พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2,422 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5621/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดหลายกรรมต่างกันจากการประกอบกิจการวีซีดีผิดกฎหมาย และต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงาน ศาลฎีกายืนตามคำพิพากษาเดิม
ความผิดฐานประกอบกิจการให้เช่า แลกเปลี่ยนและจำหน่ายแผ่นวีซีดีและแผ่นดีวีดีภาพยนตร์ตาม พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ.2551 เมื่อจำเลยที่ 1 ประกอบกิจการดังกล่าวโดยไม่ได้รับใบอนุญาตก็เป็นความผิดสำเร็จแล้ว ส่วนที่ต่อมาระหว่างเจ้าพนักงานตำรวจตรวจพบการกระทำผิดของจำเลยที่ 1 จึงเข้าจับกุม แต่จำเลยทั้งสองกับพวกได้ร่วมกันต่อสู้ขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานตำรวจ นับเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นใหม่ ต่างกรรมต่างวาระกัน การกระทำของจำเลยที่ 1 ในความผิดฐานร่วมกันต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานหรือผู้ซึ่งต้องช่วยเจ้าพนักงานในการปฏิบัติการตามหน้าที่โดยร่วมกระทำความผิดตั้งแต่สามคนขึ้นไป และฐานประกอบกิจการให้เช่า แลกเปลี่ยนและจำหน่ายแผ่นวีซีดีและแผ่นดีวีดีภาพยนตร์โดยไม่ได้รับใบอนุญาต จึงเป็นความผิดสองกรรมต่างกันตาม ป.อ. มาตรา 91
โจทก์บรรยายฟ้องและขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ฐานมีภาพยนตร์ที่ไม่ผ่านการตรวจพิจารณาและได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์และวีดิทัศน์ตาม พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ.2551 มาตรา 25 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 78 ด้วย เมื่อจำเลยที่ 1 ให้การรับสารภาพตามฟ้อง ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า จำเลยที่ 1 กระทำความผิดฐานดังกล่าวตามฟ้องด้วย แต่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางไม่ได้ปรับบทกฎหมายลงโทษจำเลยที่ 1 ในความผิดฐานนี้เป็นการไม่ชอบ ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขปรับบทลงโทษจำเลยที่ 1 ให้ถูกต้องได้ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 45 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง
โจทก์บรรยายฟ้องและขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ฐานมีภาพยนตร์ที่ไม่ผ่านการตรวจพิจารณาและได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์และวีดิทัศน์ตาม พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ.2551 มาตรา 25 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 78 ด้วย เมื่อจำเลยที่ 1 ให้การรับสารภาพตามฟ้อง ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า จำเลยที่ 1 กระทำความผิดฐานดังกล่าวตามฟ้องด้วย แต่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางไม่ได้ปรับบทกฎหมายลงโทษจำเลยที่ 1 ในความผิดฐานนี้เป็นการไม่ชอบ ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขปรับบทลงโทษจำเลยที่ 1 ให้ถูกต้องได้ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 45 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5569/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การก่อสร้างรุกล้ำที่สาธารณะ, ฝ่าฝืนคำสั่งเจ้าพนักงาน, และการพิพากษาเกินคำขอ
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยทั้งสิบดำเนินการก่อสร้างอาคารพิพาทให้ผิดไปจากแผนผังบริเวณและแบบแปลนที่ได้รับอนุญาต และรุกล้ำที่ว่างระหว่างกลางด้านหลังอาคารพิพาท การที่จำเลยทั้งสิบว่าจ้างผู้ออกแบบอาคารพิพาทและใช้วิศวกรควบคุมการก่อสร้างคนเดียวกัน ขออนุญาตก่อสร้างอาคารพิพาทในคราวเดียวกัน และดำเนินการก่อสร้างอาคารพิพาทพร้อมกัน จึงถือได้ว่าจำเลยทั้งสิบเป็นตัวการร่วมกันดำเนินการก่อสร้างอาคารพิพาทผิดไปจากแผนผังบริเวณและแบบแปลนที่ได้รับอนุญาตและรุกล้ำที่สาธารณะ
เมื่อจำเลยทั้งสิบทราบคำสั่งของเทศบาลตำบลแก่งคอยที่ให้ระงับการก่อสร้างเพราะดำเนินการก่อสร้างอาคารพิพาทผิดไปจากแผนผังบริเวณและแบบแปลนที่ได้รับอนุญาต และเพราะมีการบอกเลิกผู้ควบคุมงานและยังไม่มีการแจ้งชื่อผู้ควบคุมงานคนใหม่ จำเลยทั้งสิบไม่ปฏิบัติตาม ยังคงดำเนินการก่อสร้างอาคารพิพาทต่อไป จึงเป็นความผิดฐานเป็นตัวการร่วมกันฝ่าฝืนคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่ให้ระงับการก่อสร้างเพราะดำเนินการก่อสร้างอาคารพิพาทผิดไปจากแผนผังบริเวณและแบบแปลนที่ได้รับอนุญาต และร่วมกันดำเนินการก่อสร้างในระหว่างที่ยังไม่ได้แจ้งชื่อผู้ควบคุมงานคนใหม่
ขณะจำเลยทั้งสิบได้รับคำสั่งให้ระงับการก่อสร้างเพราะดำเนินการก่อสร้างอาคารพิพาทผิดไปจากแผนผังบริเวณและแบบแปลนที่ได้รับอนุญาต และเพราะมีการบอกเลิกผู้ควบคุมงานและยังไม่มีการแจ้งชื่อผู้ควบคุมงานคนใหม่ การก่อสร้างอาคารพิพาทเริ่มไปได้ประมาณ 3 เดือน ยังอยู่ในระยะเริ่มต้นเพียงก่อสร้างฐานราก แต่จำเลยทั้งสิบดำเนินการต่อไปอีกเป็นเวลานานปีเศษ ทั้งในระหว่างนั้นจำเลยทั้งสิบได้รับคำสั่งแจ้งเตือนให้ระงับการก่อสร้างด้วยเหตุเดียวกันอีกหลายครั้ง เป็นพฤติการณ์ที่แสดงถึงการปฏิเสธไม่ยอมรับคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่ออกตามกฎหมาย ประกอบกับการดำเนินการก่อสร้างของจำเลยทั้งสิบมีผลทำให้การใช้ประโยชน์สาธารณสมบัติของแผ่นดินไม่สะดวกและขัดข้อง จึงไม่มีเหตุที่จะลดโทษจำเลยทั้งสิบให้เบาลง
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสิบออกจากที่สาธารณะที่รุกล้ำ ไม่ได้มีคำขอให้เว้นระยะห่างด้านหลังอาคารพิพาท 2 เมตร เมื่อที่ว่างระหว่างกลางด้านหลังอาคารพิพาทซึ่งเป็นที่สาธารณะตามฟ้องมีความกว้าง 1.50 เมตร ที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาให้จำเลยทั้งสิบร่วมกันเว้นระยะห่างด้านหลังอาคารพิพาท 2 เมตรตลอดแนว จึงเป็นการพิพากษาเกินคำขอ ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง
ตามทางนำสืบของโจทก์และจำเลยทั้งสิบได้ความว่า ในการดำเนินการก่อสร้างอาคารพิพาท มีการร่นระยะด้านหน้าอาคารพิพาทด้านทิศตะวันตกและด้านทิศตะวันออกผิดแผกไปจากแผนผังบริเวณ และได้ความว่า ความยาวของที่ดินที่ก่อสร้างอาคารพิพาทด้านทิศตะวันตกและด้านทิศตะวันออกไม่เท่ากัน ข้อเท็จจริงไม่ได้ความชัดว่าด้านหลังอาคารพิพาทด้านทิศตะวันตกและด้านทิศตะวันออกแต่ละด้านรุกล้ำที่สาธารณะมากน้อยเท่าใด ประกอบกับการออกจากที่สาธารณประโยชน์เป็นเรื่องเฉพาะตัวของจำเลยแต่ละคนจะต้องปฏิบัติด้วยการรื้อถอนอาคารพิพาทส่วนที่รุกร้ำ เมื่อยังไม่ได้ความชัดเจนเกี่ยวกับแนวเขตของอาคารพิพาทส่วนที่ต้องรื้อถอน การที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาให้จำเลยทั้งสิบร่วมกันออกไปจากที่สาธารณประโยชน์ด้านหลังอาคารพิพาท .60 เมตร จึงไม่อาจปฏิบัติให้ถูกต้องได้ ชอบที่โจทก์จะไปว่ากล่าวดำเนินคดีต่างหาก
เมื่อจำเลยทั้งสิบทราบคำสั่งของเทศบาลตำบลแก่งคอยที่ให้ระงับการก่อสร้างเพราะดำเนินการก่อสร้างอาคารพิพาทผิดไปจากแผนผังบริเวณและแบบแปลนที่ได้รับอนุญาต และเพราะมีการบอกเลิกผู้ควบคุมงานและยังไม่มีการแจ้งชื่อผู้ควบคุมงานคนใหม่ จำเลยทั้งสิบไม่ปฏิบัติตาม ยังคงดำเนินการก่อสร้างอาคารพิพาทต่อไป จึงเป็นความผิดฐานเป็นตัวการร่วมกันฝ่าฝืนคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่ให้ระงับการก่อสร้างเพราะดำเนินการก่อสร้างอาคารพิพาทผิดไปจากแผนผังบริเวณและแบบแปลนที่ได้รับอนุญาต และร่วมกันดำเนินการก่อสร้างในระหว่างที่ยังไม่ได้แจ้งชื่อผู้ควบคุมงานคนใหม่
ขณะจำเลยทั้งสิบได้รับคำสั่งให้ระงับการก่อสร้างเพราะดำเนินการก่อสร้างอาคารพิพาทผิดไปจากแผนผังบริเวณและแบบแปลนที่ได้รับอนุญาต และเพราะมีการบอกเลิกผู้ควบคุมงานและยังไม่มีการแจ้งชื่อผู้ควบคุมงานคนใหม่ การก่อสร้างอาคารพิพาทเริ่มไปได้ประมาณ 3 เดือน ยังอยู่ในระยะเริ่มต้นเพียงก่อสร้างฐานราก แต่จำเลยทั้งสิบดำเนินการต่อไปอีกเป็นเวลานานปีเศษ ทั้งในระหว่างนั้นจำเลยทั้งสิบได้รับคำสั่งแจ้งเตือนให้ระงับการก่อสร้างด้วยเหตุเดียวกันอีกหลายครั้ง เป็นพฤติการณ์ที่แสดงถึงการปฏิเสธไม่ยอมรับคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่ออกตามกฎหมาย ประกอบกับการดำเนินการก่อสร้างของจำเลยทั้งสิบมีผลทำให้การใช้ประโยชน์สาธารณสมบัติของแผ่นดินไม่สะดวกและขัดข้อง จึงไม่มีเหตุที่จะลดโทษจำเลยทั้งสิบให้เบาลง
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสิบออกจากที่สาธารณะที่รุกล้ำ ไม่ได้มีคำขอให้เว้นระยะห่างด้านหลังอาคารพิพาท 2 เมตร เมื่อที่ว่างระหว่างกลางด้านหลังอาคารพิพาทซึ่งเป็นที่สาธารณะตามฟ้องมีความกว้าง 1.50 เมตร ที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาให้จำเลยทั้งสิบร่วมกันเว้นระยะห่างด้านหลังอาคารพิพาท 2 เมตรตลอดแนว จึงเป็นการพิพากษาเกินคำขอ ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง
ตามทางนำสืบของโจทก์และจำเลยทั้งสิบได้ความว่า ในการดำเนินการก่อสร้างอาคารพิพาท มีการร่นระยะด้านหน้าอาคารพิพาทด้านทิศตะวันตกและด้านทิศตะวันออกผิดแผกไปจากแผนผังบริเวณ และได้ความว่า ความยาวของที่ดินที่ก่อสร้างอาคารพิพาทด้านทิศตะวันตกและด้านทิศตะวันออกไม่เท่ากัน ข้อเท็จจริงไม่ได้ความชัดว่าด้านหลังอาคารพิพาทด้านทิศตะวันตกและด้านทิศตะวันออกแต่ละด้านรุกล้ำที่สาธารณะมากน้อยเท่าใด ประกอบกับการออกจากที่สาธารณประโยชน์เป็นเรื่องเฉพาะตัวของจำเลยแต่ละคนจะต้องปฏิบัติด้วยการรื้อถอนอาคารพิพาทส่วนที่รุกร้ำ เมื่อยังไม่ได้ความชัดเจนเกี่ยวกับแนวเขตของอาคารพิพาทส่วนที่ต้องรื้อถอน การที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาให้จำเลยทั้งสิบร่วมกันออกไปจากที่สาธารณประโยชน์ด้านหลังอาคารพิพาท .60 เมตร จึงไม่อาจปฏิบัติให้ถูกต้องได้ ชอบที่โจทก์จะไปว่ากล่าวดำเนินคดีต่างหาก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5199/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดหลายกรรมต่างกัน: ทำร้ายร่างกายและใช้อาวุธปืนยิง แม้ช่วงเวลาใกล้เคียง แต่เจตนาแยกต่างหาก
จำเลยกับพวกร่วมกันทำร้ายร่างกายผู้เสียหายที่ 1 และทำร้ายผู้เสียหายที่ 2 กับใช้อาวุธปืนยิงผู้เสียหายที่ 2 ด้วย แม้เป็นการทำร้ายผู้เสียหายทั้งสองในช่วงเวลาใกล้ชิดกัน แต่ขณะคนร้ายใช้อาวุธปืนยิงผู้เสียหายที่ 2 นั้น ผู้เสียหายที่ 1 ซึ่งถูกทำร้ายแล้วและกำลังวิ่งหนี จึงแยกเจตนาออกจากกันได้ จึงเป็นความผิดสองกรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5122-5123/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานออกเช็คโดยเจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงิน และการนับโทษกระทงความผิด
จำเลยออกเช็ค 5 ฉบับ โจทก์นำคดีมาแยกฟ้องเป็น 2 สำนวน สำนวนแรก 2 ฉบับ สำนวนที่สองอีก 3 ฉบับ โดยแต่ละสำนวนโจทก์ไม่ได้ขอให้นับโทษจำเลยต่อ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 9 พิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยกระทงละ 1 เดือน โดยเรียงกระทงลงโทษ มีผลเสมือนเป็นการนับโทษต่อจึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4898/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำผิด พ.ร.บ.จัดหางานฯ เรียกเก็บค่าบริการเกินอัตรา และไม่ปฏิบัติตามหน้าที่ของผู้รับอนุญาต
จำเลยทั้งสองได้รับใบอนุญาตจัดหางานให้คนหางานเพื่อไปทำงานในต่างประเทศ จำเลยทั้งสองประกาศและรับสมัครคนหางานเพื่อไปทำงานในต่างประเทศ แล้วเรียกค่าบริการหรือค่าใช้จ่ายเกินอัตราที่รัฐมนตรีกำหนด และไม่ออกใบรับตามแบบที่อธิบดีกำหนดให้แก่คนหางาน เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528 มาตรา 26 และมาตรา 27 วรรคสอง ประกอบมาตรา 47 และการกระทำแต่ละกรรมย่อมเป็นความผิดสำเร็จต่างกรรมกัน
สำหรับความผิดตาม พ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528 มาตรา 36 (1) เป็นบทบังคับให้ผู้รับอนุญาตจัดหางานเพื่อไปทำงานต่างประเทศต้องปฏิบัติ จำเลยทั้งสองจะอ้างว่าไม่มีสัญญาหรือไม่ได้ทำสัญญาจึงไม่มีสัญญาและหลักฐานส่งให้อธิบดีกรมการจัดหางานพิจารณาอนุญาตก่อนไม่ได้
สำหรับความผิดตาม พ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528 มาตรา 36 (1) เป็นบทบังคับให้ผู้รับอนุญาตจัดหางานเพื่อไปทำงานต่างประเทศต้องปฏิบัติ จำเลยทั้งสองจะอ้างว่าไม่มีสัญญาหรือไม่ได้ทำสัญญาจึงไม่มีสัญญาและหลักฐานส่งให้อธิบดีกรมการจัดหางานพิจารณาอนุญาตก่อนไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1694/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลักทรัพย์นายจ้าง-ปลอมแปลงเอกสาร: กรรมเดียว-ลงโทษฐานลักทรัพย์-แก้ไขโทษ
จำเลยทั้งสองร่วมกันลักทรัพย์ของผู้เสียหายซึ่งเป็นนายจ้างเมื่อวันที่ 16 เมษายน 2550 และร่วมกันปลอมใบส่งของ เล่มที่ 3/3 เลขที่ 18 ลงวันที่ 16 เมษายน 2550 อันเป็นเอกสารสิทธิของผู้เสียหาย แล้วนำใบส่งของที่ทำปลอมขึ้นไปแสดงต่อ ส. กรรมการผู้จัดการของผู้เสียหายในวันเดียวกัน แม้การปลอมเอกสารดังกล่าวจะกระทำภายหลังจากจำเลยทั้งสองลักทรัพย์สำเร็จ แต่ก็เป็นการกระทำที่เกี่ยวเนื่องกันโดยจำเลยทั้งสองมีเจตนาที่จะใช้เอกสารปลอมที่ทำขึ้นเป็นหลักฐานเพื่อปกปิดการกระทำของตนที่ได้ลักทรัพย์ของผู้เสียหายไป ความผิดฐานร่วมกันปลอมเอกสารสิทธิและใช้เอกสารสิทธิปลอมกับความผิดฐานร่วมกันลักทรัพย์นายจ้าง จึงเป็นการกระทำโดยมีเจตนาเดียวกัน เป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ต้องลงโทษฐานร่วมกันลักทรัพย์นายจ้าง ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดตาม ป.อ. มาตรา 90 แม้จำเลยที่ 2 จะไม่ฎีกาในปัญหานี้แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 และกรณีเป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดี ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาไปถึงจำเลยที่ 1 ซึ่งมิได้ฎีกาด้วยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 213 ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11059/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องอาญา: การบรรยายฟ้องฐานพรากผู้เยาว์ที่ไม่ครบองค์ประกอบ และขอบเขตการลงโทษตามฟ้อง
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยกับพวกได้บังอาจร่วมกันพา ก. ผู้เยาว์อายุ 16 ปีเศษยังไม่เกิน 18 ปีไปเสียจาก ข. ผู้เป็นบิดาเพื่อการอนาจารโดยใช้อุบายหลอกลวงหรือใช้วิธีการข่มขืนใจด้วยประการอื่นใด สำหรับองค์ประกอบความผิดตาม ป.อ. มาตรา 319 เป็นการพรากผู้เยาว์อายุกว่า 15 ปี แต่ยังไม่เกิน 18 ปี โดยปราศจากเหตุอันสมควร แม้ฟ้องโจทก์จะระบุว่าพา ก. ไปเสียจาก ข. ก็ตาม ก็เป็นเพียงการบรรยายรายละเอียดโดยปราศจากองค์ประกอบของการพรากไปโดยปราศจากเหตุอันสมควร คำว่า "พาไป" กับคำว่า "พรากไป" มีความหมายแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง แม้คำขอท้ายฟ้องจะอ้างมาตรา 319 มาด้วยก็ตาม กรณีจะแปลรวมไปถึงว่าโจทก์ได้บรรยายฟ้องฐานพรากผู้เยาว์ตามมาตรา 319 ด้วยหาได้ไม่ จึงไม่อาจลงโทษในความผิดฐานนี้ได้ เพราะเป็นข้อเท็จจริงที่มิได้กล่าวในฟ้องต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง คงแปลได้เพียงว่าโจทก์ฟ้องและประสงค์ให้ลงโทษตามมาตรา 284 เท่านั้น
พนักงานสอบสวนแจ้งข้อหาว่า ร่วมกันโดยใช้อุบายหลอกลวงพรากผู้เยาว์อายุกว่า 15 ปี แต่ยังไม่เกิน 18 ปี ไปเสียจากบิดามารดาเพื่อการอนาจาร แสดงว่าพนักงานสอบสวนได้แจ้งข้อหาพรากผู้เยาว์ตาม ป.อ. มาตรา 319 อันเป็นข้อหาหลัก แม้ทางสอบสวนปรากฏว่าเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 284 ด้วยซึ่งเป็นข้อหาเพิ่มเติม ถือว่าได้สอบสวนในความผิดดังกล่าวโดยชอบและได้ทำการสอบสวนทั้งความผิดตามมาตรา 284 และ 319 ครบถ้วนแล้ว เมื่อโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษตามมาตรา 284 ศาลย่อมลงโทษจำเลยตามความผิดมาตรา 284 ตามที่พิจารณาได้ความได้
พนักงานสอบสวนแจ้งข้อหาว่า ร่วมกันโดยใช้อุบายหลอกลวงพรากผู้เยาว์อายุกว่า 15 ปี แต่ยังไม่เกิน 18 ปี ไปเสียจากบิดามารดาเพื่อการอนาจาร แสดงว่าพนักงานสอบสวนได้แจ้งข้อหาพรากผู้เยาว์ตาม ป.อ. มาตรา 319 อันเป็นข้อหาหลัก แม้ทางสอบสวนปรากฏว่าเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 284 ด้วยซึ่งเป็นข้อหาเพิ่มเติม ถือว่าได้สอบสวนในความผิดดังกล่าวโดยชอบและได้ทำการสอบสวนทั้งความผิดตามมาตรา 284 และ 319 ครบถ้วนแล้ว เมื่อโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษตามมาตรา 284 ศาลย่อมลงโทษจำเลยตามความผิดมาตรา 284 ตามที่พิจารณาได้ความได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10521/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคำนวณปริมาณสารบริสุทธิ์ยาเสพติดจากส่วนหนึ่งของยาเสพติดของกลาง และการลงโทษปรับตาม พ.ร.บ.ยาเสพติด
แม้โจทก์ไม่ได้บรรยายว่าเมทแอมเฟตามีน 30 เม็ด ที่จำหน่ายให้แก่สายลับมีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์เท่าใด แต่โจทก์บรรยายฟ้องมาแล้วว่า เมทแอมเฟตามีนของกลาง 160 เม็ด ที่จำเลยที่ 1 มีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายมีน้ำหนัก 14.86 กรัม คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้ 2.847 กรัม ซึ่งคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ตั้งแต่สามร้อยเจ็ดสิบห้ามิลลิกรัมขึ้นไป อันเป็นการบรรยายฟ้องขอให้ลงโทษตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 15 วรรคสาม (2), 66 วรรคสอง และเมทแอมเฟตามีนที่จำเลยที่ 1 จำหน่ายดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของเมทแอมเฟตามีนที่โจทก์บรรยายฟ้อง และเป็นส่วนหนึ่งของเมทแอมเฟตามีนของกลาง จึงคำนวณสารบริสุทธิ์ของเมทแอมเฟตามีน 30 เม็ด ดังกล่าวได้เช่นเดียวกันว่าคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้ 0.5338 กรัม ซึ่งเป็นปริมาณตั้งแต่สามร้อยเจ็ดสิบห้ามิลลิกรัมขึ้นไป กรณีจึงลงโทษจำเลยที่ 1 ตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 15 วรรคหนึ่ง, 66 วรรคสอง ได้ ซึ่งตามมาตรา 100/1 บัญญัติว่า ตามผิดตามพระราชบัญญัตินี้ที่มีโทษจำคุกและปรับ ให้ศาลลงโทษจำคุกและปรับด้วยเสมอ โดยคำนึงถึงการลงโทษในทางทรัพย์สินเพื่อป้องปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษ ที่ศาลล่างทั้งสองลงโทษจำคุกจำเลยที่ 1 ฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนโดยไม่ปรับด้วยนั้น จึงไม่ถูกต้อง ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 แต่โจทก์มิได้อุทธรณ์ฎีกาในปัญหานี้ ศาลฎีกาไม่อาจลงโทษปรับได้ เพราะจะเป็นการพิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลยที่ 1 ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9137/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำพิพากษาฐานความผิดและโทษ, การลดโทษ, และการรอการลงโทษในคดีทรัพย์สินทางปัญญา, คนเข้าเมือง, และการทำงานของคนต่างด้าว
การที่จำเลยเป็นคนต่างชาติเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรโดยไม่ผ่านตามช่องทาง อันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ.2522 มาตรา 62 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 11 กับเข้ามาในราชอาณาจักรโดยไม่มีหนังสือเดินทางและมิได้รับอนุญาตตามกฎหมายและเข้ามาในราชอาณาจักรโดยไม่ผ่านการตรวจของเจ้าพนักงานตรวจคนเข้าเมือง มิได้ยื่นรายการตามแบบที่กำหนดไว้ตามกฎหมาย อันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติดังกล่าว มาตรา 62 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 18 วรรคสอง และ 12 (1) เป็นความผิดในบทมาตราเดียว ทั้งเป็นการกระทำที่จำเลยประสงค์ที่จะเข้ามาในราชอาณาจักร จึงเป็นเจตนาเดียวกัน มิใช่การกระทำโดยเจตนาต่างกัน จึงเป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท
การที่จำเลยอยู่ในราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับอนุญาตอันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ.2522 มาตรา 81 เป็นการกระทำที่จำเลยประสงค์ที่จะอยู่ในราชอาณาจักร ซึ่งเป็นเจตนาอีกเจตนาหนึ่งไม่ใช่เจตนาเดียวกันกับเจตนาที่เข้ามาในราชอาณาจักร การอยู่ในราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับอนุญาตของจำเลยจึงไม่เป็นการกระทำกรรมเดียวกับการเข้ามาในราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับอนุญาตของจำเลย การกระทำของจำเลยจึงเป็นการกระทำความผิดหลายกรรมต่างกัน
พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ.2522 มาตรา 62 วรรคหนึ่ง ซึ่งเป็นบทลงโทษในความผิดฐานเป็นคนต่างด้าวเข้ามาในราชอาณาจักรโดยไม่ผ่านช่องทางและเวลาตามกฎหมาย และฐานเข้ามาในราชอาณาจักรโดยไม่มีหนังสือเดินทางและไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมาย มีอัตราโทษจำคุกไม่เกินสองปี และปรับไม่เกินสองหมื่นบาท ส่วนมาตรา 81 เป็นบทลงโทษในความผิดฐานอยู่ในราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับอนุญาตมีอัตราโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ มาตรา 62 วรรคหนึ่ง จึงเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักกว่าและในการพิพากษาลงโทษตามมาตรา 62 วรรคหนึ่ง ศาลต้องกำหนดโทษจำคุกเสมอ การที่ศาลวินิจฉัยว่าบทกฎหมายทั้งสองมาตรามีอัตราโทษเท่ากันจึงให้ลงโทษจำเลยตามมาตรา 62 วรรคหนึ่ง ปรับเพียงสถานเดียวจึงเป็นการไม่ชอบ
คดีนี้จำเลยเพียงแต่ให้การรับสารภาพ แต่ไม่ได้รับว่าเป็นบุคคลคนเดียวกับจำเลยที่ศาลลงโทษจำคุกในคดีก่อน และโจทก์ไม่ได้นำสืบในข้อนี้ และเมื่อในคดีนี้ศาลให้รอการลงโทษจำคุกจำเลยไว้ จึงไม่อาจนับโทษต่อจากโทษจำคุกของจำเลยในคดีก่อนได้
การที่จำเลยอยู่ในราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับอนุญาตอันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ.2522 มาตรา 81 เป็นการกระทำที่จำเลยประสงค์ที่จะอยู่ในราชอาณาจักร ซึ่งเป็นเจตนาอีกเจตนาหนึ่งไม่ใช่เจตนาเดียวกันกับเจตนาที่เข้ามาในราชอาณาจักร การอยู่ในราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับอนุญาตของจำเลยจึงไม่เป็นการกระทำกรรมเดียวกับการเข้ามาในราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับอนุญาตของจำเลย การกระทำของจำเลยจึงเป็นการกระทำความผิดหลายกรรมต่างกัน
พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ.2522 มาตรา 62 วรรคหนึ่ง ซึ่งเป็นบทลงโทษในความผิดฐานเป็นคนต่างด้าวเข้ามาในราชอาณาจักรโดยไม่ผ่านช่องทางและเวลาตามกฎหมาย และฐานเข้ามาในราชอาณาจักรโดยไม่มีหนังสือเดินทางและไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมาย มีอัตราโทษจำคุกไม่เกินสองปี และปรับไม่เกินสองหมื่นบาท ส่วนมาตรา 81 เป็นบทลงโทษในความผิดฐานอยู่ในราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับอนุญาตมีอัตราโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ มาตรา 62 วรรคหนึ่ง จึงเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักกว่าและในการพิพากษาลงโทษตามมาตรา 62 วรรคหนึ่ง ศาลต้องกำหนดโทษจำคุกเสมอ การที่ศาลวินิจฉัยว่าบทกฎหมายทั้งสองมาตรามีอัตราโทษเท่ากันจึงให้ลงโทษจำเลยตามมาตรา 62 วรรคหนึ่ง ปรับเพียงสถานเดียวจึงเป็นการไม่ชอบ
คดีนี้จำเลยเพียงแต่ให้การรับสารภาพ แต่ไม่ได้รับว่าเป็นบุคคลคนเดียวกับจำเลยที่ศาลลงโทษจำคุกในคดีก่อน และโจทก์ไม่ได้นำสืบในข้อนี้ และเมื่อในคดีนี้ศาลให้รอการลงโทษจำคุกจำเลยไว้ จึงไม่อาจนับโทษต่อจากโทษจำคุกของจำเลยในคดีก่อนได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8877/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดพรากผู้เยาว์และการกระทำชำเรา โดยพิจารณาเจตนาในการเลี้ยงดูฉันสามีภริยา
ขณะเกิดเหตุผู้เสียหายที่ 3 พักอาศัยอยู่กับผู้เสียหายที่ 2 ซึ่งเป็นย่า แต่เมื่อยังไม่บรรลุนิติภาวะย่อมต้องตกอยู่ใต้อำนาจปกครองดูแลของผู้เสียหายที่ 1 ซึ่งเป็นบิดาและผู้เสียหายที่ 2
ความผิดฐานพรากผู้เยาว์กระทงแรกนั้น จำเลยโทรศัพท์นัดหมายเด็กหญิง จ. ผู้เสียหายที่ 3 ให้ไปพบแล้วพาผู้เสียหายที่ 3 ไปบ้านจำเลย แล้วกระทำชำเราผู้เสียหายที่ 3 ฟังไม่ได้ว่าผู้เสียหายที่ 3 สมัครใจไปจากผู้เสียหายที่ 1 และผู้เสียหายที่ 2 เอง หลังจากที่จำเลยกระทำชำเราแล้ว จำเลยไปหาผู้เสียหายที่ 2 ผู้เสียหายที่ 2 ต่อว่าจำเลยและเรียกค่าสินสอดจากจำเลย แต่จำเลยไม่มีเงินให้ จากนั้นจำเลยรับผู้เสียหายที่ 3 ไปอยู่ด้วย พฤติการณ์ของจำเลยดังกล่าวย่อมเป็นเครื่องชี้เจตนาของจำเลยได้ว่าประสงค์จะเลี้ยงดูผู้เสียหายที่ 3 เป็นภริยา เมื่อจำเลยยังมิได้มีภริยาจึงสามารถที่จะเลี้ยงดูผู้เสียหายที่ 3 ฉันสามีภริยาได้ การกระทำของจำเลยจึงมิใช่เป็นการพรากเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเพื่อการอนาจารตาม ป.อ. มาตรา 317 วรรคสาม แต่เป็นการกระทำที่ล่วงล้ำต่ออำนาจปกครองดูแลของบิดาและย่าผู้เสียหายที่ 3 ถือได้ว่าเป็นการกระทำโดยปราศจากเหตุอันสมควรพรากผู้เสียหายที่ 3 ซึ่งอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเสียจากบิดาหรือผู้ดูแล จึงเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 317 วรรคแรก
ส่วนการกระทำความผิดของจำเลยกระทงที่สองนั้น เมื่อจำเลยได้มาเจรจาสู่ขอผู้เสียหายที่ 3 จากผู้เสียหายที่ 2 แต่จำเลยไม่มีเงินค่าสินสอด ในวันรุ่งขึ้นจำเลยก็ไปรับผู้เสียหายที่ 3 มาอยู่ด้วย กระทั่ง ม. มารับผู้เสียหายที่ 3 กลับไป แสดงว่าจำเลยพาผู้เสียหายที่ 3 ไปเพื่อร่วมอยู่กินฉันสามีภริยา ฟังไม่ได้ว่าจำเลยพรากผู้เสียหายที่ 3 ไปจากบิดาหรือผู้ดูแลโดยปราศจากเหตุอันสมควรเพื่อการอนาจารไม่เป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 317
ความผิดฐานพรากผู้เยาว์กระทงแรกนั้น จำเลยโทรศัพท์นัดหมายเด็กหญิง จ. ผู้เสียหายที่ 3 ให้ไปพบแล้วพาผู้เสียหายที่ 3 ไปบ้านจำเลย แล้วกระทำชำเราผู้เสียหายที่ 3 ฟังไม่ได้ว่าผู้เสียหายที่ 3 สมัครใจไปจากผู้เสียหายที่ 1 และผู้เสียหายที่ 2 เอง หลังจากที่จำเลยกระทำชำเราแล้ว จำเลยไปหาผู้เสียหายที่ 2 ผู้เสียหายที่ 2 ต่อว่าจำเลยและเรียกค่าสินสอดจากจำเลย แต่จำเลยไม่มีเงินให้ จากนั้นจำเลยรับผู้เสียหายที่ 3 ไปอยู่ด้วย พฤติการณ์ของจำเลยดังกล่าวย่อมเป็นเครื่องชี้เจตนาของจำเลยได้ว่าประสงค์จะเลี้ยงดูผู้เสียหายที่ 3 เป็นภริยา เมื่อจำเลยยังมิได้มีภริยาจึงสามารถที่จะเลี้ยงดูผู้เสียหายที่ 3 ฉันสามีภริยาได้ การกระทำของจำเลยจึงมิใช่เป็นการพรากเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเพื่อการอนาจารตาม ป.อ. มาตรา 317 วรรคสาม แต่เป็นการกระทำที่ล่วงล้ำต่ออำนาจปกครองดูแลของบิดาและย่าผู้เสียหายที่ 3 ถือได้ว่าเป็นการกระทำโดยปราศจากเหตุอันสมควรพรากผู้เสียหายที่ 3 ซึ่งอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเสียจากบิดาหรือผู้ดูแล จึงเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 317 วรรคแรก
ส่วนการกระทำความผิดของจำเลยกระทงที่สองนั้น เมื่อจำเลยได้มาเจรจาสู่ขอผู้เสียหายที่ 3 จากผู้เสียหายที่ 2 แต่จำเลยไม่มีเงินค่าสินสอด ในวันรุ่งขึ้นจำเลยก็ไปรับผู้เสียหายที่ 3 มาอยู่ด้วย กระทั่ง ม. มารับผู้เสียหายที่ 3 กลับไป แสดงว่าจำเลยพาผู้เสียหายที่ 3 ไปเพื่อร่วมอยู่กินฉันสามีภริยา ฟังไม่ได้ว่าจำเลยพรากผู้เสียหายที่ 3 ไปจากบิดาหรือผู้ดูแลโดยปราศจากเหตุอันสมควรเพื่อการอนาจารไม่เป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 317