คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
เสนอ บุณยเกียรติ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 664 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 89/2508

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญากู้ชดใช้ค่าเสียหายจากเหตุละเมิด ไม่เป็นโมฆะ แม้ลงวันที่ย้อนหลัง หากเจตนาคือการชดใช้ค่าเสียหาย ไม่ใช่เพื่อหลีกเลี่ยงความผิดอาญา
โจทก์ฟ้องขอให้ศาลบังคับจำเลยตามสัญญากู้ ซึ่งมีมูลหนี้เดิมจากการทำละเมิดของจำเลย อายุความเรียกร้องต้องเป็นไปตามเรื่องกู้ มิใช่เรื่องมูลละเมิด
จำเลยทำให้เกิดเพลิงไหม้ทรัพย์สินของโจทก์โดยประมาทเลินเล่อและยอมใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์โดยทำสัญญากู้ให้ไว้และโจทก์ยอมให้ลงวันที่ในสัญญากู้ย้อนหลังไปไม่ถือว่าสัญญากู้นั้นมีวัตถุประสงค์โดยตรงอันจะมีผลให้จำเลยหลุดพ้นจากการต้องหาคดีอาญาฐานกระทำให้เกิดเพลิงไหม้โดยประมาทและไม่ใช่เป็นการทำสัญญากู้เพื่อให้โจทก์ช่วยเหลือจำเลยให้พ้นผิดทางอาญาด้วยสัญญากู้จึงไม่เป็นโมฆะเพราะขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนเนื่องจากเจตนาอันแท้จริงของคู่กรณีเป็นเรื่องจะชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่กัน
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยก่อให้เกิดเพลิงไหม้โดยประมาทแก่เรือน เรือนครัว ยุ้งข้าว ข้าวเปลือก สิ่งของเครื่องใช้ในบ้านและต้นผลไม้ถือว่าโจทก์ได้บรรยายรายละเอียดแห่งทรัพย์สินที่เสียหายไว้ในฟ้องชัดแจ้งแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 89/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญากู้ชดใช้ค่าเสียหายจากการทำละเมิด ไม่เป็นโมฆะ แม้มีการลงวันที่ย้อนหลัง หากเจตนาคือการชดใช้ค่าเสียหาย ไม่ใช่ช่วยเหลือจำเลยหลีกเลี่ยงการถูกลงโทษอาญา
โจทก์ฟ้องขอให้ศาลบังคับจำเลยตามสัญญากู้ซิ่งมีมูลหนี้เดิมจากการทำละเมิดของจำเลย อายุความเรียกร้องต้องเป็นไปตามเรื่องกู้ มิใช่เรื่องมูลละเมิด
จำเลยทำให้เกิดเพลิงไหม้ทรัพย์สินของโจทก์โดยประมาทเลินเล่อ และยอมใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ โดยทำสัญญากู้ให้ไว้และโจทก์ยอมให้ลงวันที่ในสัญญากู้ย้อนหลังไป ไม่ถือว่าสัญญากู้นั้นมีวัตถุประสงค์โดยตรงอันจะมีผลให้จำเลยหลุดพ้นจากการต้องหาคดีอาญาฐานกระทำให้เกิดเพลิงไหม้โดยประมาท และไม่ใช่เป็นการทำสัญญากู้เพื่อให้โจทก์ช่วยเหลือจำเลยให้พ้นผิดทางอาญาด้วย สัญญากู้จึงไม่เป็นโมฆะเพราะขัดต่อความสวบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน เนื่องจากเจตนาอันแท้จริงของคู่กรณี เป็นเรื่องจะชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่กัน
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยก่อให้เกิดเพลิงไหม้โดยประมาทแก่เรือน เรือนครัว ยุ้งข้าว ข้าวเปลือก สิ่งของเครื่องใช้ในบ้านและต้นผลไม้ ถือว่าโจทก์ได้บรรยายรายละเอียดแห่งทรัพย์สินที่เสียหายไว้ในฟ้องชัดแจ้งแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 34/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาล: คดีความผิดต่อประชาชนตามประกาศคณะปฏิวัติฯ อยู่ในอำนาจศาลทหาร แม้ศาลพลเรือนรับฟ้องแล้ว
ความผิดเกี่ยวกับการก่อให้เกิดภยันตรายต่อประชาชนตั้งแต่ มาตรา 217 ถึง มาตรา 239 นั้นมีประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 16 ซึ่งใช้บังคับระหว่างเกิดเหตุให้อยู่ในอำนาจศาลทหารที่จะพิจารณาพิพากษา ดังนั้น ที่ศาลจังหวัดปราจีนบุรีรับฟ้องคดีซึ่งมีคำขอให้ลงโทษตามมาตรา 229 ซึ่งเป็นบทหนักไว้ดำเนินการตลอดมาถึงชั้นศาลอุทธรณ์ จึงไม่ชอบที่จะกระทำได้เกี่ยวกับอำนาจศาล
ตามมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ.2498 มีความหมายเพียงว่า เมื่อศาลพลเรือนสั่งรับฟ้องไว้ความยังไม่ปรากฏโดยแจ้งชัดว่าคดีอยู่ในอำนาจศาลทหารหรือไม่ เช่น ยังไม่แน่ว่าจำเลยเป็นทหารประจำการหรือไม่ ต่อเมื่อได้รับฟ้องแล้วความจึงปรากฏว่าจำเลยเป็นทหารประจำการดังนี้ ศาลพลเรือนย่อมดำเนินการพิจารณาพิพากษาต่อไปได้ (อ้างนัยฎีกาที่ 463/2504) แต่เมื่อคดีปรากฏตั้งแต่แรกตามฟ้องว่า ความผิดที่กล่าวหาเป็นความผิดที่ต้องขึ้นอยู่ในอำนาจศาลทหารตามประกาศคณะปฏิวัติ ฯ แล้ว เช่นนี้หาใช่ความเพิ่งปรากฏขึ้นภายหลังว่า เป็นคดีที่อยู่ในอำนาจศาลทหารไม่ (อ้างฎีกาที่ 1352/2506) ศาลพลเรือนไม่มีอำนาจรับไว้พิจารณาพิพากษา พิพากษากลับ ศาลอุทธรณ์ ยกฟ้องโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 34/2508

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาล: คดีความผิดต่อความมั่นคงฯ อยู่ในอำนาจศาลทหาร แม้ศาลพลเรือนรับฟ้องแล้ว
ความผิดเกี่ยวกับการก่อให้เกิดภยันตรายต่อประชาชนตั้งแต่มาตรา 217 ถึงมาตรา 239 นั้นมีประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 16 ซึ่งใช้บังคับระหว่างเกิดเหตุให้อยู่ในอำนาจศาลทหารที่จะพิจารณาพิพากษาดังนั้น ที่ศาลจังหวัดปราจีนบุรีรับฟ้องคดีซึ่งมีคำขอให้ลงโทษตามมาตรา 229 ซึ่งเป็นบทหนักไว้ดำเนินการตลอดมาถึงชั้นศาลอุทธรณ์ จึงไม่ชอบที่จะกระทำได้เกี่ยวกับอำนาจศาล
ตามมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ.2498มีความหมายเพียงว่า เมื่อศาลพลเรือนสั่งรับฟ้องไว้ความยังไม่ปรากฏโดยแจ้งชัดว่าคดีอยู่ในอำนาจศาลทหารหรือไม่เช่น ยังไม่แน่ว่าจำเลยเป็นทหารประจำการหรือไม่ต่อเมื่อได้รับฟ้องแล้วความจึงปรากฏว่าจำเลยเป็นทหารประจำการดังนี้ ศาลพลเรือนย่อมดำเนินการพิจารณาพิพากษาต่อไปได้(อ้างนัยฎีกาที่ 463/2504) แต่เมื่อคดีปรากฏตั้งแต่แรกตามฟ้องว่า ความผิดที่กล่าวหาเป็นความผิดที่ต้องขึ้นอยู่ในอำนาจศาลทหารตามประกาศคณะปฏิวัติฯ แล้วเช่นนี้ หาใช่ว่าความเพิ่งปรากฏขึ้นภายหลังว่าเป็นคดีที่อยู่ในอำนาจศาลทหารไม่ (อ้างฎีกาที่ 1352/2506) ศาลพลเรือนไม่มีอำนาจรับไว้พิจารณาพิพากษาพิพากษากลับศาลอุทธรณ์ยกฟ้องโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การร้องเรียนเท็จและการยกเว้นโทษอาญาตามมาตรา 330 เมื่อข้อร้องเรียนเป็นความจริง
จำเลยเป็นสมาชิกเทศบาล ทำหนังสือร้องเรียนต่อผู้ว่าราชการจังหวัดเกี่ยวกับเรื่องที่ภริยาของโจกท์ (โจทก์ เป็นปลัดเทศบาล) ตั้งเบิกจ่ายค่าพาหนะเดินทางย้ายว่า "การเบิกจ่ายที่ผ่านไปได้ทั้ง ๆ ที่ไม่เป็นความจริงหรือการทุจริตนี้วิญญูชนก็ต้องเข้าใจว่า คงกระทำไปด้วยความแนะนำรู้เห็นเป็นใจของโจทก์ผู้สามีอย่างแน่นอน เพราะต่างก็ทำงานร่วมกันและอยู่ในบ้านพักเดียวกัน การกระทำดังกล่าวนี้เป็นการผิดกฎหมายและวินัยของราชการอย่างร้ายแรง" และ "แทนที่โจทก์จะปฏิบัติหน้าที่และวางตนให้สมกับตำแหน่ง โจทก์กลับจะกลายมาเป็นผู้แสวงหาประโยชน์จากเทศบาลโดยวิธีที่ไม่ชอบ ทั้งมีความประพฤติส่วนตัวที่ไม่สมควรมากมายหลายอย่าง จนพนักงานเทศบาลและประชาชนขาดความเคารพนับถือ สำหรับความประพฤติส่วนตัวที่เลวร้ายของโจทก์นั้นจำเลยจะยังไม่ขอกล่าวในโอกาสนี้" ดังนี้ ข้อความที่กล่าวว่าโจทก์มีความประพฤติเลวร้ายแต่มิได้กล่าวว่าเลวร้ายอย่างใดนั้น ก็น่าจะเข้าใจได้ว่า การกระทำที่เป็นทุจริตอย่างจำเลยกล่าวหาโจทก์ เป็นความประพฤติที่เลวร้ายได้ และเมื่อปรากฏว่าคำร้องเรียนของจำเลยเป็นความจริง จำเลยก็ไม่ต้องรับโทษเพราะได้รับความยกเว้นตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 330.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3/2508

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การร้องเรียนทุจริตและการหมิ่นประมาท: สิทธิในการร้องเรียน vs. การใส่ความเท็จ
จำเลยเป็นสมาชิกเทศบาล ทำหนังสือร้องเรียนต่อผู้ว่าราชการจังหวัดเกี่ยวกับเรื่องที่ภริยาของโจทก์ (โจทก์เป็นปลัดเทศบาล) ตั้งเบิกจ่ายค่าพาหนะเดินทางย้ายว่า'การเบิกจ่ายที่ผ่านไปได้ทั้งๆ ที่ไม่เป็นความจริง หรือการทุจริตนี้วิญญูชนก็ต้องเข้าใจว่าคงกระทำไปด้วยความแนะนำรู้เห็นเป็นใจของโจทก์ผู้เป็นสามีอย่างแน่นอน เพราะต่างก็ทำงานร่วมกันและอยู่ในบ้านพักเดียวกันการกระทำดังกล่าวนี้เป็นการผิดกฎหมายและวินัยของราชการอย่างร้ายแรง' และ'แทนที่โจทก์จะปฏิบัติหน้าที่และวางตนให้สมกับตำแหน่งโจทก์กลับจะกลายมาเป็นผู้แสวงหาประโยชน์จากเทศบาลโดยวิธีที่ไม่ชอบทั้งมีความประพฤติส่วนตัวที่ไม่สมควรมากมายหลายอย่าง จนพนักงานเทศบาลและประชาชนขาดความเคารพนับถือสำหรับความประพฤติส่วนตัวที่เลวร้ายของโจทก์นั้น จำเลยจะยังไม่ขอกล่าวในโอกาสนี้' ดังนี้ข้อความที่กล่าวว่าโจทก์มีความประพฤติเลวร้ายแต่มิได้กล่าวว่าเลวร้ายอย่างใดนั้นก็น่าจะเข้าใจได้ว่า การกระทำที่เป็นทุจริตอย่างจำเลยกล่าวหาโจทก์เป็นความประพฤติที่เลวร้ายได้และเมื่อปรากฏว่าคำร้องเรียนของจำเลยเป็นความจริงจำเลยก็ไม่ต้องรับโทษเพราะได้รับความยกเว้นตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 330

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1124/2507 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ แจ้งความเท็จใส่ความหมิ่นประมาทเจ้าพนักงานศาล ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 137, 198, 326
ข้อกล่าวหาของจำเลยที่ว่า นายหิรัญผู้พิพากษาได้ร่วมรับประทานเลี้ยงกับนางนิภาโจทก์ซึ่งนายหิรัญตัดสินให้ชนะคดีที่ร้านข้างศาลในตอนเย็นวันตัดสินนั้น เป็นความเท็จ และจำเลยได้ร้องเรียนความดังกล่าวต่อปลัดกระทรวงยุติธรรมภาค 2 ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชานายหิรัญในการสอบสวนเพื่อดำเนินการทางวินัยแก่นายหิรัญ เช่นนี้ การกระทำของจำเลยเป็นการแจ้งข้อความเท็จดดยเจตนาซึ่งอาจทำให้นายหิรัญเสียหาย เป็นความผิดตามมาตรา 137 ยิ่งกว่านั้นข้อความที่จำเลยแจ้งเท็จดังกล่าว ยังมีความหมายไปในทางหาว่านายหิรัญประพฤติตนไม่สมควรเป็นไปในทำนองที่พิพากษาคดีความไปโดยไม่สุจริต เป็นการหมิ่นประมาทนายหิรัญผู้พิพากษาในการพิพากษาคดีอันเป็นความผิดตามมาตรา 198 และเป็นการหมิ่นประมาทใส่ความแก่นายหิรัญตามมาตรา 326 อีกด้วย กรณีไม่เข้าข้อยกเว้นตามมาตรา 329(1) เพราะจำเลยมีเจตนาแกล้งกล่าวข้อความเท็จโดยไม่สุจริต
ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 137 มิได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะว่า ผู้รับแจ้งข้อความอันเป็นเท็จนั้นจะต้องเป็นพนักงานสอบสวน แต่ย่อมหมายถึงเจ้าพนักงานโดยทั่วไป เมื่ออธิบดีผู้พิพากษาภาค 2 เป็นผู้บังคับบัญชา มีหน้าที่สอบสวนความผิดทางวินัยกับนายหิรัญ การที่อธิบดีผู้พิพากษาภาค 2 สอบสวนจำเลยซึ่งเป็นการกระทำตามอำนาจหน้าที่ในฐานะเจ้าพนักงาน เมื่อจำเลยแจ้งข้อความอันเป็นเท็จต่ออธิบดีผู้พิพากษาภาค 2 ซึ่งอาจทำให้นายหิรัญเสียหาย จึงเป็นความผิดตามมาตรา 1371

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1124/2507

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ แจ้งความเท็จใส่ความหมิ่นประมาทเจ้าพนักงานศาล มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 137, 198, 326
ข้อกล่าวหาของจำเลยที่ว่า นายหิรัญผู้พิพากษาได้ร่วมรับประทานเลี้ยงกับนางนิภาโจทก์ ซึ่งนายหิรัญตัดสินให้ชนะคดี ที่ร้านข้างศาลในตอนเย็นวันตัดสินนั้น เป็นความเท็จ และ จำเลยได้ร้องเรียนความดังกล่าวต่อปลัดกระทรวงยุติธรรม และไปยืนยันให้ถ้อยคำต่ออธิบดีผู้พิพากษาภาค 2 ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชานายหิรัญในการสอบสวนเพื่อดำเนินการทางวินัยแก่นายหิรัญ เช่นนี้ การกระทำของจำเลยเป็นการแจ้งข้อความเท็จโดยเจตนาซึ่งอาจทำให้นายหิรัญเสียหายเป็นความผิดตามมาตรา 137 ยิ่งกว่านั้นข้อความที่จำเลยแจ้งเท็จดังกล่าว ยังมีความหมายไปในทางหาว่านายหิรัญประพฤติตนไม่สมควร เป็นไปในทำนองพิพากษาคดีความไปโดยไม่สุจริตเป็นการหมิ่นประมาทนายหิรัญผู้พิพากษาในการพิพากษาคดีอันเป็นความผิดตามมาตรา 198 และเป็นการหมิ่นประมาทใส่ความแก่นายหิรัญตามมาตรา 326 อีกด้วย กรณีไม่เข้าข้อยกเว้นตาม มาตรา 329(1) เพราะจำเลยมีเจตนาแกล้งกล่าวข้อความเท็จโดยไม่สุจริต
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 137 มิได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะว่า ผู้รับแจ้งข้อความอันเป็นเท็จนั้นจะต้องเป็นพนักงานสอบสวน แต่ย่อมหมายถึงเจ้าพนักงานโดยทั่วไป เมื่ออธิบดีผู้พิพากษาภาค 2 เป็นผู้บังคับบัญชา มีหน้าที่สอบสวนความผิดทางวินัยกับนายหิรัญ การที่อธิบดีผู้พิพากษาภาค 2 สอบสวนจำเลย จึงเป็นการกระทำตามอำนาจหน้าที่ในฐานะเจ้าพนักงาน เมื่อจำเลยแจ้งข้อความอันเป็นเท็จต่ออธิบดีผู้พิพากษาภาค 2 ซึ่งอาจทำให้นายหิรัญเสียหาย จึงเป็นความผิดตามมาตรา 137

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1123/2507 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฐานยักยอกต้องมีลักษณะเป็นผู้ประกอบอาชีพที่น่าเชื่อถือ มิใช่ความสัมพันธ์ส่วนตัว
การกระทำผิดฐานยักยอกตามมาตรา 154 จะต้องได้ความว่าผู้กระทำผิดได้กระทำในฐานเป็นผู้มีอาชีพหรือธุรกิจอันย่อมเป็นที่ไว้ว่างใจของประชาชนด้วย มิใช่เป็นเรื่องระหว่างกันเองโดยเฉพาะ
การที่โจทก์บรรยายฟ้องเพียงวา จำเลยมีอาชีพรับแก้เครื่องยนต์ แม้จะบรรยายต่อไปว่า "เป็นอาชีพหรือธุรกิจอันย่อมเป็นที่ไว้วางใจของประชาชน" ด้วยก็ตาม ก็เป็นเพียงประโยคประกอบซึ่งโจทก์ขยายความออกไปตามความเห็นของโจทก์เองเท่านั้น เมื่อไม่มีข้อเท็จจริงและรายละเอียดว่าจำเลยกระทำในฐานเป็นผู้มีอาชีพหรือธุรกิจอันย่อมเป็นที่ไว้วางใจของประชาชนอย่างไร หรือเพราะเหตุใดพอสมควรเท่าที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดี จำเลยย่อมไม่มีความผิดฐานยักยอกตามมาตรา 354

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1123/2507

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยักยอก: ต้องพิสูจน์การกระทำในฐานะผู้มีอาชีพที่ไว้วางใจได้
การกระทำผิดฐานยักยอกตามมาตรา 354 จะต้องได้ความว่าผู้กระทำผิดได้กระทำในฐานเป็นผู้มีอาชีพหรือธุรกิจอันย่อมเป็นที่ไว้วางใจของประชาชนด้วยมิใช่เป็นเรื่องระหว่างกันเองโดยเฉพาะ
การที่โจทก์บรรยายฟ้องเพียงว่า จำเลยมีอาชีพรับจ้างแก้เครื่องยนต์ แม้จะบรรยายต่อไปว่า "เป็นอาชีพหรือธุรกิจอันย่อมเป็นที่ไว้วางใจของประชาชน" ด้วยก็ตามก็เป็นเพียงประโยคประกอบซึ่งโจทก์ขยายความออกไปตามความเห็นของโจทก์เองเท่านั้น เมื่อไม่มีข้อเท็จจริงหรือรายละเอียดว่าจำเลยกระทำในฐานเป็นผู้มีอาชีพหรือธุรกิจอันย่อมเป็นที่ไว้วางใจของประชาชนอย่างไรหรือเพราะเหตุใดพอสมควรเท่าที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดี จำเลยย่อมไม่มีความผิดฐานยักยอกตามมาตรา 354
of 67