พบผลลัพธ์ทั้งหมด 424 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 102/2507 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทนายยุยงให้ตัวความหลีกเลี่ยงหมายศาล: ความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลและการเป็นตัวการ
ทนายจำเลยถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้แนะนำไม่ให้จำเลยมาศาลเพื่อฟังคำสั่งศาล และเป็นผู้ยุยงส่งเสริมให้จำเลยหลีกเลี่ยงที่จะไม่รับหมายต่าง ๆ ของศาล ศาลชั้นต้นจึงได้ทำการไต่สวนในข้อหาว่ากระทำผิดฐานละเมิดอำนาจศาล และได้มีคำสั่งให้ทนายจำเลยมาศาลด้วยตนเองทุกนัดที่มีการนัดไต่สวน กรณีเช่นนี้ทนายจำเลยไม่มีฐานะเป็นคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 19 ฉะนั้น การที่ทนายจำเลยไม่มาศาลตามคำสั่งของศาล จึงไม่มีความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 31(5) และมาตรา 19
เมื่อปรากฎต่อศาลว่าผู้ใดกระทำละเมิดอำนาจศาลจะปรากฎโดยผู้นั้นกระทำต่อหน้าศาลหรือปรากฎจากหลักฐานอื่นใด ศาลก็ย่อมสั่งลงโทษได้ ในระหว่างที่ศาลชั้นต้นพิจารณาคดีที่คู่ความพิพาทกัน มีหลักฐานแสดงต่อศาลว่าทนายจำเลยกระผิดฐานละเมิดอำนาจศาลแต่ศาลยังมิได้ลงโทษทนายจำเลย ศาลยังได้สั่งให้ดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปเกี่ยวกับเรื่องละเมิดอำนาจศาลโดยเฉพาะอีก และให้โอกาสทนายจำเลยที่จะอ้างอิงพยานหลักฐานมาสืบแสดงต่อศาล ครั้นถึงวันนัดทนายจำเลยก็ไม่มาศาล และไม่แจ้งเหตุขัดข้องอย่างไร แม้ภายหลังที่ศาลสั่งลงโทษทนายจำเลยแล้ว ทนายจำเลยก็มิได้แจ้งเหตุขัดข้องอย่างไรต่อศาลซึ่งแสดงว่าทนายจำเลยจงใจไม่อ้างอิงพยานหลักฐานมาสืบ และหลบเลี่ยงการดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลในเรื่องละเมิดอำนาจศาล ดังนี้ ศาลชั้นต้นได้ดำเนินกระบวนพิจารณาในเรื่องทนายจำเลยละเมิดอำนาจศาลมาชอบแล้ว
เมื่อศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณารับฟังได้ว่าทนายจำเลยเป็นผู้ยุยงเสี้ยมสอนให้ตัวความหลบเลี่ยงไม่รับหมายของศาลตลอดมา การกระทำของทนายจำเลยย่อมมีความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 31(3)
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 1,2/2507)
เมื่อปรากฎต่อศาลว่าผู้ใดกระทำละเมิดอำนาจศาลจะปรากฎโดยผู้นั้นกระทำต่อหน้าศาลหรือปรากฎจากหลักฐานอื่นใด ศาลก็ย่อมสั่งลงโทษได้ ในระหว่างที่ศาลชั้นต้นพิจารณาคดีที่คู่ความพิพาทกัน มีหลักฐานแสดงต่อศาลว่าทนายจำเลยกระผิดฐานละเมิดอำนาจศาลแต่ศาลยังมิได้ลงโทษทนายจำเลย ศาลยังได้สั่งให้ดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปเกี่ยวกับเรื่องละเมิดอำนาจศาลโดยเฉพาะอีก และให้โอกาสทนายจำเลยที่จะอ้างอิงพยานหลักฐานมาสืบแสดงต่อศาล ครั้นถึงวันนัดทนายจำเลยก็ไม่มาศาล และไม่แจ้งเหตุขัดข้องอย่างไร แม้ภายหลังที่ศาลสั่งลงโทษทนายจำเลยแล้ว ทนายจำเลยก็มิได้แจ้งเหตุขัดข้องอย่างไรต่อศาลซึ่งแสดงว่าทนายจำเลยจงใจไม่อ้างอิงพยานหลักฐานมาสืบ และหลบเลี่ยงการดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลในเรื่องละเมิดอำนาจศาล ดังนี้ ศาลชั้นต้นได้ดำเนินกระบวนพิจารณาในเรื่องทนายจำเลยละเมิดอำนาจศาลมาชอบแล้ว
เมื่อศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณารับฟังได้ว่าทนายจำเลยเป็นผู้ยุยงเสี้ยมสอนให้ตัวความหลบเลี่ยงไม่รับหมายของศาลตลอดมา การกระทำของทนายจำเลยย่อมมีความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 31(3)
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 1,2/2507)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 95/2507 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งความเท็จและการช่วยเหลือผู้ต้องหาต้องมีองค์ประกอบความผิดครบถ้วนตามกฎหมาย หากฟ้องขาดองค์ประกอบ ศาลย่อมลงโทษไม่ได้
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 172 แต่ไม่ได้ระบุมาว่า การที่จำเลยแจ้งความเท็จนั้น อาจทำให้ผู้ใดหรือประชาชนเสียหาย แม้จะอ่านคำบรรยายฟ้องโดยทั่วไปก็ไม่อาจทราบความข้อนี้ได้ ดังนี้ ฟ้องโจทก์ย่อมไม่เป็นความผิดตามมาตราดังกล่าวนั้นจึงลงโทษจำเลยไม่ได้
การช่วยผู้อื่นเพื่อไม่ให้ต้องโทษอันจะเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 189 นั้นจะต้องกระทำอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ 1.โดยให้ที่พัก หรือ 2.โดยซ่อนเร้นหรือ 3.โดยช่วยอย่างอื่นเพื่อไม่ให้ถูกจับกุม การบรรยายฟ้องมีใจความแต่เพียงว่าจำเลยกล่าวเท็จต่อเจ้าพนักงานในเรื่องทำพินัยกรรมเพื่อช่วยเหลือพวกที่ต้องหาว่าสมคบกันทำพินัยกรรมปลอมเพื่อไม่ให้ต้องโทษ และเมื่ออ่านคำฟ้องโดยตลอดแล้วก็ไม่อาจทราบได้ว่าโจทก์หาว่าจำเลยกระทำเพื่อไม่ให้ผู้ต้องหาถูกจับกุม ดังนี้ เป็นคำฟ้องที่ขาดองค์ความผิดตามมาตรา 189 จะลงโทษจำเลยย่อมไม่ได้
การช่วยผู้อื่นเพื่อไม่ให้ต้องโทษอันจะเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 189 นั้นจะต้องกระทำอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ 1.โดยให้ที่พัก หรือ 2.โดยซ่อนเร้นหรือ 3.โดยช่วยอย่างอื่นเพื่อไม่ให้ถูกจับกุม การบรรยายฟ้องมีใจความแต่เพียงว่าจำเลยกล่าวเท็จต่อเจ้าพนักงานในเรื่องทำพินัยกรรมเพื่อช่วยเหลือพวกที่ต้องหาว่าสมคบกันทำพินัยกรรมปลอมเพื่อไม่ให้ต้องโทษ และเมื่ออ่านคำฟ้องโดยตลอดแล้วก็ไม่อาจทราบได้ว่าโจทก์หาว่าจำเลยกระทำเพื่อไม่ให้ผู้ต้องหาถูกจับกุม ดังนี้ เป็นคำฟ้องที่ขาดองค์ความผิดตามมาตรา 189 จะลงโทษจำเลยย่อมไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 95/2507
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
องค์ประกอบความผิด มาตรา 172 และ 189 อาญา: ความเสียหายและวิธีการช่วยเหลือต้องชัดเจน
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา172 แต่ไม่ได้ระบุมาว่า การที่จำเลยแจ้งความเท็จนั้นอาจทำให้ผู้ใดหรือประชาชนเสียหายแม้จะอ่านคำบรรยายฟ้องโดยทั่วไปก็ไม่อาจทราบความข้อนี้ได้ดังนี้ ฟ้องโจทก์ย่อมไม่เป็นความผิดตามมาตราดังกล่าวนั้น จึงลงโทษจำเลยไม่ได้
การช่วยผู้อื่นเพื่อไม่ให้ต้องโทษอันจะเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 189 นั้น จะต้องกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งคือ 1. โดยให้ที่พัก หรือ 2. โดยซ่อนเร้น หรือ 3. โดยช่วยอย่างอื่นเพื่อไม่ให้ถูกจับกุม การบรรยายฟ้องมีใจความแต่เพียงว่า จำเลยกล่าวเท็จต่อเจ้าพนักงานในเรื่องทำพินัยกรรมเพื่อช่วยเหลือพวกที่ต้องหาว่าสมคบกันทำพินัยกรรมปลอมเพื่อไม่ให้ต้องโทษและเมื่ออ่านคำฟ้องโดยตลอดแล้วไม่อาจทราบได้ว่าโจทก์หาว่าจำเลยกระทำเพื่อไม่ให้ผู้ต้องหาถูกจับกุมดังนี้ เป็นคำฟ้องที่ขาดองค์ความผิดตามมาตรา 189 จะลงโทษจำเลยไม่ได้
การช่วยผู้อื่นเพื่อไม่ให้ต้องโทษอันจะเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 189 นั้น จะต้องกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งคือ 1. โดยให้ที่พัก หรือ 2. โดยซ่อนเร้น หรือ 3. โดยช่วยอย่างอื่นเพื่อไม่ให้ถูกจับกุม การบรรยายฟ้องมีใจความแต่เพียงว่า จำเลยกล่าวเท็จต่อเจ้าพนักงานในเรื่องทำพินัยกรรมเพื่อช่วยเหลือพวกที่ต้องหาว่าสมคบกันทำพินัยกรรมปลอมเพื่อไม่ให้ต้องโทษและเมื่ออ่านคำฟ้องโดยตลอดแล้วไม่อาจทราบได้ว่าโจทก์หาว่าจำเลยกระทำเพื่อไม่ให้ผู้ต้องหาถูกจับกุมดังนี้ เป็นคำฟ้องที่ขาดองค์ความผิดตามมาตรา 189 จะลงโทษจำเลยไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 94/2507
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้เช็คโดยมีเจตนาทุจริตเป็นองค์ประกอบความผิดตาม พ.ร.บ. เช็ค
กรณีห้ามธนาคารมิให้ใช้เงินตามเช็คนั้น จะต้องเป็นการกระทำไปโดยมีเจตนาทุจริตจำเลยจึงมีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 93/2507 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสมคบกันโกงเจ้าหนี้ต้องอาศัยความสัมพันธ์เจ้าหนี้-ลูกหนี้ที่พิสูจน์ได้ หากไม่มีความสัมพันธ์ดังกล่าว การกระทำจึงไม่เป็นความผิด
โจทก์ฟ้องคดีแพ่งเรียกเงินจาก ห. จำเลยศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง โจทก์อุทธรณ์ ระหว่างนั้น ห.โอนทรัพย์ให้ ก. โจกท์จึงฟ้อง ห.กับก. เป็นคดีอาญา ว่าสมคบกันโกงเจ้าหนี้ ครั้นเมื่อคดีอาญานี้อยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาปรากฎว่าคดีแพ่งนั้นถึงที่สุดแล้วโดยศาลพิพากษาว่าโจทก์กับห.จำเลยมิได้เป็นเจ้าหนี้และลูกหนี้ต่อกัน ดังนี้ ก็ไม่อาจมีการกระทำความผิดตามมาตรา 350 แห่งประมวลกฎหมายอาญาดังที่โจทก์อ้างมาได้ ศาลย่อมพิพากษายกฟ้องคดีอาญาด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 93/2507
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ต้องมีฐานะเจ้าหนี้-ลูกหนี้ต่อกัน
ความผิดฐานโกงเจ้าหนี้นั้น เมื่อมีคำพิพากษาว่าโจทก์และจำเลยมิได้เป็นเจ้าหนี้และลูกหนี้ต่อกันแล้วย่อมไม่อาจมีการกระทำความผิดฐานนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 59/2507
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาออกเช็คเกินจำนวนเงินในบัญชี ถือเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.เช็ค แม้ผู้ทรงเช็คยื่นเช็คล่าช้า
เช็คซึ่งให้ใช้เงินในเมืองเดียวกันกับที่ออกเช็ค ถ้าผู้ทรงเช็คไม่ยื่นเช็คแก่ธนาคารเพื่อให้ใช้เงินภายในหนึ่งเดือนนับแต่วันออกเช็คนั้นก็ทำให้ผู้ทรงเช็คเสียสิทธิบางอย่างดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 990 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เท่านั้น ไม่ทำให้ผู้กระทำผิดพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ พ้นผิดไปด้วย
จำเลยที่ 2 เป็นกรรมการผู้จัดการของจำเลยที่ 1 อันเป็นบริษัทนิติบุคคลจำเลยที่ 3 เป็นกรรมการของบริษัทจำเลยที่ 2 กับที่ 3 เซ็นชื่อสั่งจ่ายเงินในเช็คในนามของบริษัทจำเลยที่ 1 ให้ใช้เงินสูงกว่าจำนวนที่มีอยู่ในบัญชีในขณะที่ออกเช็คโดยเจตนาจะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็คนั้น ดังนี้ จำเลยที่ 2,3 ย่อมได้ชื่อว่าได้ร่วมกับจำเลยที่ 1 ออกเช็ครายนี้ จึงต้องมีความผิดในฐานเป็นตัวการด้วย
จำเลยที่ 2 เป็นกรรมการผู้จัดการของจำเลยที่ 1 อันเป็นบริษัทนิติบุคคลจำเลยที่ 3 เป็นกรรมการของบริษัทจำเลยที่ 2 กับที่ 3 เซ็นชื่อสั่งจ่ายเงินในเช็คในนามของบริษัทจำเลยที่ 1 ให้ใช้เงินสูงกว่าจำนวนที่มีอยู่ในบัญชีในขณะที่ออกเช็คโดยเจตนาจะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็คนั้น ดังนี้ จำเลยที่ 2,3 ย่อมได้ชื่อว่าได้ร่วมกับจำเลยที่ 1 ออกเช็ครายนี้ จึงต้องมีความผิดในฐานเป็นตัวการด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 59/2507 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาออกเช็คที่ไม่มีเงินรองรับ และความรับผิดของกรรมการบริษัทในฐานะตัวการ
เช็คซึ่งให้ใช้เงินในเมืองเดียวกันกับที่ออกเช็ค ถ้าผู้ทรงเช็คไม่ยื่นแก่ธนาคารเพื่อให้ใช้เงินภายในหนึ่งเดือนนับแต่วันออกเช็คนั้น ก็ทำให้ผู้ทรงเช็คเสียสิทธิบางอย่างดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 940 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เท่านั้น ไม่ทำให้ผู้กระทำผิดพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ พ้นผิดไปด้วย
จำเลยที่ 2 เป็นกรรมการผู้จัดการของจำเลยที่ 1 อันเป็นบริษัทนิติบุคคล จำเลยที่ 3 เป็นกรรมการของบริษัท จำเลยที่ 2 กับที่ 3 เซ็นชื่อสั่งจ่ายเงินในเช็คในามของบริษัทจำเลยที่ 1 ให้ใช้เงินสูงกว่าจำนวนที่มีอยู่ในบัญชีในขณะทีออกเช็คโดยเจตนาจะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็คนั้น ดังนี้ จำเลยที่2,3 ย่อมได้ชื่อว่าได้ร่วมกับจำเลยที่ 1 ออกเช็ครายนี้ จึงต้องมีความผิดในฐานเป็นตัวการด้วย
จำเลยที่ 2 เป็นกรรมการผู้จัดการของจำเลยที่ 1 อันเป็นบริษัทนิติบุคคล จำเลยที่ 3 เป็นกรรมการของบริษัท จำเลยที่ 2 กับที่ 3 เซ็นชื่อสั่งจ่ายเงินในเช็คในามของบริษัทจำเลยที่ 1 ให้ใช้เงินสูงกว่าจำนวนที่มีอยู่ในบัญชีในขณะทีออกเช็คโดยเจตนาจะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็คนั้น ดังนี้ จำเลยที่2,3 ย่อมได้ชื่อว่าได้ร่วมกับจำเลยที่ 1 ออกเช็ครายนี้ จึงต้องมีความผิดในฐานเป็นตัวการด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1-6/2507
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการฟ้องขับไล่เมื่อสัญญาเช่าสิ้นสุด และสถานะของผู้เช่าช่วง
คดีเดิม ชั้นบังคับคดีโจทก์ยื่นคำร้องอ้างว่าจำเลยนี้เป็นบริวารของผู้เช่า ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วมีคำสั่งว่าจำเลยมิใช่บริวารให้ยกคำร้อง โจทก์นำคดีนี้มาฟ้องจำเลยใหม่ขอให้ขับไล่ได้ ไม่เป็นฟ้องซ้ำ
สัญญาที่โจทก์ทำกับผู้เช่าโดยให้ผู้เช่าที่ดินปลูกตึกพิพาทแล้วเอาตึกให้ผู้อื่นเช่าได้มีกำหนด 10 ปีนั้น มีผลผูกพันระหว่างโจทก์กับผู้เช่าส่วนจำเลยจะมีสิทธิอยู่ในตึกพิพาทได้เพียงใดต้องเป็นไปตามสัญญาเช่าที่จำเลยทำไว้กับผู้เช่าเมื่อสัญญาเช่าระหว่างจำเลยกับผู้เช่าไม่ได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ย่อมมีผลใช้บังคับได้เพียง 3 ปีจำเลยอยู่มาครบ 3 ปีแล้ว โจทก์บอกเลิกสัญญาเช่าโดยชอบแล้ว โจทก์มีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยได้
เมื่อข้อเท็จจริงเท่าที่ศาลชั้นต้นไปเผชิญสืบและบันทึกไว้พอวินิจฉัยได้แล้วว่า ห้องพิพาทมิใช่เคหะอันได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติควบคุมการเช่าฯ ศาลก็ไม่จำต้องสืบพยานบุคคลต่อไป
สัญญาที่โจทก์ทำกับผู้เช่าโดยให้ผู้เช่าที่ดินปลูกตึกพิพาทแล้วเอาตึกให้ผู้อื่นเช่าได้มีกำหนด 10 ปีนั้น มีผลผูกพันระหว่างโจทก์กับผู้เช่าส่วนจำเลยจะมีสิทธิอยู่ในตึกพิพาทได้เพียงใดต้องเป็นไปตามสัญญาเช่าที่จำเลยทำไว้กับผู้เช่าเมื่อสัญญาเช่าระหว่างจำเลยกับผู้เช่าไม่ได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ย่อมมีผลใช้บังคับได้เพียง 3 ปีจำเลยอยู่มาครบ 3 ปีแล้ว โจทก์บอกเลิกสัญญาเช่าโดยชอบแล้ว โจทก์มีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยได้
เมื่อข้อเท็จจริงเท่าที่ศาลชั้นต้นไปเผชิญสืบและบันทึกไว้พอวินิจฉัยได้แล้วว่า ห้องพิพาทมิใช่เคหะอันได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติควบคุมการเช่าฯ ศาลก็ไม่จำต้องสืบพยานบุคคลต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2029/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะเจ้าพนักงาน: การแต่งตั้งเป็นกรรมการจัดงานพิเศษไม่ถือเป็นเจ้าพนักงานกระทำการตามหน้าที่
การที่ผู้เสียหายซึ่งเป็นพนักงานที่ดินอำเภอได้รับแต่งตั้งจากนายอำเภอให้เป็นเจ้าหน้าที่จัดงานปีใหม่ และเป็นกรรมการจำหน่ายบัตรผ่านประตูนั้น หาทำให้ผู้เสียหายมีฐานะเป็นเจ้าพนักงานกระทำการตามหน้าที่โดยชอบด้วยกฎหมายไม่ แต่เป็นเรื่องช่วยเหลือนายอำเภอปฏิบัติงานพิเศษเป็นการส่วนตัวเท่านั้น ฉะนั้น การพยายามทำร้ายผู้เสียหายที่ไม่ยอมให้ผ่านประตูเข้าไปในบริเวณงานโดยไม่มีบัตร จึงมีความผิดตามมาตรา 295 ประกอบด้วยมาตรา 80 ไม่ใช่มาตรา 296 ประกอบด้วยมาตรา 80