พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2,422 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8833/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมเดียวผิดหลายบท: การใช้บัตร ATM เพื่อหวังผลประโยชน์จากบัญชีผู้เสียหายเป็นเจตนาต่อเนื่อง
การที่จำเลยนำบัตรเอ ที เอ็ม ของผู้เสียหายไปใช้เบิกถอนเงินสดและโอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากของจำเลยเพราะจำเลยมีจุดประสงค์ที่จะได้เงินจากบัญชีเงินฝากของผู้เสียหาย จำเลยใช้บัตรเอ ที เอ็ม ในเวลาที่ต่อเนื่องกัน การกระทำของจำเลยจึงเป็นการกระทำโดยมีเจตนาต่อเนื่องกันและจุดมุ่งหมายอันเดียวกันเพื่อให้ได้รับเงินของผู้เสียหาย หาได้มีเจตนาหลายเจตนาที่จะให้เกิดผลต่างกรรมกันแต่อย่างใด การกระทำของจำเลยจึงเป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท แม้การกระทำของจำเลยแต่ละครั้งจะเป็นความผิดสำเร็จก็ไม่ทำให้เป็นการกระทำความผิดหลายกรรมต่างกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8646/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำหน่ายและครอบครองยาเสพติดเพื่อจำหน่าย ความผิดหลายกรรมต่างกันและการลดโทษ
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยจำหน่ายโดยการขายเมทแอมเฟตามีนจำนวน 20 เม็ด อันเป็นส่วนหนึ่งของเมทแอมเฟตามีนที่จำเลยมีไว้เพื่อจำหน่ายให้แก่สายลับผู้ล่อซื้อไปในราคา 7,500 บาท จำเลยลงมือกระทำความผิดแล้ว แต่กระทำไปไม่ตลอดยังไม่ได้ส่งมอบเมทแอมเฟตามีนให้แก่สายลับ เนื่องจากถูกเจ้าพนักงานตำรวจจับกุมได้ก่อน เป็นการบรรยายการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำความผิด ข้อเท็จจริงและรายละเอียดที่เกี่ยวข้องด้วยพอสมควรที่จะทำให้จำเลยเข้าใจข้อหาในความผิดฐานพยายามจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนได้ดีแล้ว ฟ้องโจทก์จึงชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5)
จำเลยมีเมทแอมเฟตามีนจำนวน 26 เม็ด คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้ 0.531 กรัม ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายแล้วจำเลยแบ่งจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนดังกล่าวรวม 3 ครั้ง คือ จำหน่ายให้แก่สายลับ 3 เม็ด จำหน่ายให้แก่ ว. 3 เม็ด และจำหน่ายให้แก่สายลับ 20 เม็ด แต่ในครั้งหลังที่จำเลยยังไม่ได้ส่งมอบเมทแอมเฟตามีนให้แก่สายลับเนื่องจากถูกเจ้าพนักงานตำรวจจับกุมได้ก่อน การกระทำของจำเลยในความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีน 26 เม็ด ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายเป็นความผิดสำเร็จแต่แรกแล้ว 1 กรรม เมื่อจำเลยนำเมทแอมเฟตามีนดังกล่าวออกจำหน่ายรวม 3 ครั้ง ก็เป็นความผิดต่างกรรมอีก 3 กรรม แม้จำเลยจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนให้แก่สายลับ 1 ครั้ง และพยายามจำหน่ายให้แก่สายลับซึ่งอาจเป็นบุคคลเดียวกัน แต่การจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนและพยายามจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนของจำเลยในแต่ละครั้งเป็นการกระทำต่างวาระกันและมีเจตนาต่างกัน จึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
โจทก์อุทธรณ์ว่า จำเลยมีความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายอีกกระทงหนึ่ง และความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายมีโทษทั้งจำคุกและปรับ การที่ศาลชั้นต้นลงโทษจำคุกจำเลยเพียงอย่างเดียวเป็นการไม่ชอบ โจทก์ไม่ได้อุทธรณ์ทำนองขอให้ลงโทษจำเลยหนักขึ้นในความผิดฐานพยายามจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ลงโทษจำคุกจำเลยในความผิดฐานดังกล่าว 5 ปี เป็นลงโทษจำคุก 6 ปี จึงเป็นการเพิ่มเติมโทษจำเลย ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 212
จำเลยมีเมทแอมเฟตามีนจำนวน 26 เม็ด คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้ 0.531 กรัม ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายแล้วจำเลยแบ่งจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนดังกล่าวรวม 3 ครั้ง คือ จำหน่ายให้แก่สายลับ 3 เม็ด จำหน่ายให้แก่ ว. 3 เม็ด และจำหน่ายให้แก่สายลับ 20 เม็ด แต่ในครั้งหลังที่จำเลยยังไม่ได้ส่งมอบเมทแอมเฟตามีนให้แก่สายลับเนื่องจากถูกเจ้าพนักงานตำรวจจับกุมได้ก่อน การกระทำของจำเลยในความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีน 26 เม็ด ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายเป็นความผิดสำเร็จแต่แรกแล้ว 1 กรรม เมื่อจำเลยนำเมทแอมเฟตามีนดังกล่าวออกจำหน่ายรวม 3 ครั้ง ก็เป็นความผิดต่างกรรมอีก 3 กรรม แม้จำเลยจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนให้แก่สายลับ 1 ครั้ง และพยายามจำหน่ายให้แก่สายลับซึ่งอาจเป็นบุคคลเดียวกัน แต่การจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนและพยายามจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนของจำเลยในแต่ละครั้งเป็นการกระทำต่างวาระกันและมีเจตนาต่างกัน จึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
โจทก์อุทธรณ์ว่า จำเลยมีความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายอีกกระทงหนึ่ง และความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายมีโทษทั้งจำคุกและปรับ การที่ศาลชั้นต้นลงโทษจำคุกจำเลยเพียงอย่างเดียวเป็นการไม่ชอบ โจทก์ไม่ได้อุทธรณ์ทำนองขอให้ลงโทษจำเลยหนักขึ้นในความผิดฐานพยายามจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ลงโทษจำคุกจำเลยในความผิดฐานดังกล่าว 5 ปี เป็นลงโทษจำคุก 6 ปี จึงเป็นการเพิ่มเติมโทษจำเลย ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 212
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7635/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อน - ความผิดฐานฉ้อโกงและเช็ค - การกระทำกรรมเดียว - หลักการพิจารณา
หลักที่จะใช้พิจารณาว่าความผิดทั้งสองคดีเป็นความผิดกรรมเดียวหรือหลายกรรม คือ การกระทำของจำเลยในทั้งสองคดีดังกล่าวเป็นการกระทำโดยมุ่งประสงค์ต่อผลอย่างเดียวกันหรือไม่ ซึ่งย่อมขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริงในแต่ละกรณี ๆ ไป
การที่จำเลยกับพวกร่วมกันหลอกลวงสั่งซื้อสินค้าผ้าจากโจทก์ร่วมในคดีนี้เป็นการดำเนินการอย่างเป็นขั้นตอนตามแผนที่วางไว้ตั้งแต่ต้น โดยการหลอกลวงให้โจทก์ร่วมไว้วางใจเพื่อจะได้ฉ้อโกงสินค้าเป็นจำนวนมากด้วยการอาศัยวิธีการออกเช็คชำระค่าสินค้าแทนเงินสดโดยเจตนาที่จะไม่ใช้เงินตามเช็ค พฤติการณ์การกระทำดังกล่าวจึงเป็นเพียงอุบายของจำเลยกับพวกเพื่อให้โจทก์ร่วมหลงเชื่อและส่งมอบสินค้าผ้าในคดีนี้ให้จำเลยกับพวก การออกเช็คชำระหนี้คราวแรกจึงเป็นการกระทำอันเป็นส่วนหนึ่งของการหลอกลวงอันเป็นความผิดฐานฉ้อโกง แม้การที่จำเลยออกเช็คจำนวน 11 ฉบับ ให้แก่โจทก์ร่วมจะกระทำขึ้นภายหลังจากจำเลยกับพวกได้รับสินค้าผ้าจากโจทก์ร่วมและออกเช็คคราวแรกให้โจทก์ร่วมแล้วก็ตาม แต่ก็เป็นการออกเช็คแทนเช็คฉบับเดิมที่ถูกธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน จึงเป็นการกระทำที่ต่อเนื่องและแทนที่การออกเช็คที่เป็นส่วนหนึ่งของการหลอกลวงดังกล่าว การกระทำของจำเลยที่เป็นความผิดฐานฉ้อโกงและความผิดต่อ พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค จึงเป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท เมื่อโจทก์ฟ้องคดีนี้ภายหลังที่พนักงานอัยการฟ้องจำเลยต่อศาลแขวงตลิ่งชันในข้อหาความผิดต่อ พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค ซึ่งเป็นเรื่องเดียวกันและอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลแขวงตลิ่งชัน ฟ้องของโจทก์คดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้อน ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1) ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15
ส่วนที่โจทก์ร่วมฎีกาอ้างว่า ภายหลังศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยในคดีนี้จำเลยได้อ้างคำพิพากษาของศาลชั้นต้นต่อศาลแขวงตลิ่งชัน ทำให้ศาลแขวงตลิ่งชันพิพากษายกฟ้องคดีที่พนักงานอัยการฟ้องจำเลยในข้อหาความผิดต่อ พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค เพราะเป็นฟ้องซ้ำตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (4) ซึ่งบัญญัติไว้โดยเฉพาะ จึงไม่อาจนำ ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1) ประกอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 15 มาบังคับแก่กรณีนี้นั้น เห็นว่า ฎีกาข้อนี้ของโจทก์ร่วมยังคลาดเคลื่อนอยู่เพราะบทบัญญัติในมาตรา 39 (4) แห่ง ป.วิ.อ. เป็นเรื่องฟ้องซ้ำ ส่วนบทบัญญัติในมาตรา 173 วรรคสอง (1) แห่ง ป.วิ.พ. เป็นเรื่องฟ้องซ้อน เป็นคนละเรื่องกัน เมื่อ ป.วิ.อ. ไม่ได้บัญญัติเรื่องฟ้องซ้อนไว้โดยเฉพาะ จึงนำบทบัญญัติเรื่องฟ้องซ้อนใน ป.วิ.พ. มาใช้บังคับแก่คดีนี้ได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 15
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 3/2553)
การที่จำเลยกับพวกร่วมกันหลอกลวงสั่งซื้อสินค้าผ้าจากโจทก์ร่วมในคดีนี้เป็นการดำเนินการอย่างเป็นขั้นตอนตามแผนที่วางไว้ตั้งแต่ต้น โดยการหลอกลวงให้โจทก์ร่วมไว้วางใจเพื่อจะได้ฉ้อโกงสินค้าเป็นจำนวนมากด้วยการอาศัยวิธีการออกเช็คชำระค่าสินค้าแทนเงินสดโดยเจตนาที่จะไม่ใช้เงินตามเช็ค พฤติการณ์การกระทำดังกล่าวจึงเป็นเพียงอุบายของจำเลยกับพวกเพื่อให้โจทก์ร่วมหลงเชื่อและส่งมอบสินค้าผ้าในคดีนี้ให้จำเลยกับพวก การออกเช็คชำระหนี้คราวแรกจึงเป็นการกระทำอันเป็นส่วนหนึ่งของการหลอกลวงอันเป็นความผิดฐานฉ้อโกง แม้การที่จำเลยออกเช็คจำนวน 11 ฉบับ ให้แก่โจทก์ร่วมจะกระทำขึ้นภายหลังจากจำเลยกับพวกได้รับสินค้าผ้าจากโจทก์ร่วมและออกเช็คคราวแรกให้โจทก์ร่วมแล้วก็ตาม แต่ก็เป็นการออกเช็คแทนเช็คฉบับเดิมที่ถูกธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน จึงเป็นการกระทำที่ต่อเนื่องและแทนที่การออกเช็คที่เป็นส่วนหนึ่งของการหลอกลวงดังกล่าว การกระทำของจำเลยที่เป็นความผิดฐานฉ้อโกงและความผิดต่อ พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค จึงเป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท เมื่อโจทก์ฟ้องคดีนี้ภายหลังที่พนักงานอัยการฟ้องจำเลยต่อศาลแขวงตลิ่งชันในข้อหาความผิดต่อ พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค ซึ่งเป็นเรื่องเดียวกันและอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลแขวงตลิ่งชัน ฟ้องของโจทก์คดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้อน ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1) ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15
ส่วนที่โจทก์ร่วมฎีกาอ้างว่า ภายหลังศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยในคดีนี้จำเลยได้อ้างคำพิพากษาของศาลชั้นต้นต่อศาลแขวงตลิ่งชัน ทำให้ศาลแขวงตลิ่งชันพิพากษายกฟ้องคดีที่พนักงานอัยการฟ้องจำเลยในข้อหาความผิดต่อ พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค เพราะเป็นฟ้องซ้ำตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (4) ซึ่งบัญญัติไว้โดยเฉพาะ จึงไม่อาจนำ ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1) ประกอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 15 มาบังคับแก่กรณีนี้นั้น เห็นว่า ฎีกาข้อนี้ของโจทก์ร่วมยังคลาดเคลื่อนอยู่เพราะบทบัญญัติในมาตรา 39 (4) แห่ง ป.วิ.อ. เป็นเรื่องฟ้องซ้ำ ส่วนบทบัญญัติในมาตรา 173 วรรคสอง (1) แห่ง ป.วิ.พ. เป็นเรื่องฟ้องซ้อน เป็นคนละเรื่องกัน เมื่อ ป.วิ.อ. ไม่ได้บัญญัติเรื่องฟ้องซ้อนไว้โดยเฉพาะ จึงนำบทบัญญัติเรื่องฟ้องซ้อนใน ป.วิ.พ. มาใช้บังคับแก่คดีนี้ได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 15
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 3/2553)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7540/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าหน้าที่จัดการทรัพย์สินเบียดบังเงินบริจาค – อำนาจฟ้อง – เหตุบรรเทาโทษ
แม้จำเลยเป็นเจ้าอาวาสของโจทก์ร่วมและได้รับเงินเดือนประจำที่เรียกว่านิตยภัตจากเงินงบประมาณของรัฐ แต่ผู้ที่ได้รับเงินเดือนประจำที่จะถือว่าเป็น "เจ้าหน้าที่ของรัฐ" ตามมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตต้องเป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ข้าราชการ หรือพนักงานส่วนท้องถิ่น ซึ่งเจ้าอาวาสไม่อยู่ในความหมายดังกล่าว และในปัจจุบันวัดจัดตั้งขึ้นโดยวิธีการที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงซึ่งออกตามความใน พ.ร.บ.คณะสงฆ์ ซึ่งกำหนดให้วัดมีฐานะเป็นนิติบุคคลโดยมีเจ้าอาวาสเป็นผู้แทน แต่ก็มีอำนาจอย่างจำกัดตามมาตรา 37 เฉพาะในการบำรุงวัด จัดกิจการและศาสนสมบัติของวัดให้เป็นไปด้วยดี ปกครองและสอดส่องให้บรรพชิตและคฤหัสถ์ที่มีที่อยู่หรือพำนักอาศัยอยู่ในวัดนั้นปฏิบัติตามพระธรรมวินัย กฎมหาเถรสมาคม ข้อบังคับ ระเบียบ หรือคำสั่งของมหาเถรสมาคม และอื่นๆ อันเป็นกิจการของสงฆ์โดยเฉพาะ ส่วนที่เกี่ยวกับการบริหารราชการอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของกรมการศาสนาและกระทรวงศึกษาธิการ วัดจึงหาใช่เป็นส่วนหนึ่งของการบริหารราชการแผ่นดิน ดังนั้น พระภิกษุซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในการปกครองคณะสงฆ์ไม่ว่าในตำแหน่งเจ้าอาวาสหรือในตำแหน่งอื่นใดก็ตาม จึงหาได้อยู่ในความหมายของคำจำกัดความว่า "เจ้าหน้าที่ของรัฐ" ส่วน พ.ร.บ.คณะสงฆ์ มาตรา 45 ซึ่งบัญญัติว่า "ให้ถือว่าพระภิกษุซึ่งได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในการปกครองคณะสงฆ์และไวยาวัจกร เป็นเจ้าพนักงานตามความในประมวลกฎหมายอาญา" ก็เป็นเรื่องเจตนารมณ์ของกฎหมายที่ต้องการให้นำบทบัญญัติลักษณะความผิดเกี่ยวกับการปกครองตามประมวลกฎหมายที่ต้องการให้นำบทบัญญัติลักษณะความผิดเกี่ยวกับการปกครองตามประมวลกฎหมายอาญามาใช้บังคับแก่พระภิกษุบางตำแหน่งเท่านั้น และ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ก็เป็นกฎหมายที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 และฉบับปัจจุบันบัญญัติให้มีคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติขึ้น โดยบัญญัติถึงกระบวนการสอบสวนเจ้าหน้าที่ของรัฐไว้เป็นกรณีพิเศษโดยใช้วิธีการไต่สวนเท่านั้น บุคคลอื่นๆ คงใช้กระบวนการสอบสวนตามปกติตาม ป.วิ.อ. ดังนั้น การที่พนักงานสอบสวนมิได้ส่งเรื่องไปให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติจึงชอบแล้ว โจทก์มีอำนาจฟ้อง
มาตรา 2 แห่ง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 28) กำหนดให้ พ.ร.บ.ฉบับดังกล่าว มีผลใช้บังคับ ตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา คือนับตั้งแต่วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2551 เป็นต้นไป โดยไม่มีบทบัญญัติให้มีผลบังคับย้อนหลัง จึงไม่กระทบต่อกระบวนวิธีพิจารณาความอาญาที่ได้ดำเนินการเสร็จสิ้นไปแล้ว ดังนั้น ข้อความในมาตรา 233 วรรคสอง แห่ง ป.วิ.อ. ที่แก้ไขใหม่ ที่บัญญัติว่า ในกรณีที่จำเลยเบิกความเป็นพยาน คำเบิกความของจำเลยย่อมใช้ยันจำเลยนั้นได้ และศาลอาจรับฟังคำเบิกความนั้นประกอบพยานหลักฐานอื่นของโจทก์ได้ แต่การที่จำเลยตอบคำถามก่อนที่ พ.ร.บ.ฉบับดังกล่าวมีผลบังคับใช้ จำเลยย่อมไม่อาจคาดหมายได้ว่าคำเบิกความของตนจะใช้รับฟังลงโทษตนเองได้ บทบัญญัติดังกล่าวมีผลเป็นโทษแก่จำเลย จึงไม่อาจมีผลย้อนหลัง และถือไม่ได้ว่าโจทก์และโจทก์ร่วมนำสืบถึงข้อเท็จจริงดังกล่าว
กฎกระทรวง ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2511) ออกตามความในมาตรา 40 วรรคสาม แห่ง พ.ร.บ.คณะสงฆ์ฯ ข้อ 5 บัญญัติให้การเก็บรักษาเงินของวัดในส่วนที่เกิน 3,000 บาท ขึ้นไปให้เก็บรักษาโดยฝากกรมการศาสนา จังหวัด อำเภอ หรือธนาคาร หรือนิติบุคคลที่กรมการศาสนาให้ความเห็นชอบ ทั้งนี้ให้ฝากในนามของวัด ดังนั้น การฝากเงินของวัดคือโจทก์ร่วมต้องฝากในนามของโจทก์ร่วมเท่านั้น หากมิได้ดำเนินการดังกล่าวโดยเจตนาก็เป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 147 ได้ ส่วนการจัดการทรัพย์สินของวัดก็ต้องปฏิบัติตามกฎกระทรวงฉบับดังกล่าวเป็นสำคัญ แต่การนำเงินค่าผาติกรรมซึ่งเป็นทรัพย์สินของโจทก์ร่วมอย่างหนึ่งไปใช้เพื่อประโยชน์ของโจทก์ร่วม โดยมิได้เบียดบังเป็นของตนเองหรือผู้อื่น การกระทำดังกล่าวเป็นเพียงการใช้เงินผิดไปจากมติมหาเถรสมาคม หรือเป็นการใช้เงินผิดระเบียบเท่านั้น
มาตรา 2 แห่ง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 28) กำหนดให้ พ.ร.บ.ฉบับดังกล่าว มีผลใช้บังคับ ตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา คือนับตั้งแต่วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2551 เป็นต้นไป โดยไม่มีบทบัญญัติให้มีผลบังคับย้อนหลัง จึงไม่กระทบต่อกระบวนวิธีพิจารณาความอาญาที่ได้ดำเนินการเสร็จสิ้นไปแล้ว ดังนั้น ข้อความในมาตรา 233 วรรคสอง แห่ง ป.วิ.อ. ที่แก้ไขใหม่ ที่บัญญัติว่า ในกรณีที่จำเลยเบิกความเป็นพยาน คำเบิกความของจำเลยย่อมใช้ยันจำเลยนั้นได้ และศาลอาจรับฟังคำเบิกความนั้นประกอบพยานหลักฐานอื่นของโจทก์ได้ แต่การที่จำเลยตอบคำถามก่อนที่ พ.ร.บ.ฉบับดังกล่าวมีผลบังคับใช้ จำเลยย่อมไม่อาจคาดหมายได้ว่าคำเบิกความของตนจะใช้รับฟังลงโทษตนเองได้ บทบัญญัติดังกล่าวมีผลเป็นโทษแก่จำเลย จึงไม่อาจมีผลย้อนหลัง และถือไม่ได้ว่าโจทก์และโจทก์ร่วมนำสืบถึงข้อเท็จจริงดังกล่าว
กฎกระทรวง ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2511) ออกตามความในมาตรา 40 วรรคสาม แห่ง พ.ร.บ.คณะสงฆ์ฯ ข้อ 5 บัญญัติให้การเก็บรักษาเงินของวัดในส่วนที่เกิน 3,000 บาท ขึ้นไปให้เก็บรักษาโดยฝากกรมการศาสนา จังหวัด อำเภอ หรือธนาคาร หรือนิติบุคคลที่กรมการศาสนาให้ความเห็นชอบ ทั้งนี้ให้ฝากในนามของวัด ดังนั้น การฝากเงินของวัดคือโจทก์ร่วมต้องฝากในนามของโจทก์ร่วมเท่านั้น หากมิได้ดำเนินการดังกล่าวโดยเจตนาก็เป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 147 ได้ ส่วนการจัดการทรัพย์สินของวัดก็ต้องปฏิบัติตามกฎกระทรวงฉบับดังกล่าวเป็นสำคัญ แต่การนำเงินค่าผาติกรรมซึ่งเป็นทรัพย์สินของโจทก์ร่วมอย่างหนึ่งไปใช้เพื่อประโยชน์ของโจทก์ร่วม โดยมิได้เบียดบังเป็นของตนเองหรือผู้อื่น การกระทำดังกล่าวเป็นเพียงการใช้เงินผิดไปจากมติมหาเถรสมาคม หรือเป็นการใช้เงินผิดระเบียบเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7295/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานปลอมและใช้เอกสารสิทธิปลอม, ลักทรัพย์, และสิทธิการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนของโจทก์ร่วม
จำเลยปลอมใบถอนเงินของธนาคารโจทก์ร่วมโดยเขียนข้อความและลงลายมือชื่อปลอมของผู้มีอำนาจลงลายมือชื่อเบิกถอนเงินมอบฉันทะให้จำเลยเป็นผู้เบิกถอนเงิน รับเงิน และรับสมุดบัญชีเงินฝาก แล้วจำเลยใช้และอ้างใบถอนเงินปลอมแก่พนักงานโจทก์ร่วม จนพนักงานโจทก์ร่วมหลงเชื่อว่าเป็นเอกสารสิทธิที่แท้จริง เป็นเหตุให้โจทก์ร่วมต้องจ่ายเงินตามใบถอนเงินปลอมให้แก่จำเลย โจทก์ร่วมจึงเป็นบุคคลที่ได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทำความผิดฐานปลอมเอกสารสิทธิและใช้เอกสารสิทธิปลอมตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (4) และมีสิทธิยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ในความผิดฐานดังกล่าวได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 30 และย่อมมีสิทธิยื่นคำร้องขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ร่วมได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 44/1 วรรคหนึ่ง
พฤติการณ์ของจำเลยที่ลักและเอาไปเสียซึ่งสมุดบัญชีเงินฝากของผู้เสียหายแล้วปลอมใบถอนเงินของธนาคารโจทก์ร่วมเอาไปแสดงต่อพนักงานของโจทก์ร่วมเพื่อขอเบิกถอนเงิน เป็นการกระทำที่มีเจตนามุ่งหมายเพื่อให้ได้เงินจากธนาคารโจทก์ร่วมเป็นหลัก จึงเป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท
พฤติการณ์ของจำเลยที่ลักและเอาไปเสียซึ่งสมุดบัญชีเงินฝากของผู้เสียหายแล้วปลอมใบถอนเงินของธนาคารโจทก์ร่วมเอาไปแสดงต่อพนักงานของโจทก์ร่วมเพื่อขอเบิกถอนเงิน เป็นการกระทำที่มีเจตนามุ่งหมายเพื่อให้ได้เงินจากธนาคารโจทก์ร่วมเป็นหลัก จึงเป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7004/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดสนับสนุนการค้าประเวณี: การแยกพิจารณาความผิดต่อผู้เสียหายแต่ละคนเป็นกรรมต่างกัน
ความผิดฐานผู้ใดเพื่อสนองความใคร่ของผู้อื่นเป็นธุระจัดหา ล่อไปหรือพาไปเพื่อการอนาจารตามมาตรา 282 วรรคสองและวรรคสาม มีองค์ประกอบความผิดในส่วนอายุของบุคคลที่ถูกระทำแตกต่างกันจึงเป็นการกระทำโดยเจตนาให้เกิดผลต่อบุคคลที่ถูกกระทำแยกต่างหากจากกันได้ แม้ผู้เสียหายทั้งสองจะถูกกระทำความผิดในคราวเดียวกัน แต่เป็นการกระทำต่อผู้เสียหายแต่ละคนโดยเฉพาะจึงเป็นความผิดต่างกรรมต่างวาระ ฉะนั้น ที่ศาลล่างทั้งสองฟังว่าการกระทำของจำเลยเป็นผู้สนับสนุนการกระทำความผิดต่อผู้เสียหายทั้งสอง ก็ต้องฟังว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดหลายกรรมต่างกันด้วย มิใช่เป็นความผิดกรรมเดียว ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 แต่เนื่องจากโจทก์มิได้อุทธรณ์และฎีกาให้ลงโทษจำเลยหลายกรรม ศาลฎีกาไม่อาจแก้ไขเรื่องโทษได้เพราะเป็นการพิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลย ศาลล่างทั้งสองฟังว่าจำเลยเป็นผู้สนับสนุนการกระทำความผิด แต่มิได้ปรับบทตาม ป.อ. มาตรา 86 ด้วย จึงไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขเสียด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6549/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพากษาความผิดฐานมีและจำหน่ายยาเสพติด การลดโทษ และการไม่ริบรถยนต์ที่ใช้ในการกระทำความผิด
พยานหลักฐานโจทก์ไม่พอฟังว่า 3, 4 - เมทิลลีนไดออกซีเมทแอมเฟตามีนของกลางที่พยานโจทก์ทั้งสามยึดได้ในขณะจับกุมจำเลยทั้งสองที่ห้องพักโรงแรมที่เกิดเหตุถูกแบ่งมาจาก 3, 4 - เมทิลลีนไดออกซีเมทแอมเฟตามีนของกลางที่ตรวจค้นได้ในห้องพักของจำเลยที่ 1 ข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่า จำเลยที่ 1 มี 3, 4 - เมทิลลีนไดออกซีเมทแอมเฟตามีนของกลาง 1 เม็ด ดังกล่าวไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย จำเลยที่ 1 จึงมีความผิดฐานมี 3, 4 - เมทิลลีนไดออกซีเมทแอมเฟตามีน 1 เม็ด ที่ยึดได้จากห้องพักของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต ศาลมีอำนาจลงโทษจำเลยที่ 1 ตามที่พิจารณาได้ความตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192
ความผิดของจำเลยที่ 1 ฐานมี 3, 4 - เมทิลลีนไดออกซีเมทแอมเฟตามีน 1 เม็ด ไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต เป็นการกระทำต่างกรรมกับความผิดฐานร่วมกับจำเลยที่ 2 มีเมทแอมเฟตามีน 2 เม็ด และ 3, 4 - เมทิลลีนไดออกซีเมทแอมเฟตามีน 1 เม็ด ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย แต่โจทก์ฟ้องและขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ในความผิดฐานร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีน 2 เม็ด และ 3, 4 - เมทิลลีนไดออกซีเมทแอมเฟตามีน 2 เม็ด ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย เท่ากับโจทก์ฟ้องและขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ฐานมี 3, 4 - เมทิลลีนไดออกซีเมทแอมเฟตามีน 2 เม็ด รวมกันมาเป็นความผิดกรรมเดียวกัน ศาลจึงไม่อาจลงโทษจำเลยที่ 1 เป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ตาม ป.อ. มาตรา 91 ได้ เนื่องจากเป็นการพิพากษาเกินคำขอ ซึ่งต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง แต่ศาลมีอำนาจปรับบทลงโทษจำเลยที่ 1 ให้ถูกต้องได้
ความผิดของจำเลยที่ 1 ฐานมี 3, 4 - เมทิลลีนไดออกซีเมทแอมเฟตามีน 1 เม็ด ไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต เป็นการกระทำต่างกรรมกับความผิดฐานร่วมกับจำเลยที่ 2 มีเมทแอมเฟตามีน 2 เม็ด และ 3, 4 - เมทิลลีนไดออกซีเมทแอมเฟตามีน 1 เม็ด ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย แต่โจทก์ฟ้องและขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ในความผิดฐานร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีน 2 เม็ด และ 3, 4 - เมทิลลีนไดออกซีเมทแอมเฟตามีน 2 เม็ด ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย เท่ากับโจทก์ฟ้องและขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ฐานมี 3, 4 - เมทิลลีนไดออกซีเมทแอมเฟตามีน 2 เม็ด รวมกันมาเป็นความผิดกรรมเดียวกัน ศาลจึงไม่อาจลงโทษจำเลยที่ 1 เป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ตาม ป.อ. มาตรา 91 ได้ เนื่องจากเป็นการพิพากษาเกินคำขอ ซึ่งต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง แต่ศาลมีอำนาจปรับบทลงโทษจำเลยที่ 1 ให้ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5727/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดหลายกรรมต่างกันจากการจัดให้มีการเล่นการพนันและร่วมเล่นพนัน ศาลลงโทษได้ทั้งสองกรรม
ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 19 ให้ศาลบันทึกใจความแห่งฟ้องไว้เป็นหลักฐานไม่จำต้องบันทึกโดยละเอียด แต่ก่อนบันทึกฟ้อง ศาลอาจจะสอบถามโจทก์เกี่ยวกับข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่จำเลยกระทำผิด และจะบันทึกไว้เฉพาะข้อความสำคัญ ส่วนบันทึกการฟ้องด้วยวาจาของโจทก์เป็นเพียงส่วนหนึ่งของฟ้องด้วยวาจาของโจทก์เท่านั้น เมื่อบันทึกการฟ้องด้วยวาจาของโจทก์และคำฟ้องที่ศาลชั้นต้นบันทึกไว้ปรากฏว่าโจทก์ระบุว่า จำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดให้มีการเล่นการพนันและร่วมกันเล่นไพ่รัมมี่ ย่อมเข้าใจได้ว่าการกระทำของจำเลยที่ 1 เป็นความผิดหลายกรรมต่างกันแล้ว แม้โจทก์จะไม่บรรยายว่าจำเลยที่ 1 กระทำความผิดหลายกรรมและบรรยายฟ้องเกี่ยวกับความผิดของจำเลยที่ 1 ในแต่ละข้อหาเป็นข้อย่อยมาให้ชัดเจน อีกทั้งคำขอท้ายฟ้องก็มิได้ขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ก็ตาม ไม่อาจถือว่าบันทึกการฟ้องด้วยวาจาของโจทก์ไม่ชัดเจนว่าโจทก์ไม่ประสงค์ลงโทษจำเลยที่ 1 ในแต่ละข้อหาแยกเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ทั้งการที่คำขอท้ายฟ้องไม่ได้ระบุประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 มาด้วย ศาลก็ลงโทษจำเลยที่ 1 ทุกกรรมเป็นกระทงความผิดได้ ไม่เป็นการเกินคำขอ เมื่อคดีนี้จำเลยที่ 1 ให้การรับสารภาพ ซึ่งข้อเท็จจริงรับฟังได้ตามฟ้องว่า จำเลยที่ 1 จัดให้มีการเล่นการพนันไพ่รัมมี่ แล้วจำเลยที่ 1 เข้าร่วมเล่นการพนันกับจำเลยที่ 2 และที่ 3 ด้วย สภาพแห่งการกระทำของจำเลยที่ 1 เป็นการกระทำที่มีเจตนาต่างกัน คือ จัดให้มีการเล่นก็โดยมีเจตนาเพื่อนำมาซึ่งผลประโยชน์แห่งตน เมื่อจำเลยที่ 1 จัดให้มีการเล่น จำเลยที่ 1 ก็ได้ผลประโยชน์แห่งตนแล้ว เป็นความผิดสำเร็จไปกรรมหนึ่ง และเมื่อจำเลยที่ 1 เข้าร่วมเล่นการพนันด้วยเป็นการที่จำเลยที่ 1 มีเจตนาเข้าพนันเอาเงินหรือทรัพย์สินอย่างอื่นกับผู้ร่วมเล่นคนอื่น จึงเป็นความผิดอีกกรรมหนึ่ง ดังนี้ จำเลยที่ 1 จึงมีความผิดหลายกรรมต่างกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5694/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงความผิดฐานในชั้นอุทธรณ์และฎีกาต้องดำเนินการโดยยื่นอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้น
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ในความผิดฐานลักทรัพย์หรือรับของโจร เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 1 ในความผิดฐานยักยอก หากโจทก์เห็นว่าคำพิพากษาศาลชั้นต้นไม่ถูกต้องเพราะการกระทำของจำเลยที่ 1 เป็นความผิดฐานลักทรัพย์และโจทก์ประสงค์จะให้ศาลอุทธรณ์ภาค 7 ลงโทษจำเลยที่ 1 ในความผิดฐานลักทรัพย์อันเป็นการขอให้เปลี่ยนแปลงผลคำพิพากษาศาลชั้นต้น โจทก์จะต้องกระทำโดยยื่นเป็นคำฟ้องอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้น เมื่อโจทก์ไม่ได้ยื่นคำฟ้องอุทธรณ์ จึงไม่มีประเด็นที่ศาลอุทธรณ์ภาค 7 จะต้องวินิจฉัยว่าการกระทำของจำเลยที่ 1 เป็นความผิดฐานลักทรัพย์หรือไม่ ที่โจทก์ฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานลักทรัพย์จึงเป็นข้อที่มิได้ว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 7 ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5077/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำความผิดหลายกรรมต่างกัน แม้เป็นการกระทำต่อเนื่องในคราวเดียวกัน ก็อาจถือเป็นความผิดหลายกระทงได้
การกระทำอันเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ตาม ป.อ. มาตรา 91 มิได้บัญญัติว่าการกระทำความผิดหลายกรรมนั้นจะเกิดขึ้นในวาระเดียวกันไม่ได้ การกระทำในคราวเดียวกันหรือต่อเนื่องในคราวเดียวกันก็อาจเป็นความผิดหลายกรรมต่างกันได้ จำเลยใช้ไม้ไผ่ตีทำร้าย ท. ขณะขับรถจักรยานยนต์คันที่ 3 แล้ว ท. ขับรถหลบหนีไปได้ จากนั้นต่อมาจำเลยก็ใช้ไม้ตีทำร้าย ส. ขณะขับรถจักรยานยนต์คันที่ 4 ซึ่งเล่นตามหลังมาห่างกันประมาณ 200 ถึง 400 เมตร จนเป็นเหตุให้รถล้มลง แล้วพวกจำเลยก็เตะทำร้ายร่างกาย ช. ผู้นั่งซ้อนท้ายแล้วจำเลยกับพวกก็หลบหนีไป จากพฤติการณ์แห่งคดีประกอบกับพฤติกรรมของจำเลยดังกล่าว ย่อมบ่งชี้ได้อย่างแจ้งชัดว่าจำเลยมีเจตนาประสงค์ต่อผลในการกระทำของตนแยกต่างหากจากกันเกี่ยวกับรถจักรยานยนต์แต่ละคันแม้ว่าจะเป็นการกระทำในคราวเดียวกันก็ตามการกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน