คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.คณะสงฆ์ พ.ศ.2484 ม. 43

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 15 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1488/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจเจ้าอาวาสในการเพิกถอนตัวแทนจัดการศาสนสมบัติ และการตีความระเบียบการจัดการตาม พ.ร.บ.คณะสงฆ์
คำว่า"พระภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง" ในมาตรา 26 แห่งสังฆาณัติระเบียบพระคณาธิการ พ.ศ. 2486 ย่อมหมายความรวมถึงพระภิกษุในวัดอื่นด้วย
ระเบียบว่าด้วยการจัดการศาสนสมบัติของวัดตามมาตรา 43 แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2484 จะต้องเป็นระเบียบตามมาตรา 49 ระเบียบเกี่ยวกับการที่วัดต่าง ๆ จะถอนการจัดการดังกล่าวนอกจากไม่ใช่ระเบียบซึ่งมีมาแต่เดิม และยังไม่ใช่ระเบียบที่ได้ตราขึ้นตามมาตรา 49 ดังนี้ การที่วัดโจทก์ถอนกรมการศาสนาจากการเป็นตัวแทนโดยไม่ขออนุมัติคณะสังฆมนตรี ก็เป็นการเพิกถอนที่ใช้ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 827

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1631/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจจัดการทรัพย์สินของวัด และอำนาจฟ้องร้อง กรณีการก่อสร้างที่ไม่ได้รับอนุญาต
วัดซึ่งเป็นนิติบุคคลย่อมมีอำนาจจัดการทรัพย์สมบัติของวัดได้ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2484 มาตรา 43 แต่ศาสนสมบัติของวัดก็ต้องเป็นไปตามระเบียบซึ่งกระทรวงศึกษาธิการได้ตราไว้ด้วยความเห็นชอบของคณะสังฆมนตรีตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2484 มาตรา 49
ฟ้องว่าวัดโจทก์จ้างผู้รับเหมาปลูกสร้างตึกแถวในที่ดินของวัด ระหว่างก่อสร้างจำเลยเข้าดำเนินงานก่อสร้างเอง โดยโจทก์ไม่ยินยอม เมื่อจำเลยต่อสู้ว่า จำเลยมีอำนาจจัดการได้ตามกฎหมาย ตามระเบียบการจัดประโยชน์ศาสนสมบัติ และต่อสู้ว่า จำเลยทำตามคำสั่งของสังฆายกและสังฆมนตรีว่าการองค์การปกครองซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาของเจ้าอาวาสวัดโจทก์ดังนี้ กรณีเป็นเรื่องที่จะต้องฟังข้อเท็จจริงต่อไปและโจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยโดยลำพังได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1631/2503

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจจัดการทรัพย์สินวัด และสิทธิในการฟ้องคดีละเมิดต่อการก่อสร้างที่ไม่ได้รับอนุญาต
วัดซึ่งเป็นนิติบุคคลย่อมมีอำนาจจัดการทรัพย์สมบัติของวัดได้ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.2484 มาตรา 43 แต่ศาสนสมบัติของวัดก็ต้องเป็นไปตามระเบียบซึ่งกระทรวงศึกษาธิการได้ตราไว้ด้วยความเห็นชอบของคณะสังฆมนตรีตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.2484 มาตรา 49
ฟ้องว่าวัดโจทก์จ้างผู้รับเหมาปลูกสร้างตึกแถวในที่ดินของวัดระหว่างก่อสร้างจำเลยเข้าดำเนินงานก่อสร้างเอง โดยโจทก์ไม่ยินยอม เมื่อจำเลยต่อสู้ว่าจำเลยมีอำนาจจัดการได้ตามกฎหมาย ตามระเบียบการจัดประโยชน์ศาสนสมบัติและต่อสู้ว่าจำเลยทำตามคำสั่งของสังฆนายกและสังฆมนตรีว่าการองค์การปกครองซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาของเจ้าอาวาสวัดโจทก์ ดังนี้ กรณีเป็นเรื่องที่จะต้องฟังข้อเท็จจริงต่อไปและโจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยโดยลำพังได้ ไม่จำเป็นต้องฟ้องสังฆนายกหรือสังฆมนตรีว่าการองค์การปกครองด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1567/2500 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจเจ้าอาวาสฟ้องคดี, การกำหนดค่าเสียหายจากการละเมิด, และการแก้ไขคำพิพากษา
คดีที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ขับไล่จำเลยและให้รื้อถอนบ้านเรือนออกไปจากที่พิพาทและไม่บังคับให้จำเลยใช้ค่าเสียหายตามที่โจทก์ขอ แต่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ให้จำเลยใช้ค่าเสียหาย 100 บาทและเดือนต่อ ๆ ไปอีกเดือนละ 2 บาท นับแต่วันฟ้องจนกว่าจำเลยจะรื้อถอนเรือนออกไปจากที่พิพาท ดังนี้เป็นแก้น้อยฎีกาในข้อเท็จจริงไม่ได้
ตาม พ.ร.บ. ปกครองคณะสงฆ์ ม. 43 เจ้าอาวาสมีหน้าที่บำรุงรักษาจัดการวัดและสมบัติของวัด จึงมีอำนาจฟ้องคดีได้เอง หรือจะมอบอำนาจให้ผู้ใดฟ้องความแทนก็ได้
ใบมอบอำนาจท้ายฟ้องถือเป็นส่วนหนึ่งของฟ้อง การวินิจฉัยเกี่ยวกับใบมอบอำนาจจึงไม่เป็นการวินิจฉัยคลาดเคลื่อนไปจากฟ้อง (นอกฟ้อง)
เมื่อข้อเท็จจริงฟังว่าการกระทำของจำเลยเป็นการละเมิด แม้โจทก์จะนำสืบความเสียหายไม่ได้ว่ามีจำนวนแค่ใดแน่นอน ศาลก็มีอำนาจกำหนดค่าเสียหายให้ได้ตามที่เห็นสมควรตาม ป.พ.พ. ม. 438.
(ฎีกาที่ 1499/2498 และ 1494/2498)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1567/2500

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องขับไล่และเรียกค่าเสียหายจากการบุกรุกศาสนสมบัติ ศาลมีอำนาจกำหนดค่าเสียหายแม้โจทก์มิได้นำสืบ
คดีที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ขับไล่จำเลยและให้รื้อถอนบ้านเรือนออกไปจากที่พิพาทและไม่บังคับให้จำเลยใช้ค่าเสียหายตามที่โจทก์ขอ แต่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ให้จำเลยใช้ค่าเสียหาย 100 บาทและเดือนต่อๆไปอีกเดือนละ 2 บาทนับแต่วันฟ้องจนกว่าจำเลยจะรื้อถอนเรือนออกไปจากที่พิพาท ดังนี้เป็นแก้น้อยฎีกาในข้อเท็จจริงไม่ได้
ตาม พระราชบัญญัติปกครองคณะสงฆ์ มาตรา 43 เจ้าอาวาสมีหน้าที่บำรุงรักษาจัดการวัดและสมบัติของวัด จึงมีอำนาจฟ้องคดีได้เอง หรือจะมอบอำนาจให้ผู้ใดฟ้องความแทนก็ได้
ใบมอบอำนาจท้ายฟ้องถือเป็นส่วนหนึ่งของฟ้อง การวินิจฉัยเกี่ยวกับใบมอบอำนาจจึงไม่เป็นการวินิจฉัยคลาดเคลื่อนไปจากฟ้อง (นอกฟ้อง)
เมื่อข้อเท็จจริงฟังว่าการกระทำของจำเลยเป็นการละเมิดแม้โจทก์จะนำสืบความเสียหายไม่ได้ว่ามีจำนวนแค่ใดแน่นอน ศาลก็มีอำนาจกำหนดค่าเสียหายให้ได้ตามที่เห็นสมควร ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 438 (ฎีกาที่ 1499/2498 และ1494/2498)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1466-1467/2500 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจเจ้าอาวาสในการจัดการทรัพย์สินวัดและการฟ้องขับไล่ผู้เช่า
จำเลยทำสัญญาเช่าที่วัดปลูกอาคารอาศัยทำการค้า โดยนายอำเภอท้องที่ ๆ วัดตั้งเป็นผู้ทำสัญญาแทนวัด ต่อมาวัดต้องการที่ดินคืน เจ้าอาวาสมีอำนาจมอบอำนาจให้ไวยาวัจกรฟ้องขับไล่จำเลยได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1466-1467/2500

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจเจ้าอาวาสในการจัดการที่ธรณีสงฆ์และการฟ้องขับไล่ผู้เช่า
จำเลยทำสัญญาเช่าที่วัดปลูกอาคารอาศัยทำการค้า โดยนายอำเภอท้องที่ที่วัดตั้งเป็นผู้ทำสัญญาแทนวัด ต่อมาวัดต้องการที่ดินคืน เจ้าอาวาสมีอำนาจมอบอำนาจให้ไวยาวัจกรฟ้องขับไล่จำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 944-945/2497 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องขับไล่ผู้บุกรุกที่ธรณีสงฆ์ของวัด และการได้มาซึ่งที่ดินของวัดโดยการครอบครอง
เจ้าอาวาสมีอำนาจมอบฉันทะให้ไวยาจักร ฟ้องขับไล่ผู้บุกรุกที่ธรณีสงฆ์ของวัดได้ ตาม พ.ร.บ.คณะสงฆ์ 2484 มาตรา 43
วัดเป็นนิติบุคคลตามป.พ.พ.ม. 72 มีสิทธิและหน้าที่เหมือนบุคคลธรรมดาตาม ม.70 และ พ.ร.บ.คณะสงฆ์ 2484 ม.40 วัดก็ถือกรรมสิทธิที่ดินได้ และวัดอาจได้ที่ดินตาม ป.พ.พ.ม. 1382 ( อ้างฎีกาที่ 1253/2481 )
วัดฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ธรณีสงฆ์ข้อเท็จจริงได้ความว่า ที่พิพาทเป็นที่รกร้างว่างเปล่า นายอำเภอและชาวบ้านได้เอาที่รกร้างว่างเปล่านั้นถวายวัดเพื่อทำเป็นป่าช้า แล้วนายอำเภอกับพวกได้เอาป่าช้าเดิมของวัดปลูกที่ว่าการอำเภอ โรงเรียน ตลาด ดั่งนี้ คดีไม่มีประเด็นที่ศาลจะต้องวินิจฉัยถึงว่า นายอำเภอเอาที่ป้าช้าของวัดไปสร้างที่ว่าการอำเภอนั้น จะเป็นการชอบหรือไม่ และการที่นายอำเภอเอาที่พิพาทไปถวายวัดนั้นเป็นการแลกเปลี่ยนที่ชอบหรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 944-945/2497

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจเจ้าอาวาสฟ้องขับไล่ผู้บุกรุกที่ธรณีสงฆ์ และสิทธิวัดในการถือครองที่ดิน
เจ้าอาวาสมีอำนาจมอบฉันทะให้ไวยาวัจกร ฟ้องขับไล่ผู้บุกรุกที่ธรณีสงฆ์ของวัดได้ ตาม พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ 2484 มาตรา 43
วัดเป็นนิติบุคคลตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา72 มีสิทธิและหน้าที่เหมือนบุคคลธรรมดาตาม มาตรา 70 และ พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ 2484 มาตรา 40 วัดก็ถือกรรมสิทธิ์ที่ดินได้และวัดอาจได้ที่ดินตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1382(อ้างฎีกา 1253/2481)
วัดฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ธรณีสงฆ์ข้อเท็จจริงได้ความว่า ที่พิพาทเป็นที่รกร้างว่างเปล่านายอำเภอและชาวบ้านได้เอาที่รกร้างว่างเปล่านั้นถวายวัดเพื่อทำเป็นป่าช้า แล้วนายอำเภอกับพวกได้เอาป่าช้าเดิมของวัดปลูกที่ว่าการอำเภอ โรงเรียน ตลาดดั่งนี้ คดีไม่มีประเด็นที่ศาลจะต้องวินิจฉัยถึงว่า นายอำเภอเอาที่ป่าช้าของวัดไปสร้างที่ว่าการอำเภอนั้นจะเป็นการชอบหรือไม่และการที่นายอำเภอเอาที่พิพาทไปถวายวัดนั้นเป็นการแลกเปลี่ยนที่ชอบหรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 254/2492

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ในที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ยกให้วัด: อำนาจจัดการทรัพย์สินของวัด และความรับผิดทางละเมิดจากการรื้อถอน
เจ้าอาวาสมีอำนาจและหน้าที่ตาม พระราชบัญญัติปกครองคณะสงฆ์2484 ในเรื่องจัดการทรัพย์สมบัติของวัด ถ้ามีกรณีฟ้องร้องเจ้าอาวาสจะฟ้องร้องเอง หรือมอบอำนาจให้ไวยาวัจกรฟ้องร้องแทนได้
ในสัญญายกกรรมสิทธิ์ที่ดินให้ปรากฏว่า ที่ธรณีสงฆ์เป็นผู้รับนั้น ย่อมเป็นที่เข้าใจว่าเป็นการให้เป็นทรัพย์สมบัติของวัด เพราะที่ธรณีสงฆ์ไม่ใช่บุคคล
ข้อความในสัญญาปรากฏว่า 'สิ่งซึ่งปลูกสร้างลงในที่ดินรายนี้ยอมยกให้ด้วยทั้งสิ้น' ดังนั้นเรือนที่ปลูกอยู่ในที่ดินในขณะทำสัญญายกให้ ย่อมตกเป็นกรรมสิทธิ์แก่ผู้รับ ในขณะทำสัญญาแล้วนั้นผู้ใดรื้อถอนภายหลังโดยไม่มีอำนาจอย่างใดย่อมต้องรับผิดในลักษณะละเมิด
of 2