พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2,422 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9992/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับของโจรหลายกรรมต่างกัน แม้รับซื้อจากผู้เสียหายรายเดียวกัน หากเป็นการซื้อขายในวันเวลาต่างกัน ถือเป็นความผิดหลายกระทง
ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า ส. นำน้ำมันดีเซลที่ลักไปขายให้แก่จำเลยรวม 5 ครั้ง แม้จะเป็นการรับซื้อทรัพย์อย่างเดียวกันของผู้เสียหายคนเดียวกัน แต่ก็เป็นการรับซื้อคนละวันเวลาต่างวาระกัน แสดงว่าจำเลยมีเจตนาแยกการกระทำผิดแต่ละคราวออกจากกัน แล้วแต่ ส. จะนำน้ำมันดีเซลไปขายเมื่อใดก็จะรับซื้อไว้ จึงเป็นการกระทำผิดฐานรับของโจรหลายกรรมต่างกันรวม 5 กระทง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9433/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมเดียวความผิดหลายบท: การบรรยายฟ้องรวมความผิดต่อผู้เสียหายหลายคนโดยมีเจตนาเดียวกัน
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยโดยมีเจตนาฆ่าและใช้อาวุธปืนลูกซองสั้นยิงประทุษร้ายร่างกายผู้เสียหายที่ 1 และที่ 2 จำนวน 2 นัด กระสุนไม่ถูกผู้เสียหายที่ 1 แต่ถูกบริเวณสะโพกผู้เสียหายที่ 2 จำเลยลงมือกระทำความผิดไปโดยตลอดแล้วแต่การกระทำนั้นไม่บรรลุผล เนื่องจากกระสุนปืนไม่ถูกผู้เสียหายที่ 1 โดยผู้เสียหายที่ 1 วิ่งหลบหนีได้ทัน ส่วนผู้เสียหายที่ 2 แพทย์ทำการรักษาพยาบาลได้ทันท่วงที ผู้เสียหายทั้งสองจึงไม่ถึงแก่ความตายสมดังเจตนาของจำเลย แต่เป็นเหตุทำให้ผู้เสียหายที่ 2 ได้รับอันตรายสาหัส อันเป็นการบรรยายฟ้องมีสาระสำคัญรวมกันมาโดยไม่ได้แยกข้อเท็จจริงของการกระทำที่เกี่ยวกับผู้เสียหายทั้งสองแต่ละคนออกจากกัน ในลักษณะที่ทำให้เข้าใจได้ว่าเป็นการกระทำของจำเลยที่กระทำต่อผู้เสียหายทั้งสองโดยมีเจตนาเดียวกันและเป็นกรรมเดียวกัน แม้โจทก์จะระบุมาตรา 91 แห่ง ป.อ.ไว้ในคำขอท้ายฟ้องก็ตาม แต่ก็มีความผิดข้อหาอื่นที่โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยมาในคำฟ้องเดียวกันนี้ด้วย และไม่อาจถือได้ว่าเป็นการขยายความพอที่จะทำให้จำเลยเข้าใจคำฟ้องของโจทก์แตกต่างไปจากที่โจทก์บรรยายในฟ้องได้ การกระทำของจำเลยจึงเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทตาม ป.อ. มาตรา 90
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9171/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานบุกรุก, ทำลายทรัพย์สิน, และทำร้ายร่างกายจนถึงแก่ความตาย: การแยกกระทงความผิดและลงโทษ
โจทก์ฟ้องฐานร่วมกันบุกรุกเคหสถานในเวลากลางคืน ฐานทำให้เสียทรัพย์ ฐานร่วมกันฆ่าและพยายามฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 ที่ 3 ที่ 4 และที่ 6 บุกรุกเข้าไปในเคหสถานของผู้เสียหายที่ 1 ทำให้เสียทรัพย์ของผู้เสียหายทั้งสาม และมีเจตนาเพียงทำร้ายผู้เสียหายที่ 1 และผู้ตาย การกระทำของจำเลยที่ 1 ที่ 3 ที่ 4 และที่ 6 เป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน โดยเป็นความผิดฐานร่วมกันบุกรุกและทำให้เสียทรัพย์ซึ่งเป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบทอีกกระทงหนึ่ง ซึ่งเป็นอีกส่วนหนึ่งต่างหากแยกจากกันได้จากความผิดฐานร่วมกันทำร้ายร่างกายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายโดยไตร่ตรองไว้ก่อนและฐานร่วมกันทำร้ายร่างกายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายโดยไตร่ตรองไว้ก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9026/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ใช้เอกสารสิทธิปลอมฟ้องร้อง-แสดงกรรมสิทธิ์ที่ดิน, ฟ้องบุกรุกขาดอายุความ, ผู้เสียหายมีอำนาจฟ้อง
โจทก์เป็นทายาทและผู้จัดการมรดกของ จ. ตามคำสั่งศาล เมื่อ จ. ถึงแก่ความตาย ที่ดินพิพาทย่อมเป็นมรดกตกทอดแก่โจทก์ การที่จำเลยนำหนังสือสัญญาซื้อขายที่ดินซึ่งเป็นเอกสารสิทธิปลอมไปยื่นคำร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดินโดยการครอบครองปรปักษ์และยื่นคำฟ้องบังคับห้ามมิให้โจทก์เกี่ยวข้องกับที่ดินพิพาทและให้จดทะเบียนเปลี่ยนแปลงชื่อในโฉนดที่ดินพิพาทเป็นชื่อของจำเลย โจทก์ย่อมเป็นผู้ได้รับความเสียหายจากการกระทำของจำเลยแล้ว เพราะอาจต้องเสียที่ดินพิพาทไปจากการกระทำดังกล่าว โจทก์จึงเป็นผู้เสียหายตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (4)
เมื่อข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติว่าหนังสือสัญญาซื้อขายที่ดินเป็นเอกสารสิทธิปลอมภาพถ่ายหนังสือสัญญาซื้อขายที่ดินดังกล่าวที่จำเลยถ่ายสำเนามา จึงเป็นเอกสารสิทธิปลอมด้วย เมื่อจำเลยนำภาพถ่ายหนังสือสัญญาซื้อขายที่ดินไปใช้อ้างเป็นเอกสารแนบท้ายคำร้องและคำฟ้องโดยรู้อยู่แล้วว่าหนังสือสัญญาซื้อขายที่ดินเป็นเอกสารปลอมการกระทำของจำเลยจึงเป็นการใช้เอกสารสิทธิปลอมแล้ว
จำเลยนำภาพถ่ายหนังสือสัญญาซื้อขายที่ดินซึ่งเป็นเอกสารสิทธิปลอมไปยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นเพื่อขอให้ศาลมีคำสั่งว่าจำเลยเป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินโดยการครอบครองปรปักษ์ และนำภาพถ่ายหนังสือสัญญาซื้อขายที่ดินดังกล่าวไปยื่นฟ้องโจทก์ต่อศาลชั้นต้นเพื่อบังคับห้ามมิให้โจทก์เกี่ยวข้องกับที่ดินพิพาทและให้จดทะเบียนเปลี่ยนแปลงชื่อในโฉนดที่ดินพิพาทเป็นชื่อของจำเลยต่างวันเวลากัน การกระทำของจำเลยในความผิดฐานใช้เอกสารสิทธิปลอม จึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
เมื่อข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติว่าหนังสือสัญญาซื้อขายที่ดินเป็นเอกสารสิทธิปลอมภาพถ่ายหนังสือสัญญาซื้อขายที่ดินดังกล่าวที่จำเลยถ่ายสำเนามา จึงเป็นเอกสารสิทธิปลอมด้วย เมื่อจำเลยนำภาพถ่ายหนังสือสัญญาซื้อขายที่ดินไปใช้อ้างเป็นเอกสารแนบท้ายคำร้องและคำฟ้องโดยรู้อยู่แล้วว่าหนังสือสัญญาซื้อขายที่ดินเป็นเอกสารปลอมการกระทำของจำเลยจึงเป็นการใช้เอกสารสิทธิปลอมแล้ว
จำเลยนำภาพถ่ายหนังสือสัญญาซื้อขายที่ดินซึ่งเป็นเอกสารสิทธิปลอมไปยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นเพื่อขอให้ศาลมีคำสั่งว่าจำเลยเป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินโดยการครอบครองปรปักษ์ และนำภาพถ่ายหนังสือสัญญาซื้อขายที่ดินดังกล่าวไปยื่นฟ้องโจทก์ต่อศาลชั้นต้นเพื่อบังคับห้ามมิให้โจทก์เกี่ยวข้องกับที่ดินพิพาทและให้จดทะเบียนเปลี่ยนแปลงชื่อในโฉนดที่ดินพิพาทเป็นชื่อของจำเลยต่างวันเวลากัน การกระทำของจำเลยในความผิดฐานใช้เอกสารสิทธิปลอม จึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8870/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน: การกระทำหลายกรรมต่างกัน
พ.ร.ก.การกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ.2527 มาตรา 4 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ผู้ใดโฆษณาหรือประกาศให้ปรากฏต่อประชาชน หรือกระทำด้วยประการใด ๆ ให้ปรากฏแก่บุคคลตั้งแต่สิบคนขึ้นไปว่าในการกู้ยืมเงิน ตนหรือบุคคลใดจะจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนให้ตามพฤติการณ์แห่งการกู้ยืมเงิน ในอัตราที่สูงกว่าอัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงินจะพึงจ่ายได้โดยที่ตนรู้หรือควรรู้อยู่แล้วว่าตนหรือบุคคลนั้นจะนำเงินจากผู้ให้กู้ยืมเงินรายนั้นหรือรายอื่นมาจ่ายหมุนเวียนให้แก่ผู้ให้กู้ยืมเงิน หรือโดยที่ตนรู้หรือควรรู้อยู่แล้วว่าตนหรือบุคคลนั้นไม่สามารถประกอบกิจการใด ๆ โดยชอบด้วยกฎหมายที่จะให้ผลประโยชน์ตอบแทนพอเพียงที่จะนำมาจ่ายในอัตรานั้นได้ และในการนั้นเป็นเหตุให้ตนหรือบุคคลใดได้กู้ยืมเงินไป ผู้นั้นกระทำความผิดฐานกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน" การโฆษณาหรือประกาศให้ปรากฏต่อประชาชนหรือการกระทำด้วยประการใด ๆ ให้ปรากฏแก่บุคคลตั้งแต่สิบคนขึ้นไป อันจะทำให้เป็นความผิดสำเร็จฐานกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน ไม่จำเป็นที่จำเลยทั้งสองจะต้องกระทำการดังกล่าวต่อผู้เสียหายแต่ละคนด้วยตนเองทุกครั้งเป็นคราว ๆ ไป เพียงแต่จำเลยทั้งสองแสดงข้อความดังกล่าวให้ปรากฏแก่ผู้เสียหายแม้เพียงบางคน แล้วเป็นผลให้ประชาชนหลงเชื่อนำเงินมาให้จำเลยทั้งสองกู้ยืม ก็ถือว่าเป็นการกระทำความผิดแล้ว ข้อสำคัญที่ทำให้ความผิดสำเร็จอยู่ที่ในการนั้นเป็นเหตุให้ตนหรือบุคคลใดได้เงินกู้ยืมไปจากผู้ถูกหลอกลวง ทั้งการกระทำดังกล่าวโดยสภาพเป็นการกระทำต่อบุคคลหลายคนจึงอาจกระทำต่อบุคคลเหล่านั้นต่างวาระกันได้ การกระทำที่จะเป็นความผิดกรรมเดียวหรือหลายกรรมย่อมขึ้นอยู่กับลักษณะของการกระทำที่มีเจตนามุ่งกระทำเพื่อให้เกิดผลต่อบุคคลตั้งแต่สิบคนขึ้นไปหรือประชาชนเพียงครั้งเดียวหรือหลายครั้ง มิได้พิจารณาจากองค์ประกอบความผิดที่ต้องกระทำต่อบุคคลตั้งแต่สิบคนขึ้นไปเพียงอย่างเดียวเป็นเครื่องชี้เจตนาของผู้กระทำเมื่อข้อเท็จจริงรับฟังเป็นยุติว่า จำเลยทั้งสองกู้ยืมเงินจากโจทก์ร่วมทั้งสิบเจ็ด ผู้เสียหายที่ 11 และที่ 14 คนละวันเวลาและในสถานที่แตกต่างกัน โดยเจตนาให้เกิดผลต่อโจทก์ร่วมและผู้เสียหายแยกต่างหากจากกัน ดังนั้น การกระทำของจำเลยทั้งสองแต่ละครั้งถือว่าเป็นความผิดสำเร็จสำหรับโจทก์ร่วมและผู้เสียหายแต่ละคนแล้ว จึงเป็นความผิดหลายกรรมตามจำนวนโจทก์ร่วมและผู้เสียหายที่จำเลยทั้งสองร่วมกันหลอกลวง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8053/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขโทษคดีอาญา: ซ่องโจร vs ลักทรัพย์ - การพิจารณาโทษกรรมเดียวและข้อจำกัดในการฎีกา
คดีศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 210, 335 (6) (7) วรรคสอง ประกอบ ป.อ. มาตรา 83 การกระทำของจำเลยเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้ลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปตาม ป.อ. มาตรา 91 ฐานร่วมกันสมคบกันกระทำอันเป็นซ่องโจร จำคุก 1 ปี ฐานร่วมกันลักทรัพย์ จำคุกจำคุก 4 ปี รวมจำคุก 5 ปี ศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษาแก้เป็นว่า ความผิดฐานเป็นซ่องโจรกับความผิดฐานร่วมกันลักทรัพย์เป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษฐานร่วมกันลักทรัพย์อันเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดตาม ป.อ. มาตรา 90 เมื่อหักโทษความผิดฐานเป็นซ่องโจรออกจากโทษที่ศาลชั้นต้นกำหนด คงจำคุก 4 ปี เป็นกรณีศาลอุทธรณ์ภาค 5 แก้ไขเล็กน้อยและยังคงลงโทษจำคุกไม่เกินห้าปี จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8053/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมเดียวความผิดหลายบท: ลักทรัพย์และสมคบกันเป็นซ่องโจร ศาลอุทธรณ์ลดโทษเหลือโทษหนักสุด
ศาลชั้นต้นลงโทษฐานร่วมกันสมคบกันกระทำอันเป็นซ่องโจร จำคุก 1 ปี ฐานร่วมกันลักทรัพย์ จำคุก 4 ปี รวมจำคุก 5 ปี ศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษาแก้เป็นว่า ความผิดฐานเป็นซ่องโจรกับฐานร่วมกันลักทรัพย์เป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษฐานร่วมกันลักทรัพย์อันเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดตาม ป.อ. มาตรา 90 ซึ่งเมื่อหักโทษความผิดฐานเป็นซ่องโจรออกจากโทษที่ศาลชั้นต้นกำหนดคงจำคุก 4 ปี เป็นกรณีศาลอุทธรณ์ภาค 5 แก้ไขเล็กน้อยและยังคงลงโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7978-7979/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษความผิดฐานทำร้ายร่างกายหลายกรรมต่างกัน การรับฟังรายงานพนักงานคุมประพฤติ
การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้พนักงานคุมประพฤติสืบเสาะและพินิจจำเลยทั้งสี่เพื่อต้องการทราบข้อเท็จจริงนำมาประกอบดุลพินิจว่าสมควรกำหนดโทษแก่จำเลยทั้งสี่สถานใด เพียงใด และเพื่อกำหนดวิธีการหรือเงื่อนไขอันสมควรและเหมาะสมที่จะปฏิบัติต่อจำเลยทั้งสี่ต่อไปเท่านั้น มิใช่มีคำสั่งให้พนักงานคุมประพฤติสืบพยานว่าจำเลยทั้งสี่กระทำความผิดตามฟ้องหรือไม่ และการกระทำความผิดของจำเลยทั้งสี่เป็นอย่างไร ทั้งศาลก็ไม่มีอำนาจสั่งให้พนักงานคุมประพฤติปฏิบัติเช่นนั้น แม้ตาม พ.ร.บ.วิธีดำเนินการคุมความประพฤติตาม ป.อ.ฯ มาตรา 13 ศาลจะมีอำนาจรับฟังรายงานของพนักงานคุมประพฤติตามมาตรา 11 โดยไม่ต้องมีพยานบุคคลประกอบก็ตาม แต่เป็นการรับฟังเพื่อประกอบการพิจารณาเรื่องโทษและวิธีการที่จะดำเนินการแก่จำเลยทั้งสี่เท่านั้น มิได้เป็นการรับฟังในฐานะเป็นพยานหลักฐานที่จะนำมาวินิจฉัยการกระทำที่จำเลยทั้งสี่มีเจตนาร่วมกันทำร้ายผู้เสียหายทั้งห้าโดยรวม ไม่ได้แยกว่าใครเป็นใคร อันเป็นการกระทำที่มีเจตนาเดียวกัน เป็นความผิดกรรมเดียวตาม ป.อ. มาตรา 90 นั้น จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย เมื่อตามคำฟ้องของโจทก์บรรยายโดยชัดแจ้งว่า จำเลยทั้งสี่กระทำความผิดฐานทำร้ายร่างกายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหลายกรรมต่างกันซึ่งความผิดทั้งห้าฐานเป็นคนละขั้นตอน อีกทั้งจำเลยทั้งสี่ก็ให้การรับสารภาพตามฟ้องถือได้ว่าจำเลยทั้งสี่มีเจตนากระทำความผิดต่อผู้เสียหายทั้งห้าแยกออกจากกัน การกระทำของจำเลยทั้งสี่จึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกันตาม ป.อ. มาตรา 91
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6965/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานเสพยาเสพติดหลายชนิด แม้เสพในวันเดียวกัน หากมีเจตนาแยกต่างหาก ถือเป็นความผิดหลายกรรม
โจทก์บรรยายฟ้องแยกความผิดฐานเสพฝิ่นและฐานเสพเมทแอมเฟตามีนไว้ต่างหากจากกัน ฟ้องโจทก์จึงประสงค์ให้ลงโทษจำเลยทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปตามที่โจทก์บรรยายฟ้องมาในแต่ละข้อ และความผิดดังกล่าวเป็นการฝ่าฝืนกฎหมายคนละมาตรา เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้องย่อมหมายความว่า จำเลยรับว่าได้กระทำความผิดฐานเสพฝิ่นและฐานเสพเมทแอมเฟตามีนอันเป็นความผิดหลายกรรมต่างกันตามที่โจทก์บรรยายฟ้อง แม้ความผิดดังกล่าวจะมีบทลงโทษในมาตราเดียวกันและจำเลยเสพฝิ่นและเสพเมทแอมเฟตามีนในวันเวลาเดียวกัน ก็ถือว่าการกระทำดังกล่าวเป็นความผิดสองกรรมต่างกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6749/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำกัดโทษรวมคดีความผิดหลายกรรมตาม ป.อ. มาตรา 91: ศาลมีอำนาจจำกัดโทษรวมได้หรือไม่
ศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น และให้ลงโทษจำคุกจำเลยที่ 1 กระทงละไม่เกินห้าปี จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง ที่จำเลยที่ 1 ฎีกาว่า จำเลยที่ 1 มิได้ร่วมกันจำเลยที่ 2 วางแผนหรือรู้เห็นในการฉ้อโกงผู้เสียหาย จำเลยที่ 1 ไม่มีเจตนาหลอกลวงผู้เสียหาย การที่ผู้เสียหายขายผ้าทอมือให้จำเลยทั้งสองเกิดจากการเชื่อถือของผู้เสียหาย การกระทำของจำเลยที่ 1 เป็นความผิดทางแพ่ง ไม่ต้องรับโทษทางอาญาเป็นฎีกาโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ภาค 5 เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
ป.อ. มาตรา 91 บัญญัติว่า "เมื่อปรากฏว่าผู้ใดได้กระทำการอันเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้ศาลลงโทษผู้นั้นทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไป แต่ไม่ว่าจะมีการเพิ่มโทษ ลดโทษ หรือลดมาตราส่วนโทษด้วยหรือไม่ก็ตาม เมื่อรวมโทษทุกกระทงแล้ว โทษจำคุกทั้งสิ้นต้องไม่เกินกำหนดดังต่อไปนี้ (1) สิบปี สำหรับกรณีความผิดกระทงที่หนักที่สุดมีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงไม่เกินสามปี" มีความหมายว่าความผิดหลายกรรมนั้นไม่ว่าจะมีการเพิ่มโทษ ลดโทษ หรือลดมาตราส่วนโทษให้คิดจากโทษที่รวมกันทุกกระทงความผิด แต่ถ้าโทษที่เพิ่มหรือลดยังเกินกว่าที่กำหนดไว้ใน ป.อ. มาตรา 91 (1) แล้ว จะลงโทษจำคุกได้ไม่เกินกว่า 10 ปี บทบัญญัติดังกล่าวไม่ได้กำหนดให้เป็นดุลพินิจของศาลที่จะลงโทษจำคุกต่ำกว่า 10 ปีได้
ป.อ. มาตรา 91 บัญญัติว่า "เมื่อปรากฏว่าผู้ใดได้กระทำการอันเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้ศาลลงโทษผู้นั้นทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไป แต่ไม่ว่าจะมีการเพิ่มโทษ ลดโทษ หรือลดมาตราส่วนโทษด้วยหรือไม่ก็ตาม เมื่อรวมโทษทุกกระทงแล้ว โทษจำคุกทั้งสิ้นต้องไม่เกินกำหนดดังต่อไปนี้ (1) สิบปี สำหรับกรณีความผิดกระทงที่หนักที่สุดมีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงไม่เกินสามปี" มีความหมายว่าความผิดหลายกรรมนั้นไม่ว่าจะมีการเพิ่มโทษ ลดโทษ หรือลดมาตราส่วนโทษให้คิดจากโทษที่รวมกันทุกกระทงความผิด แต่ถ้าโทษที่เพิ่มหรือลดยังเกินกว่าที่กำหนดไว้ใน ป.อ. มาตรา 91 (1) แล้ว จะลงโทษจำคุกได้ไม่เกินกว่า 10 ปี บทบัญญัติดังกล่าวไม่ได้กำหนดให้เป็นดุลพินิจของศาลที่จะลงโทษจำคุกต่ำกว่า 10 ปีได้