พบผลลัพธ์ทั้งหมด 273 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5662/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประมาทเลินเล่อทั้งสองฝ่าย: การพิพากษาความรับผิดทางละเมิด กรณีอุบัติเหตุบนทางก่อสร้าง
เมื่อโจทก์ทั้งสองอ้างส่งภาพถ่ายรถยนต์ของโจทก์ที่ 2 ประกอบคำเบิกความของพยานโจทก์ทั้งสอง ทั้งศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า จำเลยทั้งสองเป็นฝ่ายประมาทหรือไม่ และจำเลยทั้งสองต้องรับผิดต่อโจทก์ทั้งสองหรือไม่ เพียงใด ศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจหยิบยกภาพถ่ายดังกล่าวขึ้นมาวินิจฉัยและมีอำนาจวินิจฉัยว่าโจทก์ที่ 1 ขับรถยนต์คันเกิดเหตุด้วยความประมาทเลินเล่อด้วยหรือไม่ ทั้งนี้เพื่อจะได้กำหนดค่าเสียหายได้ถูกต้อง ตาม ป.พ.พ. มาตรา 442 จึงไม่ใช่เป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องหรือนอกประเด็น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3379/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางละเมิดจากการเช่าทรัพย์และการขายทอดตลาด สินค้าที่เหลืออยู่หลังสิ้นสุดสัญญาเช่า ผู้เช่ามีส่วนผิด
แม้การที่จำเลยที่ 1 เข้าครอบครองพื้นที่ที่เช่าและขนย้ายสินค้าและทรัพย์สินของโจทก์ออกไปจะเป็นละเมิด แต่ก่อนที่จำเลยที่ 1 จะขนย้ายสินค้าและทรัพย์สินไปเก็บรักษาไว้ จำเลยที่ 1 มีหนังสือถึงฝ่ายโจทก์ให้โอกาสขนย้ายไปได้ สำหรับการขายสินค้าและทรัพย์สินก็ขายทอดตลาดโดยเปิดเผย แต่ไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้คอยดูแลติดต่อสอบถามและรับเอาสินค้ารวมถึงทรัพย์สินคืน หรือเข้าไปเกี่ยวข้องกับการขายทอดตลาดนั้นอย่างไร จำเลยที่ 1 จึงขายทอดตลาดทรัพย์สินไป พฤติการณ์แห่งคดีถือได้ว่าความเสียหายที่เกิดขึ้นก็เพราะความผิดของโจทก์ผู้ต้องเสียหายประกอบด้วยดังที่บัญญัติไว้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 442 โดยบัญญัติดังกล่าวให้นำบทบัญญัติมาตรา 223 มาใช้บังคับอนุโลม ซึ่งมาตรา 223 บัญญัติว่า "ถ้าฝ่ายผู้เสียหายได้มีส่วนทำความผิดอย่างใดอย่างหนึ่งก่อให้เกิดความเสียหายไซร้ ท่านว่าหนี้อันจะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ฝ่ายผู้เสียหายมากน้อยเพียงใดนั้น ต้องอาศัยพฤติการณ์เป็นประมาณ ข้อสำคัญคือว่าความเสียหายนั้นได้เกิดขึ้นเพราะฝ่ายไหนเป็นผู้ก่อยิ่งหย่อนกว่ากันเพียงใด" ตามพฤติการณ์แห่งคดีฝ่ายโจทก์ซึ่งเป็นผู้เสียหายมีส่วนผิดอันก่อให้เกิดความเสียหายเป็นสัดส่วนที่ไม่น้อยไปกว่าความเสียหายที่จำเลยที่ 1 ก่อมากนัก จึงเห็นสมควรกำหนดค่าเสียหายในส่วนนี้ให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4443/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความประมาทเลินเล่อของผู้ขับขี่ทั้งสองฝ่าย การรับช่วงสิทธิของบริษัทประกันภัย และการแบ่งความรับผิด
โจทก์ในฐานะผู้รับประกันภัยมีหน้าที่ตามสัญญาประกันภัยต้องชำระค่ารักษาพยาบาลให้แก่ ฐ. และนาวาอากาศเอก ฤ. ผู้โดยสารรถคันที่โจทก์รับประกันภัย แล้วรับช่วงสิทธิของ ฐ. และนาวาอากาศเอก ฤ. มาไล่เบี้ยเอาจากผู้ต้องรับผิดจากการที่รถเกิดเฉี่ยวชนกัน เมื่อเหตุที่รถเฉี่ยวชนกันเกิดจากความประมาทของผู้ขับรถคันที่โจทก์รับประกันภัย และจำเลยที่ 1 ไม่ยิ่งหย่อนกว่ากัน จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายให้แก่ ฐ. และนาวาอากาศเอก ฤ. ครึ่งหนึ่งของจำนวนเงินค่ารักษาพยาบาล
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1137/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดจากเช็คปลอมและการละเลยดูแลทรัพย์สิน การแบ่งแยกหนี้ความรับผิด
การเบิกความของ ธ. ตอบคำถามค้านของทนายจำเลยที่ 3 เกี่ยวกับลายมือชื่อของ อ. เป็นการเบิกความไปตามความเห็นหรือความรู้สึกของ ธ. ในลายมือชื่อของ อ. ตามที่เห็นเท่านั้น กรณีไม่อาจรับฟังเป็นพยานหลักฐานว่าลายมือชื่อที่ ธ. เห็นตามเอกสารที่ทนายจำเลยที่ 3 นำมาถามค้านนั้น เป็นลายมือชื่อที่แท้จริงของ อ. หรือเป็นลายมือชื่อปลอม และความเห็นของ ธ. เป็นความเห็นในเรื่องตั๋วสัญญาใช้เงิน ซึ่งมิใช่เช็คพิพาทในคดีนี้ กรณีจึงถือไม่ได้ว่าโจทก์รับรู้ถึงการใช้ลายมือชื่อปลอมของ อ. ในเช็คพิพาท อันจะถือได้ว่าโจทก์อยู่ในฐานเป็นผู้ต้องตัดบทมิให้ยกข้อลายมือชื่อปลอมหรือข้อลงลายมือชื่อโดยปราศจากอำนาจนั้นขึ้นเป็นข้อต่อสู้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1008 โจทก์จึงฟ้องเรียกให้จำเลยที่ 3 ชำระเงินตามฟ้องได้
การที่โจทก์มอบให้จำเลยที่ 1 ผู้จัดการฝ่ายบัญชีและการเงินของโจทก์เป็นผู้เก็บแบบพิมพ์เช็คและตราประทับของโจทก์ไว้ แล้วจำเลยที่ 1 เป็นผู้เอาแบบพิมพ์เช็คพิพาทที่มีการปลอมลายมือชื่อของ อ. ผู้มีอำนาจสั่งจ่ายเช็คของโจทก์นำไปเรียกเก็บเงินจากบัญชีของโจทก์ได้ถึง 43 ฉบับ ในช่วงระยะเวลานาน 3 ปี เช่นนี้ แสดงให้เห็นว่าโจทก์ละเลยไม่ระมัดระวังในการเก็บรักษาควบคุมดูแลแบบพิมพ์เช็คพิพาทและตราประทับของโจทก์ รวมทั้งไม่มีมาตรการในการตรวจสอบเพื่อป้องกันมิให้มีการนำแบบพิมพ์เช็คพิพาทไปปลอมลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายแล้วใช้ตราประทับของโจทก์ประทับลงในเช็คพิพาทนำไปเบิกเงินจากจำเลยที่ 3 แต่อย่างใด ทั้งจำเลยที่ 3 ได้ส่งรายการเดินบัญชีกระแสรายวันของโจทก์ให้แก่โจทก์ทราบทุกเดือน หากโจทก์มีมาตรการตรวจสอบที่ดี ก็จะทราบถึงความผิดปกติในการใช้เช็คเบิกเงินออกจากบัญชีของโจทก์และสามารถแก้ไขได้ในระยะเวลาที่รวดเร็วกว่านี้ แต่โจทก์กลับปล่อยปละไม่ตรวจสอบจนเวลาล่วงมาถึง 3 ปี จึงทราบเหตุละเมิดดังกล่าว ถือได้ว่าโจทก์มีส่วนก่อให้เกิดความเสียหายด้วย ดังนั้น การกำหนดค่าเสียหายแก่โจทก์เพียงใด ต้องอาศัยพฤติการณ์เป็นประมาณ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 223 วรรคหนึ่ง, 438 และ 442
หนี้ที่จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดต่อโจทก์เป็นมูลหนี้ละเมิดที่จำเลยที่ 1 กระทำขึ้นแต่ฝ่ายเดียวเป็นการเฉพาะตัว โดยไม่ปรากฎว่าจำเลยที่ 2 ได้มีส่วนร่วมรู้เห็นในการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ และมูลหนี้ละเมิดไม่อาจให้สัตยาบันได้ ดังนั้น แม้จำเลยที่ 1 จะนำเงินที่ได้จากการละเมิดต่อโจทก์มาซื้อทรัพย์สินหรือฝากไว้ในธนาคารระบุชื่อจำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นเจ้าของร่วมกัน ก็มิใช่หนี้ร่วมตามความหมายแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 1490 จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 รับผิดต่อโจทก์ร่วม
การที่โจทก์มอบให้จำเลยที่ 1 ผู้จัดการฝ่ายบัญชีและการเงินของโจทก์เป็นผู้เก็บแบบพิมพ์เช็คและตราประทับของโจทก์ไว้ แล้วจำเลยที่ 1 เป็นผู้เอาแบบพิมพ์เช็คพิพาทที่มีการปลอมลายมือชื่อของ อ. ผู้มีอำนาจสั่งจ่ายเช็คของโจทก์นำไปเรียกเก็บเงินจากบัญชีของโจทก์ได้ถึง 43 ฉบับ ในช่วงระยะเวลานาน 3 ปี เช่นนี้ แสดงให้เห็นว่าโจทก์ละเลยไม่ระมัดระวังในการเก็บรักษาควบคุมดูแลแบบพิมพ์เช็คพิพาทและตราประทับของโจทก์ รวมทั้งไม่มีมาตรการในการตรวจสอบเพื่อป้องกันมิให้มีการนำแบบพิมพ์เช็คพิพาทไปปลอมลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายแล้วใช้ตราประทับของโจทก์ประทับลงในเช็คพิพาทนำไปเบิกเงินจากจำเลยที่ 3 แต่อย่างใด ทั้งจำเลยที่ 3 ได้ส่งรายการเดินบัญชีกระแสรายวันของโจทก์ให้แก่โจทก์ทราบทุกเดือน หากโจทก์มีมาตรการตรวจสอบที่ดี ก็จะทราบถึงความผิดปกติในการใช้เช็คเบิกเงินออกจากบัญชีของโจทก์และสามารถแก้ไขได้ในระยะเวลาที่รวดเร็วกว่านี้ แต่โจทก์กลับปล่อยปละไม่ตรวจสอบจนเวลาล่วงมาถึง 3 ปี จึงทราบเหตุละเมิดดังกล่าว ถือได้ว่าโจทก์มีส่วนก่อให้เกิดความเสียหายด้วย ดังนั้น การกำหนดค่าเสียหายแก่โจทก์เพียงใด ต้องอาศัยพฤติการณ์เป็นประมาณ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 223 วรรคหนึ่ง, 438 และ 442
หนี้ที่จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดต่อโจทก์เป็นมูลหนี้ละเมิดที่จำเลยที่ 1 กระทำขึ้นแต่ฝ่ายเดียวเป็นการเฉพาะตัว โดยไม่ปรากฎว่าจำเลยที่ 2 ได้มีส่วนร่วมรู้เห็นในการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ และมูลหนี้ละเมิดไม่อาจให้สัตยาบันได้ ดังนั้น แม้จำเลยที่ 1 จะนำเงินที่ได้จากการละเมิดต่อโจทก์มาซื้อทรัพย์สินหรือฝากไว้ในธนาคารระบุชื่อจำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นเจ้าของร่วมกัน ก็มิใช่หนี้ร่วมตามความหมายแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 1490 จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 รับผิดต่อโจทก์ร่วม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10955/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ธนาคารประมาทเลินเล่อเปิดบัญชีให้ผู้มีเจตนาทุจริต โจทก์ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงในการตรวจสอบภายใน ทำให้ศาลไม่อาจบังคับให้ธนาคารชดใช้ค่าเสียหาย
ตาม พ.ร.บ.องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก พ.ศ.2510 มาตรา 25 กำหนดให้ผู้อำนวยการองค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกเป็นผู้บริหารกิจการ และตามมาตรา 26 ในกิจการที่เกี่ยวกับบุคคลภายนอก ผู้อำนวยการเป็นผู้กระทำการในนามขององค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกและเป็นผู้กระทำการแทน สามารถมอบอำนาจให้ตัวแทนหรือบุคคลใด ๆ ปฏิบัติกิจการเฉพาะอย่างแทนก็ได้ การที่จำเลยทั้งสองยอมเปิดบัญชีเงินฝากให้แก่ ถ. ซึ่งเป็นพนักงานของโจทก์ในตำแหน่งเสมียนหน่วยการเงินโดยนำหนังสือขอเปิดบัญชีออมทรัพย์ ซึ่งออกโดยพันเอก ศ. โดยมิได้ปรากฏข้อเท็จจริงว่า พันเอก ศ. เป็นตัวแทนของผู้อำนวยการของโจทก์ หรือไม่ กรณีจึงมิได้เป็นไปตาม พ.ร.บ.องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก พ.ศ.2510 ถ. นำสำเนาบัตรประจำตัวพนักงานองค์การของรัฐของพันเอก ศ. ปลอมลายมือชื่อผู้มีอำนาจสั่งจ่ายทั้งสี่ลงในสำเนาบัตร และบัตรตัวอย่างลายมือชื่อให้ไว้ต่อพนักงานของจำเลยทั้งสองเพื่อไว้ตรวจสอบลายมือชื่อ จำเลยทั้งสองตรวจสอบหนังสือขอเปิดบัญชีออมทรัพย์และเอกสารต่าง ๆ แล้วเปิดบัญชีเงินฝากประเภทออมทรัพย์ใช้ชื่อบัญชีว่า "โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก" โดยจำเลยทั้งสองมิได้สอบถามไปยังโจทก์ว่าขอเปิดบัญชีหรือไม่ การที่ผู้มีอำนาจสั่งจ่ายเงินทั้งสี่มิได้มาลงลายมือชื่อในบัตรตัวอย่างลายมือชื่อต่อหน้าพนักงานของจำเลยทั้งสองจึงถือเป็นความบกพร่องของฝ่ายจำเลยทั้งสอง อันเป็นความประมาทเลินเล่อในขั้นตอนการเปิดบัญชีของจำเลยทั้งสอง แต่การที่ ถ. ซึ่งเป็นพนักงานของโจทก์นำเอกสารต่าง ๆ มายื่นคำขอเปิดบัญชีต่อจำเลยทั้งสองกับการที่พนักงานของจำเลยทั้งสองบกพร่องไม่ตรวจสอบให้ดีเสียก่อน ก่อนที่จะเปิดบัญชีให้แก่ ถ. นั้น การกระทำของ ถ. เป็นการจงใจทำละเมิดต่อโจทก์ถือว่าเป็นการกระทำที่ร้ายแรงมากกว่าการกระทำของจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นเพียงการกระทำโดยประมาทเลินเล่อเท่านั้น หลังจากที่จำเลยทั้งสองเปิดบัญชีเงินฝากให้แก่โจทก์แล้ว ถ. กระทำทุจริตนำเช็คขีดคร่อมที่ลูกค้าโจทก์สั่งจ่ายให้โจทก์เข้าฝากในบัญชีที่จำเลยทั้งสองเปิดให้โจทก์จำนวน 119 รายการ รวมเป็นเงิน 73,462,420.16 บาท รวมเวลานานถึง 5 ปีเศษ อันแสดงให้เห็นว่า ระบบการตรวจสอบภายในของโจทก์ไม่ดีพอ โจทก์ปล่อยปละละเลยจนเป็นเหตุให้ ถ. มีโอกาสทุจริตได้ง่าย หากโจทก์มีการตรวจสอบที่ดี รัดกุมและละเอียดรอบคอบ ถ. คงจะไม่ทุจริตตลอดมาเป็นระยะเวลา 5 ปีเศษ และความเสียหายคงจะไม่มากเท่านี้ ถือว่าโจทก์ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง กรณีถือได้ว่า โจทก์มีส่วนก่อให้เกิดความเสียหายมากกว่าจำเลยทั้งสอง จึงไม่อาจบังคับให้จำเลยทั้งสองชำระค่าเสียหายแก่โจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10534/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดค่าสินไหมทดแทนกรณีอุบัติเหตุทางรถยนต์ ต้องพิจารณาความประมาทของทั้งสองฝ่ายตามกฎหมายแพ่ง
ป.วิ.อ. มาตรา 46 บัญญัติไว้ว่า ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่งศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาส่วนอาญา คดีนี้ข้อเท็จจริงที่ฟังเป็นยุติในคดีส่วนอาญาคงมีเพียงว่า จำเลยกระทำโดยประมาท ส่วนข้อเท็จจริงที่ว่าผู้ตายมีส่วนประมาทหรือไม่ และใครประมาทมากกว่ากันอันเป็นข้อเท็จจริงที่จะต้องนำมาพิจารณาประกอบในการกำหนดค่าสินไหมทดแทนนั้น ศาลชั้นต้นยังมิได้วินิจฉัยและจำเลยได้อุทธรณ์ไว้แล้ว เมื่อ ป.วิ.อ. มาตรา 47 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า คำพิพากษาคดีส่วนแพ่งต้องเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายอันว่าด้วยความรับผิดของบุคคลในทางแพ่งโดยไม่ต้องคำนึงถึงว่าจำเลยต้องคำพิพากษาว่าได้กระทำผิดหรือไม่ และบทบัญญัติอันว่าด้วยความรับผิดของบุคคลในทางแพ่งในกรณีต่างฝ่ายต่างประมาททำให้เกิดมูลหนี้ละเมิดขึ้นนั้น ป.พ.พ. มาตรา 442 วางหลักให้นำบทบัญญัติแห่งมาตรา 223 มาใช้บังคับโดยอนุโลม และมาตรา 438 บัญญัติว่า ค่าสินไหมทดแทนจะพึงใช้โดยสถานใดเพียงใดนั้น ให้ศาลวินิจฉัยตามควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิด ซึ่งการที่จะกำหนดค่าสินไหมทดแทนแค่ไหน เพียงใดนั้น ศาลย่อมที่จะต้องพิจารณาจากพยานหลักฐานของโจทก์ร่วมที่ 1 และที่ 2 และจำเลยที่นำสืบมาว่าฝ่ายจำเลยหรือผู้ตายประมาทมากน้อยกว่ากันอย่างไรและเพียงใดด้วย จึงจะเป็นการดำเนินการตามอำนาจที่มีอยู่โดยชอบด้วยบทบัญญัติของกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7173/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินความรับผิดทางละเมิดเมื่อคู่กรณีประมาทไม่ยิ่งหย่อนกว่ากัน ศาลไม่อาจบังคับให้ชดใช้ค่าเสียหาย
การกำหนดค่าเสียหายของศาลเป็นได้ทั้งปัญหาข้อเท็จจริงและปัญหาข้อกฎหมาย หากศาลใช้ดุลพินิจกำหนดให้ขัดต่อกฎหมายหรือเกินความรับผิดตามกฎหมายของฝ่ายนั้น ก็เป็นปัญหาข้อกฎหมาย ข้ออุทธรณ์ของโจทก์ที่ว่าศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่า พ. และจำเลยต่างประมาทไม่ยิ่งหย่อนกว่ากัน แต่กลับกำหนดค่าเสียหายให้โจทก์รับผิดต่อจำเลย เป็นการไม่ชอบนั้น เป็นอุทธรณ์ที่โต้แย้งอำนาจการกำหนดค่าเสียหายของศาลชั้นต้นเป็นปัญหาข้อกฎหมาย
ป.พ.พ. มาตรา 442 บัญญัติว่า "ถ้าความเสียหายได้เกิดขึ้นเพราะความผิดอย่างหนึ่งอย่างใดของผู้ต้องเสียหายประกอบด้วยไซร้ ให้นำบทบัญญัติแห่งมาตรา 223 มาใช้บังคับโดยอนุโลม" และมาตรา 223 บัญญัติว่า "ถ้าฝ่ายผู้เสียหายได้มีส่วนทำความผิดอย่างใดอย่างหนึ่งก่อให้เกิดความเสียหายด้วยไซร้ ท่านว่าหนี้อันจะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ฝ่ายผู้เสียหายมากน้อยเพียงใดนั้น ต้องอาศัยพฤติการณ์เป็นประมาณ ข้อสำคัญก็คือว่าความเสียหายนั้นได้เกิดขึ้นเพราะฝ่ายไหนเป็นผู้ก่อยิ่งหย่อนกว่ากันเพียงไร..." บทบัญญัติดังกล่าวเป็นการกำหนดความรับผิดและค่าเสียหายต่อกันโดยให้ศาลพิจารณาถึงพฤติการณ์ว่าฝ่ายไหนเป็นผู้ก่อความเสียหายยิ่งหย่อนกว่ากันเพียงใดซึ่งต้องถือเอาการกระทำละเมิดมาเป็นเกณฑ์ในการพิจารณา หาได้ถือเอาความเสียหายมากน้อยเป็นเกณฑ์ไม่ หากต่างฝ่ายต่างกระทำละเมิดต่อกันและมีส่วนประมาทพอกันแล้ว ก็ไม่อาจเรียกค่าเสียหายต่อกันได้ เมื่อข้อเท็จจริงได้ความตามที่ศาลชั้นต้นรับฟังมาว่า พ. และจำเลยต่างประมาทไม่ยิ่งหย่อนกว่ากันแล้ว ค่าเสียหายที่จำเลยจะเรียกร้องจาก พ. ตามฟ้องแย้งย่อมตกเป็นพับ แม้จำเลยจะเสียหายมากกว่าก็ไม่อาจเรียกให้ พ. ชำระค่าเสียหายได้ พ. จึงไม่มีความรับผิดต่อจำเลย โจทก์ในฐานะผู้รับประกันภัยจึงไม่ต้องร่วมรับผิด
ป.พ.พ. มาตรา 442 บัญญัติว่า "ถ้าความเสียหายได้เกิดขึ้นเพราะความผิดอย่างหนึ่งอย่างใดของผู้ต้องเสียหายประกอบด้วยไซร้ ให้นำบทบัญญัติแห่งมาตรา 223 มาใช้บังคับโดยอนุโลม" และมาตรา 223 บัญญัติว่า "ถ้าฝ่ายผู้เสียหายได้มีส่วนทำความผิดอย่างใดอย่างหนึ่งก่อให้เกิดความเสียหายด้วยไซร้ ท่านว่าหนี้อันจะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ฝ่ายผู้เสียหายมากน้อยเพียงใดนั้น ต้องอาศัยพฤติการณ์เป็นประมาณ ข้อสำคัญก็คือว่าความเสียหายนั้นได้เกิดขึ้นเพราะฝ่ายไหนเป็นผู้ก่อยิ่งหย่อนกว่ากันเพียงไร..." บทบัญญัติดังกล่าวเป็นการกำหนดความรับผิดและค่าเสียหายต่อกันโดยให้ศาลพิจารณาถึงพฤติการณ์ว่าฝ่ายไหนเป็นผู้ก่อความเสียหายยิ่งหย่อนกว่ากันเพียงใดซึ่งต้องถือเอาการกระทำละเมิดมาเป็นเกณฑ์ในการพิจารณา หาได้ถือเอาความเสียหายมากน้อยเป็นเกณฑ์ไม่ หากต่างฝ่ายต่างกระทำละเมิดต่อกันและมีส่วนประมาทพอกันแล้ว ก็ไม่อาจเรียกค่าเสียหายต่อกันได้ เมื่อข้อเท็จจริงได้ความตามที่ศาลชั้นต้นรับฟังมาว่า พ. และจำเลยต่างประมาทไม่ยิ่งหย่อนกว่ากันแล้ว ค่าเสียหายที่จำเลยจะเรียกร้องจาก พ. ตามฟ้องแย้งย่อมตกเป็นพับ แม้จำเลยจะเสียหายมากกว่าก็ไม่อาจเรียกให้ พ. ชำระค่าเสียหายได้ พ. จึงไม่มีความรับผิดต่อจำเลย โจทก์ในฐานะผู้รับประกันภัยจึงไม่ต้องร่วมรับผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4641/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประมาทกว่าไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหาย: ผู้เอาประกันภัยประมาทมากกว่าจำเลย โจทก์(ผู้รับประกันภัย)ไม่มีอำนาจฟ้อง
แม้ ม. เบิกความโดยได้ฟังคำพยานของจำเลยก่อนก็ตาม แต่ในการรับฟังข้อเท็จจริงว่า ส. ประมาทมากกว่าจำเลยนั้น ศาลได้พิเคราะห์พฤติการณ์ที่ ส. ขับรถที่มีน้ำหนักบรรทุกมากแซงรถเครนในระยะกระชั้นชิด ขณะที่จำเลยขับรถแล่นสวนทางมา ซึ่งได้ความจากคำเบิกความของจำเลยประกอบกับสภาพความเสียหายของรถและบันทึกการตรวจสถานที่เกิดเหตุสนับสนุนกัน คำเบิกความของ ม. ซึ่งเป็นไปในทำนองเดียวกัน ทั้งยังมีบันทึกคำให้การของ ม. ในคดีอาญาเป็นพยานหลักฐานประกอบ จึงเป็นที่เชื่อฟังได้ และไม่ทำให้คำวินิจฉัยชี้ขาดของศาลเปลี่ยนแปลงไป ศาลจึงมีดุลพินิจที่จะไม่ฟังว่าคำเบิกความของ ม. เป็นการผิดระเบียบ ดังที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 114 วรรคสอง
การกำหนดค่าเสียหายในเหตุละเมิดที่ผู้เสียหายมีส่วนทำความผิดด้วยต้องเป็นไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 442 ประกอบมาตรา 223 วรรคหนึ่ง โดยพิจารณาถึงพฤติการณ์ว่าฝ่ายไหนเป็นผู้ก่อความเสียหายยิ่งหย่อนกว่ากันเพียงไร ซึ่งต้องถือเอาการกระทำละเมิดมาเป็นเกณฑ์ในการพิจารณาหาได้ถือเอาความเสียหายมากน้อยเป็นเกณฑ์ไม่
เหตุที่รถชนกันเกิดจาก ส. ลูกจ้างของบริษัท บ. ผู้เอาประกันภัยประมาทมากกว่าจำเลยซึ่งเป็นคู่กรณีบริษัท บ. ต้องร่วมรับผิดในผลแห่งละเมิดซึ่ง ส. กระทำไปในทางการที่จ้าง เมื่อ ส. ประมาทมากกว่าจำเลย ฝ่ายที่ประมาทมากกว่าไม่มีสิทธิฟ้องให้ฝ่ายที่ประมาทน้อยกว่ารับผิดในค่าเสียหายของฝ่ายที่ประมาทมากกว่าได้ บริษัท บ. จึงไม่อาจเรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลยได้ แม้โจทก์ผู้รับประกันภัยเสียค่าใช้จ่ายในการซ่อมรถที่บริษัท บ. เอาประกันภัยไว้ โจทก์ก็ไม่อาจรับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัยมาเรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลยได้ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นอ้าง ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)
การกำหนดค่าเสียหายในเหตุละเมิดที่ผู้เสียหายมีส่วนทำความผิดด้วยต้องเป็นไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 442 ประกอบมาตรา 223 วรรคหนึ่ง โดยพิจารณาถึงพฤติการณ์ว่าฝ่ายไหนเป็นผู้ก่อความเสียหายยิ่งหย่อนกว่ากันเพียงไร ซึ่งต้องถือเอาการกระทำละเมิดมาเป็นเกณฑ์ในการพิจารณาหาได้ถือเอาความเสียหายมากน้อยเป็นเกณฑ์ไม่
เหตุที่รถชนกันเกิดจาก ส. ลูกจ้างของบริษัท บ. ผู้เอาประกันภัยประมาทมากกว่าจำเลยซึ่งเป็นคู่กรณีบริษัท บ. ต้องร่วมรับผิดในผลแห่งละเมิดซึ่ง ส. กระทำไปในทางการที่จ้าง เมื่อ ส. ประมาทมากกว่าจำเลย ฝ่ายที่ประมาทมากกว่าไม่มีสิทธิฟ้องให้ฝ่ายที่ประมาทน้อยกว่ารับผิดในค่าเสียหายของฝ่ายที่ประมาทมากกว่าได้ บริษัท บ. จึงไม่อาจเรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลยได้ แม้โจทก์ผู้รับประกันภัยเสียค่าใช้จ่ายในการซ่อมรถที่บริษัท บ. เอาประกันภัยไว้ โจทก์ก็ไม่อาจรับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัยมาเรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลยได้ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นอ้าง ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 16386/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับช่วงสิทธิเรียกร้องค่ารักษาพยาบาลจากผู้ประมาทเลินเล่อในอุบัติเหตุทางรถยนต์
โจทก์ในฐานะผู้รับประกันภัยมีหน้าที่ตามสัญญาประกันภัยต้องชำระค่ารักษาพยาบาลให้แก่ ว. ผู้นั่งโดยสารรถคันที่โจทก์รับประกันภัย แล้วรับช่วงสิทธิของ ว. มาไล่เบี้ยเอาจากผู้ต้องรับผิดจากการที่รถเกิดเฉี่ยวชนกัน เมื่อเหตุที่รถเฉี่ยวชนกันเกิดจากความประมาทของผู้ขับรถคันที่โจทก์รับประกันและจำเลยที่ 1 ไม่ยิ่งหย่อนกว่ากัน จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายให้ ว. เพียงครึ่งหนึ่งของจำนวนเงินค่ารักษาพยาบาล 50,000 บาท โจทก์จึงรับช่วงสิทธิของ ว. มาเรียกร้องค่าเสียหายส่วนนี้จากจำเลยที่ 1 ได้ครึ่งหนึ่งเป็นเงิน 25,000 บาท กรณีนี้มิได้นำบทบัญญัติตาม ป.พ.พ. มาตรา 442 มาใช้บังคับกับ ว. แต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13675/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางแพ่งจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ แม้คำพิพากษาคดีอาญาตัดสินว่าทั้งสองฝ่ายประมาท ศาลแพ่งยังสามารถพิจารณาความประมาทเลิศร้ายได้
แม้ ป.วิ.อ. มาตรา 46 จะบัญญัติว่า ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่ง ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา แต่ในกรณีนี้ข้อเท็จจริงที่ฟังในคดีอาญาคงมีแต่เพียงว่า ทั้งผู้ตายและจำเลยที่ 1 ต่างกระทำโดยประมาท แต่ผู้ใดประมาทมากกว่ากันไม่ปรากฏ ดังนั้น ในการดำเนินคดีแพ่ง ทั้งโจทก์และจำเลยที่ 1 ย่อมสามารถนำสืบให้เห็นได้ว่าใครประมาทมากกว่ากัน และควรจะได้รับชดใช้ค่าเสียหายจากอีกฝ่ายหนึ่งหรือไม่ เพียงใด