พบผลลัพธ์ทั้งหมด 14 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1509/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
มติลด/เพิ่มทุนผิดระเบียบ: การออกเสียงของผู้ถือหุ้นที่มีส่วนได้เสีย, การล้างผลขาดทุน, และผลกระทบต่อสิทธิผู้ถือหุ้นรายย่อย
การลดทุนจดทะเบียนด้วยวิธีการลดจำนวนหุ้นเพื่อนําทุนที่ชําระไว้แล้วไปตัดผลขาดทุนสะสมนั้น สามารถกระทำได้ แต่เนื่องจากหุ้นของผู้คัดค้านในขณะนั้นมีการชําระค่าหุ้นไม่เท่ากัน ซึ่งส่วนที่ขาดทุนสะสมได้เกิดขึ้นก่อนการลงมติพิเศษให้ลดทุนแล้ว ผู้ถือหุ้นที่ยังมิได้ส่งเงินใช้เต็มจำนวนค่าหุ้นจะต้องรับผิดในจำนวนเงินที่ยังมิได้ส่งใช้ให้ครบถ้วนต่อการขาดทุนที่เกิดขึ้นแล้ว ดังนั้น วิธีการที่ถูกต้องตามกฎหมายและเป็นธรรมต่อผู้ถือหุ้นทุกฝ่าย ก่อนที่จะลดทุนโดยการลดจำนวนหุ้นลง ผู้คัดค้านจะต้องให้ผู้ถือหุ้นที่ยังชําระค่าหุ้นไม่เต็มจำนวนค่าหุ้นชําระค่าหุ้นให้เต็มตามมูลค่าหุ้นเสียก่อน เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ผู้ถือหุ้นทุกรายที่ถูกลดจำนวนหุ้นลงต้องสูญเสียเงินลงทุนในจำนวนที่เท่ากันในแต่ละหุ้น แต่กรณีนี้ขณะที่มีมติพิเศษให้ลดทุน หุ้นที่ถูกลดลงไปนั้นมีการชําระค่าหุ้นไม่เท่ากัน คือ หุ้นที่ชําระเต็มตามมูลค่าหุ้นแล้ว 25 บาท เมื่อถูกลดจำนวนหุ้นลง ผู้ถือหุ้นในส่วนนี้ก็ต้องสูญเสียเงินลงทุนไปหุ้นละ 25 บาท แต่ในส่วนหุ้นที่ชําระไม่เต็มตามมูลค่าหุ้นหรือชําระเพียง 6.25 บาท เมื่อถูกลดจำนวนหุ้นลงผู้ถือหุ้นในส่วนนี้ก็จะสูญเสียเงินลงทุนเพียง 6.25 บาท ซึ่งหุ้นที่มีการชําระค่าหุ้นเพียง 6.25 บาท ถือโดยบริษัท ท. เพียงรายเดียว เมื่อลดทุนโดยการลดจำนวนหุ้นลงจะทำให้บริษัท ท. ได้รับประโยชน์โดยไม่ต้องชําระค่าหุ้นในส่วนที่ถูกลดจำนวนลงเพราะเมื่อจำนวนหุ้นถูกลดลงไปแล้วก็ไม่มีผลผูกพันที่จะต้องชําระค่าหุ้นอีกต่อไป คงต้องชําระค่าหุ้นเฉพาะหุ้นที่ยังเหลืออยู่เพื่อให้เต็มตามมูลค่าหุ้นเท่านั้น ดังนั้น บริษัท ท. จึงเป็นผู้ถือหุ้นเพียงรายเดียวที่ได้รับประโยชน์จากมติการลดทุนโดยลดจำนวนหุ้นครั้งนี้ บริษัท ท. จึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียเป็นพิเศษในการลงมติพิเศษเพื่อลดทุนและแก้ไขหนังสือบริคณห์สนธิ อันต้องห้ามมิให้ออกเสียงลงคะแนนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1185 เมื่อไม่นับคะแนนเสียงของบริษัท ท. เข้าด้วยแล้ว คะแนนเสียงที่ได้รับก็ไม่ถึงจำนวนสามในสี่ของจำนวนเสียงทั้งหมดของผู้ถือหุ้นที่มาประชุมและมีสิทธิออกเสียงลงคะแนนตามมาตรา 1194 ถือไม่ได้ว่าเป็นมติพิเศษให้ลดทุนและแก้ไขหนังสือบริคณห์สนธิตามมาตรา 1145 และมาตรา 1224 ประกอบมาตรา 1194 แต่เป็นมติพิเศษอันผิดระเบียบ กรณีมีเหตุที่จะต้องเพิกถอนมติที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นของผู้คัดค้านในวาระที่ 3 และที่ 4 เรื่องพิจารณาลดทุนจดทะเบียนและแก้ไขหนังสือบริคณห์สนธิเพื่อให้สอดคล้องกับการลดทุน และเมื่อเป็นดังนี้แล้ว การลงมติในวาระที่ 5 และที่ 6 อันเป็นการลงมติให้เพิ่มทุนจดทะเบียนของผู้คัดค้านและแก้ไขหนังสือบริคณห์สนธิของผู้คัดค้านให้สอดคล้องกับการเพิ่มทุน ซึ่งต้องอาศัยมติให้ลดทุนจดทะเบียนของผู้คัดค้านและแก้ไขหนังสือบริคณห์สนธิของผู้คัดค้านให้สอดคล้องกับการลดทุนในวาระที่ 3 และที่ 4 เสียก่อน ย่อมมีผลเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมายไปด้วย กรณีจึงมีเหตุที่จะต้องเพิกถอนมติที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นของผู้คัดค้านในวาระที่ 5 และที่ 6 เช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1507/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลดทุนต้องเป็นธรรมต่อผู้ถือหุ้นทุกราย ห้ามผู้ถือหุ้นที่มีส่วนได้เสียออกเสียง และมติพิเศษต้องเป็นไปตามกฎหมาย
การลดทุนจดทะเบียนเพื่อล้างผลขาดทุนสะสมของบริษัทสามารถกระทำได้ แต่การลงมติในการประชุมใหญ่ต้องกระทำให้ถูกต้องตาม ป.พ.พ. ว่าด้วยการประชุมใหญ่ ในการลดทุนโดยการลดมูลค่าหุ้นที่ตราไว้จากหุ้นละ 100 บาท เป็นหุ้นละ 25 บาท ผู้ถือหุ้นทุกรายจะต้องถูกลดมูลค่าหุ้นที่ได้ชำระแล้วในจำนวนที่เท่ากัน แต่ในส่วนของหุ้นที่ยังชำระไม่เต็มมูลค่าหุ้นโดยชำระเพียง 25 บาท การลดทุนจดทะเบียนโดยการลดมูลค่าหุ้นในหุ้นที่มีการชำระค่าหุ้นที่ไม่เท่ากันนี้ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ถือหุ้นไม่เท่ากัน โดยผู้ถือหุ้นที่ชำระค่าหุ้นเต็มมูลค่าแล้วจะสูญเสียเงินลงทุนไปหุ้นละ 75 บาท ในขณะที่ผู้ถือหุ้นที่ชำระค่าหุ้นไปเพียงหุ้นละ 25 บาท ก่อนลดทุน จะลดมูลค่าหุ้นที่ชำระแล้วจาก 25 บาท เป็นชำระค่าหุ้นแล้วหุ้นละ 6.25 บาท และผู้คัดค้านเรียกให้ชำระค่าหุ้นให้เต็มจำนวนอีกเพียงหุ้นละ 18.75 บาท เท่ากับผู้ถือหุ้นที่ชำระค่าหุ้นเพียงหุ้นละ 25 บาท ก่อนลดทุน สูญเสียเงินลงทุนไปเพียงหุ้นละ 18.75 บาท อันเป็นจำนวนที่ต่างกันมาก ไม่เป็นธรรมต่อผู้ถือหุ้นที่ชำระค่าหุ้นเต็มมูลค่าหุ้นก่อนลดทุน และการขาดทุนสะสมได้เกิดขึ้นแล้วก่อนการลงมติพิเศษให้ลดทุนผู้ถือหุ้นที่ยังมิได้ส่งเงินใช้เต็มจำนวนค่าหุ้นจะต้องรับผิดในจำนวนเงินที่ยังมิได้ส่งใช้ให้ครบถ้วนนั้นต่อการขาดทุนที่เกิดขึ้นแล้ว วิธีการที่ถูกต้องตามกฎหมายและเป็นธรรมแก่ผู้ถือหุ้นทุกคน ผู้คัดค้านจะต้องดำเนินการให้ผู้ถือหุ้นทุกรายชำระค่าหุ้นให้เต็มจำนวนค่าหุ้นเสียก่อนเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ผู้ถือหุ้นทุกรายที่จะต้องสูญเสียเงินลงทุนในจำนวนที่เท่ากันในแต่ละหุ้น กรณีเป็นที่แน่ชัดว่าบริษัท ท. ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นที่ยังชำระค่าหุ้นไม่เต็มมูลค่าเพียงรายเดียวโดยชำระเพียงหุ้นละ 25 บาท ก่อนการลดทุน เป็นผู้ได้รับประโยชน์จากมติพิเศษในการประชุมนี้เพียงรายเดียว บริษัท ท. จึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียเป็นพิเศษในการลงมติพิเศษเพื่อลดทุนและแก้ไขหนังสือบริคณห์สนธิ จึงต้องห้ามมิให้ออกเสียงลงคะแนนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1185 เมื่อไม่นับคะแนนเสียงของบริษัท ท. เข้าด้วยแล้ว มติดังกล่าวก็ไม่ใช่คะแนนเสียงข้างมากไม่ต่ำกว่าสามในสี่ของจำนวนเสียงทั้งหมดของผู้ถือหุ้นที่มาประชุมและมีสิทธิออกเสียงลงคะแนนตามมาตรา 1194 มติดังกล่าวจึงไม่เป็นมติพิเศษให้ลดทุนและแก้ไขหนังสือบริคณห์สนธิตามมาตรา 1145 และมาตรา 1224 ประกอบมาตรา 1194 แต่เป็นมติพิเศษอันผิดระเบียบ กรณีมีเหตุเพิกถอนมติที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นของผู้คัดค้านในวาระพิจารณาลดทุนจดทะเบียนและพิจารณาแก้ไขหนังสือบริคณห์สนธิเพื่อให้สอดคล้องกับการลดทุน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4564/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
มติพิเศษเพิ่มทุน: การลงคะแนนเสียงและการถอนคำขอ
การประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นเรื่องการเพิ่มทุนของบรรษัทซึ่งต้องใช้มติพิเศษเมื่อที่ประชุมครั้งแรกลงคะแนนเสียงโดยวิธีชูมือ ผู้ถือหุ้นบางคนทักท้วงการลงคะแนนเสียงและขอให้ลงคะแนนลับ ประธานที่ประชุมไม่ได้แสดงว่าการลงคะแนนเสียงดังกล่าวเป็นมติที่ผ่านไปแล้วตามข้อบังคับของบรรษัท จึงยังถือไม่ได้ว่าเป็นมติของที่ประชุมเป็นเด็ดขาดการที่ประธานที่ประชุมให้มีการลงคะแนนเสียงด้วยวิธีชูมืออีกครั้งหนึ่ง เมื่อมีการถอนคำขอให้ลงคะแนนลับแล้ว ผลการประชุมปรากฏว่า มีผู้ถือหุ้นในที่ประชุมทั้งหมด 78 คน ออกเสียงอนุมัติการเพิ่มทุน 63 เสียง จึงเป็นการลงมติในที่ประชุมครั้งแรกด้วยคะแนนเสียงข้างมากไม่ต่ำกว่าสามในสี่ของจำนวนเสียงทั้งหมดแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4564/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
มติที่ประชุมผู้ถือหุ้นต้องใช้คะแนนเสียงข้างมากไม่ต่ำกว่าสามในสี่ การลงคะแนนใหม่หลังทักท้วงเป็นไปตามกฎหมาย
การประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นเรื่องการเพิ่มทุนของบริษัทซึ่งต้องใช้มติพิเศษ เมื่อที่ประชุมครั้งแรกลงคะแนนเสียงโดยวิธีชูมือผู้ถือหุ้นบางคนทักท้วงการลงคะแนนเสียงและขอให้ลงคะแนนลับประธานที่ประชุมไม่ได้แสดงว่าการลงคะแนนเสียงดังกล่าวเป็นมติที่ผ่านไปแล้วตามข้อบังคับของบริษัท จึงยังถือไม่ได้ว่าเป็นมติของที่ประชุมเป็นเด็ดขาด การที่ประธานที่ประชุมให้มีการลงคะแนนเสียงด้วยวิธีชูมืออีกครั้งหนึ่ง เมื่อมีการถอนคำขอให้ลงคะแนนลับแล้วผลการประชุมปรากฏว่า มีผู้ถือหุ้นในที่ประชุมทั้งหมด 78 คนออกเสียงอนุมัติการเพิ่มทุน 63 เสียง จึงเป็นการลงมติในที่ประชุมครั้งแรกด้วยคะแนนเสียงข้างมากไม่ต่ำกว่าสามในสี่ของจำนวนเสียงทั้งหมดแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2145/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขข้อบังคับบริษัทต้องใช้มติพิเศษตามกฎหมาย แม้ข้อบังคับบริษัทจะกำหนดไว้ต่างจากกฎหมายก็ใช้ไม่ได้
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1145 ห้ามมิให้เพิ่มเติมเปลี่ยนแปลงข้อบังคับของบริษัท เว้นแต่ทำโดยมติพิเศษของที่ประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้น ฉะนั้น การแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อบังคับของบริษัทโดยมติธรรมดาจึงใช้ไม่ได้ หากมีข้อบังคับของบริษัทอนุญาตให้ทำได้ก็ไม่มีผลบังคับ เพราะต้องห้ามตามกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2145/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อบังคับบริษัทต้องเป็นไปตามกฎหมาย แม้ข้อบังคับบริษัทจะอนุญาตให้ทำได้โดยมติธรรมดา
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1145 ห้ามมิให้เพิ่มเติมเปลี่ยนแปลงข้อบังคับของบริษัท เว้นแต่ทำโดยมติพิเศษของที่ประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้น ฉะนั้น การแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อบังคับของบริษัทโดยมติธรรมดาจึงใช้ไม่ได้ หากมีข้อบังคับของบริษัทอนุญาตให้ทำได้ก็ไม่มีผลบังคับ เพราะต้องห้ามตามกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2576/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นเพิ่มทุนที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย และประเด็นเรื่องอายุความฟ้องร้อง
โจทก์ได้เข้าร่วมประชุมในการประชุมใหญ่วิสามัญครั้งแรกของบริษัทจำเลย ซึ่งที่ประชุมได้ลงมติเป็นเอกฉันท์ให้ผู้ที่เป็นเจ้าของรถร่วมนำรถประจำทางมาลงหุ้นแทนเงิน โดยถือเสมือนหนึ่งว่าได้ใช้เงินเต็มมูลค่าหุ้นแล้ว รวม 6,355 หุ้น ต่อมาได้มีการประชุมใหญ่วิสามัญครั้งที่ 2 รับรองรายงานการประชุมครั้งแรกโดยที่ประชุมขอให้ลงมติยืนยันการประชุมครั้งแรกอีกครั้ง ที่ประชุมมีมติเป็นเอกฉันท์อีก แม้โจทก์จะมิได้เข้าประชุมครั้งหลังนี้ก็ต้องถือว่าที่ประชุมใหญ่ของบริษัทจำเลยได้มีมติพิเศษของประชุมผู้ถือหุ้นที่จะเพิ่มทุนอีก 6,345 หุ้น โดยการนำรถประจำทางมาใช้แทนเงินและถือเสมือนหนึ่งว่าได้ใช้เงินเต็มมูลค่าหุ้นแล้ว เมื่อโจทก์กล่าวอ้างว่าบริษัทจำเลยรับรถยนต์ที่ได้ลงหุ้นไว้แล้วมาลงหุ้นใหม่ และรับรถยนต์ที่อยู่ระหว่างเช่าซื้อมาเป็นหุ้นใหม่อีกก็เท่ากับโจทก์กล่าวหาว่า การลงมติของที่ประชุมฝ่าฝืนกฎหมายและโจทก์ได้มีคำขอท้ายฟ้องให้เพิกถอนการจดทะเบียนเพิ่มทุนกรณีจึงเป็นเรื่องเกี่ยวกับการร้องขอให้เพิกถอน มติของที่ประชุมใหญ่ที่ลงมติฝ่าฝืนกฎหมาย ซึ่งมาตรา1195 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บัญญัติว่า โจทก์ต้องร้องขอให้เพิกถอนภายใน 1 เดือนนับตั้งแต่วันลงมติเมื่อโจทก์ไม่ร้องเสียในกำหนดดังกล่าว โจทก์จึงหมดสิทธิที่จะร้องขอต่อศาล
เรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน เมื่อศาลเห็นสมควร ศาลก็ยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ โดยคู่ความมิได้ยกขึ้นต่อสู้หรือกะประเด็นไว้
เรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน เมื่อศาลเห็นสมควร ศาลก็ยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ โดยคู่ความมิได้ยกขึ้นต่อสู้หรือกะประเด็นไว้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2576/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นและการหมดสิทธิเรียกร้องตามมาตรา 1195 ป.พ.พ.
โจทก์ได้เข้าร่วมประชุมในการประชุมใหญ่วิสามัญครั้งแรกของบริษัทจำเลย ซึ่งที่ประชุมได้ลงมติเป็นเอกฉันท์ให้ผู้ที่เป็นเจ้าของรถร่วมนำรถประจำทางมาลงหุ้นแทนเงิน โดยถือเสมือนหนึ่งว่าได้ใช้เงินเต็มมูลค่าหุ้นแล้ว รวม 6,355 หุ้น ต่อมาได้มีการประชุมใหญ่วิสามัญครั้งที่ 2 รับรองรายงานการประชุมครั้งแรกโดยที่ประชุมขอให้ลงมติยืนยันการประชุมครั้งแรกอีกครั้ง ที่ประชุมมีมติเป็นเอกฉันท์อีก แม้โจทก์จะมิได้เข้าประชุมครั้งหลังนี้ก็ต้องถือว่าที่ประชุมใหญ่ของบริษัทจำเลยได้มีมติพิเศษของประชุมผู้ถือหุ้นที่จะเพิ่มทุนอีก 6,345 หุ้น โดยการนำรถประจำทางมาใช้แทนเงินและถือเสมือนหนึ่งว่าได้ใช้เงินเต็มมูลค่าหุ้นแล้ว เมื่อโจทก์กล่าวอ้างว่าบริษัทจำเลยรับรถยนต์ที่ได้ลงหุ้นไว้แล้วมาลงหุ้นใหม่ และรับรถยนต์ที่อยู่ระหว่างเช่าซื้อมาเป็นหุ้นใหม่อีกก็เท่ากับโจทก์กล่าวหาว่า การลงมติของที่ประชุมฝ่าฝืนกฎหมายและโจทก์ได้มีคำขอท้ายฟ้องให้เพิกถอนการจดทะเบียนเพิ่มทุนกรณีจึงเป็นเรื่องเกี่ยวกับการร้องขอให้เพิกถอนมติของที่ประชุมใหญ่ที่ลงมติฝ่าฝืนกฎหมาย ซึ่งมาตรา1195 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บัญญัติว่า โจทก์ต้องร้องขอให้เพิกถอนภายใน 1 เดือนนับตั้งแต่วันลงมติ เมื่อโจทก์ไม่ร้องเสียในกำหนดดังกล่าว โจทก์จึงหมดสิทธิที่จะร้องขอต่อศาล
เรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน เมื่อศาลเห็นสมควร ศาลก็ยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ โดยคู่ความมิได้ยกขึ้นต่อสู้หรือกะประเด็นไว้
เรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน เมื่อศาลเห็นสมควร ศาลก็ยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ โดยคู่ความมิได้ยกขึ้นต่อสู้หรือกะประเด็นไว้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 310/2510
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจทายาทฟ้องเพิกถอนมติที่ประชุมใหญ่ และการแต่งตั้งกรรมการบริษัทที่มิชอบ
เจ้ามรดกมีหุ้นอยู่ในบริษัทจำเลย เมื่อเจ้ามรดกตายหุ้นของเจ้ามรดกย่อมตกมาเป็นของทายาททันทีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1599 และ 1600 ทายาท จึงมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนมติพิเศษของที่ประชุมใหญ่ ตามมาตรา 1195 ได้ แม้ว่าบริษัทจำเลยจะยังไม่ได้จดทะเบียนทายาทเป็นผู้ถือหุ้นก็ตาม
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1194 หมายความว่าการประชุมครั้งที่ 2 ต้องประชุมกันในระยะเวลาไม่น้อยกว่า 14 วัน และไม่มากกว่า 6 สัปดาห์ นับแต่วันประชุมครั้งที่ 1(มิใช่ว่าต้องมีคำบอกกล่าวนัดประชุมครั้งที่ 2 ในระยะเวลาไม่น้อยกว่า 14 วัน นับตั้งแต่วันประชุมครั้งที่ 1)
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1190 เมื่อผู้ถือหุ้นสองคนขอให้ลงคะแนนลับแล้ว บริษัทจะต้องลงคะแนนลับ หากฝ่าฝืนมติของที่ประชุมย่อมขัดต่อมาตรา 1194 เมื่อโจทก์ในฐานะผู้ถือหุ้นร้องขอ ศาลก็สั่งเพิกถอนมติขอ ที่ประชุมใหญ่นี้ได้ตามมาตรา 1195
การขอให้ลงคะแนนลับไม่ใช่เป็นการเข้าประชุมแทนผู้ถือหุ้นและการขอให้ลงคะแนนลับไม่มีกฎหมายบังคับว่าผู้ถือหุ้นจะต้องไปร่วมประชุมด้วย
กรรมการของบริษัทผู้หนึ่งจะอยู่ในตำแหน่งได้ถึงสิ้นปี 2497 เมื่อกรรมการผู้นั้นตายลง กรรมการที่เหลือเลือกผู้อื่นเป็นกรรมการแทนเมื่อ พ.ศ. 2505 ดังนี้ ย่อมขัดกับมาตรา 1155
เฉพาะแต่ที่ประชุมใหญ่เท่านั้น อาจตั้งหรือถอนกรรมการได้ตามมาตรา 1151 ฉะนั้น เมื่อบริษัทไม่มีการประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นจะมาฟ้องขอให้เพิกถอนการตั้งกรรมการมิได้ (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 9/2510)
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1194 หมายความว่าการประชุมครั้งที่ 2 ต้องประชุมกันในระยะเวลาไม่น้อยกว่า 14 วัน และไม่มากกว่า 6 สัปดาห์ นับแต่วันประชุมครั้งที่ 1(มิใช่ว่าต้องมีคำบอกกล่าวนัดประชุมครั้งที่ 2 ในระยะเวลาไม่น้อยกว่า 14 วัน นับตั้งแต่วันประชุมครั้งที่ 1)
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1190 เมื่อผู้ถือหุ้นสองคนขอให้ลงคะแนนลับแล้ว บริษัทจะต้องลงคะแนนลับ หากฝ่าฝืนมติของที่ประชุมย่อมขัดต่อมาตรา 1194 เมื่อโจทก์ในฐานะผู้ถือหุ้นร้องขอ ศาลก็สั่งเพิกถอนมติขอ ที่ประชุมใหญ่นี้ได้ตามมาตรา 1195
การขอให้ลงคะแนนลับไม่ใช่เป็นการเข้าประชุมแทนผู้ถือหุ้นและการขอให้ลงคะแนนลับไม่มีกฎหมายบังคับว่าผู้ถือหุ้นจะต้องไปร่วมประชุมด้วย
กรรมการของบริษัทผู้หนึ่งจะอยู่ในตำแหน่งได้ถึงสิ้นปี 2497 เมื่อกรรมการผู้นั้นตายลง กรรมการที่เหลือเลือกผู้อื่นเป็นกรรมการแทนเมื่อ พ.ศ. 2505 ดังนี้ ย่อมขัดกับมาตรา 1155
เฉพาะแต่ที่ประชุมใหญ่เท่านั้น อาจตั้งหรือถอนกรรมการได้ตามมาตรา 1151 ฉะนั้น เมื่อบริษัทไม่มีการประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นจะมาฟ้องขอให้เพิกถอนการตั้งกรรมการมิได้ (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 9/2510)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 310/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องทายาทผู้ถือหุ้น, การลงคะแนนลับ, การเพิกถอนมติที่ประชุมใหญ่, และการแต่งตั้งกรรมการบริษัท
เจ้ามรดกมีหุ้นอยู่ในบริษัทจำเลย เมื่อเจ้ามรดกตายหุ้นของเจ้ามรดกย่อมตกมาเป็นของทายาททันทีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณชิย์ มาตรา 1599 และ 1600 ทายาทจึงมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนมติพิเศษของที่ประชุมใหญ่ ตามมาตรา 1195 ได้ แม้ว่าบริษัทจำเลยจะยังไม่ได้จดทะเบียนทายาทเป็นผู้ถือหุ้นก็ตาม
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1194 หมายความว่าการประชุมครั้งที่ 2 ต้องประชุมกันในระยะเวลาไม่น้อยกว่า 14 วัน และไม่มากกว่า 6 สัปดาห์ นับแต่วันประชุมครั้งที่ 1 (มิใช่ว่าต้องมีคำบอกกล่าวนัดประชุมครั้งที่ 2 ในระยะเวลาไม่น้อยกว่า 14 วัน นับตั้งแต่วันประชุมครั้งที่ 1)
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1190 เมื่อผู้ถือหุ้นสองคนของให้ลงคะแนนลับแล้ว บริษัทจะต้องลงคะแนนลับ หากฝ่าฝืนมติของที่ประชุมย่อมชัดต่อมาตรา 1194 เมื่อโจทก์ในฐานะผู้ถือหุ้นร้องขอ ศาลก็สั่งเพิกถอนมติของที่ประชุมใหญ่นี้ได้ตามมาตรา 1195
การขอให้ลงคะแนนลับไม่ใช่เป็นการเข้าประชุมแทนผู้ถือหุ้น และการขอให้ลงคะแนนลับไม่มีกฎหมายบังคับว่าผู้ถือหุ้นจะต้องไปร่วมประชุมด้วย
กรรมการของบริษัทผู้หนึ่งจะอยู่ในตำแหน่งได้ถึงสิ้นปี 2497 เมื่อกรรมการผู้นั้นตายลง กรรมการที่เหลือเลือกผู้อื่นเป็นกรรมการแทนเมื่อ พ.ศ. 2505 ดังนี้ ย่อมขัดกับมาตรา 1155
เฉพาะแต่ที่ประชุมใหญ่เท่านั้น อาจตั้งหรือถอนกรรมการได้ตามมาตรา 1151 ฉะนั้น เมื่อบริษัทไม่มีการประชุมใหญ่ ผู้ถือหุ้นจะมาฟ้องขอให้เพิกถอนการตั้งกรรมการมิได้ (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 9/2510)
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1194 หมายความว่าการประชุมครั้งที่ 2 ต้องประชุมกันในระยะเวลาไม่น้อยกว่า 14 วัน และไม่มากกว่า 6 สัปดาห์ นับแต่วันประชุมครั้งที่ 1 (มิใช่ว่าต้องมีคำบอกกล่าวนัดประชุมครั้งที่ 2 ในระยะเวลาไม่น้อยกว่า 14 วัน นับตั้งแต่วันประชุมครั้งที่ 1)
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1190 เมื่อผู้ถือหุ้นสองคนของให้ลงคะแนนลับแล้ว บริษัทจะต้องลงคะแนนลับ หากฝ่าฝืนมติของที่ประชุมย่อมชัดต่อมาตรา 1194 เมื่อโจทก์ในฐานะผู้ถือหุ้นร้องขอ ศาลก็สั่งเพิกถอนมติของที่ประชุมใหญ่นี้ได้ตามมาตรา 1195
การขอให้ลงคะแนนลับไม่ใช่เป็นการเข้าประชุมแทนผู้ถือหุ้น และการขอให้ลงคะแนนลับไม่มีกฎหมายบังคับว่าผู้ถือหุ้นจะต้องไปร่วมประชุมด้วย
กรรมการของบริษัทผู้หนึ่งจะอยู่ในตำแหน่งได้ถึงสิ้นปี 2497 เมื่อกรรมการผู้นั้นตายลง กรรมการที่เหลือเลือกผู้อื่นเป็นกรรมการแทนเมื่อ พ.ศ. 2505 ดังนี้ ย่อมขัดกับมาตรา 1155
เฉพาะแต่ที่ประชุมใหญ่เท่านั้น อาจตั้งหรือถอนกรรมการได้ตามมาตรา 1151 ฉะนั้น เมื่อบริษัทไม่มีการประชุมใหญ่ ผู้ถือหุ้นจะมาฟ้องขอให้เพิกถอนการตั้งกรรมการมิได้ (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 9/2510)