คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 64

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 63 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3588/2564

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจการดำเนินคดีของบุคคลที่ไม่ได้เป็นทนายความ การแก้ไขคำฟ้องอุทธรณ์ และการปฏิบัติหน้าที่ของศาลตามกฎหมาย
มูลเหตุที่ศาลชั้นต้นไม่รับคำแก้อุทธรณ์ของจำเลยและศาลอุทธรณ์ภาค 9 ยกอุทธรณ์ของจำเลย เนื่องจาก ส. ขณะทำคำแก้อุทธรณ์และอุทธรณ์ไม่ปรากฏว่าเป็นทนายความ จึงต้องห้ามมิให้เป็นผู้เรียงคำแก้อุทธรณ์และอุทธรณ์ ตาม พ.ร.บ.ทนายความ พ.ศ.2528 มาตรา 33 คำแก้อุทธรณ์ของจำเลยจึงเป็นคำคู่ความและคำฟ้องอุทธรณ์ตามลำดับที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมายในส่วนที่เป็นรูปแบบซึ่งสามารถแก้ไขให้ถูกต้องได้ ในส่วนคำแก้อุทธรณ์ศาลชั้นต้นมีอำนาจสั่งให้จำเลยแก้ไขคำแก้อุทธรณ์ให้ถูกต้องเสียก่อน ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 18 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 ในส่วนอุทธรณ์เมื่อจำเลยอุทธรณ์โดย ส. ผู้รับมอบอำนาจจำเลยลงชื่อเป็นผู้อุทธรณ์ ผู้เรียง และผู้พิมพ์ เช่นเดียวกันกับคำแก้อุทธรณ์ของจำเลย ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับไปแล้ว คำฟ้องอุทธรณ์ของจำเลยไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (7) ประกอบมาตรา 215 ถือเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งตาม ป.วิ.อ. มาตรา 161 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 215 ให้อำนาจแก่ศาลที่จะสั่งให้จำเลยแก้ฟ้องอุทธรณ์ให้ถูกต้องได้ แต่ศาลชั้นต้นกลับสั่งรับฟ้องอุทธรณ์ของจำเลย จึงเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎหมาย ศาลอุทธรณ์ภาค 9 ชอบที่จะเพิกถอนการรับฟ้องอุทธรณ์ของศาลชั้นต้น และให้ศาลชั้นต้นดำเนินการพิจารณาใหม่ หรือศาลอุทธรณ์ภาค 9 ดำเนินการเสียเองให้จำเลยแก้ไขให้ถูกต้องก่อนก็ได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 ศาลอุทธรณ์ภาค 9 ยกฟ้องอุทธรณ์ของจำเลยเสียทีเดียว จึงไม่ต้องด้วยความเห็นของศาลฎีกา แต่ข้อเท็จจริงปรากฏในชั้นฎีกาว่า จำเลยโดย ส. ผู้รับมอบอำนาจได้ยื่นใบแต่งทนายความแต่งตั้ง ส. ให้ใช้สิทธิในการอุทธรณ์หรือฎีกาได้แล้ว อันไม่จำต้องดำเนินการใด ๆ เกี่ยวกับเรื่องนี้อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2204/2564

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจการยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาฎีกา: ทนายความต้องดำเนินการด้วยตนเอง
ไม่ปรากฏในสำนวนว่าจำเลยทั้งสองได้ตั้งแต่ง ณ. เป็นทนายความและ ณ. มิได้ทำหน้าที่เป็นทนายความจำเลยทั้งสองมาก่อนที่จะมีการยื่นฎีกา ณ. จึงไม่มีอำนาจยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นฎีกาแทนจำเลยทั้งสองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 60, 61 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 ทั้งการที่จำเลยทั้งสองตั้งแต่ง ส. เป็นทนายความและ ส. เคยมอบฉันทะให้ ณ. เป็นเสมียนทนายทำการแทนในกิจการยื่นคำร้องขอขยายเวลายื่นอุทธรณ์ครั้งที่ 3 รับทราบคำสั่งศาล รับทราบกำหนดวันนัด รับเอกสารจากศาล ตรวจสำนวน รวมถึงให้ถ้อยคำแถลงต่อศาลและแก้ไขข้อความที่พิมพ์ผิดพลาดได้ ก็ไม่ทำให้ ณ. เสมียนทนายจำเลยทั้งสองมีอำนาจทำคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นฎีกา เพราะทนายความอาจมอบอำนาจให้บุคคลใดบุคคลหนึ่งทำการแทนได้ในกิจการที่ระบุไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 64 เท่านั้น โดยไม่รวมถึงกิจการสำคัญเกี่ยวกับคดีซึ่งโดยสภาพเป็นที่เห็นได้ว่าทนายความจะต้องกระทำด้วยตนเองเช่นการทำคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นฎีกา ปัญหานี้เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสองยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาฎีกา มีผลทำให้คำสั่งของศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้ฎีกาและฎีกาของจำเลยทั้งสองเป็นฎีกาที่ยื่นเกินกำหนดระยะเวลาฎีกาไม่ชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13316/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายระยะเวลาชำระค่าธรรมเนียมศาล และการมอบฉันทะที่ไม่ชอบตาม พ.ร.บ.ทนายความ
ในการขอขยายระยะเวลาชำระค่าธรรมเนียมศาลชั้นอุทธรณ์ครั้งแรก ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยทั้งสองขยายระยะเวลาชำระค่าธรรมเนียมศาลชั้นอุทธรณ์ 15 วัน ซึ่งจะครบกำหนดในวันที่ 26 ธันวาคม 2557 เมื่อครบกำหนดจำเลยที่ 1 มิได้ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาชำระค่าธรรมเนียมศาลในครั้งที่สองแต่อย่างใด คงมีเพียง ศ. ผู้รับมอบฉันทะจำเลยที่ 2 เท่านั้นที่ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาชำระค่าธรรมเนียมศาลออกไปอีก 30 วัน จำเลยที่ 1 จึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้ยกคำร้องขอขยายระยะเวลาชำระค่าธรรมเนียมศาลดังกล่าว
ป.วิ.พ. มาตรา 64 บัญญัติให้คู่ความหรือทนายความอาจมอบฉันทะให้บุคคลอื่นทำการแทนในกิจการอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้คือกำหนดวันนั่งพิจารณาหรือวันสืบพยานหรือวันฟังคำสั่ง คำบังคับ หรือคำชี้ขาดใด ๆ ของศาล มาฟังคำสั่ง คำบังคับ หรือคำชี้ขาดใด ๆ ของศาล หรือสลักหลังรับรู้ซึ่งข้อความนั้น ๆ รับสำเนาแห่งคำให้การ คำร้องหรือเอกสารอื่น ๆ ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 71 และ 72 และแสดงการรับรู้สิ่งเหล่านั้น ส่วนกิจการอื่นนอกจากนี้ต้องพิเคราะห์เป็นเรื่อง ๆ ไปว่าเป็นกิจการสำคัญซึ่งโดยสภาพเป็นที่เห็นได้ว่าคู่ความหรือทนายความจะต้องกระทำด้วยตนเองหรือไม่ การที่ ศ. ทำคำร้องขอขยายระยะเวลาชำระค่าธรรมเนียมศาลลงชื่อเป็นผู้เรียงและเขียนโดยอาศัยใบมอบฉันทะของจำเลยที่ 2 ที่ระบุไว้ให้ทำคำร้องได้นั้น เห็นได้ว่าเป็นกิจการอื่นนอกจากที่ ป.วิ.พ. มาตรา 64 บัญญัติไว้ และเป็นกิจการสำคัญที่คู่ความหรือทนายความจะต้องกระทำด้วยตนเอง ไม่อาจแต่งตั้งให้บุคคลทำการแทนได้ ทั้งการมอบฉันทะดังกล่าวไม่ทำให้ ศ. อยู่ในฐานะคู่ความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 1 (11) เมื่อ ศ. มิใช่ผู้ซึ่งจดทะเบียนและรับใบอนุญาตให้เป็นทนายความและมิได้กระทำในฐานะเป็นข้าราชการผู้ปฏิบัติการตามหน้าที่หรือเป็นเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานของรัฐ องค์การของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ ผู้ปฏิบัติการตามหน้าที่หรือมีอำนาจหน้าที่กระทำได้โดยบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความหรือกฎหมายอื่น การเรียงคำร้องอันเกี่ยวแก่การพิจารณาคดีในศาลให้แก่จำเลยที่ 2 ของ ศ. ดังกล่าวจึงขัดต่อ พ.ร.บ.ทนายความ พ.ศ.2528 มาตรา 33 ดังนั้น คำร้องขอขยายระยะเวลาชำระค่าธรรมเนียมศาลของจำเลยที่ 2 ดังกล่าวจึงเป็นคำร้องที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246, 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13316/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การมอบฉันทะขอขยายระยะเวลาชำระค่าธรรมเนียมศาล ต้องเป็นไปตามเงื่อนไข ป.วิ.พ. และ พ.ร.บ.ทนายความ
การที่ ศ. ทำคำร้องขอขยายระยะเวลาชำระค่าธรรมเนียมศาลโดยลงชื่อเป็นผู้เรียงและเขียนโดยอาศัยใบมอบฉันทะของจำเลยที่ 2 ที่ระบุไว้ให้ทำคำร้องได้นั้น เป็นกิจการอื่นนอกจากที่ ป.วิ.พ. มาตรา 64 บัญญัติไว้ และเป็นกิจการสำคัญที่คู่ความหรือทนายความจะต้องกระทำด้วยตนเอง ไม่อาจแต่งตั้งให้บุคคลทำการแทนได้ ทั้งการมอบฉันทะดังกล่าวไม่ทำให้ ศ. อยู่ในฐานะคู่ความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 1 (11) เมื่อ ศ. มิใช่ผู้ซึ่งจดทะเบียนและรับใบอนุญาตให้เป็นทนายความ และมิได้กระทำในฐานะเป็นข้าราชการผู้ปฏิบัติการตามหน้าที่หรือเป็นเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานของรัฐ องค์การของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ ผู้ปฏิบัติการตามหน้าที่หรือมีอำนาจหน้าที่กระทำได้โดยบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความหรือกฎหมายอื่น การเรียงคำร้องอันเกี่ยวแก่การพิจารณาคดีในศาลให้แก่จำเลยที่ 2 ของ ศ. ดังกล่าวจึงขัดต่อ พ.ร.บ.ทนายความ พ.ศ.2528 มาตรา 33 ดังนั้น คำร้องขอขยายระยะเวลาชำระค่าธรรมเนียมศาลของจำเลยที่ 2 ดังกล่าวจึงเป็นคำร้องที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246, 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12368/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำกัดความรับผิดตามสัญญาค้ำประกัน, ค่าฤชาธรรมเนียม, และการคืนค่าขึ้นศาลเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงจำนวนหนี้
โจทก์และจำเลยที่ 3 ตกลงท้ากันให้ถือเอาผลการตรวจพิสูจน์ลายมือชื่อของจำเลยที่ 3 เป็นข้อแพ้ชนะคดีโดยมิได้กำหนดว่าให้หน่วยงานใดเป็นผู้ตรวจพิสูจน์ เมื่อศาลชั้นต้นมีหนังสือให้ส่งเอกสารต่าง ๆ ไปให้กองพิสูจน์หลักฐาน ทำการตรวจพิสูจน์โจทก์และจำเลยที่ 3 มิได้โต้แย้งคัดค้าน เท่ากับโจทก์และจำเลยที่ 3 ตกลงยินยอมให้กองพิสูจน์หลักฐานทำการตรวจพิสูจน์ตามที่โจทก์และจำเลยที่ 3 ท้ากัน อันเป็นเงื่อนไขอย่างหนึ่งของคำท้า ระหว่างรอผลการตรวจพิสูจน์อยู่เป็นเวลานานมาก จำเลยที่ 3 เพียงฝ่ายเดียวยื่นคำแถลงขอให้ศาลชั้นต้นเรียกเอกสารคืนจากกองพิสูจน์หลักฐาน เพื่อส่งไปให้สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ทำการตรวจพิสูจน์ การที่ศาลชั้นต้นสอบถามผู้รับมอบฉันทะจากทนายโจทก์แล้วไม่คัดค้านและศาลชั้นต้นมีหนังสือเรียกเอกสารคืนจากกองพิสูจน์หลักฐาน เพื่อส่งไปตรวจพิสูจน์ที่สถาบันนิติวิทยาศาสตร์นั้น เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นภายหลังจากมีการดำเนินกระบวนพิจารณาตามคำท้าแล้ว ซึ่งเป็นเรื่องนอกเหนือคำท้าและโจทก์มิได้ตกลงยินยอมด้วย จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ตกลงเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขของคำท้าเป็นให้สถาบันนิติวิทยาศาสตร์เป็นผู้ตรวจพิสูจน์ เพราะคำท้าของคู่ความนั้นจะเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขหรือยกเลิกได้ก็โดยคู่ความตกลงกันเท่านั้น จำเลยที่ 3 หาอาจเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขหรือยกเลิกคำท้าแต่ฝ่ายเดียวได้ไม่
แม้ผู้รับมอบฉันทะจากทนายโจทก์แถลงไม่คัดค้านคำแถลงของจำเลยที่ 3 ที่จำเลยที่ 3 ขอให้ศาลชั้นต้นเรียกเอกสารคืนจากกองพิสูจน์หลักฐานแล้วส่งไปให้สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ทำการตรวจพิสูจน์ ก็หามีผลผูกพันถึงโจทก์ไม่ เพราะทนายโจทก์มอบฉันทะให้ผู้รับมอบฉันทะจากทนายโจทก์มารับทราบการดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นในวันนัดพร้อมเพื่อฟังผลการตรวจพิสูจน์เท่านั้น และกรณีตามคำแถลงของจำเลยที่ 3 ดังกล่าวเป็นกิจการที่สำคัญเกี่ยวกับคดีซึ่งโดยสภาพเป็นที่เห็นได้ว่าทนายโจทก์จะต้องกระทำด้วยตนเอง ดังนั้น ผู้รับมอบฉันทะจากทนายโจทก์จึงไม่มีอำนาจแถลงต่อศาลว่าจะคัดค้านคำแถลงของจำเลยที่ 3 หรือไม่ คำแถลงของผู้รับมอบฉันทะจากทนายโจทก์จึงไม่มีผลผูกพันใด ๆ ต่อโจทก์
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยที่ 3 ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ในจำนวนทุนทรัพย์ 4,828,975.63 บาท ทั้ง ๆ ที่จำเลยที่ 3 ค้ำประกันจำเลยที่ 1 ในวงเงิน 500,000 บาท พร้อมดอกเบี้ย จึงเป็นเรื่องที่โจทก์ใช้สิทธิดำเนินคดีแก่จำเลยที่ 3 ให้รับผิดเกินกว่าความรับผิดตามกฎหมายไปเป็นจำนวนมาก เมื่อจำเลยที่ 3 ต้องรับผิดต่อโจทก์ในจำนวนเงิน 500,000 บาท พร้อมดอกเบี้ย จำเลยที่ 3 จึงควรรับผิดใช้ค่าฤชาธรรมเนียมในศาลชั้นต้นแทนโจทก์เท่าทุนทรัพย์ที่โจทก์ชนะคดี
การที่โจทก์ใช้สิทธิดำเนินคดีแก่จำเลยที่ 3 ให้รับผิดเกินกว่าความรับผิดตามกฎหมายไปเป็นจำนวนมาก เป็นเหตุให้จำเลยที่ 3 ต้องอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นในจำนวนทุนทรัพย์ 4,709,472.66 บาท เกินกว่าความรับผิดของจำเลยที่ 3 ซึ่งมีอยู่เพียง 500,000 บาท พร้อมดอกเบี้ย ดังนั้น จำนวนทุนทรัพย์ 4,209,472.66 บาท ที่จำเลยที่ 3 ต้องเสียค่าขึ้นศาลในชั้นอุทธรณ์จึงเกิดจากการดำเนินคดีของโจทก์เกินกว่าความรับผิดของจำเลยที่ 3 ดังกล่าว จึงเห็นสมควรให้โจทก์รับผิดใช้ค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ในส่วนนี้แก่จำเลยที่ 3 ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาว่าค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับนั้น ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์
จำเลยที่ 3 ฎีกาขอให้ศาลฎีกาพิพากษากลับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เป็นให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นเพื่อให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่ให้ถูกต้องในส่วนของคำท้าและหากศาลฎีกาเห็นว่า คำท้าของคู่ความเป็นไปโดยถูกต้องตามคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ ขอให้ศาลฎีกาพิพากษาในปัญหาเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมในศาลชั้นต้นและชั้นอุทธรณ์ โดยมิได้ขอให้ศาลฎีกาพิพากษาให้จำเลยที่ 3 เป็นฝ่ายชนะคดีหรือยกฟ้องโจทก์ ฎีกาของจำเลยที่ 3 จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกา 200 บาท ตามบัญชีท้าย ป.วิ.พ. ตาราง 1 ข้อ (2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2955/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทิ้งฟ้องฎีกาเนื่องจากไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลในการส่งสำเนาฎีกา
ทนายผู้ร้องทำใบมอบฉันทะให้เสมียนทนายมายื่นฎีกา นำหมายและรับทราบคำสั่ง ปรากฏว่า เสมียนทนายผู้ร้องได้นำฎีกาของผู้ร้องมายื่นต่อศาลชั้นต้นในวันที่ 13 มิถุนายน 2551 ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ผู้ร้องนำส่งสำเนาฎีกาให้ผู้คัดค้านภายใน 15 วัน มิฉะนั้นจะถือว่าทิ้งฎีกา และในฎีกาดังกล่าวมีข้อความประทับไว้ว่า "ข้าพเจ้าจะมาฟังคำสั่งภายใน 7 วัน นับแต่วันนี้ หากไม่มาให้ถือว่าทราบคำสั่งแล้ว" เมื่อเสมียนทนายผู้ร้องลงลายมือชื่อไว้ใต้ข้อความดังกล่าว จึงต้องถือว่าทนายผู้ร้องได้ทราบคำสั่งศาลชั้นต้นที่สั่งในฎีกาของผู้ร้องแล้วตั้งแต่วันที่ 20 มิถุนายน 2551 และถือว่าผู้ร้องได้ทราบคำสั่งศาลชั้นต้นนั้นด้วย เมื่อผู้ร้องเพิกเฉยไม่นำส่งสำเนาฎีกาภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้ จึงเป็นการทิ้งฟ้องฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 174 (2) ประกอบด้วยมาตรา 246 และ 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3790/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลื่อนคดีล้มละลายและการมีอยู่ของคู่ความโดยชอบ ศาลฎีกาพิพากษายกคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์
หลังจากศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งอนุญาตให้พิจารณาคดีใหม่และนัดสืบพยานโจทก์และพยานจำเลยที่ 1 เป็นนัดแรก ทนายจำเลยที่ 1 ขอเลื่อนคดีอ้างว่าป่วยโดยมีใบรับรองแพทย์โรงพยาบาล ร. มาแสดง ระบุว่าทนายจำเลยที่ 1 มีอาการปวดหลัง กล้ามเนื้ออักเสบ ประกอบกับทนายโจทก์ไม่คัดค้านการขอเลื่อนคดีจึงน่าเชื่อว่าทนายจำเลยที่ 1 มีอาการป่วยจริง พฤติการณ์ถือได้ว่ามีเหตุจำเป็นอันมิอาจก้าวล่วงเสียได้ จึงมีเหตุสมควรอนุญาตให้จำเลยที่ 1 เลื่อนคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 40 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลายฯ มาตรา 14
ในวันนัดสืบพยานดังกล่าวทนายจำเลยที่ 1 มอบฉันทะให้ ป. เสมียนทนายมาศาลและมีอำนาจในการยื่นคำร้องขอเลื่อนคดี กำหนดวันนัดพิจารณา ฟังคำสั่งและลงลายมือชื่อแทนทนายจำเลยที่ 1 เช่นนี้ ป. จึงมีฐานะเป็นคู่ความแล้ว มิใช่ไม่มีคู่ความฝ่ายจำเลยที่ 1 มาศาลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 200 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลายฯ มาตรา 14 ที่ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งว่าจำเลยที่ 1 ขาดนัดพิจารณาจึงไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9187/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตอำนาจผู้รับมอบฉันทะ: การฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ และการปฏิบัติหน้าที่ตามมอบหมาย
ใบมอบฉันทะของโจทก์ลงวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2546 ได้มอบอำนาจให้ ว. ไปฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 7 และลงลายมือชื่อรับทราบคำสั่งศาลในคดีนี้โดยมิได้ระบุว่าให้ฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 7 ในวันเวลาใด ดังนั้น ตราบใดที่ยังไม่มีการอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 7 ว. ก็ยังมีอำนาจฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 7 อยู่จนกว่าโจทก์จะถอนหรือยกเลิกใบมอบฉันทะ การที่ ว. มาฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 7 เวลา 16.15 นาฬิกา หลังจากที่ศาลมีคำสั่งในรายงานกระบวนพิจารณา ลงวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2546 เวลา 10 นาฬิกา แล้วให้เลื่อนการฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 7 ไปเป็นวันที่ 11 มีนาคม 2546 เวลา 9 นาฬิกา และออกหมายจับจำเลยรวมทั้งปรับนายประกันแล้วก็ต้องถือว่า ว. ได้ปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับมอบฉันทะจากโจทก์ มิใช่กระทำโดยพลการดังนั้น เมื่อศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 7 ให้ ว. ฟังก็ต้องถือว่าได้อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 7 ให้โจทก์ฟังโดยชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9015/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การมอบอำนาจให้รับฟังคำพิพากษาแทนโจทก์: อำนาจยังคงอยู่จนกว่าจะมีการอ่านคำพิพากษาเสร็จสิ้น แม้มีการเลื่อนนัด
ใบมอบฉันทะของโจทก์ลงวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2546 ระบุว่าโจทก์มอบอำนาจให้ ว. ไปฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 7 และลงลายมือชื่อรับทราบคำสั่งศาลในคดีนี้โดยมิได้ระบุว่าให้ฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 7 ในวันเวลาใด การมอบฉันทะดังกล่าวก็เพื่อให้ ว. มาฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 7 แทนโจทก์จนเสร็จการนั้นเอง ตราบใดที่ยังไม่มีการอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 7 ว. ก็ยังมีอำนาจฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 7 อยู่จนกว่าโจทก์จะถอนหรือยกเลิกใบมอบฉันทะดังกล่าว การที่ ว. มาฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 7 อีกครั้งหนึ่งในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2546 เวลา 16.15 นาฬิกา หลังจากที่ศาลมีคำสั่งในรายงานกระบวนพิจารณา ลงวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2546 เวลา 10 นาฬิกา ให้เลื่อนการฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 7 ไปเป็นวันที่ 11 มีนาคม 2546 เวลา 9 นาฬิกา และออกหมายจับจำเลยรวมทั้งปรับนายประกันแล้วเช่นนี้ ก็ต้องถือว่า ว. ได้ปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับมอบฉันทะจากโจทก์ มิใช่กระทำโดยพลการตามที่โจทก์ฎีกาแต่อย่างใด ดังนั้น เมื่อศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 7 ให้ ว. ฟังก็ต้องถือว่าได้อ่าน คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 7 ให้โจทก์ฟังโดยชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1938/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประวิงคดีและการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ชอบด้วยกฎหมาย แม้จำเลยไม่ติดใจขอเลื่อนคดี
ทนายจำเลยที่ 1 เคยขอเลื่อนคดีมาแล้วสองครั้ง ครั้งที่สามนัดสืบพยานโจทก์ทนายจำเลยที่ 1 มอบฉันทะให้เสมียนทนายศาล และยื่นคำร้องขอถอนตัวจากการเป็นทนายของจำเลยที่ 1 ซึ่งจำเลยที่ 1 ลงชื่อรับทราบเรื่องการถอนตัวไว้ในคำร้องดังกล่าวด้วยแสดงว่าจำเลยที่ 1 ทราบล่วงหน้าแล้วว่าในวันนัดนี้ตนจะไม่มีทนายความต่อสู้คดีให้ชอบที่จำเลยที่ 1 จะต้องแต่งตั้งทนายความคนใหม่เข้ามาดำเนินคดีแทน หรืออย่างน้อยตัวจำเลยที่ 1 ก็น่าจะมาศาลเพื่อแถลงขอเลื่อนคดีไปก่อน ทั้งตามคำร้องขอถอนทนายดังกล่าวก็มิได้ร้องขอเลื่อนคดีมาด้วยจึงต้องถือว่าจำเลยที่ 1 ไม่ติดใจขอเลื่อนคดีหาใช่ว่าคำร้องขอถอนทนายเท่ากับเป็นการขอเลื่อนคดีอยู่ในตัวไม่ พฤติการณ์ของจำเลยที่ 1 ส่อไปในทางประวิงคดี ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นให้โจทก์นำพยานเข้าสืบและถือว่าจำเลยที่ 1 ไม่ติดใจสืบพยานโดยสั่งงดสืบพยานจำเลยที่ 1 พร้อมกับมีคำพิพากษาในวันเดียวกันนั้นจึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว
of 7