พบผลลัพธ์ทั้งหมด 40 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2262/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยผู้สู้ราคาสูงสุดต้องรับผิดในส่วนต่างราคาที่ดินเมื่อไม่ชำระเงินตามสัญญา แม้เจ้าหนี้ต้องผ่านเจ้าพนักงานบังคับคดี
จำเลยเป็นผู้สู้ราคาสูงสุดที่ละเลยไม่ใช้ราคาค่าซื้อทรัพย์ส่วนที่เหลือเป็นเหตุให้เจ้าพนักงานบังคับคดีผู้ทอดตลาดทรัพย์สินนั้นออกขายอีกซ้ำหนึ่ง เมื่อได้เงินเป็นจำนวนสุทธิไม่คุ้มราคาและค่าขายทอดตลาดชั้นเดิม จำเลยซึ่งเป็นผู้สู้ราคาเดิมต้องรับผิดในส่วนที่ขาดตามหนังสือสัญญาซื้อขายที่ทำกับเจ้าพนักงานบังคับคดี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 516 เงินในส่วนที่ขาดที่จำเลยต้องรับผิดตามบทบัญญัติมาตรานี้ ถือว่าเป็นรายได้ส่วนหนึ่งที่เกิดจากการที่เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดของลูกหนี้ตามคำพิพากษาในคดีหมายเลขแดงที่ ผบ.254/2553 ของศาลชั้นต้น ต้องตกอยู่ในกองทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษา ซึ่งอยู่ในอำนาจของเจ้าพนักงานบังคับคดีในฐานะเป็นผู้แทนเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในอันที่จะรับชำระหนี้หรือทรัพย์สินที่ลูกหนี้นำมาวางกับยึดหรืออายัดหรือยึดถือทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาไว้ เพื่อนำไปชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาดังที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 278 วรรคหนึ่ง (เดิม) แม้โจทก์เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในคดีดังกล่าว ก็ต้องให้เจ้าพนักงานบังคับคดีเป็นผู้จัดสรรชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาและเจ้าหนี้อื่นของจำเลยที่ 4 ในคดีดังกล่าวหากมีการร้องขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่ง ซึ่งหากมีเงินเหลืออยู่ในภายหลังที่ได้หักชำระค่าฤชาธรรมเนียมและจ่ายให้แก่เจ้าหนี้ทุกคนแล้ว ป.วิ.พ. มาตรา 322 วรรคสอง (เดิม) บัญญัติให้เจ้าพนักงานบังคับคดีจ่ายเงินส่วนที่เหลือนั้นให้แก่ลูกหนี้ตามคำพิพากษา ดังนั้น เจ้าพนักงานบังคับคดีจึงมีอำนาจรับชำระหนี้ตามคำพิพากษาจากจำเลยเพื่อดำเนินการบังคับคดีตามอำนาจหน้าที่ตามบทบัญญัติของกฎหมาย โจทก์หามีสิทธิเรียกร้องเอาเป็นส่วนของตนได้โดยลำพังไม่ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิพากษาว่า เมื่อโจทก์ได้รับชำระหนี้จากจำเลยหรือบังคับคดีจากจำเลยแล้ว ให้หักเป็นค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายในการบังคับคดี (ถ้ามี) แก่โจทก์ แล้วส่งคืนเงินให้แก่เจ้าพนักงานบังคับคดีในคดีหมายเลขแดงที่ ผบ.254/2553 ของศาลชั้นต้น เพื่อชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ของจำเลยที่ 4 ในคดีดังกล่าวต่อไป เป็นการพิพากษาไปตามสิทธิของโจทก์ที่มีอยู่ตามกฎหมาย หาได้พิพากษานอกคำฟ้องไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2882/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการไม่ชำระราคาประมูลและการรับผิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 516
ตามคำฟ้องของโจทก์เรียกเงินราคาในส่วนที่ขาดจากการขายทอดตลาด เนื่องจากจำเลยผู้สู้ราคาสูงสุดละเลยเสียไม่ใช้ราคาเป็นเหตุให้เจ้าพนักงานบังคับคดีต้องนำเอาที่ดินพิพาททั้งสามแปลงออกขายทอดตลาดซ้ำ และได้เงินสุทธิไม่คุ้มราคาและค่าขายทอดตลาดชั้นเดิม ตาม ป.พ.พ. มาตรา 516 ซึ่งเป็นกรณีที่ไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะจึงต้องนำบทบัญญัติอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 มาใช้บังคับ และให้เริ่มนับแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไป ตามมาตรา 193/12 ซึ่งคดีนี้หลังจากจำเลยประมูลซื้อที่ดินพิพาทในราคาสูงสุดแล้วละเลยเสียไม่ชำระราคาแล้ว เจ้าพนักงานบังคับคดีต้องนำที่ดินพิพาททั้งสามแปลงออกขายทอดตลาดซ้ำอีกถึงสองครั้ง เพราะผู้ประมูลครั้งที่สองก็ไม่ได้ชำระราคาและถูกริบมัดจำเช่นเดียวกัน จนกระทั่ง จ. เข้าประมูลซื้อและชำระราคาครบถ้วนเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2549 การขายทอดตลาดจึงเสร็จสมบูรณ์ในวันดังกล่าว จึงต้องถือว่าวันที่ผู้สู้ราคาสูงสุดได้ชำระราคาครบถ้วนเป็นวันที่โจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องให้จำเลยรับผิดชำระเงินในส่วนที่ขาดจากการขายทอดตลาดตาม ป.พ.พ. มาตรา 516 ได้เป็นต้นไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6458/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าหนี้รับจำนองมีสิทธิฟ้องบังคับชำระเงินส่วนต่างจากการขายทอดตลาด แม้ไม่ใช่ผู้ดำเนินการขาย และความสำคัญผิดในการซื้อไม่ทำให้สัญญาโมฆะ
แม้มูลเหตุคดีนี้เกิดจากการขายทอดตลาดที่ดินทั้งสามแปลงของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ แต่โจทก์เป็นเจ้าหนี้ผู้รับจำนองที่ดินและได้รับเงินน้อยลงจากการกระทำของจำเลย อันเป็นการกระทบต่อสิทธิที่พึงมีพึงได้ของโจทก์ โจทก์จึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียโดยตรงในการที่จะบังคับเอาเงินส่วนที่ขาดไปจากจำเลย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 516 ได้ หาใช่เพียงแต่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้ทอดตลาดเท่านั้นที่จะบังคับเอาจากจำเลย ถือว่าโจทก์ถูกโต้แย้งสิทธิตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 แล้ว ทั้งที่ประชุมเจ้าหนี้ยังมีมติไม่ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เป็นผู้ดำเนินการเรียกเงินส่วนต่างดังกล่าวจากจำเลย และเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ให้โจทก์เป็นผู้ดำเนินการเรียกเงินส่วนต่างจากจำเลยเอง โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง และเมื่อจำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลชั้นต้น โจทก์จึงยื่นฟ้องจำเลยต่อศาลชั้นต้นได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 4 (1)
ในส่วนที่จำเลยเข้าประมูลซื้อที่ดินโดยหลงเชื่อว่าที่ดินทั้งสามแปลงมีเนื้อที่ติดต่อเป็นแปลงเดียวกันและมีทางเข้าออกสู่ถนนสาธารณะทุกแปลง อันเป็นการแสดงเจตนาโดยสำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรมตกเป็นโมฆะหรือไม่ จำเลยยกปัญหาข้อนี้ขึ้นในชั้นอุทธรณ์แต่ศาลอุทธรณ์มิได้วินิจฉัยให้ เมื่อคู่ความทั้งสองฝ่ายได้สืบพยานจนสิ้นกระแสความแล้ว ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยปัญหาข้อนี้ โดยไม่จำต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยใหม่ เห็นว่า ตามประกาศเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์หากจำเลยมีข้อสงสัยประการใดหรือประสงค์จะทราบรายละเอียดเกี่ยวกับที่ดินทั้งสามแปลงว่าเป็นที่ดินมีเนื้อที่ติดต่อเป็นแปลงเดียวกันและมีทางเข้าออกสู่ถนนสาธารณะทุกแปลงหรือไม่ จำเลยสามารถตรวจสอบข้อเท็จจริงดังกล่าวจากทางราชการที่เกี่ยวข้องได้โดยง่าย การที่จำเลยเข้าประมูลซื้อที่ดินครั้งแรกแล้ว จำเลยจึงเพิ่งตรวจสอบที่ดิน นับว่าเป็นความบกพร่องของจำเลยที่ไม่ตรวจสอบให้รอบคอบก่อนเข้าประมูลซื้อที่ดิน จำเลยจึงไม่อาจอ้างความสำคัญผิดในที่ตั้งของที่ดินมาเป็นประโยชน์แก่ตนได้ ข้อเท็จจริงรับฟังไม่ได้ว่าจำเลยเข้าประมูลซื้อที่ดินทั้งสามแปลงเกิดจากการแสดงเจตนาโดยสำคัญผิดในสิ่งที่เป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรม ไม่ตกเป็นโมฆะ จำเลยต้องรับผิดในจำนวนเงินส่วนต่างจากการขายทอดตลาดที่ดินแก่โจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 516
ในส่วนที่จำเลยเข้าประมูลซื้อที่ดินโดยหลงเชื่อว่าที่ดินทั้งสามแปลงมีเนื้อที่ติดต่อเป็นแปลงเดียวกันและมีทางเข้าออกสู่ถนนสาธารณะทุกแปลง อันเป็นการแสดงเจตนาโดยสำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรมตกเป็นโมฆะหรือไม่ จำเลยยกปัญหาข้อนี้ขึ้นในชั้นอุทธรณ์แต่ศาลอุทธรณ์มิได้วินิจฉัยให้ เมื่อคู่ความทั้งสองฝ่ายได้สืบพยานจนสิ้นกระแสความแล้ว ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยปัญหาข้อนี้ โดยไม่จำต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยใหม่ เห็นว่า ตามประกาศเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์หากจำเลยมีข้อสงสัยประการใดหรือประสงค์จะทราบรายละเอียดเกี่ยวกับที่ดินทั้งสามแปลงว่าเป็นที่ดินมีเนื้อที่ติดต่อเป็นแปลงเดียวกันและมีทางเข้าออกสู่ถนนสาธารณะทุกแปลงหรือไม่ จำเลยสามารถตรวจสอบข้อเท็จจริงดังกล่าวจากทางราชการที่เกี่ยวข้องได้โดยง่าย การที่จำเลยเข้าประมูลซื้อที่ดินครั้งแรกแล้ว จำเลยจึงเพิ่งตรวจสอบที่ดิน นับว่าเป็นความบกพร่องของจำเลยที่ไม่ตรวจสอบให้รอบคอบก่อนเข้าประมูลซื้อที่ดิน จำเลยจึงไม่อาจอ้างความสำคัญผิดในที่ตั้งของที่ดินมาเป็นประโยชน์แก่ตนได้ ข้อเท็จจริงรับฟังไม่ได้ว่าจำเลยเข้าประมูลซื้อที่ดินทั้งสามแปลงเกิดจากการแสดงเจตนาโดยสำคัญผิดในสิ่งที่เป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรม ไม่ตกเป็นโมฆะ จำเลยต้องรับผิดในจำนวนเงินส่วนต่างจากการขายทอดตลาดที่ดินแก่โจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 516
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3591/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้สู้ราคาสูงสุดไม่ชำระเงินตามสัญญา ศาลสั่งให้รับผิดในส่วนต่างตามกฎหมาย
การที่จำเลยผู้สู้ราคาสูงสุดในการขายทอดตลาดชั้นเดิมละเลยไม่ใช้ราคาซื้อทรัพย์ตามหนังสือสัญญาซื้อขายที่จำเลยทำไว้ต่อเจ้าพนักงานบังคับคดี จนเจ้าพนักงานบังคับคดีต้องขายทอดตลาดอีกซ้ำหนึ่ง และได้เงินเป็นจำนวนสุทธิไม่คุ้มราคาและค่าขายทอดตลาดชั้นเดิมนั้น จำเลยผู้สู้ราคาเดิมต้องรับผิดในส่วนที่ขาดตาม ป.พ.พ. มาตรา 516 และการกระทำของจำเลยดังกล่าวถือได้ว่าเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในอันที่จะได้รับชำระหนี้ในจำนวนเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลย
การที่จำเลยเป็นผู้ประมูลซื้อทรัพย์ได้จากการขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดีในครั้งแรกและต้องรับผิดในส่วนราคาที่ขาดตาม ป.พ.พ. มาตรา 516 ดังกล่าว จำเลยจึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 วรรคสอง และมาตรา 309 ทวิ ในอันที่จะโต้แย้งคัดค้านการขายทอดตลาดครั้งใหม่ได้หากดำเนินการไปโดยไม่ชอบ เมื่อจำเลยไม่มาดูแลการขายโดยยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดครั้งใหม่อ้างว่าการขายทอดตลาดครั้งใหม่นี้ดำเนินการไปโดยไม่ชอบด้วยเหตุผลใด และไม่ได้คัดค้านว่าการที่โจทก์ซื้อทรัพย์รายพิพาทจากการขายทอดตลาดครั้งใหม่ในราคา 4,440,000 บาท เกิดจากการคบคิดกันฉ้อฉลในระหว่างผู้ที่เกี่ยวข้องในการสู้ราคาหรือความไม่สุจริตหรือความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของเจ้าพนักงานบังคับคดีในการปฏิบัติหน้าที่ เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีใช้ดุลพินิจแล้วเห็นว่าเป็นราคาที่สมควรขายได้และเป็นอำนาจของเจ้าพนักงานบังคับคดีที่จะเคาะไม้ขายให้แก่โจทก์ผู้เสนอราคาสูงสุดในการขายทอดตลาดครั้งใหม่นี้ การขายทอดตลาดครั้งใหม่จึงเป็นการดำเนินการไปโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว จำเลยต้องรับผิดในส่วนต่างที่ขาดจำนวน 8,760,000 บาท ซึ่งการที่จำเลยต้องรับผิดในส่วนต่างที่มีจำนวนมากเพียงนั้นก็เกิดจากจำเลยเองด้วยที่เสนอราคาสูงสุดในครั้งก่อนสูงถึง 13,200,000 บาท ทั้ง ๆ ที่ราคาประเมินทรัพย์รายพิพาทของเจ้าพนักงานบังคับคดีมีเพียง 8,870,000 บาท โจทก์ใช้สิทธิฟ้องให้จำเลยรับผิดในส่วนต่างคดีนี้เป็นการใช้สิทธิโดยสุจริตแล้ว
การที่จำเลยเป็นผู้ประมูลซื้อทรัพย์ได้จากการขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดีในครั้งแรกและต้องรับผิดในส่วนราคาที่ขาดตาม ป.พ.พ. มาตรา 516 ดังกล่าว จำเลยจึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 วรรคสอง และมาตรา 309 ทวิ ในอันที่จะโต้แย้งคัดค้านการขายทอดตลาดครั้งใหม่ได้หากดำเนินการไปโดยไม่ชอบ เมื่อจำเลยไม่มาดูแลการขายโดยยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดครั้งใหม่อ้างว่าการขายทอดตลาดครั้งใหม่นี้ดำเนินการไปโดยไม่ชอบด้วยเหตุผลใด และไม่ได้คัดค้านว่าการที่โจทก์ซื้อทรัพย์รายพิพาทจากการขายทอดตลาดครั้งใหม่ในราคา 4,440,000 บาท เกิดจากการคบคิดกันฉ้อฉลในระหว่างผู้ที่เกี่ยวข้องในการสู้ราคาหรือความไม่สุจริตหรือความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของเจ้าพนักงานบังคับคดีในการปฏิบัติหน้าที่ เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีใช้ดุลพินิจแล้วเห็นว่าเป็นราคาที่สมควรขายได้และเป็นอำนาจของเจ้าพนักงานบังคับคดีที่จะเคาะไม้ขายให้แก่โจทก์ผู้เสนอราคาสูงสุดในการขายทอดตลาดครั้งใหม่นี้ การขายทอดตลาดครั้งใหม่จึงเป็นการดำเนินการไปโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว จำเลยต้องรับผิดในส่วนต่างที่ขาดจำนวน 8,760,000 บาท ซึ่งการที่จำเลยต้องรับผิดในส่วนต่างที่มีจำนวนมากเพียงนั้นก็เกิดจากจำเลยเองด้วยที่เสนอราคาสูงสุดในครั้งก่อนสูงถึง 13,200,000 บาท ทั้ง ๆ ที่ราคาประเมินทรัพย์รายพิพาทของเจ้าพนักงานบังคับคดีมีเพียง 8,870,000 บาท โจทก์ใช้สิทธิฟ้องให้จำเลยรับผิดในส่วนต่างคดีนี้เป็นการใช้สิทธิโดยสุจริตแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6662/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้สู้ราคาที่ไม่ชำระเงินตามสัญญาซื้อขาย และสิทธิของเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา
การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างของโจทก์ซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษา นั้น แม้จำเลยจะเข้าทำสัญญาซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาดกับเจ้าพนักงานบังคับคดีก็ตาม แต่การทำสัญญาดังกล่าวเป็นการดำเนินการบังคับคดีตามอำนาจหน้าที่ที่กฎหมายกำหนด เพื่อให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาได้รับชำระหนี้ และปลดเปลื้องภาระหนี้ของลูกหนี้ตามคำพิพากษา เมื่อขายทอดตลาดแล้วได้เงินจำนวนมากหรือน้อยย่อมมีผลกระทบต่อสิทธิหน้าที่ของเจ้าหนี้และลูกหนี้ตามคำพิพากษาทั้งสิ้น นอกจากนี้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 322 วรรคสอง บัญญัติว่า "ถ้าเงินรายได้จำนวนสุทธิที่จำหน่ายทรัพย์สินได้มานั้นไม่ต้องการใช้สำหรับการบังคับคดีต่อไปก็ดี หรือมีเงินเหลืออยู่ภายหลังที่ได้หักค่าฤชาธรรมเนียมและจ่ายให้แก่เจ้าหนี้ทุกคนเป็นที่พอใจแล้วก็ดี ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีจ่ายเงินรายได้จำนวนสุทธิหรือส่วนที่เหลือนั้นให้แก่ลูกหนี้ตามคำพิพากษา..." ดังนั้น หากในการขายทอดตลาดทรัพย์ของลูกหนี้ตามคำพิพากษามีเงินรายได้จำนวนมากเกินภาระหนี้และค่าใช้จ่ายในการบังคับคดี ลูกหนี้ตามคำพิพากษาย่อมมีสิทธิได้รับเงินส่วนที่เหลือคืน และเงินที่ผู้สู้ราคาสูงสุดคนเดิมต้องรับผิดชดใช้ส่วนที่ขาดเมื่อมีการขายทอดตลาดใหม่ได้ไม่คุ้มราคาและค่าขายทอดตลาดชั้นเดิม ตาม ป.พ.พ. มาตรา 516 นั้น เป็นรายได้ส่วนหนึ่งของการขายทอดตลาดทรัพย์ของโจทก์ซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาในคดีเดิม การที่จำเลยซึ่งมีหน้าที่ต้องชำระเงินดังกล่าวไม่ยอมชำระ ย่อมทำให้โจทก์ซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาได้รับความเสียหาย จึงเป็นการโต้แย้งสิทธิ ของโจทก์ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 แล้ว แม้เจ้าพนักงานบังคับคดีจะไม่ฟ้องจำเลย โจทก์ซึ่งได้รับความเสียหายอันเกิดจากการผิดสัญญาขายทอดตลาด ก็มีอำนาจฟ้องให้จำเลยรับผิดชำระราคาส่วนที่ขาดพร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันผิดนัดชำระได้
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 516 บัญญัติว่า "ถ้าผู้สู้ราคาสูงสุดละเลยเสียไม่ใช้ราคาไซร้ ท่านให้ผู้ทอดตลาดเอาทรัพย์สินนั้นออกขายอีกซ้ำหนึ่ง ถ้าและได้เงินเป็นจำนวนสุทธิไม่คุ้มราคาและค่าขายทอดตลาดชั้นเดิม ผู้สู้ราคาเดิมคนนั้นต้องรับผิดในส่วนที่ขาด" การที่จำเลยซึ่งเป็นผู้สู้ราคาคนเดิมต้องรับผิดชำระราคาส่วนที่ขาดจึงเป็นความรับผิดตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว ซึ่งกำหนดจำนวนไว้แน่นอนแล้วว่าเป็นส่วนต่างระหว่างราคาที่ผู้สู้ราคาคนเดิมเสนอกับราคาที่ขายได้ในครั้งหลัง แม้ในหนังสือสัญญาซื้อขายที่จำเลยทำกับเจ้าพนักงานบังคับคดีจะมีข้อความระบุว่า หากจำเลยไม่ชำระค่าซื้อทรัพย์ส่วนที่เหลือตามกำหนด ยอมให้เจ้าพนักงานบังคับคดีริบเงินมัดจำ และเมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดต่อไปได้เงินสุทธิต่ำกว่าครั้งก่อนเท่าใด จำเลยยอมรับผิดชดใช้ให้เต็มจำนวนที่จำเลยประมูลไว้ในครั้งก่อน ข้อตกลงดังกล่าวก็เป็นเพียงการนำเงื่อนไขตามหลักกฎหมายข้างต้นมาระบุไว้ในสัญญาเท่านั้น มิได้มีลักษณะเป็นการตกลงกำหนดค่าเสียหายกันไว้ล่วงหน้าแต่อย่างใด ราคาส่วนที่ขาดที่จำเลยต้องรับผิดชำระจึงไม่เป็นเบี้ยปรับที่ศาลจะลดลงได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 383 วรรคหนึ่ง
ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 278 บัญญัติให้เจ้าพนักงานบังคับคดีเป็นผู้มีอำนาจในฐานเป็นผู้แทนเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในอันที่จะรับชำระหนี้ กับมีอำนาจยึดหรืออายัดทรัพย์สินของลูกหนี้และนำออกขายทอดตลาดได้ เจ้าพนักงานบังคับคดีจึงเป็นผู้มีอำนาจรับเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดไว้ก่อนที่จะนำมาจัดสรรชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาหรือเจ้าหนี้อื่นของโจทก์กรณีมีการขอใช้สิทธิรับชำระหนี้จากการบังคับคดีนี้ และค่าใช้จ่ายในการบังคับคดีต่อไป ซึ่งเงินค่าส่วนขาดราคาที่จำเลยต้องรับผิดชำระนี้ เป็นเงินได้ส่วนหนึ่งที่เกิดจากการขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดี เจ้าพนักงานบังคับคดีจึงเป็นผู้มีอำนาจรับชำระไว้ก่อน หากมีเงินเหลือจากการจัดสรรชำระหนี้ตามคำพิพากษาและค่าใช้จ่ายแล้ว โจทก์ซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาจึงจะมีสิทธิรับไป
เงินมัดจำ 50,000 บาท ที่จำเลยวางไว้ต่อเจ้าพนักงานบังคับคดี เป็นเงินของจำเลยคดีนี้ที่จะต้องถูกริบเข้ากองทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษา จึงถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของเงินค่าขาดราคาที่จำเลยต้องรับผิดชำระ ซึ่งต้องนำไปหักออกจากจำนวนที่โจทก์เรียกมาตามฟ้อง 450,000 บาท คงเหลือเงินที่จำเลยต้องรับผิดจำนวน 400,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่จำเลยผิดนัดชำระหนี้เป็นต้นไป
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 516 บัญญัติว่า "ถ้าผู้สู้ราคาสูงสุดละเลยเสียไม่ใช้ราคาไซร้ ท่านให้ผู้ทอดตลาดเอาทรัพย์สินนั้นออกขายอีกซ้ำหนึ่ง ถ้าและได้เงินเป็นจำนวนสุทธิไม่คุ้มราคาและค่าขายทอดตลาดชั้นเดิม ผู้สู้ราคาเดิมคนนั้นต้องรับผิดในส่วนที่ขาด" การที่จำเลยซึ่งเป็นผู้สู้ราคาคนเดิมต้องรับผิดชำระราคาส่วนที่ขาดจึงเป็นความรับผิดตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว ซึ่งกำหนดจำนวนไว้แน่นอนแล้วว่าเป็นส่วนต่างระหว่างราคาที่ผู้สู้ราคาคนเดิมเสนอกับราคาที่ขายได้ในครั้งหลัง แม้ในหนังสือสัญญาซื้อขายที่จำเลยทำกับเจ้าพนักงานบังคับคดีจะมีข้อความระบุว่า หากจำเลยไม่ชำระค่าซื้อทรัพย์ส่วนที่เหลือตามกำหนด ยอมให้เจ้าพนักงานบังคับคดีริบเงินมัดจำ และเมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดต่อไปได้เงินสุทธิต่ำกว่าครั้งก่อนเท่าใด จำเลยยอมรับผิดชดใช้ให้เต็มจำนวนที่จำเลยประมูลไว้ในครั้งก่อน ข้อตกลงดังกล่าวก็เป็นเพียงการนำเงื่อนไขตามหลักกฎหมายข้างต้นมาระบุไว้ในสัญญาเท่านั้น มิได้มีลักษณะเป็นการตกลงกำหนดค่าเสียหายกันไว้ล่วงหน้าแต่อย่างใด ราคาส่วนที่ขาดที่จำเลยต้องรับผิดชำระจึงไม่เป็นเบี้ยปรับที่ศาลจะลดลงได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 383 วรรคหนึ่ง
ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 278 บัญญัติให้เจ้าพนักงานบังคับคดีเป็นผู้มีอำนาจในฐานเป็นผู้แทนเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในอันที่จะรับชำระหนี้ กับมีอำนาจยึดหรืออายัดทรัพย์สินของลูกหนี้และนำออกขายทอดตลาดได้ เจ้าพนักงานบังคับคดีจึงเป็นผู้มีอำนาจรับเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดไว้ก่อนที่จะนำมาจัดสรรชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาหรือเจ้าหนี้อื่นของโจทก์กรณีมีการขอใช้สิทธิรับชำระหนี้จากการบังคับคดีนี้ และค่าใช้จ่ายในการบังคับคดีต่อไป ซึ่งเงินค่าส่วนขาดราคาที่จำเลยต้องรับผิดชำระนี้ เป็นเงินได้ส่วนหนึ่งที่เกิดจากการขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดี เจ้าพนักงานบังคับคดีจึงเป็นผู้มีอำนาจรับชำระไว้ก่อน หากมีเงินเหลือจากการจัดสรรชำระหนี้ตามคำพิพากษาและค่าใช้จ่ายแล้ว โจทก์ซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาจึงจะมีสิทธิรับไป
เงินมัดจำ 50,000 บาท ที่จำเลยวางไว้ต่อเจ้าพนักงานบังคับคดี เป็นเงินของจำเลยคดีนี้ที่จะต้องถูกริบเข้ากองทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษา จึงถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของเงินค่าขาดราคาที่จำเลยต้องรับผิดชำระ ซึ่งต้องนำไปหักออกจากจำนวนที่โจทก์เรียกมาตามฟ้อง 450,000 บาท คงเหลือเงินที่จำเลยต้องรับผิดจำนวน 400,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่จำเลยผิดนัดชำระหนี้เป็นต้นไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6662/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีขายทอดตลาด: สิทธิของลูกหนี้ในการได้รับเงินส่วนเกิน & ความรับผิดของผู้สู้ราคาสูงสุด
ป.วิ.พ. มาตรา 322 วรรคสอง บัญญัติว่า "ถ้าเงินรายได้จำนวนสุทธิที่จำหน่ายทรัพย์สินได้มานั้น ไม่ต้องการใช้สำหรับการบังคับคดีต่อไปก็ดี หรือมีเงินเหลืออยู่ภายหลังที่ได้หักค่าฤชาธรรมเนียมและจ่ายให้แก่เจ้าหนี้ทุกคนเป็นที่พอใจแล้วก็ดี ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีจ่ายเงินรายได้จำนวนสุทธิหรือส่วนที่เหลือนั้นให้แก่ลูกหนี้ตามคำพิพากษา..." ดังนั้น หากในการขายทอดตลาดทรัพย์ของลูกหนี้ตามคำพิพากษามีเงินรายได้จำนวนมากเกินภาระหนี้และค่าใช้จ่ายในการบังคับคดี ลูกหนี้ตามคำพิพากษาย่อมมีสิทธิได้รับเงินส่วนที่เหลือคืน และเงินที่ผู้สู้ราคาสูงสุดคนเดิมต้องรับผิดชดใช้ส่วนที่ขาดเมื่อมีการขายทอดตลาดใหม่ได้ไม่คุ้มราคาและค่าขายทอดตลาดชั้นเดิมตาม ป.พ.พ. มาตรา 516 นั้น เป็นรายได้ส่วนหนึ่งของการขายทอดตลาดทรัพย์ของโจทก์ซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาในคดีเดิม การที่จำเลยคดีนี้ซึ่งมีหน้าที่ต้องชำระเงินดังกล่าวไม่ยอมชำระ ย่อมทำให้โจทก์ซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาได้รับความเสียหาย จึงเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55
แม้ในหนังสือสัญญาซื้อขายที่จำเลยทำกับเจ้าพนักงานบังคับคดีจะมีข้อความระบุว่า หากจำเลยไม่ชำระค่าซื้อทรัพย์ส่วนที่เหลือตามกำหนด ยอมให้เจ้าพนักงานบังคับคดีริบเงินมัดจำ และเมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดต่อไปได้เงินสุทธิต่ำกว่าครั้งก่อนเท่าใด จำเลยยอมรับผิดชดใช้ให้เต็มจำนวนที่จำเลยประมูลไว้ในครั้งก่อน ข้อตกลงดังกล่าวก็เป็นเพียงการนำเงื่อนไขตามหลักกฎหมายข้างต้นมาระบุไว้ในสัญญาเท่านั้น มิได้มีลักษณะเป็นการตกลงกำหนดค่าเสียหายกันไว้ล่วงหน้าแต่อย่างใด ราคาส่วนที่ขาดที่จำเลยต้องรับผิดชำระจึงไม่เป็นเบี้ยปรับที่ศาลจะลดลงได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 383 วรรคหนึ่ง
แม้ในหนังสือสัญญาซื้อขายที่จำเลยทำกับเจ้าพนักงานบังคับคดีจะมีข้อความระบุว่า หากจำเลยไม่ชำระค่าซื้อทรัพย์ส่วนที่เหลือตามกำหนด ยอมให้เจ้าพนักงานบังคับคดีริบเงินมัดจำ และเมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดต่อไปได้เงินสุทธิต่ำกว่าครั้งก่อนเท่าใด จำเลยยอมรับผิดชดใช้ให้เต็มจำนวนที่จำเลยประมูลไว้ในครั้งก่อน ข้อตกลงดังกล่าวก็เป็นเพียงการนำเงื่อนไขตามหลักกฎหมายข้างต้นมาระบุไว้ในสัญญาเท่านั้น มิได้มีลักษณะเป็นการตกลงกำหนดค่าเสียหายกันไว้ล่วงหน้าแต่อย่างใด ราคาส่วนที่ขาดที่จำเลยต้องรับผิดชำระจึงไม่เป็นเบี้ยปรับที่ศาลจะลดลงได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 383 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5789/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงประมูลทรัพย์สินรวม: สิทธิและความรับผิดของผู้ประมูลได้เมื่อไม่วางเงิน
ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาในคดีแพ่งอีกสำนวนให้แบ่งกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพิพาทโดยให้ตกลงแบ่งระหว่างกันก่อน หากตกลงไม่ได้ให้ประมูลระหว่างกันโดยให้ฝ่ายที่เสนอราคาสูงเป็นผู้ได้กรรมสิทธิ์ไปทั้งหมด หากตกลงประมูลระหว่างกันไม่ได้ให้ขายทอดตลาดที่ดินแล้วนำเงินมาแบ่งกัน โดยที่ประชุมตกลงเงื่อนไขให้ผู้ประมูลทรัพย์ต้องวางเงินร้อยละ 5 ของราคาที่ประมูลได้ภายใน 15 วัน นับแต่วันประมูล หากไม่วางเงินส่วนที่เหลือให้เจ้าพนักงานบังคับคดีริบเงินที่วางไว้ แล้วนำเงินมาแบ่งกันระหว่างผู้ถือกรรมสิทธิ์รวมโดยผู้ประมูลได้ไม่มีสิทธิได้รับเงินในส่วนนี้ ข้อตกลงในการประมูลนี้ถือเป็นความประสงค์ของผู้ถือกรรมสิทธิ์รวมที่ตกลงร่วมกันอันเป็นนิติกรรมที่ทำขึ้นเพื่อให้การประมูลขายทรัพย์ที่มีกรรมสิทธิ์รวมเป็นไปโดยราบรื่น ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนมีผลใช้บังคับได้ สำหรับความรับผิดของผู้ประมูลได้ที่ไม่ชำระเงินก้อนแรก ไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายเฉพาะกำหนดไว้ จึงต้องอาศัยเทียบเคียงบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งอันได้แก่ บทบัญญัติใน ป.พ.พ. บรรพ 3 ลักษณะ 1 หมวด 4 ส่วนที่ 3 ขายทอดตลาด ซึ่งไม่มีบทบัญญัติให้ผู้สู้ราคามีความรับผิดเกี่ยวกับเงินที่จะต้องวางก้อนแรกนี้คงมีเพียงมาตรา 516 เมื่อฟ้องโจทก์ขอให้บังคับจำเลยรับผิดในเงินที่ต้องวางก้อนแรกตามข้อตกลงในการประมูล ซึ่งไม่มีสภาพบังคับ โดยมิได้ฟ้องขอให้จำเลยรับผิดในเงินส่วนที่ขาดเมื่อมีการประมูลซ้ำอีกครั้งหนึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 516 คำขอท้ายฟ้องโจทก์จึงเป็นกรณีที่ไม่อาจบังคับได้ จำเลยไม่จำต้องรับผิดต่อโจทก์ตามฟ้อง
คดีนี้แม้จำเลยจะขาดนัดยื่นคำให้การ แต่เมื่อศาลชั้นต้นพิเคราะห์ตามคำฟ้องและทางนำสืบของโจทก์ แล้วฟังไม่ได้ว่าจำเลยผิดสัญญาและกระทำละเมิดต่อโจทก์ จำเลยไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ ถือว่าศาลชั้นต้นรับฟังว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลย ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนที่ศาลยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง คำพิพากษาศาลชั้นต้นจึงชอบแล้ว
คดีนี้แม้จำเลยจะขาดนัดยื่นคำให้การ แต่เมื่อศาลชั้นต้นพิเคราะห์ตามคำฟ้องและทางนำสืบของโจทก์ แล้วฟังไม่ได้ว่าจำเลยผิดสัญญาและกระทำละเมิดต่อโจทก์ จำเลยไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ ถือว่าศาลชั้นต้นรับฟังว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลย ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนที่ศาลยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง คำพิพากษาศาลชั้นต้นจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 16477/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้ประมูลซื้อที่ดินแล้วไม่ชำระราคาต้องรับผิดในส่วนต่างของราคาเมื่อมีการขายทอดตลาดซ้ำ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 516
จำเลยเป็นผู้ประมูลซื้อที่ดินพิพาทจากการขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดี แต่ละเลยไม่ใช้ราคาส่วนที่เหลือ ต่อมาเจ้าพนักงานบังคับคดีเอาที่ดินพิพาทออกขายทอดตลาดซ้ำ ได้เงินจำนวนสุทธิไม่คุ้มราคาและค่าขายทอดตลาด จำเลยต้องรับผิดในส่วนที่ขาดตาม ป.พ.พ. มาตรา 516 ที่จำเลยอ้างว่าไม่ต้องรับผิดเนื่องจากโจทก์และ ช. สมคบกันให้โจทก์ประมูลซื้อที่ดินพิพาทนั้น จำเลยมีเพียงตนเองเบิกความลอย ๆ และ ช. ก็มิได้เบิกความถึงข้อที่จำเลยอ้าง จึงฟังไม่ได้ว่าโจทก์และ ช. สมคบกันให้โจทก์ประมูลซื้อที่ดินพิพาทในราคาต่ำ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9523/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเรียกร้องและอำนาจฟ้องของบริษัทบริหารสินทรัพย์ การรับผิดในเบี้ยปรับจากการประมูลทอดตลาด
การที่เจ้าพนักงานบังคับคดี กรมบังคับคดี ทำสัญญาซื้อขายทรัพย์จำนองกับจำเลยที่ 1 ถือว่าเจ้าพนักงานบังคับคดี กรมบังคับคดี กระทำในฐานะเป็นผู้แทนธนาคาร ท. ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในคดีเดิม เมื่อจำเลยที่ 1 ผู้เข้าสู้ราคาสูงสุดในการขายทอดตลาดชั้นเดิมละเลยไม่นำเงินค่าซื้อทรัพย์ส่วนที่เหลือมาชำระตามสำเนาสัญญาซื้อขาย จนเจ้าพนักงานบังคับคดีต้องขายทอดตลาดทรัพย์จำนองซ้ำอีกครั้งหนึ่งและได้เงินสุทธิไม่คุ้มราคาและค่าขายทอดตลาดชั้นเดิม ย่อมทำให้ธนาคาร ท. เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในคดีเดิมได้รับความเสียหายเนื่องจากเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดครั้งหลังน้อยกว่าครั้งก่อน ทำให้ธนาคาร ท. ไม่ได้รับชำระหนี้ตามคำพิพากษาจนครบถ้วน จำเลยที่ 1 จะต้องรับผิดในส่วนที่ขาดตามที่ระบุในสัญญาและตาม ป.พ.พ. มาตรา 516 การกระทำของจำเลยที่ 1 ถือได้ว่าเป็นการโต้แย้งสิทธิของธนาคาร ท. โจทก์ในคดีเดิมตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55
จำเลยที่ 1 ฎีกาว่า โจทก์รับโอนหนี้จากธนาคาร ท. หลังจากคดีเดิมสิ้นสุดแล้ว โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องนั้น ในปัญหานี้เป็นปัญหาเกี่ยวกับอำนาจฟ้องซึ่งเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จำเลยที่ 1 ย่อมมีสิทธิยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาได้ แม้จะมิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 1 ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคสอง ประกอบมาตรา 247 พ.ร.ก.บริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ.2541 มาตรา 7 บัญญัติว่า "ในการโอนสินทรัพย์ไปให้บริษัทบริหารสินทรัพย์ ถ้ามีการฟ้องบังคับสิทธิเรียกร้องเป็นคดีอยู่ในศาล ให้บริษัทบริหารสินทรัพย์เข้าสวมสิทธิเป็นคู่ความแทนในคดีดังกล่าว ... และในกรณีที่ศาลได้มีคำพิพากษาบังคับตามสิทธิเรียกร้องนั้นแล้ว ก็ให้เข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษานั้น" ดังนั้น แม้คดีเดิมธนาคาร ท. อยู่ระหว่างบังคับคดีแก่จำเลยที่ 1 ธนาคาร ท. สามารถโอนสิทธิเรียกร้องที่มีต่อจำเลยที่ 1 ซึ่งศาลได้มีคำพิพากษาบังคับตามสิทธิเรียกร้องแล้วให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นบริษัทบริหารสินทรัพย์ที่จัดตั้งขึ้นตาม พ.ร.ก.บริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ.2541 ได้ โจทก์มีสิทธิที่จะขอเข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาโดยบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว และการเข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาโดยผลของกฎหมายในกรณีนี้ หาได้ขัดต่อบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ภาค 4 ในเรื่องการบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่ง และหาได้ตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 แต่ประการใดไม่ โจทก์ในฐานะตัวการย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 เป็นคดีนี้ได้โดยไม่จำต้องเข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในคดีเดิมก่อน
หนังสือสัญญาซื้อขายระบุให้ผู้ซื้อทรัพย์ต้องรับผิดในกรณีที่ผู้ซื้อทรัพย์ผิดสัญญา และเจ้าพนักงานบังคับคดีนำทรัพย์ดังกล่าวออกขายทอดตลาดครั้งใหม่หากได้ราคาสุทธิต่ำกว่าครั้งก่อนเท่าใด ผู้ซื้อทรัพย์เดิมต้องรับผิดในส่วนที่ขาดนั้น ซึ่งเป็นไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 516 ข้อตกลงดังกล่าวเป็นการกำหนดค่าเสียหายไว้ล่วงหน้า ในกรณีที่ผู้ซื้อผิดสัญญา ถือว่าเป็นเบี้ยปรับอย่างหนึ่งซึ่งหากกำหนดไว้สูงเกินส่วน ศาลย่อมมีอำนาจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 383
จำเลยที่ 1 ฎีกาว่า โจทก์รับโอนหนี้จากธนาคาร ท. หลังจากคดีเดิมสิ้นสุดแล้ว โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องนั้น ในปัญหานี้เป็นปัญหาเกี่ยวกับอำนาจฟ้องซึ่งเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จำเลยที่ 1 ย่อมมีสิทธิยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาได้ แม้จะมิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 1 ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคสอง ประกอบมาตรา 247 พ.ร.ก.บริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ.2541 มาตรา 7 บัญญัติว่า "ในการโอนสินทรัพย์ไปให้บริษัทบริหารสินทรัพย์ ถ้ามีการฟ้องบังคับสิทธิเรียกร้องเป็นคดีอยู่ในศาล ให้บริษัทบริหารสินทรัพย์เข้าสวมสิทธิเป็นคู่ความแทนในคดีดังกล่าว ... และในกรณีที่ศาลได้มีคำพิพากษาบังคับตามสิทธิเรียกร้องนั้นแล้ว ก็ให้เข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษานั้น" ดังนั้น แม้คดีเดิมธนาคาร ท. อยู่ระหว่างบังคับคดีแก่จำเลยที่ 1 ธนาคาร ท. สามารถโอนสิทธิเรียกร้องที่มีต่อจำเลยที่ 1 ซึ่งศาลได้มีคำพิพากษาบังคับตามสิทธิเรียกร้องแล้วให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นบริษัทบริหารสินทรัพย์ที่จัดตั้งขึ้นตาม พ.ร.ก.บริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ.2541 ได้ โจทก์มีสิทธิที่จะขอเข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาโดยบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว และการเข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาโดยผลของกฎหมายในกรณีนี้ หาได้ขัดต่อบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ภาค 4 ในเรื่องการบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่ง และหาได้ตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 แต่ประการใดไม่ โจทก์ในฐานะตัวการย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 เป็นคดีนี้ได้โดยไม่จำต้องเข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในคดีเดิมก่อน
หนังสือสัญญาซื้อขายระบุให้ผู้ซื้อทรัพย์ต้องรับผิดในกรณีที่ผู้ซื้อทรัพย์ผิดสัญญา และเจ้าพนักงานบังคับคดีนำทรัพย์ดังกล่าวออกขายทอดตลาดครั้งใหม่หากได้ราคาสุทธิต่ำกว่าครั้งก่อนเท่าใด ผู้ซื้อทรัพย์เดิมต้องรับผิดในส่วนที่ขาดนั้น ซึ่งเป็นไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 516 ข้อตกลงดังกล่าวเป็นการกำหนดค่าเสียหายไว้ล่วงหน้า ในกรณีที่ผู้ซื้อผิดสัญญา ถือว่าเป็นเบี้ยปรับอย่างหนึ่งซึ่งหากกำหนดไว้สูงเกินส่วน ศาลย่อมมีอำนาจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 383
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9346/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้สู้ราคาในการขายทอดตลาด และอำนาจฟ้องของเจ้าของกรรมสิทธิ์รวม
แม้ตามสัญญาซื้อขายระบุว่า จำเลยทำสัญญากับเจ้าพนักงานบังคับคดี แต่เมื่อการขายทอดตลาดครั้งแรกจำเลยเป็นผู้สู้ราคาสูงสุด แล้วละเลยไม่ใช้ราคา ผู้ทอดตลาดเอาทรัพย์สินนั้นออกขายอีกซ้ำหนึ่ง ถ้าและได้เงินเป็นจำนวนสุทธิไม่คุ้มราคาและค่าขายทอดตลาดชั้นเดิม จำเลยผู้สู้ราคาคนเดิมต้องรับผิดในส่วนที่ขาดตาม ป.พ.พ. มาตรา 516 โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินแปลงดังกล่าวกับ ส. เมื่อศาลชั้นต้นกันส่วนเงินครึ่งหนึ่งที่ได้จากการขายทอดตลาดแก่โจทก์ ตามสำเนาคำสั่งของศาลชั้นต้นในคดีแพ่ง โดยโจทก์รับเงินจำนวนน้อยลงจากการกระทำของจำเลย ย่อมกระทบต่อส่วนได้เสียของโจทก์ เป็นการถูกโต้แย้งสิทธิตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง