คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ห้วน ประชาบาล

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 377 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 207/2507

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขายทอดตลาดที่มิชอบตามกฎหมาย: การรวมขายทรัพย์สินโดยมิชอบ และการกดราคาประมูล
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 309 บัญญัติเป็นหลักข้อบังคับไว้ว่าในการขายทอดตลาดทรัพย์สินที่มีหลายสิ่งด้วยกันให้แยกขายทีละสิ่งต่อเนื่องกันไป แต่ให้อำนาจแก่เจ้าพนักงานบังคับคดีที่จะจัดขายอสังหาริมทรัพย์สองสิ่งหรือกว่านั้นขึ้นไปรวมขายไปด้วยกันได้ ในเมื่อเป็นที่คาดหมายได้ว่าเงินรายได้ในการขายจะเพิ่มขึ้นเพราะเหตุนั้น
ที่ดินของจำเลยอยู่ติดกันแยกออกเป็นสองโฉนดเจ้าพนักงานบังคับคดีผู้ขายรวมขายไปคราวเดียวกันโดยบันทึกว่าเนื่องจากบ้าน 1 หลังปลูกคร่อมที่ดินทั้ง 2 โฉนดเพื่อให้ได้ราคาดีขึ้น ผู้ซื้อขอให้ขายรวมกันทั้งหมด จึงได้ตกลงขายรวมกันไปในคราวเดียวเช่นนี้ การที่ผู้ซื้อมีน้อยคนแล้วรวมขายทรัพย์ไปในคราวเดียวโดยตามใจผู้ซื้อซึ่งอ้างว่าจะได้ราคาดีขึ้นนั้นนอกจากจะฝ่าฝืนหลักของการขายทอดตลาดทรัพย์แล้วยังถือเอาความต้องการของผู้ซื้อเป็นประมาณโดยมิได้ใช้สามัญสำนึกว่าผู้ซื้อย่อมประสงค์ซื้อของให้ได้ในราคาถูกที่สุดเป็นธรรมดามาประกอบการขายทอดตลาดทรัพย์ของจำเลยบ้าง จึงไม่เข้าเกณฑ์ที่จะพึงคาดหมายได้ว่าการขายทรัพย์ของจำเลยรวมกันจะเพิ่มรายได้มากขึ้น
แม้การที่จำเลยไม่ได้มาระวังผลประโยชน์ของตนในวันขายทอดตลาดทรัพย์ ย่อมไม่ทำให้การขายนั้นเสียไปก็ดี แต่ถ้ามีพฤติการณ์ทั่วๆไปแสดงว่าการขายทอดตลาดทรัพย์ของจำเลยที่โจทก์เป็นผู้ประมูลซื้อได้นั้นโน้มน้าวไปในทางรวบรัดกดราคา จำเลยก็มีสิทธิร้องขอให้ขายใหม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 207/2507 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขายทอดตลาดที่ส่อเจตนาทุจริตและฝ่าฝืนหลักวิธีพิจารณาความแพ่ง จำเลยมีสิทธิขอให้ขายใหม่ได้
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 309 บัญญัติเป็นหลักข้อบังคับไว้ว่าในการขายทอดตลาดทรัพย์สินที่มีหลายสิ่งด้วยกัน ให้แยกขายทีละสิ่งต่อเนื่องกันไป แต่ให้อำนาจแก่เจ้าพนักงานบังคับคดีที่จะจัดขายอสังหาริมทรัพย์สองสื่งหรือกว่านั้นขึ้นไปรวมขายไปด้วยกันในเมื่อเป็นที่คาดหมายได้ว่าเงินรายได้ในการขายจะเพิ่มขึ้นเพราะเหตุนั้น
ที่ดินของจำเลยอยู่ติดกันแยกออกเป็นสองโฉนด เจ้าพนักงานบังคับคดีผู้ขายรวมขายไปคราวเดียวกันโดยบันทึกว่าเนื่องจากบ้าน 1 หลังปลูกคร่อมที่ดินทั้ง 2 โฉนดเพื่อให้ได้ราคาดีขึ้น ผู้ซื้อขอให้ขายรวมกันทั้งหมด จึงได้ตกลงขายรวมกันไปในคราวเดียว เช่นนี้ การที่ผู้ซื้อมีน้อยคนแล้รวมขายทรัพย์ไปในคราวเดียวโดยตามใจผู้ซื้อซึ่งอ้างว่าจะได้ราคาดีขึ้นนั้น นอกจากจะฝ่าฝืนหลักของการขายทอดตลาดทรัพย์แล้ว ยังถือเอาความต้องการของผู้ซื้อเป็นประมาณ โดยมิได้ใช้สามัญสำนึกว่า ผู้ซื้อย่อมประสงค์ซื้อของให้ได้ในราคาถูกที่สุดเป็นธรรมดามาประกอบการขายทอดตลาดทรัพย์ของจำเลยบ้าง จึงไม่เข้าเกณฑ์ที่จะพึงคาดหมายได้ว่าการขายทรัพย์ของจำเลยรวมกันจะเพิ่มรายได้มากขึ้น
แม้การที่จำเลยไม่ได้มาระวังผลประโยชน์ของตนในวันขายทอดตลาดทรัพย์ ย่อมไม่ทำให้การขายนั้นเสียไปก็ดี แต่ถ้ามีพฤติการณ์ทั่ว ๆ ไปแสดงว่าการขายทอดตลาดทรัพย์ของจำเลยที่โจทก์เป็นผู้ประมูลซื้อได้นั้นโน้มน้าวไปในทางรวบรัดกดราคา จำเลยก็มีสิทธิร้องขอดให้ขายใหม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 185-186/2507 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลอุทธรณ์จำกัดในการวินิจฉัยข้อเท็จจริงนอกเหนือจากที่ศาลแขวงฟัง หากข้อเท็จจริงไม่พอเพียงให้ส่งสำนวนกลับ
คดีต้องห้ามไม่ให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงศาลแขวงสั่งรับเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อกฎหมาย ในการพิจารณาพิพากษาของศาลอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ได้หยิบยกข้อเท็จจริงบางประการที่ศาลแขวงมิได้วินิจฉัยไว้ ขึ้นชี้ขาดเสียเองเพื่อใช้ประกอบการวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมาย การดำเนินกระบวนวิธีพิจารณาของศาลอุทธรณ์เช่นนี้ ไม่ชอบด้วยวิธีพิจารณา เพราะศาลอุทธรณ์ต้องฟังข้อเท็จจริงตามศาลแขวง ถ้าศาลอุทธรณ์เห็นว่าข้อเท็จจริงที่ศาลแขวงฟังมายังขาดตกบกพร่องหรือไม่พอเพียง ศาลอุทธรณ์ก็ย่อมมีอำนาจสั่งย้อนสำนวนไปให้ศาลแขวงฟังข้อเท็จจริงใด ๆ เพื่อนำมาประกอบการวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายต่อไปได้ตามแต่จะเห็นสมควรแก่กรณี ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243(3)ข.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 185-186/2507

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยข้อเท็จจริงนอกเหนือจากที่ศาลแขวงฟัง ห้ามอุทธรณ์ข้อเท็จจริง
คดีต้องห้ามไม่ให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ศาลแขวงสั่งรับเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อกฎหมาย ในการพิจารณาพิพากษาของศาลอุทธรณ์ศาลอุทธรณ์ได้หยิบยกข้อเท็จจริงบางประการที่ศาลแขวงมิได้วินิจฉัยไว้ขึ้นชี้ขาดเสียเองเพื่อใช้ประกอบการวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายการดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลอุทธรณ์เช่นนี้ ไม่ชอบด้วยวิธีพิจารณาเพราะศาลอุทธรณ์ต้องฟังข้อเท็จจริงตามศาลแขวง ถ้าศาลอุทธรณ์เห็นว่าข้อเท็จจริงที่ศาลแขวงฟังมายังขาดตกบกพร่องหรือไม่พอเพียงศาลอุทธรณ์ก็ย่อมมีอำนาจสั่งย้อนสำนวนไปให้ศาลแขวงฟังข้อเท็จจริงใดๆ เพื่อนำมาประกอบการวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายต่อไปได้ตามแต่จะเห็นสมควรแก่กรณี ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 15 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243(3) ข

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 178/2507 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีซ้ำซ้อนหลังศาลทหารไม่รับคำฟ้อง และขอบเขตอำนาจศาล
เดิมโจทก์ฟ้องจำเลยต่อศาลทหารหาว่าปล้นทรัพย์ ฯลฯ ศาลทหารวินิจฉัยว่าพฤติการณ์ของจำเลยส่อไปในทางน่าสงสัย จำเลยอาจกระทำผิดฐานลักทรัพย์หรือรับของโจรก็ได้ แต่ไม่อยู่ในอำนาจของศาลทหารจะวินิจฉัย จึงไม่วินิจฉัยให้เด็ดขาดลงไป แต่การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดฐานปล้นทรัพย์ พิพากษายกฟ้อง ดังนี้ โจทก์ย่อมนำคดีมาฟ้องจำเลยศาลพลเรือนหาว่าลักทรัพย์หรือรับของโจร ของกลางรายเดียวกันนั้นใหม่ได้ สิทธินำคดีมาฟ้องหาระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(4) ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 178/2507

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีซ้ำหลังศาลทหารไม่รับอำนาจ พิจารณาคดีอาญาฐานลักทรัพย์/รับของโจร และผลกระทบต่อการดำเนินคดีในศาลพลเรือน
เดิมโจทก์ฟ้องจำเลยต่อศาลทหารหาว่าปล้นทรัพย์ ฯลฯศาลทหารวินิจฉัยว่าพฤติการณ์ของจำเลยส่อไปในทางน่าสงสัยจำเลยอาจกระทำผิดฐานลักทรัพย์หรือรับของโจรก็ได้แต่ไม่อยู่ในอำนาจของศาลทหารจะวินิจฉัยจึงไม่วินิจฉัยให้เด็ดขาดลงไป แต่การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดฐานปล้นทรัพย์ พิพากษายกฟ้อง ดังนี้ โจทก์ย่อมนำคดีมาฟ้องจำเลยต่อศาลพลเรือนหาว่าลักทรัพย์หรือรับของโจรของกลางรายเดียวกันนั้นใหม่ได้สิทธินำคดีมาฟ้องหาระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(4) ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 174/2507

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคืนเงินให้ผู้สั่งจ่ายเช็คในคดีล้มละลาย: เช็คของผู้ถือไม่เป็นทรัพย์สินของลูกหนี้
ผู้ร้องในฐานะผู้สั่งจ่ายเช็คร้องขอรับเงินซึ่งได้ชำระไว้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์คืนเพื่อนำไปชำระแก่ผู้ทรงเช็คที่กำลังดำเนินคดีกับผู้ร้องเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีคำสั่งว่าตามมติที่ประชุมเจ้าหนี้ให้งดการคืนเงินให้ผู้ร้องจนกว่าศาลจะได้พิพากษาคดีถึงที่สุดคำสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดังกล่าวนี้ไม่มีลักษณะเป็นคำสั่งเด็ดขาดเป็นแต่เพียงงดจ่ายไว้ก่อนเช่นนี้ผู้ร้องยังไม่จำต้องร้องคัดค้าน
ต่อมาเมื่อศาลพิพากษาให้ผู้ร้องแพ้คดีแล้วรายหนึ่งซึ่งทำให้ผู้ร้องเสียหายผู้ร้องจึงได้ยืนยันขอรับเงินจำนวนนี้คืนอีก เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์คงสั่งทำนองเดียวกันกับครั้งแรก ผู้ร้องย่อมยื่นคำร้องคัดค้านคำสั่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ต่อศาลภายในกำหนด 14 วันนับแต่ทราบคำสั่งครั้งหลัง ตามมาตรา 146 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลายได้
ผู้ร้องออกเช็คชนิดผู้ถือเพื่อชำระหนี้แทนผู้ซื้อตึกแถวและที่ดินของจำเลย แต่ปรากฏว่าในขณะที่จำเลยล้มละลายนั้นเช็คนั้นได้ตกไปอยู่ในมือของผู้ทรง ซึ่งเป็นบุคคลภายนอก เช่นนี้ไม่ถือว่าเช็คเหล่านั้นเป็นทรัพย์สินของจำเลยผู้ล้มละลายที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะเข้าเรียกเก็บเงินได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 132/2507

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงิน ช.พ.ค. ไม่ใช่กองมรดก สิทธิในการจัดการเป็นของ ช.พ.ค. พินัยกรรมยกให้ผู้อื่นจึงไม่สมบูรณ์
เงินช่วยเพื่อนครู (ช.พ.ค.) ซึ่งสมาชิกช่วยกันบริจาคเพื่ออนุเคราะห์ช่วยเหลืองานศพและครอบครัวของสมาชิกคนใดคนหนึ่งซึ่งถึงแก่กรรมลงนั้นไม่ใช่กองมรดกของผู้ตายผู้ตายจึงทำพินัยกรรมยกให้ใครไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 132/2507 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงิน ช.พ.ค. เพื่อช่วยเหลือศพ/ครอบครัว ไม่ใช่ทรัพย์สินส่วนตัว จึงทำพินัยกรรมยกไม่ได้
เงินช่วยเพื่อนครู(ช.พ.ค.) ซึงสมาชิกช่วยกันบริจาค เพื่ออนุเคราะห์ช่วยเหลืองานศพและครอบครัวของสมาชิกคนใดคนหนึ่งซึ่งถึงแก่กรรมลงนั้น ไม่ใช่กองมรดกของผู้ตาย ผู้ตายจึงทำพินัยกรรมยกให้ใครไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 119-120/2507

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนนิติกรรมซื้อขายและการถอนคืนการให้เนื่องจากกลฉ้อฉล ประพฤติเนรคุณ และหลอกลวง
โจทก์มีที่ดินอยู่แปลงเดียวปรารภว่าจะแบ่งให้บุตรทั้ง 4 คนอ. ซึ่งเป็นบุตรีคนหนึ่งกับ ช.สามีรบเร้าให้แบ่งที่ดินยกให้อ. ก่อนโดยรับรองจะส่งเสียเลี้ยงดูโจทก์เดือนละ 200 บาท ครั้นโจทก์แบ่งแยกที่ดินแล้ว อ. กับ ช.ก็แนะนำให้โอนที่ดินแปลงที่ยกให้แก่ อ. นั้น โดยทำนิติกรรมเป็นขายให้แก่ ช.โดยโจทก์ไม่ได้รับเงินเลยเมื่อได้ที่ดินแล้วอ. กับ ช.ก็ส่งเสียเงินแก่โจทก์ตามที่รับรองไว้ต่อมาช. เกิดผิดใจกับโจทก์ ช. กับ อ. ก็ถือโกรธไม่ยอมส่งเสียเลี้ยงดูโจทก์ทำให้โจทก์ประสบความแร้นแค้นและ ช. ยังด่าว่าโจทก์ว่า 'คนแก่หัวหงอก พูดจากลับกลอก ไม่มีสัตย์' ต่อหน้าบุคคลหลายคนซึ่งเป็นญาติก็มี ไม่ใช่ญาติก็มีดังนี้ โจทก์ย่อมฟ้อง ช. เรียกถอนคืนการให้ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 531(2)(3)
โจทก์โอนที่ดินให้จำเลยโดยทำนิติกรรมเป็นขายให้ แล้วนำพยานบุคคลมาสืบหักล้างพยานเอกสารว่าโจทก์ถูกจำเลยหลอกลวงให้โอนให้ โดยโจทก์มิได้สมัครใจและมิได้รับเงินราคาที่ดินนั้น ดังนี้ โจทก์มีสิทธินำสืบได้เพราะเป็นการสืบทำลายล้างเอกสารนั้นว่ามีขึ้นโดยมิชอบด้วยกฎหมาย
จำเลยซึ่งเป็นบุตรีโจทก์ หลอกโจทก์ว่า ย. ผู้เคยมีกรณีขัดแย้งอยู่กับโจทก์จะฟ้องเรียกค่าเสียหายจากโจทก์ขอให้โจทก์โอนที่ดินให้เป็นของจำเลยเสียหากแพ้คดีจะได้ไม่ถูกยึดทั้งรับรองว่าภายหลังจะโอนกลับคืนให้แล้วจำเลยก็ให้โจทก์ทำนิติกรรมเป็นโอนขายแก่จำเลยโดยโจทก์มิได้สมัครใจและมิได้รับเงินเลย ดังนี้ ต่อมาโจทก์รู้ตัวว่าถูกหลอกลวง ได้เตือนให้จำเลยโอนคืนแล้วจำเลยขัดขืน โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมซื้อขายนั้นเสียได้
โจทก์ฎีกาโดยรับอนุญาตให้ฟ้องฎีกาได้อย่างคนอนาถา เมื่อจำเลยแพ้คดีในชั้นศาลฎีกา และศาลเห็นว่าจำเลยจะต้องเป็นผู้รับผิดเสียค่าฤชาธรรมเนียมของคู่ความทั้งสองฝ่ายศาลฎีกาย่อมสั่งให้จำเลยใช้ค่าฤชาธรรมเนียมโดยเฉพาะค่าธรรมเนียมศาลในชั้นฎีกานั้นให้จำเลยชำระต่อศาลในนามของโจทก์ผู้ฎีกาอย่างคนอนาถาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 158
of 38