คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.เทศบาล พ.ศ.2486

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 17 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 446/2501 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดละเมิดจากละเลยระเบียบภายในเทศบาล ต้องพิจารณาจากข้อเท็จจริงและเหตุผลประกอบ
ระเบียบของกระทรวงมหาดไทยซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ.เทศบาลนั้น ถือว่าเป็นระเบียบการภายใน ไม่มีผลบังคับทั่วไป และประชาชนไม่จำต้องรับรู้ ฉะนั้นความรับผิดเพื่อละเมิดอันเกิดจากการที่จำเลยไม่ปฏิบัติตามระเบียบดังกล่าวจะต้องรับผิดหรือไม่ ต้องแล้วแต่ข้อเท็จจริงและเหตุผลเป็นเรื่อง ๆ ไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 446/2501

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดละเมิดจากระเบียบภายในเทศบาล: ต้องพิจารณาจากข้อเท็จจริงและเหตุผลเป็นรายกรณี
ระเบียบของกระทรวงมหาดไทยซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติเทศบาลนั้น ถือว่าเป็นระเบียบการภายใน ไม่มีผลบังคับทั่วไป และประชาชนไม่จำต้องรับรู้ ฉะนั้นความรับผิดเพื่อละเมิดอันเกิดจากการที่จำเลยไม่ปฏิบัติตามระเบียบดังกล่าวจะต้องรับผิดหรือไม่ต้องแล้วแต่ข้อเท็จจริงและเหตุผลเป็นเรื่องๆ ไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 763-766/2495

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความ ‘ตั้งบ้านเรือน’ ในกฎหมายเทศบาล: ที่อยู่ถาวรในเขตเทศบาลคือหลักเกณฑ์
คำว่า ตั้งบ้านเรือนตามความหมายของ พระราชบัญญัติเทศบาล 2486หรือ พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล พ.ศ.2492 นั้นต้องตีความว่า มีความหมายตลอดไปถึงบุคคลที่อยู่ในเคหสถานบ้านเรือนของผู้อื่นด้วยจะหมายเฉพาะแต่ผู้เป็นเจ้าของบ้านของตนเองเท่านั้นหาได้ไม่ฉะนั้นการตั้งบ้านเรือนอยู่ในเขตเทศบาลตามกฎหมายเกี่ยวกับการเทศบาลจึงมีความหมายถึงการที่บุคคลมีที่อยู่เป็นปรกติในเคหสถานใดๆ ในเขตเทศบาลนั่นเองซึ่งย่อมตรงกับคำว่าเจ้าบ้านและผู้อยู่ในบ้าน ตาม พระราชบัญญัติ การทะเบียนราษฎรในเขตเทศบาล พ.ศ.2479
การที่มีชื่อผู้ใดเป็นผู้อยู่ในบ้านตามทะเบียนราษฎรในเขตเทศบาลนั้นย่อมเป็นข้อสันนิษฐานเบื้องต้นว่า ผู้นั้นได้ตั้งบ้านเรือนอยู่ในเขตเทศบาลนั้นฉะนั้นเพียงแต่ได้ความว่าผู้นั้นไปได้ภรรยาที่ตำบลอื่นหรือไปมีบ้านเรือนอยู่ที่ตำบลอื่นโดยมิได้ความว่าผู้นั้นได้ละทิ้งที่อยู่เดิมในเขตเทศบาลตามที่ปรากฏในทะเบียนราษฎร เป็นที่อยู่ต่อไปแล้ว ก็จะฟังเป็นข้อพิสูจน์หักล้างข้อสันนิษฐานแห่งกฎหมายดังกล่าวแล้วไม่ได้จึงต้องฟังว่าผู้นั้นยังมีที่อยู่ในเขตเทศบาลอยู่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 763-766/2495 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การ ‘ตั้งบ้านเรือน’ ตามกฎหมายเทศบาล พิจารณาจาก ‘ที่อยู่เป็นปกติ’ ในเขตเทศบาล แม้ไม่ได้เป็นเจ้าของบ้าน
คำว่า ตั้งบ้านเรือนตามความหมายของ พ.ร.บ.เทศบาล 2486 หรือ พ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล พ.ศ.2492 นั้น ต้องตีความว่า มีความหมายตลอดไปถึงบุคคลที่อยู่ในเคหะสถานบ้านเรือนของผู้อื่นด้วย จะหมายเฉพาะแต่ผู้เป็นเจ้าของบ้านของตนเองเท่านั้นหาได้ไม่ ฉะนั้นการตั้งบ้านเรือนอยู่ในเขตเทศบาลตามกฎหมายเกี่ยวกับเทศบาล จึงมีความหมายเกียวกับการเทศบาล จึงมีความหมายถึงการที่บุคคลมีที่อยู่เป็นปรกติในเคหะสถานใด ๆ ในเขตเทศบาลนั่นเอง ซึ่งย่อมตรงกับคำว่าเจ้าบ้านและผู้อยู่ในบ้าน ตาม พ.ร.บ.การทะเบียนราษฎรในเขตเทศบาล พ.ศ.2479
การที่มีชื่อผู้ใดเป็นผู้อยู่ในบ้านตามทะเบียนราษฎรในเขตเทศบาลนั้น ย่อมเป็นข้อสันนิษฐานเบื้องต้นว่า ผู้นั้นได้ตั้งบ้านเรือนอยู่ในเขตเทศบาลนั้น ฉะนั้นเพียงแต่ได้ความว่า ผู้นั้นไปได้ภรรยาที่ตำบลอื่นหรือไปมีบ้านเรือนอยู่ที่ตำบลอื่นโดยมิได้ความว่าผู้นั้นได้ละทิ้งที่อยู่เดิมในเขตเทศบาลตามที่ปรากฎในทะเบียนราษฎรเป็นที่อยู่ต่อไปแล้ว ก็จะฟังเป็นข้อพิศูจน์หักล้างข้อสันนิษฐานแห่งกฎหมายดังกล่าวแล้วไม่ได้ จึงต้องฟังว่าผู้นั้นยังมีที่อยู่ในเขตเทศบาลอยู่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1810/2494

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องข้าหลวงประจำจังหวัดให้เรียกประชุมเทศบาลเป็นอันไร้ผลเมื่อจำเลยย้ายไปแล้ว
สมาชิกเทศบาลฟ้องข้าหลวงประจำจังหวัด นั้น โดยระบุชื่อข้าหลวงประจำจังหวัดในฐานะข้าหลวงประจำจังหวัดนั้นเป็นจำเลยขอให้ศาลสั่งให้จำเลยเรียกประชุมสมาชิกเทศบาลตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.2486 มาตรา 33 เมื่อปรากฏว่าข้าหลวงประจำจังหวัดผู้นั้นย้ายไปจังหวัดอื่นเสียแล้วแม้ฟ้องดังกล่าวศาลจะรับวินิจฉัยได้ ก็ไม่มีทางที่จะบังคับให้ข้าหลวงประจำจังหวัดผู้นั้นจัดให้มีการประชุมตามคำขอของโจทก์ได้ ฟ้องของโจทก์จึงเป็นอันไร้ผล

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 94/2494

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีที่ดินเมื่อมีการโอนอำนาจจากสภาฯ ไปยังเทศบาล
ที่ดินซึ่งอยู่ในความครอบครองจัดการของสภาจัดบำรุงสถานที่ชายทะเลตะวันตก ซึ่งต่อมาได้มีกฎหมายโอนกิจการอำนาจและหน้าที่ของสภานี้ให้แก่เทศบาล นั้นการฟ้องคดีเกี่ยวกับที่ดินแปลงนี้ เช่นฟ้องขับไล่ผู้ที่อาศัยอยู่ในที่แปลงนี้ ย่อมตกเป็นอำนาจและหน้าที่ของเทศบาล ข้าหลวงประจำจังหวัดหามีอำนาจฟ้องไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 538/2493 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของนายกเทศมนตรี และผลของการสิ้นสุดสัญญาเช่า
เทศบาลเป็นนิติบุคคลนายกเทศมนตรีมีอำนาจฟ้องคดีซึ่งเทศบาลเป็นโจทก์ และลงชื่อแต่งทนายได้
สัญญาเช่าที่มีกำหนดเมื่อครบกำหนด สัญญาย่อมระงับโดยมิพักต้องบอกล่าวก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 538/2493

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีของนายกเทศมนตรี และการสิ้นสุดสัญญาเช่าเมื่อครบกำหนด
เทศบาลเป็นนิติบุคคล นายกเทศมนตรีมีอำนาจฟ้องคดีซึ่งเทศบาลเป็นโจทก์ และลงชื่อแต่งทนายได้
สัญญาเช่าที่มีกำหนดเมื่อครบกำหนดสัญญาย่อมระงับโดยมิพักต้องบอกกล่าวก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2005/2492

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยินยอมให้ปลูกสร้างอาคารล้ำหลังคา ไม่ถือเป็นการละเมิดสิทธิ และไม่มีอำนาจฟ้องหากไม่เกิดความเสียหาย
การที่ยอมให้ผู้ครอบครองที่ดินใกล้เคียงปลูกอาคาร หลังคาเหลื่อมล้ำคลุมหลังคาเรือนของตนบางส่วนเช่นนี้ ย่อมไม่มีสิทธิฟ้องขอให้รื้อถอนไป และแม้ผู้ปลูกสร้างอาคารในที่ดินใกล้เคียงจะปลูกผิดเทศบัญญัติก็ดี หากมิได้ละเมิดสิทธิโจทก์ โจทก์ก็ไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 47/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การผิดสัญญาซื้อขายไฟฟ้าและน้ำประปา โดยเทศบาลที่ไม่ได้สัมปทาน การฟ้องเรียกค่าเสียหายจากตัวแทนย่อมไม่สำเร็จ
จำเลยที่ 1 เป็นเทศบาลได้รับสัมปทานจากรัฐบาลให้ตั้งโรงไฟฟ้ามีหน้าที่จำหน่ายไฟฟ้าให้แก่บุคคลผู้ร้องขอใช้ไฟฟ้าภายในเขตตฺ์สัมปทาน โจทก์เป็นราษฎรฟ้องหาว่าจำเลยทำผิดข้อสัญญากับโจทก์ในการจำหน่ายกระแสร์ไฟ มิได้ฟ้องโดยอาศัยสิทธิตาม ข้อกำหนดในสัมปทานประกอบกับบทบัญญัติมาตรา 374 ป.ม. แพ่งฯ ฉะนั้นปัญหาที่ว่าโจทก์จะได้สิทธิตามสัมปทานโดยอาศัย ป.ม. แพ่งฯ มาตรา 374 นี้หรือไม่ จึงไม่เกิดขึ้น
สัญญาซื้อกระแสไฟฟ้าไม่ปรากฎว่ามีกำหนดระยะเวลา อาจมีการเลิกกันเมื่อใดก็ได้ เมื่อผู้ซื้อไม่ชำระค่ากระแสร์ไฟ ผู้ขายก็ตัดสายไฟ ดังนี้ ผู้ซื้อจะมาฟ้องขอให้บังคับผู้ขายให้ต่อสายไฟและจ่ายกระแสร์ไฟให้ต่อไปสภาพย่อมไม่เปิดช่องให้บังคับได้ตามขอ
เมื่อเทศบาลซึ่งเป็นคู่สัญญากับโจทก์ ผิดสัญญาจะต้องใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ แต่ฟ้องโจทก์ไม่เรียกค่าเสียหายจากเทศบาลซึ่งเป็นจำเลยที่ 1 เป็นแต่เรียกจากจำเลยอื่น ๆ ซึ่งเป็นคนงานและตัวแทนของจำเลยที่ 1 ๆ จึงไม่ได้เป็นคู่สัญญากับโจทก์ ดังนี้ ก็ไม่มีทางให้ค่าเสียหายแก่โจทก์ได้
เทศบาลทำน้ำประปาโดยไม่ได้รับอนุญาตหรือได้รับสัมปทานตาม พ.ร.บ.ควบคุมกิจการค้าขายอันกระทบถึงความปลอดภัยหรือผาสุขของสาธารณะชนแล้ว การที่โจทก์ขอให้ศาลบังคับห้ามมิให้เทศบาลเรียกเก็บค่าน้ำประปานั้น ศาลจะบังคับให้ไม่ได้ เพราะเป็นการรับรองให้โจทก์ได้รับผลจากการกระทำอันไม่ถูกต้องกับกฎหมาย./
of 2