พบผลลัพธ์ทั้งหมด 105 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6392/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าเสียหายกรณีปลาแฟนตาซีคาร์พตาย: พิจารณาจากราคา ความพิเศษ และความผูกพันทางจิตใจ
จำเลยที่ 1 รับเหมาก่อสร้างอาคารซึ่งติดกับแนวเขตที่ดินของบิดามารดาโจทก์ซึ่งโจทก์พักอาศัยอยู่ด้วย ทำให้มีเศษวัสดุก่อสร้างตกหล่นเข้าไปในบริเวณบ้านดังกล่าวและบ่อปลา เป็นเหตุให้ปลาแฟนตาซีคาร์พที่โจทก์เลี้ยงในบ่อตายจำเลยที่ 1 ผู้รับเหมาก่อสร้าง จำเลยที่ 2 ผู้ควบคุมงาน และจำเลยร่วมผู้รับประกันภัยจึงต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์
ปลาแฟนซีคาร์พ 7 ตัวของโจทก์ เป็นปลาพันธุ์ดีที่โจทก์ซื้อซึ่งนำเข้ามาจากประเทศญี่ปุ่น โจทก์เลี้ยงดูปลาอย่างดี มีบ่อเลี้ยงปลาที่ดีทั้งระบบนิเวศน์ระบบพักน้ำและระบายน้ำ เมื่อคำนึงถึงราคาที่ซื้อมา ค่าอาหาร ค่าน้ำ ค่าไฟฟ้า ค่าบำรุงดูแลรักษาตลอดจนระยะเวลาที่โจทก์ใช้ในการเลี้ยงดูปลาจนถึงวันที่ปลาตายเป็นเวลาเกินกว่า6 ปี ประกอบกับปลาทั้งเจ็ดตัวนี้เคยส่งเข้าประกวดและได้รับรางวัลทุกตัวจนมีผู้เสนอขอซื้อในราคาตัวละ 150,000 บาท จึงย่อมเป็นปลาที่โจทก์ภาคภูมิใจและมีค่าอย่างสูงในด้านจิตใจของโจทก์ ไม่อาจนำราคาปกติของปลาแฟนตาซีคาร์พทั่วไปในท้องตลาดมาเป็นเกณฑ์ในการกำหนดค่าเสียหายได้ เมื่อพิจารณาประกอบพฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิดแล้ว เห็นควรกำหนดค่าเสียหายให้โจทก์ 700,000 บาท
ปลาแฟนซีคาร์พ 7 ตัวของโจทก์ เป็นปลาพันธุ์ดีที่โจทก์ซื้อซึ่งนำเข้ามาจากประเทศญี่ปุ่น โจทก์เลี้ยงดูปลาอย่างดี มีบ่อเลี้ยงปลาที่ดีทั้งระบบนิเวศน์ระบบพักน้ำและระบายน้ำ เมื่อคำนึงถึงราคาที่ซื้อมา ค่าอาหาร ค่าน้ำ ค่าไฟฟ้า ค่าบำรุงดูแลรักษาตลอดจนระยะเวลาที่โจทก์ใช้ในการเลี้ยงดูปลาจนถึงวันที่ปลาตายเป็นเวลาเกินกว่า6 ปี ประกอบกับปลาทั้งเจ็ดตัวนี้เคยส่งเข้าประกวดและได้รับรางวัลทุกตัวจนมีผู้เสนอขอซื้อในราคาตัวละ 150,000 บาท จึงย่อมเป็นปลาที่โจทก์ภาคภูมิใจและมีค่าอย่างสูงในด้านจิตใจของโจทก์ ไม่อาจนำราคาปกติของปลาแฟนตาซีคาร์พทั่วไปในท้องตลาดมาเป็นเกณฑ์ในการกำหนดค่าเสียหายได้ เมื่อพิจารณาประกอบพฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิดแล้ว เห็นควรกำหนดค่าเสียหายให้โจทก์ 700,000 บาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6933/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความละเมิดจากการก่อสร้างต่อเนื่อง และความรับผิดร่วมกันของหลายฝ่าย
แม้จะฟังได้ความว่า จำเลยทำการตอกหรือหล่อเสาเข็มแล้วเสร็จ แต่งานก่อสร้างอาคารชุดพิพาทก็ยังคงต้องดำเนินการต่อเนื่องไปจนเสร็จบริบูรณ์ จะถือเอางานช่วงใดช่วงหนึ่งที่จำเลยก่อสร้างเสร็จเป็นวันเริ่มนับอายุความฟ้องร้องหาได้ไม่ ดังนั้น ตราบใดที่จำเลยยังกระทำการก่อสร้างต่อไปซึ่งเป็นเหตุให้อาคารโจทก์ได้รับความเสียหาย ย่อมถือ ได้ว่า จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 กระทำละเมิดต่อโจทก์ติดต่อกันตลอดมาอยู่ตราบนั้น โจทก์มีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากจำเลย เพราะการกระทำนั้นได้ นับแต่วันที่จำเลยก่อสร้างอาคารชุดพิพาทเสร็จเมื่อเดือนมีนาคม 2535 อันถือได้ว่าโจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนคือจำเลยตั้งแต่วันดังกล่าว โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2535 ยังไม่เกิน 1 ปี คดีโจทก์ไม่ขาดอายุความ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 448 วรรคแรก
จำเลยฎีกาอ้างว่า ผู้ทำการตอกเจาะหล่อเสาเข็มในการก่อสร้างอาคารชุดนั้น คือ บริษัท ส. จำกัด ซึ่งเป็นบุคคลภายนอก จำเลยไม่จำต้องชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์นั้น เป็นกรณีบุคคลหลายคนก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์โดยร่วมกันทำละเมิด แม้จะไม่สามารถรู้ตัวได้แน่ว่าคนไหนเป็นผู้ก่อให้เกิดความเสียหายนั้นก็ตาม จำเลยก็ต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์ตามมาตรา 432
จำเลยฎีกาอ้างว่า ผู้ทำการตอกเจาะหล่อเสาเข็มในการก่อสร้างอาคารชุดนั้น คือ บริษัท ส. จำกัด ซึ่งเป็นบุคคลภายนอก จำเลยไม่จำต้องชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์นั้น เป็นกรณีบุคคลหลายคนก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์โดยร่วมกันทำละเมิด แม้จะไม่สามารถรู้ตัวได้แน่ว่าคนไหนเป็นผู้ก่อให้เกิดความเสียหายนั้นก็ตาม จำเลยก็ต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์ตามมาตรา 432
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3267/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางละเมิดจากการลากจูงรถหุ้มเกราะ: โจทก์ควบคุมดูแลการผูกลวดสลิงเอง จึงไม่มีสิทธิไล่เบี้ย
รถหุ้มเกราะของโจทก์ประสบอุบัติเหตุพลิกคว่ำแต่สามารถกู้ขึ้นมาไว้บนถนนได้ โจทก์ไปขอความร่วมมือจากจำเลยที่ 3 ขอนำรถบรรทุกสิบล้อไปลากจูงรถหุ้มเกราะกลับที่ตั้ง โดยมีจำเลยที่ 4 เป็นคนขับรถบรรทุกสินล้อวิธีการลากจูง จำเลยที่ 1 และที่ 2 ใช้ลวดสลิงผูกกับส่วนหน้าของรถหุ้มเกราะแล้วนำไปผูกแขวนไว้กับท้ายรถบรรทุกสิบล้อให้ล้อหน้าของรถหุ้มเกราะลอยสูงขึ้นจากพื้นถนนแล้วให้รถบรรทุกสิบล้อลากจูงไป แม้ปรากฏว่าขณะลากจูงไปได้ไม่ไกล ลวดสลิงขาดและรถหุ้มเกราะเสียหลักล้ำไปทางขวามือเป็นเหตุให้ชนกับรถเก๋งที่แล่นสวนทางมารถเก๋งเสียหายหมดทั้งคันก็ตาม เมื่อการผูกล้อหน้าของรถหุ้มเกราะให้แขวนลอยอยู่ข้างท้ายรถบรรทุกสิบล้อจะช่วยให้กระชับมั่นสะดวกรวดเร็ว และง่ายแก่การลากจูง โดยไม่ต้องใช้คนขับบังคับรถหุ้มเกราะนอกจากนี้ยังปรากฏว่าไฮดรอลิกเสียทำให้ล้อหน้า 2 ล้อ ของรถหุ้มเกราะไม่หมุน จึงต้องลากจูงโดยให้ล้อหน้าลอยขึ้น เมื่อกรณีเป็นความจำเป็น จึงไม่อาจถือได้ว่าเป็นความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 1 และที่ 2และที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ใช้ลวดสลิงที่ใช้ประจำอยู่กับรถบรรทุกสิบล้อคันเกิดเหตุ ซึ่งเป็นรถวินที่ใช้สำหรับชักลากไม้ซุงที่มีน้ำหนักมาก โดยจำเลยที่ 4 ยืนยันต่อจำเลยที่ 2ใช้ลากจูงได้ ประกอบกับในบริเวณที่เกิดเหตุหากมืดค่ำแล้วอันตรายเคยมีผู้ก่อการร้ายลอบยิง หากไม่ลากรถหุ้มเกราะออกจากที่เกิดเหตุผู้ก่อการร้ายอาจเข้าโจมตีเผารถหุ้มเกราะจะเสียหายแก่ทางราชการ ดังนี้ จึงไม่อยู่ในวิสัยที่จำเลยที่ 1และที่ 2 จะเลือกปฏิบัติเป็นอย่างอื่น นอกจากจะต้อง ลากจูงรถหุ้มเกราะไป ดีกว่าจะปล่อยไว้ที่นั่นให้เสี่ยงอันตรายและเสี่ยงต่อความบกพร่องในหน้าที่ ดังนี้ ถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 ประมาทเลินเล่อในเหตุนี้ การลากจูงรถหุ้มเกราะในคดีนี้ที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่น และจำเลยที่ 4 ได้ถูกเจ้าของรถเก๋งที่ถูกรถหุ้มเกราะ ชนฟ้องเรียกค่าเสียหายเป็นจำเลยร่วมกับจำเลยที่ 3 และโจทก์ฐานละเมิด ศาลพิพากษาถึงที่สุดโดยวินิจฉัยว่า เหตุละเมิดเกิดจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 4กับเจ้าพนักงานตำรวจในสังกัดของโจทก์ และฟังว่าจำเลยที่ 3เป็นนายจ้างของจำเลยที่ 4 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 4ด้วย ดังนี้ แม้โจทก์ผู้เดียวชดใช้ค่าเสียหายแก่เจ้าของรถเก๋งไปแล้วก็ตาม แต่เมื่อการจัดการผูกลวดสลิงเข้ากับรถหุ้มเกราะอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลสั่งการและดำเนินการโดยเจ้าพนักงานตำรวจในสังกัดของโจทก์ แม้จะเป็นลวดสลิงเก่าและมีรอยชำรุดเป็นบางส่วนหรือเป็นลวดเส้นเล็กแต่ถ้าหากผูกหลายทบเจ้าด้วยกันก็เป็นลวดเส้นใหญ่และจะช่วยไม่ให้ขาดได้ และกรณีไม่ปรากฏว่าเจ้าพนักงานตำรวจในสังกัดของโจทก์ไม่สามารถดำเนินการเช่นนี้ได้ กรณีต้องถือว่าความเสียหายเกิดจากความผิดของโจทก์เอง โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องไล่เบี้ยเอาจากจำเลยที่ 3 และที่ 4 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 226,227,432 วรรคสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3267/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไล่เบี้ยค่าเสียหายจากความประมาทเลินเล่อในการลากจูงรถและการควบคุมดูแลการปฏิบัติงานของเจ้าพนักงาน
รถหุ้มเกราะของโจทก์ประสบอุบัติเหตุพลิกคว่ำ แต่สามารถกู้ขึ้นมาไว้บนถนนได้ โจทก์ไปขอความร่วมมือจากจำเลยที่ 3 ขอนำรถบรรทุกสิบล้อไปลากจูงรถหุ้มเกราะกลับที่ตั้ง โดยมีจำเลยที่ 4 เป็นคนขับรถบรรทุกสิบล้อ วิธีการลากจูง จำเลยที่ 1 และที่ 2 ใช้ลวดสลิงผูกกับส่วนหน้าของรถหุ้มเกราะแล้วนำไปผูกแขวนไว้กับท้ายรถบรรทุกสิบล้อ ให้ล้อหน้าของรถหุ้มเกราะลอยสูงขึ้นจากพื้นถนนแล้วให้รถบรรทุกสิบล้อลากจูงไป แม้ปรากฏว่าขณะลากจูงไปได้ไม่ไกล ลวดสลิงขาดและรถหุ้มเกราะเสียหลักล้ำไปทางขวามือ เป็นเหตุให้ชนกับรถเก๋งที่แล่นสวนทางมารถเก๋งเสียหายหมดทั้งคันก็ตาม เมื่อการผูกล้อหน้าของรถหุ้มเกราะให้แขวนลอยอยู่ข้างท้ายรถบรรทุกสิบล้อจะช่วยให้กระชับมั่น สะดวกรวดเร็ว และง่ายแก่การลากจูงโดยไม่ต้องใช้คนขับบังคับรถหุ้มเกราะ นอกจากนี้ยังปรากฏว่าไฮดรอลิกเสียทำให้ล้อหน้า 2 ล้อ ของรถหุ้มเกราะไม่หมุน จึงต้องลากจูงโดยให้ล้อหน้าลอยขึ้น เมื่อกรณีเป็นความจำเป็น จึงไม่อาจถือได้ว่าเป็นความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 1และที่ 2 และที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ใช้ลวดสลิงที่ใช้ประจำอยู่กับรถบรรทุกสิบล้อคันเกิดเหตุ ซึ่งเป็นรถวินที่ใช้สำหรับชักลากไม้ซุงที่มีน้ำหนักมาก โดยจำเลยที่ 4ยืนยันต่อจำเลยที่ 2 ใช้ลากจูงได้ ประกอบกับในบริเวณที่เกิดเหตุหากมืดค่ำแล้วอันตรายเคยมีผู้ก่อการร้ายลอบยิง หากไม่ลากรถหุ้มเกราะออกจากที่เกิดเหตุผู้ก่อการร้ายอาจเข้าโจมตีเผารถหุ้มเกราะ จะเสียหายแก่ทางราชการ ดังนี้จึงไม่อยู่ในวิสัยที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 จะเลือกปฏิบัติเป็นอย่างอื่น นอกจากจะต้องลากจูงรถหุ้มเกราะไป ดีกว่าจะปล่อยไว้ที่นั่นให้เสี่ยงอันตราย และเสี่ยงต่อความบกพร่องในหน้าที่ ดังนี้ ถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 ประมาทเลินเล่อในเหตุนี้
การลากจูงรถหุ้มเกราะในคดีนี้ที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่น และจำเลยที่ 4 ได้ถูกเจ้าของรถเก๋งที่ถูกรถหุ้มเกราะชนฟ้องเรียกค่าเสียหายเป็นจำเลยร่วมกับจำเลยที่ 3 และโจทก์ฐานละเมิด ศาลพิพากษาถึงที่สุดโดยวินิจฉัยว่า เหตุละเมิดเกิดจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 4 กับเจ้าพนักงานตำรวจในสังกัดของโจทก์ และฟังว่าจำเลยที่ 3 เป็นนายจ้างของจำเลยที่ 4 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 4 ด้วย ดังนี้ แม้โจทก์ผู้เดียวชดใช้ค่าเสียหายแก่เจ้าของรถเก๋งไปแล้วก็ตาม แต่เมื่อการจัดการผูกลวดสลิงเข้ากับรถหุ้มเกราะอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลสั่งการและดำเนินการโดยเจ้าพนักงานตำรวจในสังกัดของโจทก์ แม้จะเป็นลวดสลิงเก่าและมีรอยชำรุดเป็นบางส่วนหรือเป็นลวดเส้นเล็ก แต่ถ้าหากผูกหลายทบเข้าด้วยกันก็กลายเป็นลวดเส้นใหญ่และจะช่วยไม่ให้ขาดได้ และกรณีไม่ปรากฏว่าเจ้าพนักงานตำรวจในสังกัดของโจทก์ไม่สามารถดำเนินการเช่นนี้ได้ กรณีต้องถือว่าความเสียหายเกิดจากความผิดของโจทก์เอง โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องไล่เบี้ยเอาจากจำเลยที่ 3 และที่ 4 ตามป.พ.พ.มาตรา 226, 227, 432 วรรคสาม
การลากจูงรถหุ้มเกราะในคดีนี้ที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่น และจำเลยที่ 4 ได้ถูกเจ้าของรถเก๋งที่ถูกรถหุ้มเกราะชนฟ้องเรียกค่าเสียหายเป็นจำเลยร่วมกับจำเลยที่ 3 และโจทก์ฐานละเมิด ศาลพิพากษาถึงที่สุดโดยวินิจฉัยว่า เหตุละเมิดเกิดจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 4 กับเจ้าพนักงานตำรวจในสังกัดของโจทก์ และฟังว่าจำเลยที่ 3 เป็นนายจ้างของจำเลยที่ 4 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 4 ด้วย ดังนี้ แม้โจทก์ผู้เดียวชดใช้ค่าเสียหายแก่เจ้าของรถเก๋งไปแล้วก็ตาม แต่เมื่อการจัดการผูกลวดสลิงเข้ากับรถหุ้มเกราะอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลสั่งการและดำเนินการโดยเจ้าพนักงานตำรวจในสังกัดของโจทก์ แม้จะเป็นลวดสลิงเก่าและมีรอยชำรุดเป็นบางส่วนหรือเป็นลวดเส้นเล็ก แต่ถ้าหากผูกหลายทบเข้าด้วยกันก็กลายเป็นลวดเส้นใหญ่และจะช่วยไม่ให้ขาดได้ และกรณีไม่ปรากฏว่าเจ้าพนักงานตำรวจในสังกัดของโจทก์ไม่สามารถดำเนินการเช่นนี้ได้ กรณีต้องถือว่าความเสียหายเกิดจากความผิดของโจทก์เอง โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องไล่เบี้ยเอาจากจำเลยที่ 3 และที่ 4 ตามป.พ.พ.มาตรา 226, 227, 432 วรรคสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 551/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดร่วมต่อความเสียหายจากการต่อเติมอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาต
จำเลยที่ 2 และที่ 3 กับจำเลยที่ 4 จ้างจำเลยที่ 1ต่อเติมอาคาร ทำให้อาคารโจทก์ได้รับความเสียหาย จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4เป็นผู้ผิดในส่วนการงานที่สั่งให้ทำเพราะเป็นการต่อเติมอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตจากทางราชการ ประกอบกับไม่ปรากฏแน่ชัดว่าความเสียหายของโจทก์เกิดขึ้นเพราะการกระทำของจำเลยคนใด จำเลยทั้งสี่จึงต้องร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 428 และมาตรา 432 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 551/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางละเมิดจากการต่อเติมอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาต ทำให้เกิดความเสียหายกับทรัพย์สินข้างเคียง
จำเลยที่2และที่3กับจำเลยที่4จ้างจำเลยที่1ต่อเติมอาคารทำให้อาคารโจทก์ได้รับความเสียหายจำเลยที่2ที่3และที่4เป็นผู้ผิดในส่วนการงานที่สั่งให้ทำเพราะเป็นการต่อเติมอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตจากทางราชการประกอบกับไม่ปรากฎแน่ชัดว่าความเสียหายของโจทก์เกิดขึ้นเพราะการกระทำของจำเลยคนใดจำเลยทั้งสี่จึงต้องร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา428และมาตรา432วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 551/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดร่วมกันจากงานต่อเติมอาคารที่ทำให้เกิดความเสียหายต่ออาคารข้างเคียง
จำเลยที่2และที่3กับจำเลยที่4จ้างจำเลยที่1ต่อเติมอาคารของจำเลยที่2ซึ่งอยู่ในครอบครองของจำเลยที่3และอาคารของจำเลยที่4ทำให้อาคารโจทก์ได้รับความเสียหายโดยจำเลยที่2ที่3และที่4เป็นผู้ผิดในส่วนการงานที่สั่งให้ทำประกอบกับไม่ปรากฎแน่ชัดว่าความเสียหายของโจทก์เกิดขึ้นเพราะการกระทำของจำเลยคนใดจำเลยทั้งสี่จึงต้องร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา428และมาตรา432วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6896/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดร่วมจากอุบัติเหตุรถแข่ง: ลูกหนี้ร่วม, ประนีประนอม, ค่าเสียหาย
การที่รถยนต์โดยสารทั้งสองคันวิ่งแข่งกันมาและต่างชนโจทก์นั้นแม้จะเป็นกรณีต่างคนต่างประมาทเลินเล่อก็ตาม แต่ความประมาทเลินเล่อของคนขับรถทั้งสองไม่ยิ่งหย่อนกว่ากันก่อให้เกิดความเสียหายขึ้นต่อโจทก์ คนขับรถทั้งสองจึงต้องร่วมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม โดยคนขับรถทั้งสองหรือคนใดคนหนึ่งต้องรับผิดต่อโจทก์เต็มจำนวน
จำเลยที่ 2 และที่ 3 ในฐานะเจ้าของและผู้ครอบครองรถยนต์โดยสารทั้งสองคันที่ก่อเหตุร่วมกับจำเลยที่ 1 ซึ่งมีผลประโยชน์ร่วมกันในรถยนต์โดยสารทั้งสองคันดังกล่าวต้องร่วมกันรับผิดต่อโจทก์ในฐานะลูกหนี้ร่วมในจำนวนค่าเสียหายเป็นเงิน 730,000 บาท แต่เนื่องจากโจทก์ จำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 3ได้ตกลงประนีประนอมยอมความกันตามสัญญาประนีประนอมยอมความโดยโจทก์ติดใจเรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลยที่ 1 และที่ 3 เป็นเงิน 60,000 บาทส่วนค่าเสียหายที่เหลือโจทก์ยังติดใจเรียกร้องจากจำเลยอื่นอีก สิทธิของโจทก์ที่จะเรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลยที่ 1 และที่ 3 จึงมีเพียง 60,000 บาทคงเหลือส่วนที่จำเลยที่ 2 จะต้องรับผิดต่อโจทก์จำนวนเงิน 670,000 บาท
จำเลยที่ 2 และที่ 3 ในฐานะเจ้าของและผู้ครอบครองรถยนต์โดยสารทั้งสองคันที่ก่อเหตุร่วมกับจำเลยที่ 1 ซึ่งมีผลประโยชน์ร่วมกันในรถยนต์โดยสารทั้งสองคันดังกล่าวต้องร่วมกันรับผิดต่อโจทก์ในฐานะลูกหนี้ร่วมในจำนวนค่าเสียหายเป็นเงิน 730,000 บาท แต่เนื่องจากโจทก์ จำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 3ได้ตกลงประนีประนอมยอมความกันตามสัญญาประนีประนอมยอมความโดยโจทก์ติดใจเรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลยที่ 1 และที่ 3 เป็นเงิน 60,000 บาทส่วนค่าเสียหายที่เหลือโจทก์ยังติดใจเรียกร้องจากจำเลยอื่นอีก สิทธิของโจทก์ที่จะเรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลยที่ 1 และที่ 3 จึงมีเพียง 60,000 บาทคงเหลือส่วนที่จำเลยที่ 2 จะต้องรับผิดต่อโจทก์จำนวนเงิน 670,000 บาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2639/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องละเมิดจากวัวกินอ้อย: ศาลอุทธรณ์แก้ไขคำฟ้องได้และวินิจฉัยความรับผิดชอบตามส่วน
คดีมีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกิน 200,000 บาทต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ที่จำเลยทั้งแปดฎีกาว่า จำเลยทั้งแปดไม่เคยนำวัวไปเลี้ยงในไร่อ้อยของโจทก์ จึงไม่ได้ร่วมกันทำละเมิดต่อโจทก์ เป็นฎีกาโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ภาค 1 ซึ่งฟังว่าจำเลยทั้งแปดซึ่งเป็นคู่สามีภรรยากันต่างคู่ต่างปล่อยวัวของตนเข้าไปกินอ้อยของโจทก์อันเป็นละเมิด เป็นฎีกาในข้อเท็จจริง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
แม้โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งแปดร่วมกันไล่ต้อนวัวเข้าไปกินอ้อยในไร่ของโจทก์ แต่ทางพิจารณาได้ความว่าจำเลยทั้งแปดต่างคู่สามีภรรยาต่างปล่อยวัวของตนเข้าไปกินอ้อยของโจทก์ ก็เป็นข้อแตกต่างในรายละเอียดซึ่งเป็นเรื่องเล็กน้อย ไม่ถึงกับเป็นเรื่องนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง จำเลยทั้งแปดก็สามารถต่อสู้คดีได้อย่างเต็มที่แล้ว ไม่มีเหตุที่จะยกฟ้องโจทก์ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 กำหนดให้จำเลยแต่ละคู่แยกกันรับผิดในความเสียหายตามควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 438 จึงชอบแล้ว
การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องย่อมทำให้คำร้องขอแก้ไขคำฟ้องตลอดทั้งแผนที่สังเขปที่แนบมาท้ายคำร้องเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้องด้วย ศาลอุทธรณ์ภาค 1 จึงชอบที่จะนำมาใช้ในการวินิจฉัยว่า ฟ้องโจทก์เคลือบคลุมหรือไม่ได้
โจทก์ได้บรรยายฟ้องพอเข้าใจได้ว่าจำเลยทั้งแปดปล่อยปละละเลยไม่ดูแลเลี้ยงดูฝูงวัวของตนเป็นเหตุให้ฝูงวัวของจำเลยทั้งแปดเข้าไปกินต้นอ้อยใบอ้อยและเหยียบย่ำต้นอ้อยของโจทก์เสียหายประมาณ 60 ไร่เศษ ส่วนคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องก็ระบุอาณาเขตความกว้างยาวของที่ดินในการปลูกอ้อยด้านทิศเหนือ ทิศใต้ทิศตะวันออกและทิศตะวันตกว่าจดที่ดินของผู้ใดตามแผนที่สังเขปท้ายคำร้อง จึงเป็นคำฟ้องที่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสองแล้ว ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม
แม้โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งแปดร่วมกันไล่ต้อนวัวเข้าไปกินอ้อยในไร่ของโจทก์ แต่ทางพิจารณาได้ความว่าจำเลยทั้งแปดต่างคู่สามีภรรยาต่างปล่อยวัวของตนเข้าไปกินอ้อยของโจทก์ ก็เป็นข้อแตกต่างในรายละเอียดซึ่งเป็นเรื่องเล็กน้อย ไม่ถึงกับเป็นเรื่องนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง จำเลยทั้งแปดก็สามารถต่อสู้คดีได้อย่างเต็มที่แล้ว ไม่มีเหตุที่จะยกฟ้องโจทก์ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 กำหนดให้จำเลยแต่ละคู่แยกกันรับผิดในความเสียหายตามควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 438 จึงชอบแล้ว
การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องย่อมทำให้คำร้องขอแก้ไขคำฟ้องตลอดทั้งแผนที่สังเขปที่แนบมาท้ายคำร้องเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้องด้วย ศาลอุทธรณ์ภาค 1 จึงชอบที่จะนำมาใช้ในการวินิจฉัยว่า ฟ้องโจทก์เคลือบคลุมหรือไม่ได้
โจทก์ได้บรรยายฟ้องพอเข้าใจได้ว่าจำเลยทั้งแปดปล่อยปละละเลยไม่ดูแลเลี้ยงดูฝูงวัวของตนเป็นเหตุให้ฝูงวัวของจำเลยทั้งแปดเข้าไปกินต้นอ้อยใบอ้อยและเหยียบย่ำต้นอ้อยของโจทก์เสียหายประมาณ 60 ไร่เศษ ส่วนคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องก็ระบุอาณาเขตความกว้างยาวของที่ดินในการปลูกอ้อยด้านทิศเหนือ ทิศใต้ทิศตะวันออกและทิศตะวันตกว่าจดที่ดินของผู้ใดตามแผนที่สังเขปท้ายคำร้อง จึงเป็นคำฟ้องที่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสองแล้ว ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 874/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเมิดสัญญา, ความรับผิดร่วม, อายุความ: การกระทำของกรรมการและตัวแทนเรือ, ผลกระทบต่อความเสียหายของบริษัท
ฟ้องโจทก์ได้บรรยายชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหาแล้วว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันทำละเมิดต่อโจทก์เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหายไม่ได้รับเงินค่าระวางสินค้าเงินชดเชยค่าใช้จ่ายและค่าเจรจาในการปล่อยเรือส่วนรายละเอียดเรื่องค่าเสียหายโจทก์สามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณาฟ้องชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา172วรรคสอง สัญญาให้บริการร่วมกันระหว่างโจทก์กับบริษัทท.กำหนดให้บริษัทท. ต้องมอบหนังสือค้ำประกันของธนาคารให้แก่โจทก์ยึดถือเป็นประกันความเสียหายแต่จำเลยที่1ผู้อำนวยการของโจทก์ลงนามในสัญญาโดยมีแต่สำเนาหนังสือค้ำประกันและสั่งการเกี่ยวกับการเดินเรือโดยไม่ผ่านฝ่ายปฏิบัติการตามระเบียบทั้งยังทำหนังสือมอบอำนาจให้จำเลยที่2มีอำนาจเต็มในนามจำเลยที่1เป็นเหตุให้จำเลยที่2ใช้เอกสารต่างๆแสดงต่อบุคคลภายนอกและก่อหนี้ขึ้นเมื่อเรือของโจทก์ถูกยึดโดยคำสั่งของศาลต่างประเทศเป็นเหตุให้โจทก์ต้องเสียค่าใช้จ่ายต่างๆดังนี้แม้ว่าจำเลยที่1จะมีอำนาจหน้าที่กระทำการแทนโจทก์ก็ตามแต่การกระทำต่างๆดังกล่าวของจำเลยที่1ก็เป็นการกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อทำให้โจทก์เสียหายทั้งเป็นการฝ่าฝืนต่อคำสั่งและระเบียบข้อบังคับของโจทก์และไม่ใช้ความเอื้อเฟื้อสอดส่องอย่างบุคคลค้าขายผู้ประกอบด้วยความระมัดระวังจึงต้องร่วมกับจำเลยที่2รับผิดต่อโจทก์ โจทก์ไม่สามารถบังคับชำระหนี้ต่อบริษัทท.เพราะไม่มีต้นฉบับหนังสือค้ำประกันของธนาคารให้โจทก์ยึดถือการสั่งการเดินเรือของจำเลยที่1เป็นเหตุให้จำเลยที่2นำเรือไปเดินรับส่งสินค้ายังท่าเรือที่มิได้ระบุในสัญญาเป็นเหตุให้เรือถูกยึดการที่จำเลยที่2นำหนังสือมอบอำนาจที่จำเลยที่1ออกให้เป็นผู้แทนเรือไปใช้แสดงต่อบุคคลต่างๆหาประโยชน์ในทางมิชอบล้วนแต่เป็นผลโดยตรงของการที่จำเลยที่1กระทำละเมิดร่วมกับจำเลยที่2จำเลยที่1จึงต้องร่วมกับจำเลยที่2รับผิดชดใช้ค่าเสียหายทั้งหมดแก่โจทก์ หนังสือบริคณห์สนธิและข้อบังคับของโจทก์กำหนดว่ากรรมการ2นายมีอำนาจลงนามในสัญญาตราสารเอกสารสำคัญแทนบริษัทและประทับตราบริษัทดังนั้นเมื่อมีผู้กระทำละเมิดต่อโจทก์อายุความ1ปีจึงเริ่มนับเมื่อกรรมการดังกล่าวรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนมิใช่นับแต่สภากรรมการรู้แต่เมื่อกรรมการ2นายผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ได้เข้าร่วมประชุมสภากรรมการด้วยจึงถือว่าได้รู้ในฐานะผู้แทนโจทก์แล้วแต่เมื่อขณะที่รู้นั้นเหตุละเมิดยังไม่เกิดอายุความจึงยังไม่เริ่มนับอายุความจะเริ่มนับเมื่อมีเหตุละเมิดเกิดขึ้นและผู้เสียหายรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้พึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน