คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
เสนอ บุณยเกียรติ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 664 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 241/2508

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิใช้ทางในที่ดินของผู้อื่นเมื่อที่ดินถูกล้อม - ทางจำเป็นตามประมวลกฎหมายแพ่ง
โจทก์ฟ้องให้จำเลยเปิดทางเดินโดยอ้างว่าทางพิพาทเป็นทางสาธารณะ แม้จะพิจารณาได้ความว่าทางพิพาทเป็นของจำเลยมิใช่ทางสาธารณะก็ตามเมื่อฟ้องโจทก์ก็ได้บรรยายว่าที่ดินของโจทก์ตกอยู่ในที่ล้อมของที่ดินผู้อื่นทั้งสี่ด้านและข้อเท็จจริงก็ได้ความว่าโจทก์เคยนำวัวควายออกไปเลี้ยงและทำนาโดยอาศัยทางพิพาทนี้มาก่อนจำเลยปิดกั้นแล้วเช่นนี้โจทก์ย่อมมีความชอบธรรมที่จะใช้ทางพิพาทได้จำเลยจะใช้สิทธิปิดทางไม่ให้โจทก์ได้ใช้เสียเลยหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 237/2508

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภารจำยอมโดยอายุความ: สิทธิในการใช้ทางเดินแม้ไม่มีการจดทะเบียน
โจทก์ใช้ตรอกพิพาทเป็นทางเดินเข้าออกจากที่ดินโจทก์สู่ทางสาธารณะมากว่าสิบปีแล้วตรอกพิพาทจึงตกอยู่ในภารจำยอมโดยอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1401 และมิใช่เป็นการได้มาโดยนิติกรรมอันจะต้องจดทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299
อายุความ 1 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1374เป็นเรื่องผู้ครอบครองถูกรบกวนในการครอบครองทรัพย์สินเพราะมีผู้สอดเข้าเกี่ยวข้อง มิใช่อายุความบังคับแก่เรื่องภารจำยอมซึ่งจะต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1399
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1350 เป็นเรื่องให้เจ้าของที่ดินที่แบ่งแยกซึ่งไม่มีทางออกไปสู่ทางสาธารณะมีสิทธิเรียกร้องเอาทางเดินจากเจ้าของที่ดินที่แบ่งแยกไปได้เมื่อปรากฏว่าโจทก์มีตรอกพิพาทเป็นทางภารจำยอมออกสู่ทางสาธารณะได้อยู่ก่อนแล้วจึงนำเอาประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1350 มาปรับไม่ได้
จำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันล้อมรั้วปิดตรอกพิพาทแม้จำเลยที่ 1 จะได้แบ่งขายที่ดินรวมทั้งตรอกพิพาทให้จำเลยร่วมอีกคนหนึ่งไปแล้วและจำเลยที่ 2 มิได้มีส่วนเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินมาก่อนโจทก์ก็ชอบที่จะฟ้องจำเลยทั้งสองได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 237/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภารจำยอมโดยอายุความ: สิทธิใช้ทางเดินแม้ไม่ได้จดทะเบียน
โจทก์ใช้ตรอกพิพาทเป็นทางเดินเข้าออกจากที่ดินโจทก์สู่ทางสาธารณะมากกว่าสิบปีแล้วตรอกพิพาทจึงตกอยู่ในภารจำยอมโดยอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1401 และมิใช่เป็นการได้มาโดยนิติกรรมอันจะต้องจดทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299
อายุความ 1 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1374 เป็นเรื่องผู้ครอบครองถูกรบกวนในการครอบครองทรัพย์สินเพราะมีผู้สอดเข้าเกี่ยวข้อง มิใช่อายุความบังคับแก่เรื่องภารจำยอมซึ่งจะต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1399
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1350 เป็นเรื่องให้เจ้าของที่ดินที่แบ่งแยกซึ่งไม่มีทางออกไปสู่ทางสาธารณะมีสิทธิเรียกร้องเอาทางเดินจากเจ้าของที่ดินที่แบ่งแยกไปได้ เมื่อปรากฏว่าโจทก์มีตรอกพิพาทเป็นทางภารจำยอมออกสู่ทางสาธารณะได้อยู่ก่อนแล้ว จึงนำเอาประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1350 มาปรับไม่ได้
จำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันล้อมรั้วปิดตรอกพิพาท แม้จำเลยที่ 1 จะได้แบ่งขายที่ดินรวมทั้งตรอกพิพาทให้จำเลยร่วมอีกคนหนึ่งไปแล้ว และจำเลยที่ 2 มิได้มีส่วนเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินมาก่อน โจทก์ก็ชอบที่จะฟ้องจำเลยทั้งสองได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 227-228/2508

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์ที่ดินมีโฉนดต้องครอบครองนาน 10 ปี จึงได้กรรมสิทธิ์
ที่ดินมีโฉนดเป็นสำคัญ นั้นเมื่อจำเลยครอบครองอย่างเป็นเจ้าของมายังไม่ถึง 10 ปี ย่อมยังไม่ได้กรรมสิทธิ์ฉะนั้น จะยกอำนาจปรปักษ์ขึ้นยันต่อโจทก์ผู้เป็นเจ้าของหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 227-228/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์ที่ดินมีโฉนดต้องครอบครองเป็นเจ้าของต่อเนื่องเกิน 10 ปี จึงได้กรรมสิทธิ์
ที่ดินที่มีโฉนดเป็นสำคัญ นั้น เมื่อจำเลยครอบครองอย่างเป็นเจ้าของมายังไม่ถึง 10 ปี ย่อมยังไม่ได้กรรมสิทธิ์ ฉะนั้น จะยกอำนาจปรปักษ์ขึ้นยันต่อโจทก์ผู้เป็นเจ้าของหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 213/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การควบคุมตัวผู้ต้องสงสัยอันธพาลต้องมีข้อหาละเมิดกฎหมายชัดเจน และหักวันควบคุมออกจากโทษได้
(1) ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 21 นั้นมุ่งหมายให้อำนาจพนักงานสอบสวนที่จะควบคุมบุคคลอันธพาลผู้กระทำละเมิดกฎหมายได้มากขึ้น โดยให้อำนาจควบคุมครั้งแรกถึง 30 วัน กล่าวคือ เป็นการขยายอำนาจการควบคุมครั้งแรกในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 87 นั่นเอง แต่หาได้มุ่งหมายให้อำนาจที่จะควบคุมบุคคลอันธพาลไว้เฉย ๆ โดยไม่มีข้อหาว่าละเมิดกฎหมายและโดยไม่มีการสอบสวนไม่ เพราะฉะนั้นเจ้าพนักงานจึงไม่อาจที่จะควบคุมผู้ใดโดยอ้างว่าเป็นบุคคลอันธพาล แต่ปราศจากข้อกล่าวหาว่าผู้นั้นได้กระทำการละเมิดต่อกฎหมาย
(2) ด้วยเหตุผลในข้อ 1 ข้างบนนี้ เมื่อได้ความชัดว่าจำเลยถูกควบคุมมา 30 วัน ฐานเป็นบุคคลอันธพาลนั้น ก็เพราะเนื่องมาจากถูกกล่าวหาว่ากระทำการละเมิดกฎหมาย เช่น ลักทรัพย์หรือรับของโจร เป็นต้น ก็ชอบที่จะต้องหักวันที่ถูกควบคุมในฐานเป็นบุคคลอันธพาล 30 วันนั้นออกจากกำหนดโทษตามคำพิพากษาให้จำเลยด้วย ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 22
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 1/2508)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 213/2508

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การควบคุมตัวผู้ต้องสงสัยในฐานะบุคคลอันธพาลต้องมีข้อหาละเมิดกฎหมายและต้องมีการสอบสวน จึงจะชอบด้วยกฎหมาย
(1)ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 21 นั้นมุ่งหมายให้อำนาจพนักงานสอบสวนที่จะควบคุมบุคคลอันธพาลผู้กระทำละเมิดกฎหมายได้มากขึ้นโดยให้อำนาจควบคุมครั้งแรกถึง 30 วันกล่าวคือ เป็นการขยายอำนาจการควบคุมครั้งแรกในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 87 นั้นเองแต่หาได้มุ่งหมายให้อำนาจที่จะควบคุมบุคคลอันธพาลไว้เฉยๆโดยไม่มีข้อหาว่าละเมิดกฎหมายและโดยไม่มีการสอบสวนไม่ เพราะฉะนั้นเจ้าพนักงานจึงไม่อาจที่จะควบคุมผู้ใดโดยอ้างว่าเป็นบุคคลอันธพาลแต่ปราศจากข้อกล่าวหาว่าผู้นั้นได้กระทำการละเมิดต่อกฎหมาย
(2)ด้วยเหตุผลในข้อ 1 ข้างบนนี้เมื่อได้ความชัดว่าจำเลยถูกควบคุมมา 30 วันฐานเป็นบุคคลอันธพาลนั้นก็เพราะเนื่องมาจากถูกกล่าวหาว่ากระทำการละเมิดกฎหมายเช่น ลักทรัพย์หรือรับของโจรเป็นต้น ก็ชอบที่จะต้องหักวันที่ถูกควบคุมในฐานเป็นบุคคลอันธพาล 30 วันนั้นออกจากกำหนดโทษตามคำพิพากษาให้จำเลยด้วย ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 22 (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 1/2508)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 180/2508

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผูกพันของผู้สั่งจ่ายเช็คต่อผู้ทรงเช็คโดยชอบ แม้มีการสลักหลังและการอายัดเช็ค
โจทก์เป็นผู้ทรงเช็คโดยได้รับการสลักหลังมาจากผู้ทรงคนอื่นเมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้รับเช็คไว้โดยไม่สุจริตการที่จำเลยขออายัดเช็คนั้นต่อธนาคารไม่ทำให้จำเลยพ้นจากความรับผิดในฐานะเป็นผู้สั่งจ่ายเช็คนั้นได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 989 ประกอบกับมาตรา914
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยได้สั่งจ่ายเช็คเพื่อชำระหนี้แก่โจทก์เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2505 แต่ในวันสืบพยานปรากฏว่าโจทก์ได้เช็คนี้มาเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2505 โดยการสลักหลังจากผู้ทรงอีกคนหนึ่งดังนี้ เมื่อจำเลยเป็นผู้สั่งจ่ายเช็ค แล้วต่อมาโจทก์ได้เป็นผู้ทรงเช็คนั้นก็เป็นอันถือได้ว่าจำเลยมีความผูกพันต่อโจทก์ตามเช็คนั้น แม้การที่โจทก์ได้เช็คไว้ข้อเท็จจริงตามทางพิจารณาจะแตกต่างไปจากคำฟ้องบ้างก็ไม่ถึงกับทำให้คดีโจทก์เสียไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 180/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผูกพันของผู้สั่งจ่ายเช็คต่อผู้ทรงเช็ค แม้การได้มาซึ่งเช็คจะต่างจากที่ฟ้อง
โจทก์เป็นผู้ทรงเช็คโดยได้รับการสลักหลังมาจากผู้ทรงคนอื่น เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้รับเช็คไว้โดยไม่สุจริต การที่จำเลยขออายัดเช็คนั้นต่อธนาคาร ไม่ทำให้จำเลยพ้นจากความรับผิดในฐานะเป็นผู้สั่งจ่ายเช็คนั้นได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 989 ประกอบกับมาตรา 914
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยได้สั่งเช็คจ่ายเพื่อชำระหนี้แก่โจทก์เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2505 แต่ในวันสืบพยานปรากฏว่าโจทก์ได้เช็คนี้มาเมื่อวันที่ 25 กรกฏาคม 2505 โดยการสลักหลังจากผู้ทรงอีกคนหนึ่ง ดังนี้ เมื่อจำเลยเป็นผู้สั่งเช็ค แล้วต่อมาโจทก์ได้เป็นผู้ทรงเช็คนั้น ก็เป็นอันถือได้ว่าจำเลยมีความผูกพันต่อโจทก์ตามเช็คนั้น แม้การที่โจทก์ได้เช็คไว้ ข้อเท็จจริงตามทางพิจารณาจะแตกต่างไปจากคำฟ้องบ้าง ก็ไม่ถึงกับทำให้คดีโจทก์เสียไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 130/2508

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเบิกความเท็จต่อศาล ไม่จำเป็นต้องสาบานตนก่อน หากความเท็จนั้นเป็นข้อสำคัญในคดี
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 177 มิได้วางเกณฑ์องค์ประกอบความผิดไว้ว่า พยานที่เบิกความเท็จนั้นจะต้องได้สาบานหรือปฏิญาณตัวแล้วด้วยจึงจะมีความผิดดังเช่นในกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 155ความมุ่งหมายอันเป็นสารสำคัญของมาตรา 177 อยู่ที่จะเอาผิดกับผู้เบิกความในข้อสำคัญแห่งคดีด้วยความเท็จเป็นสำคัญเพราะการเบิกความเท็จต่อศาลย่อมมีส่วนทำให้เสื่อมเสียความยุติธรรมได้
of 67