พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2,422 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2914/2554 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษจำคุกหลายกระทงตาม ป.อ. มาตรา 91 และการลดโทษก่อนนำมารวมโทษ
ตาม ป.อ. มาตรา 91 บัญญัติว่า "เมื่อปรากฏว่าผู้ใดได้กระทำการอันเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้ศาลลงโทษผู้นั้นทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไป แต่ไม่ว่าจะมีการเพิ่มโทษ ลดโทษ หรือลดมาตราส่วนโทษด้วยหรือไม่ก็ตาม เมื่อรวมโทษทุกกระทงแล้ว โทษจำคุกทั้งสิ้นต้องไม่เกินกำหนดดังต่อไปนี้" ข้อความของมาตรา 91 ที่ว่า "แต่ไม่ว่าจะมีการเพิ่มโทษ ลดโทษหรือลดมาตราส่วนโทษด้วยหรือไม่ก็ตาม" จะเห็นได้ว่า อัตราโทษสูงสุดตามที่มาตรา 91 กำหนดไว้นั้น ถ้าเป็นกรณีที่มีการเพิ่มโทษหรือลดโทษจะต้องนำมาใช้เมื่อมีการเพิ่มโทษหรือลดโทษแล้ว มิใช่ต้องปรับบทมาตรา 91 เสียก่อนแล้วจึงจะพิจารณาลดโทษตาม ป.อ. มาตรา 78 ดังนั้น ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาเรียงกระทงลงโทษจำคุกตลอดชีวิตจำเลยที่ 1 ก่อน 2 กระทงแล้วลดโทษให้กระทงละกึ่งหนึ่งโดยเปลี่ยนโทษจำคุกตลอดชีวิตเป็นโทษจำคุก 50 ปี ตาม ป.อ. มาตรา 53 เหลือโทษจำคุกกระทงละ 25 ปี แล้วจึงนำบทบัญญัติมาตรา 91 (3) มาปรับว่าโทษจำคุกจำเลยที่ 1 มีกำหนด 50 ปี จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2914/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษจำคุกหลายกระทงตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 และ 78: ลำดับการลดโทษและการปรับโทษ
ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ซึ่งบัญญัติว่า "เมื่อปรากฏว่าผู้ใดได้กระทำการอันเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้ศาลลงโทษผู้นั้นทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไป แต่ไม่ว่าจะมีการเพิ่มโทษ ลดโทษ หรือลดมาตราส่วนโทษด้วยหรือไม่ก็ตาม เมื่อรวมโทษทุกกระทงแล้ว โทษจำคุกทั้งสิ้นต้องไม่เกินกำหนดดังต่อไปนี้..." ฉะนั้นจากข้อความของบทบัญญัติของมาตรา 91 ที่ว่า "แต่ไม่ว่าจะมีการเพิ่มโทษ ลดโทษ หรือลดมาตราส่วนโทษด้วยหรือไม่ก็ตาม" จะเห็นได้ว่าอัตราโทษสูงสุดตามที่มาตรา 91 กำหนดไว้นั้น ถ้าเป็นกรณีที่มีการเพิ่มโทษหรือลดโทษจะต้องนำมาใช้เมื่อมีการเพิ่มโทษหรือลดโทษแล้ว มิใช่ต้องปรับบทมาตรา 91 เสียก่อนแล้วจึงพิจารณาลดโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 ดังนั้น ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาเรียงกระทงลงโทษจำคุกตลอดชีวิตจำเลยที่ 1 ก่อน 2 กระทง แล้วลดโทษให้กระทงละกึ่งหนึ่งโดยเปลี่ยนโทษจำคุกตลอดชีวิตเป็นโทษจำคุก 50 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 53 เหลือโทษจำคุกกระทงละ 25 ปี แล้วจึงนำบทบัญญัติมาตรา 91 (3) มาปรับว่าโทษจำคุกจำเลยที่ 1 มีกำหนด 50 ปี จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2602/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดหลายกรรมต่างกันจากการลงลายมือชื่อรับรองคนต่างด้าว และการปรับบทมาตรา 86
การที่จำเลยลงลายมือชื่อรับรองคนต่างด้าว 7 คน แม้จะเป็นการรับรองในวันเดียวกัน พร้อมๆ กัน และมีเจตนาที่จะให้ทางราชการออกบัตรประจำตัวประชาชนให้แก่คนต่างด้าว 7 คน ในเวลาเดียวกัน แต่จำเลยได้กระทำให้แก่คนต่างด้าวแต่ละคน ย่อมเป็นความผิดสำเร็จในตัวของแต่ละคนและอาศัยเจตนาแตกต่างแยกจากกัน การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ตาม ป.อ. มาตรา 91
ในระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้นได้มี พ.ร.บ.บัตรประจำตัวประชาชน (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2542 มาตรา 8 ยกเลิกความในมาตรา 13 และมาตรา 14 แห่ง พ.ร.บ.บัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ.2526 และให้ใช้ข้อความใหม่แทน แต่กฎหมายเดิมเป็นคุณมากกว่ากฎหมายที่แก้ไขใหม่ จึงต้องใช้กฎหมายขณะกระทำความผิดบังคับแก่จำเลย นอกจากนี้โจทก์ยังฟ้องว่า จำเลยสนับสนุนในการที่คนต่างด้าวกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.บัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ.2526 มาตรา 14 ซึ่งเป็นความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนการกระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 86 ดังนั้น ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตาม พ.ร.บ.บัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ.2526 มาตรา 14 (1) และไม่ปรับบทตาม ป.อ. มาตรา 86 มาด้วย จึงไม่ถูกต้อง ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 และที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 137, 264, 267, 268, 83 โดยมิได้ระบุวรรคมาด้วยก็ไม่ถูกต้องศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง
ในระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้นได้มี พ.ร.บ.บัตรประจำตัวประชาชน (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2542 มาตรา 8 ยกเลิกความในมาตรา 13 และมาตรา 14 แห่ง พ.ร.บ.บัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ.2526 และให้ใช้ข้อความใหม่แทน แต่กฎหมายเดิมเป็นคุณมากกว่ากฎหมายที่แก้ไขใหม่ จึงต้องใช้กฎหมายขณะกระทำความผิดบังคับแก่จำเลย นอกจากนี้โจทก์ยังฟ้องว่า จำเลยสนับสนุนในการที่คนต่างด้าวกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.บัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ.2526 มาตรา 14 ซึ่งเป็นความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนการกระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 86 ดังนั้น ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตาม พ.ร.บ.บัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ.2526 มาตรา 14 (1) และไม่ปรับบทตาม ป.อ. มาตรา 86 มาด้วย จึงไม่ถูกต้อง ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 และที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 137, 264, 267, 268, 83 โดยมิได้ระบุวรรคมาด้วยก็ไม่ถูกต้องศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1786/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท: ปลอมแปลงเอกสารเพื่อลักทรัพย์ ศาลฎีกาแก้ไขโทษและวินิจฉัยการรอการลงโทษ
จำเลยที่ 2 ร่วมกับพวกทำปลอมหนังสือมอบอำนาจของโจทก์ร่วมแล้วนำหนังสือมอบอำนาจปลอมไปให้ อ. ลงลายมือชื่อเป็นพยาน และไปแสดงแก่พนักงานบริษัท ท. เพื่อขอเวนคืนกรมธรรม์ประกันชีวิตของโจทก์ร่วม เมื่อบริษัท ท. ออกเช็คจำนวน 33,067 บาท เพื่อเป็นค่าเวนคืนให้แก่จำเลยที่ 2 กับพวก จำเลยที่ 2 กับพวกนำเช็คดังกล่าวไปเข้าบัญชีของโจทก์ร่วม แล้วลักเงินของโจทก์ร่วมโดยใช้บัตรกดเงินอัตโนมัติ และเลขรหัสของโจทก์ร่วมเบิกเงินผ่านตู้ฝากถอนเงินอัตโนมัติไปจำนวน 33,000 บาท เป็นการกระทำที่มีเจตนามุ่งหมายเพื่อจะให้ได้เงินค่าเวนคืนกรมธรรม์ประกันชีวิตเป็นหลัก ซึ่งแม้การกระทำจะเป็นขั้นตอนต่างกัน และโจทก์บรรยายฟ้องแยกเป็นข้อๆ แยกต่างหากจากกัน แต่ก็เกิดจากเจตนาอันเดียวกัน จึงเป็นการกระทำกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท หาใช่ความผิดหลายกรรมต่างกันไม่ ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกาขึ้นมา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัย และแก้ไขให้ถูกต้องได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 225 ประกอบมาตรา 195 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1563/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปลอมเอกสารราชการและยักยอกทรัพย์: การพิจารณาความผิดกรรมเดียวหรือหลายกรรม
ต้นขั้วใบเสร็จรับเงินค่าน้ำประปาเป็นเอกสารที่จำเลยทำขึ้นเพื่อแสดงตัวเลขปริมาตรน้ำประปาที่ใช้และจำนวนเงินค่าน้ำประปาที่ผู้ใช้น้ำประปาจะต้องชำระเพื่อใช้อ้างแสดงประกอบการนำส่งค่าน้ำประปาให้แก่สมุห์บัญชีของผู้เสียหายเท่านั้น ต้นขั้วใบเสร็จรับเงินค่าน้ำประปาดังกล่าวจึงมิใช่เอกสารที่เป็นหลักฐานแห่งการก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวนหรือระงับซึ่งสิทธิ มิใช่เอกสารสิทธิตามความใน ป.อ. มาตรา 1 (9) เมื่อจำเลยปลอมต้นขั้วใบเสร็จรับเงินค่าน้ำประปาของผู้เสียหายซึ่งเป็นการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะหน่วยงานราชการ การกระทำของจำเลยจึงเป็นเพียงปลอมเอกสารราชการและใช้เอกสารราชการปลอม ไม่ใช่เป็นการปลอมเอกสารสิทธิอันเป็นเอกสารราชการและใช้เอกสารสิทธิอันเป็นเอกสารราชการปลอม
จำเลยปลอมต้นขั้วใบเสร็จรับเงินค่าน้ำประปาซึ่งจำเลยใช้เรียกเก็บเงินค่าน้ำประปาจากผู้ใช้น้ำประปาแต่ละรอบเดือนจำนวนหลายฉบับ รวม 28 ครั้ง และนำเอกสารราชการปลอมไปใช้อ้างแสดงประกอบการนำส่งค่าน้ำประปาให้แก่เจ้าหน้าที่สมุห์บัญชีของผู้เสียหายเพื่อนำส่งเงินที่มีจำนวนน้อยกว่าจำนวนเงินที่จำเลยเรียกเก็บจากผู้ใช้น้ำประปาแต่ละราย แล้วเบียดบังเอาเงินของผู้เสียหายไปรวม 28 ครั้ง ต่างวันเวลากัน การปลอมเอกสารราชการและใช้เอกสารราชการปลอมกับยักยอกในแต่ละครั้งย่อมเป็นความผิดสำเร็จอยู่ในตัวและมีเจตนาก่อให้เกิดผลต่างกัน การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
จำเลยปลอมต้นขั้วใบเสร็จรับเงินค่าน้ำประปาซึ่งจำเลยใช้เรียกเก็บเงินค่าน้ำประปาจากผู้ใช้น้ำประปาแต่ละรอบเดือนจำนวนหลายฉบับ รวม 28 ครั้ง และนำเอกสารราชการปลอมไปใช้อ้างแสดงประกอบการนำส่งค่าน้ำประปาให้แก่เจ้าหน้าที่สมุห์บัญชีของผู้เสียหายเพื่อนำส่งเงินที่มีจำนวนน้อยกว่าจำนวนเงินที่จำเลยเรียกเก็บจากผู้ใช้น้ำประปาแต่ละราย แล้วเบียดบังเอาเงินของผู้เสียหายไปรวม 28 ครั้ง ต่างวันเวลากัน การปลอมเอกสารราชการและใช้เอกสารราชการปลอมกับยักยอกในแต่ละครั้งย่อมเป็นความผิดสำเร็จอยู่ในตัวและมีเจตนาก่อให้เกิดผลต่างกัน การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1341/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การค้ามนุษย์, ความผิดหลายกรรม, การยกเลิกกฎหมายเก่า, และผลกระทบต่อโทษจำคุก
จำเลยทั้งสามร่วมกันเป็นธุระจัดหา ล่อไป หรือพาไปเพื่อการอนาจาร แม้กระทำต่อผู้เสียหายหลายคนในคราวเดียวกัน แต่ก็เป็นการกระทำต่อผู้เสียหายแต่ละคนโดยเฉพาะ จึงเป็นความผิดต่างกรรมต่างวาระกัน
ภายหลังกระทำความผิด ได้มี พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ.2551 ให้ยกเลิก พ.ร.บ.มาตรการในการป้องกันและปราบปรามการค้าหญิงและเด็ก พ.ศ.2540 โดยไม่ได้บัญญัติให้การกระทำความผิดฐานค้าหญิงโดยหญิงนั้นยินยอมตามที่จำเลยที่ 1 กระทำความผิดตามมาตรา 5, 7 วรรคหนึ่งและวรรคสองเป็นความผิดอีกต่อไป จำเลยที่ 1 จึงพ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิดฐานนี้ตาม ป.อ. มาตรา 2
ภายหลังกระทำความผิด ได้มี พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ.2551 ให้ยกเลิก พ.ร.บ.มาตรการในการป้องกันและปราบปรามการค้าหญิงและเด็ก พ.ศ.2540 โดยไม่ได้บัญญัติให้การกระทำความผิดฐานค้าหญิงโดยหญิงนั้นยินยอมตามที่จำเลยที่ 1 กระทำความผิดตามมาตรา 5, 7 วรรคหนึ่งและวรรคสองเป็นความผิดอีกต่อไป จำเลยที่ 1 จึงพ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิดฐานนี้ตาม ป.อ. มาตรา 2
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1210/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำผิดหลายกรรมต่างกันในคดีจัดหางาน แม้จะกระทำครั้งเดียว
การพิจารณาว่าการกระทำใดเป็นกรรมเดียวหรือหลายกรรมต่างกัน มิใช่แต่เพียงว่าหากเป็นการกระทำครั้งเดียวแล้วจะต้องเป็นกรรมเดียวเสมอไป ซึ่งอาจเป็นหลายกรรมต่างกันได้หากผู้กระทำมีเจตนาที่จะให้เกิดผลต่างกรรมกันหรือประสงค์จะให้เกิดเป็นความผิดหลายฐานต่างกัน การที่จำเลยทั้งสองร่วมกันเรียกรับค่าบริการหรือค่าใช้จ่ายแล้วไม่ออกใบรับตามแบบที่อธิบดีกำหนดให้แก่คนหางาน ร่วมกันรับสมัครคนหางานโดยมิได้ยื่นคำขออนุญาตต่อนายทะเบียน และร่วมกันรับค่าบริการหรือค่าใช้จ่ายแล้วไม่จัดส่งคนหางานเพื่อไปทำงานโดยไม่มีเหตุผลอันสมควรอันเป็นความผิดตามฟ้อง มีลักษณะของความผิดเป็นการกระทำที่มีเจตนาต่างขั้นตอนและแตกต่างกัน สามารถแยกการกระทำแต่ละข้อหาต่างหากจากกันได้อย่างแจ้งชัด และเป็นการกระทำที่มุ่งประสงค์ให้มีผลต่างกรรมกัน จึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 969/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำความผิดหลายกรรมต่างกันในความผิดเกี่ยวกับเอกสารทางราชการและการแจ้งความเท็จ การปรับบทกฎหมายและขอบเขตการแก้ไขโทษ
โจทก์บรรยายฟ้องแยกการกระทำความผิดของจำเลยที่ 1 ออกเป็นสามกรรมต่างกันและมีคำขอท้ายฟ้องให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปตาม ป.อ. มาตรา 91 แม้ความผิดดังกล่าวจำเลยที่ 1 จะกระทำเพื่อดำเนินการตามขั้นตอนต่าง ๆ ของระบบงานทะเบียนราษฎรและมีจุดประสงค์ในการกระทำความผิดเพียงอย่างเดียวคือเพื่อให้ได้อาศัยอยู่กับสามีและบุตรในประเทศไทยอย่างถาวรก็ตาม แต่การกระทำของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวเป็นการกระทำต่างกรรมต่างวาระและอาศัยเจตนาในการกระทำความผิดแยกต่างหากจากกัน เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องแยกการกระทำความผิดของจำเลยที่ 1 เป็นความผิดหลายกรรมต่างกันโดยชัดแจ้งและจำเลยที่ 1 ให้การรับสารภาพ จึงฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 กระทำความผิดหลายกรรมต่างกัน
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยที่ 1 มีความผิดเฉพาะตาม ป.อ. มาตรา 137, 265, 267, 268 วรรคแรก เป็นความผิดสามกรรม จำคุกกระทงละ 2 ปี ลดโทษตาม ป.อ. มาตรา 78 ให้กระทงกึ่งหนึ่ง คงจำคุกกระทงละ 1 ปี รวมจำคุก 3 ปี ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาแก้เป็นว่าจำเลยที่ 1 มีความผิดตาม พ.ร.บ.บัตรประจำตัวประชาชน ฯ มาตรา 14 (1) (3) วรรคสองด้วย และลงโทษจำเลยที่ 1 สองกระทง กระทงละ 2 ปี ลดโทษตาม ป.อ. มาตรา 78 ให้กระทงละกึ่งหนึ่ง คงจำคุกกระทงละ 1 ปี รวมจำคุก 2 ปี เป็นการที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 ปรับบทกฎหมายให้ถูกต้องจึงเป็นการแก้ไขเล็กน้อย และให้ลงโทษจำคุกจำเลยที่ 1 แต่ละกระทงไม่เกินห้าปี ฎีกาของจำเลยที่ 1 เป็นฎีกาข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง แต่เมื่อศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของจำเลยที่ 1 ข้อนี้และคดีขึ้นมาสู่การพิจารณาของศาลฎีกาแล้ว ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยให้พร้อมฎีกาของจำเลยที่ 2 และที่ 3
ตาม พ.ร.บ.บัตรประจำตัวประชาชน ฯ มาตรา 14 วรรคท้าย บัญญัติว่าถ้าผู้กระทำความผิดตาม (1) หรือ (2) หรือ (3) เป็นผู้ไม่มีสัญชาติไทยต้องระวางโทษหนักขึ้น การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 ปรับบทลงโทษจำเลยที่ 1 ตาม พ.ร.บ.บัตรประจำตัวประชาชน ฯ มาตรา 14 (1) (3) วรรคสอง จึงไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาเห็นสมควรปรับบทกฎหมายให้ถูกต้อง แต่เมื่อโจทก์มิได้อุทธรณ์และฎีกาในปัญหาดังกล่าว ศาลฎีกาจึงไม่อาจแก้ไขโทษให้หนักขึ้นได้ เพราะเป็นการเพิ่มเติมโทษจำเลยที่ 1 ซึ่งต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 ประกอบมาตรา 225
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยที่ 1 มีความผิดเฉพาะตาม ป.อ. มาตรา 137, 265, 267, 268 วรรคแรก เป็นความผิดสามกรรม จำคุกกระทงละ 2 ปี ลดโทษตาม ป.อ. มาตรา 78 ให้กระทงกึ่งหนึ่ง คงจำคุกกระทงละ 1 ปี รวมจำคุก 3 ปี ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาแก้เป็นว่าจำเลยที่ 1 มีความผิดตาม พ.ร.บ.บัตรประจำตัวประชาชน ฯ มาตรา 14 (1) (3) วรรคสองด้วย และลงโทษจำเลยที่ 1 สองกระทง กระทงละ 2 ปี ลดโทษตาม ป.อ. มาตรา 78 ให้กระทงละกึ่งหนึ่ง คงจำคุกกระทงละ 1 ปี รวมจำคุก 2 ปี เป็นการที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 ปรับบทกฎหมายให้ถูกต้องจึงเป็นการแก้ไขเล็กน้อย และให้ลงโทษจำคุกจำเลยที่ 1 แต่ละกระทงไม่เกินห้าปี ฎีกาของจำเลยที่ 1 เป็นฎีกาข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง แต่เมื่อศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของจำเลยที่ 1 ข้อนี้และคดีขึ้นมาสู่การพิจารณาของศาลฎีกาแล้ว ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยให้พร้อมฎีกาของจำเลยที่ 2 และที่ 3
ตาม พ.ร.บ.บัตรประจำตัวประชาชน ฯ มาตรา 14 วรรคท้าย บัญญัติว่าถ้าผู้กระทำความผิดตาม (1) หรือ (2) หรือ (3) เป็นผู้ไม่มีสัญชาติไทยต้องระวางโทษหนักขึ้น การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 ปรับบทลงโทษจำเลยที่ 1 ตาม พ.ร.บ.บัตรประจำตัวประชาชน ฯ มาตรา 14 (1) (3) วรรคสอง จึงไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาเห็นสมควรปรับบทกฎหมายให้ถูกต้อง แต่เมื่อโจทก์มิได้อุทธรณ์และฎีกาในปัญหาดังกล่าว ศาลฎีกาจึงไม่อาจแก้ไขโทษให้หนักขึ้นได้ เพราะเป็นการเพิ่มเติมโทษจำเลยที่ 1 ซึ่งต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 390/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความชัดเจนของฟ้องอาญา: การบรรยายฟ้องแยกกรรมความผิดชัดเจนเพียงพอ ศาลพิพากษาลงโทษหลายกรรมได้
คำฟ้องโจทก์บรรยายว่า ระหว่างเวลาที่โจทก์ระบุไว้ในคำฟ้องข้อ 2 และข้อ 2.2 จำเลยที่ 2 และที่ 3 เข้าไปก่อสร้าง แผ้วถาง หรือเผาป่า อันเป็นความผิดตามกฎหมายกรรมหนึ่ง และข้อ 2.3 โจทก์บรรยายฟ้องตอนต้นว่า "หลังจากจำเลยที่ 2 และที่ 3 ร่วมกันบุกรุกครอบครองป่าและป่าสงวนแห่งชาติแล้ว จำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้ร่วมกันทำไม้โดยการใช้มีดพร้าตัด ฟัน กาน ต้นไม้หวงห้ามรวม 92 ต้น ซึ่งก็เข้าใจได้ว่า ตามวันเวลาที่โจทก์ระบุไว้ในข้อ 2 แต่เป็นเวลาหลังจากที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้บุกรุกเข้าไปครอบครองป่าและป่าสงวนแห่งชาติแล้ว จำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้ร่วมกันทำไม้โดยไม่ได้รับอนุญาต ซึ่งเป็นความผิดตามกฎหมายอีกกรรมหนึ่ง ฟ้องของโจทก์จึงเป็นฟ้องที่ชัดแจ้งว่า เมื่อวันเวลาใด จำเลยที่ 2 ได้กระทำความผิดฐานใดบ้าง อันเป็นความผิดต่างกระทงต่างกรรมกัน มิใช่เป็นการบรรยายฟ้องที่ไม่ชัดแจ้ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 222/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมเดียวต่อเนื่อง: กระทำชำเราโทรมเด็กหญิงหลายครั้ง ความผิดต่อเนื่องในวาระเดียวกัน
หลังจากจำเลยกับพวกกระทำชำเราผู้เสียหายอันมีลักษณะเป็นการโทรมเด็กหญิงที่ขนำที่เกิดเหตุครั้งแรกแล้ว จำเลยกับพวกยังคงควบคุมหรือหน่วงเหนี่ยวกักขังผู้เสียหายไว้โดยพาผู้เสียหายไปที่ขนำอีกแห่งหนึ่งแล้วร่วมกันกระทำชำเราผู้เสียหายอันมีลักษณะเป็นการโทรมเด็กหญิงในครั้งต่อไปถือว่าผู้เสียหายยังไม่หลุดพ้นจากภยันตรายอันเกิดจากการกระทำความผิดของจำเลยกับพวก ดังนั้น การกระทำชำเราของจำเลยกับพวกอันมีลักษณะเป็นการโทรมเด็กหญิงทั้งสองครั้งจึงต่อเนื่องเชื่อมโยงกันอยู่ในวาระเดียวกัน โดยเจตนาเดิมไม่ขาดตอนจากกันจึงเป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบทตามป.อ. มาตรา 90