พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2,422 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 17849/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดหลายกรรมต่างกัน vs. กรรมเดียวผิดหลายบท กรณีภาพยนตร์ลามกและการจำหน่ายโดยไม่ได้รับอนุญาต
การกระทำของจำเลยในความผิดฐานมีไว้ซึ่งภาพยนตร์ลามกเพื่อความประสงค์แห่งการค้าหรือโดยการค้าและฐานจำหน่ายภาพยนตร์ที่ไม่ผ่านการตรวจพิจารณาและไม่ได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์และวีดิทัศน์ เป็นความผิดต่อกฎหมายคนละฉบับ มีองค์ประกอบความผิดที่แตกต่างกัน ทั้งเจตนาในการกระทำความผิดทั้งสองฐานดังกล่าวสามารถแยกต่างหากจากกันได้ การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดสองกรรมต่างกัน มิใช่เป็นการกระทำกรรมเดียวกันตาม ป.อ. มาตรา 90
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 17705/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานซ่องโจรและฉ้อโกงจากการล็อกเลขรางวัลสลากกินแบ่งรัฐบาล
จำเลยที่ 1 และที่ 3 ถึงที่ 5 ร่วมกับจำเลยที่ 2 และพวกอีกหลายคนที่ยังหลบหนีแบ่งหน้าที่กันทำโดยให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 และ ท. หลอกลวงสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จว่า เป็นผู้มีชื่อตามหางบัตรที่ได้รับเลือกให้เป็นกรรมการร่วมออกรางวัล ซึ่งจะตักตลับลูกบอลในภาชนะที่ตนอยู่ประจำหลักด้วยวิธีเสี่ยงทาย ความจริงแล้วจำเลยที่ 1 ที่ 2 และ ท. มิได้เป็นผู้มีชื่อตามหางบัตรที่แท้จริง และจำเลยที่ 1 ที่ 2 และ ท. ได้ทำเครื่องหมายที่ตลับลูกบอลด้วยสารเคมีตามวิธีการที่วางแผนซักซ้อมกันมา แล้วจะเลือกตักเอาลูกบอลที่มีเครื่องหมายดังกล่าวซึ่งเป็นลูกบอลหมายเลข 1 โดยการหลอกลวงดังว่านั้น ได้ไปซึ่งทรัพย์สินจากบุคคลที่สาม จึงเป็นความผิดฐานร่วมกันฉ้อโกงตามฟ้อง นอกจากนั้นการที่จำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 4 ร่วมประชุมวางแผนแบ่งหน้าที่กันกับจำเลยที่ 2 และพวกอีกหลายคนที่ยังหลบหนีเพื่อจะกระทำความผิดดังกล่าว ย่อมเป็นการสมคบกันตั้งแต่ห้าคนขึ้นไปเพื่อตระเตรียมกระทำความผิดฐานฉ้อโกง ซึ่งมีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงตั้งแต่หนึ่งปีขึ้นไป การกระทำของจำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 4 จึงเป็นความผิดฐานซ่องโจรด้วย
ความผิดฐานซ่องโจรกฎหมายเอาโทษไว้ก็เพราะการที่บุคคลตั้งแต่ห้าคนขึ้นไป เพียงที่ตกลงกันจะกระทำความผิดตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญาภาค 2 ซึ่งแม้ยังไม่ทันได้กระทำความผิด ก็เป็นอันตรายแก่สังคมแล้ว กรณีนี้กรรมในเรื่องการสมคบกันกระทำความผิดฐานฉ้อโกงอันเป็นความผิดฐานซ่องโจรได้กระทำสำเร็จไปแล้ว เมื่อจำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 4 ได้กระทำกรรมใหม่ขึ้นอีก ด้วยการร่วมกับจำเลยอื่นที่เหลือหลอกลวงสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จ เป็นเหตุให้ได้รับทรัพย์สินจากบุคคลที่สาม การกระทำของจำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 4 กับพวกดังกล่าวจึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
ความผิดฐานซ่องโจรกฎหมายเอาโทษไว้ก็เพราะการที่บุคคลตั้งแต่ห้าคนขึ้นไป เพียงที่ตกลงกันจะกระทำความผิดตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญาภาค 2 ซึ่งแม้ยังไม่ทันได้กระทำความผิด ก็เป็นอันตรายแก่สังคมแล้ว กรณีนี้กรรมในเรื่องการสมคบกันกระทำความผิดฐานฉ้อโกงอันเป็นความผิดฐานซ่องโจรได้กระทำสำเร็จไปแล้ว เมื่อจำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 4 ได้กระทำกรรมใหม่ขึ้นอีก ด้วยการร่วมกับจำเลยอื่นที่เหลือหลอกลวงสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จ เป็นเหตุให้ได้รับทรัพย์สินจากบุคคลที่สาม การกระทำของจำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 4 กับพวกดังกล่าวจึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 17058/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ศาลฎีกายกประเด็นเพิ่มเติมโทษจากศาลอุทธรณ์ แม้โจทก์ไม่ได้อุทธรณ์ และลดโทษจำเลยตามกฎหมาย
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 15 วรรคหนึ่ง, วรรคสาม (2), 66 วรรคหนึ่ง และวรรคสาม เป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้ลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปตาม ป.อ. มาตรา 91 ขณะกระทำความผิดจำเลยอายุ 19 ปี ลดโทษมาตราส่วนโทษให้กึ่งหนึ่งตาม ป.อ. มาตรา 76 ในชั้นจับกุมและชั้นสอบสวนจำเลยให้การเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้หนึ่งในสามตาม ป.อ. มาตรา 78 คงจำคุก 4 ปี 4 เดือน และปรับ 140,000 บาท จำเลยอุทธรณ์การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 15 วรรคหนึ่ง, 67 และลงโทษจำคุก 1 ปี 6 เดือน และปรับ 20,000 บาท โดยไม่ลดมาตราส่วนโทษให้กึ่งหนึ่งตาม ป.อ. มาตรา 76 นั้นถือได้ว่าเป็นการเพิ่มเติมโทษจำเลย โดยที่โจทก์มิได้อุทธรณ์ขอให้ไม่ลดมาตราส่วนโทษให้กึ่งหนึ่งแก่จำเลย เป็นการพิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลย ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ มาตรา 212 แม้จำเลยไม่ได้ฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. 225 ประกอบมาตรา 195 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 16527/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาทำร้าย vs. พยายามฆ่า: การประเมินความผิดฐานทำร้ายร่างกายเจ้าพนักงาน
การที่จำเลยขับรถยนต์กระบะชนรถจักรยานยนต์สายตรวจที่จอดขวางอยู่ก็เพื่อต้องการเปิดทางหลบหนีการจับกุม ซึ่งจำเลยย่อมเล็งเห็นผลได้ว่าอาจทำให้ผู้เสียหายที่ 3 ที่ยืนอยู่บริเวณที่รถจักรยานยนต์ดังกล่าวจอดได้รับบาดเจ็บได้ จึงมีเจตนาทำร้ายผู้เสียหายที่ 3 เมื่อผลการตรวจร่างกายผู้เสียหายที่ 3 คงมีอาการปวดแก้มก้น 2 ข้าง และปวดขาข้างขวาถึงเท้า รักษาให้หายภายใน 7 วัน หากไม่มีโรคแทรกซ้อนตามผลการตรวจชันสูตรบาดแผลของแพทย์ ซึ่งอาการดังกล่าวยังถือไม่ได้ว่าผู้เสียหายที่ 3 ได้รับอันตรายแก่กาย การกระทำของจำเลยจึงมีความผิดฐานใช้กำลังทำร้ายผู้อื่นโดยไม่ถึงกับเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายตาม ป.อ. มาตรา 391 และความผิดดังกล่าวก็เป็นความผิดอย่างหนึ่งที่รวมอยู่ในความผิดฐานพยายามฆ่าเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่ตามฟ้องซึ่งมีโทษเบากว่า ศาลย่อมลงโทษความผิดฐานนี้ตามที่พิจารณาได้ความได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคท้าย ประกอบมาตรา 215 และ 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 16405/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำในความผิดอาญา: การกระทำอันเป็นกรรมเดียวกัน แม้โจทก์ต่างกัน สิทธิฟ้องระงับเมื่อมีคำพิพากษาแล้ว
จำเลยที่ 1 ถูกศาลในคดีก่อนพิพากษาลงโทษฐานแจ้งความเท็จแก่เจ้าพนักงานตาม ป.อ. มาตรา 137 ปรากฏว่าวัน เวลา และการกระทำอันเป็นมูลเหตุแห่งความผิดที่จำเลยที่ 1 ถูกฟ้องในคดีก่อนกับคดีนี้ เป็นวัน เวลา และการกระทำอันเป็นมูลเหตุแห่งความผิดลักษณะอย่างเดียวกัน ถึงแม้ว่าโจทก์คดีนี้จะบรรยายฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 โดยอ้างความผิดตามมาตรา 267 เพิ่มเข้ามาอีกด้วยก็ตาม แต่โจทก์ก็บรรยายฟ้องและนำสืบเกี่ยวกับการไต่สวนมูลฟ้องถึงการกระทำของจำเลยที่ 1 ในลักษณะอย่างเดียวกันกับคดีก่อน การกระทำของจำเลยที่ 1 ในคดีก่อนกับคดีนี้จึงเป็นกรรมเดียวกัน และที่จำเลยที่ 1 ถูกฟ้องคดีนี้ในข้อหาแจ้งความเท็จแก่เจ้าพนักงานตามมาตรา 137 และข้อหาแจ้งให้เจ้าพนักงานจดข้อความอันเป็นเท็จลงในเอกสารมหาชนหรือเอกสารราชการตามมาตรา 267 ก็ล้วนเป็นการกระทำที่ต่อเนื่องกันโดยเจตนาและความมุ่งหมายอย่างเดียวกันที่จะให้นายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทยอมรับการจดทะเบียนการเปลี่ยนแปลงกรรมการและอำนาจการลงนามของกรรมการ การกระทำของจำเลยที่ 1 ในทั้งสองข้อหาดังกล่าวจึงเป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท มิใช่ความผิดหลายกรรมต่างกัน
แม้คดีก่อนมี ย. เป็นโจทก์ ซึ่งเป็นคนละคนกับโจทก์คดีนี้ก็ตาม แต่โจทก์ทั้งสองคดีต่างฟ้องจำเลยในการกระทำอย่างเดียวกัน เมื่อคดีก่อนศาลมีคำพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 1 ในการกระทำอันเดียวกันนั้นเสร็จสิ้นแล้ว โจทก์ในคดีนี้จะนำการกระทำอันเดียวกันของจำเลยที่ 1 มาฟ้องเพื่อให้ศาลลงโทษจำเลยที่ 1 ซ้ำอีกนั้นไม่อาจกระทำได้ เพราะผู้ที่กระทำความผิดกรรมเดียวกันไม่จำต้องถูกลงโทษซ้ำสองครั้ง
แม้ในวันที่โจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้จะยังไม่เป็นฟ้องซ้ำ เพราะคดีก่อนยังมิได้มีคำพิพากษา แต่เมื่อคดีก่อนพิจารณาเสร็จและศาลมีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดซึ่งได้ฟ้องแล้ว นับตั้งแต่นั้นมาย่อมเป็นผลให้สิทธิในการดำเนินคดีอาญาของโจทก์ในคดีนี้ย่อมต้องสิ้นสุดลงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (4) โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องเพื่อขอให้ศาลลงโทษจำเลยที่ 1 อีกได้
แม้คดีก่อนมี ย. เป็นโจทก์ ซึ่งเป็นคนละคนกับโจทก์คดีนี้ก็ตาม แต่โจทก์ทั้งสองคดีต่างฟ้องจำเลยในการกระทำอย่างเดียวกัน เมื่อคดีก่อนศาลมีคำพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 1 ในการกระทำอันเดียวกันนั้นเสร็จสิ้นแล้ว โจทก์ในคดีนี้จะนำการกระทำอันเดียวกันของจำเลยที่ 1 มาฟ้องเพื่อให้ศาลลงโทษจำเลยที่ 1 ซ้ำอีกนั้นไม่อาจกระทำได้ เพราะผู้ที่กระทำความผิดกรรมเดียวกันไม่จำต้องถูกลงโทษซ้ำสองครั้ง
แม้ในวันที่โจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้จะยังไม่เป็นฟ้องซ้ำ เพราะคดีก่อนยังมิได้มีคำพิพากษา แต่เมื่อคดีก่อนพิจารณาเสร็จและศาลมีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดซึ่งได้ฟ้องแล้ว นับตั้งแต่นั้นมาย่อมเป็นผลให้สิทธิในการดำเนินคดีอาญาของโจทก์ในคดีนี้ย่อมต้องสิ้นสุดลงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (4) โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องเพื่อขอให้ศาลลงโทษจำเลยที่ 1 อีกได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14528/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้เอกสารสิทธิปลอมเพื่อเบิกถอนเงินธนาคาร: การนับจำนวนกรรมความผิด
จำเลยนำใบถอนเงินซึ่งเป็นเอกสารสิทธิปลอมรวม 17 ฉบับ ไปแสดงขอถอนเงินต่อพนักงานธนาคาร ก. สาขาอุทัยธานี ในใบถอนเงินดังกล่าวระบุวันที่จำเลยนำไปใช้ถอนเงินเป็นวันที่ 14 และ 18 มกราคม 2545 วันที่ 23 เมษายน 2545 วันที่ 9, 16 และ 23 พฤษภาคม 2545 โดยนำใบถอนเงินฉบับลงวันที่ เดือน ปีเดียวกันหลายฉบับไปยื่นต่อธนาคารพร้อมกัน แยกเป็น 6 วัน จึงถือได้ว่าจำเลยกระทำความผิดฐานใช้เอกสารสิทธิปลอมรวม 6 กรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14262/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดกรรมเดียวและความผิดหลายกรรมต่างกันในคดีจำหน่ายภาพยนตร์และสินค้าควบคุมฉลาก
ความผิดฐานขายสินค้าที่ควบคุมฉลากโดยไม่มีฉลากและจัดทำฉลากไม่ถูกต้อง เป็นความผิดต่อกฎหมายคนละฉบับกับความผิดฐานประกอบกิจการให้เช่า แลกเปลี่ยน หรือจำหน่ายภาพยนตร์และวีดิทัศน์ โดยทำเป็นธุรกิจหรือได้รับประโยชน์ตอบแทนโดยไม่ได้รับใบอนุญาต โดยมีองค์ประกอบความผิดแตกต่างกัน ทั้งเจตนาในการกระทำความผิดสามารถแยกจากกันได้ การกระทำของจำเลยในความผิดฐานนี้จึงเป็นการกระทำอีกกรรมหนึ่งแยกต่างหากจากความผิดสองฐานดังกล่าว
ความผิดฐานประกอบกิจการให้เช่า แลกเปลี่ยน หรือจำหน่ายภาพยนตร์และวีดิทัศน์โดยทำเป็นธุรกิจหรือได้รับประโยชน์ตอบแทนโดยไม่ได้รับใบอนุญาต สาระสำคัญของการกระทำความผิดอยู่ที่การประกอบกิจการโดยไม่ได้รับใบอนุญาต ส่วนความผิดฐานขายสินค้าที่ควบคุมฉลากโดยไม่มีฉลากและจัดทำฉลากไม่ถูกต้อง สาระสำคัญของการกระทำความผิดอยู่ที่สินค้าที่ควบคุมฉลากนั้นไม่มีฉลากหรือจัดทำฉลากไม่ถูกต้อง หาใช่เกิดจากตัวสินค้าโดยตรงไม่ แผ่นดีวีดีและซีดีของกลางจึงไม่ใช่ทรัพย์สินซึ่งบุคคลได้ใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิดอันจะพึงริบได้ตาม ป.อ. มาตรา 33 (1)
ความผิดฐานประกอบกิจการให้เช่า แลกเปลี่ยน หรือจำหน่ายภาพยนตร์และวีดิทัศน์โดยทำเป็นธุรกิจหรือได้รับประโยชน์ตอบแทนโดยไม่ได้รับใบอนุญาต สาระสำคัญของการกระทำความผิดอยู่ที่การประกอบกิจการโดยไม่ได้รับใบอนุญาต ส่วนความผิดฐานขายสินค้าที่ควบคุมฉลากโดยไม่มีฉลากและจัดทำฉลากไม่ถูกต้อง สาระสำคัญของการกระทำความผิดอยู่ที่สินค้าที่ควบคุมฉลากนั้นไม่มีฉลากหรือจัดทำฉลากไม่ถูกต้อง หาใช่เกิดจากตัวสินค้าโดยตรงไม่ แผ่นดีวีดีและซีดีของกลางจึงไม่ใช่ทรัพย์สินซึ่งบุคคลได้ใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิดอันจะพึงริบได้ตาม ป.อ. มาตรา 33 (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14256/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานเจ้าพนักงานปฏิบัติ/ละเว้นหน้าที่โดยมิชอบ และปลอมเอกสาร การลงโทษความผิดหลายกรรม
คดีนี้จำเลยทั้งห้าให้การรับสารภาพ ข้อเท็จจริงจึงรับฟังได้ตามฟ้องว่า จำเลยที่ 2 และที่ 5 เป็นเจ้าพนักงานตามกฎหมาย เมื่อจำเลยทั้งห้าร่วมกันกระทำความผิดตามฟ้องโจทก์ จำเลยที่ 2 และที่ 5 จึงเป็นตัวการร่วมกันกระทำความผิดกับจำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 4 ด้วย และฟ้องของโจทก์บรรยายโดยชัดแจ้งว่า จำเลยทั้งห้ากระทำความผิดต่อกฎหมายหลายกรรมต่างกันโดยแยกเป็น 4 ข้อ ซึ่งความผิดทั้งสี่ข้อเป็นการกระทำต่างวันเวลากันอีกทั้งจำเลยทั้งห้าให้การรับสารภาพตามฟ้อง ถือได้ว่าจำเลยทั้งห้ามีเจตนากระทำความผิดทั้งสี่ข้อแยกต่างหากออกจากกัน การกระทำของจำเลยทั้งห้าจึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกันตาม ป.อ. มาตรา 91
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13876/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การดำเนินกิจการฌาปนกิจสงเคราะห์โดยมิได้จดทะเบียน และเจตนาฉ้อโกง ทำให้ไม่มีความผิดฐานดำเนินกิจการฌาปนกิจสงเคราะห์
พ.ร.บ.การฌาปนกิจสงเคราะห์ พ.ศ.2517 มาตรา 4 ได้บัญญัตินิยาม คำว่า "การฌาปนกิจสงเคราะห์" หมายความว่า กิจการที่บุคคลหลายคนตกลงเข้ากันเพื่อทำการสงเคราะห์ซึ่งกันและกันในการจัดการศพ หรือจัดการศพและสงเคราะห์ครอบครัวของบุคคลหนึ่งบุคคลใดที่ตกลงเข้ากันนั้นซึ่งถึงแก่ความตาย และมิได้ประสงค์จะหากำไรเพื่อแบ่งปันกัน ซึ่งองค์ประกอบสำคัญของการฌาปนกิจสงเคราะห์คือการตกลงเข้ากันของบุคคลหลายคนที่จะดำเนินกิจการดังกล่าวเสียก่อน จากนั้นกฎหมายจึงบัญญัติให้กิจการดังกล่าวต้องดำเนินการจดทะเบียนในรูปของฌาปนกิจสงเคราะห์ โดยมีบทกำหนดโทษสำหรับผู้ที่ดำเนินกิจการฌาปนกิจสงเคราะห์โดยมิได้จดทะเบียนตามมาตรา 50 เพื่อเป็นการควบคุมการดำเนินกิจการฌาปนกิจสงเคราะห์ซึ่งเป็นกิจการสาธารณประโยชน์ให้เป็นไปโดยถูกต้องตามกฎหมาย แต่คดีนี้โจทก์บรรยายฟ้องในข้อ ก. ความว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันดำเนินกิจการฌาปนกิจสงเคราะห์โดยเก็บค่าสมาชิกคนละ 2,000 บาท และเก็บเงินค่าช่วยเหลือจัดการศพจากสมาชิกศพละ 20 บาท โดยจัดตั้งสมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์ใช้ชื่อว่า "ฌาปนกิจสงเคราะห์บ้านท่าช้าง" โดยมิได้จดทะเบียนเป็นสมาคมหรือขึ้นทะเบียนการฌาปนกิจสงเคราะห์ตามกฎหมาย กับบรรยายฟ้องในข้อ ข. สรุปว่าจำเลยทั้งสองได้แสดงต่อประชาชนด้วยคำพูดว่าจำเลยทั้งสองได้ร่วมกันก่อตั้งฌาปนกิจสงเคราะห์ใช้ชื่อว่า ฌาปนกิจสงเคราะห์บ้านท่าช้าง โดยจดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมาย และมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเงินไปช่วยเหลือจัดการศพสมาชิกซึ่งเป็นความเท็จ ความจริงแล้วจำเลยทั้งสองไม่ได้จัดตั้งหรือก่อตั้งสมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์ดังกล่าวขึ้นโดยถูกต้องตามกฎหมาย และไม่มีเจตนาที่จะนำเงินที่ได้รับจากสมาชิกไปช่วยเหลือจัดการศพสมาชิกตามที่จำเลยทั้งสองกล่าวอ้าง และโดยการหลอกลวงนั้นจำเลยทั้งสองจึงได้ทรัพย์สินจากผู้เสียหายหลายรายที่หลงเชื่อ ชำระเงินเพื่อเป็นค่าสมาชิกและค่าจัดการศพ จากการบรรยายฟ้องดังกล่าวจะเห็นได้ว่า จำเลยทั้งสองเพียงแต่ใช้ข้ออ้างดังกล่าวหลอกลวงประชาชนให้หลงเชื่อ เพื่อให้ได้เงินที่ประชาชนจ่ายให้แก่จำเลยทั้งสองในรูปแบบที่เรียกว่าค่าสมัครสมาชิกและค่าจัดการศพเท่านั้น จำเลยทั้งสองจึงมิได้มีเจตนาที่จะดำเนินกิจการฌาปนกิจสงเคราะห์อันเป็นองค์ประกอบความผิดข้อหาดำเนินกิจการฌาปนกิจสงเคราะห์โดยไม่ได้จดทะเบียนหรือขึ้นทะเบียนตามกฎหมายตามคำขอให้ลงโทษของโจทก์แต่อย่างใด จำเลยทั้งสองจึงไม่มีความผิดตาม พ.ร.บ.การฌาปนกิจสงเคราะห์ พ.ศ.2517 มาตรา 50
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13798/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้ามในปัญหาข้อเท็จจริง-ความผิดหลายกรรมต่างกันจากยาและวัตถุออกฤทธิ์
ศาลชั้นต้นสั่งไม่รับฎีกาของจำเลยที่ 1 ในปัญหาข้อเท็จจริง คงรับเฉพาะฎีกาในข้อกฎหมาย แต่ศาลชั้นต้นไม่ได้แจ้งคำสั่งไม่รับฎีกาดังกล่าวให้จำเลยที่ 1 ทราบ จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย แต่คดีนี้ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ไขเล็กน้อยและยังคงลงโทษจำคุกจำเลยที่ 1 กระทงละไม่เกิน 5 ปี จึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง จำเลยที่ 1 ฎีกาในข้อที่ศาลชั้นต้นสั่งไม่รับนั้นว่า พยานหลักฐานของโจทก์ฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 กระทำความผิด และขอให้รอการลงโทษ เป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานและการลงโทษของศาลอุทธรณ์อันเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว ที่ศาลชั้นต้นสั่งไม่รับฎีกาของจำเลยที่ 1 และเมื่อฎีกาของจำเลยที่ 1 ต้องห้ามดังกล่าว จึงไม่จำเป็นที่ศาลฎีกาจะสั่งให้ส่งสำนวนคืนศาลชั้นต้นเพื่อแจ้งคำสั่งไม่รับฎีกาในข้อดังกล่าวให้จำเลยที่ 1 ทราบ
ยาแผนปัจจุบันและยาที่มิได้ขึ้นทะเบียนตำรับยาเป็นยาตาม พ.ร.บ.ยา พ.ศ.2510 ส่วนไดอาซีแพมเป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 4 ตาม พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 การมียาและวัตถุออกฤทธิ์ดังกล่าวไว้เพื่อขายจึงเป็นความผิดตามกฎหมายคนละฉบับ แสดงว่ากฎหมายแต่ละฉบับมุ่งประสงค์จะลงโทษผู้กระทำความผิดแยกต่างหากจากกัน การที่จำเลยมียาแผนปัจจุบันและยาที่มิได้ขึ้นทะเบียนตำรับยาไว้เพื่อขายกับมีไดอาซีแพมวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 4 ไว้เพื่อขายในคราวเดียวกันจึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
ยาแผนปัจจุบันและยาที่มิได้ขึ้นทะเบียนตำรับยาเป็นยาตาม พ.ร.บ.ยา พ.ศ.2510 ส่วนไดอาซีแพมเป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 4 ตาม พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 การมียาและวัตถุออกฤทธิ์ดังกล่าวไว้เพื่อขายจึงเป็นความผิดตามกฎหมายคนละฉบับ แสดงว่ากฎหมายแต่ละฉบับมุ่งประสงค์จะลงโทษผู้กระทำความผิดแยกต่างหากจากกัน การที่จำเลยมียาแผนปัจจุบันและยาที่มิได้ขึ้นทะเบียนตำรับยาไว้เพื่อขายกับมีไดอาซีแพมวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 4 ไว้เพื่อขายในคราวเดียวกันจึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน