พบผลลัพธ์ทั้งหมด 155 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7055/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การควบบริษัทจำกัดและการสิทธิประโยชน์เงินทดแทนตามกฎหมาย การนำระยะเวลาการจ่ายเงินสมทบเดิมมาคำนวณต่อเนื่อง
การตั้งบริษัทจำกัดเกิดขึ้นโดยอาศัย ป.พ.พ. บรรพ 3 หมวด 4 ผลการควบบริษัทจำกัดเข้ากันจึงต้องเป็นไปตาม ป.พ.พ. เช่นเดียวกัน ซึ่งมาตรา 1243 บัญญัติว่า บริษัทใหม่นี้ย่อมได้ไปทั้งสิทธิและความรับผิดบรรดามีอยู่แก่บริษัทเดิมอันได้มาควบเข้ากันนั้นทั้งสิ้น การจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนเงินทดแทนจะเกิดขึ้นไม่ได้หากไม่มีโจทก์ซึ่งเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด ผู้เป็นนายจ้างและลูกจ้าง จึงต้องนำ ป.พ.พ. มาใช้บังคับด้วย จะใช้บังคับเพียง พ.ร.บ.เงินทดแทน พ.ศ.2537 และประกาศกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม เรื่อง อัตราเงินสมทบ อัตราเงินฝาก วิธีการประเมินและการเรียกเก็บเงินสมทบ ฉบับลงวันที่ 12 กันยายน 2537 และฉบับที่ 2 ลงวันที่ 2 กรกฎาคม 2550 ซึ่งไม่มีบทบัญญัติการจัดตั้งบริษัทจำกัดและการควบบริษัทจำกัดเข้ากันหาได้ไม่ และการที่ไม่นำ ป.พ.พ. มาใช้บังคับจะเป็นการเพิ่มภาระให้แก่โจทก์โดยไม่เป็นธรรม และเนื่องจากโจทก์เกิดจากการควบบริษัทจำกัดเข้ากันโดยไม่ได้เปลี่ยนแปลงประเภทกิจการและจำเลยทั้งสองยังคงกำหนดรหัสประเภทกิจการของโจทก์ตามรหัสเดิมก่อนการควบเข้ากัน ทั้งไม่ปรากฏว่าการควบบริษัทและการเพิ่มจำนวนลูกจ้างกรณีนี้ทำให้มีความเสี่ยงภัยสูงขึ้น หรือโจทก์มีเจตนาหลีกเลี่ยงกฎหมาย โจทก์จึงสามารถนำระยะเวลาการจ่ายเงินสมทบของบริษัทเดิมก่อนการควบรวมบริษัทมาคำนวณระยะเวลาต่อเนื่องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5622-5623/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประนอมหนี้หลังล้มละลาย และอำนาจฟ้องคดีเพิกถอนการโอนทรัพย์สิน: โจทก์ไม่มีส่วนได้เสียโดยตรง
แม้จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์ตามคำพิพากษาในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ ย.259/2544 ของศาลชั้นต้น แต่ต่อมาจำเลยที่ 1 ถูกฟ้องเป็นคดีล้มละลาย ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดจำเลยที่ 1 แล้วพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ตกเป็นบุคคลล้มละลาย ในคดีล้มละลายดังกล่าว มีเจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้ 6 ราย โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้รายที่ 3 ยื่นขอรับชำระหนี้มูลหนี้ตามคำพิพากษาจากกองทรัพย์สินของลูกหนี้ที่ 1 (จำเลยที่ 1) แบบเจ้าหนี้ไม่มีประกัน จากนั้นจำเลยที่ 1 ยื่นคำขอประนอมหนี้ภายหลังล้มละลาย ที่ประชุมเจ้าหนี้รวมทั้งโจทก์ยอมรับ ไม่คัดค้านการพิจารณาคำขอประนอมหนี้ และศาลล้มละลายกลางไต่สวนแล้ว ไม่ปรากฏว่าลูกหนี้ที่ 1 ทุจริตหรือกระทำความผิดอันมีโทษทางอาญาเกี่ยวกับกฎหมายล้มละลาย การประนอมหนี้มีข้อความลำดับการใช้หนี้ก่อนหลังถูกต้องตามกฎหมายล้มละลาย เจ้าหนี้มีมติยอมรับ คำขอประนอมหนี้ของลูกหนี้ที่ 1 การประนอมหนี้เป็นประโยชน์แก่เจ้าหนี้โดยทั่วไป ไม่ได้เปรียบแก่กัน จึงมีคำสั่งเห็นชอบด้วยการประนอมหนี้ของลูกหนี้ที่ 1 ตามมติของที่ประชุมเจ้าหนี้ ให้ยกเลิกการล้มละลาย และให้ลูกหนี้ที่ 1 กลับมีอำนาจจัดการเกี่ยวกับทรัพย์สินของตน ทั้งยังปรากฏว่าต่อมาโจทก์โดย ผู้รับมอบอำนาจยื่นคำร้องต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ว่า โจทก์ได้รับชำระหนี้จากบุคคลภายนอกแทนลูกหนี้จนเป็นที่พอใจแล้ว ไม่ประสงค์ที่จะขอรับชำระหนี้อีกต่อไป จึงขอถอนคำขอรับชำระหนี้ ดังนี้โจทก์จึงผูกมัดโดยข้อตกลงในการประนอมหนี้ดังกล่าวในเรื่องหนี้ซึ่งอาจขอรับชำระได้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 63 ประกอบมาตรา 56 และทำให้จำเลยที่ 1 ไม่มีหนี้ตามคำพิพากษาในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ ย.259/2544 ของศาลชั้นต้นต่อโจทก์อีกต่อไป นอกจากนี้ หากจะรับฟังว่าการโอนที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยทั้งสามตกเป็นโมฆะ และศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิพากษาให้เพิกถอนการโอนก็มิได้หมายความว่า การประนอมหนี้ที่ศาลล้มละลายกลางเห็นชอบต้องถูกยกเลิกไปตามผลแห่งคำพิพากษา ทำให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ในกองล้มละลายสามารถยื่นขอรับชำระหนี้จากที่ดินพิพาทได้ กรณีถือไม่ได้ว่าโจทก์เป็นผู้ที่จะได้ประโยชน์หรือเสียประโยชน์หากนิติกรรมการโอนขายที่ดินพิพาทที่กล่าวอ้างในคดีนี้ว่าเป็นโมฆะเป็นผลหรือไม่เป็นหรือกลับกัน โจทก์จึงไม่ใช่ผู้มีส่วนได้เสียโดยตรงในที่ดินพิพาท ที่จะยกความเสียเปล่าแห่งโมฆะกรรมขึ้นกล่าวอ้างแก่จำเลยที่ 1 ซึ่งได้โอนขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 2 โอนขายที่ดินพิพาทแก่จำเลยที่ 3 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5598/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเบิกความพยาน การใช้บันทึกคำให้การแทนการเบิกความต่อหน้าศาล ต้องเป็นไปตามเงื่อนไขกฎหมาย
การเบิกความเป็นพยานต่อศาลนั้น ป.วิ.พ. มาตรา 113 ซึ่งนำมาใช้บังคับในคดีอาญาด้วยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 15 บัญญัติว่า พยานทุกคนต้องเบิกความด้วยวาจาและห้ามมิให้พยานอ่านข้อความที่เขียนมา ซึ่งเห็นได้ว่ากฎหมายประสงค์ให้ศาลและคู่ความฝ่ายอื่นได้มีโอกาสรับฟังคำเบิกความของพยานโดยตรง ให้พยานเล่าเหตุการณ์ที่ตนประสบมาด้วยตนเองและจากความทรงจำของพยานเอง มิให้มีโอกาสเสริมแต่งเรื่องราวให้ผิดเพี้ยนไปจากความจริง เว้นแต่จะมีข้อยกเว้นตามบทบัญญัติของกฎหมายให้เสนอคำพยานด้วยวิธีอื่น ในคดีอาญาซึ่งมีผลกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของบุคคลนั้น ป.วิ.อ. มาตรา 230/2 บัญญัติข้อยกเว้นดังกล่าวไว้เป็นการเฉพาะแล้วว่า ศาลอาจอนุญาตให้เสนอบันทึกถ้อยคำยืนยันข้อเท็จจริงหรือความเห็นของผู้ให้ถ้อยคำซึ่งมีถิ่นที่อยู่ในต่างประเทศแทนการนำพยานบุคคลมาเบิกความต่อหน้าศาลได้ ในกรณีที่ไม่อาจสืบพยานตามวิธีการที่บัญญัติในมาตรา 230/1 จึงไม่อาจนำบทบัญญัติ ป.วิ.พ.มาบังคับใช้โดยอนุโลมด้วยการให้พยานที่ไม่เข้าหลักเกณฑ์ข้อยกเว้นตาม ป.วิ.อ.ดังกล่าวเบิกความด้วยวิธีส่งบันทึกถ้อยคำแทนการมาเบิกความด้วยวาจาได้ ดังนั้น การที่ทนายโจทก์ทั้งสองเสนอบันทึกถ้อยคำของพยานโจทก์ทั้งสองซึ่งมีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทยแล้วแถลงขอให้ศาลใช้เป็นคำเบิกความของพยานโจทก์ แม้ทนายจำเลยจะแถลงรับว่าให้ถือเป็นคำเบิกความของพยานโจทก์ทั้งสอง ก็ไม่อาจถือว่าบันทึกถ้อยคำดังกล่าวเป็นคำเบิกความของพยานโจทก์ทั้งสองตามบทกฎหมายดังกล่าวได้ บันทึกดังกล่าวคงมีลักษณะเป็นคำแถลงของพยานที่ศาลรับไว้เท่านั้น ส่วนจะนำมารับฟังได้หรือไม่ เพียงใด ย่อมเป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยลักษณะพยานหลักฐาน แต่อย่างไรก็ดี ในชั้นไต่สวนมูลฟ้อง โจทก์ทั้งสองไม่ได้อ้างส่งบันทึกถ้อยคำของพยานโจทก์ทั้งสองเป็นพยานเพียงลำพัง เพราะพยานดังกล่าวได้มาเบิกความต่อหน้าศาลโดยเบิกความตอบทนายจำเลยทั้งสองถามค้าน และเบิกความตอบทนายโจทก์ทั้งสองถามติงด้วย แม้ถือไม่ได้ว่าบันทึกถ้อยคำดังกล่าวเป็นคำเบิกความของพยานโจทก์ทั้งสอง แต่ก็คงมีผลเพียงว่าทนายโจทก์ทั้งสองไม่ติดใจซักถามพยานของตนก่อนเท่านั้น การดำเนินกระบวนพิจารณาชั้นไต่สวนมูลฟ้องของศาลชั้นต้นจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3211/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพยายามครอบครองเมทแอมเฟตามีน: ศาลฎีกายืนตามศาลอุทธรณ์ว่าจำเลยลงมือกระทำความผิดแต่ไม่สำเร็จ
จำเลยที่ 1 ลงมือกระทำความผิดตามที่มีผู้ว่าจ้างให้ไปรับเมทแอมเฟตามีนในที่เกิดเหตุซึ่งถูกซุกซ่อนอยู่บริเวณโคนเสาป้ายสัญญาณจราจรทางโค้ง โดยลงจากรถไปยืนที่บริเวณดังกล่าวตามที่นัดหมายไว้ อันเป็นเหตุการณ์ใกล้ชิดกับความผิดสำเร็จ แต่จำเลยที่ 1 กระทำไปไม่ตลอดเพราะถูกเจ้าพนักงานตำรวจมาพบและถูกจับกุมได้เสียก่อน จึงเป็นการพยายามกระทำความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1800/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนรายชื่อบุคคลที่ถูกกำหนดตาม พ.ร.บ.ป้องกันการก่อการร้าย เมื่อบุคคลนั้นเสียชีวิต
ตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย พ.ศ.2556 มาตรา 5 วรรคสองนั้น หากพฤติการณ์ของบุคคลที่ถูกกำหนดตามวรรคหนึ่งเปลี่ยนแปลงไป สำนักงานโดยความเห็นของคณะกรรมการธุรกรรมมีอำนาจพิจารณาส่งเรื่องให้พนักงานอัยการยื่นคำร้องฝ่ายเดียวขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนรายชื่อผู้นั้นออกจากรายชื่อบุคคลที่ถูกกำหนดไว้ เมื่อ ม. ถูกศาลสั่งให้เป็นบุคคลที่ถูกกำหนดเนื่องจากมีพฤติการณ์เกี่ยวข้องกับการก่อการร้ายโดยร่วมอยู่ในขบวนการก่อการร้ายจนศาลออกหมายจับไว้หลายคดี การที่ ม. ถึงแก่ความตาย ย่อมทำให้พฤติการณ์เกี่ยวข้องกับการก่อการร้ายของ ม. หมดสิ้นไป เป็นกรณีที่พฤติการณ์เกี่ยวข้องกับการก่อการร้ายของบุคคลที่ถูกกำหนดเปลี่ยนแปลงไปจึงให้เพิกถอนชื่อ ม. ออกจากรายชื่อบุคคลที่ถูกกำหนด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 892/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า เริ่มนับแต่วันเลิกจ้าง ไม่ต้องรอผลการพิจารณาเรื่องการกระทำอันไม่เป็นธรรม
ค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าเป็นเงินที่นายจ้างต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้างในการเลิกจ้างกรณีปกติตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 ซึ่งเป็นคนละกรณีกับการพิจารณาเรื่องการกระทำอันไม่เป็นธรรมตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 และการที่ลูกจ้างจะเรียกค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าไม่มีกฎหมายบัญญัติให้ต้องรอผลการวินิจฉัยในเรื่องการกระทำอันไม่เป็นธรรมเสียก่อน เมื่อโจทก์ฟ้องเรียกเอาค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าซึ่งตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 5 บัญญัติว่า "ค่าชดเชย หมายความว่า เงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้าง นอกเหนือจากเงินประเภทอื่นซึ่งนายจ้างตกลงจ่ายให้แก่ลูกจ้าง" ส่วนสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าเป็นเงินที่จ่ายให้ กรณีนายจ้างไม่บอกกล่าวเลิกสัญญาจ้างให้ถูกต้องตามระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 17 และ ป.พ.พ. มาตรา 582 วรรคสอง แล้วแต่กรณี กรณีฟ้องของโจทก์อายุความจึงต้องเริ่มนับแต่วันที่ 20 ตุลาคม 2547 อันเป็นวันเลิกจ้างซึ่งเป็นวันที่โจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไป เมื่อโจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2557 จึงเกินกำหนดสิบปีตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 697/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษฐานชิงทรัพย์ต้องสอดคล้องกับคำฟ้อง หากคำฟ้องบรรยายเฉพาะชิงทรัพย์ด้วยอาวุธ การลงโทษฐานชิงทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายจึงไม่ชอบ
คำฟ้องของโจทก์บรรยายว่า จำเลยกระทำความผิดหลายกรรมต่างกรรม คือ ชิงทรัพย์กรรมหนึ่งแล้วจึงทำร้ายร่างกายผู้เสียหายอีกกรรมหนึ่ง โจทก์หาได้บรรยายคำฟ้องว่า จำเลยชิงทรัพย์ผู้เสียหายเป็นเหตุให้ผู้เสียหายรับอันตรายแก่กายหรือจิตใจไม่ คำฟ้องของโจทก์เพียงแต่บรรยายว่าจำเลยชิงทรัพย์ของผู้เสียหายโดยมีอาวุธ อันเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 339 วรรคสอง เท่านั้น จึงลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 339 วรรคสาม ไม่ได้ เพราะเป็นเรื่องที่โจทก์มิได้กล่าวในฟ้อง ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 9 พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นว่าจำเลยมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 339 วรรคสาม ประกอบมาตรา 340 ตรี และวางโทษตามมาตราดังกล่าว จึงยังไม่ถูกต้อง และปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยจะมิได้หยิบยกปัญหาข้อนี้ขึ้นฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นอ้างได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 141/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้สิทธิโดยไม่สุจริตในการฟ้องเรียกเช็คพิพาท ผู้ทรงเช็คต้องสุจริตจึงมีอำนาจฟ้อง
โจทก์รู้ดีอยู่แล้วว่าเช็คพิพาทไม่มีมูลหนี้ แต่กลับรับสมอ้างเป็นเจ้าหนี้เงินกู้ของ ป. และนำเช็คพิพาทจาก ก. ภริยาโจทก์ มาฟ้องจำเลยทั้งสอง การกระทำของโจทก์จึงเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตตาม ป.พ.พ. มาตรา 5 โจทก์จึงไม่ใช่ผู้ทรงเช็คโดยสุจริต ถือไม่ได้ว่าโจทก์เป็นผู้ทรงเช็คพิพาทตาม ป.พ.พ. มาตรา 904 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8848/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องเช็คพิพาท: ข้อเท็จจริงต้องได้จากการดำเนินกระบวนพิจารณา & ความรับผิดตามเช็ค
ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้คู่ความมิได้ยกขึ้นต่อสู้ในศาลชั้นต้น ก็มีสิทธิยกขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์ได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคสอง ก็ตาม แต่ข้อกฎหมายที่ยกขึ้นอ้างอิงในอุทธรณ์ดังกล่าวจะต้องเป็นข้อกฎหมายที่ได้ข้อเท็จจริงมาจากการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยชอบด้วย มิใช่ได้ข้อเท็จจริงมาจากเรื่องนอกฟ้อง นอกคำให้การ หรือนอกประเด็น หรือที่ไม่เกี่ยวกับที่คู่ความต้องนำสืบ คดีนี้เมื่อจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ ศาลชั้นต้นสั่งให้โจทก์สืบพยานโจทก์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 198 ทวิ วรรคสอง (2) คดีจึงมีประเด็นเพียงว่าจำเลยต้องรับผิดตามเช็คพิพาทหรือไม่เพียงใด ไม่มีประเด็นเรื่องอำนาจฟ้องและโจทก์ฟ้องคดีโดยสุจริตหรือไม่ ดังนั้นที่จำเลยอุทธรณ์อ้างว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องและใช้สิทธิฟ้องโดยไม่สุจริตโดยอ้างอิงจากคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นจึงเป็นการกล่าวอ้างข้อเท็จจริงที่มิใช่ข้อเท็จจริงที่ได้มาจากการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยชอบ ที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยเพราะเห็นว่าไม่ใช่ข้อที่ยกขึ้นว่ากล่าวมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นต้องห้ามอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง นั้น จึงชอบแล้ว ฎีกาจำเลยฟังไม่ขึ้น
คดีนี้โจทก์ฟ้องเรียกเงินตามเช็คในฐานะโจทก์เป็นผู้ทรงเช็คพิพาท มิใช่ฟ้องให้จำเลยรับผิดตามมูลหนี้อื่น เมื่อจำเลยมิได้ปฏิเสธว่าลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายในเช็คพิพาททั้ง 7 ฉบับ มิใช่ลายมือชื่อของจำเลย และมิได้ต่อสู้ว่าจำเลยมิได้เป็นผู้กรอกจำนวนเงินในเช็คพิพาท แต่โจทก์เป็นผู้กรอกจำนวนเงิน และจำนวนเงินตามเช็คพิพาททั้งหมดมากกว่าที่เป็นหนี้กันอยู่จริง จำเลยจึงต้องรับผิดตามเนื้อความในเช็คนั้น ตาม ป.พ.พ. มาตรา 900
คดีนี้โจทก์ฟ้องเรียกเงินตามเช็คในฐานะโจทก์เป็นผู้ทรงเช็คพิพาท มิใช่ฟ้องให้จำเลยรับผิดตามมูลหนี้อื่น เมื่อจำเลยมิได้ปฏิเสธว่าลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายในเช็คพิพาททั้ง 7 ฉบับ มิใช่ลายมือชื่อของจำเลย และมิได้ต่อสู้ว่าจำเลยมิได้เป็นผู้กรอกจำนวนเงินในเช็คพิพาท แต่โจทก์เป็นผู้กรอกจำนวนเงิน และจำนวนเงินตามเช็คพิพาททั้งหมดมากกว่าที่เป็นหนี้กันอยู่จริง จำเลยจึงต้องรับผิดตามเนื้อความในเช็คนั้น ตาม ป.พ.พ. มาตรา 900
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15403/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม การหักเงินค่าจ้าง และดอกเบี้ยจากค่าจ้างค้างจ่าย
(จำเลยทั้งสองทำสัญญาจ้างโจทก์เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2548 แต่ร้านเปิดดำเนินกิจการในวันที่ 21 มกราคม 2549 เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2548) โจทก์และคณะบุคคลแมสคอตโดยจำเลยที่ 1 ทำบันทึกข้อตกลงว่า โจทก์จะนำสิทธิในวันหยุดพักผ่อน วันหยุดนักขัตฤกษ์ และวันหยุดประจำสัปดาห์ของโจทก์มาใช้หยุดในระหว่างที่ร้านปิดปรับปรุง หากโจทก์ใช้วันหยุดเกินสิทธิ คณะบุคคลแมสคอตขอสงวนสิทธิไม่จ่ายค่าจ้างในวันหยุดดังกล่าว และโจทก์ลงลายมือชื่อรับทราบและยินดีให้ความร่วมมือในเอกสารดังกล่าว แต่ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 5 ให้คำจำกัดความของคำว่า "ค่าจ้าง" ให้หมายความรวมถึงเงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างในวันหยุดและวันลาที่ลูกจ้างมิได้ทำงาน แต่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับตามพระราชบัญญัตินี้ ซึ่งวันหยุดตามบันทึกข้อตกลงดังกล่าวล้วนเป็นวันหยุดที่กฎหมายกำหนดให้นายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างแม้ลูกจ้างจะมิได้ทำงานทั้งสิ้น นอกจากนี้การมอบหมายงานหรือการสั่งให้ลูกจ้างทำงานเป็นสิทธิของนายจ้าง การที่นายจ้างไม่อาจมอบหมายงานหรือสั่งงานให้ลูกจ้างทำ ทั้งที่ลูกจ้างมีความพร้อมที่จะทำงานให้แก่นายจ้างนั้นนายจ้างจึงยังต้องจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างตลอดระยะเวลาที่ตกลงจ้างกัน นายจ้างจะยกขึ้นเป็นเหตุอ้างว่าไม่มีงานให้ลูกจ้างทำจึงไม่จ่ายค่าจ้างให้ไม่ได้ เมื่อจำเลยทั้งสองให้โจทก์หยุดงานในระหว่างที่ร้านปิดปรับปรุงอันเป็นกรณีที่จำเลยทั้งสองไม่มีงานให้โจทก์ทำ มิใช่โจทก์ไม่สามารถทำงานให้แก่จำเลยทั้งสองได้ จำเลยทั้งสองจึงไม่มีสิทธินำค่าจ้างที่จ่ายให้แก่โจทก์ ในช่วงนหยุดดังกล่าวมาหักกับค่าจ้างที่โจทก์มีสิทธิได้รับหลังจากร้านเปิดดำเนินการแล้ว
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์และจำเลยทั้งสองตกลงทำสัญญาจ้างมีกำหนด 2 ปี แต่จำเลยทั้งสองบอกเลิกสัญญาก่อนครบกำหนด ทำให้โจทก์สูญเสียโอกาสในการทำงานกับผู้อื่นและได้รับความเสียหาย โจทก์ขอคิดค่าเสียหายนับแต่วันบอกเลิกสัญญาถึงวันที่สัญญาจ้างครบกำหนด คำฟ้องโจทก์ได้บรรยายและมีคำขอให้จำเลยทั้งสองชำระค่าเสียหายจากการปฏิบัติผิดสัญญาโดยบอกเลิกสัญญาก่อนครบกำหนดแล้ว ที่ศาลแรงงานกลางกำหนดค่าเสียหายจากการผิดสัญญาจ้างจึงไม่เป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในฟ้องตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 52
พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 70 วรรคสอง บัญญัติว่าในกรณีที่นายจ้างเลิกจ้าง ให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างภายใน 3 วัน นับแต่วันเลิกจ้าง ดังนั้น เมื่อจำเลยทั้งสองเลิกจ้างโจทก์ในวันที่ 18 มีนาคม 2549 จำเลยทั้งสองจึงมีหน้าที่ต้องจ่ายค่าจ้างแก่โจทก์ภายในวันที่ 21 มีนาคม 2549 จำเลยทั้งสองไม่จ่ายภายในเวลาดังกล่าวจึงต้องเสียดอกเบี้ยจากต้นเงินค่าจ้างค้างจ่ายตั้งแต่วันที่ 22 มีนาคม 2549 เป็นต้นไป ไม่มีบทกฎหมายใดให้จำเลยทั้งสองต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ทันทีเมื่อเลิกจ้าง จำเลยทั้งสองต้องเสียดอกเบี้ยจากต้นเงินดังกล่าวนับแต่วันผิดนัดคือวันทวงถาม ไม่ปรากฏว่าโจทก์ทวงถามให้จำเลยทั้งสองจ่ายในวันใด ต้องถือวันฟ้องเป็นวันทวงถาม จำเลยทั้งสองจึงต้องเสียดอกเบี้ยจากต้นเงินสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้านับแต่วันฟ้องเป็นต้นไป แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ในปัญหานี้ แต่เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาจึงสามารถหยิบยกแก้ไขให้ถูกต้องได้
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์และจำเลยทั้งสองตกลงทำสัญญาจ้างมีกำหนด 2 ปี แต่จำเลยทั้งสองบอกเลิกสัญญาก่อนครบกำหนด ทำให้โจทก์สูญเสียโอกาสในการทำงานกับผู้อื่นและได้รับความเสียหาย โจทก์ขอคิดค่าเสียหายนับแต่วันบอกเลิกสัญญาถึงวันที่สัญญาจ้างครบกำหนด คำฟ้องโจทก์ได้บรรยายและมีคำขอให้จำเลยทั้งสองชำระค่าเสียหายจากการปฏิบัติผิดสัญญาโดยบอกเลิกสัญญาก่อนครบกำหนดแล้ว ที่ศาลแรงงานกลางกำหนดค่าเสียหายจากการผิดสัญญาจ้างจึงไม่เป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในฟ้องตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 52
พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 70 วรรคสอง บัญญัติว่าในกรณีที่นายจ้างเลิกจ้าง ให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างภายใน 3 วัน นับแต่วันเลิกจ้าง ดังนั้น เมื่อจำเลยทั้งสองเลิกจ้างโจทก์ในวันที่ 18 มีนาคม 2549 จำเลยทั้งสองจึงมีหน้าที่ต้องจ่ายค่าจ้างแก่โจทก์ภายในวันที่ 21 มีนาคม 2549 จำเลยทั้งสองไม่จ่ายภายในเวลาดังกล่าวจึงต้องเสียดอกเบี้ยจากต้นเงินค่าจ้างค้างจ่ายตั้งแต่วันที่ 22 มีนาคม 2549 เป็นต้นไป ไม่มีบทกฎหมายใดให้จำเลยทั้งสองต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ทันทีเมื่อเลิกจ้าง จำเลยทั้งสองต้องเสียดอกเบี้ยจากต้นเงินดังกล่าวนับแต่วันผิดนัดคือวันทวงถาม ไม่ปรากฏว่าโจทก์ทวงถามให้จำเลยทั้งสองจ่ายในวันใด ต้องถือวันฟ้องเป็นวันทวงถาม จำเลยทั้งสองจึงต้องเสียดอกเบี้ยจากต้นเงินสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้านับแต่วันฟ้องเป็นต้นไป แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ในปัญหานี้ แต่เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาจึงสามารถหยิบยกแก้ไขให้ถูกต้องได้