คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 432

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 105 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3071-3072/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งความรับผิดในคดีละเมิด, ข้อจำกัดการอุทธรณ์/ฎีกา, ผลของการขาดนัดยื่นคำให้การ, และการชำระหนี้ที่ไม่อาจแบ่งแยกได้
โจทก์สามคนต่างใช้สิทธิเฉพาะตัวของโจทก์แต่ละคนตามลำพังฟ้องให้จำเลยใช้ค่าเสียหายอันเกิดจากการละเมิดทำให้รถยนต์ของโจทก์แต่ละคนเสียหาย แม้จะรวมฟ้องมาในคดีเดียวกันก็ต้องพิจารณาจำนวนทุนทรัพย์ของคดีสำหรับโจทก์แต่ละคนถ้าทุนทรัพย์ไม่เกิน 50,000 บาท และศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เล็กน้อยก็ฎีกาข้อเท็จจริงไม่ได้ ส่วนทุนทรัพย์ที่ไม่เกิน20,000 บาทนั้น ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริง แม้ศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยข้อเท็จจริงมาก็เป็นการมิชอบ เพราะปัญหาดังกล่าวยุติตั้งแต่ศาลชั้นต้น
จำเลยที่ 4 ในสำนวนหลังฎีกา แต่ในสำนวนหลังนี้ศาลชั้นต้นสั่งว่าจำเลยที่ 4 ขาดนัดยื่นคำให้การ จำเลยที่ 4 จึงหาอาจเรียกพยานของตนเข้าสืบได้ไม่ ดังนั้นพยานที่จำเลยที่ 4 ซึ่งเป็นจำเลยที่ 2 ในสำนวนแรกนำสืบรวมมาในสำนวนแรก จึงไม่อาจนำมาวินิจฉัยในสำนวนหลังได้
แม้จำเลยที่ 4 จะฎีกาแต่ผู้เดียว แต่คำพิพากษาศาลฎีกาในส่วนที่เป็นผลดีแก่จำเลยที่ 4 เกี่ยวด้วยการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ จึงมีผลถึงจำเลยอื่นที่ไม่ได้ฎีกาด้วย
จำเลยทั้งสองต่างขับรถยนต์ด้วยความเร็วแซงและแข่งกันมาเป็นเหตุให้ชนรถของโจทก์ซึ่งจอดอยู่ พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิดของจำเลยทั้งสองมีเท่ากัน และเป็นกรณีต่างทำละเมิดโดยไม่ได้ร่วมกัน จึงไม่ต้องร่วมกันใช้ค่าสินไหมทดแทนทั้งหมดแก่โจทก์ จำเลยทั้งสองต้องรับผิดแบ่งออกเป็นส่วนเท่าๆ กัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3071-3072/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำกัดทุนทรัพย์, การขาดนัดยื่นคำให้การ, และความรับผิดทางละเมิดแยกส่วน กรณีชนท้าย
โจทก์สามคนต่างใช้สิทธิเฉพาะตัวของโจทก์แต่ละคนตามลำพังฟ้องให้จำเลยใช้ค่าเสียหายอันเกิดจากการละเมิดทำให้รถยนต์ของโจทก์แต่ละคนเสียหาย แม้จะรวมฟ้องมาในคดีเดียวกันก็ต้องพิจารณาจำนวนทุนทรัพย์ของคดีสำหรับโจทก์แต่ละคน ถ้าทุนทรัพย์ไม่เกิน 50,000 บาท และศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เล็กน้อยก็ฎีาข้อเท็จจริงไม่ได้ ส่วนทุนทรัพย์ที่ไม่เกิน 20,000 บาทนั้น ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริง แม้ศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยข้อเท็จจริงมาก็เป็นการมิชอบเพราะปัญหาดังกล่าวยุติตั้งแต่ศาลชั้นต้น
จำเลยที่ 4 ในสำนวนหลังฎีกา แต่ในสำนวนหลังนี้ศาลชั้นต้นสั่งว่าจำเลยที่ 4 ขาดนัดยื่นคำให้การ จำเลยที่ 4 จึงหาอาจเรียกพยานของตนเข้าสืบได้ไม่ ดังนั้น พยานที่จำเลยที่ 4 ซึ่งเป็นจำเลยที่ 2 ในสำนวนแรกนำสืบรวมมาในสำนวนแรกจึงไม่อาจนำมาวินิจฉัยในสำนวนหลังได้
แม้จำเลยที่ 4 จะฎีกาแต่ผู้เดียว แต่คำพิพากษาศาลฎีกาในส่วนที่เป็นผลดีแก่จำเลยที่ 4 เกี่ยวด้วยการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ จึงมีผลถึงจำเลยอื่นที่ไม่ได้ฎีกาด้วย
จำเลยทั้งสองต่างขับรถยนต์ด้วยความเร็วแซงและแข่งกันมา เป็นเหตุให้ชนรถของโจทก์ซึ่งจอดอยู่ พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิดของจำเลยทั้งสองมีเท่ากัน และเป็นกรณีต่างทำละเมิดโดยไม่ได้ร่วมกัน จึงไม่ต้องร่วมกันใช้ค่าสินไหมทดแทนทั้งหมดแก่โจทก์จำเลยทั้งสองต้องรับผิดแบ่งออกเป็นส่วนเท่าๆกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 362/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องเรียกคืนเงินจากผู้รับเงินทุจริต แม้ไม่มีสิทธิยึดถือ ไม่มีอายุความ และการสมคบกันทุจริตเป็นเหตุให้โจทก์มีอำนาจฟ้อง
จำเลยสมคบกับพนักงานไปรษณีย์ที่ยักยอกเงิน โดยส่งธนาณัติมาให้จำเลยเป็นผู้รับเงิน จำเลยทำละเมิดต่อกรมไปรษณีย์ฯ โจทก์ต้องชดใช้เงินคืน การฟ้องเรียกเงินคืนจากผู้ไม่มีสิทธิยึดถือไว้ไม่มีอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1544/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1544/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางละเมิดจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ การแบ่งความรับผิดหลายฝ่าย และขอบเขตความรับผิดของนายจ้าง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า ค่าเสียหายของโจทก์รวมทั้งสิ้นเป็นเงิน 1,980,000 บาท แต่โจทก์มิได้เรียกร้องเอาเต็มจำนวนดังกล่าว คงติดใจขอเพียง 700,000 บาท กับดอกเบี้ยอีก 45,125 บาท รวม 748,125 บาท ดังนี้ การคิดค่าขึ้นศาลต้องคิดจากจำนวนเงิน 748,125 บาท ตามทุนทรัพย์ที่เรียกร้อง
ในคดีอาญาที่อัยการเป็นโจทก์ฟ้อง ต. ฐานขับรถยนต์โดยประมาทชนรถยนต์ที่จำเลยที่ 1 ขับ เป็นเหตุให้สามีโจทก์ซึ่งโดยสารมากับรถคันนั้นถึงแก่ความตาย และศาลพิพากษาลงโทษจำคุก ต. คดีถึงที่สุดแล้ว ต่อมาโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 ให้ร่วมรับผิดในมูลละเมิดที่จำเลยที่ 1 ขับรถยนต์ชนกับรถ ต. เป็นเหตุให้สามีโจทก์ถึงแก่ความตายเป็นคดีแพ่ง ดังนี้ ในคดีอาญาดังกล่าวมีประเด็นเพียงว่า ต.ขับรถด้วยความประมาทปราศจากความระมัดระวังหรือไม่เท่านั้น ไม่เกี่ยวกับจำเลยในคดีแพ่งนี้ซึ่งมิใช่คู่ความในคดีเดิม โจทก์จึงนำสืบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับจำเลยที่ 1 ได้
ในกรณีที่จำเลยกับผู้อื่นต่างคนต่างทำละเมิด มิใช่ร่วมกันทำละเมิดนั้น ศาลมีอำนาจกำหนดค่าเสียหายให้จำเลย รับผิดตามควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งความผิดของจำเลยได้
โจทก์ฟ้องจำเลยร่วมกับ ต.ทำละเมิด แม้จำเลยมิได้ยกขึ้นอ้างในศาลชั้นต้นว่าขอให้แบ่งส่วนความรับผิด แต่เรื่องค่าเสียหายนั้นศาลชอบที่จะกำหนดให้ชำระตามสมควรได้
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 ว่าเป็นนายจ้าง ต้องร่วมรับผิดในผลแห่งละเมิดของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกจ้าง กรณีจึงเป็นเรื่องเกี่ยวด้วยการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ แม้จำเลยที่ 1 จะมิได้ฎีกาก็ตาม เมื่อศาลฎีกาเห็นสมควรให้จำเลยที่ 2 รับผิดน้อยลงศาลฎีกาก็พิพากษาให้มีผลตลอดถึงจำเลยที่ 1 ด้วยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 368/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้จ้างเหมาต่อความเสียหายจากการก่อสร้างใกล้เคียง: หลักมาตรา 428
จำเลยทั้งสามกับ จ.จ้างเหมาให้ ฮ.สร้างตึกแถวให้คนละห้อง โดยต่างคนต่างจ้างและแยกกันทำสัญญาคนละฉบับ ฮ.ตอกเสาเข็มเพื่อก่อสร้างตึกแถวดังกล่าว ทำให้ตึกของโจทก์ซึ่งอยู่ในที่ข้างเคียงสั่นสะเทือนและแตกร้าวเมื่อจำเลยเป็นผู้เลือกหาผู้รับจ้าง และการก่อสร้างก็ต้องเป็นไปตามการงานที่จำเลยสั่งให้ทำตามข้อบังคับในสัญญาจ้าง จำเลยจึงต้องรับผิดเพื่อความเสียหายนั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 428 แต่เมื่อโจทก์ไม่ได้ฟ้อง จ. ด้วย ศาลย่อมให้จำเลยทั้งสามร่วมกันรับผิดเพียง 3 ใน 4 ของจำนวนค่าเสียหาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 368/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้จ้างเหมาต่อความเสียหายจากการก่อสร้าง ความรับผิดเกิดจากการตอกเสาเข็มกระทบต่อทรัพย์สินข้างเคียง
จำเลยทั้งสามกับ จ.จ้างเหมาให้ ฮ.สร้างตึกแถวให้คนละห้องโดยต่างคนต่างจ้างและแยกกันทำสัญญาคนละฉบับ ฮ.ตอกเสาเข็มเพื่อก่อสร้างตึกแถวดังกล่าว ทำให้ตึกของโจทก์ซึ่งอยู่ในที่ดินข้างเคียงสั่นสะเทือนและแตกร้าว เมื่อจำเลยเป็นผู้เลือกหาผู้รับจ้างและการก่อสร้างก็ต้องเป็นไปตามการงานที่จำเลยสั่งให้ทำตามข้อบังคับในสัญญา จ้าง จำเลยจึงต้องรับผิดเพื่อความเสียหายนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 428 แต่เมื่อโจทก์ไม่ได้ฟ้อง จ.ด้วยศาลย่อมให้จำเลยทั้งสามร่วมกันรับผิดเพียง 3 ใน 4 ของจำนวนค่าเสียหาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 987/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดต่อละเมิดจากสายโทรเลขขาด และข้อยกเว้นความรับผิดของเจ้าของทรัพย์
กรมไปรษณีย์โทรเลขจำเลยที่ 2 ไม่ตรวจตราดูแลในการขึงสายโทรเลขซึ่งอยู่เหนือสายไฟฟ้าให้อยู่ในสภาพที่มั่นคงสายโทรเลขจึงขาดลงมาพาดสายไฟฟ้าตรงที่ไม่มียางหุ้มเพราะสายไฟฟ้านี้ใช้มานานจนยางที่หุ้มผุเปื่อยขาดโดยไม่มีการแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลง จนเป็นเหตุให้กระแสไฟฟ้ารั่วไหลออกได้ ปลายสายโทรเลขที่ขาดนั้นทอดไปตกยังพื้นดินที่ถนน กระแสไฟฟ้าจึงแล่นตามสายโทรเลขนั้นดูดกระบือของโจทก์ที่เดินมาถูกสายโทรเลขถึงแก่ความตายแม้ตามปกติสายโทรเลขจะมีกระแสไฟฟ้าไม่เป็นอันตรายแก่บุคคลและสัตว์ แต่เห็นได้ว่าเป็นผลสืบเนื่องมาจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 2 ทำให้โจทก์เสียหายอันเป็นการละเมิด ไม่ใช่เป็นเหตุสุดวิสัย แม้จะมีข้อตกลงระหว่างจำเลยที่ 2 กับการไฟฟ้าฯ จำเลยที่ 1 ว่าในการขึงสายไฟฟ้าที่ผ่านสายโทรเลขให้ขึงอยู่สูงต่ำกว่ากันแค่ไหนจำเลยที่ 1 ไม่ปฏิบัติตามก็ไม่ทำให้จำเลยที่ 2หลุดพ้นความรับผิดต่อโจทก์ แต่เมื่อได้ความว่าตรงจุดที่สายโทรเลขพาดกับสายไฟฟ้าซึ่งกระแสไฟฟ้ารั่วไหลได้นั้นเป็นสายไฟฟ้าที่อยู่ภายในช่วงที่ต่อจากหม้อวัดไฟเข้าไปยังบ้านของน. ผู้ขอใช้ไฟ จึงถือไม่ได้ว่าสายไฟฟ้าซึ่งเป็นทรัพย์อันเป็นของเกิดอันตรายได้โดยสภาพนั้นอยู่ในความครอบครองของจำเลยที่ 1 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 437 วรรค 2 จำเลยที่ 1 จึงหาต้องรับผิดต่อโจทก์ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 987/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดต่อความเสียหายจากกระแสไฟฟ้าลัดวงจร: การประมาทเลินเล่อของผู้ประกอบการสายโทรเลขและขอบเขตความรับผิดของเจ้าของทรัพย์
กรมไปรษณีย์โทรเลขจำเลยที่ 2 ไม่ตรวจตราดูแลในการขึงสายโทรเลขซึ่งอยู่เหนือสายไฟฟ้าให้อยู่ในสภาพที่มั่นคงสายโทรเลขจึงขาดลงมาพาดสายไฟฟ้าตรงที่ไม่มียางหุ้ม เพราะสายไฟฟ้านี้ใช้มานานจนยางที่หุ้มผุเปื่อยขาดโดยไม่มีการแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลง จนเป็นเหตุให้กระแสไฟฟ้ารั่วไหลออกได้ ปลายสายโทรเลขที่ขาดนั้นทอดไปตกยังพื้นดินที่ถนน กระแสไฟฟ้าจึงแล่นตามสายโทรเลขนั้นดูดกระบือของโจทก์ที่เดินมาถูกสายโทรเลขถึงแก่ความตายแม้ตามปกติสายโทรเลขจะมีกระแสไฟฟ้าไม่เป็นอันตรายแก่บุคคลและสัตว์ แต่เห็นได้ว่าเป็นผลสืบเนื่องมาจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 2 ทำให้โจทก์เสียหายอันเป็นการละเมิด ไม่ใช่เป็นเหตุสุดวิสัย แม้จะมีข้อตกลงระหว่างจำเลยที่ 2 กับการไฟฟ้าฯ จำเลยที่ 1 ว่าในการขึงสายไฟฟ้าที่ผ่านสายโทรเลขให้ขึงอยู่สูงต่ำกว่ากันแค่ไหนจำเลยที่ 1 ไม่ปฏิบัติตามก็ไม่ทำให้จำเลยที่ 2หลุดพ้นความรับผิดต่อโจทก์ แต่เมื่อได้ความว่าตรงจุดที่สายโทรเลขพาดกับสายไฟฟ้าซึ่งกระแสไฟฟ้ารั่วไหลได้นั้นเป็นสายไฟฟ้าที่อยู่ภายในช่วงที่ต่อจากหม้อวัดไฟเข้าไปยังบ้านของ น. ผู้ขอใช้ไฟ จึงถือไม่ได้ว่าสายไฟฟ้าซึ่งเป็นทรัพย์อันเป็นของเกิดอันตรายได้โดยสภาพนั้นอยู่ในความครอบครองของจำเลยที่ 1 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 437 วรรค 2 จำเลยที่ 1 จึงหาต้องรับผิดต่อโจทก์ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 126/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางละเมิดจากการเผยแพร่ข้อมูลเท็จและผลกระทบต่อชื่อเสียง การแก้ไขข่าว และขอบเขตความรับผิดของเจ้าของหนังสือพิมพ์
จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของหนังสือพิมพ์ จำเลยที่ 3 เป็นบรรณาธิการ ผู้พิมพ์ ผู้โฆษณา จำเลยที่ 4 เป็นผู้เขียนในคอลัมน์ข่าวสังคม เมื่อจำเลยที่ 4 เขียนข้อความอันเป็นการละเมิดต่อโจทก์อันจะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 423 แล้วจำเลยที่ 3 ต้องรับผิดในข้อความที่ตนรวบรวมนำลงพิมพ์จะแก้ตัวว่ามีผู้รับผิดชอบในแผนกข่าวคอลัมน์ดังกล่าวนั้นแล้วหาได้ไม่ จำเลยที่ 4 เป็นคนเขียนข้อความนั้นเอง จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 3 ด้วย ส่วนจำเลยที่ 1 เป็นเพียงเจ้าของหนังสือพิมพ์นั้น ถึงแม้ว่าจำเลยที่ 3, 4 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 แต่การดำเนินการพิมพ์ต่าง ๆ เป็นเรื่องที่จำเลยที่ 3 ดำเนินการเอง ไม่ได้ความว่าจำเลยที่ 1 เข้าไปเกี่ยวข้องกับการละเมิดนี้อย่างใดและโจทก์มิได้บรรยายฟ้องให้จำเลยที่ 1 รับผิดในฐานะที่จำเลยที่ 3, 4 เป็นลูกจ้างกระทำไปในทางการที่จ้างจำเลยที่ 1 ก็ไม่ต้องร่วมรับผิดด้วย
การแก้ข่าวในหนังสือพิมพ์ อันจะทำให้สิทธิในการฟ้องของผู้ได้รับความเสียหายระงับลงตามพระราชบัญญัติการพิมพ์พ.ศ. 2484 มาตรา 41 นั้นจะต้องปรากฏว่าผู้ขอแก้ข่าวคือ โจทก์ผู้ได้รับความเสียหาย ได้มีหนังสือขอแก้ข่าวนั้นไปยังบรรณาธิการหนังสือพิมพ์นั้น ขอให้แก้ข่าวที่ฝ่าฝืนความจริงและหนังสือพิมพ์นั้นลงพิมพ์ข้อความแก้ข่าวให้
โจทก์เป็นบุคคลที่มีเกียรติคุณและมีชื่อเสียงในสังคมมีคนรู้จักในทางที่ดี จำเลยลงโฆษณาทางหนังสือพิมพ์ทำให้แพร่หลายแก่บุคคลทั่ว ๆไป คนที่ไม่รู้ความจริงต้อง เข้าใจผิดว่าโจทก์เป็นคนที่มีความประพฤติดังที่จำเลยกล่าว หรือไขข่าวเป็นการทำให้โจทก์เสียหายแก่ชื่อเสียง พฤติการณ์ดังนี้ เป็นเหตุสมควรจัดการเพื่อให้ชื่อเสียงของ โจทก์กลับคืนดีโดยการโฆษณาในหนังสือพิมพ์แจ้งความจริงให้ประชาชนทราบโดยให้จำเลยเสียค่าใช้จ่าย หากจำเลยไม่ปฏิบัติตามก็ให้โจทก์จัดการโฆษณาเองโดยคิดค่าใช้จ่ายจากจำเลย
of 11