พบผลลัพธ์ทั้งหมด 424 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1017/2507 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คไม่มีเงินรองรับ & เพิ่มโทษจำคุกซ้ำ: การกำหนดวันกระทำผิด & ผลของการรับสารภาพ
1.ฟ้องโจทก์กล่าวถึงข้อที่ว่าจำเลยเคยต้องคำพิพากษาให้จำคุกมาแล้ว อันจะเป็นเหตุให้ถูกเพิ่มโทษ และได้อ้างบทมาตราเรื่องเพิ่มโทษมาในคำขอท้ายฟ้องด้วย เมื่อจำเลยให้การว่าขอรับสารภาพตามฟ้องก็ถือได้ว่ารับในข้อเท็จจริงที่โจทก์อ้างมาขอให้เพิ่มโทษด้วย
2.บุคคลใดทำเป็นหนังสือตราสารซึ่งมีรายการครบถ้วนบริบูรณ์ตามลักษณะดังที่กล่าวไว้ในมาตรา 487,488 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์แล้วก็เป็นเช็ค เมื่อผู้ทรงนำไปขึ้นเงินไม่ได้ (แม้จะเป็นเพราะบัญชีเงินฝากของบุคคลนั้นปิดเสียแล้วในขณะที่ออกเช็ค) ผู้ออกเช็คก็มีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2497
3.ในกรณีออกเช็คล่วงหน้า วันที่เขียนเช็คยังไม่ถือว่าเป็นวันออกเช็ค ต้องถือเอาวันที่ลงในเช็คเป็นวันออกเช็ค และตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2497 มาตรา 3 ต้องถือว่าวันออกเช็คเป็นวันที่เริ่มการกระทำอันจะก่อให้เกิดความผิด และความผิดได้เกิดขึ้นเมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน เมื่อยังไม่เกิน 5 ปีนับแต่วันที่พ้นโทษในคดีเรื่องก่อน ย่อมเพิ่มโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 92 ได้
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 17/2507 และ18/2507)
อนึ่ง ที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 24/2507 ได้เห็นชอบให้ออกไปตามร่างคำพิพากษาฎีกานี้ได้
2.บุคคลใดทำเป็นหนังสือตราสารซึ่งมีรายการครบถ้วนบริบูรณ์ตามลักษณะดังที่กล่าวไว้ในมาตรา 487,488 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์แล้วก็เป็นเช็ค เมื่อผู้ทรงนำไปขึ้นเงินไม่ได้ (แม้จะเป็นเพราะบัญชีเงินฝากของบุคคลนั้นปิดเสียแล้วในขณะที่ออกเช็ค) ผู้ออกเช็คก็มีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2497
3.ในกรณีออกเช็คล่วงหน้า วันที่เขียนเช็คยังไม่ถือว่าเป็นวันออกเช็ค ต้องถือเอาวันที่ลงในเช็คเป็นวันออกเช็ค และตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2497 มาตรา 3 ต้องถือว่าวันออกเช็คเป็นวันที่เริ่มการกระทำอันจะก่อให้เกิดความผิด และความผิดได้เกิดขึ้นเมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน เมื่อยังไม่เกิน 5 ปีนับแต่วันที่พ้นโทษในคดีเรื่องก่อน ย่อมเพิ่มโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 92 ได้
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 17/2507 และ18/2507)
อนึ่ง ที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 24/2507 ได้เห็นชอบให้ออกไปตามร่างคำพิพากษาฎีกานี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1015/2507
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์และการครอบครองแทนเจ้าของเดิม: สิทธิในที่ดินหลังคำพิพากษา
พ. ฟ้อง บ. หาว่าบุกรุกที่นามือเปล่าของตน ขอให้ห้ามมิให้เกี่ยวข้อง บ. ต่อสู้ว่าที่พิพาทเป็นของ บ.ในระหว่างพิจารณา ศาลสั่งให้ประมูลค่าเช่านาพิพาทสำหรับปีนั้น(พ.ศ.2496) ฝ่ายใดให้ค่าเช่าสูงก็จะได้ทำนา ให้นำเงินค่าเช่ามาวางศาลไว้ชำระให้ผู้ชนะคดี พ.เป็นฝ่ายประมูลได้ ได้เข้าทำนาพิพาท ปีต่อมาพ.ก็ทำนาพิพาทอีกโดยไม่ยอมประมูลค่าเช่าและเป็นฝ่ายทำนาพิพาทตลอดมา ศาลอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาเมื่อ พ.ศ.2500 ซึ่งวินิจฉัยว่าฟังไม่ได้ว่าที่พิพาทเป็นของ พ. พิพากษายืนให้ยกฟ้อง วันที่ 10 ตุลาคม 2503 บ. จึงร้องต่อศาลว่า พ.ยังไม่ออกจากที่พิพาท ขอให้เรียกมาว่ากล่าวพ.แถลงว่าที่พิพาทเป็นของพ. โดยทางครอบครองปรปักษ์แล้วตั้งแต่วันฟังคำพิพากษาศาลฎีกา ศาลให้ บ. ทราบ ดังนี้ การที่ พ. ครอบครองที่พิพาทในระหว่างเป็นความกันอยู่ จะถือว่าครอบครองโดยเจตนาจะยึดถือเพื่อตนไม่ได้ การที่ได้เข้าครอบครองใน พ.ศ.2496 ก็โดยการประมูลทำนาได้คือ โดยความยินยอมของ บ. ค่าเช่าที่วางศาลก็เพื่อให้แก่ผู้ชนะคดี จึงถือว่าเข้าครอบครองแทนผู้ชนะคดีนั่นเอง เมื่อคดีถึงที่สุดโดยศาลพิพากษายกฟ้องของ พ. แม้จะไม่ได้ชี้ว่าที่พิพาทเป็นของ บ. แต่ พ. ก็ เถียงไม่ได้ว่า บ. ไม่ได้เป็นเจ้าของที่พิพาท เพราะผลของคำพิพากษาย่อมผูกพัน พ. ว่า บ. มี สิทธิในที่พิพาทดีกว่า การที่ พ. ครอบครองที่พิพาทภายหลังจากวันอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาแล้ว ก็เป็นการครอบครองสืบต่อมาจากการครอบครองในระหว่างคดี ต้องถือว่าครอบครองแทน บ.ผู้ชนะคดีอยู่นั่นเอง จะครอบครองช้านานเท่าใดก็ไม่ได้สิทธิครอบครอง ในเมื่อ พ.มิได้บอกกล่าวเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือหรืออาศัยอำนาจใหม่จากบุคคลภายนอก พ. จะอ้างอายุความการแย่งการครอบครองตามมาตรา 1375 มาใช้ยัน บ.ไม่ได้ บ.มีสิทธิฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครอง
การที่ พ. เข้าทำนาพิพาทนับแต่ พ.ศ.2497 นั้น มิได้ตกลงประมูลค่าเช่ากับ บ. อีกจึงไม่ใช่เนื่องจากสัญญา แต่ก็ไม่เป็นการละเมิด เพราะเข้าครอบครองทำนาพิพาทด้วยความยินยอมของ บ. มาแต่ พ.ศ.2496 และการครอบครองในปีต่อๆ มา ก็ถือได้ว่าเป็นการครอบครองแทน บ.ผู้ชนะคดี การที่ บ. ฟ้องเรียกเงินผลประโยชน์ในการที่ พ. ได้ครอบครองที่พิพาทตั้งแต่ ปี พ.ศ.2497เป็นต้นไปนั้น จึงต้องปรับด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 406 เพราะการที่ พ. ได้รับประโยชน์จากการเข้าทำนาพิพาทซึ่งศาลพิพากษาว่าเป็นของ บ. นั้น เป็นการได้ทรัพย์มาโดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ แต่ บ.ต้องฟ้องเรียกเอาภายใน กำหนด 1 ปี นับแต่สิ้นฤดูเก็บเกี่ยวของแต่ละปี ซึ่ง บ. ย่อมจะรู้ได้แล้วว่าผู้ทำนาได้รับประโยชน์จากการทำนาเท่าใด ส่วนเงินผลประโยชน์สำหรับระยะเวลาที่พ้นกำหนด 1 ปีแล้ว ย่อมขาดอายุความเรียกคืน
การที่ พ. เข้าทำนาพิพาทนับแต่ พ.ศ.2497 นั้น มิได้ตกลงประมูลค่าเช่ากับ บ. อีกจึงไม่ใช่เนื่องจากสัญญา แต่ก็ไม่เป็นการละเมิด เพราะเข้าครอบครองทำนาพิพาทด้วยความยินยอมของ บ. มาแต่ พ.ศ.2496 และการครอบครองในปีต่อๆ มา ก็ถือได้ว่าเป็นการครอบครองแทน บ.ผู้ชนะคดี การที่ บ. ฟ้องเรียกเงินผลประโยชน์ในการที่ พ. ได้ครอบครองที่พิพาทตั้งแต่ ปี พ.ศ.2497เป็นต้นไปนั้น จึงต้องปรับด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 406 เพราะการที่ พ. ได้รับประโยชน์จากการเข้าทำนาพิพาทซึ่งศาลพิพากษาว่าเป็นของ บ. นั้น เป็นการได้ทรัพย์มาโดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ แต่ บ.ต้องฟ้องเรียกเอาภายใน กำหนด 1 ปี นับแต่สิ้นฤดูเก็บเกี่ยวของแต่ละปี ซึ่ง บ. ย่อมจะรู้ได้แล้วว่าผู้ทำนาได้รับประโยชน์จากการทำนาเท่าใด ส่วนเงินผลประโยชน์สำหรับระยะเวลาที่พ้นกำหนด 1 ปีแล้ว ย่อมขาดอายุความเรียกคืน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1015/2507 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์และการครอบครองแทนเจ้าของ การขาดอายุความเรียกคืนประโยชน์
พ.ฟ้อง บ.หาว่าบุกรุกที่นามือเปล่าของตน ขอให้ห้ามมิให้เกี่ยวข้อง บ.ต่อสู้ว่าที่พิพาทเป็นของ บ. ในระหว่างพิจารณาศาลสั่งให้ประมูลค่าเช่านาพิพาทสำหรับปีนั้น (พ.ศ.2486) ฝ่ายใดให้ค่าเช่าสูงก็จะได้ทำนา ให้นำเงินค่าเช่ามาวางศาลไว้ ชำระให้ผู้ชนะคดี จำเลยเป็นฝ่ายประมูลได้ ได้เข้าทำนาพิพาท ปีต่อมาจำเลยก็ทำนาพิพาทอีกโดยไม่ยอมประมูลค่าเช่าและเป็นฝ่ายทำนาพิพาทตลอดมา ศาลอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาเมื่อพ.ศ.2500 ซึ่งวินิจฉัยว่าฟังไม่ได้ว่าที่พิพาทเป็นของ พ. พิพากษายืนให้ยกฟ้อง วันที่ 10 ตุลาคม 2503 บ.จึงร้องต่อศาลว่า พ.ยังไม่ออกจากที่พิพาท ขอให้เรียกมาว่ากล่าว พ.แถลงว่า ที่พิพาทเป็นของจำเลยโดยทางครอบครองปรปักษ์แล้วตั้งแต่วันฟังคำพิพากษาศาลฎีกา ศาลให้ บ.ทราบ ดังนี้การที่พ.ครอบครองที่พิพาทในระหว่างเป็นความกันอยู่ จะถือว่าครอบครองโดยเจตนาจะยึดถือเพื่อตนไม่ได้ การที่ได้เข้าครอบครองในพ.ศ.2506 ก็โดยการประมูลทำนาได้ คือ โดยความยินยอมของ บ. ค่าเช่าที่วางศาลก็เพื่อให้แก่ผู้ชนะคดี จึงถือว่าเข้าครอบครองแทนผู้ชนะคดีนั่นเอง เมื่อคดีถึงที่สุดโดยศาลพิพากษายกฟ้องของ พ. แม้จะไม่ได้ชี้ว่าที่พิพาทเป็นของ บ. แต่ พ. ก็เถึยงไม่ได้ว่า
บ.ไม่ได้เป็นเจ้าของที่พิพาท เพราะผลของคำพิพากษาย่อมผูกพัน พ. ว่า บ.มิสิทธิในที่พิพาทดีกว่า การที่ พ.ครอบครองที่พิพาทภายหลัง่จกาวันอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาแล้วก็เป็นการครอบครองสืบต่อมาจากการครอบครองในระหว่างคดี ต้องถือว่าครอบครองแทน บ.ผู้ชนะคดีอยู่นั่นเอง จะครอบครองช้านานเท่าใดก็ไม่ได้สิทธิครอบครองในเมื่อ พ.มิได้บอกกล่าวเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือหรืออาศัยอำนาจใหม่จากบุคคลภายนอก พ.จะอ้างอายุความการแบ่งการครอบครองตามมาตรา 1395 มาใช้ยัน บ. ไม่ได้ บ.มีสิทธิฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครอง
การที่ พ.เข้าทำนาพิพาทนับแต่ พ.ศ.2497 นั้น มิได้ตกลงประมูลค่าเช่ากับ บ.อีกจึงไม่ใช่เนื่องจากสัญญา แต่ก็ไม่เป็นการละเมิดเพราะเข้าครอบครองทำนาพิพาทด้วยความยินยอมของ บ.มาแต่ พ.ศ.2496 และการครอบครองในปีต่อ ๆ มา ก็ถือได้ว่าเป็นการครอบครองแทน บ. ผู้ชนะคดี การที่ บ.ฟ้องเรียกเงินผลประโยชน์ในการที่ พ.ได้ครอบครองที่พิพาทตั้งแต่ปีพ.ศ.2497 เป็นต้นไปนั้น จึงต้องปรับด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 406 เพราะการที่ พ.ได้รับประโยชน์จากการเข้าทำนาพิพาทซึ่งศาลพิพากษาว่าเป็นของบ.นั้น เป็นการได้ทรัพย์มาโดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ แต่ บ.ต้องฟ้องเรียกเอาภายในกำหนด 1 ปีนับแต่สิ้นฤดูเก็บเกี่ยวฯของแต่ละปี ซึ่ง บ.ย่อมจะรู้ได้แล้วว่า ผู้ทำนาได้รับประโยชน์จากการทำนาเท่าใด ส่วนเงินผลประโยชน์สำหรับระยะเวลาที่พ้นกำหนด 1 ปีแล้ว ย่อมขาดอายุความเรียกคืน
บ.ไม่ได้เป็นเจ้าของที่พิพาท เพราะผลของคำพิพากษาย่อมผูกพัน พ. ว่า บ.มิสิทธิในที่พิพาทดีกว่า การที่ พ.ครอบครองที่พิพาทภายหลัง่จกาวันอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาแล้วก็เป็นการครอบครองสืบต่อมาจากการครอบครองในระหว่างคดี ต้องถือว่าครอบครองแทน บ.ผู้ชนะคดีอยู่นั่นเอง จะครอบครองช้านานเท่าใดก็ไม่ได้สิทธิครอบครองในเมื่อ พ.มิได้บอกกล่าวเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือหรืออาศัยอำนาจใหม่จากบุคคลภายนอก พ.จะอ้างอายุความการแบ่งการครอบครองตามมาตรา 1395 มาใช้ยัน บ. ไม่ได้ บ.มีสิทธิฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครอง
การที่ พ.เข้าทำนาพิพาทนับแต่ พ.ศ.2497 นั้น มิได้ตกลงประมูลค่าเช่ากับ บ.อีกจึงไม่ใช่เนื่องจากสัญญา แต่ก็ไม่เป็นการละเมิดเพราะเข้าครอบครองทำนาพิพาทด้วยความยินยอมของ บ.มาแต่ พ.ศ.2496 และการครอบครองในปีต่อ ๆ มา ก็ถือได้ว่าเป็นการครอบครองแทน บ. ผู้ชนะคดี การที่ บ.ฟ้องเรียกเงินผลประโยชน์ในการที่ พ.ได้ครอบครองที่พิพาทตั้งแต่ปีพ.ศ.2497 เป็นต้นไปนั้น จึงต้องปรับด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 406 เพราะการที่ พ.ได้รับประโยชน์จากการเข้าทำนาพิพาทซึ่งศาลพิพากษาว่าเป็นของบ.นั้น เป็นการได้ทรัพย์มาโดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ แต่ บ.ต้องฟ้องเรียกเอาภายในกำหนด 1 ปีนับแต่สิ้นฤดูเก็บเกี่ยวฯของแต่ละปี ซึ่ง บ.ย่อมจะรู้ได้แล้วว่า ผู้ทำนาได้รับประโยชน์จากการทำนาเท่าใด ส่วนเงินผลประโยชน์สำหรับระยะเวลาที่พ้นกำหนด 1 ปีแล้ว ย่อมขาดอายุความเรียกคืน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1012/2507
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความประมาทในการขับรถสภาพไม่สมบูรณ์และขับเร็วเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดเป็นเหตุให้ผู้อื่นเสียชีวิต
จำเลยขับรถยนต์จี๊ปซึ่งอยู่ในสภาพไม่สมบูรณ์ คือห้ามล้อมือใช้การไม่ได้ ห้ามล้อเท้าใช้ได้เพียง 25เปอร์เซ็นต์ ด้วยความเร็วสูงประมาณ 55 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เป็นเหตุให้ชนผู้ตายซึ่งขับรถจักรยานยนต์ตัดหน้าจำเลยตรงสี่แยก จนถึงแก่ความตายนั้น แม้จะฟังว่าเป็นความผิดของผู้ตายด้วยก็ดี แต่ถ้าหากจำเลยใช้รถที่มีห้ามล้อดี ขับขี่ด้วยความเร็วไม่เกินกว่า 20 กิโลเมตรต่อชั่วโมงตามที่กฎหมายกำหนด รถก็จะไม่ชนกันแล้ว จำเลยก็ต้องมีผิดฐานทำให้คนตายโดยประมาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1012/2507 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความประมาทในการขับรถสภาพไม่สมบูรณ์และขับเร็วเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด ทำให้เกิดการชนและเป็นเหตุให้ผู้อื่นเสียชีวิต
จำเลยขับรถยนต์จิ๊ปซึ่งอยู่ในสภาพไม่สมบูรณ์ คือ ห้ามล้อมือใช้การไม่ได้ ห้ามล้อเท้าใช้ได้เพียง 25 เปอร์เซ็นต์ ด้วยความเร็วสูงประมาณ 55 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เป็นเหตุให้ชนผู้ตายซึ่งขับรถจักรยานยนต์ตัดหน้าจำเลยตรงสี่แยก จนถึงแก่ความตายนั้น แม้จะฟังว่าเป็นความผิดของผู้ตายด้วยก็ดีแต่ถ้าหากจำเลยใช้รถที่มีห้ามล้อดี ขับขี่ด้วยความเร็วไม่เกินกว่า 20 กิโลเมตรต่อชั่วโมงตามที่กฎหมายกำหนด รถก็จะไม่ชนกันแล้ว จำเลยก็ต้องมีผิดฐานทำให้คนตายโดยประมาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1007/2507 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาษีเงินได้ที่นายจ้างจ่ายแทนลูกจ้าง ไม่ถือเป็นเงินได้ที่ต้องนำมาประเมินภาษีซ้ำ
เงินค่าภาษีเงินได้ที่นายจ้างออกแทนลูกจ้างไปนั้น ไม่ใช่เป็นเงินอันพึงประเมินภาษีเงินได้ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 40(1)(2)
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 17/2507)
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 17/2507)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1007/2507
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินค่าภาษีที่นายจ้างจ่ายแทนลูกจ้าง ไม่เป็นเงินได้ที่ต้องเสียภาษี
เงินค่าภาษีเงินได้ที่นายจ้างออกแทนลูกจ้างไปนั้น ไม่ใช่เป็นเงินได้พึงประเมินภาษีเงินได้ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 40(1)(2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 988/2507
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าจ้างทนายความ: การคิดค่าจ้างเป็นเปอร์เซ็นต์ของทุนทรัพย์ ไม่ใช่การแบ่งส่วนทรัพย์สิน
สัญญาจ้างว่าความที่ทนายความเรียกค่าจ้างจากลูกความยี่สิบเปอร์เซ็นต์ของจำนวนทุนทรัพย์ที่ฟ้องคิดเป็นเงินค่าจ้าง 24,200 บาท นั้น เป็นค่าจ้างที่แน่นอน การที่คิดเป็นเปอร์เซ็นต์ของจำนวนทุนทรัพย์ เป็นเพียงอาศัยเป็นเกณฑ์คำนวณค่าจ้างว่าความว่าจะเรียกร้องค่าจ้างคิดเป็นเปอร์เซ็นต์เท่าใดของทุนทรัพย์ที่ฟ้องเท่านั้น หาใช่เป็นสัญญาแบ่งเอาส่วนจากทรัพย์สินที่เป็นมูลพิพาทที่ลูกความจะพึงได้รับเมื่อชนะคดีไม่ จึงไม่ต้องห้ามตามกฎหมายและไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนฉะนั้น จึงย่อมบังคับกันได้ตามสัญญานั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 988/2507 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าจ้างทนายความคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ของทุนทรัพย์ ไม่ใช่การแบ่งส่วนทรัพย์สิน
สัญญาจ้างว่าความที่ทนายความเรียกค่าจ้างจากลูกความยี่สิบเปอร์เซ็นต์ของจำนวนทุนทรัพย์ที่ฟ้องคิดเป็นเงินค่าจ้าง 24,200 บาทนั้น เป็นค่าจ้างที่แน่นอน การที่คิดเป็นเปอร์เซ็นต์ของจำนวนทุนทรัพย์ เป็นเพียงอาศัยเป็นเกณฑ์คำนวณค่าจ้างว่าความว่าจะเรียกร้องค่าจ้างคิดเป็นเปอร์เซ็นต์เท่าใดของทุนทรัพย์ที่ฟ้องเท่านั้น หาใช่เป็นสัญญาแบ่งเอาส่วนจากทรัพย์สินที่เป็นมูลพิพาทที่ลูกความจะพึงได้รับเมื่อชนะคดีไม่ จึงไม่ต้องห้ามตามกฎหมาย และไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ฉะนั้น จึงย่อมบังคับกันได้ตามสัญญานั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 970/2507
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิ่มโทษและรอการลงโทษ: โทษจำคุกระหว่างรอการลงโทษคดีก่อนไม่ถือว่าพ้นโทษ และการพิจารณาโทษจำคุกก่อนหน้าเพื่อรอการลงโทษ
จำเลยต้องคำพิพากษาจำคุกในความผิดฐานเล่นการพนัน แต่ศาลให้รอการลงโทษจำคุกไว้ จำเลยมากระทำผิดฐานเล่นการพนันอีกในระหว่างที่ศาลรอการลงโทษจำคุกจะเพิ่มโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติการพนัน (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2485 มาตรา 3 ไม่ได้ เพราะเมื่อยังอยู่ในระหว่างที่ศาลรอการลงโทษจะเรียกว่าจำเลยพ้นโทษแล้วไม่ได้
ตามที่ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56 บัญญัติว่า ไม่ปรากฏว่าผู้นั้นได้รับโทษจำคุกมาก่อนนั้น หมายความว่า จำเลยไม่ได้รับโทษจำคุกมาก่อนคดีที่ศาลกำลังจะพิพากษาคดีที่จำเลยได้รับโทษจำคุกนั้น ไม่จำเป็นต้องเป็นการกระทำผิดก่อนคดีที่ศาลจะพิพากษา
ตามที่ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56 บัญญัติว่า ไม่ปรากฏว่าผู้นั้นได้รับโทษจำคุกมาก่อนนั้น หมายความว่า จำเลยไม่ได้รับโทษจำคุกมาก่อนคดีที่ศาลกำลังจะพิพากษาคดีที่จำเลยได้รับโทษจำคุกนั้น ไม่จำเป็นต้องเป็นการกระทำผิดก่อนคดีที่ศาลจะพิพากษา