พบผลลัพธ์ทั้งหมด 664 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 200/2509
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องเบิกความเท็จต้องระบุรายละเอียดชัดเจน หากฟ้องคลุมเครือ ศาลย่อมยกฟ้อง
การบรรยายฟ้องในข้อหาฐานเบิกความเท็จที่เป็นฟ้องเคลือบคลุม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 81/2509
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นิติสัมพันธ์บัญชีเดินสะพัด: การประมงโดยมีผู้สนับสนุนทางการเงิน
การที่ ซ. ได้ออกเงินและสิ่งขอให้ ก. ทำการประมงเมื่อได้ปลามาส่งให้แก่ ซ. แล้ว ซ. ก็รับขนส่งไปให้ บ. ขาย บ. จะหักเงินค่าขายผลาของ บ. ไว้ 5 เปอร์เซ็นต์ และอีก 5 เปอร์เซ็นต์เป็นค่าบำเหน็จของ ซ. เพราะ ซ. ออกทุนให้ ก. แล้วส่งบิลและเงินค่าขายปลาให้ ซ. ซ. ลงบัญชีไว้แล้วมอบบิลให้ ก. ไปลงบัญชีของตนเพื่อจะได้ตรวจสอบคิดหักบัญชีกันทำให้รู้ได้ว่าฝ่ายใดยังเป็นเจ้าหนี้ลูกหนี้กันจำนวนเงินเท่าใดโดยมีสมุดบัญชีเบิกเงินรายวันสมุดบัญชีน้ำมัน สมุดบัญชีขายปลา เป็นพยานหลักฐาน เช่นนี้นิติสัมพันธ์ระหว่าง ก. กับ ซ. เข้าลักษณะบัญชีเดินสะพัดตามมาตรา 856 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 81/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
บัญชีเดินสะพัด: การซื้อขายปลาและการหักบัญชีระหว่างนายทุนกับผู้ทำการประมง
การที่นาย ซ. ได้ออกเงินและสิ่งของให้นาง ก. ทำการประมง เมื่อได้ปลามาส่งให้แก่นาย ซ.แล้ว นายซ. ก็รับขนส่งไปให้นางบุญแถมขาย นางบุญแถมจะหักเงินค่าขายปลาของนางบุญแถมไว้ 5 เปอร์เซ็นต์และอีก 5 เปอร์เซ็นต์เป็นค่าบำเหน็จของนาย ซ. เพราะนาย ซ.ออกทุนให้นาง ก. แล้วส่งบิลและเงินค่าขายปลาให้นาย ซ. นาย ซ.ลงบัญชีไว้แล้วมอบบิลให้นาง ก. ไปลงบัญชีของตนเพื่อจะได้ตรวจสอบคิดหักบัญชีกัน ทำให้รู้ได้ว่าฝ่ายใดยังเป็นเจ้าหนี้ลูกหนี้กันจำนวนเงินเท่าใด โดยมีสมุดบัญชีเบิกเงินรายวัน สมุดบัญชีน้ำมัน(ที่ใช้ในการเดินเรือ) สมุดบัญชีขายปลา เป็นพยานหลักฐาน เช่นนี้ นิติสัมพันธ์ระหว่างนาง ก. กับนาย ซ. เข้าลักษณะบัญชีเดินสะพัดตามมาตรา 856 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 73/2509
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อเสนอขายไม้ที่มีเงื่อนไขกำหนดเวลาชำระเงิน เมื่อพ้นกำหนด สัญญาซื้อขายสิ้นสุด
โจทก์เสนอขอซื้อไม้จากจำเลยจำเลยสนองตอบว่าจะขายให้ แต่ให้ติดต่อชำระเงินและรับมอบไม้ภายในกำหนด 30 วัน นับแต่วันได้รับหนังสือ มิฉะนั้น ถือว่าโจทก์ไม่ประสงค์จะซื้อไม้รายนี้ดังนี้ ถ้าโจทก์ได้ชำระเงินค่าไม้บางส่วน เมื่อพ้นกำหนดเวลาดังกล่าวข้อผูกพันตามคำสนองของจำเลยที่บอกขายไม้ให้โจทก์ย่อมสิ้นสุดไปแล้วจำเลยไม่มีหน้าที่ต้องขายไม้นั้นให้โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 73/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อเสนอซื้อขายมีเงื่อนเวลา หากไม่ปฏิบัติตาม ข้อผูกพันสิ้นสุด
โจทก์เสนอขอซื้อไม้จากจำเลย จำเลยสนองตอบว่าจะขายให้ แต่ให้ติดต่อชำระเงินและรับมอบไม้ภายในกำหนด 30 วันนับแต่วันได้รับหนังสือ มิฉะนั้นถือว่าโจทก์ไม่ประสงค์จะซื้อไม้รายนี้ ดังนี้ ถ้าโจทก์ได้ชำระเงินค่าไม้บางส่วน เมื่อพ้นกำหนดเวลาดังกล่าว ข้อผูกพันตามคำสนองของจำเลยที่บอกขายไม้ให้โจทก์ย่อมสิ้นสุดไปแล้ว จำเลยไม่มีหน้าที่ต้องขายไม้นั้นให้โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15/2509
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาฆ่าจากการกระทำซ้ำและการทำร้ายเจ้าพนักงานขณะปฏิบัติหน้าที่
จำเลยแทงผู้ตายที่บริเวณหน้าอกเหนือหัวใจจนทะลุในครั้นผู้ตายล้มลง จำเลยคร่อมจะแทงซ้ำอีก เช่นนี้ ย่อมแสดงให้เห็นว่าจำเลยมีเจตนาฆ่า
พลตำรวจลาหยุดราชการในระหว่างที่ลาหยุดนั้น ไปเที่ยวในงานมหรสพซึ่งอยู่ในเขตท้องที่ซึ่งตนประจำการอยู่ จ่าสิบตำรวจตรีคนหนึ่งซึ่งรักษาการอยู่ในงานนั้นได้ขอร้องให้ช่วยรักษาความสงบเรียบร้อยในงานนั้นด้วยจำเลยได้แสดงกิริยามึนเมาสุราในบริเวณงานพลตำรวจนั้นได้ห้ามปรามและขอให้จำเลยกลับไปบ้าน จำเลยได้ใช้มีดแทงพลตำรวจผู้นั้นถึงบาดเจ็บสาหัส เช่นนี้ จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 298
พลตำรวจลาหยุดราชการในระหว่างที่ลาหยุดนั้น ไปเที่ยวในงานมหรสพซึ่งอยู่ในเขตท้องที่ซึ่งตนประจำการอยู่ จ่าสิบตำรวจตรีคนหนึ่งซึ่งรักษาการอยู่ในงานนั้นได้ขอร้องให้ช่วยรักษาความสงบเรียบร้อยในงานนั้นด้วยจำเลยได้แสดงกิริยามึนเมาสุราในบริเวณงานพลตำรวจนั้นได้ห้ามปรามและขอให้จำเลยกลับไปบ้าน จำเลยได้ใช้มีดแทงพลตำรวจผู้นั้นถึงบาดเจ็บสาหัส เช่นนี้ จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 298
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาฆ่าจากการกระทำความรุนแรงต่อเนื่อง และการทำร้ายเจ้าพนักงานขณะปฏิบัติหน้าที่
จำเลยแทงผู้ตายที่บริเวณหน้าอกเหนือหัวใจจนทะลุใน ครั้นผู้ตายล้มลง จำเลยคร่อมจะแทงซ้ำอีก เช่นนี้ ย่อมแสดงให้เห็นว่าจำเลยมีเจตนาฆ่า
พลตำรวจลาหยุดราชการในระหว่างที่ลาหยุดนั้น ไปเที่ยวในงานมหรศพซึ่งอยู่ในเขตท้องที่ซึ่งตนประจำการอยู่ จ่าสิบตำรวจตรีคนหนึ่งซึ่งรักษาการอยู่ในงานนั้นได้ขอร้องให้ช่วยรักษาความสงบเรียบร้อยในงานนั้นด้วย จำเลยได้แสดงกิริยามึนเมาสุราในบริเวณงาน พลตำรวจนั้นได้ห้ามปรามและขอให้จำเลยกลับไปบ้าน จำเลยได้ใช้มีดแทงพลตำรวจผู้นั้นถึงบาดเจ็บสาหัส เช่นนี้ จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 298.
พลตำรวจลาหยุดราชการในระหว่างที่ลาหยุดนั้น ไปเที่ยวในงานมหรศพซึ่งอยู่ในเขตท้องที่ซึ่งตนประจำการอยู่ จ่าสิบตำรวจตรีคนหนึ่งซึ่งรักษาการอยู่ในงานนั้นได้ขอร้องให้ช่วยรักษาความสงบเรียบร้อยในงานนั้นด้วย จำเลยได้แสดงกิริยามึนเมาสุราในบริเวณงาน พลตำรวจนั้นได้ห้ามปรามและขอให้จำเลยกลับไปบ้าน จำเลยได้ใช้มีดแทงพลตำรวจผู้นั้นถึงบาดเจ็บสาหัส เช่นนี้ จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 298.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6/2509
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยึดทรัพย์สินเดิมของภริยาเพื่อชำระหนี้สามี: ต้องเป็นหนี้ร่วมเท่านั้น
แม้สินเดิมของผู้ร้องจะเป็นสินบริคณห์ระหว่างจำเลยกับผู้ร้องซึ่งเป็นสามีภริยากัน โจทก์ก็หามีสิทธินำยึดเพื่อขายทอดตลาด เอาเงินชำระหนี้ได้เสมอไปไม่ โจทก์จะนำยึดเพื่อขายทอดตลาดเอาเงินชำระหนี้ได้ก็ต่อเมื่อหนี้ตามคำพิพากษานั้นเป็นหนี้ร่วมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1482 (อ้างฎีกาที่ 1792/2492, 1250/2493, 1059/2495, 460/2507)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1625/2508
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการรับเงินเดือนข้าราชการพักราชการที่ถูกไล่ออก และอายุความฟ้องละเมิด
ตามพระราชบัญญัติเงินเดือนของข้าราชการผู้ถูกสั่งพักราชการพ.ศ.2502 มาตรา 7(1) และพระราชบัญญัติว่าด้วยการจ่ายเงินเดือนและเงินอื่นให้แก่ผู้ถูกสั่งพักราชการ พ.ศ.2488 มาตรา 5(1) นั้นเป็นเรื่องให้จ่ายเงินเดือนแก่ผู้ถูกสั่งพักราชการโดยผลของการสอบสวนปรากฏว่าข้าราชการผู้นั้นไม่มีความผิด หรือไม่มีมลทินมัวหมองเท่านั้นแต่ถ้าคณะกรรมการสอบสวนเห็นว่ามีความผิด และทางราชการได้มีคำสั่งไล่ข้าราชการคนใดออกจากราชการไปแล้ว กรณีเช่นนี้ ตามกฎหมายดังกล่าวกลับห้ามมิให้จ่ายเงินเดือนระหว่างพักราชการให้แก่ข้าราชการซึ่งถูกไล่ออกจากราชการนั้นด้วย
กระทรวงเศรษฐการมีคำสั่งไล่โจทก์ออกจากราชการฐานผิดวินัยเมื่อโจทก์เห็นว่าคำสั่งนั้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย เป็นการละเมิดต่อโจทก์ โจทก์ก็ชอบที่จะฟ้องร้องต่อศาลเสียภายในกำหนดอายุความ 1 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 จะใช้อายุความ5 ปีตามมาตรา 166 หาได้ไม่
กระทรวงเศรษฐการมีคำสั่งไล่โจทก์ออกจากราชการฐานผิดวินัยเมื่อโจทก์เห็นว่าคำสั่งนั้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย เป็นการละเมิดต่อโจทก์ โจทก์ก็ชอบที่จะฟ้องร้องต่อศาลเสียภายในกำหนดอายุความ 1 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 จะใช้อายุความ5 ปีตามมาตรา 166 หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1625/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการรับเงินเดือนข้าราชการที่ถูกไล่ออก: การหมดอายุความฟ้องละเมิด
ตามพระราชบัญญัติเงินเดือนของข้าราชการผู้ถูกสั่งพักราชการ พ.ศ. 2502 มาตรา 7(1) และพระราชบัญญัติว่าด้วยการจ่ายเงินเดือนและเงินอื่นๆ ให้แก่ผู้ถูกสั่งพักราชการ พ.ศ.2488 มาตรา 5(1) นั้น เป็นเรื่องให้จ่ายเงินเดือนแก่ผู้ถูกสั่งพักราชการโดยผลของการสอบสวนปรากฏว่าข้าราชการผู้นั้นไม่มีความผิด หรือไม่มีมลทินมัวหมองเท่านั้น แต่ถ้าคณะกรรมการสอบสวนเห็นว่ามีความผิด และทางราชการได้มีคำสั่งไล่ข้าราชการคนใดออกจากราชการไปแล้ว กรณีเช่นนี้ ตามกฎหมายดังกล่าวกลับห้ามมิให้จ่ายเงินเดือนระหว่างพักราชการให้แก่ข้าราชการซึ่งถูกไล่ออกจากราชการนั้นด้วย
กระทรวงเศรษฐการมีคำสั่งให้ไล่โจทก์ออกจากราชการฐานผิดวินัย เมื่อโจทก์เห็นว่าคำสั่งนั้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย เป็นการละเมิดต่อโจทก์ โจทก์ก็ชอบที่จะฟ้องร้องต่อศาลเสียภายในกำหนดอายุความ 1 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 จะใช้อายุความ 5 ปีตามมาตรา 166 หาได้ไม่
กระทรวงเศรษฐการมีคำสั่งให้ไล่โจทก์ออกจากราชการฐานผิดวินัย เมื่อโจทก์เห็นว่าคำสั่งนั้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย เป็นการละเมิดต่อโจทก์ โจทก์ก็ชอบที่จะฟ้องร้องต่อศาลเสียภายในกำหนดอายุความ 1 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 จะใช้อายุความ 5 ปีตามมาตรา 166 หาได้ไม่