คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 61

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 180 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1225/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแต่งตั้งทนายความในชั้นร้องขัดทรัพย์: ไม่ต้องซ้ำหากมีทนายความในคดีหลัก
การพิจารณาในชั้นร้องขัดทรัพย์ เป็นการพิจารณาในเรื่องที่โจทก์ฟ้องจำเลยนั้นเอง เมื่อโจทก์ได้แต่งตั้งทนายความไว้ในเรื่องนั้นแล้ว ในชั้นร้องขัดทรัพย์โจทก์จึงไม่ต้องแต่งตั้งทนายความซ้ำอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 289/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแต่งทนายความไม่สมบูรณ์ ศาลอนุญาตให้ว่าความได้ หากไม่มีผลกระทบต่อกระบวนการ
การที่คู่ความได้ลงลายมือชื่อเป็นผู้ตั้งทนายความแล้ว แต่ทนายมิได้ลงลายมือชื่อในฐานะเข้ารับเป็นทนายนั้น เป็นการบกพร่องที่เชื่อได้ว่าเกิดจากการพลั้งเผลอเพียงเล็กน้อย ศาลชั้นต้นได้ยินยอมให้ทนายว่าความและดำเนินกระบวนพิจารณาแทนตัวความตลอดมา ถือได้ว่าศาลชั้นต้นได้อนุญาตให้ทนายว่าความและดำเนินกระบวนพิจารณาแทนตัวความได้ การว่าคามและการดำเนินกระบวนการพิจารณาของทนายแทนตัวความจึงเป็นการชอบด้วยกระบวนพิจารณา.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 289/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแต่งทนายความที่สมบูรณ์ แม้ลายมือชื่อไม่ครบถ้วน ศาลอนุญาตให้ดำเนินคดีได้
การที่คู่ความได้ลงลายมือชื่อเป็นผู้ตั้งทนายความแล้วแต่ทนายมิได้ลงลายมือชื่อในฐานะเข้ารับเป็นทนายนั้นเป็นการบกพร่องที่เชื่อได้ว่าเกิดจากการพลั้งเผลอเพียงเล็กน้อย ศาลชั้นต้นได้ยินยอมให้ทนายว่าความและดำเนินกระบวนพิจารณาแทนตัวความตลอดมา ถือได้ว่าศาลชั้นต้นได้อนุญาตให้ทนายว่าความและดำเนินกระบวนพิจารณาแทนตัวความได้การว่าความและการดำเนินกระบวนพิจาารณาของทนายแทนตัวความจึงเป็นการชอบด้วยกระบวนพิจารณา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1610/2508

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้อง, การแก้ฟ้อง, และการรับรองนิติบุคคล: ข้อจำกัดในการยกข้อต่อสู้ในชั้นฎีกาและการเปลี่ยนแปลงผู้รับมอบอำนาจ
ประเด็นที่ว่า โจทก์ไม่เป็นนิติบุคคลและใบมอบอำนาจไม่ปิดอากรแสตมป์ จำเลยมิได้ยกขึ้นเป็นข้อโต้เถียงคัดค้านในชั้นศาลอุทธรณ์ เพิ่งมายกขึ้นกล่าวอ้างในชั้นฎีกา เป็นการไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 และในชั้นอุทธรณ์ จำเลยก็ได้กล่าวรับรองว่าโจทก์เป็นนิติบุคคล จำเลยเถียงข้อนี้ไม่ขึ้น
สำเนาใบมอบอำนาจให้ดำเนินคดีมิใช่ต้นฉบับหรือคู่ฉบับหรือคู่ฉีก ไม่อยู่ในบังคับที่จะต้องปิดอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฎากร
เมื่อผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์คนเดิมพ้นหน้าที่ไป ผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์อีกคนหนึ่งดำเนินกิจการแทนโจทก์ ทนายความผู้รับแต่งตั้งจากผู้รับมอบอำนาจคนเดิมทำคำร้องขอแก้ฟ้อง โดยขอเปลี่ยนตัวผู้รับมอบอำนาจเสียใหม่ถือว่าโจทก์ได้ดำเนินการตั้งแต่งทนายความฟ้องคดีโดยถูกต้องสมบูรณ์มาแต่แรก ทนายความของโจทก์จึงมีอำนาจดำเนินคดีแทนโจทก์ตลอดไปจนกว่าจะถูกสั่งถอน การพ้นหน้าที่ของผู้รับมอบอำนาจคนเดิมไม่ทำให้ทนายความหมดอำนาจดำเนินคดีแทนโจทก์ การแก้ฟ้องของโจทก์มีผลเพียงเพื่อให้ทราบว่าบัดนี้โจทก์ได้เปลี่ยนตัวผู้รับมอบอำนาจดำเนินกิจการหรือดำเนินคดีในนามของโจทก์ในกาลต่อไปเท่านั้น การที่ผู้รับมอบอำนาจคนใหม่เข้าดำเนินกระบวนพิจารณาคดีซึ่งค้างพิจารณาอยู่ในศาลในนามของบริษัทโจทก์สืบแทนต่อไปมิใช่เป็นการเริ่มต้นฟ้องคดีใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1610/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้อง, การแก้ฟ้อง, นิติบุคคล, ใบมอบอำนาจ, การดำเนินคดีแทน
ประเด็นที่ว่า โจทก์ไม่เป็นนิติบุคคลและใบมอบอำนาจไม่ปิดอากรแสตมป์ จำเลยมิได้ยกขึ้นเป็นข้อโต้เถียงคัดค้านในชั้นศาลอุทธรณ์ เพิ่งมายกขึ้นกล่าวอ้างในชั้นฎีกา เป็นการไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 และในชั้นอุทธรณ์ จำเลยก็ได้กล่าวรับรองว่าโจทก์เป็นนิติบุคคล จำเลยเถียงข้อนี้ไม่ขึ้น
สำเนาใบมอบอำนาจให้ดำเนินคดีมิใช่ต้นฉบับหรือคู่ฉบับหรือคู่ฉีก ไม่อยู่ในบังคับที่จะต้องปิดอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฎากร
เมื่อผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์คนเดิมพ้นหน้าที่ไป ผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์อีกคนหนึ่งดำเนินกิจการแทนโจทก์ ทนายความผู้รับแต่งตั้งจากผู้รับมอบอำนาจคนเดิมทำคำร้องขอแก้ฟ้องโดยขอเปลี่ยนตัวผู้รับมอบอำนาจเสียใหม่ ถือว่าโจทก์ได้ดำเนินการตั้งแต่งทนายความฟ้องคดีโดยถูกต้องสมบูรณ์มาแต่แรก ทนายความของโจทก์จึงมีอำนาจดำเนินคดีแทนโจทก์ตลอดไปจนกว่าจะถูกสั่งถอน การพ้นหน้าที่ของผู้รับมอบอำนาจคนเดิมไม่ทำให้ทนายความหมดอำนาจ ดำเนินคดีแทนโจทก์ การแก้ฟ้องของโจทก์มีผลเพียงเพื่อให้ทราบว่าบัดนี้โจทก์ได้เปลี่ยนตัวผู้รับมอบอำนาจดำเนินกิจการหรือดำเนินคดีในนามของโจทก์ในกาลต่อไปเท่านั้น การที่ผู้รับมอบอำนาจคนใหม่ เข้าดำเนินกระบวพิจารณาคดีซึ่งค้างพิจารณาอยู่ในศาลในนามของบริษัทโจทก์สืบแทนต่อไป มิใช่เป็นการเริ่มต้นฟ้องคดีใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1271-1273/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิเครื่องหมายการค้าและการละเมิดสิทธิ โจทก์มีสิทธิแต่ผู้เดียวในการค้าขายสินค้ามีเครื่องหมายการค้านั้น
การที่คู่ความทำหนังสือมอบอำนาจให้บุคคลใดเป็นผู้แทนตนในคดี ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 60 นั้น แม้การมอบอำนาจจะมีหนังสือมอบอำนาจก็ตาม แต่กฎหมายก็มิได้บัญญัติว่าในการยื่นคำฟ้องต่อศาล โจทก์จะต้องแสดงหนังสือมอบอำนาจนั้นติดมากับฟ้องด้วย ซึ่งต่างกับกรณีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 61,63 และ 64 ซึ่งบัญญัติไว้ชัดเจนว่าต้องยื่นใบแต่งทนาย แสดงใบมอบอำนาจ ทำหนังสือแต่งตั้งหรือยื่นใบมอบฉันทะต่อศาล ฉะนั้น แม้โจทก์จะมิได้ยื่นใบมอบอำนาจต่อศาลในขณะยื่นคำฟ้อง ก็ไม่เป็นการขัดต่อกฎหมายแต่ประการใด
ผู้มีสิทธิในเครื่องหมายการค้า หาใช่จำกัดเฉพาะผู้ทำสินค้าขึ้นเท่านั้นไม่ แม้โจทก์จะมิใช่ผู้ประดิษฐ์หรือผลิตสินค้า แต่เป็นผู้รับโอนเครื่องหมายการค้าที่เจ้าของเดิมจดทะเบียนไว้ พร้อมด้วยกิจการบริการจำหน่ายสินค้าในประเทศไทย โจทก์ย่อมมีสิทธิแต่ผู้เดียวที่จะค้าขายสินค้าที่มีเครื่องหมายซึ่งได้จดทะเบียนไว้นั้น ฉะนั้น การที่จำเลยสั่งสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าในบังคับแห่งสิทธิของโจทก์เข้ามาจำหน่ายโดยมิได้รับความยินยอม ย่อมเป็นการละเมิดสิทธิของโจทก์ เพราะการสั่งสินค้าเข้ามาจำหน่ายย่อมเป็นการใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่ติดมากับสินค้านั้นด้วย (วรรคแรกวินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 15/2508)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1271-1273/2508

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การมอบอำนาจทางกฎหมายและการละเมิดสิทธิเครื่องหมายการค้า ผู้รับโอนสิทธิมีอำนาจฟ้องร้องได้
การที่คู่ความทำหนังสือมอบอำนาจให้บุคคลใดเป็นผู้แทนตนในคดี ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 60 นั้น แม้การมอบอำนาจจะมีหนังสือมอบอำนาจก็ตามแต่กฎหมายก็มิได้บัญญัติว่าในการยื่นคำฟ้องต่อศาล โจทก์จะต้องแสดงหนังสือมอบอำนาจนั้นติดมากับฟ้องด้วย ซึ่งต่างกับกรณีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 61, 63 และ 64 ซึ่งบัญญัติไว้ชัดเจนว่าต้องยื่นใบแต่งทนาย แสดงใบมอบอำนาจทำหนังสือแต่งตั้งหรือยื่นใบมอบฉันทะต่อศาล ฉะนั้นแม้โจทก์จะมิได้ยื่นใบมอบอำนาจต่อศาลในขณะยื่นคำฟ้องก็ไม่เป็นการขัดต่อกฎหมายแต่ประการใด
ผู้มีสิทธิในเครื่องหมายการค้า หาใช่จำกัดเฉพาะผู้ทำสินค้าขึ้นเท่านั้นไม่ แม้โจทก์จะมิใช่ผู้ประดิษฐ์หรือผลิตสินค้า แต่เป็นผู้รับโอนเครื่องหมายการค้าที่เจ้าของเดิมจดทะเบียนไว้ พร้อมด้วยกิจการบริการจำหน่ายสินค้าในประเทศไทย โจทก์ย่อมมีสิทธิแต่ผู้เดียวที่จะค้าขายสินค้าที่มีเครื่องหมายซึ่งได้จดทะเบียนไว้นั้น ฉะนั้น การที่จำเลยสั่งสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าในบังคับแห่งสิทธิของโจทก์เข้ามาจำหน่ายโดยมิได้รับความยินยอม ย่อมเป็นการละเมิดสิทธิของโจทก์ เพราะการสั่งสินค้าเข้ามาจำหน่ายย่อมเป็นการใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่ติดมากับสินค้านั้นด้วย(วรรคแรกวินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่15/2508)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 581/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการขอเฉลี่ยทรัพย์: ทนายในคดีเดิมมีอำนาจดำเนินการแทนตัวความในคดีอื่นได้โดยไม่ต้องแต่งทนายใหม่
การที่ทนายของโจทก์ในคดีเดิมใช้สิทธิขอเข้าเฉลี่ยทรัพย์ในคดีอื่น กระทำได้โดยไม่ต้องแต่งทนายเข้ามาในคดีที่เข้าขอส่วนเฉลี่ยนั้นอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 581/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการขอเฉลี่ยทรัพย์ของทนายโจทก์ในคดีเดิม โดยไม่ต้องแต่งทนายเพิ่มเติม
การที่ทนายของโจทก์ในคดีเดิมใช้สิทธิขอเข้าเฉลี่ยทรัพย์ในคดีอื่นกระทำได้โดยไม่ต้องแต่งทนายเข้ามาในคดีที่เข้าขอส่วนเฉลี่ยนั้นอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1324/2505 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทนายมีหน้าที่ยื่นฎีกาแทนจำเลยที่เสียชีวิตแล้วได้ตามกฎหมาย
ทนายจำเลยฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์แล้วยื่นฎีกาแทนจำเลยภายในอายุความฎีกา ปรากฏต่อมาว่า ตัวจำเลยได้ตายไปแล้วตั้งแต่ก่อนได้มีการอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้ทนายจำเลยฟัง ดังนี้ กรณีต้องปรับด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 828 ทนายจำเลยมีหน้าที่ต้องจัดการดำเนินคดีเพื่อปกปักษ์รักษาประโยชน์ของจำเลยตามความในบทกฎหมายดังกล่าว ฉะนั้น การที่ทนายจำเลยฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์แล้วยื่นฎีกาภายในกำหนด 1 เดือนนับแต่วันฟังคำพิพากษา จึงชอบด้วยกฎหมาย
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 31/2505)
of 18