คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
เสนอ บุณยเกียรติ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 664 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 415/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาฆ่าจากการวิวาทและใช้จอบทำร้าย ศาลฎีกายืนตามคำพิพากษาเดิม
ผู้ตายกับจำเลยด่าว่ากันแล้วผู้ตายใช้จอบตีจำเลยแต่ผิด จอบติดดิน ผู้ตายต้องใช้เวลาดึงจอบประมาณ 1 นาที ขณะที่จอบผู้ตายติดดินอยู่นี้ จำเลยมีโอกาสที่จะหลีกเลี่ยงไปได้ถ้าจำเลยไม่สมัครใจจะวิวาทกับผู้ตาย การที่จำเลยใช้จอบตีผู้ตายโดยแรงเช่นนี้ แสดงว่าจำเลยมีเจตนาจะทำร้ายผู้ตายอันเนื่องมาจากการด่าว่ากันอย่างรุนแรง และเกิดโมโหขึ้นมา ทั้งจำเลยและผู้ตายต่างถือจอบเป็นอาวุธพร้อมที่จะทำร้ายกันได้ พอฝ่ายผู้ตายตีจำเลยผิด จำเลยก็ตีผู้ตายได้ทันที จึงเป็นเรื่องสมัครใจวิวาทกัน จะอ้างว่ากระทำไปเพื่อป้องกันสิทธิหาได้ไม่
จำเลยใช้จอบซึ่งยาวประมาณ 1 วา คมจอบกว้างประมาณ 6 นิ้วฟุต ตีผู้ตายที่ศีรษะโดยแรง มีบาดแผล 2 แห่ง คือ ที่กลางกระหม่อมกว้าง 13 เซ็นติเมตร ยาว 18 เซ็นติเมตร กระโหลกศีรษะแตก และที่ขมับขวาแผลกว้าง 2 เซ็นติเมตร ยาว 9 เซ็นติเมตร กระโหลกศีรษะร้าว ตามลักษณะเช่นนี้ เห็นได้ว่าจำเลยย่อมเล็งเห็นผลแห่งการกระทำได้ว่าอาจทำให้ถึงตายได้ จึงฟังได้ว่าจำเลยมีเจตนาฆ่า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 372/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พินัยกรรมไม่สิ้นผลแม้มีการแบ่งทรัพย์ การโอนทรัพย์กลับมายังทำให้พินัยกรรมมีผลบังคับใช้
สามีโดยมิชอบด้วยกฎหมายทำพินัยกรรมยกทรัพย์ทั้งหมดให้ภริยา ต่อมาสามีภริยานั้นได้ทำหนังสือแบ่งทรัพย์กันโดยสามีได้ทรัพย์ไปบางส่วนหนังสือแบ่งทรัพย์นั้นย่อมไม่เพิกถอนพินัยกรรม เพราะพินัยกรรมจะเพิกถอนไปได้ ก็ต้องกระทำด้วยพินัยกรรมฉบับหลัง หรือทำลาย หรือขีดฆ่าพินัยกรรมนั้นด้วยความตั้งใจ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1694,1695 ถ้าทรัพย์สินอันเป็นวัตถุแห่งพินัยกรรมอย่างใดได้โอนไปโดยสมบูรณ์ด้วยความตั้งใจ ข้อกำหนดพินัยกรรมอันเกี่ยวกับทรัพย์สินนั้นเป็นอันเพิกถอนไปเฉพาะอย่างตามมาตรา 1696 แต่พินัยกรรมยังใช้ได้อยู่ เมื่อทรัพย์ที่แบ่งกลับมาเป็นของสามีตามสัญญาแบ่งทรัพย์ ก็ย่อมตกได้แก่ภริยาตามพินัยกรรมที่ยังมีผลสมบูรณ์อยู่นั่นเอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 372/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนพินัยกรรมและการตกได้ตามพินัยกรรมเมื่อทรัพย์สินโอนกลับมา
สามีโดยมิชอบด้วยกฎหมายทำพินัยกรรมยกทรัพย์ทั้งหมดให้ภริยาต่อมาสามีภริยานั้นได้ทำหนังสือแบ่งทรัพย์กันโดยสามีได้ทรัพย์ไปบางส่วน หนังสือแบ่งทรัพย์นั้นย่อมไม่เพิกถอนพินัยกรรม เพราะพินัยกรรมจะเพิกถอนไปได้ ก็ต้องกระทำด้วยพินัยกรรมฉบับหลังหรือทำลาย หรือขีดฆ่าพินัยกรรมนั้นด้วยความตั้งใจ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1694,1695 ถ้าทรัพย์สินอันเป็นวัตถุแห่งพินัยกรรมอย่างใดได้โอนไปโดยสมบูรณ์ด้วยความตั้งใจ ข้อกำหนดพินัยกรรมอันเกี่ยวกับทรัพย์สินนั้นเป็นอันเพิกถอนไปเฉพาะอย่าง มาตรา1696 แต่พินัยกรรมยังใช้ได้อยู่เมื่อทรัพย์ที่แบ่งกลับมาเป็นของสามีตามสัญญาแบ่งทรัพย์ก็ย่อมตกได้แก่ภริยาตามพินัยกรรมที่ยังมีผลสมบูรณ์อยู่นั้นเอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 349/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาต่างตอบแทนโดยนัย: สิทธิในการอยู่อาศัยแลกกับการช่วยค่าก่อสร้าง แม้ไม่จดทะเบียนก็มีผลผูกพัน
คำให้การจำเลยที่ว่า ได้ออกเงินช่วยค่าก่อสร้างแก่โจทก์ และโจทก์ตกลงจะให้จำเลยได้อยู่ในตึกแถว 2 คูหา มีกำหนดเวลา 25 ปีนั้น พอถือได้ว่าจำเลยต่อสู้ว่าจำเลยมีสิทธิอยู่ในตึกแถวที่โจทก์สร้างขึ้นโดยจำเลยชำระเงินจำนวนวหนึ่งให้แก่โจทก์ จึงอนุมานได้ว่าเป็นสัญญาต่างตอบแทนโดยนัยอยู่ในตัว
สัญญาเช่นนี้แม้จะมิได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ก็ใช้บังคับตามกำหนดเวลาที่ตกลงกันไว้ได้ (อ้างฎีกาที่ 1627/2505 และที่ 1152/2507)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 349/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาต่างตอบแทนโดยนัย: สิทธิการอยู่อาศัยจากการช่วยเหลือค่าก่อสร้าง แม้ไม่จดทะเบียนก็มีผลผูกพัน
คำให้การจำเลยที่ว่า ได้ออกเงินช่วยค่าก่อสร้างแก่โจทก์และโจทก์ตกลงจะให้จำเลยได้อยู่ในตึกแถว 2 คูหา มีกำหนดเวลา 25 ปีนั้น พอถือได้ว่าจำเลยต่อสู้ว่าจำเลยมีสิทธิอยู่ในตึกแถวที่โจทก์สร้างขึ้นโดยจำเลยชำระเงินจำนวนหนึ่งให้แก่โจทก์จึงอนุมานได้ว่าเป็นสัญญาต่างตอบแทนโดยนัยอยู่ในตัว
สัญญาเช่นนี้แม้จะมิได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ก็ใช้บังคับตามกำหนดเวลาที่ตกลงกันไว้ได้
(อ้างฎีกาที่ 1627/2505 และที่ 1152/2507)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 344/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งมรดกเฉพาะทายาทที่ฟ้อง: ศาลแบ่งตามสิทธิที่โจทก์ควรได้ ไม่ใช่การกันส่วนไว้
ทายาทมี 3 คน แต่ทายาทที่มาฟ้องขอแบ่งมรดกมี 2 คนเท่านั้น ดังนั้น ศาลย่อมพิพากษาให้โจทก์ได้ส่วนแบ่งเพียงคนละ 1 ใน 3 เท่านั้น เพราะเป็นการแบ่งให้ตามสิทธิที่โจทก์แต่ละคนคนควรจะได้ หาใช่เป็นการกันส่วนไว้เพื่อทายาทอื่นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1749 ไม่ อ้างฎีกาที่ 821/2491.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 344/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งมรดกเฉพาะทายาทที่ฟ้องร้อง: สิทธิส่วนแบ่งตามจำนวนทายาทที่เข้าร่วม
ทายาทมี 3 คน แต่ทายาทที่มาฟ้องขอแบ่งมรดกมี 2 คนเท่านั้นดังนั้น ศาลย่อมพิพากษาให้โจทก์ได้ส่วนแบ่งเพียงคนละ 1 ใน 3 เท่านั้นเพราะเป็นการแบ่งให้ตามสิทธิที่โจทก์แต่ละคนควรจะได้ หาใช่เป็นการกันส่วนไว้เพื่อทายาทอื่นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1749 ไม่ อ้างฎีกาที่ 821/2491

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 335/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องเรียกเงินจากตั๋วแลกเงินและเช็ค ผู้รับอาวัลต้องรับผิดตามมูลหนี้เดิม และดอกเบี้ยตามกฎหมาย
บรรยายฟ้องว่า ชั้นแรกจำเลยออกตั๋วแลกเงิน โดยจำเลยลงชื่อเป็นผู้สั่งจ่ายนำมาขายให้โจทก์ ต่อมาโจทก์ทวงถามเงินที่จำเลยรับไปจากผู้จ่ายไม่ได้ จึงทวงถามจากจำเลย จำเลยกลับนำเช็คทั้ง 3 ฉบับซึ่งเป็นเช็คลงวันที่ล่วงหน้าโดยบุคคลภายนอกเป็นผู้สั่งจ่ายมาโอนขายให้โจทก์อีก เพื่อเป็นการชำระหนี้ตามตั๋วแลกเงินในการนี้จำเลยลงนามสลักหลังเป็นผู้รับอาวัลเช็คทั้ง 3 ฉบับด้วย เช็คถึงกำหนด ปรากฏว่าบุคคลภายนอกนั้นไม่มีเงินในบัญชีธนาคาร โจทก์จึงฟ้องเรียกเงินตามเช็คจากจำเลยเป็นผู้รับอาวัลดังนี้ เป็นเรื่องที่โจทก์บรรยายฟ้องให้ทราบถึงมูลหนี้เดิมว่าเป็นมาอย่างไรบัดนี้จำเลยต้องรับผิดชอบต่อโจทก์อย่างไร หาใช่เป็นเรื่องโจทก์ฟ้องเรียกร้องทั้งหนี้ตามตั๋วแลกเงินและหนี้ตามเช็คไม่ ฟ้องโจทก์เป็นฟ้องที่แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหา ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 แล้ว
ข้อกำหนดให้คิดดอกเบี้ยตามที่โจทก์นำสืบมิได้ระบุไว้ในตั๋วแลกเงินฉะนั้น แม้โจทก์จะมีพยานบุคคลมาสืบได้ความว่าจำเลยตกลงยอมเสียดอกเบี้ยให้โจทก์ร้อยละ 15 ต่อปี หามีผลบังคับให้จำเลยต้องเสียดอกเบี้ยในอัตราตามที่โจทก์นำสืบมาไม่ กรณีต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 968(2) ที่บัญญัติให้ผู้ทรงตั๋วแลกเงินมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยในอัตราเพียงร้อยละห้าต่อปีนับแต่วันที่ตั๋วแลกเงินถึงกำหนดเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 335/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความชอบด้วยกฎหมายของฟ้อง และอัตราดอกเบี้ยตามตั๋วแลกเงิน
บรรยายฟ้องว่า ขั้นแรกจำเลยออกตั๋วแลกเงินโดยจำเลยลงชื่อเป็นผู้สั่งจ่ายนำมาขายให้โจทก์ ต่อมาโจทก์ทวงถามเงินที่จำเลยรับไปจากผู้จ่ายไม่ได้ จึงทวงถามจากจำเลย จำเลยกลับนำเช็คทั้ง 3 ฉบับซึ่งเป็นเช็คลงวันที่ล่วงหน้า โดยบุคคลภายนอกเป็นผู้สั่งจ่ายมาโอนขายให้โจทก์อีก เพื่อเป็นการชำระหนี้ตามตั๋วแลกเงิน ในการนี้จำเลยลงนามสลักหลังเป็นผู้รับอาวัลเช็คทั้ง 3 ฉบับด้วย เช็คถึงกำหนดปรากฏว่าบุคคลภายนอกนั้นไม่มีเงินในบัญชีธนาคาร โจทก์จึงฟ้องเรียกเงินตามเช็คจากจำเลยในฐานที่จำเลยเป็นผู้รับอาวัล ดังนี้ เป็นเรื่องที่โจทก์บรรยายฟ้องให้ทราบถึงมูลหนี้เดิมว่าเป็นมาอย่างไร บัดนี้จำเลยต้องรับผิดชอบต่อโจทก์อย่างไร หาใช่เป็นเรื่องโจทก์ฟ้องเรียกร้องทั้งหนี้ตามตั๋วแลกเงินและหนี้ตามเช็คไม่ ฟ้องโจทก์เป็นฟ้องที่แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำข้อบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหา ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 แล้ว
ข้อกำหนดให้คิดดอกเบี้ยตามที่โจทก์นำสืบมิได้ระบุไว้ในตั๋วแลกเงิน ฉะนั้น แม้โจทก์มีพยานบุคคลมาสืบได้ความว่าจำเลยตกลงยอมเสียดอกเบี้ยให้โจทก์ร้อยละ 15 ต่อปี หามีบทบังคับให้จำเลยต้องเสียดอกเบี้ยในอัตราตาที่โจทก์นำสืบหาไม่ กรณีต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 968(2) ที่บัญญัติให้ผู้ทรงตั๋วแลกเงินมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยในอัตราเพียงร้อยละห้าต่อปี นับแต่วันที่ตั๋วแลกเงินถึงกำหนดเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 308/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความสมบูรณ์ แม้ไม่มีลายมือชื่อเจ้าหนี้ โดยทนายลงชื่อแทนได้ และดอกเบี้ยค้างชำระหักจากเงินที่จำเลยจ่ายให้ทนายได้
โจทก์แจ้งยอดจำนวนหนี้ที่จำเลยเป็นหนี้อยู่และจะให้ทนายฟ้องเรียกจากจำเลยโดยทนายได้แสดงใบแต่งทนายของบริษัทโจทก์ให้ดูด้วย จำเลยจึงได้ขอร้องอย่าให้ฟ้อง ต่อมาจึงได้ทำหนังสือประนีประนอมยอมความว่า ลูกหนี้สละสิทธิที่จะฟ้องเรียกหนี้สินจากเจ้าหนี้ตามที่เคยให้ทนายทวงถามมา และรับว่าค้างชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ 30,574.56 บาท ซึ่งลูกหนี้จะชำระให้เสร็จภายใน 3 ปี โดยผ่อนชำระเดือนละ 850 บาท ในตอนท้ายลงชื่อลูกหนี้ กับลงชื่อทนายโจทก์ ดังนี้ถือได้ว่าเป็นกรทำสัญญาประนีประนอมยอมความเพื่อระงับข้อพิพาทซึ่งมีอยู่ให้เสร็จไปด้วยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 850 แล้ว
สัญญาประนีประนอมยอมความได้มีหลักฐานเป็นหนังสือและจำเลยฝ่ายที่ต้องรับผิดได้ลงลายมือชื่อไว้เป็นสำคัญแล้ว โจทก์ก็ย่อมฟ้องบังคับคดีได้ เพราะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มิได้มีข้อความว่าจะต้องมีลายมือชื่อของคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายลงไว้ด้วยกัน จึงจะเป็นสัญญาอันสมบูรณ์ (อ้างฎีกาที่ 344/2494)
จำเลยชำระเงินให้แก่ทนายโจทก์ แต่ทนายโจทก์ยังไม่ได้ส่งไปให้โจทก์ ได้ความว่าเป็นเงินที่จำเลยยอมให้ทนายโจทก์หักไว้เป็นค่าดอกเบี้ยที่ค้างชำระโจทก์ ไม่ใช่ชำระหนี้เงินต้น ทนายโจทก์ได้กันเงินจำนวนนี้ไว้ใช้จ่ายในฟ้องร้องจำเลยโดยความยินยอมของโจทก์ ดังนี้ จะนำเงินจำนวนนี้ไปหักจากยอดหนี้สินที่จำเลยค้างชำระอยู่แก่โจทก์ย่อมไม่ได้
of 67