกับพวกให้กู้ยืมเงินโดยเรียกดอกเบี้ยเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13878/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายลิขสิทธิ์ที่แท้จริงเป็นสัญญาอนุญาตใช้ลิขสิทธิ์ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องละเมิดลิขสิทธิ์
การตีความการแสดงเจตนาในการทำสัญญาขายลิขสิทธิ์เพลงระหว่าง ฉ. ในฐานะผู้จัดการมรดกและผู้รับมรดกของ พ. ผู้แต่งทำนองและคำร้องเพลงซึ่งเป็นงานดนตรีกรรมอันมีลิขสิทธิ์กับโจทก์ลงวันที่ 5 มกราคม 2516 และการตีความการแสดงเจตนาในการทำสัญญาขายลิขสิทธิ์เพลงระหว่าง ฉ. ในฐานะผู้จัดการมรดกและผู้รับมรดกของ พ. ดังกล่าวกับจำเลยที่ 1 ลงวันที่ 17 เมษายน 2518 ว่าเป็นสัญญาโอนลิขสิทธิ์เพลงหรือสัญญาอนุญาตให้ใช้ลิขสิทธิ์เพลงต้องเพ่งเล็งถึงเจตนาอันแท้จริงของคู่สัญญายิ่งกว่าถ้อยคำสำนวนหรือตัวอักษรที่ปรากฏในสัญญาดังกล่าว ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 171 การค้นหาเจตนาที่แท้จริงของคู่สัญญาต้องพิจารณาจากพฤติการณ์ต่างๆ ที่คู่สัญญาปฏิบัติต่อกันภายหลังจากทำสัญญานั้น ไม่อาจถือตามชื่อสัญญาได้เพราะข้อความในสัญญาและพฤติการณ์ที่คู่สัญญาปฏิบัติต่อกันภายหลังจากทำสัญญาอาจไม่เป็นไปตามชื่อสัญญานั้นก็เป็นได้ สำหรับสัญญาระหว่าง ฉ. ในฐานะผู้จัดการมรดกและผู้รับมรดกของ พ. ผู้แต่งทำนองและคำร้องเพลงซึ่งเป็นงานดนตรีกรรมอันมีลิขสิทธิ์กับโจทก์ แม้ข้อความในสัญญาลงวันที่ 5 มกราคม 2516 จะระบุว่า ฉ. ผู้จัดการมรดกของ พ. ได้ขายลิขสิทธิ์เพลงทั้งหมดของ พ.ให้แก่โจทก์เพื่อทำแผ่นเสียง-เทปและประโยชน์อื่นๆ โดย ฉ. ได้รับค่าตอบแทนไปแล้วจำนวน 200,000 บาท ก็ตาม แต่ปรากฏต่อมาเมื่อวันที่ 24 เมษายน 2538 ว่า ฉ. ในฐานะผู้จัดการมรดกของ พ. ได้ทำสัญญาโอนลิขสิทธิ์ในคำร้องและหรือทำนองเพลงทั้งหมดจากบทประพันธ์ของ พ. ให้แก่บริษัท ม. ซึ่งโจทก์เป็นกรรมการบริษัทผู้มีอำนาจ โดย ฉ. ได้รับค่าตอบแทนจำนวน 300,000 บาท จากบริษัทดังกล่าวอีก ดังนี้ หากสัญญาลงวันที่ 5 มกราคม 2516 เป็นสัญญาที่ ฉ. โอนลิขสิทธิ์เพลงทั้งหมดที่ พ. แต่งให้แก่โจทก์ก็ไม่มีเหตุผลใดที่โจทก์ในฐานะกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนบริษัท ม. จะต้องทำสัญญาลงวันที่ 24 เมษายน 2538 ซื้อลิขสิทธิ์เพลงทั้งหมดที่ พ. แต่งจาก ฉ. โดยจ่ายค่าแห่งลิขสิทธิ์จำนวน 300,000 บาท ให้แก่ ฉ. อีก เพราะลิขสิทธิ์ในเพลงที่ พ. แต่งทั้งหมดตกเป็นของโจทก์ตามสัญญาลงวันที่ 5 มกราคม 2516 แล้ว แสดงให้เห็นว่าลิขสิทธิ์ในเพลงดังกล่าวมิได้ตกเป็นของโจทก์แต่ยังคงเป็นลิขสิทธิ์ของ ฉ. ทายาท พ. แต่เพียงผู้เดียว ดังนี้ เจตนาในการทำสัญญาระหว่าง ฉ. กับโจทก์จึงเป็นเพียงเจตนาที่ ฉ. อนุญาตให้โจทก์ใช้ลิขสิทธิ์ในเพลงที่ พ. แต่งเท่านั้น ไม่ได้เจตนาโอนลิขสิทธิ์ในเพลงดังกล่าวให้แก่โจทก์แต่อย่างใด การที่โจทก์ในฐานะกรรมการผู้มีอำนาจกระทำแทนบริษัท ม. เข้าทำสัญญารับโอนลิขสิทธิ์เพลงที่ พ. แต่งตามสัญญาลงวันที่ 24 เมษายน 2538 จาก ฉ. แสดงให้เห็นว่าโจทก์ทราบดีในขณะทำสัญญาลงวันที่ 5 มกราคม 2516 ว่าโจทก์เป็นเพียงผู้รับอนุญาตให้ใช้ลิขสิทธิ์ในเพลงที่ พ. แต่งเท่านั้น ส่วนสัญญาที่ ฉ. ขายลิขสิทธิ์ในเพลงทั้งหมดที่ พ. แต่งให้แก่จำเลยที่ 1 ลงวันที่ 17 เมษายน 2518 นั้น ก็ปรากฏต่อมาว่า เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2521 ฉ. ได้ขายลิขสิทธิ์เพลงที่ พ. แต่งจำนวน 12 เพลง และจำนวน 6 เพลง ให้แก่ห้างหุ้นส่วนจำกัด ผ. ซึ่งมีจำเลยที่ 1 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการอีก ซึ่งหากจำเลยที่ 1 ได้รับโอนลิขสิทธิ์เพลงของ พ. ทั้งหมดมาแล้วตามสัญญาลงวันที่ 17 เมษายน 2518 ที่ระบุไว้ในข้อ 1 ว่า ฉ. ผู้ขายซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกและเป็นผู้รับมรดกของ พ. แต่เพียงผู้เดียวตกลงโอนขายสิทธิเพลงทั้งหมดของ พ. ตลอดอายุลิขสิทธิ์จริง จำเลยที่ 1 ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการห้างหุ้นส่วนจำกัด ผ. ก็หาจำต้องซื้อลิขสิทธิ์เพลงของ พ. จาก ฉ. อีก จำเลยที่ 1 สามารถอนุญาตให้ห้างหุ้นส่วนจำกัด ผ. ใช้ลิขสิทธิ์ในเพลงนั้นได้อยู่แล้ว แสดงให้เห็นว่าในขณะทำสัญญาลงวันที่ 17 เมษายน 2518 ทั้ง ฉ. และจำเลยที่ 1 มีเจตนาตรงกัน กล่าวคือจำเลยที่ 1 มีเจตนาเพียงขออนุญาตใช้ลิขสิทธิ์เพลงที่ พ. แต่งจาก ฉ. ผู้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์เพลงดังกล่าวในฐานะทายาทของ พ. เท่านั้น มิได้มีเจตนาซื้อลิขสิทธิ์เพลงจาก ฉ. แต่อย่างใด ลิขสิทธิ์เพลงทั้งหมดที่ พ. แต่งในขณะทำสัญญาเมื่อวันที่ 17 เมษายน 2518 และวันที่ 7 กรกฎาคม 2521 จึงยังคงเป็นของ ฉ. ดังนี้ สัญญาโอนขายลิขสิทธิ์เพลงลงวันที่ 17 เมษายน 2518 จึงเป็นสัญญาโอนลิขสิทธิ์เพลงแต่เพียงชื่อ แต่ที่แท้จริงสัญญาดังกล่าวเป็นสัญญาอนุญาตให้ใช้ลิขสิทธิ์เพลงที่ พ. แต่งเท่านั้น เมื่อลิขสิทธิ์ในเพลงที่ พ. แต่งทั้งหมดยังคงเป็นของ ฉ. ในขณะทำสัญญาขายลิขสิทธิ์เพลงลงวันที่ 5 มกราคม 2516 และสัญญาขายลิขสิทธิ์เพลงลงวันที่ 17 เมษายน 2518 เป็นเพียงสัญญาอนุญาตให้ใช้ลิขสิทธิ์ ไม่ใช่สัญญาโอนลิขสิทธิ์ โจทก์จึงไม่ได้ลิขสิทธิ์ในเพลงทั้งหมดดังกล่าวมาตามสัญญาลงวันที่ 5 มกราคม 2516 โจทก์ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองว่าจำเลยทั้งสองละเมิดลิขสิทธิ์ในงานดนตรีกรรมที่ พ. แต่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13853/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของกรรมการและผู้ชำระบัญชีในหนี้ภาษี และการดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลภาษีอากร
ในกรณีมีปัญหาว่าคดีใดจะอยู่ในอำนาจของศาลภาษีอากรหรือศาลยุติธรรมอื่นให้ประธานศาลฎีกาเป็นผู้วินิจฉัย เมื่อมีประเด็นดังกล่าวตามคำร้องขอแก้ไขคำให้การของจำเลยที่ 2 การที่ศาลภาษีอากรกลางไม่ส่งเรื่องให้ประธานศาลฎีกาวินิจฉัยจึงเป็นการพิจารณาที่ผิดระเบียบ แต่เมื่อจำเลยที่ 2 มิได้ยกเรื่องกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบขึ้นกล่าวอ้างก่อนศาลภาษีอากรกลางมีคำพิพากษา ถือว่าจำเลยที่ 2 ให้สัตยาบันแล้ว จึงไม่มีสิทธิที่จะยกประเด็นดังกล่าวขึ้นอุทธรณ์
หนังสือรับรองการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลของจำเลยที่ 1 ซึ่งระบุว่าจำเลยที่ 2 เป็นผู้ชำระบัญชีเป็นเอกสารมหาชน จึงต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่าแท้จริงและถูกต้อง จำเลยที่ 2 อ้างว่ามิได้เป็นผู้ชำระบัญชีเนื่องจากถูกปลอมลายมือชื่อ จำเลยที่ 2 มีหน้าที่นำสืบ เมื่อจำเลยที่ 2 นำสืบเพียงแต่เบิกความลอยๆ จึงไม่มีน้ำหนักหักล้างข้อสันนิษฐานของกฎหมาย ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยที่ 2 เป็นผู้ชำระบัญชีของจำเลยที่ 1 และการที่จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ชำระบัญชีรู้อยู่แล้วว่าจำเลยที่ 1 เป็นหนี้ภาษี กลับไม่กันเงินที่จะนำไปชำระหนี้ภาษี ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะผู้ชำระบัญชีจึงต้องรับผิดในความเสียหายที่โจทก์ไม่ได้รับชำระหนี้ค่าภาษีและเงินเพิ่ม แต่เงินเพิ่มมิให้เกินกว่าจำนวนภาษีที่จำเลยที่ 1 ต้องชำระ และไม่เกินกว่าเงินสดคงเหลือที่จำเลยที่ 1 มีอยู่ในวันจดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชี
การที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 2 รับผิดในฐานะผู้ชำระบัญชี จำเลยที่ 1 จดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชีเมื่อวันที่ 23 กันยายน 2547 จึงมีอายุความสองปีนับแต่วันถึงที่สุดแห่งการชำระบัญชี แต่โจทก์มีหนังสือแจ้งจำเลยที่ 1 และที่ 2 ให้นำส่งภาษี ซึ่งถือได้ว่าเป็นการสั่งบังคับตามอำนาจกฎหมายอันมีผลเป็นอย่างเดียวกันกับการฟ้องคดีตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/14 (5) ภริยาจำเลยที่ 2 รับหนังสือในวันที่ 31 มีนาคม 2549 อายุความจึงสะดุดหยุดลงและเริ่มนับอายุความใหม่ตั้งแต่พ้นกำหนด 30 วัน ที่กำหนดให้จำเลยที่ 2 นำเงินค่าภาษีและเงินเพิ่มไปชำระ อายุความจึงเริ่มนับใหม่นับแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2549 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/15 โจทก์ฟ้องวันที่ 14 มีนาคม 2551 จึงยังไม่พ้นกำหนดสองปี นอกจากนี้ ยังถือว่าโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 ในข้อหาละเมิดด้วย ซึ่งได้ความว่า การดำเนินคดีรายจำเลยที่ 2 นั้น นิติกรประจำสรรพากรภาค 3 จัดทำบันทึกข้อความรวบรวมข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายเสนอสรรพากรภาค 3 ที่ปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมสรรพากร ซึ่งได้ลงนามในบันทึกข้อความเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2550 กรณีต้องถือว่าโจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนในวันดังกล่าว การที่โจทก์นำคดีมาฟ้องจึงยังไม่พ้นกำหนด 1 ปี อีกทั้งไม่พ้นกำหนด 10 ปี นับแต่วันทำละเมิด ซึ่งคือวันที่ครบกำหนดให้จำเลยที่ 2 นำเงินค่าภาษีไปชำระ คดีโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 จึงไม่ขาดอายุความ
ปัญหาว่าคดีใดจะอยู่ในอำนาจของศาลภาษีอากรหรือศาลยุติธรรมอื่นไม่ใช่เป็นปัญหาเรื่องอำนาจการพิจารณาคดีของศาล เมื่อจำเลยที่ 4 มิได้กล่าวอ้างปัญหานี้ในระหว่างพิจารณาของศาลภาษีอากร อีกทั้งมิได้โต้แย้งการดำเนินกระบวนพิจารณาแต่อย่างใด จำเลยที่ 4 จึงไม่มีสิทธิยกประเด็นนี้ขึ้นอุทธรณ์ต่อศาลฎีกา
หนังสือรับรองการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลของจำเลยที่ 1 ซึ่งระบุว่าจำเลยที่ 2 เป็นผู้ชำระบัญชีเป็นเอกสารมหาชน จึงต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่าแท้จริงและถูกต้อง จำเลยที่ 2 อ้างว่ามิได้เป็นผู้ชำระบัญชีเนื่องจากถูกปลอมลายมือชื่อ จำเลยที่ 2 มีหน้าที่นำสืบ เมื่อจำเลยที่ 2 นำสืบเพียงแต่เบิกความลอยๆ จึงไม่มีน้ำหนักหักล้างข้อสันนิษฐานของกฎหมาย ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยที่ 2 เป็นผู้ชำระบัญชีของจำเลยที่ 1 และการที่จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ชำระบัญชีรู้อยู่แล้วว่าจำเลยที่ 1 เป็นหนี้ภาษี กลับไม่กันเงินที่จะนำไปชำระหนี้ภาษี ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะผู้ชำระบัญชีจึงต้องรับผิดในความเสียหายที่โจทก์ไม่ได้รับชำระหนี้ค่าภาษีและเงินเพิ่ม แต่เงินเพิ่มมิให้เกินกว่าจำนวนภาษีที่จำเลยที่ 1 ต้องชำระ และไม่เกินกว่าเงินสดคงเหลือที่จำเลยที่ 1 มีอยู่ในวันจดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชี
การที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 2 รับผิดในฐานะผู้ชำระบัญชี จำเลยที่ 1 จดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชีเมื่อวันที่ 23 กันยายน 2547 จึงมีอายุความสองปีนับแต่วันถึงที่สุดแห่งการชำระบัญชี แต่โจทก์มีหนังสือแจ้งจำเลยที่ 1 และที่ 2 ให้นำส่งภาษี ซึ่งถือได้ว่าเป็นการสั่งบังคับตามอำนาจกฎหมายอันมีผลเป็นอย่างเดียวกันกับการฟ้องคดีตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/14 (5) ภริยาจำเลยที่ 2 รับหนังสือในวันที่ 31 มีนาคม 2549 อายุความจึงสะดุดหยุดลงและเริ่มนับอายุความใหม่ตั้งแต่พ้นกำหนด 30 วัน ที่กำหนดให้จำเลยที่ 2 นำเงินค่าภาษีและเงินเพิ่มไปชำระ อายุความจึงเริ่มนับใหม่นับแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2549 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/15 โจทก์ฟ้องวันที่ 14 มีนาคม 2551 จึงยังไม่พ้นกำหนดสองปี นอกจากนี้ ยังถือว่าโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 ในข้อหาละเมิดด้วย ซึ่งได้ความว่า การดำเนินคดีรายจำเลยที่ 2 นั้น นิติกรประจำสรรพากรภาค 3 จัดทำบันทึกข้อความรวบรวมข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายเสนอสรรพากรภาค 3 ที่ปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมสรรพากร ซึ่งได้ลงนามในบันทึกข้อความเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2550 กรณีต้องถือว่าโจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนในวันดังกล่าว การที่โจทก์นำคดีมาฟ้องจึงยังไม่พ้นกำหนด 1 ปี อีกทั้งไม่พ้นกำหนด 10 ปี นับแต่วันทำละเมิด ซึ่งคือวันที่ครบกำหนดให้จำเลยที่ 2 นำเงินค่าภาษีไปชำระ คดีโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 จึงไม่ขาดอายุความ
ปัญหาว่าคดีใดจะอยู่ในอำนาจของศาลภาษีอากรหรือศาลยุติธรรมอื่นไม่ใช่เป็นปัญหาเรื่องอำนาจการพิจารณาคดีของศาล เมื่อจำเลยที่ 4 มิได้กล่าวอ้างปัญหานี้ในระหว่างพิจารณาของศาลภาษีอากร อีกทั้งมิได้โต้แย้งการดำเนินกระบวนพิจารณาแต่อย่างใด จำเลยที่ 4 จึงไม่มีสิทธิยกประเด็นนี้ขึ้นอุทธรณ์ต่อศาลฎีกา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11249/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลของการฟื้นฟูกิจการต่อความรับผิดของผู้ค้ำประกัน: สิทธิเรียกร้องหนี้ยังคงอยู่ แม้มีการเห็นชอบแผนฟื้นฟู
คำสั่งของศาลที่เห็นชอบด้วยแผนฟื้นฟูกิจการย่อมมีผลเฉพาะตัวลูกหนี้เท่านั้นที่จะหลุดพ้นจากหนี้ที่มีอยู่ก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนแล้วมาผูกพันตามหนี้ที่กำหนดไว้ในแผนฟื้นฟูกิจการ ส่วนบุคคลภายนอกซึ่งต้องร่วมรับผิดกับลูกหนี้ อันได้แก่ บุคคลซึ่งเป็นหุ้นส่วนกับลูกหนี้ หรือผู้รับผิดร่วมกับลูกหนี้ หรือผู้ค้ำประกัน หรือผู้อยู่ในลักษณะอย่างผู้ค้ำประกันของลูกหนี้ นั้น คำสั่งของศาลที่เห็นชอบด้วยแผนฟื้นฟูกิจการไม่มีผลเปลี่ยนแปลงความรับผิดชอบบุคคลเหล่านั้นที่มีอยู่ก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผน ความรับผิดของบุคคลดังกล่าวจะต้องรับผิดอีกเช่นไรต้องเป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยความรับผิดของบุคคลในทางแพ่ง ดังนั้น การที่แผนฟื้นฟูกิจการกำหนดให้ผู้ค้ำประกันหลุดพ้นความรับผิดไปเสียทีเดียวย่อมขัดต่อ พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/60 วรรคสอง อันเป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ข้อตกลงตามที่กำหนดตามแผนดังกล่าวจึงตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150
แม้โจทก์จะยื่นคำขอรับชำระหนี้ไว้เต็มจำนวน แต่ก็เป็นการยื่นคำขอรับชำระหนี้ก่อนที่ศาลจะมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนฟื้นฟูกิจการ ทำให้โจทก์ได้รับการชำระหนี้จากลูกหนี้น้อยลงและจะเรียกร้องหนี้ส่วนที่เหลือจากลูกหนี้อีกไม่ได้ แต่ในส่วนจำเลยทั้งสองผู้ค้ำประกันก็ยังคงต้องรับผิดชำระหนี้ส่วนที่ยังไม่ระงับทั้งหมดอยู่ โจทก์จึงฟ้องจำเลยทั้งสองได้ ไม่ถือเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต
แม้โจทก์จะยื่นคำขอรับชำระหนี้ไว้เต็มจำนวน แต่ก็เป็นการยื่นคำขอรับชำระหนี้ก่อนที่ศาลจะมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนฟื้นฟูกิจการ ทำให้โจทก์ได้รับการชำระหนี้จากลูกหนี้น้อยลงและจะเรียกร้องหนี้ส่วนที่เหลือจากลูกหนี้อีกไม่ได้ แต่ในส่วนจำเลยทั้งสองผู้ค้ำประกันก็ยังคงต้องรับผิดชำระหนี้ส่วนที่ยังไม่ระงับทั้งหมดอยู่ โจทก์จึงฟ้องจำเลยทั้งสองได้ ไม่ถือเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11246/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ขนส่งทางทะเลต่อความเสียหายจากใบตราส่งปลอมและการเวนคืนใบตราส่ง
ผู้ซื้อสินค้าจากโจทก์จะใช้สิทธิเรียกให้จำเลยส่งมอบสินค้าได้ต้องเวนคืนใบตราส่งนั้นแก่จำเลยผู้ขนส่งหรือตัวแทนจำเลย เมื่อใบตราส่งที่จำเลยออกให้แก่โจทก์กับใบตราส่งฉบับที่ผู้รับสินค้ามอบให้แก่ตัวแทนจำเลยเพื่อรับสินค้าไปมีข้อแตกต่างที่เห็นได้ชัดเจนหลายประการ โดยเฉพาะชื่อเรือเป็นชื่อเรือคนละลำ ทั้งจำเลยส่งสินค้าผ่านตัวแทนจำเลยดังกล่าวเป็นเวลากว่า 10 ปี แล้ว ตัวแทนจำเลยควรที่จะตรวจสอบรายละเอียดให้รอบคอบจนเห็นข้อแตกต่างในใบตราส่งที่ผู้รับสินค้านำมามอบให้กับใบตราส่งที่จำเลยออกให้จริงได้ ข้อผิดพลาดในการตรวจใบตราส่งนี้จึงเกิดขึ้นจากความประมาทเลินเล่อของตัวแทนจำเลย ยิ่งไปกว่านี้หน้าที่และความรับผิดชอบของจำเลยผู้รับขนของทางทะเลและตัวแทนจำเลยที่ทำหน้าที่ส่งมอบสินค้าแทนจำเลยในกรณีนี้ คือต้องส่งมอบสินค้าแก่ผู้มีใบตราส่งฉบับแท้จริงมามอบเวนคืนให้ตาม พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 มาตรา 28 หากมีการมอบเวนคืนใบตราส่งปลอมอันมิใช่ฉบับที่แท้จริง แต่ตัวแทนจำเลยส่งมอบสินค้าไป ถือได้ว่าเป็นการส่งมอบสินค้าไปโดยไม่ได้รับเวนคืนใบตราส่งอันเป็นการปฏิบัติหน้าที่ผู้รับขนของทางทะเลที่ไม่ถูกต้อง ความรับผิดชอบจึงตกอยู่แก่ผู้ขนส่งทางทะเลและต้องไปว่ากล่าวเอาแก่ผู้ที่นำใบตราส่งปลอมมาเวนคืนต่อไป หาใช่เหตุที่จำเลยจะยกขึ้นปฏิเสธความรับผิดต่อผู้ส่งตามสัญญารับขนของทางทะเล
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11236/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลิขสิทธิ์ - เครื่องหมายการค้า: โจทก์ต้องพิสูจน์การผลิต/จำหน่ายสินค้าของตนเอง หากไม่มีหลักฐาน ศาลต้องยกฟ้อง
ตามคำยืนยันรับรองข้อมูลเกี่ยวกับลิขสิทธิ์เกมเป็นคำรับรองยืนยันของกรรมการบริษัท ก. ว่า โจทก์ร่วมเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานเกมฟุตบอลเมเนเจอร์ 2009 ซึ่งได้โฆษณางานนั้นเป็นครั้งแรกที่ประเทศญี่ปุ่น มิใช่คำรับรองยืนยันของบริษัทโจทก์ร่วมในความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ ส่วนในสำเนาหนังสือมอบอำนาจก็ปรากฏว่า ประธานบริษัทโจทก์ร่วมยืนยันเพียงว่าบริษัทโจทก์ร่วมเป็นเจ้าของและหรือผู้อนุญาตซึ่งเกมวิดีโอเครื่องเล่นอาร์เคดและซอฟต์แวร์ที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์อาร์เคดภายใต้เครื่องหมายการค้าคำว่า "SEGA" เท่านั้น โจทก์ร่วมมิได้ยืนยันความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานโปรแกรมคอมพิวเตอร์เกมในฐานะเป็นผู้สร้างสรรค์งานดังกล่าวที่โจทก์อ้างในคำฟ้อง ในข้อนี้กลับปรากฏจากพยานหลักฐานของจำเลยตามสำเนาหนังสือของบริษัท ซ. ว่า บริษัท ซ. เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานแผ่นซีดีเกมฟุตบอลเมเนเจอร์ 2009 ซึ่งได้โฆษณางานครั้งแรกที่ประเทศสหราชอาณาจักร พยานหลักฐานของโจทก์และโจทก์ร่วมจึงรับฟังไม่ได้ว่า บริษัทโจทก์ร่วมประเทศญี่ปุ่นเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในโปรแกรมคอมพิวเตอร์ตามฟ้อง โจทก์ร่วมจึงไม่อาจมอบอำนาจให้บริษัท ก. ร้องทุกข์ดำเนินคดีแก่จำเลยในความผิดอันยอมความได้ฐานละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์ร่วมเพื่อการค้าตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 70 วรรคสอง ประกอบมาตรา 31 (1) พนักงานสอบสวนไม่มีอำนาจสอบสวนจำเลยในความผิดฐานนี้ และโจทก์ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยในความผิดฐานดังกล่าว