คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
เสนอ บุณยเกียรติ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 664 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1331/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ที่ดินยังไม่สมบูรณ์จนกว่าจะมีโฉนด การครอบครองที่ดินด้วยใบไต่สวนยังไม่เพียงพอต่อการแสดงกรรมสิทธิ์
ตราบใดที่ผู้ถือที่ดินยังไม่ได้มาซึ่งโฉนดหรือยังไม่ได้รับโฉนดไปจากพนักงานเจ้าหน้าที่ ผู้ที่ยึดถือไว้ก็จะถือว่าตนได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินอันแท้จริงถูกต้องตามกฎหมายแล้วไม่ได้
การที่บุคคลจะได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 นั้น จะมีได้แต่เฉพาะในที่ดินที่เป็นกรรมสิทธิ์ของผู้อื่นแล้ว ซึ่งหมายความว่าที่ดินนั้นได้ออกโฉนดแผนที่แล้วด้วย ถ้าหากเป็นที่ดินที่ยังไม่เป็นกรรมสิทธิ์ของใครเลย เช่น ที่ดินรกร้างว่างเปล่าหรือที่ดินซึ่งมีผู้ทอดทิ้ง หรือเวนคืน หรือกลับมาเป็นของแผ่นดินโดยประการอื่น ผู้ครอบครองที่ดินชนิดนี้หามีโอกาสได้กรรมสิทธิ์อย่างใดไม่ เพียงแต่เจ้าพนักงานออกใบไต่สวนให้เท่านั้น ใบไต่สวนนี้หาใช่หลักฐานแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดินอย่างโฉนดแผนที่แต่อย่างใดไม่ จะนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 มาใช้ไม่ได้
เมื่อผู้ร้องยังไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่นา ผู้ร้องก็จะร้องขอต่อศาลเป็นคดีไม่มีข้อพิพาท ให้ศาลสั่งแสดงกรรมสิทธิ์หาได้ไม่
ประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 76 เป็นบทบัญญัติที่สืบเนื่องมาจากมาตรา 72,73,74,75 ซึ่งบทบัญญัติดังกล่าวนี้เป็นเรื่องที่คู่กรณีแสดงเจตนาทำนิติกรรมต่อกัน ตามความในมาตรา 72 เนื่องจากใบไต่สวนไม่ใช่หนังสือแสดงสิทธิในที่ดิน จึงต้องอนุโลมให้จดแจ้งในใบไต่สวนตามวิธีการจดทะเบียนโฉนดที่ดิน มาตรา 76 เป็นบทบัญญัติว่าด้วยวิธีการจดทะเบียนสิทธิที่ได้มาโดยนิติกรรมเท่านั้น การจดทะเบียนตามมาตรา 76 มิได้บัญญัติให้ผู้ครอบครองที่ดินชนิดนี้ต้องใช้สิทธิทางศาล เป็นคดีไม่มีข้อพิพาทเสียก่อน เจ้าพนักงานจะเกี่ยงให้ผู้ร้องซึ่งครอบครองที่ดินที่มีเพียงใบไต่สวนต้องนำคำสั่งศาลไปแสดงจึงจะดำเนินการออกโฉนดหาได้ไม่ เพราะกรณีไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 78 ฉะนั้น เมื่อผู้ร้องประสงค์จะขอออกโ ฉนดที่นาแปลงนี้ก็ชอบที่จะไปร้องขอทางเจ้าพนักงานที่ดิน หากเจ้าพนักงานที่ดิน ไม่ปฏิบัติการให้หรือมีผู้โต้แย้งประการใด ผู้ร้องจึงชอบที่จะมาดำเนินคดีเป็นคดีมีข้อพิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1331/2508

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ในที่ดินต้องมีโฉนด ผู้ครอบครองด้วยใบไต่สวนยังไม่มีสิทธิฟ้องคดีไม่มีข้อพิพาท
ตราบใดที่ผู้ถือที่ดินยังไม่ได้มาซึ่งโฉนดหรือยังไม่ได้รับโฉนดไปจากพนักงานเจ้าหน้าที่ ผู้ที่ยึดถือไว้ก็จะถือว่าตนได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินอันแท้จริงถูกต้องตามกฎหมายแล้วไม่ได้
การที่บุคคลจะได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 นั้น จะมีได้แต่เฉพาะในที่ดินที่เป็นกรรมสิทธิ์ของผู้อื่นแล้ว ซึ่งหมายความว่าที่ดินนั้นได้ออกโฉนดแผนที่แล้วด้วย ถ้าหากเป็นที่ดินที่ยังไม่เป็นกรรมสิทธิ์ของใครเลย เช่นที่ดินรกร้างว่างเปล่าหรือที่ดินซึ่งมีผู้ทอดทิ้ง หรือเวนคืนหรือกลับมาเป็นของแผ่นดินโดยประการอื่น ผู้ครอบครองที่ดินชนิดนี้หามีโอกาสได้กรรมสิทธิ์อย่างใดไม่ เพียงแต่เจ้าพนักงานออกใบไต่สวนให้เท่านั้น ใบไต่สวนนี้หาใช่หลักฐานแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดินอย่างโฉนดแผนที่แต่อย่างใดไม่จะนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 มาใช้ไม่ได้
เมื่อผู้ร้องยังไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่นา ผู้ร้องก็จะร้องขอต่อศาลเป็นคดีไม่มีข้อพิพาท ให้ศาลสั่งแสดงกรรมสิทธิ์หาได้ไม่
ประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 76 เป็นบทบัญญัติที่สืบเนื่องมาจากมาตรา 72,73,74,75. ซึ่งบทบัญญัติดังกล่าวนี้เป็นเรื่องที่คู่กรณีแสดงเจตนาทำนิติกรรมต่อกันตามความในมาตรา 72 เนื่องจากใบไต่สวนไม่ใช่หนังสือแสดงสิทธิในที่ดิน จึงต้องอนุโลมให้จดแจ้งในใบไต่สวนตามวิธีการจดทะเบียนโฉนดที่ดิน มาตรา 76 เป็นบทบัญญัติว่าด้วยวิธีการจดทะเบียนสิทธิที่ได้มาโดยนิติกรรมเท่านั้น การจดทะเบียนตามมาตรา 76 มิได้บัญญัติให้ผู้ครอบครองที่ดินชนิดนี้ต้องใช้สิทธิทางศาล เป็นคดีไม่มีข้อพิพาทเสียก่อน เจ้าพนักงานจะเกี่ยงให้ผู้ร้องซึ่งครอบครองที่ดินที่มีเพียงใบไต่สวนต้องนำคำสั่งศาลไปแสดงจึงจะดำเนินการออกโฉนดหาได้ไม่ เพราะกรณีไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 78 ฉะนั้นเมื่อผู้ร้องประสงค์จะขอออกโฉนดที่นาแปลงนี้ก็ชอบที่จะไปร้องขอทางเจ้าพนักงานที่ดิน หากเจ้าพนักงานที่ดิน ไม่ปฏิบัติการให้หรือมีผู้โต้แย้งประการใด ผู้ร้องจึงชอบที่จะมาดำเนินคดีเป็นคดีมีข้อพิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1324/2508

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในการเรียกคืนทรัพย์สินของลูกหนี้ที่ถูกชำระหนี้หลังมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์
ข้อที่ว่าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะเรียกเอาไปชำระหนี้ได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 109(3) จะต้องเป็นสิ่งของ ไม่ใช่ตัวเงินนั้น เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จะมิได้ยกขึ้นว่ากล่าวในศาลชั้นต้นแต่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวชั้นศาลอุทธรณ์แล้ว ย่อมอ้างอิงปัญหาข้อนี้ในชั้นฎีกาได้
แม้ว่าตัวเงินจะมิใช่สิ่งของ แต่เงินก็เป็นทรัพย์สินของลูกหนี้ซึ่งมีอยู่ในเวลาเริ่มต้นแห่งการล้มละลายตามมาตรา109(1) ฉะนั้น ถึงแม้ผู้ร้องจะเป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียนด้วย ก็ไม่มีอำนาจที่จะนำเงินของหุ้นส่วนซึ่งหุ้นส่วนผู้จัดการได้ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้วเอาไปชำระหนี้บุคคลภายนอกโดยลำพังได้ ฉะนั้น เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ย่อมมีสิทธิเรียกร้องเอาคืนได้ เพราะเป็นทรัพย์สินในคดีล้มละลายอันอาจแบ่งแก่เจ้าหนี้ได้ตามมาตรา 109(1) ดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1324/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในการเรียกคืนเงินที่ลูกหนี้ชำระหนี้ก่อนมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด
ข้อที่ว่าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะเรียกเอาไปชำระหนี้ได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 109(3) จะต้องเป็นสิ่งของ ไม่ใช่ตัวเงินนั้น เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จะมิได้ยกขึ้นว่ากล่าวในศาลชั้นต้น แต่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวชั้นศาลอุทธรณ์แล้ว ย่อมอ้างอิงปัญหาข้อนี้ในชั้นฎีกาได้
แม้ว่าตัวเงินจะมิใช่สิ่งของ แต่เงินก็เป็นทรัพย์สินของลูกหนี้ซึ่งมีอยู่ในเวลาเริ่มต้นแห่งการล้มละลายตามมาตรา 109(1) ฉะนั้น ถึงแม้ผู้ร้องจะเป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียนด้วย ก็ไม่มีอำนาจที่จะนำเงินของหุ้นส่วนซึ่งหุ้นส่วนผู้จัดการได้ถูกศาลสิ่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้วเอาไปชำระหนี้บุคคลภายนอกโดยลำพังได้ ฉะนั้นเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ย่อมมีสิทธิเรียกร้องเอาคืนได้ เพราะเป็นทรัพย์สินในคดีล้มละลายอันอาจแบ่งแก่เจ้าหนี้ได้ตามมาตรา 109(1) ดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1283/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การผัดผ่อนการไถ่ถอนที่ดินขายฝากโดยผู้ซื้อ ไม่ถือว่าผู้ขายผิดนัดสิทธิไถ่ถอน
ผู้ขายฝากขอไถ่ถอนที่ดินซึ่งขายฝากไว้ภายในกำหนดเวลาตามสัญญาผู้ซื้อขอผัดผ่อนประวิงเวลาไปเรื่อยจนพนกำหนดไถ่ถอนคืน ดังนี้ จะถือว่าผู้ขายผิดนัดไม่ใช้สิทธิขอไถ่ถอนทรัพย์ที่ขายฝากภายในกำหนดหาได้ไม่ และไม่เป็นการขยายเวลาไถ่ถอนจากสัญญาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 496 ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1283/2508

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การผัดผ่อนการไถ่ถอนที่ดินขายฝากของผู้ซื้อ ทำให้สิทธิการไถ่ถอนของผู้ขายไม่ระงับ แม้พ้นกำหนดสัญญา
ผู้ขายฝากขอไถ่ถอนที่ดินซึ่งขายฝากไว้ภายในกำหนดเวลาตามสัญญา ผู้ซื้อขอผัดผ่อนประวิงเวลาไปเรื่อย จนพ้นกำหนดไถ่ถอนคืน ดังนี้ จะถือว่าผู้ขายผิดนัดไม่ใช้สิทธิขอไถ่ถอนทรัพย์ที่ขายฝากภายในกำหนดหาได้ไม่ และไม่เป็นการขยายเวลาไถ่ถอนจากสัญญาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 496 ด้วย (อ้างฎีกา 339/2502)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1250/2508

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความประมาทในการขับรถ ชนกันที่สี่แยก แม้ผู้ขับอีกฝ่ายประมาท จำเลยก็ต้องรับผิดชอบหากขับเร็วเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยขับรถยนต์ประจำทางโดยประมาทฝ่าฝืนพระราชบัญญัติจราจร เป็นเหตุให้ชนกับรถยนต์อีกคันหนึ่งมีคนบาดเจ็บและบาดเจ็บสาหัสหลายคน ศาลแขวงลงโทษจำเลยในความผิดฐานฝ่าฝืนพระราชบัญญัติจราจร ให้ยกฟ้องในข้อหาฐานขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับบาดเจ็บและบาดเจ็บสาหัส โจทก์อุทธรณ์ในข้อกฎหมายว่าจำเลยมีความผิดฐานขับรถโดยประมาทด้วย ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่าจำเลยมีความผิดฐานทำให้คนบาดเจ็บสาหัสโดยประมาทด้วย เช่นนี้จำเลยฎีกาได้ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 220 เพราะในข้อหาฐานทำให้คนบาดเจ็บและบาดเจ็บสาหัสโดยประมาทนั้น ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับคำพิพากษาศาลชั้นต้น
จำเลยขับรถผ่านสี่แยกด้วยความเร็วเกินกว่า 20 กิโลเมตรต่อชั่วโมง รถอีกคันหนึ่งขับล้ำเข้าไปในสี่แยกโดยฝ่าฝืนเครื่องหมายหยุด การที่จำเลยขับรถผ่านสี่แยกด้วยความเร็วเกินกำหนดและไม่ชลอให้ช้าลงบ้าง เป็นเหตุให้รถชนกัน ดังนี้ ย่อมได้ชื่อว่าจำเลยได้กระทำการโดยประมาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1224/2508

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลอุทธรณ์จำกัดในคดีที่ห้ามอุทธรณ์ข้อเท็จจริง แม้จะอ้างว่าศาลชั้นต้นวินิจฉัยผิด
การที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงต่างกันนั้นจะถือว่าศาลชั้นต้นวินิจฉัยข้อเท็จจริงผิดกฎหมายหาได้ไม่ และเมื่อคดีต้องห้ามไม่ให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ทั้งคู่ความก็มิได้กล่าวอ้างมาในฟ้องอุทธรณ์ด้วยแล้ว ศาลอุทธรณ์ย่อมไม่มีอำนาจหยิบยกข้อเท็จจริงขึ้นวินิจฉัยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1224/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการอุทธรณ์ข้อเท็จจริง และอำนาจศาลอุทธรณ์ในการวินิจฉัยข้อเท็จจริงใหม่
การที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงต่างกันนั้น จะถือว่าศาลชั้นต้นวินิจฉัยข้อเท็จจริงผิดกฎหมายหาได้ไม่ และเมื่อคดีต้องห้ามไม่ให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ทั้งคู่ความก็มิได้กล่าวอ้างมาในฟ้องอุทธรณ์ด้วยแล้ว ศาลอุทธรณ์ย่อมไม่มีอำนาจหยิบยกข้อเท็จจริงขึ้นวินิจฉัยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1161/2508

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาฆ่าโดยไม่มีไตร่ตรอง: การพิจารณาความแค้นที่ปะทุขึ้นฉับพลัน และผลต่อการพิพากษา
พฤติการณ์ที่ยังไม่พอฟังว่าจำเลยฆ่าโดยไตร่ตรองไว้ก่อน
of 67