คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.ควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ.2479

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 42 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8107/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การก่อสร้างอาคารและการรื้อถอนส่วนที่ขัดต่อข้อบัญญัติควบคุมอาคาร โดยคำนึงถึงอาคารเดิมที่สร้างก่อนมีข้อบัญญัติ
จากแบบแปลนแผนผังที่นายตรวจอาคารงานโยธาทำขึ้นไม่ปรากฏว่ามีห้องน้ำห้องส้วมในตัวอาคาร แสดงว่าขณะที่จำเลยซื้อบ้านพิพาทมีห้องน้ำห้องส้วมรวมกันอยู่ติดกับรั้วกว้างประมาณ 1 วา ยาวประมาณ 1 วาเศษ ต่อมาจำเลยได้แบ่งซอยห้องน้ำห้องส้วม เดิมเป็นสองห้องใหม่โดยไม่ปรากฏว่ามีการเพิ่มหรือขยายพื้นที่ จึงไม่ทำให้พื้นที่ว่างเดิมลดน้อยลง อาคารของจำเลยได้ก่อสร้างมาก่อนพ.ศ.2522 ซึ่งอยู่ภายใต้บังคับตาม พ.ร.บ.ควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ.2479เป็นอาคารที่สร้างขึ้นโดยชอบด้วยกฎหมายมีพื้นที่ว่างไม่ถึงร้อยละ 30 แม้จะขัดต่อข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง ควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ.2522 ซึ่งออกตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 ก็หามีผลย้อนหลังใช้บังคับแก่อาคารของจำเลยได้ไม่ จำเลยจึงไม่ต้องรื้อถอนห้องน้ำห้องส้วมที่แบ่งซอย
ห้องส้วมอีก 4 ห้อง ขนาด 1.20 x 1.30 เมตร สูง 2 เมตรเป็นการก่อสร้างขึ้นใหม่โดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น แม้จะก่อสร้างอยู่ใต้ชายคาเดิมเป็นส่วนใหญ่ แต่ก็ได้ความว่ามีบางส่วนด้านที่ติดกับรั้วบ้านเลขที่8/10 ล้ำออกไปจากชายคาประมาณ 20 เซนติเมตร ทำให้เหลือที่ว่างปราศจากสิ่งปกคลุมลดลงไปกว่าเดิม และน้อยกว่าร้อยละ 30 ของพื้นที่ทั้งหมด ซึ่งขัดต่อข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง การควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ.2522ข้อ 76 (1) และไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้ จำเลยจึงต้องรื้อถอนห้องส้วมจำนวน 4 ห้อง ที่ก่อสร้างขึ้นใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6599/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การต่อเติมอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตและฝ่าฝืนกฎหมายควบคุมอาคาร เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งรื้อถอน
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยได้ก่อสร้างดัดแปลงต่อเติมอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาต เป็นการฝ่าฝืน พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 21,22 และขัดต่อข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่องควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ.2522หมวด 4 ข้อ 30 และขัดต่อกฎกระทรวง ฉบับที่ 7 (พ.ศ.2517) ออกตามความใน พ.ร.บ.ควบคุมการก่อสร้าง พ.ศ.2479 และการก่อสร้างดัดแปลงต่อเติมอาคารนั้นทำให้อาคารของจำเลยมีสภาพหรือการใช้อาจเป็นภยันตรายต่อชีวิต ร่างกายสุขภาพหรือทรัพย์ หรือไม่ปลอดภัยจากอัคคีภัย อันเป็นการฝ่าฝืน พ.ร.บ.ควบคุมอาคารพ.ศ.2522 และขัดต่อข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่องควบคุมการก่อสร้างอาคารพ.ศ.2522 ดังกล่าวแล้ว โจทก์จึงไม่อาจออกใบอนุญาตให้จำเลยก่อสร้างหรือดัดแปลงอาคารได้ โจทก์เคยมีคำสั่งเป็นหนังสือให้จำเลยรื้อถอนอาคารที่ต่อเติมโดยไม่ได้รับอนุญาตมาตั้งแต่ พ.ศ.2525, พ.ศ.2528 และ พ.ศ.2529 แต่จำเลยไม่ปฏิบัติการให้เป็นไปตามคำสั่งของโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานท้องถิ่น จึงได้ฟ้องต่อศาลคำบรรยายฟ้องของโจทก์ดังกล่าวเป็นคำฟ้องที่ร้องขอต่อศาลให้บังคับให้มีการรื้อถอนตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 42 (เดิม) ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับในขณะนั้นแล้ว
จำเลยกระทำการต่อเติมอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตขัดต่อข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง ควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ.2522 หมวด 4 ข้อ30 ทั้งขัดต่อกฎกระทรวง ฉบับที่ 7 (พ.ศ.2517) ออกตามความใน พ.ร.บ.ควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ.2479 เช่น อาคารพิพาทไม่มีที่จอดรถยนต์ที่ถูกต้องและเพียงพอ ทำให้โจทก์ออกใบอนุญาตให้ไม่ได้ อาคารที่จำเลยต่อเติมดัดแปลง จึงไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องตามกฎกระทรวงดังกล่าวได้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานท้องถิ่นจึงมีอำนาจสั่งให้จำเลยรื้อถอนอาคารพิพาทและร้องขอต่อศาลให้บังคับให้มีการรื้อถอนอาคารพิพาทได้ตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 42 วรรคแรก และวรรคสาม (เดิม) ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าการก่อสร้างดัดแปลงต่อเติมอาคารของจำเลยไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องตามกฎกระทรวง หาใช่เป็นการวินิจฉัยและพิพากษานอกฟ้องนอกประเด็นไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3297/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรื้อถอนอาคารผิดแบบและการบังคับตามกฎหมายวิธีสบัญญัติ มิใช่การใช้สิทธิเรียกร้องจึงไม่อ้างอายุความได้
จำเลยปลูกสร้างอาคารเกินไปจากแบบแปลนที่ได้รับอนุญาตและไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่สั่งให้แก้ไขเจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจขอต่อศาลให้บังคับจำเลยได้ การใช้อำนาจดังกล่าวมิใช่การใช้สิทธิเรียกร้อง จึงมิอาจอ้างอายุความ10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30(มาตรา 164 เดิม)มาใช้กับกรณีนี้ได้ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจขอให้บังคับให้รื้อถอนอาคารที่สร้างผิดแบบแปลนได้เสมอตราบเท่าที่อาคารยังฝ่าฝืนกฎหมายอยู่ ปัญหาที่ว่าจำเลยโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมอาคารพิพาทตามฟ้องให้แก่บุคคลภายนอกแล้วจึงไม่อาจบังคับจำเลยตามฟ้องได้นั้นจำเลยมิได้ตั้งประเด็นไว้ในคำให้การ ทั้งศาลชั้นต้นมิได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทนี้ไว้ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 694/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรื้อถอนอาคารต่อเติมที่ไม่ได้รับอนุญาต: อำนาจฟ้องมีจำกัดตามกฎหมายที่ใช้บังคับ ณ ขณะกระทำผิด
ในขณะที่จำเลยที่ 2 แก้ไขต่อเติมอาคารโดยมิได้รับอนุญาต และจำเลยที่ 1 รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและอาคารดังกล่าวมาจากจำเลยที่ 2 นั้น เป็นระยะเวลาที่พระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร พุทธศักราช 2479 ยังใช้บังคับซึ่งตามบทกฎหมายดังกล่าวไม่มีบทบัญญัติให้อำนาจโจทก์ฟ้องขอให้ศาลบังคับให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารซึ่งรับโอนกรรมสิทธิ์จากผู้ทำการก่อสร้างรื้อถอนอาคาร แม้ขณะที่โจทก์ฟ้องคดีจะเป็นระยะเวลาที่อยู่ในบังคับของพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ซึ่งมีบทบัญญัติให้อำนาจโจทก์ฟ้องขอให้ศาลสั่งให้เจ้าของหรือผู้ครองครองนั้นรื้อถอนได้ก็ตามแต่บทบัญญัติดังกล่าวนี้ไม่มีผลย้อนหลังโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ให้รื้อถอนอาคาร และปัญหาข้อนี้เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จะไม่มีปัญหานี้ขึ้นสู่ศาลฎีกา เมื่อศาลฎีกาเห็นสมควรก็ยกขึ้นวินิจฉัยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 694/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรื้อถอนอาคารต่อเติมที่ผิดกฎหมาย: อำนาจฟ้องและการใช้กฎหมายย้อนหลัง
ในขณะที่จำเลยที่ 2 แก้ไขต่อเติมอาคารโดยมิได้รับอนุญาต และจำเลยที่ 1 รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและอาคารดังกล่าวมาจากจำเลยที่ 2 นั้น เป็นระยะเวลาที่พระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร พุทธศักราช 2479 ยังใช้บังคับซึ่งตามบทกฎหมายดังกล่าวไม่มีบทบัญญัติให้อำนาจโจทก์ฟ้องขอให้ศาลบังคับให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารซึ่งรับโอนกรรมสิทธิ์จากผู้ทำการก่อสร้างรื้อถอนอาคาร แม้ขณะที่โจทก์ฟ้องคดีจะเป็นระยะเวลาที่อยู่ในบังคับของพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ซึ่งมีบทบัญญัติให้อำนาจโจทก์ฟ้องขอให้ศาลสั่งให้เจ้าของหรือผู้ครองครองนั้นรื้อถอนได้ก็ตามแต่บทบัญญัติดังกล่าวนี้ไม่มีผลย้อนหลังโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ให้รื้อถอนอาคาร และปัญหาข้อนี้เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จะไม่มีปัญหานี้ขึ้นสู่ศาลฎีกา เมื่อศาลฎีกาเห็นสมควรก็ยกขึ้นวินิจฉัยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2928-2934/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีอาญา, อายุความ, เจตนาบุกรุก และการดัดแปลงอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาต
การกระทำผิดตามพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคารและพระราชบัญญัติควบคุมอาคารนั้นเทศบาลหรือทางราชการเป็นผู้เสียหาย เป็นเรื่องของเทศบาลหรือทางราชการที่จะเข้าควบคุมฟ้องร้องเอาเอง โจทก์ร่วมซึ่งเป็นราษฎรหรือเอกชนไม่ใช้ผู้เสียหาย จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คดีที่ฎีกาเฉพาะปัญหาข้อกฎหมาย ศาลฎีกาจำต้องฟังข้อเท็จจริงตามที่ศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยมาแล้วจากพยานหลักฐานในสำนวน การที่ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงตามฟ้องแล้ววินิจฉัยผลักหน้าที่ให้จำเลยสืบแก้ว่าคดีของโจทก์ขาดอายุความเป็นการวินิจฉัยข้อเท็จจริงที่ผิดกฎหมายเพราะในปัญหาว่าคดีโจทก์ขาดอายุความหรือไม่เป็นหน้าที่ของโจทก์จะต้องนำสืบ ศาลฎีกาจึงมีอำนาจฟังข้อเท็จจริงใหม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2928-2934/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีอาญาเกี่ยวกับการก่อสร้างและการบุกรุก, อายุความ, เจตนาการครอบครอง
การกระทำผิดตามพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคารและพระราชบัญญัติควบคุมอาคารนั้นเทศบาลหรือทางราชการเป็นผู้เสียหายเป็นเรื่องของเทศบาลหรือทางราชการที่จะเข้าควบคุมฟ้องร้องเอาเอง โจทก์ร่วมซึ่งเป็นราษฎรหรือเอกชนไม่ใช้ผู้เสียหาย จึงไม่มีอำนาจฟ้อง คดีที่ฎีกาเฉพาะปัญหาข้อกฎหมาย ศาลฎีกาจำต้องฟังข้อเท็จจริงตามที่ศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยมาแล้วจากพยานหลักฐานในสำนวนการที่ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงตามฟ้องแล้ววินิจฉัยผลักหน้าที่ให้จำเลยสืบแก้ว่าคดีของโจทก์ขาดอายุความเป็นการวินิจฉัยข้อเท็จจริงที่ผิดกฎหมายเพราะในปัญหาว่าคดีโจทก์ขาดอายุความหรือไม่เป็นหน้าที่ของโจทก์จะต้องนำสืบ ศาลฎีกาจึงมีอำนาจฟังข้อเท็จจริงใหม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3342/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจบังคับรื้อถอนอาคารผิดกฎหมาย แม้กฎหมายเปลี่ยน ก็ยังใช้ได้หากเจ้าหน้าที่ยังไม่ได้ดำเนินการ
พระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ.2479 และพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 ในส่วนที่บัญญัติถึงการรื้อถอนและแก้ไขเปลี่ยนแปลงอาคารที่สร้างขึ้นโดยฝ่าฝืนกฎหมายเป็นวิธีการบังคับคดีในส่วนแพ่งเป็นกฎหมายวิธีสบัญญัติ
หลักกฎหมายที่ว่ากฎหมายไม่มีผลย้อนหลังไม่ใช้ในกรณีที่เป็นกฎหมายวิธีสบัญญัติ
จำเลยกระทำผิดต่อพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร ฯแต่เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นยังมิได้ใช้อำนาจตามมาตรา 11 ทวิ รื้อถอนอาคารนั้นเอง จนกระทั่งกฎหมายฉบับนี้ถูกยกเลิกไปโดยใช้พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 แทนต่อมากฎหมายฉบับใหม่ยังคงบัญญัติว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดอยู่ และให้อำนาจเจ้าพนักงานท้องถิ่นสั่งให้รื้อถอนหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขอาคารได้ เพียงแต่จะใช้อำนาจรื้อถอนหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงเองไม่ได้เท่านั้น เมื่อปรากฏว่าจำเลยยังไม่ได้ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่สั่งให้รื้อถอนอาคารพิพาท เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจร้องขอต่อศาลให้บังคับให้มีการรื้อถอนได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3342/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กฎหมายวิธีสบัญญัติใช้บังคับย้อนหลังในเรื่องรื้อถอนอาคารได้ แม้กฎหมายสารบัญญัติใช้ไม่ได้
พระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ.2479 และพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 ในส่วนที่บัญญัติถึงการรื้อถอนและแก้ไขเปลี่ยนแปลงอาคารที่สร้างขึ้นโดยฝ่าฝืนกฎหมายเป็นวิธีการบังคับคดีในส่วนแพ่งเป็นกฎหมายวิธีสบัญญัติ
หลักกฎหมายที่ว่ากฎหมายไม่มีผลย้อนหลังไม่ใช้ในกรณีที่เป็นกฎหมายวิธีสบัญญัติ
จำเลยกระทำผิดต่อพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร ฯแต่เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นยังมิได้ใช้อำนาจตามมาตรา 11 ทวิรื้อถอนอาคารนั้นเอง จนกระทั่งกฎหมายฉบับนี้ถูกยกเลิกไปโดยใช้พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 แทนต่อมากฎหมายฉบับใหม่ยังคงบัญญัติว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดอยู่ และให้อำนาจเจ้าพนักงานท้องถิ่นสั่งให้รื้อถอนหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขอาคารได้ เพียงแต่จะใช้อำนาจรื้อถอนหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงเองไม่ได้เท่านั้น เมื่อปรากฏว่าจำเลยยังไม่ได้ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่สั่งให้รื้อถอนอาคารพิพาท เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจร้องขอต่อศาลให้บังคับให้มีการรื้อถอนได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 429/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นในการใช้ดุลพินิจอนุญาตหรือไม่อนุญาตการก่อสร้างอาคารตาม พ.ร.บ.ควบคุมการก่อสร้างอาคาร
เมื่อมีผู้ขออนุญาตก่อสร้างอาคาร เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นตามพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ.2479 ย่อมมีอำนาจหน้าที่ที่จะใช้ดุลพินิจเพื่อให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติดังกล่าวนั้นในการอนุญาต หรือไม่อนุญาตให้บุคคลปลูกสร้างอาคารอย่างใดๆ ได้
โจทก์ยื่นขออนุญาตก่อสร้างกำแพงต่อจำเลย จำเลยมีหนังสือถึงโจทก์แจ้งไม่อนุญาตโดยอ้างเหตุขัดข้อง 3 ประการ ครั้นเมื่อโจทก์ยื่นฟ้องจำเลย จำเลยได้ยื่นคำให้การแสดงถึงเหตุหลายประการนอกเหนือไปจากเหตุที่จำเลยอ้างไว้ ดังนี้ จำเลยย่อมมีสิทธิยกขึ้นเป็นประเด็นข้อต่อสู้ของจำเลยในคดีได้ ซึ่งศาลจะต้องรับวินิจฉัย
of 5