พบผลลัพธ์ทั้งหมด 19 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 134/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนทรัพย์สินเป็นสินส่วนตัว และผลกระทบต่อการเป็นมรดก: กรณีพระราชทานที่ดินและเจตนายกให้เป็นสินส่วนตัว
1. สามีภริยาสองคนก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และจัดหาบ้านให้ภริยาแยกกันอยู่คนละแห่งไม่เกี่ยวข้องกัน บุตรเกิดจากภริยาไหนก็อยู่กับภริยานั้น ภริยาทั้งสองต่างตั้งร้านค้าขายเป็นส่วนสัด การทำมาหาได้ของภริยาแต่ละคนก็ตกเป็นส่วนของภริยาในครอบครัวนั้น ๆ ทรัพย์สินมิได้ปะปนระคนกัน ในระหว่างสมรส ภริยาคนแรกได้ที่ดินมาในนามของตน โดยสามียกที่ดินสินเดิมให้ แม้ที่ดินที่ได้มานั้นจะเป็นสินสมรส ก็เป็นสินสมรสระหว่างภริยาคนแรกกับสามี ภริยาคนหลังหามีส่วนได้ด้วยไม่
2. สามียกที่ดินสินเดิมให้ภริยาในระหว่างสมรส สินเดิมนั้นย่อมเปลี่ยนสภาพเป็นสินสมรสเว้นแต่จะระบุให้เป็นอย่างอื่น
3. สามีขอพระราชทานที่ดินจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 เพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัยกับภริยาคนแรกและบุตรที่เกิดจากภริยาคนแรก ต่อมาได้ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตโอนที่ดินนั้นให้ภริยาคนแรก ภริยาคนหลังซึ่งมีบ้านอยู่อาศัยและทำมาหากินเป็นส่วนสัดต่างหากไม่เคยเข้ามาเกี่ยวข้องกับที่ดินพระราชทานเลย ดังนี้ ภริยาคนหลังหามีส่วนได้ในที่ดินพระราชทานนี้ด้วยไม่
4. ที่ดินซึ่งสามีได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 เป็นทรัพย์ส่วนตัว ต่อมาสามีได้ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตจำนองและขึ้นเงินจำนอง แล้วต่อมาได้มีหนังสือกราบบังคมทูลขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตโอนให้แก่ภริยาคนแรก โดยกล่าวข้อความว่า จึงดำริที่จะจัดการมรดกโดยแบ่งสันปันส่วนให้แก่ภริยาบุตรธิดาเป็นส่วนสัดเสียขณะนี้ โดยเฉพาะที่ดินพระราชทานขอมอบเป็นสิทธิแก่ภริยาคนแรก เพื่อจะได้หาทางไถ่ถอนมาไว้สำหรับเป็นหลักแหล่งประกอบอาชีพต่อไป และก่อนหน้านั้นเล็กน้อย สามีได้ทำหนังสือฉบับหนึ่งระบุว่า ขอมอบทรัพย์สินอันมีอยู่ทั้งสิ้นให้ภริยาคนแรกโดยเด็ดขาด ภริยาคนแรกจะจัดแบ่งส่วนทรัพย์สินให้แก่ผู้ใดมากน้อยเท่าใดก็แล้วแต่จะเห็นสมควร ครั้นเมื่อได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตแล้ว สามีก็จัดการจดทะเบียนโอนที่ดินพระราชทานนั้นให้แก่ภริยาคนแรกเป็นเจ้าของกรรมสิทธิแต่ผู้เดียว ดังนี้ ข้อความตามหนังสือทั้งสองฉบับดังกล่าว แสดงว่าสามีมีเจตนาให้ที่ดินพระราชทานแก่ภริยาคนแรกเป็นสินส่วนตัว
5. หนังสือยกให้ซึ่งสามีให้ทรัพย์สินแก่ภริยา แม้มิได้ระบุไว้ชัดว่าให้เป็นสินส่วนตัว ก็อาจแปลเจตนาจากข้อความในเอกสารตามพฤติการณ์แห่งกรณีได้ และเมื่อหนังสือยกให้แปลข้อความตามเจตนาของผู้ให้ได้ว่าให้เป็นสินส่วนตัว แม้เมื่อไปทำพิธีโอนทางทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่จะมิได้ระบุไว้ให้เป็นสินส่วนตัว ทรัพย์สินนั้นก็เป็นสินส่วนตัวของภริยาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1464 (3)
6. หนังสือซึ่งสามีทำระบุชื่อว่าคำสั่งแทนพินัยกรรม มีข้อความว่า ขอมอบทรัพย์สินทั้งสิ้นให้ภริยาคนแรกโดยเด็ดขาดภริยาคนแรกจะจัดแบ่งให้แก่ผู้ใดมากน้อยเท่าใดก็แล้วแต่จะเห็นสมควรหนังสือนี้มิใช่พินัยกรรม เพราะมีข้อความเป็นหนังสือยกให้ทันที
7. หลังจากภริยาคนแรกตาย เมื่อปี 2503 จำเลยซึ่งเป็นบุตรเกิดจากภริยาคนแรกได้ไปขอจดทะเบียนรับโอนมรดกที่ดินสินส่วนตัวของมารดาพร้อมทั้งที่ดินสินสมรสซึ่งมีชื่อมารดาในโฉนดเมื่อปี 2504-2505 โดยบิดามิได้โต้แย้งคัดค้าน และยังทำหนังสือว่า ยินดีสละสิทธิในการรับมรดกที่ดินสินสมรส ยินยอมให้โอนใส่ชื่อจำเลยซึ่งเป็นบุตร ต่อมาปี 2506 บิดาถึงแก่ความตาย ดังนี้ การที่บิดารู้อยู่ว่าจำเลยซึ่งเป็นบุตรไปขอจดทะเบียนรับโอนมรดกที่ดินดังกล่าวของมารดาจำเลย แต่มิได้โต้แย้งคัดค้านประการใด โดยบิดามีเจตนาสละกรรมสิทธิ์ให้จำเลย และยินยอมให้โอนใส่ชื่อจำเลยเป็นเจ้าของไปแล้วนั้น แม้บิดายังมีชีวิตอยู่ ก็จะกลับมาเรียกส่วนแบ่งในที่ดินนั้นอีกหาได้ไม่ ที่ดินนั้นจึงมิใช่ทรัพย์มรดกของบิดาอันโจทก์ซึ่งเป็นบุตรเกิดจากภริยาอื่นจะเรียกร้องขอส่วนแบ่งได้ (ข้อกฎหมายตามวรรค 4, 5, และ 7 วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 30 - 33 / 2512)
2. สามียกที่ดินสินเดิมให้ภริยาในระหว่างสมรส สินเดิมนั้นย่อมเปลี่ยนสภาพเป็นสินสมรสเว้นแต่จะระบุให้เป็นอย่างอื่น
3. สามีขอพระราชทานที่ดินจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 เพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัยกับภริยาคนแรกและบุตรที่เกิดจากภริยาคนแรก ต่อมาได้ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตโอนที่ดินนั้นให้ภริยาคนแรก ภริยาคนหลังซึ่งมีบ้านอยู่อาศัยและทำมาหากินเป็นส่วนสัดต่างหากไม่เคยเข้ามาเกี่ยวข้องกับที่ดินพระราชทานเลย ดังนี้ ภริยาคนหลังหามีส่วนได้ในที่ดินพระราชทานนี้ด้วยไม่
4. ที่ดินซึ่งสามีได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 เป็นทรัพย์ส่วนตัว ต่อมาสามีได้ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตจำนองและขึ้นเงินจำนอง แล้วต่อมาได้มีหนังสือกราบบังคมทูลขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตโอนให้แก่ภริยาคนแรก โดยกล่าวข้อความว่า จึงดำริที่จะจัดการมรดกโดยแบ่งสันปันส่วนให้แก่ภริยาบุตรธิดาเป็นส่วนสัดเสียขณะนี้ โดยเฉพาะที่ดินพระราชทานขอมอบเป็นสิทธิแก่ภริยาคนแรก เพื่อจะได้หาทางไถ่ถอนมาไว้สำหรับเป็นหลักแหล่งประกอบอาชีพต่อไป และก่อนหน้านั้นเล็กน้อย สามีได้ทำหนังสือฉบับหนึ่งระบุว่า ขอมอบทรัพย์สินอันมีอยู่ทั้งสิ้นให้ภริยาคนแรกโดยเด็ดขาด ภริยาคนแรกจะจัดแบ่งส่วนทรัพย์สินให้แก่ผู้ใดมากน้อยเท่าใดก็แล้วแต่จะเห็นสมควร ครั้นเมื่อได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตแล้ว สามีก็จัดการจดทะเบียนโอนที่ดินพระราชทานนั้นให้แก่ภริยาคนแรกเป็นเจ้าของกรรมสิทธิแต่ผู้เดียว ดังนี้ ข้อความตามหนังสือทั้งสองฉบับดังกล่าว แสดงว่าสามีมีเจตนาให้ที่ดินพระราชทานแก่ภริยาคนแรกเป็นสินส่วนตัว
5. หนังสือยกให้ซึ่งสามีให้ทรัพย์สินแก่ภริยา แม้มิได้ระบุไว้ชัดว่าให้เป็นสินส่วนตัว ก็อาจแปลเจตนาจากข้อความในเอกสารตามพฤติการณ์แห่งกรณีได้ และเมื่อหนังสือยกให้แปลข้อความตามเจตนาของผู้ให้ได้ว่าให้เป็นสินส่วนตัว แม้เมื่อไปทำพิธีโอนทางทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่จะมิได้ระบุไว้ให้เป็นสินส่วนตัว ทรัพย์สินนั้นก็เป็นสินส่วนตัวของภริยาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1464 (3)
6. หนังสือซึ่งสามีทำระบุชื่อว่าคำสั่งแทนพินัยกรรม มีข้อความว่า ขอมอบทรัพย์สินทั้งสิ้นให้ภริยาคนแรกโดยเด็ดขาดภริยาคนแรกจะจัดแบ่งให้แก่ผู้ใดมากน้อยเท่าใดก็แล้วแต่จะเห็นสมควรหนังสือนี้มิใช่พินัยกรรม เพราะมีข้อความเป็นหนังสือยกให้ทันที
7. หลังจากภริยาคนแรกตาย เมื่อปี 2503 จำเลยซึ่งเป็นบุตรเกิดจากภริยาคนแรกได้ไปขอจดทะเบียนรับโอนมรดกที่ดินสินส่วนตัวของมารดาพร้อมทั้งที่ดินสินสมรสซึ่งมีชื่อมารดาในโฉนดเมื่อปี 2504-2505 โดยบิดามิได้โต้แย้งคัดค้าน และยังทำหนังสือว่า ยินดีสละสิทธิในการรับมรดกที่ดินสินสมรส ยินยอมให้โอนใส่ชื่อจำเลยซึ่งเป็นบุตร ต่อมาปี 2506 บิดาถึงแก่ความตาย ดังนี้ การที่บิดารู้อยู่ว่าจำเลยซึ่งเป็นบุตรไปขอจดทะเบียนรับโอนมรดกที่ดินดังกล่าวของมารดาจำเลย แต่มิได้โต้แย้งคัดค้านประการใด โดยบิดามีเจตนาสละกรรมสิทธิ์ให้จำเลย และยินยอมให้โอนใส่ชื่อจำเลยเป็นเจ้าของไปแล้วนั้น แม้บิดายังมีชีวิตอยู่ ก็จะกลับมาเรียกส่วนแบ่งในที่ดินนั้นอีกหาได้ไม่ ที่ดินนั้นจึงมิใช่ทรัพย์มรดกของบิดาอันโจทก์ซึ่งเป็นบุตรเกิดจากภริยาอื่นจะเรียกร้องขอส่วนแบ่งได้ (ข้อกฎหมายตามวรรค 4, 5, และ 7 วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 30 - 33 / 2512)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 134/2513
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนทรัพย์สินเป็นสินส่วนตัว และการสละสิทธิในมรดก ทำให้ทรัพย์สินนั้นไม่เป็นส่วนหนึ่งของมรดก
1. สามีมีภริยาสองคนก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และจัดหาบ้านให้ภริยาแยกกันอยู่คนละแห่งไม่เกี่ยวข้องกัน บุตรเกิดจากภริยาไหนก็อยู่กับภริยานั้น ภริยาทั้งสองต่างตั้งร้านค้าขายเป็นส่วนสัดการทำมาหาได้ของภริยาแต่ละคนก็ตกเป็นส่วนของภริยาในครอบครัวนั้น ๆทรัพย์สินมิได้ปะปนระคนกัน ในระหว่างสมรสภริยาคนแรกได้ที่ดินมาในนามของตน โดยสามียกที่ดินสินเดิมให้แม้ที่ดินที่ได้มานั้นจะเป็นสินสมรสก็เป็นสินสมรสระหว่างภริยาคนแรกกับสามี ภริยาคนหลังหามีส่วนได้ด้วยไม่
2. สามียกที่ดินสินเดิมให้ภริยาในระหว่างสมรส สินเดิมนั้นย่อมเปลี่ยนสภาพเป็นสินสมรสเว้นแต่จะระบุการให้เป็นอย่างอื่น
3. สามีขอพระราชทานที่ดินจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6เพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัยกับภริยาคนแรกและบุตรที่เกิดจากภริยาคนแรก ต่อมาได้ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตโอนที่ดินนั้นให้ภริยาคนแรก ภริยาคนหลังซึ่งมีบ้านอยู่อาศัยและทำมาหากินเป็นส่วนสัดต่างหากไม่เคยเข้ามาเกี่ยวข้องกับที่ดินพระราชทานเลย ดังนี้ ภริยาคนหลังหามีส่วนได้ในที่ดินพระราชทานนี้ด้วยไม่
4. ที่ดินซึ่งสามีได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6เป็นทรัพย์ส่วนตัว ต่อมาสามีได้ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตจำนองและขึ้นเงินจำนอง แล้วต่อมาได้มีหนังสือกราบบังคมทูลขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตโอนให้แก่ภริยาคนแรก โดยกล่าวข้อความว่าจึงดำริที่จะจัดการมรดกโดยแบ่งสันปันส่วนให้แก่ภริยาบุตรธิดาเป็นส่วนสัดเสียขณะนี้โดยเฉพาะที่ดินพระราชทานขอมอบเป็นสิทธิแก่ภริยาคนแรก เพื่อจะได้หาทางไถ่ถอนมาไว้สำหรับเป็นหลักแหล่งประกอบอาชีพต่อไป และก่อนหน้านั้นเล็กน้อยสามีได้ทำหนังสือฉบับหนึ่งระบุว่าขอมอบทรัพย์สินอันมีอยู่ทั้งสิ้นให้ภริยาคนแรกโดยเด็ดขาด ภริยาคนแรกจะจัดแบ่งส่วนทรัพย์สินให้แก่ผู้ใดมากน้อยเท่าใดก็แล้วแต่จะเห็นสมควร ครั้นเมื่อได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตแล้วสามีก็จัดการจดทะเบียนโอนที่ดินพระราชทานนั้นให้แก่ภริยาคนแรกเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์แต่ผู้เดียว ดังนี้ ข้อความตามหนังสือทั้งสองฉบับดังกล่าวแสดงว่าสามีมีเจตนาให้ที่ดินพระราชทานแก่ภริยาคนแรกเป็นสินส่วนตัว
5. หนังสือยกให้ซึ่งสามีให้ทรัพย์สินแก่ภริยา แม้มิได้ระบุไว้ชัดว่าให้เป็นสินส่วนตัว ก็อาจแปลเจตนาจากข้อความในเอกสารตามพฤติการณ์แห่งกรณีได้ และเมื่อหนังสือยกให้แปลข้อความตามเจตนาของผู้ให้ได้ว่าให้เป็นสินส่วนตัว แม้เมื่อไปทำพิธีโอนทางทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่จะมิได้ระบุไว้ว่าให้เป็นสินส่วนตัว ทรัพย์สินนั้นก็เป็นสินส่วนตัวของภริยาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1464(3) 6. หนังสือซึ่งสามีทำระบุชื่อว่าคำสั่งแทนพินัยกรรมมีข้อความว่า ขอมอบทรัพย์สินทั้งสิ้นให้ภริยาคนแรกโดยเด็ดขาด ภริยาคนแรกจะจัดแบ่งให้แก่ผู้ใดมากน้อยเท่าใดก็แล้วแต่จะเห็นสมควรหนังสือนี้มิใช่พินัยกรรมเพราะมีข้อความเป็นหนังสือยกให้ทันที
7. หลังจากภริยาคนแรกตายเมื่อปี 2503 จำเลยซึ่งเป็นบุตรเกิดจากภริยาคนแรกได้ไปขอจดทะเบียนรับโอนมรดกที่ดินสินส่วนตัวของมารดาพร้อมทั้งที่ดินสินสมรสซึ่งมีชื่อมารดาในโฉนดเมื่อปี 2504-2505 โดยบิดามิได้โต้แย้งคัดค้านและยังทำหนังสือว่า ยินดีสละสิทธิในการรับมรดกที่ดินสินสมรส ยินยอมให้โอนใส่ชื่อจำเลยซึ่งเป็นบุตร ต่อมาปี 2506 บิดาก็ถึงแก่ความตาย ดังนี้ การที่บิดารู้อยู่ว่าจำเลยซึ่งเป็นบุตรไปขอจดทะเบียนรับโอนมรดกที่ดินดังกล่าวของมารดาจำเลย แต่มิได้โต้แย้งคัดค้านประการใดโดยบิดามีเจตนาสละกรรมสิทธิ์ให้จำเลย และยินยอมให้โอนใส่ชื่อจำเลยเป็นเจ้าของไปแล้วนั้น แม้บิดายังมีชีวิตอยู่ก็จะกลับมาเรียกส่วนแบ่งในที่ดินนั้นอีกหาได้ไม่ ที่ดินนั้นจึงมิใช่ทรัพย์มรดกของบิดาอันโจทก์ซึ่งเป็นบุตรเกิดจากภริยาอื่นจะเรียกร้องขอส่วนแบ่งได้
(ข้อกฎหมายตามวรรค 4,5 และ 7 วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 30-33/2512)
2. สามียกที่ดินสินเดิมให้ภริยาในระหว่างสมรส สินเดิมนั้นย่อมเปลี่ยนสภาพเป็นสินสมรสเว้นแต่จะระบุการให้เป็นอย่างอื่น
3. สามีขอพระราชทานที่ดินจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6เพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัยกับภริยาคนแรกและบุตรที่เกิดจากภริยาคนแรก ต่อมาได้ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตโอนที่ดินนั้นให้ภริยาคนแรก ภริยาคนหลังซึ่งมีบ้านอยู่อาศัยและทำมาหากินเป็นส่วนสัดต่างหากไม่เคยเข้ามาเกี่ยวข้องกับที่ดินพระราชทานเลย ดังนี้ ภริยาคนหลังหามีส่วนได้ในที่ดินพระราชทานนี้ด้วยไม่
4. ที่ดินซึ่งสามีได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6เป็นทรัพย์ส่วนตัว ต่อมาสามีได้ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตจำนองและขึ้นเงินจำนอง แล้วต่อมาได้มีหนังสือกราบบังคมทูลขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตโอนให้แก่ภริยาคนแรก โดยกล่าวข้อความว่าจึงดำริที่จะจัดการมรดกโดยแบ่งสันปันส่วนให้แก่ภริยาบุตรธิดาเป็นส่วนสัดเสียขณะนี้โดยเฉพาะที่ดินพระราชทานขอมอบเป็นสิทธิแก่ภริยาคนแรก เพื่อจะได้หาทางไถ่ถอนมาไว้สำหรับเป็นหลักแหล่งประกอบอาชีพต่อไป และก่อนหน้านั้นเล็กน้อยสามีได้ทำหนังสือฉบับหนึ่งระบุว่าขอมอบทรัพย์สินอันมีอยู่ทั้งสิ้นให้ภริยาคนแรกโดยเด็ดขาด ภริยาคนแรกจะจัดแบ่งส่วนทรัพย์สินให้แก่ผู้ใดมากน้อยเท่าใดก็แล้วแต่จะเห็นสมควร ครั้นเมื่อได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตแล้วสามีก็จัดการจดทะเบียนโอนที่ดินพระราชทานนั้นให้แก่ภริยาคนแรกเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์แต่ผู้เดียว ดังนี้ ข้อความตามหนังสือทั้งสองฉบับดังกล่าวแสดงว่าสามีมีเจตนาให้ที่ดินพระราชทานแก่ภริยาคนแรกเป็นสินส่วนตัว
5. หนังสือยกให้ซึ่งสามีให้ทรัพย์สินแก่ภริยา แม้มิได้ระบุไว้ชัดว่าให้เป็นสินส่วนตัว ก็อาจแปลเจตนาจากข้อความในเอกสารตามพฤติการณ์แห่งกรณีได้ และเมื่อหนังสือยกให้แปลข้อความตามเจตนาของผู้ให้ได้ว่าให้เป็นสินส่วนตัว แม้เมื่อไปทำพิธีโอนทางทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่จะมิได้ระบุไว้ว่าให้เป็นสินส่วนตัว ทรัพย์สินนั้นก็เป็นสินส่วนตัวของภริยาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1464(3) 6. หนังสือซึ่งสามีทำระบุชื่อว่าคำสั่งแทนพินัยกรรมมีข้อความว่า ขอมอบทรัพย์สินทั้งสิ้นให้ภริยาคนแรกโดยเด็ดขาด ภริยาคนแรกจะจัดแบ่งให้แก่ผู้ใดมากน้อยเท่าใดก็แล้วแต่จะเห็นสมควรหนังสือนี้มิใช่พินัยกรรมเพราะมีข้อความเป็นหนังสือยกให้ทันที
7. หลังจากภริยาคนแรกตายเมื่อปี 2503 จำเลยซึ่งเป็นบุตรเกิดจากภริยาคนแรกได้ไปขอจดทะเบียนรับโอนมรดกที่ดินสินส่วนตัวของมารดาพร้อมทั้งที่ดินสินสมรสซึ่งมีชื่อมารดาในโฉนดเมื่อปี 2504-2505 โดยบิดามิได้โต้แย้งคัดค้านและยังทำหนังสือว่า ยินดีสละสิทธิในการรับมรดกที่ดินสินสมรส ยินยอมให้โอนใส่ชื่อจำเลยซึ่งเป็นบุตร ต่อมาปี 2506 บิดาก็ถึงแก่ความตาย ดังนี้ การที่บิดารู้อยู่ว่าจำเลยซึ่งเป็นบุตรไปขอจดทะเบียนรับโอนมรดกที่ดินดังกล่าวของมารดาจำเลย แต่มิได้โต้แย้งคัดค้านประการใดโดยบิดามีเจตนาสละกรรมสิทธิ์ให้จำเลย และยินยอมให้โอนใส่ชื่อจำเลยเป็นเจ้าของไปแล้วนั้น แม้บิดายังมีชีวิตอยู่ก็จะกลับมาเรียกส่วนแบ่งในที่ดินนั้นอีกหาได้ไม่ ที่ดินนั้นจึงมิใช่ทรัพย์มรดกของบิดาอันโจทก์ซึ่งเป็นบุตรเกิดจากภริยาอื่นจะเรียกร้องขอส่วนแบ่งได้
(ข้อกฎหมายตามวรรค 4,5 และ 7 วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 30-33/2512)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 634/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ที่ดินซื้อด้วยเงินสินเดิมระหว่างสมรส ถือเป็นสินสมรส
ที่ดินที่ภริยาซื้อมาระหว่างสมรส ถือว่าเป็นสินสมรส แม้ว่าภริยาจะเอาเงินสินเดิมของตนมาซื้อก็ตาม.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 634/2509
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ที่ดินซื้อระหว่างสมรสด้วยเงินสินเดิม ถือเป็นสินสมรส
ที่ดินที่ภริยาซื้อมาระหว่างสมรส ถือว่าเป็นสินสมรสแม้ว่าภริยาจะเอาเงินสินเดิมของตนมาซื้อก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 325/2498
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สินเดิมแปลงเป็นสินสมรส-สินส่วนตัว: การซื้อขายทรัพย์สินทดแทนและผลของการไม่ได้จดทะเบียน
ขายนาสินเดิมไปแล้วเอาเงินไปซื้อนาอีกแปลงหนึ่งในวันเดียวกันนั้นเองดังนี้แสดงให้เห็นชัดว่าได้ทรัพย์ใหม่นั้นมาแทนทรัพย์เก่าทรัพย์ใหม่ที่ได้มาจึงเป็นสินเดิม
มาตรา 1464 บัญญัติไว้เป็นหลักกว้างๆ รวมทั้งสังหาริมทรัพย์และอสังหาริมทรัพย์ว่าการยกให้สังหาริมทรัพย์และอสังหาริมทรัพย์ใดให้เป็นสินส่วนตัวให้ทำเป็นหนังสือโดยไม่บัญญัติว่าจะต้องจดทะเบียนหรือไม่ก็เมื่อการยกอสังหาริมทรัพย์ให้กันโดยธรรมดา กฎหมายบังคับให้จดทะเบียนจึงจะสมบูรณ์ ดังนั้นการยกอสังหาริมทรัพย์ใดให้เป็นสินส่วนตัวก็จะต้องจดทะเบียนด้วยจึงจะสมบูรณ์
มาตรา 1464 บัญญัติไว้เป็นหลักกว้างๆ รวมทั้งสังหาริมทรัพย์และอสังหาริมทรัพย์ว่าการยกให้สังหาริมทรัพย์และอสังหาริมทรัพย์ใดให้เป็นสินส่วนตัวให้ทำเป็นหนังสือโดยไม่บัญญัติว่าจะต้องจดทะเบียนหรือไม่ก็เมื่อการยกอสังหาริมทรัพย์ให้กันโดยธรรมดา กฎหมายบังคับให้จดทะเบียนจึงจะสมบูรณ์ ดังนั้นการยกอสังหาริมทรัพย์ใดให้เป็นสินส่วนตัวก็จะต้องจดทะเบียนด้วยจึงจะสมบูรณ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 325/2498 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สินสมรส: การเปลี่ยนทรัพย์สินเดิมเป็นทรัพย์สินใหม่ และการจดทะเบียนเป็นสินส่วนตัว
ขายนาสินเดิมไปแล้วเอาเงินนั้นซื้อนาอีกแปลงหนึ่งในวันเดียวกันนั้นเอง ดังนี้แสดงให้เห็นชัดว่าได้ทรัพย์ใหม่นั้นมาแทนทรัพย์เก่า ทรัพย์ใหม่ที่ได้มาจึงเป็นสินเดิม มาตรา 1464 บัญญัติไว้เป็นหลักกว้าง ๆ รวมทั้งสังหาริมทรัพย์และอสังหาริมทรัพย์ว่า การยกให้สังหาริมทรัพย์และอสังหาริมทรัพย์ใดให้เป็นสินส่วนตัวให้ทำเป็นหนังสือโดยไม่บัญญัติว่าจะต้องจดทะเบียนหรือไม่ ก็เมื่อการยกอสังหาริมทรัพย์ให้กันโดยธรรมดา กฎหมายบังคับให้จดทะเบียนจึงจะสมบูรณ์ ดังนั้นการยกอสังหาริมทรัพย์ใดให้เป็นสินส่วนตัวก็จะต้องจดทะเบียนด้วยจึงจะสมบูรณ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 459/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนทรัพย์สินก่อนและหลังสมรส สินเดิม สินส่วนตัว สินสมรส และผลกระทบต่อการแบ่งมรดก
โจทก์เป็นบุตรผู้ตาย จำเลยเป็นภรรยาผู้ตาย โจทก์,จำเลยแถลงรับกันว่าทรัพย์หมาย ก. 1 เดิมเป็นของผู้ตายมาแต่ก่อนที่ได้ทำการสมรสกับจำเลย เมื่อผู้ตายกับจำเลยสมรสกันแล้ว ผู้ตายได้โอนทรัพย์แปลงนั้นให้แก่บิดาจำเลย ต่อมาบิดาจำเลยจึงได้โอนให้จำเลยในระหว่างสมรสนั้น ฟ้องโจทก์ก็กล่าวความท้าวถึงข้อเท็จจริงเช่นว่านี้ แล้วอ้างว่าทรัพย์หมาย ก. 1 จึงกลับคืนเป็นสินเดิมอีกวาระหนึ่ง หรือมิฉะนั้นก็เป็นทรัพย์ที่ทดแทนสินเดิมที่ขาดไป ฉะนั้นที่โจทก์แถลงรับในรายงานพิจารณาว่าเป็นสินสมรส จึงมิได้หมายความว่าสินสมรสนั้นจะไม่ต้องเอามาใช้สินเดิมที่ขาดไปของผู้ตาย.
จำเลยได้แถลงต่อศาลว่าจะขอสืบว่าที่ดินตามหมาย ก.1 เป็นสินสอด โดยผู้ตายสัญญาว่าจะโอนให้บิดาจำเลยก่อนแต่งงาน แล้วต่อมาจึงได้โอนให้ไป ซึ่งข้อเท็จจริงที่จำเลยจะขอสืบนี้ ถ้าเป็นความจริง อาจถือได้ว่า ผู้ตายจำหน่ายสินเดิมของตนเพื่อประโยชน์ตนฝ่ายเดียว โดยไม่ได้ยินยอมด้วย กรณีอาจต้องตาม ป.ม.แพ่งฯ มาตรา 1514 ที่ศาลชั้นต้นสั่งงดสืบพะยานจึงไม่ชอบ.
จำเลยได้แถลงต่อศาลว่าจะขอสืบว่าที่ดินตามหมาย ก.1 เป็นสินสอด โดยผู้ตายสัญญาว่าจะโอนให้บิดาจำเลยก่อนแต่งงาน แล้วต่อมาจึงได้โอนให้ไป ซึ่งข้อเท็จจริงที่จำเลยจะขอสืบนี้ ถ้าเป็นความจริง อาจถือได้ว่า ผู้ตายจำหน่ายสินเดิมของตนเพื่อประโยชน์ตนฝ่ายเดียว โดยไม่ได้ยินยอมด้วย กรณีอาจต้องตาม ป.ม.แพ่งฯ มาตรา 1514 ที่ศาลชั้นต้นสั่งงดสืบพะยานจึงไม่ชอบ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 459/2492
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งมรดก: ทรัพย์สินเดิมที่โอนระหว่างสมรส อาจต้องนำมาใช้ทดแทนสินเดิมที่ขาดไปได้
โจทก์เป็นบุตรผู้ตาย จำเลยเป็นภรรยาผู้ตาย โจทก์จำเลยแถลงรับกันว่าทรัพย์หมาย ก.1 เดิมเป็นของผู้ตายมาแต่ก่อนที่ได้ทำการสมรสกับจำเลย เมื่อผู้ตายกับจำเลยสมรสกันแล้ว ผู้ตายได้โอนทรัพย์แปลงนั้นให้แก่บิดาจำเลย ต่อมาบิดาจำเลยจึงได้โอนให้จำเลยในระหว่างสมรสนั้นฟ้องโจทก์ก็กล่าวความท้าวถึงข้อเท็จจริงเช่นว่านี้ แล้วอ้างว่าทรัพย์หมาย ก.1 จึงกลับคืนเป็นสินเดิมอีกวาระหนึ่ง หรือมิฉะนั้นก็เป็นทรัพย์ที่ทดแทนสินเดิมที่ขาดไป ฉะนั้นที่โจทก์แถลงรับในรายงานพิจารณาว่าเป็นสินสมรสจึงมิได้หมายความว่าสินสมรสนั้นจะไม่ต้องเอามาใช้สินเดิมที่ขาดไปของผู้ตาย
จำเลยได้แถลงต่อศาลว่าจะขอสืบว่าที่ดินตามหมาย ก.1 เป็นสินสอด โดยผู้ตายสัญญาว่าจะโอนให้บิดาจำเลยก่อนแต่งงานแล้วต่อมาจึงได้โอนให้ไป ซึ่งข้อเท็จจริงที่จำเลยจะขอสืบนี้ ถ้าเป็นความจริงอาจถือได้ว่า ผู้ตายจำหน่ายสินเดิมของตนเพื่อประโยชน์ตนฝ่ายเดียว โดยไม่ได้ยินยอมด้วย กรณีอาจต้องตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1514ที่ศาลชั้นต้นสั่งงดสืบพยานจึงไม่ชอบ
จำเลยได้แถลงต่อศาลว่าจะขอสืบว่าที่ดินตามหมาย ก.1 เป็นสินสอด โดยผู้ตายสัญญาว่าจะโอนให้บิดาจำเลยก่อนแต่งงานแล้วต่อมาจึงได้โอนให้ไป ซึ่งข้อเท็จจริงที่จำเลยจะขอสืบนี้ ถ้าเป็นความจริงอาจถือได้ว่า ผู้ตายจำหน่ายสินเดิมของตนเพื่อประโยชน์ตนฝ่ายเดียว โดยไม่ได้ยินยอมด้วย กรณีอาจต้องตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1514ที่ศาลชั้นต้นสั่งงดสืบพยานจึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 46/2492
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การต่อสู้เรื่องสินเดิมและสิทธิในสินสมรส: การกำหนดประเด็นชัดเจนและการสืบพยาน
ประเด็นที่โจทก์ตั้งมาในคำฟ้องมีว่า ภริยาโจทก์ไม่มีสิทธิได้ส่วนแบ่งในสินสมรสเพราะไม่มีสินเดิม จำเลยให้การว่าภริยาโจทก์มีสิทธิได้ส่วนแบ่งเพราะมีสินเดิมดังนี้ คำให้การของจำเลยเป็นการถูกต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสองแล้วจำเลยไม่จำเป็นต้องระบุลงไปในคำให้การว่ามีทรัพย์อะไรบ้างเป็นสินเดิมซึ่งผิดกับกรณีที่มีประเด็น ขอให้หักสินสมรสชดใช้สินเดิมด้วย เพราะในกรณีหลังนี้ความสำคัญอยู่ที่ว่าอะไรเป็นสินเดิม ราคาเท่าใด มิฉะนั้นก็ให้ชดใช้กันไม่ได้การตั้งประเด็นจึงต้องระบุถึงทรัพย์ที่เป็นสินเดิมและราคา
หากโจทก์เห็นว่าข้อต่อสู้ของจำเลยยังไม่ชัด เพื่อที่โจทก์จะได้สืบหักล้างเสียก่อนในกรณีที่โจทก์เป็นฝ่ายนำสืบก่อนเช่นนี้โจทก์ชอบที่จะขอต่อศาลให้สอบถามจำเลยในชั้นชี้สองสถานเพื่อให้ได้ความชัดในประเด็นข้อพิพาทตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 183 ได้ เมื่อได้มีการสอบถามมัดประเด็นลงไปแน่นอนว่าสินเดิมเป็นทรัพย์อะไรแล้วคู่ความก็ต้องดำเนินการตามประเด็นที่มัดไว้
หากโจทก์เห็นว่าข้อต่อสู้ของจำเลยยังไม่ชัด เพื่อที่โจทก์จะได้สืบหักล้างเสียก่อนในกรณีที่โจทก์เป็นฝ่ายนำสืบก่อนเช่นนี้โจทก์ชอบที่จะขอต่อศาลให้สอบถามจำเลยในชั้นชี้สองสถานเพื่อให้ได้ความชัดในประเด็นข้อพิพาทตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 183 ได้ เมื่อได้มีการสอบถามมัดประเด็นลงไปแน่นอนว่าสินเดิมเป็นทรัพย์อะไรแล้วคู่ความก็ต้องดำเนินการตามประเด็นที่มัดไว้