คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ห้วน ประชาบาล

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 377 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 298/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบุกรุกที่ดิน เจ้าของรวม และผลผูกพันของคำพิพากษา
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยบุกรุก ขอให้ขับไล่และใช้ค่าเสียหาย ประเด็นบุกรุกเป็นข้ออ้างของโจทก์ที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาและคำขอบังคับ เมื่อประเด็นข้อนี้ฟังเป็นยุติว่า จำเลยไม่ได้บุกรุก ข้อหาและคำขอบังคับอันมีค่าเสียหายและที่พิพาทเป็นของผู้ใดย่อมตกไปในตัว ศาลไม่จำต้องวินิจฉัย
เจ้าของรวมคนหนึ่งอาจใช้สิทธิครอบไปถึงทรัพย์สินทั้งหมดเพื่อต่อสู้บุคคลภายนอกได้ ฉะนั้น ผลแห่งคดีที่แม้เจ้าของรวมเพียงคนเดียวเป็นโจทก์ฟ้อง ก็ย่อมต้องผูกพันถึงเจ้าของรวมคนอื่น ๆ ด้วย เหตุนี้ ถ้าเจ้าของรวมคนอื่นมาฟ้องใหม่อีก จึงเป็นฟ้องซ้ำ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 293/2508

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองที่ดินก่อนจัดตั้งนิคมฯ และการแจ้งการครอบครองตามกฎหมาย มิใช่ที่ป่า
จำเลยครอบครองที่พิพาทและทำเป็นสวนยางมาก่อนทางราชการตั้งนิคมสร้างตนเอง ฯ ทั้งได้แจ้งการครอบครองเมื่อ พ.ศ.2498 ตามกฎหมายแล้ว ที่พิพาทจึงหาใช่เป็นที่ป่าไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 292/2508

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประมงในบ่อส่วนตัว: บ่อต้องไม่ล่อสัตว์น้ำจากที่จับสัตว์น้ำสาธารณะจึงไม่ผิด
การวิดบ่อล่อสัตว์สัตว์น้ำอันจะเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ.2490 มาตรา 18 แก้ไขโดย (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2496 มาตรา 4 นั้น ต้องได้ความว่าเป็น บ่อล่อสัตว์น้ำ จากที่จับสัตว์น้ำ ดังที่กฎกระทรวง(ฉบับที่ 6) พ.ศ.2490 ว่าด้วยบ่อล่อสัตว์น้ำ ออกตามความในพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ.2490 ข้อ 1 กำหนดไว้ สำหรับ หนอง ก็ เฉพาะที่เป็นหนองสาธารณะ จึงจะเป็นที่จับสัตว์น้ำตามพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ.2490 มาตรา 4(5) เมื่อข้อเท็จจริงยุติว่า หนอง(พิพาท) ไม่ใช่หนองสาธารณะก็ไม่เป็นที่จับสัตว์น้ำ บ่อล่อปลาของจำเลยในหนองดังกล่าว จึงถือไม่ได้ว่าเป็นบ่อล่อสัตว์น้ำ ดังนี้ จำเลยวิดน้ำทำการประมงในบ่อของจำเลย จึงเอาผิดแก่จำเลยมิได้ (อ้างนัยฎีกาที่ 1103/2493)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 289/2508

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการยกเหตุเลิกสัญญาและการวินิจฉัยประเด็นอายุความในคดีซื้อขายที่ดิน
ปัญหาว่าจะนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 388 มาใช้บังคับและเลิกสัญญาเสียโดยมิพักต้องบอกกล่าวนั้นต้องยกขึ้นว่ากันมาในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์และมิใช่เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน
ปัญหาว่า การที่โจทก์ไม่ยอมวางเงินมัดจำหรือไม่ยอมทำสัญญาจะซื้อขายตามที่จำเลยร้องขอจะมีอายุความบังคับให้จำเลยโอนขายนานเท่าใดก็ต้องเป็นประเด็นที่ได้พิพาทกันมาตั้งแต่ศาลชั้นต้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 289/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการยกเหตุเลิกสัญญาและการวินิจฉัยประเด็นใหม่ในศาลฎีกา
ปัญหาว่า จะนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 388 มาใช้บังคับ และเลิกสัญญาเสียโดยมิพักต้องบอกกล่าวนั้น ต้องยกขึ้นว่ากันมาในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ และมิใช่เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน
ปัญหาว่า การที่โจทก์ไม่ยอมวางเงินมัดจำหรือไม่ยอมทำสัญญาจะซื้อขายตามที่จำเลยร้องขอจะมีอายุความบังคับให้จำเลยโอนขายนานเท่าใดก็ต้องเป็นประเด็นที่ได้พิพาทกันมาตั้งแต่ศาลชั้นต้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 280/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความแตกต่างของวันเกิดเหตุตามฟ้องและพยานเบิกความ ถือเป็นสาระสำคัญทำให้ต้องยกฟ้อง
โจทก์ฟ้องว่า เกิดเหตุวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2507 เวลากลางคืนก่อนเที่ยง ซึ่งหมายความว่า เหตุเกิดหลัง 24 น. ของวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2507 ไปแล้ว จนถึง 6.00 น.ของวันที่ 13 ฯ
ทางพิจารณา พยานโจทก์เบิกความว่า เหตุเกิดเวลาใกล้สว่างของวันแรม 15 ค่ำเดือน 3 แต่เดือน 3 เป็นเดือนขาด มีเพียงแรม 14 ค่ำ ฉะนั้น ที่พยานโจทก์เบิกความเช่นนี้ จึงหมายความว่า เหตุเกิดเวลาใกล้สว่างของวันขึ้น 1 ค่ำเดือน 4 ซึ่งตรงกับวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2507 เวลากลางคืนก่อนเที่ยงนั่นเอง
วันเกิดเหตุเป็นสาระสำคัญแห่งคดี เมื่อข้อเท็จจริงตามทางพิจารณาแตกต่างกับข้อเท็จจริงที่โจทก์กล่าวในฟ้องดังกล่าวแล้ว ก็ต้องยกฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรค 2 (อ้างฎีกาที่ 967/2501)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 280/2508

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ วันเวลาเกิดเหตุเป็นสาระสำคัญ หากต่างจากฟ้อง ย่อมยกฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
โจทก์ฟ้องว่า เกิดเหตุวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2507 เวลากลางคืนก่อนเที่ยงซึ่งหมายความว่าเหตุเกิดหลัง 24 น ของวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2507 ไปแล้วจนถึง 6.00 น.ของวันที่ 13ฯ
ทางพิจารณาพยานโจทก์เบิกความว่าเหตุเกิดเวลาใกล้สว่างของวันแรม 15 ค่ำ เดือน 3 แต่เดือน 3 เป็นเดือนขาด มีเพียงแรม 14 ค่ำฉะนั้น ที่พยานโจทก์เบิกความเช่นนี้จึงหมายความว่าเหตุเกิดเวลาใกล้สว่างของวันขึ้น1 ค่ำเดือน 4 ซึ่งตรงกับวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2507 เวลากลางคืนก่อนเที่ยงนั่นเอง
วันเกิดเหตุเป็นสารสำคัญแห่งคดีเมื่อข้อเท็จจริงตามทางพิจารณาแตกต่างกับข้อเท็จจริงที่โจทก์กล่าวในฟ้องดังกล่าวแล้วก็ต้องยกฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรค 2 (อ้างฎีกาที่ 967/2501)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 213/2508

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การควบคุมตัวผู้ต้องสงสัยในฐานะบุคคลอันธพาลต้องมีข้อหาละเมิดกฎหมายและต้องมีการสอบสวน จึงจะชอบด้วยกฎหมาย
(1)ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 21 นั้นมุ่งหมายให้อำนาจพนักงานสอบสวนที่จะควบคุมบุคคลอันธพาลผู้กระทำละเมิดกฎหมายได้มากขึ้นโดยให้อำนาจควบคุมครั้งแรกถึง 30 วันกล่าวคือ เป็นการขยายอำนาจการควบคุมครั้งแรกในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 87 นั้นเองแต่หาได้มุ่งหมายให้อำนาจที่จะควบคุมบุคคลอันธพาลไว้เฉยๆโดยไม่มีข้อหาว่าละเมิดกฎหมายและโดยไม่มีการสอบสวนไม่ เพราะฉะนั้นเจ้าพนักงานจึงไม่อาจที่จะควบคุมผู้ใดโดยอ้างว่าเป็นบุคคลอันธพาลแต่ปราศจากข้อกล่าวหาว่าผู้นั้นได้กระทำการละเมิดต่อกฎหมาย
(2)ด้วยเหตุผลในข้อ 1 ข้างบนนี้เมื่อได้ความชัดว่าจำเลยถูกควบคุมมา 30 วันฐานเป็นบุคคลอันธพาลนั้นก็เพราะเนื่องมาจากถูกกล่าวหาว่ากระทำการละเมิดกฎหมายเช่น ลักทรัพย์หรือรับของโจรเป็นต้น ก็ชอบที่จะต้องหักวันที่ถูกควบคุมในฐานเป็นบุคคลอันธพาล 30 วันนั้นออกจากกำหนดโทษตามคำพิพากษาให้จำเลยด้วย ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 22 (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 1/2508)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 213/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การควบคุมตัวผู้ต้องสงสัยอันธพาลต้องมีข้อหาละเมิดกฎหมายชัดเจน และหักวันควบคุมออกจากโทษได้
(1) ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 21 นั้นมุ่งหมายให้อำนาจพนักงานสอบสวนที่จะควบคุมบุคคลอันธพาลผู้กระทำละเมิดกฎหมายได้มากขึ้น โดยให้อำนาจควบคุมครั้งแรกถึง 30 วัน กล่าวคือ เป็นการขยายอำนาจการควบคุมครั้งแรกในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 87 นั่นเอง แต่หาได้มุ่งหมายให้อำนาจที่จะควบคุมบุคคลอันธพาลไว้เฉย ๆ โดยไม่มีข้อหาว่าละเมิดกฎหมายและโดยไม่มีการสอบสวนไม่ เพราะฉะนั้นเจ้าพนักงานจึงไม่อาจที่จะควบคุมผู้ใดโดยอ้างว่าเป็นบุคคลอันธพาล แต่ปราศจากข้อกล่าวหาว่าผู้นั้นได้กระทำการละเมิดต่อกฎหมาย
(2) ด้วยเหตุผลในข้อ 1 ข้างบนนี้ เมื่อได้ความชัดว่าจำเลยถูกควบคุมมา 30 วัน ฐานเป็นบุคคลอันธพาลนั้น ก็เพราะเนื่องมาจากถูกกล่าวหาว่ากระทำการละเมิดกฎหมาย เช่น ลักทรัพย์หรือรับของโจร เป็นต้น ก็ชอบที่จะต้องหักวันที่ถูกควบคุมในฐานเป็นบุคคลอันธพาล 30 วันนั้นออกจากกำหนดโทษตามคำพิพากษาให้จำเลยด้วย ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 22
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 1/2508)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 205/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนโฉนดที่ดินทับซ้อน และความรับผิดของกรมที่ดินเมื่อผู้ซื้อโอนโดยสุจริต
เมื่อเจ้าหน้าที่ของกรมที่ดินได้ตรวจสอบเขตตามที่เจ้าของที่ดินหรือตัวแทนนำชี้ และการออกโฉนดก็ได้ปฏิบัติตามระเบียบ เช่นนี้ ย่อมเป็นการปฏิบัติหน้าที่ตามสมควรแล้ว หากเขตเนื้อที่ในโฉนดไม่ถูกต้อง จะถือว่าเป็นความผิดของเจ้าหน้าที่กรมที่ดินย่อมไม่ได้ ผู้ซื้อที่ดินมีโฉนดมาโดยสุจริตและจดทะเบียนโดยถูกต้องตามกฎหมายแล้ว ไม่อาจได้กรรมสิทธิ์เพราะที่ดินเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน เช่นนี้ ไม่มีกฎหมายบัญญัติให้กรมที่ดินต้องรับผิด
อธิบดีกรมที่ดินมีอำนาจสั่งเพิกถอนโฉนดที่ไม่ถูกต้องได้ ไม่ว่าเป็นโฉนดที่ออกมาก่อนหรือภายหลังวันใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน
of 38