พบผลลัพธ์ทั้งหมด 180 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2204/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจการยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาฎีกา: ทนายความต้องดำเนินการด้วยตนเอง
ไม่ปรากฏในสำนวนว่าจำเลยทั้งสองได้ตั้งแต่ง ณ. เป็นทนายความและ ณ. มิได้ทำหน้าที่เป็นทนายความจำเลยทั้งสองมาก่อนที่จะมีการยื่นฎีกา ณ. จึงไม่มีอำนาจยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นฎีกาแทนจำเลยทั้งสองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 60, 61 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 ทั้งการที่จำเลยทั้งสองตั้งแต่ง ส. เป็นทนายความและ ส. เคยมอบฉันทะให้ ณ. เป็นเสมียนทนายทำการแทนในกิจการยื่นคำร้องขอขยายเวลายื่นอุทธรณ์ครั้งที่ 3 รับทราบคำสั่งศาล รับทราบกำหนดวันนัด รับเอกสารจากศาล ตรวจสำนวน รวมถึงให้ถ้อยคำแถลงต่อศาลและแก้ไขข้อความที่พิมพ์ผิดพลาดได้ ก็ไม่ทำให้ ณ. เสมียนทนายจำเลยทั้งสองมีอำนาจทำคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นฎีกา เพราะทนายความอาจมอบอำนาจให้บุคคลใดบุคคลหนึ่งทำการแทนได้ในกิจการที่ระบุไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 64 เท่านั้น โดยไม่รวมถึงกิจการสำคัญเกี่ยวกับคดีซึ่งโดยสภาพเป็นที่เห็นได้ว่าทนายความจะต้องกระทำด้วยตนเองเช่นการทำคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นฎีกา ปัญหานี้เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสองยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาฎีกา มีผลทำให้คำสั่งของศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้ฎีกาและฎีกาของจำเลยทั้งสองเป็นฎีกาที่ยื่นเกินกำหนดระยะเวลาฎีกาไม่ชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11418/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแต่งทนายความของนิติบุคคล ต้องกระทำโดยผู้มีอำนาจตามกฎหมาย มิฉะนั้นเป็นกระบวนการที่ไม่ชอบ
ในการยื่นใบแต่งทนายความของจำเลยที่ 4 ที่แต่งตั้งพนักงานอัยการจังหวัดตราดเป็นทนายความของจำเลยที่ 4 ระบุความว่า (กองทัพเรือ) จำเลยที่ 4 โดยพลเรือเอก พ. ผู้มีอำนาจกระทำการแทนกองทัพเรือ และต่อมาในการยื่นใบแต่งทนายความของจำเลยที่ 4 ที่แต่งตั้งพนักงานอัยการ สำนักงานอัยการสูงสุด เป็นทนายความของจำเลยที่ 4 ระบุความว่า กองทัพเรือ (จำเลยที่ 4) โดยพลเรือเอก ส. (ไม่ปรากฏในฐานะอย่างใด) เหล่านี้ หาได้มีเอกสารใดยื่นประกอบให้สื่อความไว้ เมื่อกองทัพเรือ (จำเลยที่ 4) มีฐานะเป็นนิติบุคคล มีผู้บัญชาการทหารเรือเป็นผู้บังคับบัญชารับผิดชอบ การแต่งตั้งทนายความของจำเลยที่ 4 ผู้ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารเรือจึงต้องเป็นผู้ลงลายมือชื่อแต่งทนายความ ดังนั้น การที่พลเรือเอก พ. หรือพลเรือเอก ส. ซึ่งมิใช่ผู้ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารเรือลงลายมือชื่อแต่งทนายความจำเลยที่ 4 โดยมิได้แนบหนังสือมอบอำนาจของผู้ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารเรือ ทั้งมิได้นำสืบพยานเอกสารในเรื่องเหล่านี้ไว้แต่อย่างใดด้วย จึงเป็นการมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 61 อันเป็นกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ย่อมถือว่าเป็นการกระทำของบุคคลภายนอกที่ไม่มีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาแทนจำเลยที่ 4 ไม่มีผลผูกพันจำเลยที่ 4 กรณีดังกล่าวเป็นการมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งในข้อที่มุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรม และเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 จึงชอบที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 ยกขึ้นวินิจฉัยได้ อย่างไรก็ดี ความบกพร่องในการแต่งทนายความของจำเลยที่ 4 ไม่กระทบกระเทือนถึงกระบวนพิจารณาของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 และแก้ไขได้โดยง่าย ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษาให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาไปถึงจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 นั้น ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 559/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยต้องรับผลการกระทำของทนายความ แม้ความผิดพลาดเกิดจากทนาย แม้จำเลยไม่ได้กระทำเอง
แม้ความบกพร่องในการยื่นฎีกาเกิดจากทนายความของจำเลย มิได้เกิดจากตัวจำเลย แต่เมื่อจำเลยแต่งตั้งทนายความแล้วก็ต้องรับผลที่เกิดจากการกระทำของทนายจำเลย มิฉะนั้นแล้วจำเลยก็จะเลือกเอาเฉพาะการกระทำของทนายจำเลยที่เป็นประโยชน์และปฏิเสธส่วนที่เป็นโทษโดยอ้างความบกพร่องของทนายจำเลยซึ่งจะทำให้กระบวนการยุติธรรมไม่บรรลุเป้าประสงค์ เมื่อทนายจำเลยยื่นฎีกาเกินกำหนดที่ขอขยาย จึงไม่อาจรับฎีกาของจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3490/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีของผู้บริโภค และการบอกเลิกสัญญาจะซื้อจะขายเมื่อจำเลยผิดสัญญา
เมื่อมีผู้บริโภคหลายรายรวมทั้งผู้บริโภคหกรายที่ได้ร้องเรียนต่อโจทก์ว่าถูกจำเลยละเมิดสิทธิของผู้บริโภคทั้งหก โจทก์ในฐานะเจ้าหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภคจึงมีอำนาจฟ้องและดำเนินคดีแก่จำเลยอันเป็นการดำเนินคดีเพื่อประโยชน์แก่ผู้บริโภคเป็นส่วนรวมได้โดยไม่จำต้องให้ผู้บริโภคทั้งหกทำหนังสือมอบอำนาจให้โจทก์ฟ้องคดี และเมื่อโจทก์มีคำสั่งตั้งพนักงานอัยการเป็นเจ้าหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภคเพื่อให้มีหน้าที่ดำเนินคดีแพ่งและคดีอาญาแก่ผู้กระทำละเมิดสิทธิของผู้บริโภคในศาลแล้ว พนักงานอัยการจึงมีอำนาจฟ้องคดีเองได้โดยไม่จำต้องได้รับแต่งตั้งเป็นทนายความอีก
แม้สัญญาจะซื้อจะขายจะได้ระบุว่าจำเลยจะจดทะเบียนโอนที่ดินพร้อมบ้านเมื่อผู้บริโภคทั้งหกรายชำระเงินดาวน์ครบถ้วนตามสัญญาแล้ว และ พ. กับ น. ซึ่งเป็นผู้บริโภคจะชำระเงินดาวน์ยังไม่ครบถ้วนแต่ก็เนื่องมาจากจำเลยไม่ก่อสร้างบ้านให้แล้วเสร็จตามสัญญาและละทิ้งการก่อสร้างจนระยะเวลาอันสมควรที่จะต้องก่อสร้างบ้านพิพาทให้แล้วเสร็จได้ล่วงเลยมาแล้วเป็นเวลาประมาณ 5 ปี จำเลยจึงผิดสัญญาจะซื้อจะขาย โจทก์มีอำนาจบอกเลิกสัญญาได้ แม้จะให้เวลาจำเลยปฏิบัติตามสัยญาเพียง 15 วันก็ตาม
แม้สัญญาจะซื้อจะขายจะได้ระบุว่าจำเลยจะจดทะเบียนโอนที่ดินพร้อมบ้านเมื่อผู้บริโภคทั้งหกรายชำระเงินดาวน์ครบถ้วนตามสัญญาแล้ว และ พ. กับ น. ซึ่งเป็นผู้บริโภคจะชำระเงินดาวน์ยังไม่ครบถ้วนแต่ก็เนื่องมาจากจำเลยไม่ก่อสร้างบ้านให้แล้วเสร็จตามสัญญาและละทิ้งการก่อสร้างจนระยะเวลาอันสมควรที่จะต้องก่อสร้างบ้านพิพาทให้แล้วเสร็จได้ล่วงเลยมาแล้วเป็นเวลาประมาณ 5 ปี จำเลยจึงผิดสัญญาจะซื้อจะขาย โจทก์มีอำนาจบอกเลิกสัญญาได้ แม้จะให้เวลาจำเลยปฏิบัติตามสัยญาเพียง 15 วันก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5167/2548 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจทนายความของพนักงานอัยการต้องมีการแต่งตั้งทนายความตามกฎหมาย
ในการดำเนินคดีแพ่งแทนรัฐบาล หรือในการดำเนินคดีแพ่งหรือคดีอาญาแทนเจ้าพนักงานผู้ซึ่งถูกฟ้องในเรื่องการที่ได้กระทำไปตามหน้าที่ ฯลฯ ซึ่งพนักงานอัยการรับแก้ต่างตาม พ.ร.บ.พนักงานอัยการฯ มาตรา 11 (2) (3) พนักงานอัยการมีฐานะอย่างเดียวกับทนายความตาม พ.ร.บ.ทนายความฯ ที่จะมีอำนาจดำเนินคดีในศาลได้ก็ต่อเมื่อดำเนินการตั้งทนายความให้ถูกต้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 61
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5167/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจพนักงานอัยการดำเนินคดีแทนเจ้าพนักงานต้องมีการแต่งตั้งทนายความถูกต้องตามกฎหมาย
ในการดำเนินคดีแพ่งแทนรัฐบาล หรือในการดำเนินคดีแพ่งหรือคดีอาญาแทนเจ้าพนักงานผู้ซึ่งถูกฟ้องในเรื่องการที่ได้กระทำไปตามหน้าที่ ฯลฯ ซึ่งพนักงานอัยการรับแก้ต่างตาม พ.ร.บ. พนักงานอัยการ พ.ศ. 2498 มาตรา 11 (2) (3) พนักงานอัยการมีฐานะอย่างเดียวกับทนายความตาม พ.ร.บ. ทนายความ พ.ศ. 2528 ที่จะมีอำนาจดำเนินคดีในศาลได้ก็ต่อเมื่อดำเนินการตั้งทนายความให้ถูกต้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 61
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5167/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแต่งตั้งทนายความที่ไม่ถูกต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ทำให้กระบวนการพิจารณาคดีไม่ชอบ
ตามพระราชบัญญัติพนักงานอัยการ พ.ศ.2498 มาตรา 11 (2) (3) เมื่อพนักงานอัยการเห็นสมควรจะรับแก้ต่างให้ก็ได้ พนักงงานอัยการจึงมีฐานะอย่างเดียวกับทนายความ ตามพระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ.2528 ที่จะมีอำนาจดำเนินคดีในศาลได้ก็ต่อเมื่อดำเนินการให้ถูกต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 61 ปรากฏว่าก่อนที่จำเลยที่ 2 ยื่นคำให้การและบัญชีพยานจำเลยที่ 2 ลงนามแต่งตั้งให้ น. พนักงานอัยการจังหวัดศรีสะเกษเป็นทนายความไว้แล้ว แต่ครั้นเมื่อมีการยื่นคำให้การและบัญชีพยานดังกล่าว กลับกลายเป็น ร. อัยการผู้เชี่ยวชาญ สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีแพ่งเขต 3 สาขาศรีสะเกษ เป็นผู้ลงชื่อในคำให้การและบัญชีพยาน โดยจำเลยที่ 2 มิได้ลงนามแต่งตั้งให้ ร. เป็นทนายความของตน จึงมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 61 จึงเป็นกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3428/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายระยะเวลาอุทธรณ์: กรณีพฤติการณ์พิเศษและการแก้ไขข้อบกพร่องการแต่งตั้งทนาย
ส. ทนายจำเลยเคยยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ก่อนครบกำหนดอุทธรณ์ต่อศาลชั้นต้น 2 ครั้ง ซึ่งศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตทั้งสองครั้งมาแล้ว ต่อมาเมื่อ ส. ต้องไปปฏิบัติหน้าที่ราชการในตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภา จึงมอบหมายให้ ท. เป็นทนายว่าความแทนจำนวนหลายคดี จำเลยเคยไปพบ ท. เพื่อปรึกษาคดี 2 ครั้ง โดย ท. เข้าใจผิดว่าได้รับแต่งตั้งเป็นทนายความของจำเลยแล้ว แสดงว่าจำเลยมีเจตนาแต่งตั้ง ท. เป็นทนายความของจำเลยมาตั้งแต่ก่อนหน้า ท. ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ ต่อมาจำเลยยื่นใบแต่งทนายความฉบับใหม่ให้ ท. เป็นทนายความของจำเลย และศาลชั้นต้นได้รับใบแต่งทนายความฉบับใหม่ไว้แล้ว ถือว่าจำเลยได้แก้ไขข้อบกพร่องที่ไม่ถูกต้องนั้นแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12498/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์ต้องมีทนายความแต่งตั้งเป็นหนังสือ หากไม่มีการแต่งตั้ง ทนายความไม่มีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณา
ตามคำฟ้องอุทธรณ์ของโจทก์มีร้อยตำรวจเอก ป. พนักงานอัยการจังหวัดราชบุรีทนายความลงชื่อเป็นผู้อุทธรณ์ แต่ไม่ปรากฎในสำนวนว่าโจทก์ได้ตั้งแต่งบุคคลผู้นี้เป็นทนายความโจทก์ไว้ ทั้งบุคคลผู้นี้มิได้ทำหน้าที่เป็นทนายความโจทก์มาก่อนที่จะมีการยื่นอุทธรณ์ ดังนั้น จึงไม่มีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาใช้สิทธิในการอุทธรณ์แทนโจทก์ได้
แม้ พ.ร.บ. อัยการฯ มาตรา 11 (2) กำหนดว่า ในคดีแพ่งพนักงานอัยการมีอำนาจดำเนินคดีแทนรัฐบาลในศาลทั้งปวง แต่เมื่อพนักงานอัยการเข้ามาดำเนินการแทนตัวความในคดีแพ่งในฐานะทนายความ การตั้งทนายความจะต้องทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อตัวความและทนายความแล้วยื่นต่อศาลเพื่อรวมไว้ในสำนวนตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 61 เมื่อคดีนี้ไม่มีการตั้งแต่งร้อยตำรวจเอก ป. พนักงานอัยการจังหวัดราชบุรีให้เป็นทนายความแก้ต่างในคำฟ้องอุทธรณ์ คำฟ้องอุทธรณ์ของโจทก์จึงไม่ชอบ
แม้ พ.ร.บ. อัยการฯ มาตรา 11 (2) กำหนดว่า ในคดีแพ่งพนักงานอัยการมีอำนาจดำเนินคดีแทนรัฐบาลในศาลทั้งปวง แต่เมื่อพนักงานอัยการเข้ามาดำเนินการแทนตัวความในคดีแพ่งในฐานะทนายความ การตั้งทนายความจะต้องทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อตัวความและทนายความแล้วยื่นต่อศาลเพื่อรวมไว้ในสำนวนตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 61 เมื่อคดีนี้ไม่มีการตั้งแต่งร้อยตำรวจเอก ป. พนักงานอัยการจังหวัดราชบุรีให้เป็นทนายความแก้ต่างในคำฟ้องอุทธรณ์ คำฟ้องอุทธรณ์ของโจทก์จึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4835/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำฟ้อง, การรับคำฟ้องใหม่, และผลกระทบต่อการดำเนินคดี: กรณีทนายความไม่มีใบอนุญาต
แม้ ป. จะเรียงคำฟ้องและลงลายมือชื่อเป็นโจทก์ในคำฟ้องในขณะที่ขาดจากการเป็นทนายความตาม พ.ร.บ.ทนายความ พ.ศ. 2528 แล้วก็ตาม แต่โจทก์ทั้งสองก็แต่ง ว. เป็นทนายความคนใหม่เข้ามาดำเนินคดีแทนโจทก์ทั้งสองหลังจากฟ้องเพียง 1 เดือนเศษ และ ว. ได้ดำเนินคดีแทนโจทก์ตลอดมาโดยที่ ป. ไม่ได้เข้ามายุ่งเกี่ยวกับคดีโจทก์ทั้งสิ้น ป. จึงทำหน้าที่เป็นทนายความให้โจทก์ทั้งสองเพียงร่างคำฟ้องและลงชื่อในคำฟ้องเท่านั้น จำเลยทั้งเก้าก็มีโอกาสต่อสู้คดีตามคำฟ้องได้เต็มที่ เมื่อศาลชั้นต้นสั่งให้แก้ไขคำฟ้องโดยให้โจทก์ทั้งสองทำคำฟ้องขึ้นใหม่และให้โจทก์ทั้งสองลงชื่อในคำฟ้องโดยมีเงื่อนไขให้คำฟ้องใหม่มีข้อความเช่นเดียวกับคำฟ้องเดิม โจทก์ทั้งสองก็ไม่ได้โต้แย้งว่าข้อความในคำฟ้องเดิมไม่ถูกต้องหรือไม่ตรงตามความประสงค์ของโจทก์ทั้งสอง ซึ่ง พ.ร.บ. ทนายความ พ.ศ. 2528 มุ่งให้ความ คุ้มครอง คำสั่งของศาลชั้นต้นจึงไม่ก่อให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้เปรียบหรือเสียเปรียบทางเชิงคดีอันจะทำให้ความยุติธรรมเสื่อมเสียไป เนื่องจากจำเลยทั้งเก้าซึ่งมีหน้าที่นำสืบก่อนได้สืบพยานเสร็จสิ้นแล้ว ส่วนโจทก์ทั้งสองก็สืบพยานจนเหลือพยานอีกเพียง 2 ปากเท่านั้น คดีก็จะเสร็จสิ้นการพิจารณา ตรงกันข้ามหากศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาของโจทก์ตั้งแต่ยื่นคำฟ้องอันจะส่งผลให้โจทก์ต้องทำคำฟ้องใหม่ จำเลยทั้งเก้าทำคำให้การใหม่ และสืบพยานกันใหม่ซึ่งไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายใดที่บังคับให้จำเลยทั้งเก้าต้องทำคำให้การและสืบพยานเหมือนเดิม จำเลยทั้งเก้าย่อมมีโอกาสแก้ไขปรับปรุงรูปคดีที่อาจเสียเปรียบให้กลับได้เปรียบได้ อันทำให้จำเลยทั้งเก้าได้เปรียบทางเชิงคดีซึ่งหาชอบด้วยความยุติธรรมไม่ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 4 เห็นชอบด้วยคำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่สั่งเพิกถอนกระบวนพิจารณาตามคำร้องของจำเลยที่ 7 และที่ 8 และให้แก้ไขคำฟ้องใหม่ จึงเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยความยุติธรรมตามเจตนารมณ์ของ ป.วิ.พ. มาตรา 27 แล้ว
คำสั่งรับคำฟ้องใหม่ของศาลชั้นต้นเป็นคำสั่งเกี่ยวกับคดีที่เสนอคำฟ้องนั้น และไม่ใช่คำสั่งอย่างใดอย่างหนึ่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 227 และมาตรา 228 จึงเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา จำเลยทั้งเก้าไม่ได้โต้แย้งคัดค้านไว้ จำเลยทั้งเก้าจึงอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าวไม่ได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226 กรณีนี้จึงเท่ากับว่าฎีกาของจำเลยทั้งเก้าในข้อนี้เป็นข้อที่มิได้ ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 4 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249
คำสั่งรับคำฟ้องใหม่ของศาลชั้นต้นเป็นคำสั่งเกี่ยวกับคดีที่เสนอคำฟ้องนั้น และไม่ใช่คำสั่งอย่างใดอย่างหนึ่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 227 และมาตรา 228 จึงเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา จำเลยทั้งเก้าไม่ได้โต้แย้งคัดค้านไว้ จำเลยทั้งเก้าจึงอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าวไม่ได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226 กรณีนี้จึงเท่ากับว่าฎีกาของจำเลยทั้งเก้าในข้อนี้เป็นข้อที่มิได้ ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 4 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249