คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ห้วน ประชาบาล

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 377 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 501/2508

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขโทษจากลักทรัพย์เป็นขโมยทรัพย์: จำเลยฎีกาข้อเท็จจริงไม่ได้ ย่อมต้องห้ามตามกฎหมาย
ศาลชั้นต้นลงโทษจำคุกจำเลย 2 เดือน ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 334 ศาลอุทธรณ์แก้ให้ลงโทษจำคุกจำเลย 6 เดือนตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335(7) จำเลยฎีกาข้อเท็จจริงไม่ได้ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 220
การกระทำผิดตามมาตรา 335 จะลงโทษตามมาตรา 334 ได้มิใช่ทรัพย์มีราคาเล็กน้อยอย่างเดียวผู้กระทำต้องกระทำโดยความจำใจหรือความยากจนเหลือทนทานเห็นหลักประกอบด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 478/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงวันเวลาเกิดเหตุในฟ้องมีผลต่อการรับฟังพยานหลักฐานและทำให้จำเลยหลงต่อสู้ ศาลต้องยกฟ้อง
ฟ้องว่า จำเลยลักทรัพย์เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2507 เวลากลางคืนก่อนเที่ยงแต่พยานโจทก์ที่เห็นเหตุการณืใกล้ชิดเบิกความแสดงว่าเห็นเหตุการณ์ลักทรัพย์เกิดขึ้นในคืนวันที่ 17 เวลาประมาณตี 1 เศษ ต้องถือว่าข้อเท็จจริงที่โจทก์นำสืบผิดวันต่างกับข้อเท็จจริงที่โจทก์กล่าวในฟ้อง เป็นข้อสารสำคัญ นอกจากนี้จำเลยยังหลงข้อต่อสู้ด้วย ต้องยกฟ้อง
แม้จะเป็นความจริงว่าจำเลยรับของโจร โจทก์ไม่ได้อ้างบทขอให้ลงโทษ และบรรยายความมาในฟ้องเพื่อแสดงให้เห็นว่าโจทก์มีความประสงค์ขอให้ลงโทษณจำเลยในฐานรับของโจร ศาลจะลงโทษจำเลยในฐานรับของโจรไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 478/2508

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดต่างวัน – ข้อต่อสู้หลง – รับของโจร – ยกฟ้อง – ความสำคัญของวันเกิดเหตุ
ฟ้องว่า จำเลยลักทรัพย์เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2507 เวลากลางคืนก่อนเที่ยงแต่พยานโจทก์ที่เห็นเหตุการณ์ใกล้ชิดเบิกความแสดงว่าเห็นเหตุการณ์ลักทรัพย์เกิดขึ้นในคืนวันที่ 17 เวลาประมาณตี 1 เศษ ต้องถือว่าข้อเท็จจริงที่โจทก์นำสืบผิดวันต่างกับข้อเท็จจริงที่โจทก์กล่าวในฟ้อง เป็นข้อสารสำคัญนอกจากนี้จำเลยยังหลงข้อต่อสู้ด้วย ต้องยกฟ้อง
แม้จะเป็นความจริงว่าจำเลยรับของโจร โจทก์ไม่ได้อ้างบทขอให้ลงโทษและบรรยายความมาในฟ้องเพื่อแสดงให้เห็นว่าโจทก์มีความประสงค์ขอให้ลงโทษจำเลยในฐานรับของโจรศาลจะลงโทษจำเลยในฐานรับของโจรไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 477/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไต่สวนมูลฟ้องคดีอาญาที่ราษฎรเป็นโจทก์: ความสำคัญตามกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
กระบวนการไต่สวนมูลฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2 (12), 162, 165, 167 นั้น เป็นเป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน
คดีอาญาที่ราษฎรเป็นโจทก์ ศาลชั้นต้นส่งรับประทับฟ้องโดยไม่ไต่สวนมูลฟ้องเสียก่อนนั้น ไม่ใช่การกระทำของโจทก์ จึงปราศจากข้ออ้างที่จะพิพากษายกฟ้องโจทก์ และการที่จำเลยไม่ให้การรับสารภาพ ไม่ค้าน จะเท่ากับรับว่า คดีโจทก์มีมูลก็ไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้ ศาลฎีกาพิพากษายกคำพิพากษาศาลล่าง ให้ศาลชั้นต้นดำเนินการไต่สวนมูลฟ้อง และพิจารณาพิพากษาต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 477/2508

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไต่สวนมูลฟ้องในคดีอาญาที่ราษฎรเป็นโจทก์: ความสำคัญต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรม
กระบวนการไต่สวนมูลฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 2(12),162,165,167 นั้น เป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน
คดีอาญาที่ราษฎรเป็นโจทก์ ศาลชั้นต้นสั่งรับประทับฟ้องโดยไม่ไต่สวนมูลฟ้องเสียก่อนนั้น ไม่ใช่การกระทำของโจทก์ จึงปราศจากข้ออ้างที่พิพากษายกฟ้องโจทก์ และการที่จำเลยไม่ให้การรับสารภาพ ไม่ค้านจะเท่ากับรับว่า คดีโจทก์มีมูลก็ไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้ ศาลฎีกาพิพากษายกคำพิพากษาศาลล่างให้ศาลชั้นต้นดำเนินการไต่สวนมูลฟ้องและพิจารณาพิพากษาต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 476/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ยอมความคดีอาญา/ประนีประนอมหนี้: ผลผูกพันทางแพ่งและอาญา แม้ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ
การยอมความในคดีอาญา ความผิดต่อส่วนตัวนั้น แม้จะไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือก็มีผลทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(2)
(อ้างฎีกาที่ 976/2481)
ในส่วนแพ่ง การประนีประนอมยอมความ ถ้าไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ ก็ไม่อาจยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ได้และข้อที่อ้างว่า ได้ชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความครบถ้วนแล้ว โดยไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือจะยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ไม่ได้ เพราะการนำสืบพยานบุคคลในข้อนี้ มีผลเป็นการยกสัญญาประนีประนอมยอมความขึ้นต่อสู้ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 476/2508

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ยอมความคดีอาญา/ประนีประนอมยอมความแพ่ง: ผลผูกพันและหลักฐาน
การยอมความในคดีอาญา ความผิดต่อส่วนตัวนั้น แม้จะไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือก็มีผลทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 39(2) (อ้างฎีกาที่ 976/2481)
ในส่วนแพ่ง การประนีประนอมยอมความ ถ้าไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ ก็ไม่อาจยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ได้ และข้อที่อ้างว่าได้ชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความครบถ้วนแล้วโดยไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือจะยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ไม่ได้เพราะการนำสืบพยานบุคคลในข้อนี้มีผลเป็นการยกสัญญาประนีประนอมยอมความขึ้นต่อสู้ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 439/2508

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเสียภาษีการค้าสำหรับค่าตอบแทนจากการจัดซื้อและผสมข้าว กรณีลูกจ้างไม่มีสถานการค้า
เมื่อบริษัทได้รับใบสั่งซื้อข้าวจากต่างประเทศบริษัทก็ให้โจทก์ทำการปนข้าวหรือผสมข้าวให้ได้ชั้นของข้าวตามมาตรฐาน โดยคิดค่าจ้างได้มาดังกล่าวนี้ โจทก์ไม่ต้องเสียภาษีการค้า
ตามประมวลรัษฎากร พ.ศ.2481 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร(ฉบับที่ 10) พ.ศ.2496 ในเรื่องภาษีการค้า มาตรา 78, 79 นั้น ผู้ที่จะต้องเสียภาษีการค้า คือ (1) จะต้องเป็นผู้ประกอบการค้า (2) จะต้องมีสถานการค้าด้วย เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่า โจทก์มีหน้าที่หาซื้อข้าวมาให้บริษัทที่ตนทำงานแห่งเดียวจะไปเที่ยวซื้อข้าวให้ผู้อื่นไม่ได้ ต้องทำงานอย่างลูกจ้างทุกประการ ไม่ใช่เป็นการประกอบการค้าเป็นส่วนของตนเอง รายได้ของโจทก์บริษัทไม่ได้จ่ายให้เป็นเงินเดือน หากจ่ายให้ตามจำนวนงานการที่ทำให้บริษัทได้มากหรือน้อย โดยเป็นประเพณีที่ผู้ขายจ่ายให้ผู้ซื้อกระสอบละ 1.09 บาท แล้วบริษัทเป็นผู้รับเงินประเภทซื้อจากผู้ขายแล้ว โจทก์ไม่สถานการค้า ดังนี้ โจทก์จึงมิใช่เป็นผู้ประกอบการค้าเป็นนายหน้าหรือตัวแทนบริษัทอันมีหน้าที่จะต้องจดทะเบียนการค้าหรือเสียภาษีการค้าตามมาตรา 81 และ 79 แต่อย่างใดไม่
อย่างไรก็ดี เงินที่โจทก์ได้รับ + ก็เป็นเงินได้พึงประเมินตามประมวลรัษฎากร มาตรา 40(1) (2) แก้ไขโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร(ฉบับที่ 10) พ.ศ.2496 มาตรา 15

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 437/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดี: เมื่อการขายทอดตลาดเสร็จสิ้นแล้ว จำเลยไม่มีอำนาจขอให้ขายใหม่ แม้มีข้อโต้แย้งเรื่องราคาหรือประเภทที่ดิน
เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ขายทอดตลาดที่ดินของจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาไปตามคำสั่งศาลเสร็จสิ้นแล้ว และไม่ปรากฏว่าได้กระทำการฝ่าฝืนบทบัญญัติว่าด้วยการบังคับคดีตามคำพิพากษา จำเลยย่อมไม่มีอำนาจที่จะรื้อฟื้นขอให้ขายที่ดินใหม่ได้อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 437/2508

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดี: เมื่อขายทอดตลาดเสร็จสิ้นแล้ว ลูกหนี้ไม่มีอำนาจขอให้ขายใหม่ แม้จะมีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับราคาหรือรายละเอียด
เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ขายทอดตลาดที่ดินของจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาไปตามคำสั่งศาลเสร็จสิ้นแล้ว และไม่ปรากฏว่าได้กระทำการฝ่าฝืนบทบัญญัติว่าด้วยการบังคับคดีตามคำพิพากษาจำเลยย่อมไม่มีอำนาจที่จะรื้อฟื้นขอให้ขายที่ดินใหม่ได้อีก
of 38