คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 598

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 22 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5201/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความค่าติดตั้งและการยึดหน่วงค่าจ้างจากความชำรุดบกพร่อง
จำเลยที่ 1 รับจ้างผู้อื่นปลูกสร้างอาคาร ในการนี้จำเลยที่ 1 ได้สั่งซื้อสังกะสีจากโจทก์และว่าจ้างโจทก์มุงหลังคาอาคาร กรณีจึงตกอยู่ในบังคับของ ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (1) ตอนท้ายที่ว่า เว้นแต่เป็นการที่ได้ทำเพื่อกิจการของฝ่ายลูกหนี้นั้นเอง ดังนั้นอายุความสิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงมีกำหนด 5 ปี เมื่อนับระยะเวลาจากวันครบกำหนดชำระเงิน ซึ่งจำเลยที่ 1 ผิดนัดถึงวันฟ้องยังไม่พ้นกำหนด 5 ปี ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
โจทก์ส่งมอบงานติดตั้งหลังคาอาคารให้แก่จำเลยที่ 1 แล้ว หลังจากนั้นเมื่อฝนตกหลังคารั่วและเปิดออกเมื่อถูกลมตี อันเป็นความชำรุดบกพร่องซึ่งไม่พึงพบได้ในขณะเมื่อรับมอบ โจทก์จึงต้องรับผิดต่อจำเลยที่ 1 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 598 โดยจำเลยที่ 1 มีสิทธิยึดหน่วงค่าจ้างไว้ได้เพียงเพื่อให้โจทก์แก้ไขซ่อมแซมการชำรุดบกพร่องดังกล่าว เมื่อโจทก์ยังซ่อมแซมไม่แล้วเสร็จ จำเลยที่ 1 จึงชอบที่จะยึดหน่วงสินจ้างไว้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7172/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเหมางาน: ผู้รับเหมาผิดสัญญาเนื่องจากงานไม่เรียบร้อย ผู้ว่าจ้างมีสิทธิเรียกเงินคืนตามสัดส่วน
ความชำรุดบกพร่องตาม ป.พ.พ. มาตรา 601 หมายความถึงความชำรุดบกพร่องซึ่งเกิดขึ้นตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 598 , 599 และ 600 อันหมายถึงความชำรุดบกพร่องในตัวทรัพย์ที่ผู้รับจ้างส่งมอบให้กับผู้ว่าจ้างครบถ้วนแล้ว มิใช่หมายถึงการไม่ปฏิบัติให้ครบถ้วนตามสัญญา
ที่จำเลยฎีกาว่า ว. ตัวแทนโจทก์รับมอบงานก่อสร้างบ้านจากจำเลยโดยมิได้อิดเอื้อน จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 598 นั้น เห็นว่า กรณีนี้เป็นเรื่องโจทก์ฟ้องอ้างว่าจำเลยผิดสัญญาเพราะไม่ปฏิบัติงานให้เรียบร้อยตามสัญญา หาใช่ฟ้องให้จำเลยรับผิดในความชำรุดบกพร่องของงานที่ทำ เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาเพราะไม่ปฏิบัติงานให้เรียบร้อยตามสัญญาจริง โจทก์จึงมีสิทธิเรียกเงินคืนจากจำเลยตามสัดส่วนของงานที่ยังไม่ได้ทำให้เรียบร้อยตามสัญญาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3838/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยอมรับชำระหนี้โดยไม่สงวนสิทธิทำให้สิทธิเรียกร้องเบี้ยปรับฐานผิดสัญญาเป็นอันตกไป
จำเลยว่าจ้างโจทก์ก่อสร้างอาคารพาณิชย์บนที่ดินของจำเลย แต่โจทก์ก่อสร้างไม่แล้วเสร็จภายในกำหนด ปัจจุบันจำเลยได้เข้าอยู่และใช้อาคารพาณิชย์ดังกล่าวแล้ว กรณีไม่ได้เป็นเรื่องจำเลยรับมอบอาคารพาณิชย์ทั้งที่ชำรุดบกพร่อง อันเป็นเหตุให้โจทก์ต้องรับผิดในความชำรุดบกพร่องตามมาตรา 598 แห่ง ป.พ.พ. สิทธิเรียกร้องเบี้ยปรับฐานผิดสัญญาต้องเป็นไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 381 การที่จำเลยยอมเข้าไปอยู่อาศัยในอาคารพาณิชย์ที่ว่าจ้างโจทก์ก่อสร้างแล้ว ถือได้ว่าจำเลยยอมรับชำระหนี้แล้ว โดยจำเลยไม่สงวนสิทธิที่จะเรียกเอาเบี้ยปรับในเวลาที่จำเลยยอมรับชำระหนี้ จำเลยจึงเรียกเอาเบี้ยปรับตามสัญญาไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 519/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิยึดหน่วงค่าจ้างของผู้รับจ้างเมื่องานชำรุด และขอบเขตความรับผิดของผู้รับจ้างในการแก้ไขงาน
จำเลยซื้อแผ่นพลาสติกพร้อมติดตั้งจากโจทก์เพื่อใช้ปูบ่อบำบัดน้ำเสียของจำเลยโจทก์ส่งมอบงานปูแผ่นพลาสติกในบ่อบำบัดน้ำเสียให้จำเลยเรียบร้อยแล้ว หลังจากนั้นจำเลยใช้บ่อบำบัดน้ำเสียได้ประมาณ 2 ถึง 3 เดือน แผ่นพลาสติกที่ปูไว้ได้โป่งพองลอยขึ้นอันเป็นความบกพร่องซึ่งไม่พึงพบได้ในขณะเมื่อส่งมอบ โจทก์จึงต้องรับผิดต่อจำเลยอยู่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 598 โดยจำเลยมีสิทธิยึดหน่วงค่าจ้างไว้ได้แต่เพียงเพื่อให้โจทก์แก้ไขซ่อมแซมความชำรุดบกพร่องดังกล่าวเท่านั้น เมื่อโจทก์ติดต่อกับจำเลยขอเข้าไปแก้ไขซ่อมแซมหลายครั้ง แต่จำเลยไม่ยอมโดยอ้างถึงความจำเป็นที่ต้องใช้บ่อบำบัดน้ำเสียดังกล่าว ไม่สามารถสูบน้ำออกจากบ่อได้เพราะจะทำให้เสียรายได้ ถือเป็นข้ออ้างที่ไม่อยู่ในวิสัยที่โจทก์ซึ่งเป็นเพียงผู้รับจ้างจะสามารถดำเนินการได้โดยลำพัง ดังนั้นการที่โจทก์ไม่สามารถแก้ไขซ่อมแซมความชำรุดบกพร่องของงานได้จึงไม่ใช่ความผิดของโจทก์ จำเลยไม่มีสิทธิยึดหน่วงค่าจ้างที่ค้างชำระอีกต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1469/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดจากสัญญาจ้างกำจัดปลวก: ความชำรุดบกพร่องและการขาดอายุความ
ความชำรุดบกพร่องตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ.มาตรา 601หมายถึง ความชำรุดบกพร่องอันเกิดขึ้นตามที่บัญญัติไว้ในมาตราก่อน ๆ คือ มาตรา598, 599 และ 600 อันหมายถึงความชำรุดบกพร่องในตัวทรัพย์ที่ผู้รับจ้างส่งมอบให้แก่ผู้ว่าจ้างตามสัญญาจ้างครบถ้วนแล้ว
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยผิดสัญญาที่ไม่ตรวจภายในอาคารคลังพัสดุให้ละเอียดว่ามีปลวกขึ้นหรือไม่ จำเลยจึงไม่เห็นปลวกในจุดที่ปลวกกัดกินผ้าดิบของโจทก์และไม่กำจัดปลวกให้หมดสิ้น กับไม่ใส่ยาเคมีป้องกันมิให้ปลวกขยายพันธุ์ให้ทั่วบริเวณสถานที่ตามข้อตกลงในสัญญาจ้างกำจัดและป้องกันปลวก ซึ่งขณะปลวกกัดกินผ้าดิบยังอยู่ในอายุสัญญาจ้างดังกล่าว ตามคำฟ้องของโจทก์จึงเป็นเรื่องที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 1 รับผิดที่ไม่ปฏิบัติให้ครบถ้วนตามสัญญา กรณีไม่ต้องด้วย ป.พ.พ.มาตรา601 ดังนี้เมื่อจำเลยไม่ปฏิบัติให้ครบถ้วนตามสัญญา จำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา ต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายที่ผ้าดิบของโจทก์ถูกปลวกกัดกินเสียหายแก่โจทก์ สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายดังกล่าวนี้ไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีกำหนดอายุความ10 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/30 และนับแต่วันที่โจทก์พบปลวกกัดกินผ้าดิบเสียหายถึงวันฟ้อง คดียังไม่พ้นกำหนด 10 ปี คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1469/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องค่าเสียหายจากสัญญาจ้างกำจัดปลวก: ศาลวินิจฉัยเป็นคดีผิดสัญญา มีอายุความ 10 ปี
ความชำรุดบกพร่องตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 601 หมายถึง ความชำรุดบกพร่องอันเกิดขึ้นตามที่บัญญัติไว้ในมาตราก่อน ๆ คือ มาตรา 598,599 และ 600 อันหมายถึงความชำรุดบกพร่อง ในตัวทรัพย์ที่ผู้รับจ้างส่งมอบให้แก่ผู้ว่าจ้างตามสัญญาจ้าง ครบถ้วนแล้ว โจทก์ฟ้องว่า จำเลยผิดสัญญาที่ไม่ตรวจภายในอาคารคลังพัสดุให้ละเอียดว่ามีปลวกขึ้นหรือไม่ จำเลยจึงไม่เห็นปลวกในจุดที่ปลวกกัดกินผ้าดิบของโจทก์และไม่กำจัดปลวกให้หมดสิ้น กับ ไม่ใส่ยาเคมีป้องกันมิให้ปลวกขยายพันธุ์ให้ทั่วบริเวณสถานที่ตามข้อตกลงในสัญญาจ้างกำจัดและป้องกันปลวกซึ่งขณะปลวกกัดกินผ้าดิบยังอยู่ในอายุสัญญาจ้างดังกล่าว ตามคำฟ้อง ของโจทก์จึงเป็นเรื่องที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 1 รับผิดที่ ไม่ปฏิบัติให้ครบถ้วนตามสัญญา กรณีไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 601 ดังนี้เมื่อจำเลยไม่ปฏิบัติให้ครบถ้วนตามสัญญา จำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญาต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายที่ผ้าดิบของโจทก์ถูกปลวกกัดกินเสียหายแก่โจทก์ สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายดังกล่าวนี้ไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีกำหนดอายุความ10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30 และนับแต่วันที่โจทก์พบปลวกกัดกินผ้าดิบเสียหายถึงวันฟ้อง คดียังไม่พ้นกำหนด 10 ปี คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5891/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเรียกคืนค่าจ้างจากการผิดสัญญาเหมา: ใช้ 10 ปี มิใช่ 1 ปี ที่เป็นอายุความความชำรุดบกพร่อง
โจทก์ทั้งสองฟ้องเรียกคืนเงินค่าจ้างที่ได้จ่ายให้จำเลยเนื่องจากจำเลยผิดสัญญารับจ้างก่อสร้างและขยายถนนให้โจทก์มิใช่ฟ้องขอให้จำเลยรับผิดเพื่อความชำรุดบกพร่องในการทำงานของจำเลย ซึ่งมีอายุความ 1 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 601 เมื่อการฟ้องเรียกคืนเงินค่าจ้างไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้เป็นอย่างอื่น จึงต้องใช้อายุความ 10 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 เดิม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2131/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างก่อสร้าง: การแก้ไขงานที่ผิดสัญญาและการบอกเลิกสัญญาต้องพิจารณาความสาระสำคัญและโอกาสแก้ไข
แม้สัญญาจ้างก่อสร้างข้อหนึ่งระบุว่า ถ้าผู้รับจ้างทำผิดสัญญาข้อหนึ่งข้อใดผู้ว่าจ้างมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ แต่สัญญาข้อต่อไปได้ระบุว่า ผู้รับจ้างสัญญาว่าจะเปลี่ยนแปลงแก้ไขและจัดทำงานที่ไม่ได้ทำไปโดยความซื่อสัตย์สุจริตและปรากฏว่าไม่ประณีตเรียบร้อยให้เรียบร้อยดีภายใน 15 วัน ดังนี้ หมายความว่าผู้ว่าจ้างมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้เมื่อผู้รับจ้างผิดสัญญาในข้อที่เป็นสาระสำคัญที่ไม่สามารถแก้ไขให้ถูกต้องได้เพราะมิฉะนั้นแล้วก็ไม่จำเป็นต้องมีข้อสัญญากำหนดระยะเวลาให้ผู้รับจ้างแก้ไขให้ถูกต้องไว้ เมื่อจำเลยที่ 1 ได้แก้ไขการก่อสร้างส่วนที่ผิดสัญญาให้ถูกต้องตรงตามสัญญาจนโจทก์ตรวจรับงานและชำระเงินค่าจ้างสำหรับงานงวดนั้นแล้วโจทก์จึงไม่สามารถหยิบยกเอาเหตุดังกล่าวมาบอกเลิกสัญญาได้
จำเลยที่ 2 ถูกฟ้องให้ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้ค้ำประกันซึ่งเป็นการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ แม้จำเลยที่ 1 จะฎีกาเพียงผู้เดียว เมื่อฟังได้ว่าจำเลยที่ 1มิได้เป็นฝ่ายผิดสัญญาที่โจทก์มีสิทธิเรียกค่าปรับหรือค่าเสียหาย ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาให้มีผลไปถึงจำเลยที่ 2 ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 245 (1) ประกอบด้วยมาตรา 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2131/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างก่อสร้าง: การแก้ไขงานที่ผิดสัญญา และผลกระทบต่อการบอกเลิกสัญญา
แม้สัญญาจ้างก่อสร้างข้อหนึ่งระบุว่า ถ้าผู้รับจ้างทำผิดสัญญาข้อหนึ่งข้อใดผู้ว่าจ้างมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ แต่สัญญาข้อต่อไปได้ระบุว่า ผู้รับจ้างสัญญาว่าจะเปลี่ยนแปลงแก้ไขและจัดทำงานที่ไม่ได้ทำไปโดยความซื่อสัตย์สุจริตและปรากฏว่าไม่ประณีตเรียบร้อยให้เรียบร้อยดีภายใน 15 วัน ดังนี้ หมายความว่าผู้ว่าจ้างมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้เมื่อผู้รับจ้างผิดสัญญาในข้อที่เป็นสาระสำคัญที่ไม่สามารถแก้ไขให้ถูกต้องได้เพราะมิฉะนั้นแล้วก็ไม่จำเป็นต้องมีข้อสัญญากำหนดระยะเวลาให้ผู้รับจ้างแก้ไขให้ถูกต้องไว้ เมื่อจำเลยที่ 1 ได้แก้ไขการก่อสร้างส่วนที่ผิดสัญญาให้ถูกต้องตรงตามสัญญาจนโจทก์ตรวจรับงานและชำระเงินค่าจ้างสำหรับงานงวดนั้นแล้วโจทก์จึงไม่สามารถหยิบยกเอาเหตุดังกล่าวมาบอกเลิกสัญญาได้
จำเลยที่ 2 ถูกฟ้องให้ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้ค้ำประกันซึ่งเป็นการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ แม้จำเลยที่ 1 จะฎีกาเพียงผู้เดียว เมื่อฟังได้ว่าจำเลยที่ 1มิได้เป็นฝ่ายผิดสัญญาที่โจทก์มีสิทธิเรียกค่าปรับหรือค่าเสียหาย ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาให้มีผลไปถึงจำเลยที่ 2 ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 245(1) ประกอบด้วยมาตรา247.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3429/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับมอบงานชำรุดโดยมิโต้แย้งทำให้ผู้รับจ้างไม่ต้องรับผิด และสัญญาสิทธิ์ในการระงับข้อพิพาทด้วยอนุญาโตตุลาการไม่ได้ผูกมัดให้ต้องระงับข้อพิพาทด้วยวิธีนั้นก่อนเสมอไป
จำเลยรับมอบงานและจ่ายค่าจ้างแก่โจทก์ทั้งหมดรวมทั้งงานงวดที่ 6 ซึ่งเป็นงานงวดสุดท้ายโดยมิได้โต้แย้งคัดค้านว่าโจทก์ทำงานไม่ถูกต้องตามสัญญา ย่อมถือได้ว่าจำเลยรับมอบงานนั้นแล้วทั้งชำรุด บกพร่องโดยมิอิดเอื้อน โจทก์ผู้รับจ้างจึงไม่ต้องรับผิดจำเลยต้องจ่ายค่าจ้างที่หักเป็นประกันให้แก่โจทก์ สัญญาจ้างระบุว่าหากมีการตั้งอนุญาโตตุลาการให้กระทำในกรุงเทพมหานคร ดังนี้ มิได้บังคับว่าหากมีข้อพิพาทคู่สัญญาจะต้องตั้งอนุญาโตตุลาการเสียก่อน โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องคดีได้.
of 3