พบผลลัพธ์ทั้งหมด 31 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6798/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจสั่งจ่ายเช็ค, ความรับผิดส่วนบุคคลกรรมการ, และการกู้ยืมเงินเพื่อหาเสียงเลือกตั้ง
แม้บริษัทจำเลยที่ 1 จดทะเบียนโดยปรากฏข้อความในรายการเอกสารทะเบียนว่า ป. ผู้ตายเป็นกรรมการของจำเลยที่ 1 ป. กับกรรมการอื่นอีก 2 คน ลงลายมือชื่อร่วมกันประทับตราของบริษัท จำเลยที่ 1 ลงชื่อผูกพันจำเลยที่ 1 ได้ แต่จำเลยที่ 1 เปิดบัญชีกระแสรายวันกับธนาคารตามเช็ค โดยให้ตัวอย่างลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายเฉพาะกรรมการอื่น 4 คน โดยไม่ปรากฏตัวอย่างลายมือชื่อของ ป. ด้วย ป. จึงไม่มีอำนาจลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คแทนจำเลยที่ 1 การที่ ป. ร่วมลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คพิพาทโดยไม่มีอำนาจสั่งจ่ายแทนจำเลยที่ 1 และมิได้ระบุว่ากระทำการแทนจำเลยที่ 1 แล้วนำเช็คพิพาทไปแลกกับเช็คซึ่ง ป. สั่งจ่ายให้แก่โจทก์เพื่อชำระหนี้ส่วนตัว ป. จึงต้องร่วมรับผิดตามเช็คพิพาท เป็นการส่วนตัว ตาม ป.พ.พ. มาตรา 900
ป.วิ.พ. มาตรา 97 บัญญัติว่า คู่ความฝ่ายหนึ่งจะอ้างคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งเป็นพยานของตนหรือจะอ้างตนเอง เป็นพยานก็ได้ การที่โจทก์อ้างจำเลยที่ 2 เบิกความเป็นพยานโจทก์ จึงไม่เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต
การที่โจทก์ละเลยไม่ยื่นเช็คพิพาทให้ธนาคารใช้เงินภายในกำหนดเวลา 1 เดือน หรือ 3 เดือน นับแต่วันออกเช็ค ตาม ป.พ.พ. มาตรา 990 วรรคหนึ่ง คงมีผลเพียงทำให้โจทก์สิ้นสิทธิไล่เบี้ยแก่ผู้สลักหลัง และเสียสิทธิอันมีต่อผู้สั่งจ่ายเพียงเท่าที่จะเกิดความเสียหายอย่างหนึ่งอย่างใดแก่ผู้สั่งจ่ายเพราะการละเลยไม่ยื่นเช็คนั้น
ความเสียหายเพราะการละเลยไม่ยื่นเช็คพิพาทในการกำหนดตามมาตรา 990 วรรคหนึ่ง เป็นหน้าที่ผู้สั่งจ่ายจะต้องพิสูจน์เพื่อให้พ้นความรับผิด
ปัญหาตามฎีกาของจำเลยที่ 4 ที่ว่า โจทก์ให้ ป. ยืมเงิน 4,500,000 บาท ไปใช้ในการหาเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการสนับสนุนให้มีการกระทำผิดตาม พ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2522 มาตรา 32 แก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2535 มาตรา 15 ที่บัญญัติว่า ผู้สมัครแต่ละคนจะใช้จ่ายเกี่ยวกับการเลือกตั้งทั้งหมดเกิน 1,000,000 บาท ไม่ได้ การกู้ยืมเงินตามเช็คพิพาทจึงตกเป็นโมฆะ เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยที่ 4 จะมิได้ให้การต่อสู้คดีไว้ จำเลยที่ 4 ก็มีสิทธิยกขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์และชั้นฎีกาได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคสอง และมาตรา 249 วรรคสอง
โจทก์ให้ ป. ยืมเงิน 4,500,000 บาท ตั้งแต่เดือนมีนาคม 2539 เป็นการยืมเงินก่อนประกาศ พ.ร.ฎ. ให้มี การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประมาณ 6 เดือน และเช็คตามเอกสารหมาย จ.5 ซึ่ง ป. ชำระหนี้ให้แก่โจทก์ ก็มีกำหนดสั่งจ่ายในวันที่ 17 เมษายน 2539 ก่อนประกาศ พ.ร.ฎ. ให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรถึง 5 เดือนเศษ จึงฟังไม่ได้ว่าโจทก์ให้ ป. ยืมเงินเพื่อสนับสนุนให้มีการกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2522 มาตรา 32 ที่แก้ไขแล้ว การออกเช็คพิพาทแลกกับเช็คตามเอกสารหมาย จ.5 จึงไม่ตกเป็นโมฆะ
ป.วิ.พ. มาตรา 97 บัญญัติว่า คู่ความฝ่ายหนึ่งจะอ้างคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งเป็นพยานของตนหรือจะอ้างตนเอง เป็นพยานก็ได้ การที่โจทก์อ้างจำเลยที่ 2 เบิกความเป็นพยานโจทก์ จึงไม่เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต
การที่โจทก์ละเลยไม่ยื่นเช็คพิพาทให้ธนาคารใช้เงินภายในกำหนดเวลา 1 เดือน หรือ 3 เดือน นับแต่วันออกเช็ค ตาม ป.พ.พ. มาตรา 990 วรรคหนึ่ง คงมีผลเพียงทำให้โจทก์สิ้นสิทธิไล่เบี้ยแก่ผู้สลักหลัง และเสียสิทธิอันมีต่อผู้สั่งจ่ายเพียงเท่าที่จะเกิดความเสียหายอย่างหนึ่งอย่างใดแก่ผู้สั่งจ่ายเพราะการละเลยไม่ยื่นเช็คนั้น
ความเสียหายเพราะการละเลยไม่ยื่นเช็คพิพาทในการกำหนดตามมาตรา 990 วรรคหนึ่ง เป็นหน้าที่ผู้สั่งจ่ายจะต้องพิสูจน์เพื่อให้พ้นความรับผิด
ปัญหาตามฎีกาของจำเลยที่ 4 ที่ว่า โจทก์ให้ ป. ยืมเงิน 4,500,000 บาท ไปใช้ในการหาเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการสนับสนุนให้มีการกระทำผิดตาม พ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2522 มาตรา 32 แก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2535 มาตรา 15 ที่บัญญัติว่า ผู้สมัครแต่ละคนจะใช้จ่ายเกี่ยวกับการเลือกตั้งทั้งหมดเกิน 1,000,000 บาท ไม่ได้ การกู้ยืมเงินตามเช็คพิพาทจึงตกเป็นโมฆะ เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยที่ 4 จะมิได้ให้การต่อสู้คดีไว้ จำเลยที่ 4 ก็มีสิทธิยกขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์และชั้นฎีกาได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคสอง และมาตรา 249 วรรคสอง
โจทก์ให้ ป. ยืมเงิน 4,500,000 บาท ตั้งแต่เดือนมีนาคม 2539 เป็นการยืมเงินก่อนประกาศ พ.ร.ฎ. ให้มี การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประมาณ 6 เดือน และเช็คตามเอกสารหมาย จ.5 ซึ่ง ป. ชำระหนี้ให้แก่โจทก์ ก็มีกำหนดสั่งจ่ายในวันที่ 17 เมษายน 2539 ก่อนประกาศ พ.ร.ฎ. ให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรถึง 5 เดือนเศษ จึงฟังไม่ได้ว่าโจทก์ให้ ป. ยืมเงินเพื่อสนับสนุนให้มีการกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2522 มาตรา 32 ที่แก้ไขแล้ว การออกเช็คพิพาทแลกกับเช็คตามเอกสารหมาย จ.5 จึงไม่ตกเป็นโมฆะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6798/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คพิพาท: การฟ้องร้องเรียกเงินตามเช็ค, ความล่าช้าในการเรียกเก็บ, และการสนับสนุนทางการเงินในการเลือกตั้ง
โจทก์ฟ้องเรียกให้จำเลยที่ 4 ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ป. ชำระเงินตามเช็คพิพาทซึ่ง ป. ร่วมลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเพื่อชำระหนี้ให้แก่โจทก์แล้วธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คพิพาท โดยระบุรายละเอียดของเช็คพิพาทและแนบสำเนาภาพถ่ายเช็คพิพาทมาท้ายคำฟ้อง พร้อมทั้งคำขอบังคับที่ให้จำเลยที่ 4 ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ป. ร่วมรับผิดชำระเงินตามเช็คพิพาทพร้อมดอกเบี้ยดังนี้ คำฟ้องของโจทก์จึงเป็นคำฟ้องที่แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นสำหรับจำเลยที่ 4 ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 วรรคสอง ครบถ้วนแล้ว ส่วนมูลหนี้ตามเช็คพิพาทจะเป็นการชำระหนี้อะไรเป็นรายละเอียดที่โจทก์สามารถนำสืบในชั้นพิจารณาได้ ฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 4 จึงไม่เคลือบคลุม
แม้จำเลยที่ 1 จะได้จดทะเบียนนิติบุคคลว่า ป. เป็นกรรมการของจำเลยที่ 1 แต่จำเลยที่ 1 เปิดบัญชีกระแสรายวันกับธนาคาร น. โดยให้ตัวอย่างลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายเฉพาะกรรมการอื่น 4 คน โดยไม่ปรากฏตัวอย่างลายมือชื่อของ ป. ด้วย ป. จึงไม่มีอำนาจลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คของธนาคาร น. แทนจำเลยที่ 1 การที่ ป. ร่วมลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คพิพาทโดยไม่มีอำนาจสั่งจ่ายแทนจำเลยที่ 1 และมิได้ระบุว่าการกระทำการแทนจำเลยที่ 1 แล้วนำเช็คพิพาทไปแลกกับเช็คฉบับอื่นซึ่ง ป. สั่งจ่ายให้แก่โจทก์เพื่อชำระหนี้ส่วนตัว ป. จึงต้องร่วมรับผิดตามเช็คพิพาทเป็นการส่วนตัวตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 900
การที่โจทก์ละเลยไม่ยื่นเช็คพิพาทให้ธนาคารใช้เงินภายในกำหนด 1 เดือน หรือ 3 เดือน นับแต่วันออกเช็คตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 990 วรรคหนึ่ง คงมีผลเพียงทำให้โจทก์สิ้นสิทธิไล่เบี้ยแก่ผู้สลักหลังและเสียสิทธิอันมีต่อผู้สั่งจ่ายเพียงเท่าที่จะเกิดความเสียหายอย่างหนึ่งอย่างใดแก่ผู้สั่งจ่ายเพราะการละเลยไม่ยื่นเช็คนั้น ซึ่งเป็นหน้าที่ผู้สั่งจ่ายจะต้องพิสูจน์เพื่อให้พ้นความรับผิด แต่จำเลยที่ 4 ไม่ได้นำสืบว่าการที่โจทก์ละเลยไม่ยื่นเช็คพิพาทภายในกำหนดทำให้เกิดความเสียหายแก่ ป. ในฐานะผู้สั่งจ่าย ป. จึงไม่พ้นความรับผิดตามเช็คพิพาท
แม้จำเลยที่ 1 จะได้จดทะเบียนนิติบุคคลว่า ป. เป็นกรรมการของจำเลยที่ 1 แต่จำเลยที่ 1 เปิดบัญชีกระแสรายวันกับธนาคาร น. โดยให้ตัวอย่างลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายเฉพาะกรรมการอื่น 4 คน โดยไม่ปรากฏตัวอย่างลายมือชื่อของ ป. ด้วย ป. จึงไม่มีอำนาจลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คของธนาคาร น. แทนจำเลยที่ 1 การที่ ป. ร่วมลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คพิพาทโดยไม่มีอำนาจสั่งจ่ายแทนจำเลยที่ 1 และมิได้ระบุว่าการกระทำการแทนจำเลยที่ 1 แล้วนำเช็คพิพาทไปแลกกับเช็คฉบับอื่นซึ่ง ป. สั่งจ่ายให้แก่โจทก์เพื่อชำระหนี้ส่วนตัว ป. จึงต้องร่วมรับผิดตามเช็คพิพาทเป็นการส่วนตัวตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 900
การที่โจทก์ละเลยไม่ยื่นเช็คพิพาทให้ธนาคารใช้เงินภายในกำหนด 1 เดือน หรือ 3 เดือน นับแต่วันออกเช็คตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 990 วรรคหนึ่ง คงมีผลเพียงทำให้โจทก์สิ้นสิทธิไล่เบี้ยแก่ผู้สลักหลังและเสียสิทธิอันมีต่อผู้สั่งจ่ายเพียงเท่าที่จะเกิดความเสียหายอย่างหนึ่งอย่างใดแก่ผู้สั่งจ่ายเพราะการละเลยไม่ยื่นเช็คนั้น ซึ่งเป็นหน้าที่ผู้สั่งจ่ายจะต้องพิสูจน์เพื่อให้พ้นความรับผิด แต่จำเลยที่ 4 ไม่ได้นำสืบว่าการที่โจทก์ละเลยไม่ยื่นเช็คพิพาทภายในกำหนดทำให้เกิดความเสียหายแก่ ป. ในฐานะผู้สั่งจ่าย ป. จึงไม่พ้นความรับผิดตามเช็คพิพาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1007/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสลักหลังเช็คในฐานะผู้รับประกัน (อาวัล) และข้อยกเว้นการฟ้องร้องผู้สลักหลังตามมาตรา 990
โจทก์เป็นผู้ทรงเช็คพิพาทโดยสุจริต แม้เช็คพิพาทเป็นเช็คให้ใช้เงินเมืองเดียวกันกับที่ออกเช็ค และโจทก์มิได้ ยื่นแก่ธนาคารให้ใช้เงินภายใน 1 เดือน นับแต่วันออกเช็คก็ตาม แต่จำเลยที่ 2 สลักหลังเช็คพิพาทซึ่งจำเลยที่ 1 เป็นผู้สั่งจ่ายแก่ผู้ถือ ซึ่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 921 ประกอบด้วยมาตรา 989 ให้ถือว่าการสลักหลังนั้นเป็นเพียง ประกัน (อาวัล) สำหรับผู้สั่งจ่าย หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งเป็นการ รับประกันเพื่อการใช้เงินตามเช็คนั้น จำเลยที่ 2 จึงต้องผูกพันตนเป็นอย่างเดียวกันและรับผิดร่วมกันกับจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้ทรงตามมาตรา 940 และ 967 ประกอบด้วยมาตรา 989ในฐานะผู้รับประกันการใช้เงิน (อาวัล) สำหรับผู้สั่งจ่าย จำเลยที่ 2 มิได้อยู่ในฐานะผู้สลักหลังทั้งปวงอัน จะพึงต้องรับผิดตามมาตรา 990 ซึ่งเป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับ เรื่องเงื่อนไขแห่งการใช้สิทธิไล่เบี้ยของผู้ทรงเช็คต่อผู้สลักหลัง โอนเช็คชนิดระบุชื่อผู้รับเงินเท่านั้น บทบัญญัติมาตรา 990 ดังกล่าวหาได้รวมถึงผู้สลักหลังเช็คในฐานะเป็นผู้รับประกัน การใช้เงิน (ผู้รับอาวัล) สำหรับผู้สั่งจ่ายตามเช็คซึ่งสั่ง ให้ใช้เงินแก่ผู้ถือนั้นด้วยไม่ ซึ่งเป็นกรณีต่างกัน จึงไม่อาจ นำมาปรับแก่กรณีนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1007/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสลักหลังเช็คในฐานะผู้รับประกัน (อาวัล) และขอบเขตความรับผิดของผู้สลักหลัง
โจทก์เป็นผู้ทรงเช็คพิพาทโดยสุจริต แม้เช็คพิพาทเป็นเช็คให้ใช้เงินเมืองเดียวกันกับที่ออกเช็ค และโจทก์มิได้ยื่นแก่ธนาคารให้ใช้เงินภายใน 1 เดือนนับแต่วันออกเช็คก็ตาม แต่จำเลยที่ 2 สลักหลังเช็คพิพาทซึ่งจำเลยที่ 1 เป็นผู้สั่งจ่ายแก่ผู้ถือ ซึ่ง ป.พ.พ.มาตรา 921 ประกอบด้วยมาตรา 989 ให้ถือว่าการสลักหลังนั้นเป็นเพียงประกัน (อาวัล) สำหรับผู้สั่งจ่าย หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งเป็นการรับประกันเพื่อการใช้เงินตามเช็คนั้น จำเลยที่ 2 จึงต้องผูกพันตนเป็นอย่างเดียวกันและรับผิดร่วมกันกับจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้ทรงตามมาตรา 940 และ 967 ประกอบด้วยมาตรา989 ในฐานะผู้รับประกันการใช้เงิน (อาวัล) สำหรับผู้สั่งจ่าย จำเลยที่ 2 มิได้อยู่ในฐานะผู้สลักหลังทั้งปวงอันจะพึงต้องรับผิดตามมาตรา 990 ซึ่งเป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับเรื่องเงื่อนไขแห่งการใช้สิทธิไล่เบี้ยของผู้ทรงเช็คต่อผู้สลักหลังโอนเช็คชนิดระบุชื่อผู้รับเงินเท่านั้น บทบัญญัติมาตรา 990 ดังกล่าวหาได้รวมถึงผู้สลักหลังเช็คในฐานะเป็นผู้รับประกันการใช้เงิน (ผู้รับอาวัล) สำหรับผู้สั่งจ่ายตามเช็คซึ่งสั่งให้ใช้เงินแก่ผู้ถือนั้นด้วยไม่ ซึ่งเป็นกรณีต่างกัน จึงไม่อาจนำมาปรับแก่กรณีนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3597/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คเกินกำหนด: สิทธิไล่เบี้ยผู้สลักหลังสิ้นสุดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 990
เช็คให้ใช้เงินเมืองเดียวกันกับที่ออกเช็คระบุวันออกเช็คลงวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2529 แต่โจทก์ซึ่งเป็นผู้ทรงยื่นเช็คต่อธนาคารเพื่อให้ใช้เงินวันที่ 11 กรกฎาคม 2529 จึงเกินกำหนด 1 เดือนนับแต่วันออกเช็คนั้น ตามที่มาตรา 990 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บังคับไว้ โจทก์จึงสิ้นสิทธิไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยที่ 2 ผู้สลักหลัง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3597/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คเกินกำหนด 1 เดือน: สิทธิไล่เบี้ยผู้สลักหลังเป็นอันสิ้นสุด
เช็คให้ใช้เงินเมืองเดียวกันกับที่ออกเช็ค แต่โจทก์ซึ่งเป็นผู้ทรงยื่นเช็คต่อธนาคารเพื่อให้ใช้เงินเกินกำหนด 1 เดือน นับแต่วันออกเช็ค ตามมาตรา 990 แห่ง ป.พ.พ. ดังนี้ โจทก์สิ้นสิทธิไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยที่ 2 ผู้สลักหลัง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4540/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจ่ายเงินแคชเชียร์เช็ค: ธนาคารต้องดำเนินการตามข้อความบนเช็ค ไม่ใช่กำหนดเงื่อนไขเพิ่มเติม
ธนาคารจำเลยออกแคชเชียร์เช็คสั่งให้ธนาคารโจทก์จ่ายเงินเข้าบัญชีของ ธ. ซึ่งมีบัญชีดังกล่าวกับธนาคารโจทก์ การที่ธนาคารโจทก์นำเงินเข้าบัญชีของ ธ.และธ. เบิกเงินไปจากธนาคารโจทก์แล้ว เมื่อไม่มีลักษณะใดที่แสดงว่าเป็นการจ่ายเงินโดยไม่สุจริต ธนาคารจำเลยจะปฏิเสธการจ่ายเงินตามแคชเชียร์เช็คแก่โจทก์โดยอ้างว่าธนาคารโจทก์จะต้องนำแคชเชียร์เช็คไปเรียกเก็บเงินจากธนาคารจำเลยเสียก่อนจึงจะนำเงินเข้าบัญชีของ ธ. ได้นั้นไม่ได้ เพราะเป็นข้ออ้างที่ขัดกับข้อความที่ปรากฏในแคชเชียร์เช็ค.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4540/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ธนาคารออกแคชเชียร์เช็ค: หน้าที่ตามสัญญาและผลของการปฏิบัติตามเช็คอย่างถูกต้อง
ธนาคารจำเลยออกแคชเชียร์เช็คสั่งให้ธนาคารโจทก์จ่ายเงินเข้าบัญชีของ ธ. ซึ่งมีบัญชีดังกล่าวกับธนาคารโจทก์ การที่ธนาคารโจทก์นำเงินเข้าบัญชีของ ธ. และ ธ. เบิกเงินไปจากธนาคารโจทก์แล้ว เมื่อไม่มีลักษณะใดที่แสดงว่าเป็นการจ่ายเงินโดยไม่สุจริต ธนาคารจำเลยจะปฏิเสธการจ่ายเงินตามแคชเชียร์เช็คแก่โจทก์โดยอ้างว่าธนาคารโจทก์จะต้องนำแคชเชียร์เช็คไปเรียกเก็บเงินจากธนาคารจำเลยเสียก่อนจึงจะนำเงินเข้าบัญชีของ ธ. ได้นั้นไม่ได้ เพราะเป็นข้ออ้างที่ขัดกับข้อความที่ปรากฏในแคชเชียร์เช็ค
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3242/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คพิพาท: ผู้สั่งจ่ายต้องรับผิดแม้เป็นประกันหนี้, ความเสียหายจากไม่นำเช็คขึ้นเงิน
จำเลยสั่งจ่ายเช็คพิพาทให้โจทก์แม้จำเลยสั่งจ่ายเพื่อเป็นประกันหนี้เงินกู้ของ พ.ที่มีต่อโจทก์แต่เมื่อพ. ยังไม่ได้ชำระหนี้ต่อโจทก์ หนี้ตามเช็คพิพาทจึงยังคงมีอยู่จำเลยซึ่งเป็นผู้สั่งจ่ายย่อมจะต้องรับผิดตามเนื้อความในเช็คนั้น ทั้งจะนำบทบัญญัติในเรื่องการผ่อนเวลาของเจ้าหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ลักษณะค้ำประกันมาใช้บังคับเพื่อให้จำเลยพ้นจากความรับผิดหาได้ไม่
ความเสียหายอันเกิดจากผู้ทรงเช็คไม่นำเช็คไปขึ้นเงินต่อธนาคาร ภายในกำหนดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 990นั้นหมายถึงผู้สั่งจ่ายเสียเงินที่มีอยู่ในธนาคารเพราะการที่ผู้ทรงไม่นำเช็คไปขึ้นเงินภายในกำหนด เช่นธนาคารล้มละลาย เป็นต้น ดังนั้น แม้จะฟังได้ว่าการที่โจทก์นำเช็คพิพาทไปยื่นต่อธนาคารเพื่อให้ใช้เงินล่าช้า จน พ.หลบหนีไปแล้วจึงดำเนินการ ทำให้จำเลยเสียหาย ไม่สามารถใช้สิทธิไล่เบี้ยจาก พ. ได้ กรณีก็ไม่ต้องด้วยบทกฎหมายดังกล่าวจำเลยจึงไม่พ้นความรับผิดตามเช็คพิพาท.
ความเสียหายอันเกิดจากผู้ทรงเช็คไม่นำเช็คไปขึ้นเงินต่อธนาคาร ภายในกำหนดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 990นั้นหมายถึงผู้สั่งจ่ายเสียเงินที่มีอยู่ในธนาคารเพราะการที่ผู้ทรงไม่นำเช็คไปขึ้นเงินภายในกำหนด เช่นธนาคารล้มละลาย เป็นต้น ดังนั้น แม้จะฟังได้ว่าการที่โจทก์นำเช็คพิพาทไปยื่นต่อธนาคารเพื่อให้ใช้เงินล่าช้า จน พ.หลบหนีไปแล้วจึงดำเนินการ ทำให้จำเลยเสียหาย ไม่สามารถใช้สิทธิไล่เบี้ยจาก พ. ได้ กรณีก็ไม่ต้องด้วยบทกฎหมายดังกล่าวจำเลยจึงไม่พ้นความรับผิดตามเช็คพิพาท.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3242/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คค้ำประกันหนี้ - ความรับผิดของผู้สั่งจ่าย - การผ่อนเวลา - การขึ้นเงินเช็ค
จำเลยสั่งจ่ายเช็คพิพาทให้โจทก์แม้จำเลยสั่งจ่ายเพื่อเป็นประกันหนี้เงินกู้ของ พ. ที่มีต่อโจทก์ แต่เมื่อ พ. ยังไม่ได้ชำระหนี้ต่อโจทก์ หนี้ตามเช็คพิพาทจึงยังคงมีอยู่จำเลยซึ่งเป็นผู้สั่งจ่ายย่อมจะต้องรับผิดตามเนื้อความในเช็คนั้น ทั้งจะนำบทบัญญัติในเรื่องการผ่อนเวลาของเจ้าหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ลักษณะค้ำประกันมาใช้บังคับเพื่อให้จำเลยพ้นจากความรับผิดหาได้ไม่
ความเสียหายอันเกิดจากผู้ทรงเช็คไม่นำเช็คไปขึ้นเงินต่อธนาคาร ภายในกำหนดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 990 นั้นหมายถึงผู้สั่งจ่ายเสียเงินที่มีอยู่ในธนาคารเพราะการที่ผู้ทรงไม่นำเช็คไปขึ้นเงินภายในกำหนด เช่นธนาคารล้มละลาย เป็นต้น ดังนั้น แม้จะฟังได้ว่าการที่โจทก์นำเช็คพิพาทไปยื่นต่อธนาคารเพื่อให้ใช้เงินล่าช้า จน พ.หลบหนีไปแล้วจึงดำเนินการ ทำให้จำเลยเสียหาย ไม่สามารถใช้สิทธิไล่เบี้ยจาก พ. ได้ กรณีก็ไม่ต้องด้วยบทกฎหมายดังกล่าวจำเลยจึงไม่พ้นความรับผิดตามเช็คพิพาท.
ความเสียหายอันเกิดจากผู้ทรงเช็คไม่นำเช็คไปขึ้นเงินต่อธนาคาร ภายในกำหนดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 990 นั้นหมายถึงผู้สั่งจ่ายเสียเงินที่มีอยู่ในธนาคารเพราะการที่ผู้ทรงไม่นำเช็คไปขึ้นเงินภายในกำหนด เช่นธนาคารล้มละลาย เป็นต้น ดังนั้น แม้จะฟังได้ว่าการที่โจทก์นำเช็คพิพาทไปยื่นต่อธนาคารเพื่อให้ใช้เงินล่าช้า จน พ.หลบหนีไปแล้วจึงดำเนินการ ทำให้จำเลยเสียหาย ไม่สามารถใช้สิทธิไล่เบี้ยจาก พ. ได้ กรณีก็ไม่ต้องด้วยบทกฎหมายดังกล่าวจำเลยจึงไม่พ้นความรับผิดตามเช็คพิพาท.