พบผลลัพธ์ทั้งหมด 105 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 874/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเมิดสัญญา-การกระทำละเมิดของผู้มีอำนาจ-อายุความ-ความรับผิดร่วมกัน
ฟ้องโจทก์ได้บรรยายชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหาแล้วว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันทำละเมิดต่อโจทก์เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ไม่ได้รับเงินค่าระวางสินค้า เงินชดเชย ค่าใช้จ่าย และค่าเจรจาในการปล่อยเรือ ส่วนรายละเอียดเรื่องค่าเสียหายโจทก์สามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณา ฟ้องชอบด้วยป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง
สัญญาให้บริการร่วมกันระหว่างโจทก์กับบริษัท ท.กำหนดให้บริษัท ท.ต้องมอบหนังสือค้ำประกันของธนาคารให้แก่โจทก์ยึดถือเป็นประกันความเสียหาย แต่จำเลยที่ 1 ผู้อำนวยการของโจทก์ลงนามในสัญญาโดยมีแต่สำเนาหนังสือค้ำประกันและสั่งการเกี่ยวกับการเดินเรือโดยไม่ผ่านฝ่ายปฏิบัติการตามระเบียบ ทั้งยังทำหนังสือมอบอำนาจให้จำเลยที่ 2 มีอำนาจเต็มในนามจำเลยที่ 1เป็นเหตุให้จำเลยที่ 2 ใช้เอกสารต่าง ๆ แสดงต่อบุคคลภายนอกและก่อหนี้ขึ้นเมื่อเรือของโจทก์ถูกยึดโดยคำสั่งของศาลต่างประเทศ เป็นเหตุให้โจทก์ต้องเสียค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ดังนี้ แม้ว่าจำเลยที่ 1 จะมีอำนาจหน้าที่กระทำการแทนโจทก์ก็ตาม แต่การกระทำต่าง ๆ ดังกล่าวของจำเลยที่ 1 ก็เป็นการกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อทำให้โจทก์เสียหาย ทั้งเป็นการฝ่าฝืนต่อคำสั่งและระเบียบข้อบังคับของโจทก์ และไม่ใช้ความเอื้อเฟื้อสอดส่องอย่างบุคคลค้าขายผู้ประกอบด้วยความระมัดระวังจึงต้องร่วมกับจำเลยที่ 2 รับผิดต่อโจทก์
โจทก์ไม่สามารถบังคับชำระหนี้ต่อบริษัท ท.เพราะไม่มีต้นฉบับหนังสือค้ำประกันของธนาคารให้โจทก์ยึดถือ การสั่งการเดินเรือของจำเลยที่ 1เป็นเหตุให้จำเลยที่ 2 นำเรือไปเดินรับส่งสินค้ายังท่าเรือที่มิได้ระบุในสัญญาเป็นเหตุให้เรือถูกยึด การที่จำเลยที่ 2 นำหนังสือมอบอำนาจที่จำเลยที่ 1 ออกให้เป็นผู้แทนเรือไปใช้แสดงต่อบุคคลต่าง ๆ หาประโยชน์ในทางมิชอบ ล้วนแต่เป็นผลโดยตรงของการที่จำเลยที่ 1 กระทำละเมิดร่วมกับจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 1 จึงต้องร่วมกับจำเลยที่ 2 รับผิดชดใช้ค่าเสียหายทั้งหมดแก่โจทก์
หนังสือบริคณห์สนธิ และข้อบังคับของโจทก์กำหนดว่า กรรมการ2 นาย มีอำนาจลงนามในสัญญาตราสารเอกสารสำคัญแทนบริษัทและประทับตราบริษัทดังนั้น เมื่อมีผู้กระทำละเมิดต่อโจทก์ อายุความ 1 ปี จึงเริ่มนับเมื่อกรรมการดังกล่าวรู้ถึงการละเมิด และรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนมิใช่นับแต่สภากรรมการรู้แต่เมื่อกรรมการ 2 นาย ผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ได้เข้าร่วมประชุมสภากรรมการด้วย จึงถือว่าได้รู้ในฐานะผู้แทนโจทก์แล้ว แต่เมื่อขณะที่รู้นั้นเหตุละเมิดยังไม่เกิด อายุความจึงยังไม่เริ่มนับ อายุความจะเริ่มนับเมื่อมีเหตุละเมิดเกิดขึ้นและผู้เสียหายรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้พึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน
สัญญาให้บริการร่วมกันระหว่างโจทก์กับบริษัท ท.กำหนดให้บริษัท ท.ต้องมอบหนังสือค้ำประกันของธนาคารให้แก่โจทก์ยึดถือเป็นประกันความเสียหาย แต่จำเลยที่ 1 ผู้อำนวยการของโจทก์ลงนามในสัญญาโดยมีแต่สำเนาหนังสือค้ำประกันและสั่งการเกี่ยวกับการเดินเรือโดยไม่ผ่านฝ่ายปฏิบัติการตามระเบียบ ทั้งยังทำหนังสือมอบอำนาจให้จำเลยที่ 2 มีอำนาจเต็มในนามจำเลยที่ 1เป็นเหตุให้จำเลยที่ 2 ใช้เอกสารต่าง ๆ แสดงต่อบุคคลภายนอกและก่อหนี้ขึ้นเมื่อเรือของโจทก์ถูกยึดโดยคำสั่งของศาลต่างประเทศ เป็นเหตุให้โจทก์ต้องเสียค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ดังนี้ แม้ว่าจำเลยที่ 1 จะมีอำนาจหน้าที่กระทำการแทนโจทก์ก็ตาม แต่การกระทำต่าง ๆ ดังกล่าวของจำเลยที่ 1 ก็เป็นการกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อทำให้โจทก์เสียหาย ทั้งเป็นการฝ่าฝืนต่อคำสั่งและระเบียบข้อบังคับของโจทก์ และไม่ใช้ความเอื้อเฟื้อสอดส่องอย่างบุคคลค้าขายผู้ประกอบด้วยความระมัดระวังจึงต้องร่วมกับจำเลยที่ 2 รับผิดต่อโจทก์
โจทก์ไม่สามารถบังคับชำระหนี้ต่อบริษัท ท.เพราะไม่มีต้นฉบับหนังสือค้ำประกันของธนาคารให้โจทก์ยึดถือ การสั่งการเดินเรือของจำเลยที่ 1เป็นเหตุให้จำเลยที่ 2 นำเรือไปเดินรับส่งสินค้ายังท่าเรือที่มิได้ระบุในสัญญาเป็นเหตุให้เรือถูกยึด การที่จำเลยที่ 2 นำหนังสือมอบอำนาจที่จำเลยที่ 1 ออกให้เป็นผู้แทนเรือไปใช้แสดงต่อบุคคลต่าง ๆ หาประโยชน์ในทางมิชอบ ล้วนแต่เป็นผลโดยตรงของการที่จำเลยที่ 1 กระทำละเมิดร่วมกับจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 1 จึงต้องร่วมกับจำเลยที่ 2 รับผิดชดใช้ค่าเสียหายทั้งหมดแก่โจทก์
หนังสือบริคณห์สนธิ และข้อบังคับของโจทก์กำหนดว่า กรรมการ2 นาย มีอำนาจลงนามในสัญญาตราสารเอกสารสำคัญแทนบริษัทและประทับตราบริษัทดังนั้น เมื่อมีผู้กระทำละเมิดต่อโจทก์ อายุความ 1 ปี จึงเริ่มนับเมื่อกรรมการดังกล่าวรู้ถึงการละเมิด และรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนมิใช่นับแต่สภากรรมการรู้แต่เมื่อกรรมการ 2 นาย ผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ได้เข้าร่วมประชุมสภากรรมการด้วย จึงถือว่าได้รู้ในฐานะผู้แทนโจทก์แล้ว แต่เมื่อขณะที่รู้นั้นเหตุละเมิดยังไม่เกิด อายุความจึงยังไม่เริ่มนับ อายุความจะเริ่มนับเมื่อมีเหตุละเมิดเกิดขึ้นและผู้เสียหายรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้พึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2017/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การดำเนินกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบส่งผลต่อการพิพากษาคดีร่วมกัน การย้อนสำนวนเพื่อรับฟังพยานหลักฐานจำเลย
เมื่อปรากฏว่า จำเลยที่ 5 ยื่นคำให้การในกำหนด คำสั่งของศาลชั้นต้นที่สั่งให้จำเลยที่ 5 ขาดนัดยื่นคำให้การจึงเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบ การดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นตั้งแต่สั่งให้จำเลยที่ 5 ขาดนัดยื่นคำให้การจนถึงชั้นพิพากษาย่อมเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ ชอบที่จะสั่งให้ย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาเฉพาะที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 5 แล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดี โจทก์ฟ้องให้จำเลยทั้งห้าร่วมกันรับผิดในมูลหนี้ละเมิด จึงเป็นหนี้ร่วมที่มิอาจจะแบ่งแยกได้ การที่ศาลจะพิพากษาให้จำเลยคนใดคนหนึ่งรับผิดในมูลหนี้ร่วมดังกล่าวจำต้องรับฟังพยานหลักฐานโจทก์และจำเลยทุกคน เมื่อศาลชั้นต้นสั่งให้จำเลยที่ 5 ขาดนัดยื่นคำให้การโดยมิใช่ความผิดของจำเลยที่ 5 พยานหลักฐานของจำเลยที่ 5 ที่จะนำสืบก็ยังไม่ปรากฏในสำนวน ไม่ชอบที่ศาลอุทธรณ์จะพิพากษาคดีสำหรับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ไปโดยไม่รอฟังพยานหลักฐานของจำเลยที่ 5 ก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2017/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การดำเนินกระบวนพิจารณาคดีหนี้ร่วมที่ผิดระเบียบ หากจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การโดยมิใช่ความผิดของตน
เมื่อปรากฏว่า จำเลยที่ 5 ยื่นคำให้การในกำหนด คำสั่งของศาลชั้นต้นที่สั่งให้จำเลยที่ 5 ขาดนัดยื่นคำให้การจึงเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบ การดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นตั้งแต่สั่งให้จำเลยที่ 5 ขาดนัดยื่นคำให้การจนถึงชั้นพิพากษาย่อมเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ ชอบที่จะสั่งให้ย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาเฉพาะที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 5 แล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดี
โจทก์ฟ้องให้จำเลยทั้งห้าร่วมกันรับผิดในมูลหนี้ละเมิด จึงเป็นหนี้ร่วมที่มิอาจจะแบ่งแยกได้ การที่ศาลจะพิพากษาให้จำเลยคนใดคนหนึ่งรับผิดในมูลหนี้ร่วมดังกล่าวจำต้องรับฟังพยานหลักฐานโจทก์และจำเลยทุกคน เมื่อศาลชั้นต้นสั่งให้จำเลยที่ 5 ขาดนัดยื่นคำให้การโดยมิใช่ความผิดของจำเลยที่ 5 พยานหลักฐานของจำเลยที่ 5 ที่จะนำสืบก็ยังไม่ปรากฏในสำนวน ไม่ชอบที่ศาลอุทธรณ์จะพิพากษาคดีสำหรับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ไปโดยไม่รอฟังพยานหลักฐานของจำเลยที่ 5 ก่อน
โจทก์ฟ้องให้จำเลยทั้งห้าร่วมกันรับผิดในมูลหนี้ละเมิด จึงเป็นหนี้ร่วมที่มิอาจจะแบ่งแยกได้ การที่ศาลจะพิพากษาให้จำเลยคนใดคนหนึ่งรับผิดในมูลหนี้ร่วมดังกล่าวจำต้องรับฟังพยานหลักฐานโจทก์และจำเลยทุกคน เมื่อศาลชั้นต้นสั่งให้จำเลยที่ 5 ขาดนัดยื่นคำให้การโดยมิใช่ความผิดของจำเลยที่ 5 พยานหลักฐานของจำเลยที่ 5 ที่จะนำสืบก็ยังไม่ปรากฏในสำนวน ไม่ชอบที่ศาลอุทธรณ์จะพิพากษาคดีสำหรับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ไปโดยไม่รอฟังพยานหลักฐานของจำเลยที่ 5 ก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1398/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความประมาทเลินเล่อของอนุกรรมการตรวจสอบทรัพย์สินทำให้เกิดความเสียหายต่อโจทก์
จำเลยที่ 1 ได้รับแต่งตั้งให้ร่วมเป็นอนุกรรมการตรวจสอบทรัพย์สินในที่ดินของราษฎรที่ถูกเขตชลประทาน จำเลยที่ 1 มีหน้าที่ต้องไปดูบริเวณที่ดินและตรวจสอบทรัพย์สินของราษฎรเพื่อทราบจำนวนที่แท้จริงที่ต้องจ่ายค่าทดแทนการที่จำเลยที่ 1 เพียงแต่ตรวจดูรายงานการตรวจสอบของเจ้าหน้าที่คนอื่นโดยไม่ออกไปดูที่ดิน จึงเป็นความบกพร่องของจำเลยที่ 1 เอง หากจำเลยที่ 1 ยังไม่มีเวลาไปตรวจสอบก็จะต้องไม่ลงชื่อร่วมกับอนุกรรมการตรวจสอบทรัพย์สินคนอื่นการที่จำเลยที่ 1 ลงชื่อในใบตรวจสอบเป็นสาเหตุให้โจทก์เชื่อว่าราษฎรมีทรัพย์สินตามเอกสารดังกล่าวและจ่ายเงินค่าทดแทนตามที่อนุกรรมการเสนอเรื่องไปความเสียหายของโจทก์ที่จ่ายเงินทดแทนให้แก่ราษฎรเกินกว่ามูลค่าทรัพย์สินตามความเป็นจริงจึงเกิดจากการกระทำโดยประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ร่วมกับบุคคลอื่นกระทำละเมิดต่อโจทก์ และเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหาย จำเลยที่ 1 กับบุคคลอื่นดังกล่าวก็ต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์อย่างลูกหนี้ร่วม โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องจำเลยที่ 1กับบุคคลอื่นให้ร่วมกันรับผิดในความเสียหายที่เกิดแก่โจทก์หรือฟ้องจำเลยที่ 1 ให้รับผิดในความเสียหายทั้งหมดแต่เพียงคนเดียวก็ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 741/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของกรรมการสหกรณ์ต่อการยักยอกเงิน โดยไม่ได้ประมาทเลินเล่อ
โจทก์เป็นนิติบุคคลประเภทสหกรณ์การเกษตร มีจำเลยที่ 1เป็นผู้จัดการ จำเลยที่ 3 เป็นกรรมการและเลขานุการคณะกรรมการดำเนินการ และเป็นคนหนึ่งในจำนวน 5 คน ผู้มีอำนาจถอนเงินของโจทก์จากธนาคาร การถอนเงินตั้งแต่ 10,000 บาท มีระเบียบให้แจ้งให้พนักงานส่งเสริมสหกรณ์ทราบ จำเลยที่ 1 นำเช็คไปให้จำเลยที่ 3ลงชื่อร่วมเพื่อถอนเงินจากธนาคาร ในขณะที่จำเลยที่ 3 จะเข้าประชุมกรรมการสมาคมณาปนกิจสงเคราะห์สมาชิกเกษตรนางรอง จำเลยที่ 3ให้นายห. สมาชิกของโจทก์ไปกับจำเลยที่ 1 ส่วนการแจ้งต่อพนักงานส่งเสริมสหกรณ์นั้นแม้สมควรต้องเป็นหน้าที่ของจำเลยที่ 1ซึ่งเป็นผู้จัดการ แต่จำเลยที่ 3 ก็ได้กำชับจำเลยที่ 1 ให้แจ้งพนักงานส่งเสริมสหกรณ์เสียก่อน แต่จำเลยที่ 1 ก็ไม่แจ้ง ถือว่าจำเลยที่ 3 ใช้ความระมัดระวังในการปฏิบัติหน้าที่ตามสมควรที่วิญญูชนทั่วไปจะพึงกระทำแล้ว ไม่ประมาทเล่นเลิอ จึงไม่ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ ในการที่จำเลยที่ 1 ถอนเงินมาแล้วยักยอกเงินไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 534/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางละเมิดกรณีบุคคลหลายคนเป็นหนี้ร่วมกัน ลูกหนี้ร่วมกันต้องรับผิดชอบความเสียหายทั้งหมด
การที่ ด.บุตรโจทก์ถึงแก่ความตายเป็นเพราะจำเลยกับส.ต่างประมาท มิใช่เป็นการร่วมกระทำละเมิด เมื่อความเสียหายที่เกิดขึ้นเป็นความเสียหายอันเดียวกัน จึงเป็นกรณีบุคคลหลายคนเป็นหนี้อันจะแบ่งแยกจากกันชำระมิได้ ผู้กระทำละเมิดทุกคนต้องร่วมรับผิดในความเสียหายต่อโจทก์อย่างลูกหนี้ร่วมกัน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 301 ประกอบมาตรา 291 ศาลจะวินิจฉัยว่าจำเลยประมาทน้อยกว่า ส.จึงให้จำเลยรับผิดเพียง3 ใน 10 ส่วน ตามความร้ายแรงแห่งละเมิดหาได้ไม่ เพราะด.มิได้มีส่วนก่อให้เกิดความเสียหายด้วย ผู้กระทำละเมิดแต่ละคนจะรับผิดมากน้อยเพียงใดเป็นเรื่องระหว่างผู้กระทำละเมิดด้วยกันเอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 534/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของลูกหนี้ร่วมในความเสียหายจากอุบัติเหตุทางรถยนต์
จำเลยซึ่งขับรถยนต์โดยสารกับ ส. ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ที่ผู้ตายนั่งซ้อน ท้ายมาต่างประมาทด้วยกัน มิใช่เป็นการร่วมกันกระทำละเมิด ผู้ตายมิได้มีส่วนทำความผิดด้วย และความเสียหายที่เกิดขึ้นเป็นความเสียหายอันเดียวกันเป็นหนี้อันจะแบ่งแยกจากกันชำระมิได้ ผู้ทำละเมิดทุกคนต้องร่วมกันรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้นอย่างลูกหนี้ร่วม ตามป.พ.พ. มาตรา 301 ประกอบด้วยมาตรา 291 จำเลยจึงต้องรับผิดในความเสียหายทั้งหมดต่อโจทก์ ส่วนจำเลยกับ ส. จะต้องรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้นมากน้อยเพียงใดเป็นเรื่องระหว่างจำเลยกับ ส. ด้วยกันเอง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 104/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องละเมิดจากหนังสือร้องเรียนที่ไม่เป็นความจริง และความรับผิดของนายจ้างต่อลูกจ้าง
การฟ้องให้จำเลยร่วมกันรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายในมูลละเมิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 432 ไม่จำต้องบรรยายว่าจำเลยแต่ละคนจะต้องรับผิดต่อโจทก์คนละเท่าใด เพราะจำเลยต้องร่วมกันรับผิดตามฟ้องอยู่แล้ว ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2 ได้มีหนังสือร้องเรียนโจทก์ต่อผู้บังคับบัญชา กล่าวหาว่าโจทก์ไม่ยอมทำงานเอาแต่นั่งอ่านหนังสือพิมพ์ มือคติ ในการทำงาน พยายามหน่วงเหนี่ยวและกระทำการเป็นกำแพงฟ้องกันการส่งสินค้าออก ซึ่งเป็นการร้องเรียนกล่าวหาฝ่าฝืนความจริง จึงเป็นการละเมิดต่อโจทก์ ทำให้โจทก์เสียหายจำเลยที่ 2 ในฐานะนายจ้างของจำเลยที่ 1 จึงต้องร่วมรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 104/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องละเมิดจากหนังสือร้องเรียนเท็จ การพิสูจน์ข้อเท็จจริง และขอบเขตความรับผิดร่วมกัน
การฟ้องให้จำเลยร่วมกันรับผิดใช้ค่าเสียหายในมูลละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 432 ไม่จำต้องบรรยายว่าจำเลยแต่ละคนจะต้องรับผิดต่อโจทก์คนละเท่าใดเพราะจำเลยต้องร่วมกันรับผิดเต็มตามฟ้องอยู่แล้ว ดังนั้น ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม แม้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของกรมการค้าต่างประเทศจะพูดกับจำเลยที่ 1 ผู้มาขอให้โจทก์ช่วยตรวจสอบเรื่องของจำเลยที่ 1ว่า "ผมไม่ชอบให้พ่อค้าเร่งข้าราชการ ผมรู้หน้าที่ของผมดี ผมไม่ชอบ"ก็ไม่ใช่ถ้อยคำที่ไม่สุภาพ เชื่อว่าเกิดจากความไม่พอใจที่จำเลยที่ 1 มาเร่งรัด ประกอบกับโจทก์ได้ปฏิบัติหน้าที่ตามปกติโดยไม่ชักช้า โจทก์จึงไม่มีอคติในการทำงาน การที่จำเลยที่ 1 ร้องเรียนต่อผู้บังคับบัญชาของโจทก์ว่าโจทก์ไม่ยอมทำงานเอาแต่นั่งอ่านหนังสือพิมพ์ มีอคติในการทำงาน และกระทำการหน่วงเหนี่ยวเป็นกำแพงป้องกันการส่งสินค้าออก จึงเป็นการร้องเรียนกล่าวหาที่ฝ่าฝืนต่อความจริง เป็นการละเมิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4011-4012/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดจากอุบัติเหตุทางรถยนต์: ประมาทเลินเล่อร่วมกัน, ผู้เสียหายบุคคลภายนอก, การแบ่งความรับผิด, หนี้ไม่อาจแบ่งแยก
จำเลยที่ 3 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2 ขณะเกิดเหตุจำเลยที่ 3ขับรถไปในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 และรถคันที่จำเลยที่ 3 ขับได้ประกันภัยไว้กับจำเลยที่ 1 เมื่อจำเลยที่ 3 กับผู้ตายขับรถชนกันโดยประมาทไม่ยิ่งหย่อนกว่ากัน จำเลยทั้งสามกับผู้ตายจะต้องรับผิดต่อโจทก์ที่ 1 เจ้าของรถคันที่ผู้ตายขับซึ่งเป็นบุคคลภายนอกเท่ากันแต่โจทก์ที่ 1 ไม่ได้ฟ้องผู้ตายให้ร่วมรับผิดใช้ค่าเสียหายด้วยจำเลยทั้งสามก็ควรจะรับผิดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ที่ 1 เพียงกึ่งหนึ่ง และเนื่องจากหนี้ดังกล่าวเป็นหนี้ที่ไม่อาจแบ่งแยกชำระได้แม้จำเลยที่ 2 ที่ 3 ไม่อุทธรณ์ฎีกาก็ให้มีผลถึงจำเลยที่ 2 ที่ 3ด้วย ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 245(1) ความรับผิดระหว่างจำเลยทั้งสามกับโจทก์ที่ 2 ภริยาของผู้ตาย โจทก์ที่ 3 บุตรของผู้ตายจึงต้องเป็นพับ กันไป.